เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
นายคามณี
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

  รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของ นายคามณี
(คามณี แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
Ka 102
         ออกไปหน้าหลัก 2 of 5
  จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  ภูมกสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๑๙ ข้อ [ ๖๙๘ - ๖๐๒ ]
     1) พราหมณ์ถามพระพุทธเจ้าว่า สามารถทำให้สัตว์โลกทั้งหมดเมื่อตายไป พึงเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ได้หรือ
     2) ผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ..พากันสวดอ้อนวอน เมื่อตายไปขอเข้าถึง สุคติโลกสวรรต์ ดังนี้หรือ
     3) บุรุษโยนก้อนหินก้อนใหญ่ลงห้วงน้ำลึก แล้วพากันสวดอ้อนวอนว่า ขอให้ก้อนหิน โผล่ขึ้นมา จะได้หรือ
     4) บุคคลฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์..มีจิตพยาบาท แม้พากันสวดอ้อนวอนว่าเมื่อตายไปขอเข้าถึงสุคติ ..เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบายนรก
     5) บุรุษเว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ...มีจิตไม่พยาบาท แล้วหมู่ชนพากันสวดอ้อนวอน ขอเข้าถึงอบาย..นรก จะเป็นจริงอย่างนั้นได้หรือ
     6) บุรุษทุบหม้อที่มีน้ำมัน และเนยใสลงในน้ำ แล้วอ้อนวอนของให้น้ำมัน และเนยใส จมลง เป็นไปได้หรือ
     7) บุรุษเว้นจากปาณา อทินนา. มีจิตไม่พยาบาท แม้พากันสวดอ้อนวอนขอให้ไปนรก เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
  เทศนาสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๒๒ ข้อ [ ๖๐๓ - ๖๐๗ ]
     1) เหตุใดพระผู้มีพระภาคแสดงธรรมแก่คนบางพวก และไม่แสดงธรรมแก่คนบางพวก
     2) ทรงอุปมาว่าชาวนาเลือกจะทำนาที่นาดีก่อน ต่อมานาปานกลาง นาเลวทำทีหลัง (นาดีเปรียบเหมือนภิกษุผู้ศรัทธาตถาคต)
     3) ตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงาม ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ..แก่สมณะพราหมณ์และปริพาชกของเรา เหล่านั้นก่อน
     4) พระศาสดาอุปมาเหมือนขวดน้ำ ๓ ใบ
     5) แม้จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมแม้บทเดียว ความรู้นั้นก็พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข แก่เขาสิ้นกาลนาน
  อสังขาสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๒๕ ข้อ [ ๖๐๘ - ๖๑๙ ]
     1) นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่สาวกว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด
     2) บุรุษฆ่าสัตว์ ประพฤติผิด รวมทั้งสมัย-ไม่ใช่สมัย ทั้งกลางคืน-กลางวัน สมัยที่เขาฆ่าสัตว์-ไม่ฆ่าสัตว์ สมัยไหนมากกว่ากัน
     3) การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิด ในกามมีอยู่ หากเรายังไม่ละความคิดนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก
     4) หากสาวกตถาคตงดเว้น ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเม โดยเอนกปริยาน เป็นอันว่าเขาละบาปกรรมนั้น ก้าวล่วงบาปกรรมนั้นได้
     5) อริยสาวกนั้น ละปาณาติบาต อทินนาทาน กาเม มุสา ...(ละอกุศลกรรมบถ๑๐)
     6) ผู้ปราศจากอภิชชา จากพยาบาท ไม่หลงงมงาย มีสติมีใจเมตตาแผ่ไปทุกทิศ ไม่มีเวร...กรรมนั้นจะไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ในรูปาพจร

 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๑๙
(คามณิสังยุตต์)

ภูมกสูตร

1)
พราหมณ์ถามพระพุทธเจ้าว่า สามารถทำให้สัตว์โลกทั้งหมดเมื่อตายไป พึงเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ได้หรือ

