69
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๗๔
การเข้าสู่ตระกูล ตรัสกับพระโมคคัลลานะ
(ย่อ)
1.เธอพึงศึกษาอย่างนี้อีกว่า เราจักไม่ชูงวง [ถือตัว] เข้าไปสู่ตระกูล
2.ถ้าภิกษุ เป็นผู้ถือตัว จะเป็นเหตุให้มนุษย์ ไม่ใส่ใจ ถึงภิกษุผู้มาแล้ว
3.เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่พูดถ้อยคำ ซึ่งจะเป็นเหตุให้ทุ่มเถียงกัน
4.เราไม่สรรเสริญ ความคลุกคลี ด้วยหมู่ชนทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิต
ดูกรโมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงศึกษาอย่างนี้อีกว่า เราจัก ไม่ชูงวง [ถือตัว] เข้าไปสู่ตระกูล ดูกรโมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ถ้าภิกษ ุชูงวง เข้าไปสู่ตระกูล และในตระกูล มีกรณียกิจหลายอย่าง ซึ่งจะเป็นเหตุให้มนุษย์ ไม่ใส่ใจ ถึงภิกษุผู้มาแล้ว
เพราะเหตุนั้น ภิกษุย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้ใครหนอยุยง ให้เราแตก ในสกุลนี้ เดี๋ยวนี้ดูมนุษย์พวกนี้ มีอาการอิดหนาระอาใจในเรา เพราะไม่ได้อะไร เธอจึงเป็น ผู้เก้อเขิน เมื่อเก้อเขิน ย่อมคิดฟุ้งซ่าน เมื่อคิด ฟุ้งซ่าน ย่อมไม่สำรวม เมื่อไม่สำรวม จิตย่อมห่างจากสมาธิ
เพราะฉะนั้นแหละ
โมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่พูดถ้อยคำ ซึ่งจะเป็นเหตุ ให้ทุ่มเถียงกัน ดูกรโมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล เมื่อมี ถ้อยคำ ซึ่งจะเป็นเหตุให้ทุ่มเถียงกัน ก็จำต้องหวังการพูดมาก เมื่อมีการพูดมาก ย่อมคิดฟุ้งซ่าน เมื่อคิดฟุ้งซ่าน ย่อมไม่สำรวม เมื่อไม่สำรวม จิตย่อมห่างจาก สมาธิ
ดูกรโมคคัลลานะ อนึ่ง เราหาสรรเสริญความคลุกคลี ด้วยประการทั้งปวงไม่ แต่มิใช่ว่าจะไม่สรรเสริญ ความคลุกคลี ด้วยประการทั้งปวงก็หามิได้ คือ เราไม่ สรรเสริญความคลุกคลี ด้วยหมู่ชนทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิต ก็แต่ว่า เสนาสนะอันใด เงียบเสียง ไม่อื้ออึง ปราศจาก การสัญจรของหมู่ชน ควรเป็นที่ประกอบกิจ ของ ผู้ต้องการความสงัด ควรเป็นที่หลีกออกเร้น เราสรรเสริญความคลุกคลี ด้วย เสนาสนะ เห็นปานนั้น
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ทูลถามพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงไรหนอ ภิกษุจึงเป็นผู้ หลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ ล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน ประเสริฐกว่าเทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
70
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๗๔
ธรรมทั้งปวงไม่ควรถือมั่น ตรัสกับพระโมคคัลลานะ
(ย่อ)
ธรรมทั้งปวงไม่ควรถือมั่น
-ครั้นได้สดับแล้ว ย่อมรู้ชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่ง
-ครั้นรู้ชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง
-ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมเห็นความไม่เที่ยงในเวทนาเหล่านั้น
-เธอย่อมพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด เห็นความดับ เห็นความสละคืน
-เมื่อเธอพิจารณาเห็นอย่างนั้น ๆ ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก
-เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตัวทีเดียว
-ย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นมิได้มี
-ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว
พ. ดูกรโมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควร ถือมั่น ครั้นได้สดับดังนั้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญา อันยิ่งครั้นรู้ ชัดธรรม ทั้งปวงด้วยปัญญา อันยิ่งแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรม ทั้งปวง
ครั้นกำหนดรู้ธรรม ทั้งปวงแล้ว ได้เสวยเวทนา อย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุข มิใช่ทุกข์ก็ดี ย่อมพิจารณาเห็น ความไม่เที่ยงในเวทนาเหล่านั้น พิจารณาเห็น ความคลายกำหนัด พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืน
เมื่อเธอพิจารณาเห็นอย่างนั้นๆ อยู่ ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตัวทีเดียว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ดูกรโมคคัลลานะ โดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน เป็นผู้เกษมจากโยคะล่วงส่วน เป็นพรหมจารี ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน ประเสริฐกว่าเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
71
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๕๕
ตถาคตจะไม่แสดงปาติโมกข์หากบริษัทไม่บริสุทธิ์ (อุโปสถสูตร)
(ย่อ)
ดูกรอานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์ ตถาคตจึงยังไม่แสดงปาติโมกข์ (พระวินัย) พระโมคคัลลานะ ทราบด้วยจิต ว่าภิกษุรูปหนึ่ง มีจิตกหมกมุนแต่เรื่องลามก จึงบอกให้ออกไป แต่ภิกษุนั้นหัว
ดื้อไม่ยอมลุก พระโมค จึงจับแขน ฉุดออกไปจนพ้นประตู แล้วปิดประตูลงกลอน
[๑๑๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาทของ มิคารมารดา ใกล้ พระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นพระผู้มีพระภาค มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ประทับนั่งในวันอุโบสถ
ครั้งนั้น เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว ท่านพระอานนท์ลุกจากที่นั่ง กระทำผ้า อุตราสงค์ เฉวียง บ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ราตรีล่วงไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์ นั่งมานานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาค ทรงพระกรุณา โปรดแสดงปาติโมกข์เถิด เมื่อท่านพระอานนท์ กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาค ทรงนิ่งอยู่
แม้วาระที่ ๒ เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว มัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ท่านพระอานนท์ ลุกจากที่นั่ง กระทำผ้า อุตราสงค์ เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทาง พระผู้มีพระภาค ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีล่วง ไปแล้ว มัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่ง มานานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาค ทรงพระกรุณาโปรดแสดงปาติโมกข์เถิด แม้วาระที่ ๒ พระผู้มีพระภาค ก็ทรงนิ่งอยู่ ฯ
แม้วาระที่ ๓ เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว แสงเงินแสงทอง ขึ้นแล้ว ราตรีสว่างแล้ว ท่านพระอานนท์ ลุกจากที่นั่ง กระทำผ้าอุตราสงค์ เฉวียงบ่า ข้างหนึ่ง ประนม อัญชลี ไปทางพระผู้มีพระภาค ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีล่วงไปแล้ว ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว แสงเงิน แสงทอง ขึ้นแล้ว ราตรีสว่างแล้ว ภิกษุสงฆ์ นั่งมานานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาค ทรงพระกรุณา โปรดแสดง ปาติโมกข์เถิด พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า
