ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ หน้าที่ ๔๓
การแผ่เมตตา (พรหมวิหาร ๔)
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
[๕๘] ดูกรชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง อยู่ เธอมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง อยู่ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า โดยความมีตนทั่วไปในทุกสถาน
ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวรไม่มี ความเบียดเบียนอยู่ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี เข้าไปหาเธอแล้วนิมนต์ด้วยภัต เพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น
ดูกรชีวก เมื่อภิกษุหวังอยู่ ก็รับนิมนต์ พอล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า ภิกษุนั้นนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของคฤหบดีหรือบุตรของ คฤหบดี แล้วนั่งลงบน อาสนะที่เขาปูลาดไว้ คฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดีนั้น อังคาส*เธอ ด้วยบิณฑบาต อันประณีต ความดำริว่า ดีหนอ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้ อังคาสเราอยู่ด้วย บิณฑบาตอันประณีต ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เธอ แม้ความดำริว่า โอหนอ คฤหบดีหรือบุตร คฤหบดีผู้นี้ พึงอังคาสเราด้วยบิณฑบาตอันประณีตเช่นนี้ แม้ต่อไป ดังนี้ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอไม่กำหนด ไม่สยบ ไม่รีบกลืนบิณฑบาตนั้นมีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องถอนตน บริโภคอยู่
* อังคาส แปลว่า อาหารเลี้ยงพระ
ดูกรชีวก ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนว่า ในสมัยนั้น ภิกษุนั้นย่อมคิดเพื่อเบียด เบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น หรือเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย บ้างหรือ?
ไม่เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
ดูกรชีวก สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าฉันอาหารอันไม่มีโทษมิใช่หรือ?
อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า พรหมมีปกติอยู่ด้วยเมตตา คำนั้นเป็นแต่ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมา คำนี้พระผู้มี พระภาคเป็นองค์พยานปรากฎแล้ว ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีปกติอยู่ด้วยเมตตา.
ดูกรชีวก บุคคลพึงมีความพยาบาท เพราะราคะ โทสะ โมหะใด ราคะ โทสะ โมหะนั้น ตถาคตละแล้ว มีมูลอันขาดแล้ว เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา ดูกรชีวก ถ้าแลท่านกล่าวหมายเอาการละราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้นนี้เราอนุญาตการกล่าวเช่นนั้นแก่ท่าน.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวหมายเอาการละราคะ โทสะ และโมหะเป็นต้นนี้.
การแผ่กรุณา มุทิตา อุเบกขา
[๕๙] ดูกรชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง อยู่ เธอมีใจ ประกอบด้วยกรุณา ... มีใจประกอบด้วยมุทิตา ... มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไป ตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวางแผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า โดยความมีตนทั่วไป ในที่ทุก สถาน
ด้วยใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณ มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีเข้าไปหาเธอ แล้วนิมนต์ ด้วยภัต เพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น
ดูกรชีวก เมื่อภิกษุหวังอยู่ย่อมรับนิมนต์ พอล่วงราตรี นั้นไป เวลาเช้า ภิกษุนั้นนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของคฤหบดี หรือ บุตรของคฤหบดี แล้วนั่งลงบน อาสนะที่เขาปูลาดไว้.
คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น อังคาสเธอด้วยบิณฑบาตอันประณีต ความดำริว่า ดีหนอคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้ อังคาสเราอยู่ด้วยบิณฑบาตอันประณีต ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เธอ แม้ความดำริว่า โอหนอ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้ พึงอังคาสเรา ด้วยบิณฑบาตอันประณีตนี้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา
ดูกรชีวก ถ้าแลท่านกล่าวหมายเอาการละราคะโทสะ โมหะ เป็นต้นนี้ เราอนุญาต การกล่าว เช่นนั้นแก่ท่าน.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวหมายเอาการละราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้นนี้.
แม้ต่อไป ดังนี้ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอไม่กำหนัด ไม่สยบ ไม่รีบกลืนบิณฑบาตนั้น มีปกติ เห็นโทษมีปัญญาเครื่องถอนตน บริโภคอยู่
ดูกรชีวก ท่านจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉนว่า ในสมัยนั้นภิกษุนั้นย่อมคิดเพื่อ เบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น หรือ เพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย บ้างหรือ?
ไม่เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
ดูกรชีวก สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าฉันอาหารอันไม่มีโทษมิใช่หรือ?
อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า พรหมมีปกติอยู่ด้วยอุเบกขา คำนั้นเป็นแต่ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมา คำนี้พระผู้มี พระภาคเป็นองค์พยานปรากฎแล้ว ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีปกติอยู่ด้วยอุเบกขา.
ดูกรชีวก บุคคลพึงมีความเบียดเบียน มีความไม่ยินดี มีความกระทบกระทั่ง เพราะราคะโทสะ โมหะใด ราคะ โทสะ โมหะนั้น ตถาคตละแล้วมีมูลอันขาดแล้ว เป็นดุจตาลยอดด้วน |