เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 ธรรมมีประเภท๕ เป็นไฉน 1125
ธรรมมี ๑๐ ประเภท
สังคีติสูตร
ประเภท
1
P1121
ประเภท
2
P1122
ประเภท
ละ 3

P1123
ประเภท
ละ
4
P1124
ประเภท
ละ
5
P1125
ประเภท
ละ 6

P1226
ประเภท
ละ
7
P1127
ประเภท
ละ
8
P1128
ประเภท
ละ 9

P1129
ประเภท
ละ
10
P1130
 ธรรมมีประเภทละ ๕ (26 เรื่อง)  
1) ขันธ์ ๕ อย่าง 14) อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ๕ อย่าง
2) อุปาทานขันธ์ ๕ อย่าง 15) ธรรมสำหรับโจทน์ ๕ อย่าง
3) กามคุณ ๕ อย่าง 16) องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร ๕ อย่าง
4) คติ ๕ อย่าง 17) สุทธาวาส ๕
5) มัจฉริยะ ๕ อย่าง 18) พระอนาคามี ๕
6) นีวรณ์ ๕ อย่าง 19) ความกระด้างแห่งจิต ๕ อย่าง
7) โอรัมภาคิยสังโยชน์ [เบื้องต่ำ] ๕ อย่าง 20) ความผูกพันธ์แห่งจิต ๕ อย่าง
8) อุทธัมภาคิยสังโยชน์ [เบื้องบน] ๕ อย่าง 21) อินทรีย์ ๕ อย่าง
9) สิกขาบท ๕ อย่าง 22) อินทรีย์อีก ๕ อย่าง
10) อภัพพฐาน ๕ อย่าง 23) อินทรีย์อีก ๕ อย่าง
11) พยสนะ ๕ อย่าง 24) นิสสารณียธาตุ ๕ อย่าง
12) สัมปทา ๕ อย่าง 25) วิมุตตายตนะ [แดนแห่งวิมุตติ] ๕ อย่าง
13) โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ๕ อย่าง 26) สัญญาอบรมวิมุตติ ๕ อย่าง
 


ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๑๙๔


สังคีติสูตร
ธรรมมีประเภท ๕ เป็นไฉน

1) ขันธ์ ๕ อย่าง
๑. รูปขันธ์           [กองรูป]
๒. เวทนาขันธ์      [กองเวทนา]
๓. สัญญาขันธ์      [กองสัญญา]
๔. สังขารขันธ์      [กองสังขาร]
๕. วิญญาณขันธ์    [กองวิญญาณ]

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

2) อุปาทานขันธ์ ๕ อย่าง
๑. รูปูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ รูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ เวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ สัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ สังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ วิญญาณ)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

3) กามคุณ ๕ อย่าง

๑. รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วย กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยหู ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วย กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ ๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจมูก ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยลิ้น ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วย กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

๕. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

4) คติ ๕ อย่าง
๑. นิรยะ             [นรก]
๒. ติรัจฉานโยนิ   [กำเนิดดิรัจฉาน]
๓. ปิตติวิสัย        [ภูมิแห่งเปรต]
๔. มนุสสะ          [มนุษย์]
๕. เทวะ             [เทวดา]


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

5) มัจฉริยะ ๕ อย่าง
๑. อาวาสมัจฉริยะ    [ตระหนี่ที่อยู่]
๒. กุลมัจฉริยะ        [ตระหนี่สกุล]
๓. ลาภมัจฉริยะ       [ตระหนี่ลาภ]
๔. วัณณมัจฉริยะ     [ตระหนี่วรรณะ]
๕. ธัมมมัจฉริยะ       [ตระหนี่ธรรม]

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

6) นีวรณ์ ๕ อย่าง
๑. กามฉันทนีวรณ์        [ธรรมที่กั้นจิต คือ ความพอใจในกาม]
๒. พยาปาทนีวรณ์        [ธรรมที่กั้นจิต คือความพยาบาท]
๓. ถีนมิทธนีวรณ์          [ธรรมที่กั้นจิต คือความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม]
๔. อุทธัจจกุกกุจจนีวรณ์  [ธรรมที่กั้นจิต คือความฟุ้งซ่านและรำคาญ]
๕. วิจิกิจฉานีวรณ์         [ธรรมที่กั้นจิต คือความสงสัย]

