เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ธรรมมีประเภทละ ๘ (11 เรื่อง) 1128
ธรรมมี ๑๐ ประเภท
สังคีติสูตร
ประเภท
1
P1121
ประเภท
2
P1122
ประเภท
ละ 3

P1123
ประเภท
ละ
4
P1124
ประเภท
ละ
5
P1125
ประเภท
ละ 6

P1226
ประเภท
ละ
7
P1127
ประเภท
ละ
8
P1128
ประเภท
ละ 9

P1129
ประเภท
ละ
10
P1130
 ธรรมมีประเภทละ ๘ (8 เรื่อง)  
  (1) มิจฉัตตะ ๘ อย่าง   (7) ทานุปบัติ ๘ อย่าง
  (2) สัมมัตตะ ๘ อย่าง   (8) โลกธรรม ๘ อย่าง
  (3) ทักขิเณยยบุคคล ๘   (9) บริษัท ๘ อย่าง
  (4) กุสีตวัตถุ ๘   (10) อภิภายตนะ ๘ อย่าง
  (5) อารัพภวัตถุ ๘ อย่าง   (11) วิโมกข์ ๘ อย่าง
  (6) ทานวัตถุ ๘ อย่าง  
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๒๖

หมวด ๘

ธรรมมีประเภทละ ๘


(1) มิจฉัตตะ ๘ อย่าง (ประพฤติผิด)
๑. มิจฉาทิฏฐิ               [เห็นผิด]
๒. มิจฉาสังกัปปะ          [ดำริผิด]
๓. มิจฉาวาจา              [วาจาผิด]
๔. มิจฉากัมมันตะ          [การงานผิด]
๕. มิจฉาอาชีวะ            [เลี้ยงชีวิตผิด]
๖. มิจฉาวายามะ           [พยายามผิด]
๗. มิจฉาสติ                [ระลึกผิด]
๘. มิจฉาสมาธิ             [ตั้งจิตผิด]

(2) สัมมัตตะ ๘ อย่าง (ประพฤติถูก)
๑. สัมมาทิฏฐิ               [เห็นชอบ]
๒. สัมมาสังกัปปะ          [ดำริชอบ]
๓. สัมมาวาจา              [วาจาชอบ]
๔. สัมมากัมมันตะ          [การงานชอบ]
๕. สัมมาอาชีวะ            [เลี้ยงชีวิตชอบ]
๖. สัมมาวายามะ           [พยายามชอบ]
๗. สัมมาสติ                [ระลึกชอบ]
๘. สัมมาสมาธิ             [ตั้งจิตชอบ]
 


(3) ทักขิเณยยบุคคล ๘
(บุคคลผู้ควรรับของทำบุญ)
๑. ท่านที่เป็นพระโสดาบัน
๒. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง
๓. ท่านที่เป็นพระสกทาคามี
๔. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง
๕. ท่านที่เป็นพระอนาคามี
๖. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
๗. ท่านที่เป็นพระอรหันต์
๘. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำพระอรหัตตผลให้แจ้ง


(4)
กุสีตวัตถุ ๘ (ที่ตั้งแห่งความเกียจคร้าน)
๑. ภิกษุจะต้องทำการงาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องทำการงาน ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย
ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่หนึ่ง ฯ

๒. ภิกษุทำการงานเสร็จแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ ว่า เราได้ทำการงานแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ร่างกายเหน็ดเหนื่อยแล้ว ควรที่เรา จะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้งนี้ วัตถุแห่งความเกียจคร้าน ข้อที่สอง

๓. ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่สาม

๔. ภิกษุเดินทางไปถึงแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ ว่าเราได้เดินทางไปถึงแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ควรที่เรา จะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยัง ไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้าน ข้อที่สี่ ฯ

๕. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะ ที่เศร้าหมอง หรือประณีต พอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่าเราเที่ยว บิณฑบาต ไปยัง บ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์ แห่งโภชนะที่เศร้าหมอง หรือ ประณีตพอแก่ความต้องการ ร่างกายของเรานั้น เหน็ดเหนื่อย ไม่ควรแก่การงาน ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่ห้า ฯ

๖. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะ ที่เศร้าหมอง หรือประณีต พอแก่ความต้องการแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่าเราเที่ยว บิณฑบาต ไปยังบ้าน หรือนิคม ได้ความบริบูรณ์ แห่งโภชนะที่เศร้าหมอง หรือประณีต พอแก่ ความต้องการแล้ว ร่างกายของเรานั้น เหน็ดเหนื่อย ไม่ควรแก่การงานเหมือนถั่ว ราชมาสที่ชุ่มน้ำ ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึง ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่หก

๗. อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมี ความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อย เกิดขึ้นแก่เราแล้ว ความสมควรเพื่อจะนอนมีอยู่ ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุ แห่งความเกียจคร้านข้อที่เจ็ด

