เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  สังคีติสูตร พระสารีบุตรแสดงธรรมแทนพระพุทธเจ้าให้กับภิกษุ 500 ที่แคว้นมัลละ 1121
ธรรมมี ๑๐ ประเภท
สังคีติสูตร
ประเภท
1
P1121
ประเภท
2
P1122
ประเภท
ละ 3

P1123
ประเภท
ละ
4
P1124
ประเภท
ละ
5
P1125
ประเภท
ละ 6

P1226
ประเภท
ละ
7
P1127
ประเภท
ละ
8
P1128
ประเภท
ละ 9

P1129
ประเภท
ละ
10
P1130

(สรุปย่อพอสังเขป)

พระผู้มีพระภาคเสด็จเที่ยวจาริกไปใน แคว้นมัลละ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ได้เสด็จถึงนครของ พวกมัลลกษัตริย์ อันมีนามว่า ปาวา ได้ยินว่าสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วง ของนายจุนทกัมมารบุตร เขตนครปาวา  

ดูกรสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจาก ถีนะ(หดหู่) และมิทธะ(เซื่องซึม) สารีบุตรจงแสดง ธรรมีกถา แก่ ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยหลัง ฉะนั้นเราพึงพักผ่อน

ธรรม ๑ เป็นไฉน
(2 เรื่อง)
1.สัตว์ทั้งหมดตั้งอยู่ได้เพราะอาหาร
2.สัตว์ทั้งหมดตั้งอยู่ได้เพราะสังขาร


พระสารีบุตรได้แสดงธรรมีกถา แก่ภิกษุ 500 รูป ตามกลุ่มของหมวดธรรมดังนี้
  ธรรมมีประเภทละ ๑
  ธรรมมีประเภทละ ๒
  ธรรมมีประเภทละ ๓
  ธรรมมีประเภทละ ๔
  ธรรมมีประเภทละ ๕
  ธรรมมีประเภทละ ๖
  ธรรมมีประเภทละ ๗
  ธรรมมีประเภทละ ๘
  ธรรมมีประเภทละ ๙
  ธรรมมีประเภทละ ๑๐

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
สังคีติสูตร พระผู้มีพระภาคให้พระสารีบุตร แสดงธรรมแก่ภิกษุหมู่ใหญ่ ประมาณ 500 รูป ดูกรสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนะ (หดหู่) และมิทธะ(เซื่องซึม)
สารีบุตร จงแสดง ธรรมีกถา แก่ ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยหลัง ฉะนั้นเราพึงพักผ่อน.. ลำดับนั้น พระสารีบุตร แสดงธรรม ที่มีประเภทละ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ..๑๐

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๑๕๙ - ๑๖๑

สังคีติสูตร (๓๓)

          [๒๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จเที่ยวจาริกไปใน แคว้นมัลละ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ได้เสด็จถึงนครของ พวกมัลลกษัตริย์อันมีนามว่า ปาวา ได้ยินว่าสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของนายจุนท กัม มารบุตร เขตนครปาวา ฯ

          [๒๒๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ท้องพระโรงหลังใหม่ อันมีนามว่า อุพภตกะ ของพวก เจ้ามัลละ แห่งนครปาวา สร้างสำเร็จแล้วไม่นาน ยังไม่ทันที่สมณพราหมณ์ หรือใครๆ ที่เป็นมนุษย์จะได้อยู่อาศัย พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา ได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาค ได้เสด็จเที่ยวจาริกไปในแคว้นมัลละ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงนครปาวาโดยลำดับ กำลังประทับอยู่ ณ สวนมะม่วง ของ นายจุนท กัมมารบุตร เขตนครปาวา ฯ

          ครั้งนั้นแล พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้องพระโรงหลังใหม่ อันมีนามว่า อุพภตกะ ของพวกเจ้ามัลละ แห่งนครปาวา สร้างสำเร็จแล้วไม่นาน ยังไม่ทันที่สมณพราหมณ์ หรือใครๆ ที่เป็นมนุษย์ จะได้อยู่อาศัย

