เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
พระราหูล เอตทัคคะด้านผู้ใคร่ต่อการศึกษา
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของพระราหุล
พระโอรสของพระพุทธเจ้า พระสารรีบุตรเป็นผู้บวชให้

         ออกไปหน้าหลัก 3 of 4
  พระราหุล จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  (1) ราหุลมีธรรมที่บ่มวิมุตติแก่กล้าแล้ว ถ้ากระไร เราพึงแนะนำราหุลในธรรมที่สิ้นอาสวะยิ่งขึ้นเถิด (จูฬราหุโลวาทสูตร)
  (2) จักขุสูตร : (จักษุ โสต ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา)
  (3) รูปสูตร : (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ไม่เที่ยง)
  (4) วิญญาณสูตร : (จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ไม่เที่ยง )
  (5) สัมผัสสสูตร : (จักขุสัมผัส...โสตสัมผัส...ฆานสัมผัส..ชิวหาสัมผัส...กายสัมผัส..มโนสัมผัส ไม่เที่ยง)
  (6) เวทนาสูตร : (เวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส โสต.. ฆาน.. ชิวหา.. กายะ.. มโนสัมผัส ไม่เที่ยง)
  (7) สัญญาสูตร : (รูปสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา ไม่เที่ยง)
  (8) เจตนาสูตร : (รูปสัญเจตนา สัทท.. คันธ... รส...โผฏฐัพพ... ธัมมสัญเจตนา ไม่เที่ยง)
   
  (9) ตัณหาสูตร : (รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา ไม่เที่ยง)
  (10) ธาตุสูตร : (ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ไม่เที่ยง)
  (11) ขันธสูตร : (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง)
  (12) จักขุสูตร : (สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ..จักษุ โสต ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์)
  (13) รูปสูตร : (รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ ไม่เที่ยง)
  (14) วิญญาณสูตร : (จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ... ชิวหา.. กาย... มโนวิญญาณ ไม่เที่ยง)
  (15) สัมผัสสสูตร : (จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆาน...ชิวหา... กายสัมผัส มโนสัมผัส ไม่เที่ยง)
  (16) เวทนาสูตร : (เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ... ฆาน...ชิวหา...กาย...มโนสัมผัส ไม่เที่ยง)
   
  (17) สัญญาสูตร : (รูปสัญญาสัททสัญญา คันธ...รส... โผฏฐัพพ.. ธัมมสัญญา ไม่เที่ยง)
  (18) เจตนาสูตร : (ความจงใจที่ยึดรูป เสียง กลิ่น รส ...เป็นอารมณ์ ไม่เที่ยง)
  (19) ตัณหาสูตร : (รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัญหา โผฏฐัพพตัณหา ไม่เที่ยง)
  (20) ธาตุสูตร : (ธาตุ ๖- ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ไม่เที่ยง)
  (21) ขันธสูตร : รูป เวทนา สัญญา..ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ไม่ควรตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา เป็นตัวตนของเรา
  (22) อนุสยสูตร : (เห็นอยู่อย่างไร ทิฐิว่าเป็นเรา ตัณหาว่าเป็นของเรา และมานานุสัย จึงจะไม่มีในกายที่มีใจครองนี้)
  (23) อปคตสูตร : (เห็นอยู่อย่างไร ใจ จึงจึงจะปราศจาก อหังการ มมังการ และมานะ)
 
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๘๑ - ๓๘๕

(1)
จูฬราหุโลวาทสูตร

          [๗๙๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้น ประทับอยู่ในที่รโหฐาน ได้เกิดพระปริวิตกทางพระหฤทัยขึ้นอย่างนี้ว่า ราหุล มีธรรมที่บ่มวิมุตติแก่กล้าแล้ว แล ถ้ากระไร เราพึงแนะนำราหุลในธรรม ที่สิ้นอาสวะยิ่งขึ้นเถิด

