พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๓๐
(คามณิสังยุตต์)
กุลสูตร
1)
บุตรสาวกนิครนถ์โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า ในยุคที่อาหารฝืดเคือง
[๖๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงนาฬันทคามได้ยินว่า สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ อยู่ ณ ปาวาริกอัมพวันใกล้นาฬันทคาม สมัยนั้นแล ชาวนาฬันทคามมีภิกษุหาได้ยาก เลี้ยงชีวิตอยู่ได้โดยฝืดเคือง เกลื่อนกลาด ด้วยกระดูก ต้องจับจ่ายด้วยสลาก (บัตรปันส่วน)
สมัยนั้นแล นิครณถ์นาฏบุตร อาศัยอยู่ในนาฬันทคาม พร้อมด้วยบริษัท นิครณถ์ เป็นอันมาก ครั้งนั้น นายบ้านนามว่าอสิพันธกบุตรสาวกนิครณถ์ เข้าไปหา นิครณถ์นาฏบุตร ยังที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว นิครณถ์ นาฏบุตร ได้พูดกับ นายคามณีอสิพันธกบุตร ว่า มาเถิดนายคามณี จงยก วาทะ แก่พระสมณโคดม กิตติศัพท์อันงามของท่านจักขจรไปอย่างนี้ว่า นายคามณี อสิพันธกบุตร ยกวาทะแก่พระสมณะโคดมผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ นายคามณีถามว่า ท่านผู้เจริญข้าพเจ้าจะยกวาทะ แก่พระสมณะโคดมผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างไร นิครณถ์นาฏบุตรกล่าวว่า มาเถิดท่านคามณี จงเข้าไปหาพระ สมณโคดม
ครั้นแล้วจงกล่าวกะพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี พระภาค ทรงสรรเสริญ ความเอ็นดู การตามรักษา ความอนุเคราะห์สกุลทั้งหลาย โดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ ถ้าพระสมณโคดม ถูกท่านถามอย่างนี้แล้วทรงพยากรณ์ อย่างนี้ว่า อย่างนั้นนายคามณี ตถาคตสรรเสริญความเอ็นดู การตามรักษา ความอนุเคราะห์ สกุลทั้งหลาย โดยอเนกปริยาย ท่านจงกล่าวกะพระสมณโคดมนั้น อย่างนี้ว่า
2)
บุตรนิครนถ์ถาม พ. เมืองนาฬันทคาม เกิดทุพภิกขภัย มีอาหารฝืดเคือง ทำไมพระผู้มี พระภาคกับภิกษุจึงเทียวบิณฑบาตร พระผู้มีพระภาคทรงปฏิบัติเพื่อตัด รอนสกุล เพื่อให้สกุลเสื่อม เพื่อให้สกุลคับแค้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช่นนั้น ทำไมพระผู้มีพระภาค กับภิกษุสงฆ์ เป็นอันมาก จึงเที่ยวจาริก อยู่ในนาฬันทคามอันเกิดทุพภิกขภัย เลี้ยงชีวิต อยู่ได้ โดยฝืดเคือง เกลื่อนกลาดด้วยกระดูก ต้องจับจ่าย ด้วยสลากเล่า พระผู้มีพระภาคทรงปฏิบัติเพื่อตัดรอนสกุล เพื่อให้สกุลเสื่อมเพื่อให้สกุลคับแค้น
ดูกรนายคามณี พระสมณโคดม อันท่านถามปัญหา ๒ เงื่อนนี้แล้ว จะไม่อาจคาย จะไม่อาจกลืน (กลืนไม่เข้าคายไม่ออก) ได้เลย ฯ
[๖๒๑] นายอสิพันธกบุตร รับคำนิครณถ์นาฏบุตรแล้ว ลุกจากอาสนะไหว้ นิครณถ์นาฏบุตรทำ ประทักษิณแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่งณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญความเอ็นดู การตามรักษา ความอนุเคราะห์สกุล ทั้งหลาย โดยอเนกปริยายมิใช่หรือ พระผู้มีพระภาคตรัส ตอบว่า อย่างนั้น นายคามณี ตถาคตสรรเสริญ ความเอ็นดู การตามรักษา ความอนุเคราะห์สกุลทั้งหลาย โดยอเนกปริยาย ฯ
คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช่นนั้น ทำไมพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์ เป็นอันมาก จึงเที่ยวจาริก อยู่ในนาฬันทคามอันเกิดทุพภิกขภัย เลี้ยงชีวิต อยู่ได้ โดยฝืดเคือง เกลื่อนกลาดด้วยกระดูก ต้องจับจ่าย ด้วยสลากเล่า พระผู้มีพระภาค ปฏิบัติเพื่อตัดรอนสกุล เพื่อให้สกุลเสื่อม ปฏิบัติเพื่อให้สกุลคับแค้น ฯ
3)
เหตุปัจจัย ๘ อย่างเพื่อความคับแค้นแห่งสกุลทั้งหลาย ผู้ใด ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละทิฐินั้น ต้องดิ่งลงในนรกแน่แท้
[๖๒๒] พ. ดูกรนายคามณี แต่ภัทรกัปนี้ไป ๙๑ กัป ที่เราระลึกได้ เราไม่รู้สึกว่า เคยเบียดเบียนสกุลไหนๆ ด้วยการถือเอาภิกษาที่สุกแล้วเลย อนึ่งเล่า สกุลเหล่าใดมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทอง และเงินมาก มีทรัพย์คือ เครื่อง อุปกรณ์มาก มีทรัพย์คือข้าวเปลือกมาก สกุลทั้งปวงนั้นเจริญขึ้นเพราะการ ให้ทาน เพราะสัจจะและสัญญมะ
