เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

พระมหาโมคคัลลานะ
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของพระโมคคัลลานะ
อัครสาวกเบื้องซ้าย เอตทัคคะด้านผู้มีฤทธ
M105
               ออกไปหน้าหลัก 5 of 8
  83 เรื่องราวสำคัญของ พระมหาโมคคัลลานะ จากพระไตรปิฎกฉบับหลวง คัดเฉพาะคำสอนจากพระโอษฐ์
  46. โลกเที่ยงหรือหนอ (วัจฉสูตร)
  47. พระมหาโมคคัลลานะหายอาพาธด้วยโพชฌงค์ ๗ (คิลานสูตรที่ ๒)
  48. ว่าด้วยการมีธรรมเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง (เจลสูตร)
  49. ว่าด้วยบุคคลจะชื่อว่าเป็นพระเสขะ (ปเทสสูตร)
  50. ว่าด้วยบุคคลจะชื่อว่าเป็นพระอเสขะ (สมัตตสูตร)
  51. ทรงให้พระโมคแสดงฤทธิ์ เพื่อให้ภิกษุสังเวชใจ (โมคคัลลานสูตร)
  52. ทรงสรรเสริญพระโมคคัลลานว่ามีฤทธิ์มาก (โมคคัลลานสูตร)
  53. พระโมคถามพระอนุรุทธะเรื่องสติปัฏฐาน ๔ (๘. อนุรุทธสังยุต)
  54. ธรรมที่พระเสขะพึงเข้าถึง (กัณฏกีสูตรที่ ๑) พระอนุรุทธะกล่าวว่าคือสติปัฏฐาน๔
  55. ข้อปฏิบัติให้เข้าถึงสุคติ (เทวจาริกสูตรที่ ๑) ไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีศีลอันเป็นที่รักของพระอริยะเจ้า
  56. ข้อปฏิบัติให้เข้าถึงสุคติ (เทวจาริกสูตรที่ ๒) ไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีศีลอันเป็นที่รักของพระอริยะเจ้า
  57. ว่าด้วยพระอริยบุคคลมีน้อยกว่ากันโดยลำดับ (วัสสวุตถสูตร)
  58. พระมหาโมคคัลลานะ เป็นหนึ่งใน เอตทัคคบาลี ผู้เลิศใน ๗๔ ท่าน
  59. พระสารีบุตรกับพระโมค ถามปฏิปทาเพื่อการหลุดพ้น ซึ่งกันและกัน (ปฏิปทา ๔ ประการ)
  60. บุคคลเว้นขาดจากกรรมทางกายวาจาใจ แล้ว อาสวะที่ก่อทุกข์เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
  61. เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยดับไป กรรมเก่าย่อมสิ้นไป อาสวะก่อทุกข์ย่อมไม่เกิดขึ้น
 
 


46   
    
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๓๙๕

โลกเที่ยงหรือหนอ (วัจฉสูตร)

(ย่อ)
วัจฉโคตรปริพาชก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามว่า โลกเที่ยงหรือ
ดูกรวัจฉะ ปัญหา ข้อนี้ เป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์


ดูกรวัจฉะ พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น ย่อมเห็นรูปโดย ความเป็นตน ย่อมเห็นตนว่ามีรูป ย่อมเห็นรูปในตน หรือย่อมเห็นตนในรูป ฯลฯ ย่อมเห็น วิญญาณโดยความเป็นตน ย่อมเห็น ตนว่ามีวิญญาณ ย่อมเห็นวิญญาณในตน หรือ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ

ส่วนพระตถาคต ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ย่อมไม่เห็นตนว่ามีรูป ย่อมไม่เห็นรูป ในตน หรือย่อมไม่เห็นตนในรูป ฯลฯ ย่อมไม่เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ย่อมไม่เห็นตน ว่ามีวิญญาณ ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน หรือย่อมไม่เห็นตนในวิญญาณ

ดูกรท่านโมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในข้อที่อรรถ กับอรรถพยัญชนะ กับ พยัญชนะ ของศาสดากับของสาวก ย่อมเทียบกันได้ สมกันได้ ไม่ผิดเพี้ยน กันในบทที่สำคัญ

          [๗๙๔] ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชกได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก ถึงกัน ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

     ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โลกเที่ยงหรือ

     พระผู้มีพระภาคตอบว่า ดูกรวัจฉะปัญหาข้อนี้ เป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ ฯลฯ
ว. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีก ก็หามิได้หรือ

     พ. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ อีกเหมือนกัน
     ว. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเล่า เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิ อื่น เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว พยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง

     ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเล่า เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระโคดมผู้เจริญ เมื่อถูก ทูลถามอย่างนั้นแล้ว ไม่ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่าโลกเที่ยงก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี

          [๗๙๕] พ. ดูกรวัจฉะ พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น ย่อมเห็นรูปโดยความ เป็น ตน ย่อมเห็นตนว่ามีรูป ย่อมเห็นรูปในตน หรือย่อมเห็นตนในรูป ฯลฯ ย่อมเห็น วิญญาณโดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณ ย่อมเห็นวิญญาณในตน หรือ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ

     เพราะฉะนั้นพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว จึงพยากรณ์ อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้างฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง

     ดูกรวัจฉะ ส่วนพระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็น ตน ย่อมไม่เห็นตนว่ามีรูป ย่อมไม่เห็นรูปในตน หรือย่อมไม่เห็นตนในรูป ฯลฯ ย่อมไม่ เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนย่อมไม่เห็นตน ว่ามีวิญญาณ ย่อมไม่เห็นวิญญาณ ในตน หรือย่อมไม่เห็นตนในวิญญาณ

     เพราะฉะนั้นเมื่อตถาคต ถูกถามอย่างนั้น จึงไม่พยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี

          [๗๙๖] ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชกลุกขึ้นจากที่นั่งแล้ว ได้เข้าไปหาท่าน พระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นผ่านการ ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า

     ดูกรท่านโมคคัลลานะ โลกเที่ยงหรือ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ตอบว่า
ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ฯลฯ

     ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หา มิได้  ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ

     พ. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงพยากรณ์ อีกเหมือนกัน

     ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พวกปริพาชก ผู้ถือ ลัทธิอื่นเมื่อถูกถามอย่างนั้น ย่อมพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง

     ดูกรท่านโมคคัลลานะ ก็อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้พระสมณโคดม เมื่อถูก ทูลถามอย่างนั้นแล้ว ย่อมไม่ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงก็ดีฯลฯสัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี

          [๗๙๗] ดูกรวัจฉะ พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนว่ามีรูป ย่อมเห็นรูปในตน หรือย่อมเห็นตนในรูป ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณ ย่อมเห็นวิญญาณในตน หรือย่อมเห็นตน ในวิญญาณ

     เพราะฉะนั้น พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น เมื่อถูกถามอย่างนั้น จึงพยากรณ์อย่างนี้ ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิด อีก ก็หามิได้บ้าง

     ดูกรวัจฉะ ส่วนพระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่ทรงเห็นรูปโดย ความเป็นตน ย่อมไม่ทรงเห็นตนว่ามีรูป ย่อมไม่ทรงเห็นรูปในตน หรือย่อมไม่ทรง เห็นตนในรูป ฯลฯ ย่อมไม่ทรงเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ย่อมไม่ทรงเห็นตน ว่ามีวิญญาณ ย่อมไม่ทรงเห็นวิญญาณในตน หรือย่อมไม่ทรงเห็นตนในวิญญาณ

     เพราะฉะนั้น เมื่อพระตถาคตถูกทูลถามอย่างนั้น จึงไม่ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงก็ดี โลกไม่เที่ยงก็ดี โลกมีที่สุดก็ดี โลกไม่มีที่สุดก็ดี ชีพก็อันนั้น สรีระ ก็อันนั้น ก็ดี ชีพเป็นอย่างอื่น สรีระก็เป็นอย่างอื่นก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี

          [๗๙๘] ดูกรท่านโมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในข้อที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของศาสดากับของสาวก ย่อมเทียบกันได้ สมกันได้ ไม่ผิดเพี้ยน กันในบทที่สำคัญ

     ดูกรท่านโมคคัลลานะ เมื่อกี้นี้ข้าพเจ้าได้เข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม ได้ทูลถาม เรื่องนี้ แม้พระสมณโคดม ก็ได้ทรงพยากรณ์เรื่องนี้ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะ เหล่านี้ แก่ข้าพเจ้า ดุจท่านโมคคัลลานะ เหมือนกัน

     ดูกรท่านโมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในข้อที่อรรถกับอรรถพยัญชนะ กับ พยัญชนะ ของศาสดากับของสาวก ย่อมเทียบกันได้ สมกันได้ ไม่ผิดเพี้ยน กันในบท ที่สำคัญ

------------------------------------------------------------------------------------------
47
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๑๐๗

พระมหาโมคคัลลานะหายอาพาธด้วยโพชฌงค์ ๗
(คิลานสูตรที่ ๒)

(ย่อ)
สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ อาพาธ ไม่สบาย เป็นไข้หนัก อยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหา.. เธอพออดพอทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ แลหรือ ทุกขเวทนาคลายลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ...ม. ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพ ให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์ ย่อมกำเริบหนัก... พ.โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ รู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

        [๔๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ อาพาธ ไม่สบาย เป็นไข้หนักอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ

        [๔๒๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค เสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหา ท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า

     ดูกรโมคคัลลานะ เธอพออดพอทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ แลหรือ ทุกขเวทนาคลายลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบขึ้น ไม่ปรากฏแลหรือ?

     ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทน ไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์ ย่อมกำเริบหนัก ยังไม่ คลายลง ความกำเริบย่อมปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ

        [๔๒๒] พ. ดูกรโมคคัลลานะ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

------------------------------------------------------------------------------------------
48
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๑๘๐

ว่าด้วยการมีธรรมเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง (เจลสูตร)
(ย่อ)
ทรงตรัสกับภิกษุว่า เมื่อสารีบุตร และโมคคัลลานะปรินิพพานไปแล้ว บริษัทของเรานี้เหมือน ว่างเปล่า..สมัยที่ท่านมีชีวิตย่อมไม่ว่างเปล่า...ในอดีตกาล ในอนาคตกาล อรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า จักมีสาวกคู่ เหมือนของเรา แม้สาวกคู่จะปรินิพพาน ความโศก ความรำไร ก็ไม่ได้มีแก่เรา เพราะสิ่งใด เกิดแล้วมีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา

ดูก่อนภิกษุ ท. ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่น เป็นที่พึ่งคือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่อย่างไร? ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.. พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่  ...พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย


ดูกรภิกษุ ท. ในบัดนี้ก็ดี ในกาลที่ล่วงไป(แห่งเรา)แล้วก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็น ที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือมีธรรม เป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่น เป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุเหล่านี้นั้น ที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา จักเป็นผู้เลิศ

        [๗๔๑] สมัยหนึ่ง เมื่อพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ปรินิพพานแล้ว ไม่นาน พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่แทบฝั่งแม่น้ำคงคา ใกล้อุกกเจลนคร ในแคว้น วัชชี กับพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคอันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว ประทับนั่งที่กลางแจ้ง

        ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงชำเลืองดูภิกษุสงฆ์ผู้นิ่งอยู่ แล้วตรัสกะ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทของเรานี้ ปรากฏเหมือนว่างเปล่า เมื่อสารีบุตร และโมคคัลลานะ ยังไม่ปรินิพพาน สารีบุตร และโมคคัลลานะ อยู่ในทิศใด ทิศนั้นของเราย่อมไม่ว่างเปล่า ความไม่ห่วงใยย่อมมีในทิศนั้น

        [๗๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้เหล่าใดได้ มีมาแล้ว ในอดีตกาล พระผู้มีพระภาคแม้เหล่านั้น ก็มีคู่สาวกนั้นเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น เหมือนกับสารีบุตร และโมคคัลลานะของเรา พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้เหล่าใด จักมี ในอนาคตกาล พระผู้มีพระภาคแม้เหล่านั้น ก็จักมีคู่สาวกนั้น เป็นอย่างยิ่งเท่านั้น เหมือนกับสารีบุตร และโมคคัลลานะของเรา

        [๗๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นความอัศจรรย์ ของสาวกทั้งหลาย เป็นเรื่อง ที่ไม่เคยมีมาของสาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายจักกระทำตามคำสอน และกระทำ ตามโอวาทของพระศาสดา และจักเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจ เป็นที่ตั้งแห่งความเคารพ และสรรเสริญของบริษัท ๔ เป็นความอัศจรรย์ของตถาคต เป็นเรื่องที่ไม่เคยมีมา ของตถาคต

        เมื่อคู่สาวกแม้เห็นปานนี้ ปรินิพพานแล้วความโศกหรือความร่ำไร ก็มิได้มีแก่ พระตถาคต เพราะฉะนั้น จะพึงได้ข้อนี้แต่ที่ไหน สิ่งใดเกิดแล้วมีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่ง แล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายเลยดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้

        [๗๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ มีแก่นตั้งอยู่ ลำต้น ที่ใหญ่กว่าพึงทำลายลง ฉันใด เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ซึ่งมีแก่น ดำรงอยู่ สารีบุตร และโมคคัลลานะ ปรินิพพานแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จะพึงได้ในข้อนี้ แต่ที่ไหน?

        สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้วปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย ดังนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะเหตุนั้น แล ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่งอย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด

        [๗๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่น เป็น ที่พึ่งคือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่อย่างไร?

        ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ... พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่  ...พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่อย่างนี้แล

        [๗๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุพวกใดพวกหนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในกาลที่ล่วง ไปแล้วก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรม เป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุเหล่านี้นั้น ที่เป็นผู้ใคร่ต่อการ ศึกษา จักเป็นผู้เลิศ

จบ สูตรที่ ๔

------------------------------------------------------------------------------------------
49

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๑๙๒

ว่าด้วยบุคคลจะชื่อว่าเป็นพระเสขะ (ปเทสสูตร)

(ย่อ)
เมื่อพระสารีบุตร พระโมค อนุรุทธะ อยู่พร้อมกัน พระสารีบุตรถาม พระอนุรุทธะ ว่า บุคคล เช่นไรจึงเรียกว่า "พระเสขะ" พระอนุรุทธะ ตอบว่า พระเสขะ คือ ผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้เป็นส่วนๆ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ย่อมพิจารณาเห็นจิต ในจิต ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย

        [๗๘๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ และท่าน พระอนุรุทธะ อยู่ ณ กัณฏกีวัน ใกล้เมืองสาเกต ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรและ ท่านมหา โมคคัลลานะ ออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะ ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอนุรุทธะ
  
       ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า

        [๗๘๒] ดูกรท่านอนุรุทธะ ที่เรียกว่า พระเสขะ พระเสขะ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียง เท่าไรหนอ บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพระเสขะ? ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรผู้มีอายุ บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้เป็นส่วนๆ

        สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ดูกรผู้มีอายุ บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล ได้เป็นส่วนๆ

จบ สูตรที่ ๖

------------------------------------------------------------------------------------------

50

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๑๙๔


ว่าด้วยบุคคลจะชื่อว่าเป็นพระอเสขะ (สมัตตสูตร)

(ย่อ)
พระสารีบุตร ถามพระอนุรุทธะว่า ด้วยเหตุ เพียงเท่าไรหน บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็น พระอเสขะ? ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระอเสขะ เพราะ เจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้บริบูรณ์ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย

        [๗๘๓] นิทานต้นสูตรเหมือนกัน. ครั้นท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า

        [๗๘๔] ดูกรท่านอนุรุทธะ ที่เรียกว่า พระอเสขะ พระอเสขะ ดังนี้ ด้วยเหตุ เพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพระอเสขะ ?

         ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระอเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้บริบูรณ์

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

        ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

        ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระอเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล ได้บริบูรณ์

------------------------------------------------------------------------------------------

51
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๒๘๑

ทรงให้พระโมคแสดงฤทธิ์ เพื่อให้ภิกษุสังเวชใจ (โมคคัลลานสูตร)

(ย่อ)
พระผู้มีพระภาค รับสั่งให้พระโมค กระทำให้ภิกษุมากรูป ที่ปากกล้า ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น คิดจะสึก ไม่สำรวมอินทรีย์ ให้รู้สึกสังเวชใจ ..พระโมค รับพระดำรัสแล้ว จึงแสดงอิทธาภิสังขาร ให้ปราสาทของมิคารมารดา สะเทือนสะท้านหวั่นไหวด้วยนิ้ว หัวแม่เท้า... ทำให้ภิกษุเหล่านั้น เกิดความสลดใจ ขนพองสยองเกล้า

ดูกรภิกษุ ท. ภิกษุโมคคัลลานะ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เพราะได้เจริญอิทธิบาท ๔ ประกอบด้วย ฉันทสมาธิ  วิริยสมาธิ  จิตตสมาธิ  วิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร ภิกษุโมค- ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะ มิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่