          [๕๙๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกอัมพวัน ใกล้เมือง นาฬันทา ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่าอสิพันธกบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ชาวปัจฉาภูมิ มีคณโฑน้ำ ติดตัว ประดับพวงมาลัยสาหร่าย อาบน้ำทุกเช้าเย็น บำเรอไฟ พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า ยังสัตว์ที่ตาย ทำกาละแล้วให้เป็นขึ้น ให้รู้ชอบ ชวนให้เข้าสวรรค์

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถกระทำ ให้สัตว์โลกทั้งหมด เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ได้หรือ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

2)
ผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ..พากันสวดอ้อนวอน เมื่อตายไปขอเข้าถึง สุคติโลกสวรรต์ ดังนี้หรือ

          ดูกรนายคามณี (๑) ถ้าอย่างนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ปัญหาควรแก่ ท่าน ด้วยประการใด ท่านพึง พยากรณ์ปัญหาข้อนั้นด้วยประการนั้น ท่านจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษในโลกนี้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากไปด้วย อภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความ เห็นผิด หมู่มหาชนมาประชุมกันแล้ว พึงสวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือ เดินเวียน รอบผู้นั้นว่า ขอบุรุษนี้เมื่อตายไป จงเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ท่านจะสำคัญ ความ ข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเมื่อตายไปพึงเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เพราะเหตุการ สวดวิงวอน เพราะเหตุการ สรรเสริญ หรือเพราะเหตุ การประนมมือ เดินเวียนรอบ ดังนี้หรือ ฯ
คา. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

3)
บุรุษโยนก้อนหินก้อนใหญ่ลงห้วงน้ำลึก แล้วพากันสวดอ้อนวอนว่า ขอให้ก้อนหิน โผล่ขึ้นมา จะได้หรือ

          [๕๙๙] พ. ดูกรนายคามณี (๒) เปรียบเหมือนบุรุษ โยนหินก้อนหนาใหญ่ ลงใน ห้วงน้ำลึก หมู่มหาชน พึงมาประชุมกันแล้วสวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือ เดินเวียน รอบหิน นั้นว่า ขอจงโผล่ขึ้นเถิด ท่านก้อนหิน ขอจงลอยขึ้นเถิด ท่านก้อนหิน ขอจง ขึ้นบก เถิดท่านก้อนหิน ท่านจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนหินนั้นพึงโผล่ขึ้น พึงลอยขึ้น หรือพึงขึ้นบก เพราะเหตุการสวดวิงวอน สรรเสริญประนมมือเดินเวียนรอบ ของหมู่มหาชนบ้างหรือ ฯ
คา. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

4)
บุคคลฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์..มีจิตพยาบาท พากันสวดอ้อนวอนว่าเมื่อตายไป ขอเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ..แต่บุคคลนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย.. นรก

          พ. ดูกรนายคามณี (๓) ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษคนใดฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากไปด้วย อภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิด หมู่มหาชนพึงมาประชุมกันแล้วสวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือ เดินเวียนรอบบุรุษนั้นว่า ขอบุรุษนี้เมื่อตายไป จงเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ก็จริง แต่บุรุษนั้น เมื่อตาย พึงเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก ฯ

5)
บุรุษเว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน ...มีจิตไม่พยาบาท แล้วหมู่ชน พากันสวด อ้อนวอน เมื่อบุรุษผู้นี้ตายไปขอเข้าถึงอบาย..นรก จะเป็นจริงอย่างนั้นหรือ

          [๖๐๐] ดูกรนายคามณี (๔) ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษในโลกนี้ เว้นจาก ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจาผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ ไม่มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบ หมู่มหาชนพึงมาประชุมกันแล้วสวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือ เดินเวียนรอบบุรุษนั้นว่า ขอบุรุษนี้ เมื่อตายไป จงเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก ท่านจะสำคัญความ ข้อนั้น เป็นไฉน บุรุษนั้นเมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาตนรก เพราะเหตุการสวด วิงวอน สรรเสริญ หรือเพราะเหตุการประนมมือ เดินเวียนรอบ ของหมู่มหาชนบ้างหรือ ฯ
คา. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

