พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๑๖๑ - ๑๖๒
สังคีติสูตร
ธรรม ๒ เป็นไฉน
ธรรม ๒ เป็นไฉน
๑) นาม และ รูป
๒) อวิชชา และ ภวตัณหา
๓) ภวทิฐิ และ วิภวทิฐิ
๔) ความไม่ละอาย และ ความไม่เกรงกลัว๑
๕) ความละอาย และ ความเกรงกลัว
๖) ความเป็นผู้ว่ายาก และ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว
๗) ความเป็นผู้ว่าง่าย และ ความเป็นผู้มีมิตรดี
๘) ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ และ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ
๙) ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ และ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ
๑๐) ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ และ ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ
๑๑) ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ และ ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท
๑๒) ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ* และ ความเป็นผู้ฉลาดในอัฏฐานะ**
*[คือเหตุที่เป็นได้] ** [คือเหตุที่เป็นไปไม่ได้]
๑๓) การกล่าววาจาอ่อนหวาน และ การต้อนรับ
๑๔) ความไม่เบียดเบียน และ ความสะอาด
๑๕) ความเป็นผู้มีสติหลงลืม และ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ
๑๖) สติ และ สัมปชัญญะ
๑๗) ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย และ
ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ
๑๘) ความเป็นผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย และ
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ
๑๙) กำลังที่เกิดแต่การพิจารณา และ กำลังที่เกิดแต่การอบรม
๒๐)
กำลังคือสติ และ กำลังคือสมาธิ
๒๑) สมถะ และ วิปัสสนา
๒๒) นิมิตที่เกิดเพราะสมถะ และ นิมิตที่เกิดเพราะความเพียร
๒๓) ความเพียร และ ความไม่ฟุ้งซ่าน
๒๔) ความวิบัติแห่งศีล และ ความวิบัติแห่งทิฐิ
๒๕ ความถึงพร้อมแห่งศีล และ ความถึงพร้อมแห่งทิฐิ
๒๖) ความหมดจดแห่งศีล และ ความหมดจดแห่งทิฐิ
๒๗) ความหมดจดแห่งทิฐิ และ ความเพียรของผู้มีทิฐิ
๒๘) ความสลดใจ และ ความเพียรโดยแยบคายของผู้สลดใจแล้ว ในธรรมเป็น ที่ตั้งแห่ง
ความสลดใจ
๒๘) ความเป็นผู้ไม่สันโดษในธรรมอันเป็นกุศล และ ความเป็นผู้ไม่ท้อถอยในการ
ตั้งความเพียร
๒๙) วิชชา และ วิมุตติ
๓๐) ญาณในความสิ้นไป และ ญาณในความไม่เกิด
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๒ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มี พระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ โดยชอบแล้ว พวกเรา ทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกัน ในธรรมนั้น
การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ ชนมาก เพื่อ ความสุข แก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลกเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อ ความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
จบ หมวด ๒
|