        [๑๑๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมารดา ในบุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี
สมัยนั้น ภิกษุมากรูป ที่อยู่ภายใต้ปราสาทของมิคารมารดา เป็นผู้ฟุ้งซ่าน อวดตัวมีจิตกวัดแกว่ง ปากกล้า พูดจาอื้อฉาว ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น คิดจะสึก ไม่สำรวมอินทรีย์

        [๑๑๕๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะ มาตรัส ว่า ดูกรโมคคัลลานะ สพรหมจารีเหล่านี้ ที่อาศัยอยู่ภายใต้ปราสาทของมิคารมารดา เป็นผู้ฟุ้งซ่านอวดตัว มีจิตกวัดแกว่ง ปากกล้า พูดจาอื้อฉาว ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น คิดจะสึก ไม่สำรวมอินทรีย์ ไปเถิด โมคคัลลานะ เธอจงยังภิกษุ เหล่านั้นให้สังเวช

       ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว แสดงอิทธาภิสังขาร ให้ปราสาทของมิคารมารดา สะเทือนสะท้าน หวั่นไหว ด้วยนิ้วหัวแม่เท้า

        [๑๑๕๖] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น เกิดความสลดใจ ขนพองสยองเกล้า ได้ไปยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว พูดกันว่า น่าอัศจรรย์หนอท่าน ไม่เคยมีมาแล้ว ลมก็ไม่มี ทั้งปราสาทของมิคารมารดานี้ ก็มีรากลึก ฝังไว้ดีแล้ว จะโยกคลอนไม่ได้ ก็แหละเมื่อเป็นเช่นนี้ อะไรสักอย่างหนึ่งที่ทำให้ปราสาทนี้สะเทือนสะท้านหวั่นไหว

        [๑๑๕๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค เสด็จเข้าไปยังที่ซึ่งภิกษุเหล่านั้น ยืนอยู่แล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเกิดความสลดใจ ขนพองสยองเกล้า ไปยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งเพราะเหตุอะไร?

        ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ลมก็ไม่มี ทั้งปราสาทของมิคารมารดานี้ ก็มีรากลึก ฝังไว้ดีแล้ว จะโยกคลอนไม่ได้ ก็แหละเมื่อ เป็นเช่นนั้น อะไรสักอย่างหนึ่งที่ ทำให้ปราสาทนี้สะเทือน สะท้าน หวั่นไหว

        [๑๑๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโมคคัลลานะ ประสงค์ จะให้เธอทั้งหลายสังเวช จึงทำปราสาทของมิคารมารดา ให้สะเทือน สะท้าน หวั่นไหวด้วยนิ้วหัวแม่เท้า

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ?

         ภิกษุโมคคัลลานะ มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะได้เจริญ ธรรมเหล่าไหน เพราะได้กระทำให้มากซึ่งธรรมเหล่าไหน ?

        ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาค เป็นรากฐาน มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ขอประทาน พระวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังแล้ว จักทรงจำไว้

        [๑๑๕๙] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟังเถิด ภิกษุโมค คัลลานะ มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำ ให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔

        อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน?

         ภิกษุโมคคัลลานะย่อมเจริญอิทธิบาท ประกอบด้วย ฉันทสมาธิ และ ปธานสังขาร ... วิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสาของเรา จักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ใน ภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลัง และเบื้องหน้า อยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่าง ฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืน ก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น

         เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิต ให้สว่างอยู่ ภิกษุโมคคัลลานะ มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่ง อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล

        [๑๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ภิกษุโมคคัลลานะ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ ใช้อำนาจทางกาย ไปตลอดพรหมโลกก็ได้

        [๑๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ภิกษุโมคคัลลานะย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะ มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

------------------------------------------------------------------------------------------

52
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๒๙๘

ทรงสรรเสริญพระโมคคัลลานว่ามีฤทธิ์มาก (โมคคัลลานสูตร)

(ย่อ) ภิกษุโมคคัลลานะ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ได้เจริญ ให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ ประกอบด้วย ฉันทสมาธิ และ ปธานสังขาร ดังนี้ว่า

ฉันทะ ของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไป ในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลัง และ เบื้องหน้า อยู่ว่าเบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น ...เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวัน ฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น …. เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไร หุ้มห่อ อบรมจิตใจให้สว่างอยู่ ย่อมเจริญอิทธิบาท ๔


[๑๒๔๑] ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุโมคคัลลานะ มีฤทธิ์มากอย่างนี้มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งธรรม เหล่าไหน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของ ข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาค เป็นรากฐาน ฯลฯ

        [๑๒๔๒] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโมคคัลลานะ มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมาก อย่างนี้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔

        อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน?

        ภิกษุโมคคัลลานะ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย ฉันทสมาธิ และ ปธานสังขาร ดังนี้ว่า ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อน เกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลัง และ เบื้องหน้า อยู่ว่าเบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้า ก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวัน ฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น

       เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไร หุ้มห่อ อบรมจิตใจให้สว่างอยู่ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ...วิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสาของเรา จักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ฯลฯ เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโมคคัลลานะ มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล

        [๑๒๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุโมคคัลลานะ แสดงฤทธิ์ได้หลาย อย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจ ทางกาย ไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้

        [๑๒๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุโมคคัลลานะ ย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้

------------------------------------------------------------------------------------------

53
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๓๐๒

พระโมคถามพระอนุรุทธะเรื่องสติปัฏฐาน ๔ (๘. อนุรุทธสังยุต)

(ย่อ)
ท่านมหาโมคคัลลานะ ได้ถาม ท่านอนุรุทธะ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงจะชื่อว่า ปรารภสติปัฏฐาน ๔ ... ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม

พิจารณาเห็นธรรม คือ
1.
คือ ความเกิดขึ้น และ ความเสื่อมไป ในกายในภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด อภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด อภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้
2.
คือ ความเสื่อมไป ในกายในภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปในกาย ในภายนอกอยู่ ...
3. คือ ความเสื่อมไปในกายทั้งภายใน และภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น และความเสื่อม ไป ในกายทั้งภายใน และ ภายนอกอยู่

        [๑๒๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ หลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิด ความปริวิตกขึ้นในใจอย่างนี้ว่า สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเบื่ออริยมรรค ที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปรารภแล้วชน เหล่านั้น ชื่อว่าปรารภอริยมรรคที่ จะให้ถึง ความสิ้นทุกข์โดยชอบ

        [๑๒๕๔] ลำดับนั้น ท่านมหาโมคคัลลานะ รู้ความปริวิตกในใจ ของท่าน พระอนุรุทธะ ด้วยใจ จึงไปปรากฏในที่ เฉพาะหน้า ท่านอนุรุทธะ เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้ถาม ท่านอนุรุทธะ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงจะชื่อว่า ปรารภสติปัฏฐาน ๔ ?

        [๑๒๕๕] ท่านพระอนุรุทธะ ตอบว่า ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกาย ในภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในกายในภายในอยู่

       พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น และ ความเสื่อมไป ในกายในภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด อภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อม พิจารณา เห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกาย ในภายนอกอยู่

พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไป ในกายในภายนอกอยู่ พิจารณาเห็น ธรรม คือความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปในกาย ในภายนอกอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณา เห็นธรรม คือความ เกิดขึ้น ในกายทั้งภายใน และภายนอกอยู่

พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในกายทั้งภายใน และภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น และความเสื่อม ไป ในกายทั้งภายใน และ ภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลก เสียได้

------------------------------------------------------------------------------------------

54
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๓๐๖

ธรรมที่พระเสขะพึงเข้าถึง (กัณฏกีสูตรที่ ๑)

(ย่อ)
พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เข้าหาพระอนุรุทธะ
พระสารีบุตร ถามพระอนุรุทธะ ว่า
ธรรมเหล่าไหน อันภิกษุผู้เป็น เสขะ พึงเข้าถึงอยู่? พระอนุรุทธะ ตอบว่า สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุผู้เป็นเสขะ พึงเข้าถึงอยู่
สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย.. ย่อมพิจารณา เห็น เวทนาในเวทนา.. ย่อมพิจารณา เห็นจิตในจิต...ย่อมพิจารณาเห็นธรรมใน ธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลก เสียได้



        [๑๒๗๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระสารีบุตร และ ท่านพระมหา โมคคัลลานะ อยู่ ณ กันฏกีวัน (ป่าไม้มีหนาม) ใกล้เมืองสาเกต ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหาโมคคัลลานะออกจากที่พักผ่อน เข้าไปหาท่าน พระอนุรุทธะ ถึงที่อยู่ได้ปราศรัย กับท่านพระอนุรุทธะ

ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระสารีบุตร ได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ดูกรท่านอนุรุทธะ ธรรม เหล่าไหน อันภิกษุผู้เป็นเสขะ พึงเข้าถึงอยู่?

[๑๒๗๓] ท่านพระอนุรุทธะ ตอบว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุผู้เป็นเสขะพึงเข้าถึงอยู่

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา เห็นกายในกาย ... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ...
ย่อมพิจารณา เห็นจิตในจิต ...
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลก เสียได้

ดูกรท่านพระสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุผู้เป็นเสขะพึงเข้าถึงอยู่


------------------------------------------------------------------------------------------
55
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๓๖๖

ข้อปฏิบัติให้เข้าถึงสุคติ (เทวจาริกสูตรที่ ๑)
(ย่อ)
พระโมคคัลลานะ ได้หายจากวิหารเชตวัน ไปปรากฏในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ (ครั้งที่1) ได้กล่าวกะเทวดา ... ความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วไม่ขาด นี้เป็นความดีแล... แม้เหตุเพียงเท่านี้ สัตว์บางพวกเมื่อกายแตกดับ ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

        [๑๔๙๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้หายจาก พระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในเทวโลก ชั้นดาวดึงส์ เหมือนบุรุษ มีกำลังเหยียดแขน ที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น

        ลำดับนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ มากด้วยกัน เข้าไปหาท่าน พระมหาโมค คัลลานะ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมค คัลลานะ ได้กล่าวกะเทวดาเหล่านั้นว่า

        [๑๔๙๙] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนก ธรรม เป็นความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่น ไหว ในพระพุทธเจ้า

        สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ การประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... เป็นความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ..

        สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นความดี แลเพราะเหตุ ที่ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

        [๑๕๐๐] เทวดาทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่พระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... เป็นความดีแลการประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ... เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นความดีแล

        ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะ ผู้นิรทุกข์ เพราะเหตุที่ ประกอบด้วย ความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... การประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

จบ สูตรที่ ๘

------------------------------------------------------------------------------------------
56
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๓๖๖

ข้อปฏิบัติให้เข้าถึงสุคติ
(เทวจาริกสูตรที่ ๒)

(ย่อ)
พระโมคคัลลานะ หายจากวิหารเชตวัน ไปปรากฏในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ (ครั้งที่ 2) กล่าวกะเทวดาว่า..ความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วไม่ขาด นี้เป็นความดีแล... แม้เหตุเพียงเท่านี้ สัตว์บางพวกเมื่อกายแตกดับ ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