6)

บุรุษทุบหม้อที่มีน้ำมัน และเนยใสลงในน้ำ แล้วอ้อนวอนของให้น้ำมัน และเนยใส จมลง เป็นไปได้หรือ

          [๖๐๑] พ. ดูกรนายคามณี (๕) เปรียบเหมือนบุรุษลงยังห้วงน้ำลึก แล้วพึง ทุบหม้อ เนยใส หรือ หม้อน้ำมัน ก้อนกรวดหรือก้อนหินที่มีอยู่ในหม้อนั้น พึงจมลง เนยใสหรือน้ำมัน ที่มีอยู่ในหม้อนั้น พึงลอยขึ้น หมู่มหาชนพึงมาประชุมกันแล้ว สวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบเนยใส หรือน้ำมันนั้นว่า ขอจง จมลงเถิด ท่านเนยใสและน้ำมัน ขอจงดำลงเถิดท่านเนยใสและน้ำมัน ขอจง ลงภายใต้เถิดท่านเนยใสและน้ำมัน ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนเนยใส และน้ำมันนั้น พึงจมลง พึงดำลง พึงลง ภายใต้ เพราะเหตุการสวดวิงวอน สรรเสริญหรือเพราะเหตุการประนมมือ เดินเวียนรอบ ของหมู่มหาชนบ้างหรือ ฯ
คา. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

7)
บุรุษเว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน.. มีจิตไม่พยาบาท แม้จะมีมหาชนพากัน สวดอ้อนวอนของให้ไปนรก แต่บุรุษนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์


          พ. ดูกรนายคามณี (๖) ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษใดเว้นจากปาณาติบาต อทินนาทานกาเม สุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ ไม่มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบ หมู่มหาชนจะพากัน มาประชุม แล้วสวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือ เดินเวียนรอบบุรุษนั้นว่า ขอบุรุษนี้ เมื่อตายไป จงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็จริงแต่บุรุษนั้น เมื่อตายไปพึงเข้า ถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

          [๖๐๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนามว่าอสิพันธกบุตร ได้กราบทูล พระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์ แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคทรง ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คน หลงทาง หรือส่องไฟในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุ จักเห็นรูป ฉะนั้น

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และ ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้า พระองค์ ว่าเป็น อุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๒๒
(คามณิสังยุตต์)

เทศนาสูตร

          [๖๐๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกอัมพวัน ใกล้เมือง นาฬันทา ครั้งนั้นนายบ้านนามว่า อสิพันธกบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

          ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค ทรงเกื้อกูล อนุเคราะห์สัตว์ทั่วหน้าอยู่มิใช่หรือ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อย่างนั้น นายคามณี ตถาคตเกื้อกูลอนุเคราะห์สัตว์ทั่วหน้าอยู่ ฯ

1)
เหตุใดพระผู้มีพระภาคแสดงธรรมแก่คนบางพวก และไม่แสดงธรรมแก่คนบางพวก

          คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อเช่นนั้น เพราะเหตุไรพระผู้มีพระภาคจึงทรง แสดงธรรม โดยเคารพแก่คนบางพวก ไม่ทรงแสดงธรรมโดยเคารพเหมือนอย่างนั้น แก่คนบางพวก ฯ

          พ. ดูกรนายคามณี ถ้าอย่างนั้นเราจักทวนถามท่านถึงในข้อนี้ ปัญหาควร แก่ท่าน ด้วยประการใด ท่านพึงพยากรณ์ปัญหานั้นด้วยประการนั้น

2)

ทรงอุปมาว่าชาวนาเลือกจะทำนาที่นาดีก่อน ตามมาด้วยนาปานกลาง ส่วนนาเลว ทำทีหลัง (นาดีเปรียบเหมือนภิกษุที่มีตถาคตเป็นที่พึ่งมีตถาคตเป็นสรณะ)

          ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน นาของคฤหบดีชาวนา ในโลกนี้ มีอยู่ ๓ ชนิด คือ ชนิดหนึ่งเป็นนาดี ชนิดหนึ่งเป็นนาปานกลาง ชนิดหนึ่ง เป็นนาเลว มีดินเหลว เค็ม พื้นดินเลว ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คฤหบดีชาวนา ต้องการ จะหว่านพืช จะพึงหว่านในนาไหนก่อนเล่า ฯ

          คา. คฤหบดีชาวนาต้องการจะหว่านพืช พึงหว่านพืชในนาดีก่อน ครั้นหว่าน ในนานั้นแล้ว พึงหว่านในนาปานกลาง ครั้นหว่านในนาปานกลางนั้นแล้วในนาเลว มีดินเหลว เค็มพื้นดินเลว พึงหว่านบ้างไม่หว่านบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะที่สุดจักเป็นอาหารโค ฯ

          [๖๐๔] พ. ดูกรนายคามณี เปรียบเหมือนนาดีฉันใด เราย่อมแสดงธรรม อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่ภิกษุและภิกษุณีของเราเหล่านั้น (ก่อน) ฉันนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุ และภิกษุณีเหล่านี้มีเราเป็นที่พึ่ง มีเราเป็น ที่เร้น มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นสรณะอยู่

3)
ตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงาม ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่ สมณะ พราหมณ์และปริพาชก ของเราเหล่านั้น(ในที่สุด) ฉันนั้น

          ดูกรนายคามณี นาเลว มีดินเหลว เค็ม พื้นดินเลวฉันใด เราย่อมแสดงธรรม อันงาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้ง พยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่อัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และ ปริพาชกของเราเหล่านั้น (ในที่สุด) ฉันนั้น ฯ

4)
พระศาสดาอุปมาเหมือนขวดน้ำ ๓ ใบ

          [๖๐๕] ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์และ ปริพาชก จะพึงรู้ธรรม แม้บทเดียว ความรู้ของเขานั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข แก่เขาสิ้นกาลนาน ดูกรนายคามณี บุรุษมีขวดน้ำ ๓ ใบ คือ ขวดน้ำ
๑.ใบหนึ่งไม่มีช่อง ใส่น้ำไม่ได้ เจ้าของไม่ใช้ (เปรียบเหมือนภิกษุ ภิกษุณีของตถาคต)
๒.ใบหนึ่งไม่มีช่อง ใส่น้ำได้ เจ้าของใช้ (เปรียบเหมือนอุบาสกอุบาสิกาของตถาคต)
๓.ใบหนึ่ง
มีช่อง ใส่น้ำได้ เจ้าของใช้ (เปรียบเหมือนเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ ปริพาชก)

          ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษคนโน้นต้องการ จะกรอก น้ำใส่ พึงกรอกน้ำใส่ในขวดไม่มีช่องใส่น้ำไม่ได้ เจ้าของไม่ใช้ หรือขวดน้ำ ไม่มีช่อง ใส่น้ำได้ เจ้าของใช้ หรือว่าขวดน้ำที่มีช่อง ใส่น้ำได้เจ้าของใช้ก่อน ฯ

          คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษคนโน้นต้องการจะกรอกน้ำใส่ พึงกรอกน้ำ ใส่ใน ขวดน้ำ ไม่มีช่อง ใส่น้ำไม่ได้ เจ้าของไม่ใช้ แล้วพึงกรอกน้ำใส่ในขวดน้ำ ไม่มีช่องใส่น้ำได้ เจ้าของใช้แล้วพึงกรอกน้ำใส่ในขวดน้ำมีช่อง ใส่น้ำได้ เจ้าของ ใช้บ้าง ไม่กรอกใส่บ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะที่สุดจักเป็นน้ำ สำหรับล้างสิ่งของ ฯ

