เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

   ธรรมมีประเภทละ ๔ๆ (50 เรื่อง) 1124
ธรรมมี ๑๐ ประเภท
สังคีติสูตร
ประเภท
1
P1121
ประเภท
2
P1122
ประเภท
ละ 3

P1123
ประเภท
ละ
4
P1124
ประเภท
ละ
5
P1125
ประเภท
ละ 6

P1226
ประเภท
ละ
7
P1127
ประเภท
ละ
8
P1128
ประเภท
ละ 9

P1129
ประเภท
ละ
10
P1130
 ธรรมมีประเภทละ ๔ (50 เรื่อง)  
1) สติปัฏฐาน ๔ อย่าง 26) พละ ๔ อย่าง
2) สัมมัปปธาน ๔ อย่าง 27) อธิฏฐาน ๔ อย่าง
3) อิทธิบาท ๔ อย่าง 28) ปัญหาพยากรณ์ ๔ อย่าง
4) ฌาน ๔ อย่าง 29) กรรม ๔ อย่าง
5) สมาธิภาวนา ๔ อย่าง 30) สัจฉิกรณียธรรม ๔ อย่าง
6) อัปปมัญญา ๔ อย่าง (พรหมวิหาร๔) 31) โอฆะ ๔ อย่าง
7) อรูป ๔ อย่าง 32) โยคะ ๔ อย่าง
8) อปัสเสนะ ๔ อย่าง 33) วิสังโยคะ ๔ อย่าง
9) อริยวงศ์ ๔ อย่าง 34) คันถะ ๔ อย่าง
10) ปธาน ๔ อย่าง 35) อุปาทาน ๔ อย่าง
11) ญาณ ๔ อย่าง 36) โยนิ ๔ อย่าง
12) ญาณ ๔ อย่าง 37) การก้าวลงสู่ครรภ์ ๔ อย่าง
13) องค์ของการบรรลุโสดา ๔ อย่าง 38) การได้อัตภาพ ๔ อย่าง
14) องค์แห่งพระโสดาบัน ๔ อย่าง 39) ทักขิณาวิสุทธิ ๔ อย่าง
15) สามัญญผล ๔ อย่าง 40) สังคหวัตถุ ๔ อย่าง
16) ธาตุ ๔ อย่าง 41) อนริยโวหาร ๔ อย่าง
17) อาหาร ๔ อย่าง 42) อริยโวหาร ๔ อย่าง
18) วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง 43) อนริยโวหารอีก ๔ อย่าง
19) การถึงอคติ ๔ อย่าง 44) อริยโวหารอีก ๔ อย่าง
20) ความเกิดขึ้นแห่งตัณหา ๔ อย่าง 45) อนริยโวหารอีก ๔ อย่าง
21) ปฏิปทา ๔ อย่าง 46) อริยโวหารอีก ๔ อย่าง
22) ปฏิปทาอีก ๔ อย่าง 47) บุคคล ๔ อย่าง
23) ธรรมบท ๔ อย่าง 48) บุคคลอีก ๔ อย่าง
24) ธรรมสมาทาน ๔ อย่าง 49) บุคคลอีก ๔ อย่าง
25) ธรรมขันธ์ ๔ อย่าง 50) บุคคลอีก ๔ อย่าง
 

 

ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๑๗๕ - ๑๙๔

สังคีติสูตร
ธรรมมีประเภทละ ๔ๆ

1) สติปัฏฐาน ๔ อย่าง
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัส ในโลกเสียได้
๒.พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และ โทมนัสในโลกเสียได้
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และ โทมนัสในโลกเสียได้
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และ โทมนัสในโลกเสียได้

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

2)สัมมัปปธาน ๔ อย่าง
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภ ความเพียร
๑. ประคองจิต ตั้งใจเพื่อความไม่เกิดขึ้น แห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด
๒. ประคองจิต ตั้งใจเพื่อละธรรมที่เป็น บาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ประคองจิต ตั้งใจเพื่อความบังเกิดขึ้น แห่งธรรมที่เป็นกุศลที่ยังไม่เกิด
๔. ประคองจิต ตั้งใจเพื่อความตั้งมั่น ไม่เลือนลางจำเริญยิ่ง ไพบูลย์เจริญบริบูรณ์แห่ง ธรรมที่เป็นกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้ว