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

7) โอรัมภาคิยสังโยชน์   [สังโยชน์เบื้องต่ำ] ๕ อย่าง
๑. สักกายทิฏฐิ     [ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน]
๒. วิจิกิจฉา         [ความสงสัย]
๓. สีลัพตปรามาส  [ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่ามีได้ด้วยศีลหรือพรต]
๔. กามฉันทะ       [ความพอใจด้วยอำนาจแห่งกาม]
๕. พยาบาท        [ความคิดแก้แค้นผู้อื่น]

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

8) อุทธัมภาคิยสังโยชน์ [สังโยชน์เบื้องบน] ๕ อย่าง
๑. รูปราคะ          [ความติดใจอยู่ในรูปธรรม]
๒. อรูปราคะ        [ความติดใจอยู่ในอรูปธรรม]
๓. มานะ            [ความสำคัญว่าเป็นนั่นเป็นนี่]
๔. อุทธัจจะ        [ความคิดพล่าน]
๕. อวิชชา          [ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง]

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

9)
สิกขาบท ๕ อย่าง

๑. ปาณาติปาตา เวรมณี       [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์]
๒. อทินนาทานา เวรมณี       [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์]
๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี  [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม]
๔. มุสาวาทา เวรมณี          [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ]
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท]

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

10) อภัพพฐาน ๕ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะแกล้งปลงสัตว์จากชีวิต
๒. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะลักทรัพย์ อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย
๓. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะเสพเมถุนธรรม
๔. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะพูดเท็จทั้งรู้อยู่
๕. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะกระทำการสั่งสมบริโภคกาม เหมือนเมื่อครั้งยังเป็น คฤหัสถ์อยู่ ฯ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

11) พยสนะ ๕ อย่าง
๑. ญาติพยสนะ            [ความฉิบหายแห่งญาติ]
๒. โภคพยสนะ             [ความฉิบหายแห่งโภคะ]
๓. โรคพยสนะ              [ความฉิบหายเพราะโรค]
๔. สีลพยสนะ               [ความฉิบหายแห่งศีล]
๕. ทิฏฐิพยสนะ             [ความฉิบหายแห่งทิฐิ]

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ญาติฉิบหายก็ดี เพราะเหตุที่โภคะฉิบหายก็ดี เพราะเหตุ ที่ฉิบหายเพราะโรคก็ดี สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะไม่ต้องเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรกเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ศีลพินาศ หรือเพราะเหตุที่ทิฐิพินาศ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ฯ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

12) สัมปทา ๕ อย่าง
๑. ญาติสัมปทา        [ความถึงพร้อมด้วยญาติ]
๒. โภคสัมปทา        [ความถึงพร้อมด้วยโภคะ]
๓. อาโรคยสัมปทา    [ความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรค]
๔. สีลสัมปทา          [ความถึงพร้อมด้วยศีล]
๕. ทิฏฐิสัมปทา        [ความถึงพร้อมด้วยทิฐิ]

          ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งญาติสัมปทาก็ดี เพราะเหตุแห่งโภค สัมปทาก็ดี เพราะเหตุแห่งอาโรคยสัมปทาก็ดี สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะไม่เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งสีลสัมปทา หรือเพราะเหตุแห่งทิฐิสัมปทา สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ฯ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

13) โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ๕ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย คนทุศีลมีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมเข้าถึงความเสื่อมแห่ง โภคะใหญ่ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้โทษแห่ง ศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่หนึ่ง

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เกียรติศัพท์อันเสียหายของคนทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมระบือไป นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคน ทุศีลข้อที่สอง

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติเข้าไปหาบริษัทใดๆ คือขัตติย บริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัทเป็นผู้ไม่แกล้วกล้า เป็นคน เก้อเขิน เข้าไปหา นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่สาม

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเป็นคนหลงทำกาละ นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ข้อที่สี่

๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่ห้า

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

14) อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ๕ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีลในโลกนี้  ย่อมประสบกองแห่ง โภคะใหญ่ ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ข้อที่หนึ่ง

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เกียรติศัพท์ที่ดีงามของคนมีศีลถึงพร้อม แล้ว ด้วยศีล ย่อมระบือไป นี้อานิสงส์ของศีลสมบัติ ของคนมีศีลข้อที่สอง

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีลเข้าไปหาบริษัท ใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท เป็นผู้แกล้วกล้าไม่เก้อ เขิน เข้าไปหา นี้อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่สาม

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมเป็น ผู้ไม่หลง ทำกาละ นี้อานิสงส์ของศีลสมบัติของ คนมีศีลข้อที่สี่

๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก นี้อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคน มีศีล ข้อที่ห้า

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

15) ธรรมสำหรับโจทน์ ๕ อย่าง
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้เป็นโจทก์ที่ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ ณ ภายในแล้วจึงโจทผู้อื่น คือ
เราจักกล่าวโดยกาลอันควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร
เราจักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำไม่จริง 
เราจักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ
เราจักกล่าวด้วยคำที่ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำที่ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์
เราจักกล่าวด้วยเมตตาจิต จักไม่กล่าวด้วยมีโทสะในภายใน

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้เป็นโจทก์ที่ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ ณ ภายในแล้วจึงโจทผู้อื่น ฯ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

16) องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร ๕ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ ของ พระตถาคตว่า แม้เพราะนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ถึงพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม

๒. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย ประกอบด้วยเตโชธาตุ อันมี วิบากเสมอกัน ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นอย่างกลางๆ ควรแก่ความเพียร

๓. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามเป็นจริงใน พระศาสดา หรือสพรหมจารีที่เป็นวิญญูชน ทั้งหลาย

๔. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อจะละอกุศลธรรม เพื่อจะยัง กุศลธรรม ให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลังใจ มีความ บากบั่นมั่น ไม่ทอดธุระในบรรดาธรรม ที่เป็นกุศล

 ๕. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นเกิดและดับ เป็นปัญญาอย่างประเสริฐ เป็นไปเพื่อชำแรก กิเลส จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

17) สุทธาวาส ๕
๑. อวิหา
๒. อตัปปา
๓. สุทัสสา
๔. สุทัสสี
๕. อกนิฏฐา

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

18) พระอนาคามี ๕

๑. อันตราปรินิพพายี    
[พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง]

๒. อุปหัจจปรินิพพายี 
[พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานต่อเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด]

๓. อสังขารปรินิพพายี 
[พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานด้วย ไม่ต้องใช้ความเพียรนัก]

๔. สสังขารปรินิพพายี 
[พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานด้วย ต้องใช้ความเพียร]

๕. อุทธโสโต อกนิฏฐคามี
[พระอนาคามีผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่ชั้นอกนิฏฐภพ]

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

19) ความกระด้างแห่งจิต ๕ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเคลือบแคลงสงสัย  ไม่เชื่อแน่ไม่ เลื่อมใส ในพระศาสดา ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ เนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นนี้ความกระด้าง แห่งจิตข้อ ที่หนึ่ง

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ไม่ เลื่อมใส ในพระธรรม ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุ ผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความกระด้างแห่งจิตข้อที่สอง ฯ

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ไม่ เลื่อมใสในพระสงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุ ผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความ กระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความกระด้างแห่งจิต ข้อที่สาม ฯ

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ไม่ เลื่อมใสในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุ ผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในสิกขา ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความ กระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความกระด้างแห่งจิตข้อที่สี่ ฯ

๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้โกรธขัดเคือง มีจิตอันโทสะ กระทบแล้ว มีจิตเป็นเสมือนตะปู ในสพรหมจารี ทั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของ ภิกษุ ผู้โกรธขัดเคือง มีจิตอันโทสะกระทบแล้ว มีจิตเสมือนตะปู ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น นี้ความกระด้างแห่งจิตข้อที่ห้า