ดูกรอานนท์บริษัทไม่บริสุทธิ์
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้มีความดำริดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัส อย่างนี้ ทรงหมายเอา บุคคลไหนหนอ ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กำหนดใจด้วยใจ กระทำจิต ภิกษุสงฆ์ทั้งหมด ไว้ ในใจแล้ว ได้เห็นบุคคลทุศีล มีบาปธรรม มีสมาจารไม่สะอาดน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ ปฏิญญา ว่า เป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์แต่ปฏิญญาว่า ประพฤติพรหมจรรย์ เสียในชุ่มด้วยราคะ เป็นเพียงดังหยากเยื่อ นั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์
ครั้นแล้วลุกจากอาสนะเข้าไปหาบุคคลนั้น กล่าวกะบุคคลนั้นว่า อาวุโส จงลุกไป พระผู้มีพระภาค ทรงเห็น เธอแล้ว เธอไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านพระมหา โมคคัลลานะ กล่าวอย่างนี้แล้ว บุคคลนั้นนิ่ง เฉยเสีย
แม้วาระที่ ๒ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะบุคคลนั้นว่า อาวุโสจงลุกไป พระผู้มีพระภาค ทรงเห็น
เธอแล้ว เธอไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย แม้วาระที่ ๒ บุคคล นั้นก็นิ่งเสีย แม้วาระที่ ๓ท่านพระมหา โมคคัลลานะ ได้กล่าวกะบุคคลนั้นว่า อาวุโส จงลุกไปพระผู้มีพระภาค ทรงเห็นเธอแล้ว เธอไม่มีสังวาสกับ ภิกษุทั้งหลาย
แม้วาระที่ ๓ บุคคลนั้นก็นิ่งเฉยเสีย ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ จับแขนบุคคลนั้น ฉุดออกมาให้พ้น ซุ้มประตูด้านนอกแล้วใส่ดาน เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลนั้น ข้าพระองค์ ฉุดออกไปแล้ว บริษัทบริสุทธิ์ แล้วขอพระผู้มีพระภาค ทรงพระกรุณาโปรดแสดง ปาติโมกข์ แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า น่าอัศจรรย์ โมคคัลลานะ ไม่เคยมีมา โมคคัลลานะ โมฆบุรุษนั้นจักมาร่วม จนต้องฉุดแขนออกไป ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกะ ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายพึงทำอุโบสถเถิด พึงแสดงปาติโมกข์เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลายตั้งแต่ กาลบัดนี้เป็นต้นไป เราจักไม่แสดงปาติโมกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่พระตถาคต จะพึงแสดงปาติโมกข์ ในบริษัทที่ไม่ บริสุทธิ์นี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
72
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๓๖
ธรรม ๑๐ ประการ ที่ควรละ (พยากรณสูตร)
(ย่อ)
พระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน.. กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ย่อมทราบชัดว่า หากภิกษุไม่ละธรรม ๑๐ ประการ จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้
… ส่วนภิกษุใดละธรรม ๑๐ ประการนี้แล้ว จักถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่มีได้
ธรรม ๑๐ ประการ คือ
๑. เป็นผู้มักโกรธ มีใจอันความโกรธกลุ้มรุมแล้ว อยู่โดยมาก ก็ความกลุ้ม รุมแห่งความโกรธนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้ว
๒. เป็นผู้ผูกโกรธ ไว้มีใจอันความผูกโกรธไว้กลุ้มรุมอยู่โดยมาก
๓. เป็นผู้มีความลบหลู่ มีใจอันความลบหลู่กลุ้มรุม อยู่โดยมาก
๔. เป็นผู้ตีเสมอ มีใจอันความตีเสมอ กลุ้มรุมอยู่โดยมาก
๕. เป็นผู้มีความริษยา มีใจอันความริษยากลุ้มรุมอยู่โดยมาก
๖. เป็นผู้ตระหนี่ มีใจอันความตระหนี่กลุ้มรุมอยู่