          [๖๐๖] พ. ดูกรนายคามณขวดน้ำไม่มีช่อง ใส่น้ำไม่ได้ เจ้าของไม่ใช้ ฉันใด เราย่อมแสดง ธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุดประกาศ พรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่ภิกษุ และภิกษุณี ของเรา เหล่านั้น ฉันนั้น ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะภิกษุและ ภิกษุณี เหล่านี้ มีเรา เป็นที่พึ่ง มีเราเป็นที่เร้น มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นสรณะอยู่

          ดูกรนายคามณี ขวดน้ำไม่มีช่อง ใส่น้ำได้ เจ้าของใช้ ฉันใด เราย่อม แสดงธรรม อันงาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่อุบาสกและอุบาสิกา ของเรา เหล่านั้น (เป็นที่สอง) ฉันนั้น

          ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบาสก และอุบาสิกาเหล่านี้ มีเราเป็นที่พึ่ง มีเราเป็นที่เร้น มีเราเป็นที่ต้านทานมีเราเป็นสรณะอยู่ ดูกรนายคามณี
ขวดน้ำมีช่อง ใส่น้ำได้ ทั้งเจ้าของใช้ ฉันใดเราย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่อัญเดียรถีย์สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกของเราเหล่านั้น (ในที่สุด) ฉันนั้น

5)
แม้อัญเดียรถีย์ สมณะพราหมณ์ และปริพาชก จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมแม้บทเดียว ความรู้นั้นก็พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข แก่เขาสิ้นกาลนาน

          ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม้ไฉนอัญเดียรถีย์ สมณะพราหมณ์ และปริพาชก จะพึงรู้ ทั่วถึงธรรม นั้นแม้บทเดียว ความรู้นั้นก็พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข แก่เขาสิ้นกาลนาน ฯ

          [๖๐๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนามว่าอสิพันธกบุตร ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์ แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคทรง ประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของ ที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือส่องไฟในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุ จักเห็น รูปได้ ฉันนั้น

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรมและ ภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงรัตนตรัยเป็นสรณะ จนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

จบสูตรที่ ๗


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๒๕
(คามณิสังยุตต์)

อสังขาสูตร

          [๖๐๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกอัมพวัน ใกล้เมือง นาฬันทา ครั้งนั้นแล นายบ้าน นามว่าอสิพันธกบุตร สาวกของนิครณถ์เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

1)
นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่สาวกว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด

          ดูกรนายคามณี นิครณถ์นาฏบุตร แสดงธรรมแก่พวกสาวกอย่างไร อสิพันธกบุตร ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรม แก่พวก สาวก อย่างนี้ว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์ ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ผู้ที่ลักทรัพย์ต้องไปอบาย ตกนรก ทั้งหมด ผู้ที่ประพฤติผิด ในกาม ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ผู้ที่พูดเท็จ ต้องไป อบาย ตกนรกทั้งหมดกรรมใดๆ มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป นิครณถ์นาฏบุตร ย่อม แสดงธรรมแก่พวกสาวก อย่างนี้แล พระเจ้าข้า ฯ

2)
บุรุษฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม รวมทั้งสมัย และไม่ใช่สมัย ทั้งกลางคืน และกลางวัน สมัยที่เขาฆ่าสัตว์ หรือสมัยที่เขาไม่ฆ่าสัตว์ สมัยไหนมากกว่ากัน

          [๖๐๙] พ. ดูกรนายคามณี ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า กรรมใดๆมากกรรมนั้นๆย่อมนำบุคคลไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครๆจักไม่ไปอบาย ตกนรก ตามคำของนิครณถ์นาฏบุตร ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน บุรุษฆ่าสัตว์รวมทั้งสมัยและไม่ใช่สมัย ทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาฆ่าสัตว์ หรือสมัยที่เขาไม่ฆ่าสัตว์ สมัยไหนมากกว่ากัน ฯ
          คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษฆ่าสัตว์รวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้งกลางคืน และกลางวัน
สมัยที่เขาฆ่าสัตว์น้อยกว่า สมัยที่เขาไม่ได้ฆ่าสัตว์มากกว่าพระเจ้าข้า ฯ