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

20) ความผูกพันธ์แห่งจิต ๕ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในกาม ทั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหายความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในกามทั้งหลาย ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ  เพื่อความกระทำเป็นไป ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น  นี้ความผูกพันธ์แห่งจิตข้อที่หนึ่ง ฯ

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในกาย ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในกาย ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร   เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์แห่งจิตข้อที่สอง ฯ

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก  ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในรูป ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหายความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในรูป ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์แห่งจิตข้อที่สาม ฯ

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุบริโภคอิ่มหนำพอแก่ความต้องการ แล้วประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการหลับอยู่ ภิกษุทั้งหลายจิตของภิกษุผู้บริโภค อิ่มหนำพอแก่ความต้องการแล้ว ประกอบ ความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการหลับอยู่ย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความ เพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์แห่งจิตข้อที่สี่ ฯ

๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนา หมู่เทพเจ้า หมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้า หรือเป็น เทพ องค์ใด องค์หนึ่ง ดังนี้ ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ปรารถนา หมู่เทพเจ้าหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล พรต ตบะหรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้า หรือ เป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ดังนี้ ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ เนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์แห่ง จิตข้อที่ห้า ฯ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------


21) อินทรีย์ ๕ อย่าง

๑. จักขุนทรีย์          [อินทรีย์คือตา]
๒. โสตินทรีย์          [อินทรีย์คือหู]
๓. ฆานินทรีย์          [อินทรีย์คือจมูก]
๔. ชิวหินทรีย์          [อินทรีย์คือลิ้น]
๕. กายินทรีย์          [อินทรีย์คือกาย]

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

22)
อินทรีย์อีก ๕ อย่าง

๑. สุขุนทรีย์           [อินทรีย์คือสุข]
๒. ทุกขินทรีย์         [อินทรีย์คือทุกข์]
๓. โสมนัสสินทรีย์    [อินทรีย์คือโสมนัส]
๔. โทมนัสสินทรีย์    [อินทรีย์คือโทมนัส]
๕. อุเปกขินทรีย์       [อินทรีย์คืออุเบกขา]

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

23) อินทรีย์อีก ๕ อย่าง
๑. สัทธินทรีย์          [อินทรีย์คือศรัทธา]
๒. วิริยินทรีย์           [อินทรีย์คือวิริยะ]
๓. สตินทรีย์           [อินทรีย์คือสติ]
๔. สมาธินทรีย์        [อินทรีย์คือสมาธิ]
๕. ปัญญินทรีย์        [อินทรีย์คือปัญญา]

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

24) นิสสารณียธาตุ ๕ อย่าง

๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการถึงกามทั้งหลายอยู่ จิตย่อม ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะกามทั้งหลาย แต่ว่า เมื่อเธอ มนสิการ ถึงเนกขัมมะอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใสตั้งอยู่ พ้นวิเศษ ในเพราะเนกขัมมะ จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้วออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจาก กาม ทั้งหลาย และเธอ พ้นแล้วจากอาสวะ อันเป็นเหตุเดือดร้อน กระวนกระวาย ซึ่งมีกาม เป็นปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่า เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกาม ทั้งหลาย ฯ

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงความพยาบาทอยู่ จิตย่อม ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะความพยาบาท แต่ว่าเมื่อเธอ มนสิการ ถึงความไม่พยาบาทอยู่แล จิตย่อมแล่นไปเลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะ ความไม่พยาบาทจิตของเธอนั้นไปดีแล้วอบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้ว จากความพยาบาท และเธอพ้นแล้วจาก อาสวะ อันเป็นเหตุ เดือดร้อน กระวน กระวาย ซึ่งมีความพยาบาทเป็นปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวย เวทนา นั้น ข้อนี้กล่าว ได้ว่า เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความพยาบาท ฯ

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงความเบียดเบียนอยู่ จิตย่อม ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะความเบียดเบียน แต่ว่าเมื่อเธอ มนสิการถึงความไม่เบียดเบียนอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะ ความไม่เบียดเบียน จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากความ เบียดเบียน และเธอพ้นแล้วจาก อาสวะ อันเป็นเหตุเดือดร้อน กระวนกระวาย ซึ่งมีความเบียดเบียนเป็นปัจจัยเกิดขึ้น และเธอ ย่อม ไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งความเบียดเบียน ฯ