ดูกรนายคามณี เหตุปัจจัย ๘ อย่างเพื่อความคับแค้นแห่งสกุลทั้งหลาย คือ สกุลทั้งหลาย ถึงความคับแค้น
๑) จากพระราชา
๒) จากโจร
๓) จากไฟ
๔) จากน้ำ
๕) ทรัพย์ที่ฝังไว้เคลื่อนจากที่
๖) ย่อมวิบัติเพราะการงาน ที่ประกอบไม่ดี
๗) ทรัพย์ในสกุล เกิดเป็นถ่านไฟ
๘) คนในสกุลใช้จ่ายโภคทรัพย์เหล่านั้นฟุ่มเฟือย ให้พินาศ สูญหายไป ความไม่เที่ยงเป็นที่ ๘
ดูกรนายคามณี เหตุปัจจัย ๘ อย่างเหล่านี้แล เพื่อความคับแค้นของสกุล ทั้งหลาย เมื่อเหตุปัจจัย ๘ อย่างเหล่านี้มีอยู่ ผู้ใดพึงว่าเราอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาค ปฏิบัติ เพื่อให้สกุลขาดสูญ เพื่อให้สกุลเสื่อม เพื่อให้สกุลคับแค้น ดังนี้ ผู้นั้นยังไม่ละ วาจานั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละทิฐินั้น ต้องดิ่งลงในนรกแน่แท้ ฯ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายคามณีอสิพันธกบุตร ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนา ของพระองค์ แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มี พระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัย เป็นสรณะจนตลอด ชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พระเจ้าข้า ฯ
(พระพุทธเจ้าปฏิเสธว่า การบิณฑบาตเพื่อขอรับภักษาหาร ไม่ได้ทำให้สกุลเสื่อม ไม่ทำให้สกุลขาดสูญ ด้วยเหตุผล 8 ประการ)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๓๒
มณิจูฬกสูตร
1)
ราชบริษัทประชุมสนทนากันว่า ทองและเงินย่อมไม่ควรแก่สมณศากยบุตร
[๖๒๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลัน ทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล เมื่อราชบริษัท นั่งประชุมกันใน พระราชวังสังสนทนากันว่า ทองและเงินย่อมควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตร ย่อมยินดีทองและเงิน ย่อมรับทอง และเงิน ฯ
[๖๒๔] ก็สมัยนั้นแล นายบ้านนามว่ามณิจูฬกะ นั่งอยู่ในบริษัทนั้น ครั้งนั้น นายบ้าน
นามว่ามณิจูฬกะได้กล่าวกะบริษัทนั้น ว่า ท่านผู้เจริญอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ทองและเงินไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อม ไม่ยินดีทองและเงิน ย่อมไม่รับทอง และเงิน สมณศากยบุตร ห้ามแก้วและทอง ปราศจากทองและเงิน นายบ้านมณิจูฬกะ ไม่อาจให้บริษัทนั้น ยินยอมได้ ฯ
[๖๒๕] ครั้งนั้น นายบ้านจูฬกะ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อราชบริษัทนั่งประชุมกัน ในพระราชวัง สังสนทนากันว่าทองและเงินย่อม ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมยินดี ทองและเงิน
เมื่อราชบริษัทกล่าวอย่างนี้ ข้าพระองค์ ได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า ท่านผู้เจริญ อย่าได้ กล่าวอย่างนี้ ทองและเงิน ย่อมไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อม ไม่ยินดี ทอง และเงิน ย่อมไม่รับทอง และเงิน สมณศากยบุตร ห้ามแก้วและทอง ปราศจาก ทองและเงิน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่อาจให้บริษัทนั้น ยินยอมได้ เมื่อ ข้าพระองค์ พยากรณ์อย่างนี้ เป็นอันกล่าวตามคำ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มี พระภาคด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรม สมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะ ที่ถูกไรๆ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชน พึงติเตียนได้แลหรือ พระเจ้าข้า ฯ
2)
พระผู้มีพระภาคตรัสกับนายคามณีว่า ดีละ
คำกล่าวนี้ ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง