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงเสด็จประทับ ณ ท้องพระโรงนั้นก่อนเถิด พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับก่อน แล้วภายหลังพวกเจ้า มัลละแห่งนครปาวา จึงจัก ใช้สอย การเสด็จประทับก่อน ของพระผู้มีพระภาคนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา สิ้นกาลนาน พระผู้มีพระภาค ทรงรับด้วย ดุษณีภาพแล้ว ฯ

          ครั้นพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา ได้ทราบการทรงรับของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงลุก จากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณแล้ว พากันไปยัง ท้องพระโรง ครั้นแล้วจึงปูลาด ท้องพระโรงให้พร้อมสรรพ แต่งตั้งอาสนะ ให้ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีป น้ำมัน แล้วพากันเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้องพระโรง พวกข้าพระองค์ ปูลาดพร้อมสรรพแล้ว อาสนะก็แต่งตั้งไว้แล้ว หม้อน้ำ ก็ให้ตั้งไว้แล้ว ประทีปน้ำมัน ก็ตามไว้แล้ว พระเจ้าข้าพระผู้มีพระภาค ย่อมทรงทราบ กาลอันควรในบัดนี้ ฯ

          [๒๒๓] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตร จีวร เสด็จไปยัง ท้องพระโรง พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงล้างพระบาทแล้ว เสด็จเข้าไป ยังท้องพระโรงประทับ นั่งพิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา แม้พระภิกษุสงฆ์ ก็ล้างเท้า แล้วพากันเข้าไปยัง ท้องพระโรง นั่งพิงฝาด้านหลัง ผินหน้าไปทางทิศ บูรพา แวดล้อมพระผู้มีพระภาค แม้พวก เจ้ามัลละแห่งนครปาวา ก็พากันล้างเท้า แล้วเข้าไปยังท้องพระโรง นั่งพิงฝาด้านบูรพา ผินหน้าไปทางทิศปัจฉิม แวดล้อม พระผู้มีพระภาค ฯ

          ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงยังพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา ให้เห็นแจ้งให้ สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นอันมาก แล้วทรงส่งไป ด้วย พระดำรัสว่า ดูกรวาเสฏฐะทั้งหลาย ราตรีล่วงมากแล้ว บัดนี้พวกท่านจงสำคัญ เวลา อันสมควรเถิด พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา ได้พร้อมกันรับพระดำรัส ของพระผู้มี พระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า แล้วพากันลุกขึ้นจากอาสนะถวายบังคม พระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณ แล้วหลีกไป ฯ

          [๒๒๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค เมื่อพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาหลีกไป แล้ว ไม่นาน ได้ทรงเหลียวดูหมู่ภิกษุผู้นิ่งอยู่แล้ว ได้รับสั่งกะท่านพระสารีบุตรว่า

ดูกรสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจาก ถีนะ(หดหู่) และมิทธะ(เซื่องซึม) สารีบุตรจงแสดง ธรรมีกถา แก่ ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยหลัง ฉะนั้นเราพึงพักผ่อน ท่านพระสารีบุตร ได้รับพระดำรัส ของพระผู้มีพระภาค ด้วยคำว่าอย่างนั้น พระเจ้าข้า ดังนี้

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิเป็นสี่ชั้น แล้วทรงสำเร็จสีหไสยา โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงเหลื่อมพระบาทด้วยพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงกระทำความหมาย ในอันที่จะเสด็จลุกขึ้นไว้ในพระทัย ฯ

