เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 ธรรมมีประเภทละ ๑๐ เป็นไฉน (สังคีติสูตร) 1130
ธรรมมี ๑๐ ประเภท
สังคีติสูตร
ประเภท
1
P1121
ประเภท
2
P1122
ประเภท
ละ 3

P1123
ประเภท
ละ
4
P1124
ประเภท
ละ
5
P1125
ประเภท
ละ 6

P1226
ประเภท
ละ
7
P1127
ประเภท
ละ
8
P1128
ประเภท
ละ 9

P1129
ประเภท
ละ
10
P1130
 ธรรมมีประเภทละ ๑๐ (6 เรื่อง)  
(1) นาถกรณธรรม ๑๐ อย่าง  
(2) กสิณายตนะ [แดนกสิณ] ๑๐ อย่าง  
(3) อกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง  
(4) กุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง  
(5) อริยวาส ๑๐ อย่าง  
(6) อเสกขธรรม ๑๐ อย่าง  
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๔๓

หมวด ๑๐
ธรรมมีประเภทละ ๑๐ เป็นไฉน

             [๓๕๗] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๑๐ ๆ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ทรงเห็นเป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบมีอยู่ พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนาไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่ พรหมจรรย์นี้ พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ ชนมาก เพื่อความสุข แก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

ธรรมมีประเภทละ ๑๐ๆ เป็นไฉน ฯ


(1)
นาถกรณธรรม ๑๐ อย่าง

        ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สำรวมระวังในพระ ปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาท และโคจรอยู่ มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่ มีปรกติเห็นภัย ในโทษ เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นนาถกรณธรรม

        ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้มีธรรม อันสดับแล้วมาก ทรงธรรม ที่ได้สดับแล้ว สะสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรมที่งามในเบื้องต้น งามใน ท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง เห็นปานนั้น อันเธอได้สดับแล้วมากทรงไว้แล้ว คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดี ด้วยความเห็นผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้มีธรรม อันสดับ แล้วมาก ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สะสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรมที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุดประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้ง อรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง เห็นปานนั้น อันเธอได้สดับแล้วมาก ทรงไว้แล้ว คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดี ด้วยความเห็น นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม

        ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม

        ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วย ธรรมที่กระทำ ให้ เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีโดยเบื้องขวา ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่กระทำให้ เป็น ผู้ว่าง่ายเป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีโดยเบื้องขวา นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม

        ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วย ปัญญา เป็นเครื่อง พิจารณาอันเป็นอุบายในกรณียะนั้นๆ สามารถ ทำสามารถ จัดใน กรณียกิจใหญ่น้อย ของเพื่อนสพรหมจารี ทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุ เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา อันเป็นอุบาย ในกรณียะนั้นๆ สามารถทำ สามารถจัดในกรณียกิจใหญ่ น้อยของเพื่อน สพรหมจารี ทั้งหลาย นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม

        ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เจรจาน่ารัก มีความ ปราโมทย์ยิ่ง ในพระ อภิธรรม ในพระอภิวินัย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนใคร่ใน ธรรม เจรจา น่ารัก มีความปราโมทย์ยิ่งใน พระอภิธรรม ในพระอภิวินัย นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม

         ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้สันโดษ ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ตามมีตามได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช บริขารอันเป็น ปัจจัยแก่คนไข้ตามมีตามได้ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม

         ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อจะยังกุศลธรรม ให้ถึงพร้อมอยู่ เป็นผู้มีเรี่ยวแรง มีความ บากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในธรรมที่เป็นกุศล ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุปรารภ ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อจะยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีเรี่ยวแรงมีความ บากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในธรรมที่เป็นกุศล นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม

         ๙. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติ และปัญญา เครื่องรักษาตน อย่างยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูดแล้วนาน ก็นึกได้ระลึก ได้ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติ และ ปัญญา เครื่องรักษา ตนอย่างยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำ ที่พูดแล้วนาน ก็นึกได้ระลึกได้ นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม

         ๑๐. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วย ปัญญา ที่เห็นความเกิด และ ความดับอันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคน มีปัญญา ประกอบด้วย ปัญญาที่เห็น ความเกิด และความดับอันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม

(2) กสิณายตนะ [แดนกสิณ] ๑๐ อย่าง

      ๑. ผู้หนึ่งย่อมจำปฐวีกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้

      ๒. ผู้หนึ่งย่อมจำอาโปกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้

      ๓. ผู้หนึ่งย่อมจำเตโชกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้

      ๔. ผู้หนึ่งย่อมจำวาโยกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้

      ๕. ผู้หนึ่งย่อมจำนีลกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้

      ๖. ผู้หนึ่งย่อมจำปีตกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้

      ๗. ผู้หนึ่งย่อมจำโลหิตกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้

      ๘. ผู้หนึ่งย่อมจำโอทาตกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณหามิได้

      ๙. ผู้หนึ่งย่อมจำอากาสกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้

      ๑๐. ผู้หนึ่งย่อมจำวิญญาณกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้

(3) อกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง
      ๑. ปาณาติบาต            [การยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป]
      ๒. อทินนาทาน            [การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้]
      ๓. กาเมสุมิจฉาจาร        [การประพฤติผิดในกาม]
      ๔. มุสาวาท                [พูดเท็จ]
      ๕. ปิสุณาวาจา             [พูดส่อเสียด]
      ๖. ผรุสวาจา                [พูดคำหยาบ]
      ๗. สัมผัปปลาป            [พูดเพ้อเจ้อ]
      ๘. อภิชฌา                 [ความโลภอยากได้ของเขา]
      ๙. พยาบาท                [ความปองร้ายเขา]
      ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ             [ความเห็นผิด]