        [๑๕๐๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้หายจาก พระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในเทวโลก ชั้นดาวดึงส์ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขน ที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น

        ครั้งนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์มากด้วยกัน เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะ อภิวาทท่าน พระมหาโมคคัลลานะแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่าน พระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะเทวดาเหล่านั้นว่า

        [๑๕๐๒] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม .. ในพระสงฆ์ ...เป็นความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบ ด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การประกอบ ด้วยศีล ที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว ไม่ขาด...เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นความดีแล เพราะเหตุ ที่ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

        [๑๕๐๓] เทวดาทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะ ผู้นิรทุกข์ การ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ..ในพระธรรม..ในพระสงฆ์ ... เป็นความดีแล ... การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว ไม่ขาด... เป็นไป เพื่อสมาธิ เป็นความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไปย่อมเข้าถึงซึ่งสุคติโลกสวรรค์

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
57
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๔๐๓

ว่าด้วยพระอริยบุคคลมีน้อยกว่ากันโดยลำดับ (วัสสวุตถสูตร)
(ย่อ)
เจ้าศากยะ ถามภิกษุรูปหนึ่ง ถึงสุขภาพของพระผู้มีพระภาค สารีบุตร และโมคคัลลานะว่า ไม่ประชวร ยังมีพระกำลังดีอยู่หรือ ภิกษุตอบว่าสุขภาพยังปกติดี ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย จากนั้น ได้กล่าวกับเจ้าศากยะ ถึงสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมาจากพระผู้มีพระภาค ในช่วงพรรษานี้

ภิกษุผู้ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะ
มีน้อย (อรหันต์)... แต่ภิกษุอุปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป (เทวดาอนาคามี) จักนิพพานในภพที่เกิด มีมากกว่า

ภิกษุผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป(อนาคามี) จักนิพพานในภพที่เกิดนั้น
มีน้อย... แต่ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป มีมากกว่า
สรุป อริยะบุคคลขั้นสูง (ใกล้นิพพานมีน้อย) แต่อริยบุคคลในระดับต่ำลงมามีมากกว่า


(อริยะบุคคล น้อยกว่า-มากกว่า)

        [๑๖๒๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง อยู่จำพรรษา ในพระนครสาวัตถีแล้ว ไปโดยลำดับ ถึงพระนครกบิลพัสดุ์ ด้วยกรณียบางอย่าง

        พวกเจ้าศากยะ ชาวพระนครกบิลพัสดุ์ ได้ทราบข่าวว่า ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ จำพรรษา ในพระนครสาวัตถี มาถึงพระนคร กบิลพัสดุ์แล้ว จึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุ รูปนั้นถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทภิกษุนั้น แล้วประทับ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

        ครั้นแล้ว ได้ตรัสถาม ภิกษุนั้นว่า

        [๑๖๒๔] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคไม่ประชวร และยังมีพระกำลัง หรือ? ภิกษุนั้นทูลว่า พระผู้มีพระภาคไม่ประชวร และยังมีพระกำลัง ขอถวายพระพร

ศ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ ไม่ป่วยไข้และยังมี กำลังหรือ? ภิ. แม้พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ก็ไม่ป่วยไข้และยังมีกำลัง ขอถวายพระพร

ศ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ไม่ป่วยไข้และยังมีกำลังหรือ? ภิ. แม้ภิกษุสงฆ์ ก็ไม่ป่วยไข้และยังมีกำลัง ขอถวายพระพร

(นัยยะนี้ไม่ได้แปลว่า พระผู้มีพระภาค พระสารีบุตร และพระโมค ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยเลย แต่หมายถึง ณ เวลานี้ ยังปกติ สุขภาพแข็งแรง ยังมีกำลัง)

ศ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ระหว่างพรรษานี้ อะไรๆ ที่ท่านได้ฟังมาได้รับมาเฉพาะ พระพักตร์ พระผู้มีพระภาค มีอยู่หรือ? ภิ. ขอถวายพระพร เรื่องนี้อาตมภาพได้ฟัง มา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี พระภาคว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ มีน้อย

ที่แท้ ภิกษุผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป จักนิพพานในภพ ที่เกิดนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา มีมากกว่า
--------------------------------------------------------------------------------------------------

อีกประการหนึ่ง อาตมภาพ ได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์ ผู้มีพระภาคว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะสังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไปจักนิพพาน ในภพที่เกิดนั้น มีอันไม่ กลับมาจากโลกนั้น เป็นธรรมดา
มีน้อย

ที่แท้ ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง กลับมาสู่โลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้นแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ มีมากกว่า
--------------------------------------------------------------------------------------------------

อีกประการหนึ่ง อาตมภาพได้ฟังมา เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง กลับมาสู่โลกนี้ อีกคราวเดียวเท่านั้นแล้ว จักกระทำที่สุดแห่ง ทุกข์ได้ มีน้อย

ที่แท้ภิกษุผู้เป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป มีความไม่ ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า มีมากกว่า

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
58
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๔

เอตทัคคบาลี

(ย่อ)
พระมหาโมคคัลลานะ เป็นเอตทัคคะ ผู้เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ในด้านผู้มีฤทธิ์
(เอตทัคคะ ประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จำนวน 74 ท่าน)

         [๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พระอัญญาโกณฑัญญะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้รู้ราตรีนาน
พระสารีบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้มีปัญญามาก
พระมหาโมคคัลลานะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้มีฤทธิ์
พระมหากัสสป เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ทรงธุดงค์ และสรรเสริญคุณแห่งธุดงค์
พระอนุรุทธะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้มีทิพยจักษุ
พระภัททิยกาฬิโคธาบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้เกิดในตระกูลสูง
พระลกุณฏกภัททิยะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้มีเสียงไพเราะ
พระปิณโฑลภารทวาชะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้บันลือสีหนาท
พระปุณณมันตานีบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้เป็นธรรมกถึก
พระมหากัจจานะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิตโดยย่อให้ พิสดาร