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

3)
อิทธิบาท ๔ อย่าง
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท  อันประกอบด้วย
๑. ฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. วิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. จิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. วิมังสาสมาธิปธานสังขาร


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

4) ฌาน ๔ อย่าง
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่
๒. บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและ สุข เกิดแต่สมาธิอยู่
๓. มีอุเบกขา มีสติมีสัมปชัญญะเสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติย-ฌาน ที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
๔. บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัส ก่อนๆ ได้มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่ ฯ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

5) สมาธิภาวนา ๔ อย่าง
สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว 
๑. ย่อมเป็นไป เพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม
๒. ย่อมเป็นไป เพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ
๓. ย่อมเป็นไป เพื่อสติและสัมปชัญญะ
๔. ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอย่างไหนที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว

๑) ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน พระธรรมวินัยนี้
(1) สงัดจาก กาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขเกิด แต่วิเวกอยู่
(2) บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข เกิด แต่สมาธิอยู่
(3) มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วย นามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติย* ฌาน ที่พระอริยสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา ที่สติ อยู่เป็นสุข
(4) บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะ ละ สุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัส ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ฯ
-------------------------------------------------------------------------------

๒) ย่อมเป็นไป เพื่อความได้เฉพาะ ซึ่งญาณทัสสนะ เป็นไฉน

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็น เวลากลางวันไว้ กลางวันอย่างใด กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างใด กลางวันอย่าง นั้น มีใจเปิดเผยไม่มีอะไรหุ้มห่ออบรมจิตให้มีแสงสว่าง ด้วยประการฉะนี้

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อ ความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ

-------------------------------------------------------------------------------

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ สติสัมปชัญญะ เป็นไฉน

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เวทนาทั้งหลายอันภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้ รู้แจ้งแล้ว ย่อม บังเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับสัญญาทั้งหลาย อันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ย่อมถึงความดับ วิตกทั้งหลายอันภิกษุใน พระธรรมวินัยนี้ รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้นย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ ฯ ดูกรผู้มีอายุ ทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว  ย่อมเป็นไป เพื่อสติ สัมปชัญญะ ฯ
-------------------------------------------------------------------------------


ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นไฉน ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และ ความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ห้าว่า ดังนี้
รูปดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปดังนี้ ความดับแห่งรูปดังนี้
เวทนาดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาดังนี้ ความดับแห่งเวทนาดังนี้
สัญญาดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาดังนี้ ความดับแห่งสัญญาดังนี้
สังขารดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารดังนี้ ความดับแห่งสังขารดังนี้
วิญญาณดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

6) อัปปมัญญา ๔ อย่าง (พรหมวิหาร๔)
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอด ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้อง ขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ ทั้งปวง ด้วยใจประกอบด้วยเมตตา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ฯ

๒.มีใจประกอบด้วยกรุณา  แผ่ไปตลอด ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ทั้งปวง ด้วยใจอันประกอบด้วยกรุณา อันไพบูลย์ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ฯ

๓. มีใจประกอบด้วยมุทิตา  แผ่ไปตลอด ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุก เหล่า ในที่ทุกสถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ ทั้งปวง ด้วยใจอันประกอบด้วยมุทิตา อันไพบูลย์ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ฯ

๔.มีใจประกอบด้วยอุเบกขา ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ ทุกสถาน โดยความเป็นตน ในสัตว์ ทั้งปวง ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวรไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ฯ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
7) อรูป ๔ อย่าง

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะ ไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหา ที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่

๒.เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญ-จายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจา ยตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สิ้นสุด มิได้ ดังนี้อยู่

. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญา ยตนะ ด้วยมนสิการว่าน้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้อยู่

. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงเนวสัญญานา สัญญายตนะอยู่

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
8) อปัสเสนะ ๔ อย่าง

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง
๒. พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง
๓. พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง
๔. พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