๗. เป็นผู้โอ้อวด มีใจอันความโอ้อวดกลุ้มรุมอยู่โดยมาก
๘. เป็นผู้มีมารยา มีใจอันมารยากลุ้มรุมอยู่โดยมาก
๙. เป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีใจอันความปรารถนาลามก
๑๐. เป็นผู้มีสติหลงลืม ทอดทิ้งธุระในระหว่างคุณวิเศษเบื้องบน (อรหัตผล) ด้วยการบรรลุ คุณวิเศษเบื้องต่ำ (มีฤทธิ์ มีปาฏิหาริย์)
[๘๔] ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เรียกภิกษุทั้งหลาย มาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายผู้มีอายุ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวรับ ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวคำนี้ว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า เราทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี
พระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ย่อมซักถาม สอบถาม ไล่เลียงภิกษุนั้น
ภิกษุนั้นอันพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาณ ... ไล่เลียงอยู่ ย่อมถึงความเป็นผู้เปล่า ไม่มีคุณ ไม่เจริญ พินาศ ความไม่เจริญ และความพินาศ
พระตถาคตหรือสาวก ของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในจิตของผู้อื่น ฉลาดใน การกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว กระทำไว้ในใจ ซึ่งภิกษุนั้น อย่างนี้ว่า
เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้นี้จึงพยากรณ์อรหัตตผลว่า เราทราบว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
พระตถาคต หรือสาวก ของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน .. กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ย่อมทราบชัดภิกษุนั้น อย่างนี้ว่า (ธรรม ๑๐ ประการ)
๑.ท่านผู้นี้เป็นผู้มักโกรธ มีใจอันความโกรธกลุ้มรุมแล้ว อยู่โดยมาก ก็ความกลุ้ม รุมแห่งความโกรธนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้ว
๒.ท่านผู้นี้เป็นผู้ผูกโกรธ ไว้มีใจอันความผูกโกรธไว้กลุ้มรุมอยู่โดยมาก ก็ความ กลุ้มรุม แห่งความผูกโกรธนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว
๓.ท่านผู้นี้เป็นผู้มีความลบหลู่ มีใจอันความลบหลู่กลุ้มรุม อยู่โดยมาก ก็ความ กลุ้มรุมแห่งความลบหลู่นี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว
๔.ท่านผู้นี้เป็นผู้ตีเสมอ มีใจอันความตีเสมอ กลุ้มรุมอยู่โดยมาก ก็ความกลุ้มรุม แห่งความตีเสมอนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว
๕.ท่านผู้นี้เป็นผู้มีความริษยา มีใจอันความริษยากลุ้มรุมอยู่โดยมาก ก็ความกลุ้ม รุม แห่งความริษยานี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว
๖.ท่านผู้นี้เป็นผู้ตระหนี่ มีใจอันความตระหนี่กลุ้มรุมอยู่โดยมาก ก็ความกลุ้มรุม แห่งความตระหนี่นี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว
๗.ท่านผู้นี้เป็นผู้โอ้อวด มีใจอันความโอ้อวดกลุ้มรุมอยู่โดยมาก ก็ความกลุ้มรุม แห่งความโอ้อวดนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว
๘.ท่านผู้นี้เป็นผู้มีมารยา มีใจอันมารยากลุ้มรุ มอยู่โดยมาก ก็ความกลุ้มรุม แห่งมารยานี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว
๙.ท่านผู้นี้เป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีใจอันความปรารถนาลามก กลุ้มรุม อยู่โดยมาก ก็ความกลุ้มรุม แห่งความปรารถนาลามกนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้ว