(๗๔ เอตทัตคะบุคคล)

------------------------------------------------------------------------------------------
59
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๕๑


พระสารีบุตรกับพระโมค ถามปฏิปทาเพื่อการหลุดพ้น ซึ่งกันและกัน (ปฏิปทา ๔ ประการ)

(ย่อ)
พระสารีบุตร เข้าหาพระโมคคัลลานะ ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุโมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ ประการนี้ คือ
1. ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
2. ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
3. สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา
4. สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
ในปฏิปทา ๔ ประการนี้ จิตของท่าน(โมค) หลุดพ้นจากอาสวะ โดยอาศัยปฏิปทาข้อไหน

พระโมคตอบว่า เพราะอาศัย ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ปฏิปทาข้อ2)
พระโมคก็ถามพระสารีบุตรว่า จิตของท่าน หลุดพ้นจากอาสวะ โดยอาศัยปฏิปทาข้อไหน
พระสารีบุตรตอบว่า เพราะอาศัย สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ปฏิปทาข้อ4)

        [๑๖๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตร เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะ  ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน พระมหาโมคคัลลานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก ถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่าน พระมหาโมคคัลลานะว่า

ดูกรท่านผู้มีอายุโมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ประการนี้

๔ ประการเป็นไฉน คือ
๑) ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
๒) ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
๓) สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา
๔) สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

      ดูกรท่านผู้มีอายุ ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ จิตของท่านหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัย ปฏิปทาข้อไหน

ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า

      ดูกรท่านผู้มีอายุสารีบุตร ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ฯลฯ บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ จิตของผม หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัย ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

         [๑๖๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร   ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับ ท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก ถึงกันไป แล้ว นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง

      ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านผู้มีอายุสารีบุตร ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ... ดูกรท่านผู้มีอายุ บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ จิตของท่านหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะ ทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัยปฏิปทาข้อไหน

      ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุโมคคัลลานะปฏิปทา ๔ ประการนี้ ... ดูกรท่านผู้มีอายุ บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ จิตของผมหลุดพ้นแล้วจาก อาสวะ ทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัยสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

---------------------------------------------------------------------------------------------------------
60
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๘๗

บุคคลเว้นขาดจากกรรมทางกายวาจาใจแล้ว อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

(ย่อ)
เจ้าศากยะพระนามว่า วัปปะ เป็นสาวกของนิครนถ์ เชื่อว่าบาปกรรมแต่ปางก่อน ซึ่งส่งผลยังไม่หมด อาสวะที่ทำให้เกิดทุกข์ ย่อมตามไปถึงชาติหน้า

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น เพราะการกระทำทางกาย ทางวาจา ทางใจ เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลงดเว้นจากการ กระทำทาง กาย ทางวาจา  ทางใจแล้ว อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำ กรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้ว ทำให้สิ้นไปด้วย นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติ พึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดูควรน้อมเข้ามา วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

(นัยยะของพระผู้มีพระภาคคือ หากบุคคลใดงดเว้นทำกรรมทั้งกาย วาจา และใจแล้ว กรรมในอดีต ย่อมไม่มีแก่เขา เมื่อเขาไม่ทำกรรมใหม่แล้ว กรรมเก่าย่อมสิ้นไป ไม่ต้อง ชดใช้กรรมจนถึงชาติหน้า หรือชาติไหนๆ)

        [๑๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ในนิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่า วัปปะ เป็นสาวกของนิครนถ์ เสด็จเข้า ไปหาท่าน พระมหาโมคคัลลานะ ถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง

      ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวว่า ดูกรวัปปะ บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวม ด้วยกาย สำรวมด้วยวาจา สำรวม ด้วยใจ เขาฆ่าตัวนี้ กลับไปฆ่า ตัวอื่น เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น ท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุ ให้อาสวะ อันเป็นปัจจัย แห่งทุกขเวทนา ไปตามบุคคล ในสัมปรายภพ หรือไม่

      วัปปศากยราช ตรัสว่า

      ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น บุคคลกระทำบาปกรรมไว้ในปางก่อน ซึ่งยังให้ผลไม่หมด อาสวะทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคล ในสัมปรายภพ อันมีบาปกรรมนั้น เป็นเหตุท่านพระมหาโมคคัลลานะ สนทนากับ วัปปศากย ราชสาวก ของนิครนถ์ ค้างอยู่เพียงนี้เท่านั้น
(ความเห็นของวัปปะ บาปกรรมที่ทำในอดีต และใช้กรรมยังไม่หมด ย่อมส่งผลต่อไป ถึงภพหน้า)

ครั้งนั้นแลเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐาน ศาลาประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามท่านพระมหาโมคคัลลานะ ว่า

      ดูกรโมคคัลลานะบัดนี้ เธอทั้งหลาย ประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร และเธอ ทั้งหลาย พูดอะไร ค้างกันไว้ ในระหว่างท่าน พระมหาโมคคัลลานะ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาสข้าพระองค์ ได้กล่าว กะวัปปศากยราช สาวกของนิครนถ์ ว่า

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

      ดูกรวัปปะ บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวม ด้วยกายสำรวมด้วยวาจา สำรวม ด้วยใจ เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น ท่านเห็นฐานะ ที่เป็นเหตุให้อาสวะ อันเป็น ปัจจัยแห่ง ทุกขเวทนา ไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้น หรือไม่

