เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ธรรมมีประเภท ๖ เป็นไฉน 1126
ธรรมมี ๑๐ ประเภท
สังคีติสูตร
ประเภท
1
P1121
ประเภท
2
P1122
ประเภท
ละ 3

P1123
ประเภท
ละ
4
P1124
ประเภท
ละ
5
P1125
ประเภท
ละ 6

P1226
ประเภท
ละ
7
P1127
ประเภท
ละ
8
P1128
ประเภท
ละ 9

P1129
ประเภท
ละ
10
P1130
 ธรรมมีประเภทละ ๖ (22 เรื่อง)  
(1) อายตนะภายใน ๖ (12) โทมนัสสุปวิจาร ๖
(2) อายตนะภายนอก ๖ (13) อุเปกขูปวิจาร ๖
(3) หมวดวิญญาณ ๖ (14) สาราณียธรรม ๖
(4) หมวดผัสสะ ๖ (15) มูลเหตุแห่งการวิวาท ๖
(5) หมวดเวทนา ๖ (16) ธาตุ ๖
(6) หมวดสัญญา ๖ (17) สสารณียธาตุ ๖
(7) หมวดสัญเจตนา ๖ (18) อนุตตริยะ ๖
(8) หมวดตัณหา ๖ (19) อนุสสติฐาน ๖
(9) อคารวะ ๖ อย่าง (20) สตตวิหาร ๖
(10) คารวะ ๖ อย่าง (21) อภิชาติ ๖
(11) โสมนัสสุปวิจาร ๖ (22) นิพเพธภาคิยสัญญา ๖
 

ฉบับหลวง  เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๐๗

สังคีติสูตร
ธรรมมีประเภทละ ๖


(1) อายตนะภายใน ๖ อย่าง
๑. อายตนะ คือตา
๒. อายตนะ คือหู
๓. อายตนะ คือจมูก
๔. อายตนะ คือลิ้น
๕. อายตนะ คือกาย
๖. อายตนะ คือใจ



(2) อายตนะภายนอก ๖ อย่าง

๑. อายตนะ คือ รูป
๒. อายตนะ คือ เสียง
๓. อายตนะ คือ กลิ่น
๔. อายตนะ คือ รส
๕. อายตนะ คือ โผฏฐัพพะ
๖. อายตนะ คือ ธรรม

(3) หมวดวิญญาณ ๖
๑. จักขุวิญญาณ        [ความรู้สึกอาศัยตา]
๒. โสตวิญญาณ        [ความรู้สึกอาศัยหู]
๓. ฆานวิญญาณ        [ความรู้สึกอาศัยจมูก]
๔. ชิวหาวิญญาณ      [ความรู้สึกอาศัยลิ้น]
๕. กายวิญญาณ        [ความรู้สึกอาศัยกาย]
๖. มโนวิญญาณ        [ความรู้สึกอาศัยใจ]


(4) หมวดผัสสะ ๖

๑. จักขุสัมผัสส์        [ความถูกต้องอาศัยตา]
๒. โสตสัมผัสส์        [ความถูกต้องอาศัยหู]
๓. ฆานสัมผัสส์        [ความถูกต้องอาศัยจมูก]
๔. ชิวหาสัมผัสส์      [ความถูกต้องอาศัยลิ้น]
๕. กายสัมผัสส์        [ความถูกต้องอาศัยกาย]
๖. มโนสัมผัสส์        [ความถูกต้องอาศัยใจ]


(5) หมวดเวทนา ๖

๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา     [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยตา]
๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา     [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยหู]
๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา     [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยจมูก]
๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา    [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยลิ้น]
๕. กายสัมผัสสชาเวทนา     [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยกาย]
๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา     [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยใจ]


(6) หมวดสัญญา ๖

๑. รูปสัญญา            [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์]
๒. สัททสัญญา         [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์]
๓. คันธสัญญา          [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์]
๔. รสสัญญา            [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์]
๕. โผฏฐัพพสัญญา    [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์]
๖. ธัมมสัญญา          [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์]