          [๗๙๖] ต่อนั้น พระผู้มีพระภาคทรงครองสบง ทรงบาตรจีวรเสด็จเข้าไป บิณฑบาต ยังพระนครสาวัตถีในเวลาเช้า ครั้นเสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลา พระกระยาหารแล้ว ได้ตรัสกะท่านพระราหุลว่า

           ดูกรราหุล เธอจงถือผ้ารองนั่ง เราจักเข้าไปยังป่าอันธวัน เพื่อพักผ่อน กลางวันกัน ท่านพระราหุลทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า แล้ว จึงถือผ้ารองนั่งติดตามพระผู้มีพระภาคไป ณ เบื้องพระปฤษฎางค์

          ก็สมัยนั้นแล เทวดาหลายพันตนได้ติดตามพระผู้มีพระภาคไปด้วย ทราบว่า วันนี้ พระผู้มีพระภาค จักทรงแนะนำท่าน พระราหุลในธรรมที่สิ้นอาสวะยิ่งขึ้น

           ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าถึงป่าอันธวันแล้ว จึงประทับนั่ง ณ อาสนะที่ท่านพระราหุลแต่งตั้ง ณ ควงไม้แห่งหนึ่ง แม้ท่านพระราหุล ก็ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

          [๗๙๗] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกร ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

          [๗๙๘] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

          [๗๙๙] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุวิญญาณเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

          [๘๐๐] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุสัมผัสเที่ยง หรือไม่เที่ยง
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ ตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
ร. ไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า

          [๘๐๑] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยแม้นั้น เที่ยงหรือไม่เที่ยง
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น
สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

          [๘๐๒] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน โสตะเที่ยงหรือไม่เที่ยง
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ

พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฆานะเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ

พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ชิวหาเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ

พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ

          [๘๐๓] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มโนเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น
สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

          [๘๐๔] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมารมณ์ เที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น
สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

          [๘๐๕] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มโนวิญญาณ เที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น
สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

          [๘๐๖] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มโนสัมผัส เที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

          [๘๐๗] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้นั้น เที่ยงหรือไม่เที่ยง
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่ จะตามเห็น สิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
ร. ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า

          [๘๐๘] พ. ดูกรราหุล อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุสัมผัส
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัยนั้น
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อ หน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น

          เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้น แล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

          [๘๐๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระราหุล จึงชื่นชม ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล

          ก็แหละเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสคำเป็นไวยากรณ์นี้อยู่ จิตของท่านพระ ราหุล หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น และเทวดาหลายพันตนนั้น ได้เกิดดวงตาเห็นธรรม อันปราศจากธุลีหมดมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา

จบ จูฬราหุโลวาทสูตร ที่ ๕



(2)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔๒ - ๒๔๗

ราหุลสังยุตต์ / ปฐมวรรคที่ ๑

จักขุสูตร

          [๕๙๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุล เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระราหุล เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

         ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาสขอพระผู้มีพระภาค จงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียวหลีก ออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียรส่งตนไปแล้ว อยู่

          [๖๐๐] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง
         ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

         พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า
         รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

         พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรละหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
         รา. ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

         พ. โสต ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง
         รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

         พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
         รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

         พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรละหรือที่จะ ตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
         รา. ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

         [๖๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในโสต ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในฆานะ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในกาย ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิต หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า จิตหลุดพ้นแล้ว ดังนี้อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้ มิได้มี

จบสูตรที่ ๑

[พึงทำสูตรทั้ง ๑๐ สูตร โดยเปยยาลเช่นนี้]
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(3)
รูปสูตร
(รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ไม่เที่ยง)

          [๖๐๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนรูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ...ธรรมารมณ์ เที่ยงหรือไม่เที่ยง

           ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ...

          [๖๐๓] ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเสียง ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในกลิ่น ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรส ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในโผฏฐัพพะ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในธรรมารมณ์ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ จบสูตรที่ ๒
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(4)
วิญญาณสูตร
(จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ไม่เที่ยง )

          [๖๐๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักขุวิญญาณ ... โสตวิญญาณ ... ฆานวิญญาณ ...ชิวหาวิญญาณ ... กายวิญญาณ ... มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง

          ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ...