[๖๒๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ นายคามณี เมื่อท่านพยากรณ์อย่างนี้ เป็นอันกล่าว ตามคำที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรม สมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึง ติเตียนได้ เพราะว่าทองและเงิน ไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตร ย่อม ไม่ยินดี ทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้ว และทอง ปราศจากทองและเงิน
ดูกรนายคามณี ทองและเงินควรแก่ผู้ใด เบญจกามคุณก็ควรแก่ผู้นั้น เบญจกามคุณ ควรแก่ผู้ใด ทองและเงินก็ควรแก่ผู้นั้น
ดูกรนายคามณี ท่านพึงทรงความที่ควรแก่ เบญจกามคุณนั้น โดยส่วนเดียว ว่า ไม่ใช่ธรรมของสมณะ ไม่ใช่ธรรมของศากยบุตร อนึ่งเล่าเรากล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้า พึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้พึงแสวงหา ไม้ ผู้ต้องการเกวียน พึงแสวงหาเกวียน ผู้ต้องการบุรุษพึง แสวงหาบุรุษ เรามิได้ กล่าวว่า สมณศากยบุตร พึงยินดี พึงแสวงหาทอง และ เงิน โดยปริยายอะไรเลย ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๓๓
คันธภกสูตร
1)
ทุกข์อย่างใด อย่างหนึ่งเมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์
[๖๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อุรุเวลกัปปะ นิคมของ มัลลกษัตริย์ ในมัลลรัฐ ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่า คันธภกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาค ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์ ขอประทาน พระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงแสดงเหตุเกิด และเหตุดับ แห่งทุกข์ แก่ข้าพระองค์เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรนายคามณี ก็เราพึงปรารภอดีตกาลแสดงเหตุเกิด และเหตุดับแห่งทุกข์ แก่ท่านว่า ในอดีต กาล ได้มีแล้วอย่างนี้ ความสงสัย ความเคลือบแคลงในข้อนั้น จะพึงมีแก่ท่าน ถ้าเราปรารภ อนาคตกาล แสดงเหตุเกิดและเหตุดับ แห่งทุกข์ แก่ท่านว่า ในอนาคตกาลจักมีอย่างนี้ แม้ใน ข้อนั้น ความสงสัย ความเคลือบแคลง จะพึงมีแก่ท่านอนึ่งเล่า เรานั่งอยู่ ณ ที่นี้แหละ จักแสดง เหตุเกิดและเหตุดับ แห่งทุกข์แก่ท่าน ซึ่งนั่งอยู่ที่นี่เหมือนกัน ท่านจงฟังคำนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว นายคันธภกคามณี ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
2)
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า
ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัส และอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ในอุรุเวล กัปปนิคมตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์ หรือถูกติเตียนมีแก่ท่านหรือ ฯ
คา. มีอยู่ พระเจ้าข้า ที่ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์โทมนัสและอุปายาส พึงเกิดมีแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ในอุรุเวลกัปปนิคมตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์ หรือถูกติเตียน ฯ
-------------------------------------------------------------------------------
พ. ดูกรนายคามณี ก็ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ไม่พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ในอุรุเวลกัปปนิคมตาย ถูกจองจำเสื่อม ทรัพย์หรือถูก ติเตียน มีอยู่แก่ท่านหรือ ฯ
คา. มีอยู่ พระเจ้าข้า ที่ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัสและ อุปายาส ไม่พึงเกิดมีแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ ในอุรุเวลกัปปนิคม ตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์ หรือถูกติเตียน ฯ
-------------------------------------------------------------------------------
3)
ฉันทราคะ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัส และอุปายาส... ไม่มีฉันทราคะ ก็ไม่มีความโศก ไม่มีความร่ำไร ....