          พ. ดูกรนายคามณี ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า กรรมใดๆ มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลนั้นไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครๆ จักไม่ไปอบาย ตกนรก ตามคำของนิครณถ์นาฏบุตร ฯ

          [๖๑๐] ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษลักทรัพย์ รวมทั้งสมัย และมิใช่สมัย ทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาลักทรัพย์ หรือ สมัย ที่เขาไม่ได้ลักทรัพย์ สมัยไหนมากกว่ากัน ฯ

          คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษลักทรัพย์รวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้ง กลางคืนและ กลางวัน สมัยที่เขาลักทรัพย์น้อยกว่า ส่วนสมัยที่เขามิได้ลักทรัพย์ มากกว่า พระเจ้าข้า ฯ

          พ. ดูกรนายคามณี ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า กรรมใดๆ มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลนั้นไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครๆ จักไม่ไปอบาย ตกนรก ตามคำขอ งนิครณถ์นาฏบุตร ฯ

          [๖๑๑] ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษประพฤติผิด ในกามรวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาประพฤติผิด ในกาม หรือสมัยที่เขามิได้ประพฤติผิดในกาม สมัยไหนมากกว่ากัน ฯ          คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษประพฤติผิดในกามรวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้งกลางคืน และกลางวัน สมัยที่เขาประพฤติผิดในกามนั้นน้อยกว่า ส่วนสมัยที่เขา มิได้ประพฤติผิด ในกามนั้นมากกว่า พระเจ้าข้า ฯ

          พ. ดูกรนายคามณี ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่ากรรมใดๆ มากกรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครๆ จักไม่ไปอบาย ตกนรก ตามคำของ นิครณถ์นาฏบุตร ฯ

          [๖๑๒] ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษพูดเท็จ รวมทั้ง สมัยและมิใช่สมัย ทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาพูดเท็จ หรือ สมัย ที่เขา มิได้ พูดเท็จ สมัยไหนมากกว่ากัน
          คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษพูดเท็จรวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้งกลางคืน และ กลางวัน
สมัยที่เขาพูดเท็จนั้นน้อยกว่า ส่วนสมัยที่เขามิได้พูดเท็จนั้นมากกว่า พระเจ้าข้า ฯ

          พ. ดูกรนายคามณี ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวก กรรมใดๆมาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครๆ จักไม่ไปอบาย ตกนรก ตามคำ ของนิครณถ์นาฏบุตร ฯ

          [๖๑๓] ดูกรนายคามณี ศาสดาบางท่านในโลกนี้ มักพูดอย่างนี้ มักเห็น
อย่างนี้ ว่า ผู้ฆ่าสัตว์ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ผู้ที่ลักทรัพย์ต้องไปอบายตกนรก ทั้งหมด ผู้ที่ประพฤติผิดในกามต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ผู้ที่พูดเท็จต้องไปอบาย ตกนรก ทั้งหมด ฯ


3)
สาวกของตถาคตมีความเห็นว่า การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิด ในกามมีอยู่ หากเรายังไม่ละความคิดนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก

          [๖๑๔] ดูกรนายคามณี สาวกที่เลื่อมใสในศาสดานั้น ย่อมมีความคิด อย่างนี้ ว่าศาสดาของเรากล่าวอย่างนี้ เห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์ต้องไปอบายตกนรก ทั้งหมด สาวกของศาสดานั้นกลับได้ความเห็นว่า สัตว์ที่เราฆ่ามีอยู่ แม้เราก็ต้องไป อบาย ต้องตกนรก ขายังไม่ละวาจานั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก เหมือนถูกนำมาขังไว้ฉะนั้น(สาวกของศาสดานั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า)

          ศาสดาของเรากล่าวอย่างนี้ เห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่ลักทรัพย์ต้องไปอบายตกนรก ทั้งหมด สาวกของศาสดานั้นกลับได้ความเห็นว่าทรัพย์ที่เราลักมีอยู่ แม้เราก็ต้องไป อบาย ต้องตกนรก เขายังไม่ละวาจานั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่ละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ ในนรก เหมือนถูกนำมาขังไว้ ฉะนั้น