          [๖๐๕] ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในโสตวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในฆานวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในชิวหาวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในกายวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในมโนวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ

จบสูตรที่ ๓
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(5)
สัมผัสสสูตร
(จักขุสัมผัส...โสตสัมผัส...ฆานสัมผัส..ชิวหาสัมผัส...กายสัมผัส..มโนสัมผัส ไม่เที่ยง)

          [๖๐๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักขุสัมผัส ... โสตสัมผัส ... ฆานสัมผัส ...ชิวหา สัมผัส ... กายสัมผัส ... มโนสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง

ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ...

          [๖๐๗] ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งใน จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในโสตสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในฆานสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในชิวหาสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในกายสัมผัส ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในมโนสัมผัส เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ

จบสูตรที่ ๔
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


(6)
เวทนาสูตร
(เวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส โสต.. ฆาน.. ชิวหา.. กายะ.. มโนสัมผัส ไม่เที่ยง)

          [๖๐๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ... เวทนาที่เกิดแต่ โสตสัมผัส ... เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ... เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส ...เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ... เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง
ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า .
..

          [๖๐๙] ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งใน เวทนา ที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในเวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเวทนา ที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเวทนา ที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในเวทนา ที่เกิดแต่มโนสัมผัส เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ

จบสูตรที่ ๕
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(7)
สัญญาสูตร
(รูปสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา ไม่เที่ยง)

 

          [๖๑๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปสัญญา... คันธสัญญา ...รสสัญญา ... โผฏฐัพพสัญญา ... ธัมมสัญญา เที่ยงหรือไม่เที่ยง

           ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ...

          [๖๑๑] ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งใน รูปสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัททสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในคันธสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรสสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในโผฏฐัพพสัญญา ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในธัมมสัญญา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ
จบสูตรที่ ๖
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(8)
เจตนาสูตร
(รูปสัญเจตนา สัทท.. คันธ... รส...โผฏฐัพพ... ธัมมสัญเจตนา ไม่เที่ยง)

          [๖๑๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า

           ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปสัญเจตนา ... สัททสัญเจตนา ...คันธสัญเจตนา ... รสสัญเจตนา ... โผฏฐัพพสัญเจตนา ... ธัมมสัญเจตนา เที่ยงหรือไม่เที่ยง

          ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ...

          [๖๑๓] ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูปสัญเจตนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัททสัญเจตนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในคันธสัญเจตนา ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรสสัญเจตนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในโผฏฐัพพสัญเจตนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้ง ในธัมมสัญเจตนา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ

จบสูตรที่ ๗
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(9)
ตัณหาสูตร
(รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา ไม่เที่ยง)

 

          [๖๑๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า

          ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปตัณหา ... สัททตัณหา ... คันธตัณหา ...รสตัณหา ... โผฏฐัพพตัณหา ... ธัมมตัณหา เที่ยงหรือไม่เที่ยง

          ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ...

          [๖๑๕] ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูปตัณหา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัททตัณหา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในคันธตัณหา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรสตัณหา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในโผฏฐัพพตัณหา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในธัมมตัณหา

          เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ

จบสูตรที่ ๘
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(10)
ธาตุสูตร
(ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ไม่เที่ยง)

          [๖๑๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า

          ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ปฐวีธาตุ ... อาโปธาตุ ... เตโชธาตุ ...วาโยธาตุ ... อากาสธาตุ ... วิญญาณธาตุ เที่ยงหรือไม่เที่ยง

          ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ...

          [๖๑๗] ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในปฐวีธาตุ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในอาโปธาตุ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเตโชธาตุ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวาโยธาตุ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในอากาสธาตุ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณธาตุ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ
จบสูตรที่ ๙
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(11)
ขันธสูตร
(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง)

          [๖๑๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ...

          พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
          รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

          พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรละหรือ ที่จะ ตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้
          รา. ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

          [๖๑๙] ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัดเพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว ดังนี้ อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้

จบสูตรที่ ๑๐
จบปฐมวรรคที่ ๑



(12)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔๙ - ๒๕๔
ทุติยวรรคที่ ๒

จักขุสูตร
(สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ..จักษุ โสต ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์)

          [๖๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุล ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง

          [๖๒๑] ครั้นท่านพระราหุลนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านว่า

          ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
          จักษุ เที่ยงหรือไม่เที่ยง
          ท่านพระราหุล กราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

          พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
          รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

          พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
          รา. ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

          พ. โสต ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง
          รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

          พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
          รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

          พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
          รา. ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

          [๖๒๒] ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งใน จักษุ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในโสต ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในกาย ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า จิตหลุดพ้นแล้ว

           อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีดังนี้

จบสูตรที่ ๑

[พึงทำสูตรทั้ง ๑๐ โดยเปยยาลเช่นนี้]

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(13)
รูปสูตร

(รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ ไม่เที่ยง)

          [๖๒๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาค ตรัสถาม ว่า

           ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ เที่ยงหรือไม่เที่ยง

          ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ...

จบสูตรที่ ๒
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(14)
วิญญาณสูตร
(จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ... ชิวหา.. กาย... มโนวิญญาณ ไม่เที่ยง)

          [๖๒๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถาม ว่า

           ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักขุวิญญาณ ... โสตวิญญาณ ... ฆานวิญญาณ ... ชิวหาวิญญาณ ... กายวิญญาณ ... มโนวิญญาณ เที่ยงหรือ ไม่เที่ยง

           ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ...

จบสูตรที่ ๓
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(15)
สัมผัสสสูตร

(จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆาน...ชิวหา... กายสัมผัส มโนสัมผัส ไม่เที่ยง)

          [๖๒๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า

          ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน จักขุสัมผัส ... โสตสัมผัส ... ฆานสัมผัส ...ชิวหาสัมผัส ... กายสัมผัส ... มโนสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง

           ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

จบสูตรที่ ๔
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(16)
เวทนาสูตร

(เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ... ฆาน...ชิวหา...กาย...มโนสัมผัส ไม่เที่ยง)

          [๖๒๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัส ถาม ว่า

          ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ... เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส ... เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ... เวทนาที่เกิดแต่ชิวหา สัมผัส ...เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ... เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง

          ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ...

จบสูตรที่ ๕
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(17)
สัญญาสูตร

(รูปสัญญา สัททสัญญา คันธ...รส... โผฏฐัพพ.. ธัมมสัญญา ไม่เที่ยง)

          [๖๒๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิก เศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า

           ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปสัญญา ... สัททสัญญา ... คันธสัญญา ...รสสัญญา ... โผฏฐัพพสัญญา ... ธัมมสัญญา เที่ยงหรือไม่เที่ยง

          ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ...

จบสูตรที่ ๖
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(18)
เจตนาสูตร

(ความจงที่ยึดรูป เสียง กลิ่น รส ...เป็นอารมณ์ ไม่เที่ยง)

          [๖๒๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า

          ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปสัญเจตนา*.. สัททสัญเจตนา ... คันธสัญเจตนา ... รสสัญเจตนา ... โผฏฐัพพสัญเจตนา ...ธัมมสัญเจตนา เที่ยงหรือไม่เที่ยง
*(ความจงที่ยึดรูป เสียง กลิ่น รส...เป็นอารมณ์)
หมวดสัญเจตนา ๖ (P1126)
๑. รูปสัญเจตนา         [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์]
๒. สัททสัญเจตนา      [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์]
๓. คันธสัญเจตนา       [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์]
๔. รสสัญเจตนา         [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์]
๕. โผฏฐัพพสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์]
๖. ธัมมสัญเจตนา       [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็น
อารมณ์]


          ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ...