๑๐.ท่านผู้นี้เป็นผู้มีสติหลงลืม ถึงความทอดทิ้งธุระ ในระหว่างคุณวิเศษ เบื้องบน ด้วยการบรรลุคุณวิเศษเบื้องต่ำ ก็การถึงความทอดทิ้งธุระ ในระหว่างนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ ไม่ละธรรม ๑๐ ประการนี้แล้ว จักถึง ความเจริญงอกงามไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ ละธรรม ๑๐ ประการนี้แล้ว จักถึง ความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ในธรรม วินัยนี้ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่มีได้ ฯ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
73
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๔๗
โกกาลิกะภิกษุเข้าถึงปทุมนรก เพราะกล่าวตู่พระอรหันต์
(โกกาลิกสูตร)
(ย่อ)
ภิกษุชื่อโกกาลิกะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กล่าวตู่พระสารีบุตร กับพระโมคคัลลานะว่า เป็นผู้มีความปราถนาลามก ไม่นานโกกาลิกะก็เกิดตุ่มตามผิวหนัง และได้ทำกาละในราตรีนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม เข้าเฝ้าฯ กราบทูลว่า โกกาลิก เข้าถึงปทุมนรก (นรกที่มีอายุยาวนานสุด)
[๘๙] ครั้งนั้นแล ภิกษุ ชื่อโกกาลิกะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ยังที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ เป็นผู้มีความปรารถนา ลามก ลุอำนาจแห่งความ ปรารถนาลามก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธอจง ยังจิตให้เสื่อมใสในสารีบุตร และโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตร และโมคคัลลานะ เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก ฯ
แม้ครั้งที่ ๒ โกกาลิกภิกษุก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของข้าพระองค์ เป็นผู้มีพระพุทธพจน์ อันข้าพระองค์ พึงเชื่อถือได้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ก็เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก พระเจ้าข้า
พ. ดูกรโกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธอจงยังจิตให้ เลื่อมใสในสารีบุตร และโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตรและโมคคัลลานะ เป็นผู้มีศีล เป็นที่รัก
แม้ครั้งที่ ๓ โกกาลิกภิกษุได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นที่ตั้ง แห่งศรัทธาของข้าพระองค์ เป็นผู้มีพระพุทธพจน์ อันข้าพระองค์ พึงเชื่อถือได้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ก็เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก พระเจ้าข้า
พ. ดูกรโกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ เธอจงยังจิตให้ เลื่อมใสในสารีบุตร และ โมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตรและโมคคัลลานะ เป็นผู้ มีศีล เป็นที่รัก
ครั้งนั้นแล โกกาลิกภิกษุลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำ ประทักษิณแล้วหลีกไป เมื่อโกกาลิกภิกษุหลีกไปแล้วไม่นาน ร่างกายมีตุ่มเท่าเมล็ด พันธุ์ผักกาดเกิดขึ้น ทั่วตัวตุ่มเหล่านั้นเท่าเมล็ด ถั่วเขียว แล้วก็โตเท่าเมล็ดถั่วดำ แล้วก็โตเท่าเมล็ดพุทรา แล้วก็โตเท่าเมล็ดกระเบา
แล้วก็โตเท่า ผล มะขามป้อม แล้วก็โตเท่าผลมะตูมอ่อน แล้วก็โตเท่าผลมะตูมแก่ แล้วจึงแตกหนอง และเลือด หลั่งไหล ออก ได้ยินว่า โกกาลิกภิกษุนั้นนอนบนใบตอง เหมือนปลากินยาพิษ