(4) กุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง
      ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้นจากการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป]
      ๒. อทินนาทานาเวรมณี  [เจตนาเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ มิได้ให้]
      ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี  [เจตนาเครื่องเว้น จากการประพฤติผิดในกาม]
      ๔. มุสาวาทา เวรมณี           [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเท็จ]
      ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี    [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดส่อเสียด]
      ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี     [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดคำหยาบ]
      ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี      [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเพ้อเจ้อ]
      ๘. อนภิชฌา                   [ความไม่โลภอยากได้ของเขา]
      ๙. อัพยาบาท                  [ความไม่ปองร้ายเขา]
      ๑๐. สัมมาทิฏฐิ                 [ความเห็นชอบ]

(5) อริยวาส ๑๐ อย่าง
      ๑. เป็นผู้มีองค์ห้าอันละขาดแล้ว
      ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยองค์หก
      ๓. เป็นผู้มีอารักขาอย่างหนึ่ง
      ๔. เป็นผู้มีที่พิงสี่
      ๕. เป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว
      ๖. เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละแล้วโดยชอบ
      ๗. เป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัว
      ๘. เป็นผู้มีกายสังขารสงบระงับ
      ๙. เป็นผู้มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว
      ๑๐. เป็นผู้มีปัญญาพ้นวิเศษดีแล้ว ฯ

      ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีองค์ห้า อันละ ขาดแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีกามฉันทะอันละ ได้ขาดแล้ว มีความพยาบาท อันละได้ขาดแล้ว มีถีนมิทธะอันละได้ขาดแล้ว มีอุทธัจจกุกกุจจะ อันละได้ขาดแล้ว มีวิจิกิจฉา อันละได้ขาดแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีองค์ห้าอันละได้ขาดแล้ว

      ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยองค์หก ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยนัยน์ตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหูแล้วเป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจเป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉยมีสติสัมปชัญญะอยู่ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยองค์หก

      ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีอารักขาอย่างหนึ่ง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมประกอบด้วยใจ อันมีสติเป็นเครื่อง อารักขา ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีอารักขาอย่างหนึ่ง

      ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีที่พิงสี่ ดูกรผู้มีอายุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้ว อดกลั้นของ อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้ว บรรเทาของ อย่างหนึ่ง ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีที่พิงสี่

      ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่าง อันบรรเทา เสียแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัจจะเฉพาะอย่างเป็นอันมาก ของสมณะ และพราหมณ์ เป็นอันมาก ย่อมเป็นของ อันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้เบาบรรเทา เสียแล้ว สละ คลาย ปล่อย ละสละคืนเสียหมดสิ้นแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลายอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว

      ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละ แล้ว โดยชอบ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีการแสวง หากาม อันละได้ขาด แล้ว มีการแสวงหา ภพ อันละได้ขาดแล้ว มีการแสวงหา พรหมจรรย์ อันสละคืนแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีการ แสวงหาอันสละ แล้วโดยชอบ

      ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัว
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน พระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละความดำริในทางกาม ได้ขาดแล้ว เป็นผู้ละความดำริในทางพยาบาท ได้ขาดแล้ว เป็นผู้ละความดำริ ในทาง เบียดเบียนได้ขาดแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มี ความดำริไม่ ขุ่นมัว

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีกายสังขาร สงบระงับ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัส ก่อนๆ ได้ มีอุกเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มี กายสังขาร สงบระงับฯ

      ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตพ้นแล้วจากราคะมีจิตพ้นแล้ว จากโทสะ มีจิตพ้นแล้วจากโมหะ ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แลภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีจิต พ้นวิเศษดีแล้ว

      ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาพ้นวิเศษ ดีแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดว่า ราคะอันเราละ ได้แล้ว ถอนรากขึ้นเสียได้แล้ว กระทำให้เป็นดุจ ต้นตาล อันไม่มีที่ตั้งแล้วทำให้ เป็นของ ไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา โทสะอันเราละได้แล้ว ถอนราก ขึ้นเสีย ได้แล้ว กระทำให้เป็นดุจต้นตาลอันไม่มีที่ตั้งแล้ว ทำให้เป็นของไม่มีแล้ว มีอัน ไม่เกิดขึ้น ต่อไปเป็นธรรมดาโมหะอันเราละได้แล้ว ถอนรากขึ้นเสียได้แล้ว กระทำให้ เป็นดุจต้นตาลอันไม่มี ที่ตั้งแล้ว ทำให้เป็นของไม่มีแล้วมีอันไม่เกิดขึ้น ต่อไปเป็น ธรรมดา ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญา พ้นวิเศษดีแล้ว

(6) อเสกขธรรม ๑๐ อย่าง
      ๑. ความเห็นชอบที่เป็นของพระอเสขะ
      ๒. ความดำริชอบที่เป็นของพระอเสขะ
      ๓. เจรจาชอบที่เป็นของพระอเสขะ
      ๔. การงานชอบที่เป็นของพระอเสขะ
      ๕. การเลี้ยงชีวิตชอบที่เป็นของพระอเสขะ
      ๖. ความเพียรชอบที่เป็นของพระอเสขะ
      ๗.  ความระลึกชอบที่เป็นของพระอเสขะ
      ๘. ความตั้งใจชอบที่เป็นของพระอเสขะ
      ๙. ความรู้ชอบที่เป็นของพระอเสขะ
      ๑๐. ความหลุดพ้นชอบที่เป็นของพระอเสขะ

      ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๑๐ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว พวกเรา ทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกัน การที่พรหมจรรย์นี้ยั่งยืน ตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อ อนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลเพื่อความสุขแก่เทวดาและ มนุษย์ทั้งหลายฯ

จบ หมวด ๑๐

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์