(7) หมวดสัญเจตนา ๖

๑. รูปสัญเจตนา         [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์]
๒. สัททสัญเจตนา      [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์]
๓. คันธสัญเจตนา       [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์]
๔. รสสัญเจตนา         [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์]
๕. โผฏฐัพพสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์]
๖. ธัมมสัญเจตนา       [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์]


(8) หมวดตัณหา ๖

๑. รูปตัณหา          [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์]
๒. สัททตัณหา       [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์]
๓. คันธตัณหา        [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์]
๔. รสตัณหา          [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์]
๕. โผฏฐัพพตัณหา  [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์]
๖. ธัมมตัณหา        [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์]


(9) อคารวะ ๖ อย่าง

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรง  ในพระศาสดาอยู่
๒. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่
๓. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่
๔. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในการศึกษาอยู่
๕. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในความไม่ประมาทอยู่
๖. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในการปฏิสันถารอยู่ ฯ

(10) คารวะ ๖ อย่าง
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้เคารพยำเกรงในพระศาสดาอยู่
๒. เป็นผู้เคารพยำเกรงในพระธรรมอยู่
๓. เป็นผู้เคารพยำเกรงในพระสงฆ์อยู่
๔. เป็นผู้เคารพยำเกรงในการศึกษาอยู่
๕. เป็นผู้เคารพยำเกรงในความไม่ประมาทอยู่
๖. เป็นผู้เคารพยำเกรงในการปฏิสันถารอยู่ ฯ


(11) โสมนัสสุปวิจาร ๖ อย่าง
๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่ง โสมนัส
๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ฯ

(12) โทมนัสสุปวิจาร ๖ อย่าง
๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่ง โทมนัส
๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ฯ


(13) อุเปกขูปวิจาร ๖ อย่าง

๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา
๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

(14) สาราณียธรรม ๖ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรม ประกอบด้วย เมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรมข้อนี้เป็นที่ตั้ง แห่งความระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อมเพรียง เพื่อความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งวจีกรรม ประกอบด้วย เมตตาในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า และลับหลังธรรม แม้ข้อนี้ ก็เป็นที่ตั้งแห่งความ ระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำ ให้เป็นที่ เคารพ เป็นไปเพื่อความ สงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อม เพรียง เพื่อความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งมโนกรรม ประกอบด้วย เมตตา ในเพื่อนสพรหมจารี ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลังธรรม แม้ข้อ นี้ก็เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำ ให้เป็น ที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อม เพรียง เพื่อ ความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ลาภอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งประกอบด้วย ธรรม ได้มาแล้วโดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงอาหาร ในบาตร ไม่หวงกันด้วยลาภ เห็นปาน ดังนั้น แบ่งปันกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีล ธรรมแม้ข้อนี้ก็เป็นที่ตั้ง แห่งความ ระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อ ความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อม เพรียงเพื่อความเป็น อันหนึ่ง อันเดียวกัน ฯ

 ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ศีลอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ ไม่เกี่ยวด้วยตัณหาและทิฐิ เป็นไป เพื่อสมาธิ ภิกษุเป็นผู้ถึงความเป็นผู้เสมอกันโดยศีลในศีลเห็นปานดังนั้น กับเพื่อน สพรหมจาร ีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลังอยู่ ธรรมแม้ข้อนี้ก็เป็นที่ตั้งแห่งความ ระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รักเป็นเครื่องกระทำ ให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อ ความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อมเพรียงเพื่อความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน ฯ

๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ทิฐิอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่ง ประเสริฐ  เป็นเครื่อง นำสัตว์ ออกจากทุกข์ ย่อมนำออกเพื่อความ สิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำ ทิฐินั้น ภิกษุเป็นผู้ถึงความ เป็นผู้เสมอกัน โดยทิฐิในทิฐิเห็นปานดังนั้น กับเพื่อน สพรหมจารี ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า และ ลับหลังอยู่ ธรรมแม้ข้อนี้ก็เป็นที่ตั้งแห่ง ความระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่อง กระทำให้เป็น ที่เคารพ เป็นไปเพื่อความ สงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อมเพรียง เพื่อความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

15) มูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ อย่าง

๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ มักผูกโกรธไว้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มักโกรธ มักผูกโกรธไว้นั้น ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรง แม้ในพระศาสดาอยู่ ย่อมจะ ไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรง แม้ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมจะ ไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา

ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรง ในพระธรรม อยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาท ซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความ พินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ แก่เทวดา และมนุษย์ ทั้งหลาย ขึ้นในสงฆ์

ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่ง ความ วิวาท เห็นปานดังนี้ ทั้งภายใน ภายนอก พึงพยายามที่จะละมูลเหตุแห่งความวิวาท อันเลวทราม เช่นนั้นเสีย

ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาไม่เห็น มูลเหตุ แห่ง ความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายใน ภายนอก พึงปฏิบัติ เพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งความวิวาท อันเลวทราม เช่นนั้น ต่อไป เมื่อพยายาม ได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาท อันเลวทราม เช่นนี้เสียได้ เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้มูลเหตุ แห่ง ความวิวาท อันเลวทราม เช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีกต่อไป

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ลบหลู่ตีเสมอ ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ลบหลู่ตีเสมอ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรง  แม้ในพระศาสดา อยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ใน พระสงฆ์ อยู่ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ แม้ในสิกขา

ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรง ใน พระธรรม อยู่ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์ อยู่ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาท ซึ่งเป็นไป เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก  เพื่อมิใช่สุข แก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายขึ้นในสงฆ์

ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณา  เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายใน ภายนอก พึงพยายามที่จะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทราม เช่นนั้น เสีย ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณา ไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาท เห็นปาน ดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติ เพื่อไม่ให้มีมูลเหตุ แห่งความวิวาทอันเลวทราม เช่นนั้นต่อไป เมื่อพยายาม ได้เช่นนี้ย่อมจะ ละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทราม เช่นนี้เสียได้ เมื่อปฏิบัติได้ เช่นนี้มูลเหตุ แห่งความ วิวาทอัน เลวทรามเช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีกต่อไป

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักริษยา มีความตระหนี่ ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มักริษยามีความตระหนี่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรง  แม้ใน พระศาสดาอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรง แม้ใน พระสงฆ์อยู่ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ แม้ในสิกขาภิกษุ ผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงใน พระศาสดาอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรง ในพระธรรมอยู่ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ในพระสงฆ์อยู่ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความ วิวาท ซึ่งเป็นไปเพื่อ มิใช่ประโยชน์ แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความ พินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ขึ้นในสงฆ์

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาเห็นมูลเหตุ แห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอกพึงพยายามที่จะละ มูลเหตุ แห่งความวิวาทอันเลวทราม เช่นนั้น เสีย ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาท เห็นปาน ดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีมูลเหตุ แห่งความวิวาทอันเลวทราม เช่นนั้นต่อไป เมื่อพยายามได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุ แห่งความวิวาทอันเลวทราม เช่นนั้นเสียได้ เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ ย่อมจะมี ไม่ได้อีกต่อไป

 ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา  ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้โอ้อวดมีมารยา ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรง แม้ในพระศาสดาอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรง แม้ใน พระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็น ผู้กระทำ ให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา

ผู้มีอายุทั้งหลายภิกษุ ผู้ไม่เคารพไม่ยำเกรง ในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระธรรม อยู่ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาท ซึ่งเป็นไป เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศ แก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายขึ้นในสงฆ์

ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาท เห็นปานดังนี้  ทั้งภายใน ภายนอก พึงพยายามที่จะละมูลเหตุแห่งความวิวาท อันเลวทราม เช่นนั้นเสีย ถ้าพวกท่าน พิจารณาไม่เห็นมูลเหตุ แห่งความ วิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อ ไม่ให้มี มูลเหตุแห่งความวิวาท อันเลวทรามเช่นนั้น ต่อไป เมื่อพยายามได้เช่นนี้ ย่อมจะละ มูลเหตุแห่งความวิวาท อันเลวทรามเช่นนี้ เสียได้ เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาท อันเลวทราม เช่นนี้ย่อมจะมี ไม่ได้อีกต่อไป

๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความ ปรารถนาลามก มีความเห็นผิด ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรง แม้ในพระศาสดาอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ใน พระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรง แม้ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำ ให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา

ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระธรรม อยู่ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ไม่กระทำ ให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาท ซึ่งเป็นไป เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ ประโยชน์ เพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายขึ้นในสงฆ์

ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่าน พิจารณา เห็นมูลเหตุ แห่งความ วิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายใน ภายนอก พึงพยายามที่จะละ มูลเหตุ แห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นเสียได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่าน พิจารณา ไม่เห็น มูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก  พึงปฏิบัติ เพื่อไม่ให้มีมูลเหตุ แห่งความวิวาท อันเลวทรามเช่นนั้นต่อไป เมื่อพยายามได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่งควา มวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้เสียได้ เมื่อปฏิบัติ ได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาท อันเลวทรามเช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีกต่อไป

 ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยึดมั่นในความเห็นของตน มักถือรั้น คลายได้ยาก ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ยึดมั่นในความเห็นของตน มักถือรั้น คลายได้ยาก ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ในพระศาสดา อยู่ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรง แม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรง แม้ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมเป็นผู้ ไม่กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา

ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่เคารพไม่ยำเกรง ในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรง ในพระธรรม อยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงใน พระสงฆ์อยู่ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาท ซึ่งเป็นไปเพื่อ มิใช่ ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ขึ้นในสงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่าน พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงพยายาม ที่จะละมูลเหตุแห่งความวิวาท อันเลวทรามเช่นนั้นเสีย

ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งความวิวาท อันเลวทรามเช่นนี้ต่อไป เมื่อพยายาม ได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาท อันเลวทรามเช่นนี้เสียได้เมื่อปฏิบัติ ได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาท อันเลวทรามเช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีกต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


(16) ธาตุ ๖ อย่าง

๑. ปฐวีธาตุ         [ธาตุดิน]
๒. อาโปธาตุ        [ธาตุน้ำ]
๓. เตโชธาตุ        ธาตุไฟ]
๔. วาโยธาตุ        [ธาตุลม]
๕. อากาศธาตุ      [ธาตุอากาศ ช่องว่างมีในกาย]
๖. วิญญาณธาตุ   [ธาตุวิญญาณ ความรู้อะไรได้]

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(17) สสารณียธาตุ ๖ อย่าง

๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่ ประกอบด้วย เมตตาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้ เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้วแต่ถึงอย่างนั้น พยาบาท ก็ยัง ครอบงำจิตของเราตั้ง อยู่ได้ ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มี พระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึง ตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่า เมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยเมตตา แต่ถึงอย่างนั้น พยาบาทก็ยังจัก ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้ มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือเจโตวิมุติ ที่ประกอบด้วยเมตตานี้ เป็นเครื่อง สลัดออก ซึ่งความพยาบาท

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า  เจโตวิมุติ ที่ประกอบ ด้วย กรุณาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น วิเหสา ก็ยังครอบงำจิตของเรา ตั้งอยู่ได้ ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าว อย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่ พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาค ไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้วทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติที่ประกอบด้วยกรุณา แต่ถึงอย่างนั้น วิเหสาก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือ เจโตวิมุติที่ประกอบด้วย กรุณานี้เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งวิเหสา

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติ ที่ประกอบด้วย มุทิตาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้วคล่อง แคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น อรติก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าว อย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่ พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลยผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยมุทิตา แต่ถึงอย่างนั้น อรติก็จัก ยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือเจโตวิมุติ ที่ประกอบด้วยมุทิตานี้เป็นเครื่อง สลัดออกซึ่งอรติ

๔. ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่ประกอบ ด้วยอุเบกขาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้วทำให้เป็น ที่ตั้ง แล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น  ราคะก็ยังครอบงำ จิตของเราตั้งอยู่ได้ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลายข้อที่ว่า เมื่อบุคคล อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้วคล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยอุเบกขาแต่ถึงอย่างนั้น ราคะก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสข้อนี้มิใช่ฐานะ จะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือเจโตวิมุติ ที่ประกอบด้วยอุเบกขานี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งราคะ

๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า  เจโตวิมุติ ที่ไม่มีนิมิตแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้วทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นวิญญาณที่แล่นไปตามนิมิตนี้ ก็ยังมีอยู่แก่เราดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่าท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้ พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้วทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่หานิมิตมิได้แต่ถึงอย่างนั้น วิญญาณที่แล่นไปตามนิมิต ก็ยังจักมีแก่เขา ดังนี้ มิใช่ฐานะมิใช่โอกาสข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมชาติคือเจโตวิมุติที่ไม่มีนิมิตนี้ เป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งนิมิตทุกอย่าง

๖. ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อการถือว่าเรามีอยู่ ดังนี้ ของเราหมดไปแล้ว เราก็มิได้พิจารณาเห็นว่า เรานี้มีอยู่แต่ถึงอย่างนั้น ลูกศรคือ ความเคลือบแคลงสงสัย ก็ยังครอบงำจิตของเรา ตั้งอยู่ได้ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าว ดังนี้ว่าท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่ พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้ อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อการถือว่าเรามีอยู่ดังนี้หมดไปแล้ว และเมื่อเขามิได้พิจารณาเห็นว่า เรานี้มีอยู่ แต่ถึงอย่างนั้น ลูกศรคือความเคลือบแคล สงสัย ก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสข้อนี้มิใช่ฐานะ จะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติ คือการเพิกถอน การถือว่าเรามีอยู่นี้เป็นเครื่อง สลัดออก ซึ่งลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

(18) อนุตตริยะ ๖ อย่าง

๑. ทัสสนานุตตริยะ        [การเห็นอย่างยอดเยี่ยม]
๒. สวนานุตตริยะ          [การฟังอย่างยอดเยี่ยม]
๓. ลาภานุตตริยะ          [การได้อย่างยอดเยี่ยม]
๔. สิกขานุตตริยะ         [การศึกษาอย่างยอดเยี่ยม]
๕. ปาริจริยานุตตริยะ     [การบำเรออย่างยอดเยี่ยม]
๖. อนุสสตานุตตริยะ     [การระลึกถึงอย่างยอดเยี่ยม]


(19) อนุสสติฐาน ๖ อย่าง

๑. พุทธานุสสติ           [ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า]
๒. ธัมมานุสสติ            [ระลึกถึงคุณของพระธรรม]
๓. สังฆานุสสติ           [ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์]
๔. สีลานุสสติ             [ระลึกถึงศีล]
๕. จาคานุสสติ           [ระลึกถึงทานที่ตนบริจาค]
๖. เทวตานุสสติ          [ระลึกถึงเทวดา]


(20) สตตวิหาร
[ธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองๆ] ๖ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยนัยน์ตาแล้ว ย่อมเป็น ผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่

๒. ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะ อยู่

๓. ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย  มีสติสัมปชัญญะ อยู่

๔. ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะ อยู่

๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย
มีสติ สัมปชัญญะอยู่

๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย   มีสติสัมปชัญญะอยู่

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

(21) อภิชาติ ๖ อย่าง

๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพธรรมฝ่ายดำ

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพธรรมฝ่ายขาว

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพพระนิพพาน ซึ่งเป็นฝ่าย ที่ไม่ดำไม่ขาว

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพธรรมฝ่ายขาว

๕. ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพธรรมฝ่ายดำ

๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพพระนิพพานซึ่ง เป็นฝ่ายที่ ไม่ดำไม่ขาว

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

(22) นิพเพธภาคิยสัญญา ๖ อย่าง

๑. อนิจจสัญญา           [กำหนดหมายความไม่เที่ยง]
๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา   [กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง]
๓. ทุกเข อนัตตสัญญา  [กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในสิ่งที่เป็นทุกข์]
๔. ปหานสัญญา          [กำหนดหมายเพื่อละ]
๕. วิราคสัญญา           [กำหนดหมายเพื่อคลายเสียซึ่งความกำหนัด]
๖. นิโรธสัญญา           [กำหนดหมายเพื่อความดับสนิท]

            ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๖ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเรา ทั้งหมด ด้วยกัน พึงสังคายนาเป็นอันเดียวกัน ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่ พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้ง อยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุข แก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

จบหมวด ๖






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์