จบสูตรที่ ๗
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(19)
ตัณหาสูตร

(รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัญหา โผฏฐัพพตัณหา ไม่เที่ยง)

          [๖๒๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า

           ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปตัณหา ... สัททตัณหา ... คันธตัณหา ... รสตัณหา ... โผฏฐัพพตัณหา ... เที่ยงหรือไม่เที่ยง
          
           ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ...

จบสูตรที่ ๘
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(20)
ธาตุสูตร

(ธาตุ ๖- ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ไม่เที่ยง)

          [๖๓๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า

           ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ปฐวีธาตุ ... อาโปธาตุ ... เตโชธาตุ ...วาโยธาตุ ... อากาสธาตุ ... วิญญาณธาตุ เที่ยงหรือไม่เที่ยง

           ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ...

จบสูตรที่ ๙

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(21)
ขันธสูตร

(รูป เวทนา สัญญา ...ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ไม่ควรตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา )

          [๖๓๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า

           ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง
           ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

          พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
          รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

          พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรละหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
          รา. ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

          พ. ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัดเพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว ดังนี้

           อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้

จบสูตรที่ ๑๐
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(22)
อนุสยสูตร

(เห็นอยู่อย่างไร ทิฐิว่าเป็นเรา ตัณหาว่าเป็นของเรา และมานานุสัย จึงจะไม่มีในกาย ที่มีใจครองนี้)

          [๖๓๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุล เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระราหุล นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามว่า

           ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร ทิฐิว่าเป็นเรา ตัณหาว่า
เป็นของเราและมานานุสัย จึงจะไม่มีในกายที่มีใจครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก

          [๖๓๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี ที่เป็นอนาคตก็ดี ที่เป็นปัจจุบันก็ดี ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดีประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี

           รูปทั้งหมดนั้น อันอริยสาวกย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้

           เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขารเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ...วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี ที่เป็นอนาคตก็ดี ที่เป็นปัจจุบันก็ดี ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดีหยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี วิญญาณทั้งหมดนั้น อันอริยสาวก ย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้

           ดูกรราหุล เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล ทิฐิว่าเป็นเราตัณหาว่าเป็นของเรา และ มานานุสัย จึงไม่มีในกายที่มีใจครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก

จบสูตรที่ ๑๑
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(23)
อปคตสูตร

(เห็นอยู่อย่างไร ใจ จึงจึงจะปราศจาก อหังการ มมังการ และมานะ)

          [๖๓๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุล เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระราหุลนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

           ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่อย่างไร มนัส(ใจ) จึงจะปารศจาก อหังการ มมังการและมานะ ในกายที่มีใจครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วง ส่วนแห่งมานะด้วยดี สงบระงับ พ้นวิเศษแล้ว

          [๖๓๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี ที่เป็นอนาคตก็ดี ที่เป็นปัจจุบันก็ดี ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดีเลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี รูปทั้งหมดนั้น อันอริยสาวกเห็นแล้วด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้

          ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นไปเพราะไม่ถือมั่น [ขันธ์ทั้งห้าก็ควรทำอย่างนี้] เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี ที่เป็นอนาคตก็ดี ที่เป็นปัจจุบันก็ดี ที่เป็นภายในก็ดีที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดีเลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกล ก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดีวิญญาณทั้งหมดนั้น อันอริยสาวกเห็นแล้วด้วยปัญญา อันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา ดังนี้

          ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นไปเพราะไม่ถือมั่นดูกรราหุล เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ อย่างนี้ แล มนัสจึงจะปราศจากอหังการ มมังการ และมานะในกายที่มีใจครองนี้ และใน สรรพนิมิต ภายนอก ก้าวล่วงส่วนแห่งมานะด้วยดี สงบระงับพ้นวิเศษแล้ว ดังนี้

จบสูตรที่ ๑๒
จบทุติยวรรคที่ ๒

 

   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์