ครั้งนั้นแล ตุทิปัจเจกพรหม เข้าไปหาพระโกกาลิก ยังที่อยู่ ครั้นแล้วยืนอยู่ที่ เวหาส ได้กล่าวกะโกกาลิกภิกษุว่า ดูกรโกกาลิกะ ท่านจงยังจิตให้เลื่อมใสใน พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะเถิด เพราะพระสารีบุตรและ พระโมคคัลลานะ เป็นผู้มีศีล เป็นที่รัก
โกกาลิกภิกษุ ถามว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ ท่านเป็นใคร ฯ
ตุ. เราเป็นตุทิปัจเจกพรหม
โก. ดูกรท่านผู้มีอายุ ท่านเป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงพยากรณ์ว่าเป็นอนาคามี มิใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฉนท่านมา ณ ที่นี้อีกในบัดนี้ อนึ่ง ท่านจงเห็นความผิด นี้ ของท่านเท่าที่มีอยู่
ครั้งนั้นแล ตุทิปัจเจกพรหม ได้กล่าวกะโกกาลิกะภิกษุ ด้วยคาถาว่าผรุสวาจา เพียงดังจอบ ซึ่งเป็นเครื่อง ตัดทอนตนของคนพาลผู้กล่าวคำชั่ว ย่อมเกิดขึ้นที่ปาก ของบุคคลผู้เป็นบุรุษพาล
ผู้ใดสรรเสริญ ผู้ที่ควร ติเตียน หรือติเตียนคนที่ควร สรรเสริญ
ผู้นั้นชื่อว่าสะสมโทษไว้ด้วยปาก ย่อมไม่ประสบความสุขเพราะโทษนั้น
การปราชัยด้วยทรัพย์ในการเล่นการพนัน ด้วยตนเองจนหมดตัวนี้ เป็นโทษมี ประมาณน้อย การที่บุคคลยังใจให้ ประทุษร้าย ในพระอริยเจ้าผู้ดำเนินดีแล้วนี้ เป็นโทษมากกว่า บุคคลตั้งวาจาและใจอันเป็นบาปแล้วติเตียนพระอริยะ
ย่อมเข้าถึง นรกสิ้น หนึ่งแสนนิรัพพุทกัป อีก ๓๖ นิรัพพุทะ
และ ๕ อัพพุทะ
ครั้งนั้นแล โกกาลิกภิกษุได้กระทำกาละ ด้วยอาพาธนั้นเอง แล้วเกิดในปทุมนรก เพราะยังจิตให้อาฆาต ในพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ
ลำดับนั้นเมื่อปฐมยาม แห่งราตรีผ่านไปแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหมผู้มี วรรณะ สง่างาม ยังพระวิหารเชตวัน ทั้งสิ้น ให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคยังที่ ประทับ ถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โกกาลิกภิกษุ กระทำกาละแล้ว เกิดในปทุมนรก เพราะยังจิตให้อาฆาต ในพระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะพระเจ้าข้า ท้าวสหัมบดีพรหม ครั้นกราบทูลดังนี้แล้ว ถวายบังคม พระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหายไป ในที่นั้นเอง
ครั้งนั้นเมื่อราตรีผ่านไปแล้ว พระผู้มีพระภาค ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในคืนนี้ เมื่อปฐมยาม ผ่านไปแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหม ผู้มีวรรณะ สง่างาม ยังวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้ สว่างไสว เข้ามาหาเรายังที่อยู่ อภิวาทเราแล้ว นั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กล่าวกะเราว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญโกกาลิกภิกษุกระทำกาละแล้ว เกิดใน ปทุมนรก เพราะยังจิต ให้ อาฆาตใน พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมครั้นกล่าวคำนี้แล้ว อภิวาทเรา กระทำ ประทักษิณ แล้วหายไป ในที่นั้นเอง ฯ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ประมาณอายุในปทุมนรกนานเท่าไร หนอพระผู้มีพระภาคตรัส ตอบว่า
ดูกรภิกษุประมาณอายุในปทุมนรกนานนัก
ประมาณอายุในปทุมนรก นั้นยากที่จะกระทำ การกำหนดนับได้ว่า ประมาณเท่านี้ ปี ประมาณร้อยปีเท่านี้ ประมาณพันปีเท่านี้ หรือประมาณ แสนปีเท่านี้
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระองค์อาจเพื่อจะทำการเปรียบเทียบได้หรือ พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อาจอยู่ภิกษุ แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือน หนึ่งเกวียน เมล็ดงา ของชนชาวโกศลมีอัตรา ๒๐ ขารี เมื่อล่วงไปแสนปี บุรุษนำเอา เมล็ดงา เมล็ดหนึ่ง ออกจากเกวียนนั้น