9) อริยวงศ์ ๔ อย่าง

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร ตามมี ตามได้ และมีปรกติกล่าวสรรเสริญความ สันโดษ ด้วยจีวรตามมีตามได้ และย่อมไม่ถึง การ แสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะ เหตุแห่ง จีวร และไม่ได้จีวรก็ไม่เดือดร้อน และได้ จีวรแล้ว ก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่อง สลัดออก บริโภคอยู่กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความสันโดษด้วยจีวรตามมี ตามได้ นั้นก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในสันโดษด้วย จีวรนั้น ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษ นี้แลเรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม ฯ

๒. ย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาต ตามมี ตามได้ และมีปรกติกล่าวสรรเสริญ ความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และ ย่อมไม่ถึงการ แสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต และ ไม่ได้บิณฑบาต ก็ไม่เดือดร้อน และได้ บิณฑบาตแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญา เป็นเครื่องสลัดออกบริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษ ด้วย บิณฑบาตตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในสันโดษด้วยบิณฑบาตนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่าผู้ตั้งอยู่ใน อริยวงศ์ ของเก่าอันยอดเยี่ยม ฯ

๓. ย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะ ตามมี ตามได้ และมีปรกติกล่าวสรรเสริญความ สันโดษ ด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และ ย่อมไม่ถึงการ แสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ และไม่ได้ เสนาสนะก็ไม่เดือดร้อน และได้เสนาสนะ แล้ว ก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็น เครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความสันโดษด้วย บิณฑบาต ตามมีตามได้ นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในสันโดษด้วย เสนาสนะ นั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม ฯ

๔. ย่อมเป็นผู้มีปหานะ เป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในปหานะย่อมเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มา ยินดี ยินดีแล้วในภาวนากับ ทั้งไม่ยก ตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีปหานะ เป็นที่มายินดี เพราะความยินดีในปหานะ เพราะความเป็นผู้มี ภาวนาเป็นที่มายินดี เพราะความยินดีในภาวนานั้น ก็ภิกษุใด เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะมีสติ มั่น ในปหานะและภาวนานั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ ของเก่าอันยอดเยี่ยม ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------


10) ปธาน ๔ อย่าง

๑. สังวรปธาน       [เพียรระวัง]
๒. ปหานปธาน      [เพียรละ]
๓. ภาวนาปธาน     [เพียรเจริญ]
๔. อนุรักขนาปธาน [เพียรรักษา]

(๑) ก็สังวรปธาน เป็นไฉน 
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย  ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ* เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม จักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌา และโทมนัส ครอบงำ นั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
*(อนุพยัญชนะ แปลว่า ลักษณะน้อยๆ ของมหาบุรุษ)

ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม โสตินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌา และ โทมนัส ครอบงำ นั้น ชื่อว่ารักษาโสตินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในโสตินทรีย์ ฯ

ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม ฆานินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและ โทมนัส ครอบงำ นั้น ชื่อว่ารักษาฆานินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในฆานินทรีย์ ฯ

ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม ชิวหินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและ โทมนัส ชื่อว่ารักษาชิวหินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในชิวหินทรีย์ ฯ

ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อ สำรวม กายินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌา และโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษากายินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในกายินทรีย์ ฯ

รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม มนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรม อันลามก คืออภิชฌา และ โทมนัส ครอบงำ นั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์

ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสังวรปธาน ฯ
--------------------------------------------------------------------------------------

(๒) ก็ปหานปธาน เป็นไฉน
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรม วินัยนี้
๑) ย่อมไม่รับไว้ ซึ่ง กามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี

๒) ย่อมไม่รับไว้ซึ่ง พยาบาทวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี

๓) ย่อมไม่รับไว้  ซึ่ง วิหิงสาวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี

๔) ย่อมไม่รับไว้ซึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล ที่เกิดขึ้นแล้วๆ ย่อมละเสีย  บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปหานปธาน

(๓) ก็ภาวนาปธาน เป็นไฉน
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัย นี้
๑) ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัย ความดับ น้อมไปเพื่อความสละลง

