เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 ธรรมมีประเภทละ ๙ (6 เรื่อง) (สังคีติสูตร) 1129
ธรรมมี ๑๐ ประเภท
สังคีติสูตร
ประเภท
1
P1121
ประเภท
2
P1122
ประเภท
ละ 3

P1123
ประเภท
ละ
4
P1124
ประเภท
ละ
5
P1125
ประเภท
ละ 6

P1226
ประเภท
ละ
7
P1127
ประเภท
ละ
8
P1128
ประเภท
ละ 9

P1129
ประเภท
ละ
10
P1130
 ธรรมมีประเภทละ ๙ (6 เรื่อง)  
  (1) อาฆาตวัตถุ ๙ อย่าง  
  (2) อาฆาตปฏิวินัย ๙ อย่าง  
  (3) สัตตาวาส ๙ อย่าง  
  (4) อขณะอสมัยเพื่อพรหมจริยวาส ๙ อย่าง  
  (5) อนุปุพพวิหาร ๙ อย่าง  
  (6) อนุปุพพนิโรธ ๙ อย่าง  
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๓๗

ธรรมมีประเภทละ ๙ เป็นไฉน

(1) อาฆาตวัตถุ ๙ อย่าง
๑. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่เราแล้ว

๒. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่เรา

๓. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่เรา

๔. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ ของเราแล้ว

๕. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ ของเรา

๖. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้เป็น ที่รักเป็น ที่ขอบใจ ของเรา

๗. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่ เป็นที่ชอบใจ ของเราแล้ว

๘. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่ ชอบใจ ของเรา

๙. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ ของเรา ฯ

(2) อาฆาตปฏิวินัย ๙ อย่าง
๑. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่เราแล้ว เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้ มีการประพฤติ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา จะหาได้ใน บุคคลนั้นแต่ที่ไหน

๒. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่เรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มี การประพฤติ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา จะหาได้ใน บุคคลนั้นแต่ที่ไหน

๓. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการ ประพฤติ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา จะหาได้ใน บุคคลนั้นแต่ที่ไหน

๔. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่บุคคล ผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเราแล้ว เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการ ประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน

๕. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ซึ่ง สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ บุคคลผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน

๖. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ บุคคล ผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติ เช่นนั้น จะหา ได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน

๗. บรรเทาความอาฆาตด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติ สิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้ไม่ เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา แล้ว เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติ เช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน

๘. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ ซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคล ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการ ประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน

๙. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคล ผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ ของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติ เช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน

(3) สัตตาวาส ๙ อย่าง
๑. มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกันเช่น พวกมนุษย์ เทวดา บางพวก วินิปาติกะ บางพวกนี้ สัตตาวาสข้อที่หนึ่ง

๒. มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวก เทพผู้นับเนื่องใน พวกพรหม ซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน นี้สัตตาวาสข้อที่สอง

๓. มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาต่างกัน เช่นพวก เทพเหล่าอาภัสสระ นี้สัตตาวาส ข้อที่สาม

๔. มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพเหล่า สุภกิณหา นี้สัตตาวาส ข้อที่สี่

๕. มีสัตว์พวกหนึ่งไม่มีสัญญา ไม่รู้สึกเสวยอารมณ์ เช่นพวกเทพ เหล่าอสัญญีสัตว์ นี้สัตตาวาส ข้อที่ห้า

๖. มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงเสีย ซึ่งรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆ สัญญา ดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศที่สุดมิได้ ดังนี้ นี้สัตตาวาส ข้อที่หก

๗. มีสัตว์พวกหนึ่ง เพราะล่วงซึ่งอากาสานัญจายตนะ โดย ประการทั้งปวง แล้ว เข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ นี้สัตตาวาส ข้อที่เจ็ด

๘. มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงเสีย ซึ่งวิญญานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง แล้วเข้า ถึง อากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรนี้สัตตาวาส ข้อที่แปด

๙. มีสัตว์พวกหนึ่งล่วงเสียซึ่ง อากิญจัญญายตนะ โดยประการ ทั้งปวงแล้วเข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะด้วยมนสิการว่า นี่สงบนี่ประณีต นี้สัตตาวาสข้อที่เก้า

(4) อขณะอสมัยเพื่อพรหมจริยวาส ๙ อย่าง
            ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ ในโลกนี้ และธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไปเพื่อ ความดับ ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรม อันพระสุคตประกาศไว้