      เมื่อข้าพระองค์ กล่าวอย่างนี้แล้ว วัปปศากยราชสาวก ของนิครนถ์ ได้กล่าวกะ ข้าพระองค์ว่า

      ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น บุคคลกระทำบาปกรรม ไว้ในปางก่อน ซึ่งยังให้ผล ไม่หมดอาสวะทั้งหลาย อันเป็นปัจจัย แห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคล ในสัมปรายภพ อันมีบาปกรรมนั้นเป็นเหตุ

      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สนทนา กับวัปปศากย ราชสาวกของนิครนถ์ ค้างอยู่เพียงนี้แล ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาค ก็เสด็จมาถึง

      ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับ วัปปศากยราชสาวก ของนิครนถ์ว่า

    ดูกรวัปปะ ถ้าท่านจะพึงยินยอม ข้อที่ควรยินยอม และคัดค้าน ข้อที่ควรคัดค้าน ต่อเรา และท่านไม่รู้ความแห่งภาษิต ของเรา ข้อใด ท่านพึงซักถามในข้อนั้น ยิ่งขึ้นไปว่า ข้อนี้อย่างไร ความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร ดังนี้ไซร้ เราพึงสนทนากัน ในเรื่องนี้ ได้

      วัปปศากย ราชกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักยินยอม ข้อที่ ควรยินยอม และจักคัดค้านข้อที่ควรคัดค้าน ต่อพระผู้มีพระภาค

      อนึ่ง ข้าพระองค์ไม่รู้ความแห่งภาษิต ของพระผู้มีพระภาคข้อใด ข้าพระองค์ จักซักถาม พระผู้มีพระภาค ในข้อนั้นยิ่งขึ้นไป ว่าข้อนี้อย่างไร ความแห่งภาษิตข้อนี้ อย่างไร ขอเราจงสนทนากันในเรื่องนี้เถิด พระเจ้าข้า

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

     พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกาย เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลงดเว้นจากการ กระทำทางกายแล้ว อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้ว ทำให้สิ้นไปด้วย

     นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วย กาล ควรเรียกให้มาดูควรน้อมเข้ามา วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

(นัยยะของพระผู้มีพระภาคคือ หากบุคคลใดงดเว้นทำกรรมทางกายแล้ว กรรมในอดีต ย่อมไม่มีแก่เขา เมื่อเขาไม่ทำกรรมใหม่แล้ว กรรมเก่าย่อมสิ้นไป)

    ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่
      ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า (ทุกขเวทนาย่อมไม่ตามไปภพหน้า)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------

    พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางวาจา เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลงดเว้นจากการ กระทำ ทางวาจาแล้ว อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำ กรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลส ให้พินาศ ...วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

      ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ อันเป็นปัจจัย แห่งทุกขเวทนา พึงไปตาม บุคคล ในสัมปรายภพนั้นหรือไม่
   ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า
---------------------------------------------------------------------------------------------------------

    พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น เพราะการกระทำทางใจ เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลง ดเว้นจากการ กระทำทางใจแล้ว อาสวะที่ก่อ ทุกข์เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำกรรม ใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไป ด้วย นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลส ให้ พินาศ ...วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไป ตามบุคคล ในสัมปรายภพ นั้น หรือไม่
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า

---------------------------------------------------------------------------------------------------------
61
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๘๗

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยดับไป กรรมเก่าย่อมสิ้นไป อาสวะก่อทุกข์ย่อมไม่เกิดขึ้น

(ย่อ)
เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น อาสวะที่ก่อทุกข์เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา และเขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ


    พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อนเกิดขึ้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้ว ทำให้สิ้นไปด้วย นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ...อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน

      ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะ ที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัย แห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้น หรือไม่
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า

    พ. ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมบรรลุธรรม เป็นเครื่องอยู่ เป็นนิตย์ ๖ ประการ

       เธอเห็นรูป ด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้อง โผฏฐัพพะ ด้วยกาย... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

      เธอเมื่อเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด
เมื่อเสวยเวทนา มีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่าเมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป เวทนาทั้งปวง อันไม่น่าเพลิดเพลิน ในโลกนี้ จักเป็นของเย็น

      ดูกรวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้ ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน ครั้นแล้ว ขุดคุ้ย เอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝก ก็ไม่ให้ เหลือ เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลม และ แดดครั้นผึ่งลม และแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า โปรยในที่มีลมพัดจัด หรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยว ในแม่น้ำ เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัย ต้นไม้นั้น มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มีไม่ให้เกิดขึ้น ต่อไปเป็น ธรรมดา แม้ฉันใด

(ข้อความจากนี้ไป ซ้ำกับด้านบน) ------------------------------

      ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้น โดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมได้บรรลุธรรม เป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู... สูดกลิ่นด้วยจมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

      เธอเมื่อเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนา มีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป เวทนาทั้งปวง อันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น
----------------------------------------------------------------------

     เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษต้องการกำไร เลี้ยงลูกม้าไว้ขาย (ถ้าลูกม้าตายหมด) เขาพึงขาดทุน ซ้ำยังต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากใจยิ่งขึ้นไป แม้ฉันใด ข้าพระองค์หวังกำไร เข้าคบหานิครณถ์ ผู้โง่ ต้องขาดทุน ทั้งต้องเหน็ด เหนื่อยลำบากใจ ยิ่งขึ้นไป ก็ฉันนั้น เหมือนกัน

      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพระองค์นี้จักโปรยความเลื่อมใส ในพวก นิครณถ์ผู้โง่เขลา เสียในที่ลมพัดจัด หรือลอยเสียในแม่น้ำ อันมีกระแสเชี่ยว ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ  ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคทรง ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง
แก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่าคนผู้มีจักษุ จักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึง พระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และ พระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะ ตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์