๒) ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง

๓) ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัย ความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง

๔) ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัย ความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง

๕) ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัย ความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง

๖) ย่อมเจริญปีติสมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัย ความดับอันน้อมไปเพื่อความสละลง

๗) ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัดอาศัยความคลายกำหนัด อาศัย ความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลงผู้มีอายุทั้งหลาย
นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน ฯ

(๔) ก็อนุรักขนาปธาน เป็นไฉน
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมตามรักษาสมาธินิมิต อันเจริญ ที่บังเกิดขึ้นแล้ว คือ
๑) อัฏฐิกสัญญา
๒) ปุฬุวกสัญญา
๓) วินีลกสัญญา
๔) วิจฉิททกสัญญา
๕) อุทธุมาตกสัญญา

ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน ฯ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

11) ญาณ ๔ อย่าง
๑. ธัมมญาณ         [ความรู้ในธรรม]
๒. อันวยญาณ       [ความรู้ในการคล้อยตาม]
๓. ปริจเฉทญาณ    [ความรู้ในการกำหนด]
๔. สัมมติญาณ      [ความรู้ในสมมติ]

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

12) ญาณ ๔ อย่าง

๑. ทุกขญาณ                             [ความรู้ในทุกข์]
๒. ทุกขสมุทยญาณ                     [ความรู้ในทุกขสมุทัย]
๓. ทุกขนิโรธญาณ                      [ความรู้ในทุกขนิโรธ]
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานญาณ    [ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา]

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

13)
องค์ของการบรรลุโสดา ๔ อย่าง

๑. สัปปุริสสังเสวะ         [การคบสัตบุรุษ]
๒. สัทธัมมัสสวนะ         [การฟังพระสัทธรรม]
๓. โยนิโสมนสิการ        [การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย]
๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ   [การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม]

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

14) องค์แห่งพระโสดาบัน ๔ อย่าง

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ประกอบด้วย ความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระพุทธเจ้า ว่าแม้เพราะเหตุ นี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ จรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นนายสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้วเป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้ จำแนกพระธรรม

๒. เป็นผู้ประกอบด้วย ความเลื่อมใส อย่างแน่นแฟ้นในพระธรรม ว่าพระธรรมอัน พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้ บรรลุ จะพึง เห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้-เฉพาะตน

๓. เป็นผู้ประกอบด้วย ความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระสงฆ์ ว่า พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติ ดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบ คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นคือ พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรรับของบูชา เป็นผู้ควรรับของ ต้อนรับ เป็นผู้ควรรับของ ทำบุญเป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นบุญเขต ของชาวโลก ไม่มีเขตอื่น ยิ่งกว่า

๔.เป็นผู้ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชน สรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิ ไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

15)
สามัญญผล ๔ อย่าง

๑. โสดาปัตติผล
๒. สกทาคามิผล
๓. อนาคามิผล
๔. อรหัตตผล

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

16) ธาตุ ๔ อย่าง

๑. ปฐวีธาตุ      [ธาตุดิน]
๒. อาโปธาตุ    [ธาตุน้ำ]
๓. เตโชธาตุ    [ธาตุไฟ]
๔. วาโยธาตุ    [ธาตุลม]

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

17)
อาหาร ๔ อย่าง

๑. กวฬิงการาหาร      [อาหารคือคำข้าวหยาบหรือละเอียด]
๒. ผัสสาหาร            [อาหารคือผัสสะ]
๓. มโนสัญเจตนาหาร  [อาหารคือมโนสัญเจตนา]
๔. วิญญาณาหาร       [อาหารคือวิญญาณ]

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

18)
วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
๑) วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งรูป เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่พำนักเข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์

๒) วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งเวทนา เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่พำนักเข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์

๓) วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสัญญา เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่พำนักเข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์

๔) วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสังขาร เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่พำนักเข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

19) การถึงอคติ ๔ อย่าง

ถึงความลำเอียงเพราะ
๑. เพราะความรักใคร่กัน
๒. เพราะความขัดเคืองกัน
๓. เพราะความหลง
๔. เพราะความกลัว