พ. ดูกรนายคามณี อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัส และอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ ชาวอุรุเวล กัปปนิคม บางพวกตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน ก็หรือว่าอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เครื่องให้ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์โทมนัส และอุปายาส ไม่พึงเกิด มีขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคม บางพวกตายถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์ หรือถูกติเตียน ฯ
คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์โทมนัสและ อุปายาส พึงเกิดขึ้น แก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ ชาวอุรุเวลกัปปนิคม เหล่าใด ตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์ หรือเพราะ ถูกติเตียน ก็เพราะข้าพระองค์ มีฉันทราคะ ในหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเล่านั้น ส่วนความโศก ความร่ำไรความทุกข์โทมนัส และอุปายาส ไม่พึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์เพราะ หมู่มนุษย์ ชาวอุรุเวลกัปปนิคม เหล่าใดตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน ก็เพราะข้าพระองค์ไม่มีฉันทราคะ ในหมู่มนุษย์ ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่านั้น พระเจ้าข้า ฯ
-------------------------------------------------------------------------------
4)
ทั้งในอดีต อนาคต ปัจจุบัน ทุกข์ทั้งหมดนั้น
มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุทั้งสิ้น
พ. ดูกรนายคามณี ท่านจงนำไปซึ่งทุกข์อันใดด้วยธรรม ที่เห็นแล้ว ทราบแล้ว บรรลุแล้วโดยไม่ ประกอบด้วยกาล หยั่งลงแล้ว ทั้งอดีตและอนาคตทุกข์ เป็นอดีตกาล อย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์ ทุกข์เป็นอนาคตกาล อย่างใด อย่างหนึ่งเมื่อเกิด จักเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์ ฯ
คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว พระดำรัสนี้ว่า ทุกข์เป็น อดีตกาล อย่างใด อย่างหนึ่งเมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุเพราะฉันทะ เป็นมูล แห่งทุกข์ ทุกข์เป็นอนาคตกาล อย่างใด อย่างหนึ่ง เมื่อเกิด จักเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะ เป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุมารนามว่าจิรวาสีบุตร ของข้าพระองค์มีอยู่ เขาอาศัยอยู่ภายนอกนคร ข้าพระองค์ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ส่งบุรุษไปด้วย สั่งว่า แน่ะนาย เจ้าจงไป จงทราบกุมารจิวาสี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นยังไม่มา เพียงใด ความกระวน กระวายใจ ย่อมมีแก่ข้าพระองค์ว่า อะไรๆ อย่าเบียดเบียน จิรวาสีกุมารเลย ดังนี้เพียงนั้นๆ
-------------------------------------------------------------------------------
[๖๒๘] พ. ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัส และอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะจิรวาสีกุมารตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียนหรือ ฯ
คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เมื่อจิรวาสีกุมารยังมีชีวิตอยู่ ข้าพระองค์ยังมี ความกระวน กระวายใจ ไฉนความโศก ความร่ำไร ความทุกข์โทมนัส และอุปายาส จักไม่เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะจิรวาสีกุมารตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือ ถูกติเตียนเล่า พระเจ้าข้า ฯ
-------------------------------------------------------------------------------
พ. ดูกรนายคามณี ข้อนั้นพึงทราบโดยปริยายนี้ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะ เป็นมูล แห่งทุกข์ ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนเมื่อใด ท่าน ไม่ได้เห็นมารดาของจิรวาสีกุมาร ไม่ได้ฟังเสียง เมื่อนั้น ท่านมีความพอใจ ความกำหนัด หรือความรักในมารดาของจิรวาสีกุมารหรือ ฯ
คา. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
-------------------------------------------------------------------------------
พ. เพราะอาศัยการเห็นหรือการฟัง ท่านจึงมีความพอใจ ความกำหนัดหรือ ความรัก ในมารดา ของจิรวาสีกุมารหรือ ฯ
คา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
-------------------------------------------------------------------------------
พ. ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัส และอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะมารดาของจิรวาสีกุมารตายถูกจำจอง เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียนหรือ ฯ
คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เมื่อมารดาของจิรวาสีกุมาร มีชีวิตอยู่ ข้าพระองค์ พึงมีความ กระวน กระวายใจ ไฉนความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส จักไม่เกิดขึ้นแก่ข้า พระองค์ เพราะมารดาของ จิรวาสีกุมารตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียนเล่า พระเจ้าข้า ฯ
-------------------------------------------------------------------------------
พ. ดูกรนายคามณี ท่านพึงทราบความข้อนั้น โดยปริยายนี้ว่า ทุกข์อย่างใด อย่างหนึ่งเมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
|