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงรูปทั้งหลายอยู่ จิตย่อม ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะรูปทั้งหลายแต่ว่า เมื่อเธอ มนสิการ ถึงอรูปอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะอรูป จิตของ เธอนั้น ไปดีแล้วอบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้วพรากแล้ว จากรูป ทั้งหลาย และเธอพ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อน กระวนกระวาย ซึ่งมีรูป เป็นปัจจัย เกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งรูปทั้งหลาย

๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงกายของตนอยู่ จิตย่อม ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งใจอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะกายของตน แต่ว่าเมื่อเธอ มนสิการถึงความดับแห่งกายของตนอยู่แล จิตย่อมแล่นไปเลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษ ในเพราะ ความดับ แห่งกายของตน จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากกาย ของตนและเธอ พ้นแล้ว จากอาสวะอันเป็นเหตุ เดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีกายของตน เป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้ กล่าวได้ว่า เป็น เครื่องสลัดออกซึ่งกายของตน

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

25) วิมุตตายตนะ [แดนแห่งวิมุตติ] ๕ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีองค์ใดองค์หนึ่ง ซึ่งควรแก่ ตำแหน่งครู ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนั้น รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ในธรรมนั้นโดยประการที่พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใดองค์หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู แสดงแก่เธอความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอ ผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมความอิ่มใจ ย่อมเกิด แก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอ ผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอ ผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่หนึ่ง

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใด องค์หนึ่ง ซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรม แก่ภิกษุไม่เลย แต่เธอแสดงธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนไว้แก่คนอื่นๆ โดยพิสดาร ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ในธรรมนั้น โดยอาการที่ตนได้แสดงแก่คนอื่นๆ นั้น ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอ ผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอ ผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอ ผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้วย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มี ความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่สอง

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใด องค์หนึ่ง ซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรม แก่ภิกษุไม่เลย แต่เธอกระทำการ สาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนไว้แล้วโดยพิสดาร ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถรู้ แจ้งธรรม ในธรรมนั้น โดยอาการที่ตนกระทำการสาธยายนั้น ความปราโมทย์ ย่อมเกิดแก่เธอ ผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจ ย่อมเกิด แก่เธอ ผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอ ผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่สาม

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใด องค์หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรม แก่ภิกษุไม่เลย แต่ว่าเธอตรึกตรอง ตาม ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนไว้ด้วยจิต เพ่งตามด้วยใจ ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ในธรรมนั้น โดยอาการที่ตนตรึกตรองตามด้วยจิต เพ่งตามด้วยใจนั้น ความปราโมทย์ ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจ ย่อมเกิดแก่เธอ ผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับเธอผู้มีกายสงบ ระงับ แล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่นนี้แดนวิมุตติข้อที่สี่

๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใด องค์หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรม แก่ภิกษุไม่เลย แต่ว่าเธอเรียนสมาธิ นิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการที่ได้เรียนสมาธิ นิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยดี ทำ ไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดีแทงตลอด ด้วยดี ด้วยปัญญาแล้วนั้น ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจ ย่อมเกิด แก่เธอ ผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้วย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่ห้า

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------


26) สัญญาอบรมวิมุตติ ๕ อย่าง
๑. อนิจจสัญญา
[สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณ เป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง]

๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา
[สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณ เป็นเครื่องพิจารณา เห็นว่าเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง]

๓. ทุกเข อนัตตสัญญา
[สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณ เป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ตนในสิ่งที่เป็นทุกข์]

๔. ปหานสัญญา
[สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณ เป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าควรละเสีย]

๕. วิราคสัญญา
[สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นความคลายเสียซึ่งความกำหนัด]

             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๕ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเรา ทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่ พรหมจรรย์นี้ จะพึง ยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้นพึงเป็นไป เพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อ ความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลเพื่อ ความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

จบ หมวด ๕

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์