ดูกรภิกษุ เมล็ดงาหนึ่งเกวียนของชาวโกศลซึ่งมีอัตรา ๒๐ ขารีนั้น พึงถึงความ สิ้นไป หมดไปโดยทำนองนี้ เร็วกว่านั่นยังไม่ถึงหนึ่งอัพพุทะในนรกเลย
ดูกรภิกษุ
๒๐ อัพพุทะ ในนรกจึงเป็น๑ นิรัพพุทะ
๒๐ นิรัพพุทะเป็น ๑ อพัพพะ
๒๐ อพัพพะเป็น ๑ อหหะ
๒๐ อหหะเป็น ๑ อฏฏะ
๒๐ อฏฏะ เป็น ๑ กุมุทะ
๒๐ กุมุทะเป็น ๑ โสคันธิกะ
๒๐ โสคันธิกะเป็น ๑ อุปปละ
๒๐ อุปปละเป็น ๑ ปุณฑรีกะ
๒๐ ปุณฑรี กะเป็น ๑ ปทุมะ
(อัพพุทะ เป็นนรกชั้นแรก ที่มีอายุน้อยที่สุด ส่วนปทุมะนรก มีอายุนานที่สุด )
ดูกรภิกษุ โกกาลิกภิกษุ เกิดในปทุมนรก เพราะยังจิตให้อาฆาตในสารีบุตร และ โมคคัลลานะ ครั้นพระผู้มีพระภาค ผู้สุคตศาสดาได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ผรุสวาจาเพียงดังจอบ ซึ่งเป็นเครื่องตัดทอนตน ของคนพาล ผู้กล่าวคำชั่ว ย่อมเกิดขึ้นที่ปากของบุคคล ผู้เป็นบุรุษพาล ผู้ใด สรรเสริญ ผู้ที่ควร ติเตียน หรือ ติเตียนคนที่ ควรสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าสะสมโทษ ด้วยปาก ย่อมไม่ประสบความสุข เพราะโทษนั้น
การปราชัยด้วยทรัพย์ ในการเล่น การพนันด้วยตน เองจนหมดตัวนี้ เป็นโทษ มีประมาณน้อย
การที่บุคคล ยังใจให้ประทุษร้ายในพระอริยเจ้า ผู้ดำเนินดีแล้วนี้ เป็นโทษ มากกว่า บุคคลตั้งวาจา และใจอันเป็นบาป แล้วติเตียนพระอริยะ ย่อมเข้าถึงนรก สิ้นหนึ่งแสนนิรัพพุทกัป ๓๖ นิรัพพุทะ และ ๕ อัพพุทะ
(เล่นการพนัน จนหมดตัวมีโทษน้อยกว่า การติเตียนพระอริยะเจ้า ที่มีโทษให้เข้าถึงนรก)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
74
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๕๔
บุคคลเช่นไรจึงเรียกว่าพราหมณ์ (๕. เถรสูตร)
(ย่อ)
ภิกษุถามพระผู้มีพระภาค ว่า บุคคลเช่นใดจึงเรียกว่า "พราหมณ์" พระองค์จึง เปล่งอุทาน "ชนเหล่าใด ลอยบาปทั้งหลายได้แล้ว มีสติอยู่ทุกเมื่อ มีสังโยชน์สิ้นแล้ว ตรัสรู้แล้ว ชนเหล่านั้นแล ชื่อว่าเป็น พราหมณ์ ในโลก"
(คำว่าพราหมณ์ บ่อยครั้งที่ทรงหมายถึง ผู้ตรัสรู้ หรือพระอรหันต์ผู้สิ้นสังโยชน์ เชนพระสูตร คนตกน้ำ ๗ จำพวก พวกสุดท้าย หรือพวกที่ ๗ เป็นพราหมณ์ ยืนอยู่ บนฝั่งที่ปลอดภัยแล้ว)
[๔๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนคร สาวัตถี
ก็สมัยนั้นแล
ท่านพระสารีบุตร(1)
ท่านพระมหาโมคคัลลานะ(2)
ท่านพระมหา กัสสปะ(3)
ท่านพระมหากัจจานะ(4)
ท่านพระมหาโกฏฐิตะ (5)
ท่านพระมหากัปปินะ(6)
ท่านพระมหาจุนทะ (7)
ท่านพระอนุรุทธะ (8)
ท่านพระเรวัตตะ(9) และ
ท่านพระนันทะ(10)
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ
พระผู้มีพระภาค ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านเหล่านั้น กำลังมาแต่ไกล ครั้นแล้วตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์เหล่านั้นมาอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์ เหล่านั้นมาอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้มีชาติเป็นพราหมณ์ รูปหนึ่ง ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญบุคคล ชื่อว่าเป็น พราหมณ์ เพราะเหตุเพียงเท่าไรหนอแล และธรรมที่ทำบุคคลให้เป็น พราหมณ์ เป็นไฉน
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่ง อุทานนี้ ในเวลานั้นว่า "ชนเหล่าใด ลอยบาปทั้งหลายได้แล้ว มีสติอยู่ทุกเมื่อ มีสังโยชน์ สิ้นแล้ว
ตรัสรู้แล้ว ชนเหล่านั้นแลชื่อว่าเป็น พราหมณ์ ในโลก" |