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
20) ความเกิดขึ้นแห่งตัณหา ๔ อย่าง

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ
๑. ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่ง จีวร
๒. ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่ง บิณฑบาต
๓. ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่ง เสนาสนะ
๔. ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่ง ความมียิ่งๆ ขึ้นไป

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
21)
ปฏิปทา ๔ อย่าง

๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา   [ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า]
๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา   [ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว]
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา     [ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า]
๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา     [ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว]

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
22)
ปฏิปทาอีก ๔ อย่าง

๑. อักขมา ปฏิปทา      [ปฏิบัติไม่อดทน]
๒. ขมา ปฏิปทา         [ปฏิบัติอดทน]
๓. ทมา ปฏิปทา         [ปฏิบัติฝึก]
๔. สมา ปฏิปทา         [ปฏิบัติระงับ]

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
23) ธรรมบท ๔ อย่าง
๑. บทธรรม คือความไม่เพ่งเล็ง
๒. บทธรรม คือความไม่พยาบาท
๓. บทธรรม คือความระลึกชอบ
๔. บทธรรม คือความตั้งใจไว้ชอบ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

24) ธรรมสมาทาน ๔ อย่าง (การประพฤติธรรมมีผลใน 4 แบบ)
๑.ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไปก็มี
๒.ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไปก็มี
๓.ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไปก็มี
๔.ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไปก็มี.

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

25) ธรรมขันธ์ ๔ อย่าง
๑. ศีลขันธ์           [หมวดศีล]
๒. สมาธิขันธ์        [หมวดสมาธิ]
๓. ปัญญาขันธ์      [หมวดปัญญา]
๔. วิมุตติขันธ์       [หมวดวิมุติ]

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

26) พละ ๔ อย่าง
๑. วิริยะพละ         [กำลังคือความเพียร]
๒. สติพละ           [กำลังคือสติ]
๓. สมาธิพละ        [กำลังคือสมาธิ]
๔. ปัญญาพละ      [กำลังคือปัญญา]

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

27) อธิฏฐาน ๔ อย่าง
๑. ปัญญาธิฏฐาน    [อธิษฐานคือปัญญา]
๒. สัจจาธิฏฐาน      [อธิษฐานคือสัจจะ]
๓. จาคะธิฏฐาน      [อธิษฐานคือจาคะ]
๔. อุปสมาธิฏฐาน   [อธิษฐานคืออุปสมะ]

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

28) ปัญหาพยากรณ์ ๔ อย่าง
๑. เอกังสพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องแก้โดยส่วนเดียว
๒. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องย้อนถามแล้วจึงแก้
๓. วิภัชชพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องจำแนกแล้วจึงแก้
๔. ฐปนียปัญหา ปัญหาที่ควรงดเสีย

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

29) กรรม ๔ อย่าง
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
๑) กรรมเป็นฝ่ายดำ มีวิบากเป็นฝ่ายดำ
๒) กรรมเป็นฝ่ายขาว มีวิบากเป็นฝ่ายขาว
๓) กรรมที่เป็นทั้งฝ่ายดำและฝ่ายขาว มีวิบากทั้งฝ่ายดำ ฝ่ายขาว
๔) กรรมที่ไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความ สิ้นกรรม

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

30) สัจฉิกรณียธรรม ๔ อย่าง
๑. พึงทำให้แจ้งซึ่ง ขันธ์ที่ตนเคยอยู่อาศัยในกาลก่อนด้วยสติ
๒. พึงทำให้แจ้งซึ่ง จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายด้วยจักษุ
๓. พึงทำให้แจ้งซึ่ง วิโมกข์แปดด้วยกาย
๔. พึงทำให้แจ้งซึ่ง ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยปัญญา

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

31) โอฆะ ๔ อย่าง
๑. กาโมฆะ       [โอฆะคือกาม]
๒. ภโวฆะ         [โอฆะคือภพ]
๓. ทิฏโฐฆะ      [โอฆะคือทิฐิ]
๔. อวิชโชฆะ     [โอฆะคืออวิชชา]