          [๒๒๕] ก็โดยสมัยนั้นแล นิครนถ์นาฏบุตร ทำกาละแล้วที่นครปาวาไม่นานนัก เพราะ กาลกิริยาของนิครนถ์นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกันเกิดแยกกัน เป็นสองพวก เกิดบาดหมางกัน เกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น เสียดแทงกันและกัน ด้วยหอก คือปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่านจักรู้ทั่วถึง ธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็น ประโยชน์ ของท่านไม่เป็น ประโยชน์ คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง  คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน ข้อที่ท่านช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะ ของท่าน ได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้วท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสียถ้าสามารถ ดังนี้ เห็นจะมีแต่ความตายอย่างเดียวเท่านั้น จะเป็นไป ในพวกนิครนถ์ ผู้เป็นสาวกของ นาฏบุตร ถึงพวกสาวกของนิครนถ์นาฏบุตร ที่เป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็มีอาการ เบื่อหน่ายคลายความรัก รู้สึกท้อถอยในพวก นิครนถ์ ผู้เป็นสาวกของนาฏบุตร ทั้งนี้ เพราะธรรมวินัย อันนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวไว้ ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนำ ผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อ ความสงบระงับ มิใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ เป็นธรรมวินัย มีที่พำนักอันทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัย ไม่มีที่พึ่งอาศัย ฯ

          ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เล่ากะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย  นิครนถ์นาฏบุตร ทำกาละแล้ว ที่พระนครปาวาไม่นานนัก เพราะกาลกิริยาของนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกัน เกิดแยกกันเป็นสองพวก เกิดบาดหมางกัน เกิดการ ทะเลาะวิวาทกันขึ้น เสียดแทงกันแ ละกัน ด้วยหอกคือปากอยู่ว่า
ท่านไม่รู้ ทั่วถึง ธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง
ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร  
ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก 
ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์
คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง
คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน
ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะ ของท่านได้แล้ว
ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ ดังนี้

          เห็นจะมีแต่ความตายอย่างเดียวเท่านั้น จะเป็นไปในพวกนิครนถ์ ผู้เป็นสาวก ของนาฏบุตร ถึงพวกสาวกของนิครนถ์นาฏบุตร ที่เป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาว ห่มขาวก็มี อาการ เบื่อหน่าย คลายความรัก รู้สึกท้อถอยในพวกนิครนถ์ ผู้เป็นสาวกของนาฏบุตร

           ทั้งนี้เพราะธรรมวินัย อันนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรม ที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรม ที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยมีที่พำนัก อันทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัย ไม่มีที่พึงอาศัย ฯ

          ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ย่อมเป็นเช่นดังกล่าวมา สำหรับในธรรมวินัย ที่กล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความ สงบระงับ มิใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกาศไว้

          ผู้มีอายุทั้งหลาย ส่วนธรรมนี้แล อันพระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลาย ตรัสไว้ ดีแล้ว ประกาศไว้ ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความ สงบระงับ เป็นธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้แล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืน ตั้งอยู่ นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความ อนุเคราะห์ แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและ มนุษย์ ทั้งหลาย

           ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ธรรมอะไรเล่าที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำ ผู้ปฏิบัติ ให้ออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรม อันพระสัมมา สัมพุทธเจ้าประกาศไว้แล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าว แก่งแย่งกัน ในธรรมนั้นการที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืน ตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความ อนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย ฯ


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๑๖๑ - ๑๖๒

สังคีติสูตร
ธรรม ๑ เป็นไฉน

          [๒๒๖] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหนึ่ง ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้เห็นเป็น พระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมด ด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้ จะพึงยั่งยืน ตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อ ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความ อนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย

ธรรมหนึ่งเป็นไฉน 
๑) สัตว์ทั้งหมดตั้งอยู่ได้เพราะอาหาร
๒) สัตว์ทั้งหมดตั้งอยู่ได้เพราะสังขาร


          ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหนึ่งนี้แล อันพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระ อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมด ด้วยกัน พึง สังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึง ยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไป เพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชน มาก เพื่อความอนุเคราะห์ แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดา และมนุษย์ ทั้งหลาย ฯ

 









พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์