          ศาสดาของเรากล่าวอย่างนี้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่ประพฤติผิดในกาม ต้องไป อบาย ตกนรก ทั้งหมด สาวกของศาสดานั้นกลับได้ความเห็นว่า กาเมสุมิจฉาจาร ที่เราประพฤติ มีอยู่ แม้เราต้องไปอบาย ต้องตกนรกขายังไม่ละ วาจานั้น ยังไม่ละ ความคิดนั้น ยังไม่สละ ความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก เหมือนถูก นำมาขังไว้ ฉะนั้น

          ศาสดาของเรากล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่พูดเท็จต้องไปอบาย ตกนรก ทั้งหมด สาวกของศาสดานั้นกลับได้ความเห็นว่า คำเท็จที่เราพูดมีอยู่ แม้เราต้องไป อบายต้องตกนรก เขายังไม่ละวาจานั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละ ความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก เหมือนถูกนำมาขังไว้ฉะนั้น ฯ

          [๖๑๕] ดูกรนายคามณี ก็พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงถึงพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้มีโชค เสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้

ตถาคตนั้น
ทรงตำหนิติเตียน ปาณาติบาต
และตรัสว่า จงงดเว้น จากปาณาติบาต
ทรงตำหนิติเตียน อทินนาทาน และตรัสว่า จงงดเว้น จากอทินนาทาน
ทรงตำหนิติเตียน กาเมสุมิจฉาจาร และตรัสว่าจงงดเว้น จากกาเมสุมิจฉาจาร ทรงตำหนิติเตียน มุสาวาท และตรัสว่า จงงดเว้น จากมุสาวาท โดยอเนกปริยาย

          สาวกเป็นผู้เลื่อมใสใน พระศาสดานั้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า


4)
หากสาวกตถาคตงดเว้น ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเม โดยเอนกปริยาน เป็นอันว่าเขาละบาปกรรมนั้น ก้าวล่วงบาปกรรมนั้นได้

          พระผู้มีพระภาค ทรงตำหนิติเตียน ปาณาติบาต โดยอเนกปริยาย และตรัสว่า จงเว้นจากปาณาติบาต ก็สัตว์ที่เราฆ่ามีอยู่มากมาย ข้อที่เราฆ่าสัตว์ มากมาย นั้น ไม่ดีไม่งาม เราแลพึงเดือดร้อน เพราะข้อนี้เป็นปัจจัยแท้ เราจักไม่ได้ ทำบาปกรรมนั้น หามิได้ เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละปาณาติบาตนั้นด้วย ย่อม งดเว้นจากปาณาติบาตต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละบาปกรรม ก้าวล่วง บาปกรรมได้ ด้วยประการอย่างนี้ ฯ

          [๖๑๖] สาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิ ติเตียน อทินนาทานโดยอเนกปริยาย และตรัสว่า จงงดเว้นจากอทินนาทานทรัพย์ ที่เรา ลักมีอยู่มากมาย ข้อที่เราลักทรัพย์มากมายนั้นไม่ดี ไม่งาม เราแลพึงเดือดร้อน เพราะข้อนั้น เป็นปัจจัยแท้ เราจักไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นหามิได้ เขาพิจารณาเห็น ดังนี้แล้ว ย่อมละ อทินนาทานนั้นด้วย ย่อมงดเว้นจาก อทินนาทานต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมได้ ด้วยประการอย่างนี้ ฯ

          [๖๑๗] สาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิ ติเตียน กาเมสุมิจฉาจารโดยอเนกปริยาย และตรัสว่า จงงดเว้นจาก กาเมสุมิจฉาจาร เราประพฤติผิดในกามมีอยู่มากมาย ข้อที่เราประพฤติผิดในกาม มากมายนั้น ไม่ดีไม่งาม เราแลพึงเดือดร้อนเพราะข้อนั้นเป็นปัจจัยแท้ เราจักไม่ได้ ทำบาปกรรมนั้นหามิได้ เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละกาเมสุมิจฉาจารนั้นด้วย ย่อมงดเว้นจาก กาเมสุมิจฉาจาร ต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละบาปกรรมก้าวล่วง บาปกรรม ได้ด้วยประการ อย่างนี้ ฯ