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

32) โยคะ ๔ อย่าง
๑. กามโยคะ        [โยคะคือกาม]
๒. ภวโยคะ         [โยคะคือภพ]
๓. ทิฏฐิโยคะ       [โยคะคือทิฐิ]
๔. อวิชชาโยคะ    [โยคะคืออวิชชา]

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

33) วิสังโยคะ ๔ อย่าง
๑. กามโยควิสังโยคะ       [ความพรากจากโยคะคือกาม]
๒. ภวโยควิสังโยคะ        [ความพรากจากโยคะคือภพ]
๓. ทิฏฐิโยควิสังโยคะ      [ความพรากจากโยคะคือทิฐิ]
๔. อวิชชาโยคะวิสังโยคะ  [ความพรากจากโยคะคืออวิชชา]

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

34) คันถะ ๔ อย่าง
๑. อภิชฌากายคันถะ             [เครื่องรัดกายคืออภิชฌา]
๒. พยาปาทกายคันถะ            [เครื่องรัดกายคือพยาบาท]
๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ   [เครื่องรัดกายคือสีลัพพตปรามาส]
๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ  [เครื่องรัดกายคือความแน่ว่าสิ่งนี้เป็นจริง]

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

35) อุปาทาน ๔ อย่าง
๑. กามุปาทาน         [ถือมั่นกาม]
๒. ทิฏฐุปาทาน        [ถือมั่นทิฐิ]
๓. สีลัพพตุปาทาน    [ถือมั่นศีลและพรต]
๔. อัตตวาทุปาทาน   [ถือมั่นวาทะว่าตน]

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

36) โยนิ ๔ อย่าง
๑. อัณฑชโยนิ         [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในไข่]
๒. ชลาพุชโยนิ        [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในครรภ์]
๓. สังเสทชโยนิ       [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในเถ้าไคล]
๔. โอปปาติกโยนิ     [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดผุดขึ้น]

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

37) การก้าวลงสู่ครรก์ ๔ อย่าง
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางชนิดในโลกนี้

๑. ไม่รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา
   ไม่รู้สึกตัว
คลอดจากครรภ์มารดา นี้การก้าวลงสู่ครรภ์ ข้อที่หนึ่ง

๒. รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา
    ไม่รู้สึกตัว
คลอดจากครรภ์มารดานี้ การก้าวลงสู่ครรภ์มารดา ข้อที่สอง

๓. รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา
    แต่ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้การ ก้าวลงสู่ครรภ์ ข้อที่สาม

๔. รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์ มารดา รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา
     รู้สึกตัว
คลอดจากครรภ์มารดา นี้การก้าวลงสู่ครรภ์ ข้อที่สี่

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

38) การได้อัตภาพ ๔ อย่าง
๑. ได้อัตภาพที่ ตรงกับความจงใจของตนอย่างเดียว ไม่ตรงกับความจงใจของผู้อื่น
๒. ได้อัตภาพที่ ตรงกับความจงใจของผู้อื่นเท่านั้น ไม่ตรงกับความจงใจของตน
๓. ได้อัตภาพที่ ตรงกับความจงใจของตนด้วย  ตรงกับความจงใจของผู้อื่นด้วย
๔. ได้อัตภาพที่ ไม่ตรงกับความจงใจของตน ทั้งไม่ตรงกับความจงใจของผู้อื่น

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

39) ทักขิณาวิสุทธิ ๔ อย่าง
๑. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
๒. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
๓. ทักขิณาไม่บริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหก
๔. ทักขิณาที่บริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

40) สังคหวัตถุ ๔ อย่าง
๑. ทาน             [การให้ปัน]
๒. ปิยวัชช          [เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน]
๓. อัตถจริยา       [ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์]
๔. สมานัตตตา    [ความเป็นผู้มีตนเสมอ]

41) อนริยโวหาร ๔ อย่าง
๑. มุสาวาท                 [พูดเท็จ]
๒. ปิสุณาวาจา             [พูดส่อเสียด]
๓. ผรุสวาจา                [พูดคำหยาบ]
๔. สัมผัปปลาป             [พูดเพ้อเจ้อ]