๘. ภิกษุหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้ ได้ไม่นาน เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า เราหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้ได้ไม่นาน ร่างกายของเรานั้นยังอ่อนแอ ไม่ควรแก่การงาน ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำ ให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้าน ข้อที่แปด

(5) อารัพภวัตถุ ๘ อย่าง (ที่ตั้งแห่งความเพียร)
๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องทำการงานเธอมีความคิด อย่างนี้ว่า การงานเราจัก ต้องทำ เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่สะดวกที่จะใส่ใจถึงคำสอน ของพระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภ ความเพียร เสียก่อนที่เดียว เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำ ให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่หนึ่ง

๒. ภิกษุทำการงานเสร็จแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ เราทำการงาน เสร็จแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่สามารถที่จะใส่ใจถึงคำสอน ของ พระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความ เพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึงเ พื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่สอง

๓.ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ไม่สะดวกที่จะใส่ใจถึงคำสอนของ พระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำใจให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้งเธอย่อม ปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้ แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่สาม

๔. ภิกษุเดินทางไปถึงแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ ว่า เราเดินทางไปถึงแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ไม่สามารถที่จะใส่ใจถึงคำสอน ของพระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อม ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึงเพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้ แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่สี่

 ๕. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์ แห่งโภชนะ ที่เศร้า หมอง หรือประณีตพอแก่ความต้องการเธอ มีความคิดอย่างนี้ว่าเราเที่ยวบิณฑบาต ไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่ง โภชนะ ที่เศร้าหมอง หรือประณีตพอ แก่ความต้องการ ร่างกายของเรานั้น เบาควรแก่ การงาน ควรที่เราจะปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่เรา ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้งเธอย่อมปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยัง มิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความ ปรารภความเพียรข้อที่ห้า

๖. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะ ที่เศร้าหมอง หรือประณีต พอแก่ความต้องการเธอ มีความคิดอย่างนี้ว่าเราเที่ยว บิณฑบาตไป ยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะ ที่เศร้าหมอง หรือประณีต พอแก่ความ ต้องการ ร่างกายของเรานั้น มีกำลังควรแก่การงาน ควรที่เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อ ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่หก

๗. อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมี ความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยนี้ เกิดขึ้นแก่เราแล้ว การที่อาพาธของเรา จะพึงเจริญขึ้นนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ควรที่เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่เจ็ด

๘. ภิกษุหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้แล้ว ไม่นาน เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า เราหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้แล้วไม่นาน การที่อาพาธของเราจะพึงกำเริบ นี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ควรที่เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่แปด

(6) ทานวัตถุ ๘ อย่าง
๑. ให้ทานเพราะประจวบเหมาะ
๒. ให้ทานเพราะกลัว
๓. ให้ทานโดยคิดว่า เขาได้เคยให้แก่เรา
๔. ให้ทานโดยคิดว่า เขาจักให้แก่เรา
๕. ให้ทานโดยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี
๖. ให้ทานโดยคิดว่า เราหุงต้ม คนเหล่านี้มิได้หุงต้ม เราหุงต้มอยู่จะไม่ให้แก่ผู้ที่มิได้ หุงต้ม ย่อมไม่สมควร
๗. ให้ทานโดยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ เกียรติศัพท์อันดีงาม ย่อมจะระบือไป
๘. ให้ทานเพื่อประดับจิต และเป็นบริขารของจิต ฯ


(7)
ทานุปบัติ ๘ อย่าง
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ข้าว น้ำ ผ้ายาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์ แก่ประทีป เป็นทานแก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวัง สิ่งที่ตนถวายไป

๑. เขาเห็น กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ผู้เพรียบพร้อม พรั่งพร้อม ได้รับการบำรุงบำเรอ ด้วยกามคุณห้าอยู่ เขาจึงคิดอย่างนี้ ว่า โอหนอ เบื้องหน้า แต่ตาย เพราะกาย แตก เราพึงเข้าถึงความ เป็นสหาย ของ กษัตริย์ มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ คฤหบดีมหาศาล เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐาน จิตนั้น ไว้อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้น น้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณ เบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้น แล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับ ผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อม สำเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ

๒. เขาได้ยินมาว่า พวกเทพ เหล่าจาตุมหาราชิกา มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วย ความสุข ดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึง เข้าถึงความเป็นสหายของพวกเหล่า จาตุมหาราชิกา เขาตั้งจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้น น้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูงย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจ ของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ

๓. เขาได้ยินมาว่า  พวกเทพเหล่า ดาวดึงส์ มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความ สุข ดังนี้ เขาจึงคิด อย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึง ความ เป็นสหาย ของพวกเทพ เหล่าดาวดึงส์ เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิต นั้นไว้ จิตของเขานั้น น้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไป เพื่อเกิด ในที่นั้น ก็ข้อนั้นแลเรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจ ของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ

๔. เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่า ยามา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดังนี้ เขาจึงคิด อย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความ เป็น สหาย ของพวกเทพ เหล่ายามา เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้น น้อมไป ในสิ่งที่เลว มิได้อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิด ใน ที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีลผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจ ของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ

๕. เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่า ดุสิตา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดังนี้ เขาจึงคิด อย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความ เป็นสหาย ของพวกเทพ เหล่า ดุสิตา เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิต นั้นไว้ อบรมจิตนั้น ไว้ จิตของเขานั้นน้อมไป ในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อ เกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ

. เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่า นิมมานรดี มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความ สุข ดังนี้ เขาจึงคิด อย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึง ความ เป็นสหาย ของพวก เทพเหล่านิมมานรดี เขาตั้งจิตนั้นไว้อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิต นั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อ คุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไป เพื่อเกิด ในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ

๗. เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่า ปรนิมมิตวสวัตดี มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วย ความสุข ดังนี้ เขาจึงคิด อย่างนี้ว่า โอหนอเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึง เข้าถึง ความเป็นสหาย ของพวกเทพ เหล่าปรนิมมิตวสวัตดี เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐาน จิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณ เบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิด ในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับ ผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ

๘. เขาได้ยินมาว่า พวกเทพที่นับเนื่อง ในหมู่พรหม มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วย ความสุข ดังนี้ เขาจึงคิด อย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหาย ของพวกเทพ ที่นับเนื่องในหมู่พรหม เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิต นั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรม เพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับ ผู้ทุศีล สำหรับคนที่ปราศจากราคะ ไม่ใช่สำหรับคนที่ยังมีราคะ ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะปราศจากราคะ ฯ



(8) โลกธรรม ๘ อย่าง
๑. มีลาภ
๒. ไม่มีลาภ
๓. มียศ
๔. ไม่มียศ
๕. นินทา
๖. สรรเสริญ
๗. สุข
๘. ทุกข์ ฯ



(9) บริษัท ๘ อย่าง
๑. บริษัทกษัตริย์
๒. บริษัทพราหมณ์
๓. บริษัทคฤหบดี
๔. บริษัทสมณะ
๕. บริษัทพวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกา
๖. บริษัทพวกเทพชั้นดาวดึงส์
๗. บริษัทพวกเทพชั้นนิมมานรดี
๘. บริษัทพรหม ฯ



(10) อภิภายตนะ ๘ อย่าง
๑. ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน รูปภายใน เห็นรูปในภายนอก ที่เล็ก มีผิวพรรณดี และมี ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็น อภิภายตนะ ข้อที่หนึ่ง ฯ

๒. ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน รูปภายใน เห็นรูปภายนอก ที่ใหญ่ มีผิวพรรณดี และมีผิว พรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น อันนี้เป็น อภิภายตนะ ข้อที่สอง ฯ

๓. ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก ที่เล็ก มีผิวพรรณดี และมี ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญ อย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะ ข้อที่สาม

๔. ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก ที่ใหญ่ มีผิวพรรณดี และมี ผิวพรรณ ทราม ครอบงำรูป เหล่านั้น แล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่สี่ ฯ

๕. ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว ดอกผักตบ อันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสอง เกลี้ยงเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วนมีรัศมีเขียวฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่ห้า ฯ

๖. ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ดอกกรรณิการ์อันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลืองหรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วน ทั้งสองเกลี้ยง เหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วนมีรัศมีเหลือง แม้ฉันใดผู้หนึ่งมีความสำคัญ ในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลืองเหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่หก ฯ

๗. ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง ดอกหงอนไก่ อันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง หรือว่าผ้าที่กำเนิด ในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยง แดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายในเห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดงฉันนั้นเหมือนกันครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่เจ็ด ฯ

๘. ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว ดาวประกาย พฤกษ์อันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว หรือว่าผ้า ที่กำเนิดใน เมืองพาราณสีมีส่วนทั้งสองเกลี้ยง ขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว แม้ฉันใดผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายในเห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาวฉันนั้นเหมือนกันครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่แปด ฯ

(11) วิโมกข์ ๘ อย่าง
๑. บุคคลเห็นรูปทั้งหลาย อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หนึ่ง ฯ

๒. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สอง ฯ

๓. บุคคลย่อมน้อมใจไปว่าสิ่งนี้งามทีเดียว อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สาม ฯ

๔. เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ ใส่ใจ ซึ่งนานัตตสัญญา บุคคลย่อมเข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศ หาที่สุดมิได้ดังนี้อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สี่ ฯ

๕. เพราะล่วงเสียซึ่งอาการสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ ข้อที่ห้า ฯ

๖. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หก ฯ

๗. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึง เนวสัญญายตนะอยู่ อันนี้เป็นวิโมกข้อที่เจ็ด ฯ

๘. เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๘ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเรา ทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกัน ในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้ พึงยั่งยืน ตั้งอยู่นานนั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุข แก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

จบ หมวด ๘





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์