๑. แต่บุคคลนี้ เข้าถึงนรกเสีย นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่หนึ่ง

๒. แต่บุคคลนี้ เข้าถึงกำเนิด สัตว์ดิรัจฉานเสีย นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ข้อที่สอง

๓. แต่บุคคลนี้เข้าถึง วิสัย แห่งเปรต เสียนี้มิใช่สมัย เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่สาม

๔. แต่บุคคลนี้ เข้าถึงอสุรกายเสีย มิใช่ขณะมินี้มิใช่ขณะชิใช่สมัย เพื่อการอยู่ ประพฤติ พรหมจรรย์ข้อที่สี่

๕. บุคคลนี้เข้าถึงพวกเทพ ที่มีอายุยืน พวกใดพวกหนึ่งเสีย นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อการ อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่ห้า ฯ

๖. แต่บุคคลนี้เกิดเสีย ในปัจจันติมชนบท ในจำพวกชนชาติมิลักขะผู้โง่เขลา ไร้คติ ของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อการอยู่พระพฤติ พรหมจรรย์ ข้อที่หก

๗. บุคคลนี้ก็เกิด ในมัชฌิมชนบท แต่เขาเป็นคนมิจฉาทิฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ทาน ที่บุคคลให้ไม่มีผล การบูชา ไม่มีผล ผลวิบากของกรรม ที่บุคคลทำดี หรือทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้า ไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี โอปปาติกะสัตว์ ไม่มีในโลก ไม่มี สมณพราหมณ์ ผู้ดำเนิน ไปดี ปฏิบัติชอบแล้ว กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และ โลกหน้าด้วย ปัญญาอันยิ่ง ด้วย ตนเอง แล้วยังผู้อื่นให้รู้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ข้อที่เจ็ด

๘. บุคคลนี้ก็เกิดใน มัชฌิมชนบทแต่เป็น คนโง่เซอะซะ เป็นคนใบ้ ไม่สามารถที่จะรู้ อรรถ แห่งสุภาษิต และทุพภาษิตได้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ ข้อที่แปด

๙. บุคคลนี้เกิดใน มัชฌิมชนบท เป็นคนมีปัญญาไม่เซอะซะ ไม่เป็นคนใบ้ สามารถ ที่จะรู้ อรรถแห่งสุภาษิต และทุพภาษิตได้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ ข้อที่เก้า

(5) อนุปุพพวิหาร ๙ อย่าง

๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่ง จิตใจ ในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขามีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ ว่า ผู้ได้ฌาน นี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุขดังนี้

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะ
ละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญา โดย ประการ ทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญา ดับไป เพราะไม่ใส่ใจ ซึ่งนานัตตสัญญา เข้าถึง อากาสา นัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่

๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจา ยตนะ โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณ หาที่สุด มิได้ ดังนี้อยู่

 ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจา ยตนะ โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึง อากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร ดังนี้อยู่

๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงซึ่งอากิญจัญญายตนะ โดย ประการทั้งปวง แล้วเข้าถึง เนวสัญญา นาสัญญายตนะอยู่

๙. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานา สัญญายตนะ โดยประการ ทั้งปวง แล้วเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่

(6) อนุปุพพนิโรธ ๙ อย่าง
๑. กามสัญญาของท่าน ผู้เข้าปฐมฌานย่อมดับไป
๒. วิตกวิจารของท่าน ผู้เข้าทุติยฌานย่อมดับไป
๓. ปีติของท่าน ผู้เข้าตติยฌานย่อมดับไป
๔. ลมอัสสาสะและปัสสาสะของท่าน ผู้เข้าจตุตถฌาน ย่อมดับไป
๕. รูปสัญญาของท่าน ผู้เข้าอากาสานัญจายตนะสมาบัติ ย่อมดับไป
๖. อากาสานัญจายตนสัญญาของท่าน ผู้เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติย่อมดับไป
๗. วิญญาณัญจายตนสัญญาของท่าน ผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติย่อมดับไป
๘. อากิญจัญญายตนสัญญาของท่าน ผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติย่อมดับไป
๙. สัญญาและเวทนาของท่าน ผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธย่อมดับไป

           ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๙ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมด ด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้ พึงยั่งยืนตั้งอยู่ นาน นั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์ แก่ โลกเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและ มนุษย์ ทั้งหลาย ฯ

จบ หมวด ๙






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์