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

42) อริยโวหาร ๔ อย่าง
๑. มุสาวาทา เวรมณี           [เว้นจากพูดเท็จ]
๒. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี    [เว้นจากพูดส่อเสียด]
๓. ผรุสาย วาจาย เวรมณี     [เว้นจากพูดคำหยาบ]
๔. สัมผัปปลาปา เวรมณี      [เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ]

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

43) อนริยโวหารอีก ๔ อย่าง (พูดตรงกันข้าม)
๑. เมื่อไม่ได้เห็นพูดว่าได้เห็น
๒. เมื่อไม่ได้ยินพูดว่าได้ยิน
๓. เมื่อไม่ได้ทราบพูดว่าได้ทราบ
๔. เมื่อไม่ได้รู้แจ้งพูดว่าได้รู้แจ้ง

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

44) อริยโวหารอีก ๔ อย่าง (พูดตรงตามจริง)
๑. เมื่อไม่ได้เห็นพูดว่าไม่ได้เห็น
๒. เมื่อไม่ได้ยินพูดว่าไม่ได้ยิน
๓. เมื่อไม่ได้ทราบพูดว่าไม่ได้ทราบ
๔. เมื่อไม่ได้รู้แจ้งพูดว่าไม่ได้รู้แจ้ง ฯ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

45) อนริยโวหารอีก ๔ อย่าง (พูดตรงกันข้าม)
๑. เมื่อได้เห็นพูดว่าไม่ได้เห็น
๒. เมื่อได้ยินพูดว่าไม่ได้ยิน
๓. เมื่อได้ทราบพูดว่าไม่ได้ทราบ
๔. เมื่อรู้แจ้งพูดว่าไม่รู้แจ้ง ฯ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

46) อริยโวหารอีก ๔ อย่าง (พูดตรงตามจริง)
๑. เมื่อได้เห็นพูดว่าได้เห็น
๒. เมื่อได้ยินพูดว่าได้ยิน
๓. เมื่อได้ทราบพูดว่าได้ทราบ
๔. เมื่อได้รู้แจ้งพูดว่าได้รู้แจ้ง

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

47) บุคคล ๔ อย่าง
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวาย ในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้ เดือดร้อน

๒. เป็นผู้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นผู้ ขวนขวาย ในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำให้ ผู้อื่นเดือดร้อน

๓. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน เป็นผู้ ขวนขวาย ในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้ เดือดร้อนด้วย เป็นผู้ทำให้ผู้อื่น เดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุ เป็นเครื่องทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย

๔. ไม่เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน ไม่เป็นผู้ ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่อง ทำตนให้เดือดร้อน ด้วยเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่น ให้เดือดร้อน ไม่เป็นผู้ขวนขวายในการ ประกอบเหตุ เป็นเครื่องทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ด้วย เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำ ผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้หายหิวดับสนิท เยือกเย็น เสวยความสุขมีตนเป็นเสมือน พรหมอยู่ในปัจจุบัน

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

48) บุคคลอีก ๔ อย่าง
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ผู้อื่น
๒. ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ตน
๓. ย่อมไม่ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ผู้อื่น
๔. ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วย

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------


49)
บุคคลอีก ๔ อย่าง
๑. บุคคลผู้มืดมา กลับมืดไป
๒. บุคคลผู้มืดมา กลับสว่างไป
๓. บุคคลผู้สว่างมา กลับมืดไป
๔. บุคคลผู้สว่างมา กลับสว่างไป

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

50) บุคคลอีก ๔ อย่าง
๑. สมณมจละ               [เป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว]
๒. สมณปทุมะ              [เป็นสมณะเปรียบด้วยดอกบัวหลวง]
๓. สมณปุณฑรีกะ          [เป็นสมณะเปรียบด้วยดอกบัวขาว]
๔. สมเณสุ สมณสุขุมาละ [เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในสมณะทั้งหลาย]

          ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๔ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเรา ทั้งหมด ด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่ พรหมจรรย์นี้ พึงยั่งยืน ตั้งอยู่ นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุข แก่ชนมาก เพื่อความ อนุเคราะห์ แก่โลก เพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

จบหมวด ๔






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์