          [๖๑๘] สาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิ ติเตียน มุสาวาท โดยอเนกปริยาย และตรัสว่า จงงดเว้นจากมุสาวาท ก็เรา พูดเท็จมีอยู่ มากมาย ข้อที่เราพูดเท็จมากมายนั้น ไม่ดี ไม่งาม เราแลพึงเดือดร้อน เพราะข้อนั้น เป็นปัจจัยแท้ เราจักไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นหามิได้ เขาพิจารณา เห็นดังนี้แล้วย่อม ละมุสาวาท นั้นด้วย ย่อมงดเว้นจากมุสาวาทต่อไปด้วยเป็นอันว่า เขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมได้ ด้วยประการอย่างนี้ ฯ

5)
อริยสาวกนั้น ละปาณาติบาต อทินนาทาน กาเม มุสา ...(ละอกุศลกรรมบถ๑๐)

          [๖๑๙] สาวกนั้น
(๑) ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต
(๒) ละอทินนาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน
(๓) ละกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
(๔) ละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท
(๕) ละปิสุณาวาจา งดเว้นจาก ปิสุณาวาจา
(๖) ละผรุสวาจา งด เว้นจาก ผรุสวาจา
(๗) ละสัมผัปลาปะ งดเว้นจากสัมผัปลาปะ
(๘) ละอภิชฌา ไม่โลภมาก
(๙) ละความ ประทุษร้าย คือ พยาบาท ไม่มีจิตพยาบาท
(
๑๐) ละความเห็นผิด มีความเห็นชอบ
(ละอกุศลกรรมบถ๑๐- ความประพฤติทางกาย วาจา ใจ)

6)
อริยสาวกผู้ปราศจากอภิชชา ปราศจากพยาบาท ไม่หลงงมงาย มีสติ มีใจเมตตา แผ่ไปทุกทิศ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน...กรรมนั้นจะไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ในรูปาพจร

          ดูกรนายคามณี อริยสาวกนั้นนั่นแล ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท อย่างนี้ ไม่หลงงมงาย มีความรู้สึกตัว มีสติ มีใจประกอบด้วยเมตตแผ่ไปตลอด ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไป ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วย เมตตาอันไพบูลย์ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

          ดูกรนายคามณี คนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง พึงยังบุคคลให้รู้แจ้งทั้ง ๔ ทิศ ได้โดยไม่ยากเลยฉันใด กรรมที่ทำพอประมาณอันใดในเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคล อบรม แล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ กรรมนั้นจะไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ในรูปาพจร(ท่องเที่ยวในภพ) นั้น ฉันนั้น เหมือนกัน

          ดูกรนายคามณี อริยสาวกนั้นนั่นแล ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท แล้ว อย่างนี้ ไม่หลงงมงายรู้สึกตัว มีสติ มีใจประกอบด้วยกรุณา ... มีใจประกอบด้วย มุทิตา ... มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ ทุกเหล่า ในที่ทุกสถานด้วยใจ ประกอบด้วยอุเบกขา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

          ดูกรนายคามณี คนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง พึงยังบุคคลให้รู้แจ้งทั้ง ๔ ทิศได้โดย
ไม่ยาก ฉันใด กรรมที่ทำ พอประมาณในอุเบกขาเจโตวิมุติ ที่บุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ กรรมนั้นจะไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ในรูปาพจรนั้น ฉันนั้น เหมือนกัน เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนามว่า อสิพันธกบุตร สาวกนิครณถ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพระธรรมเทศนาของพระองค์ แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนา ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ

          ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงจำ ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัย เป็นสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป พระเจ้าข้า ฯ

จบสูตรที่ ๘

   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์