เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

พระมหาโมคคัลลานะ
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของพระโมคคัลลานะ
อัครสาวกเบื้องซ้าย เอตทัคคะด้านผู้มีฤทธ
M106
               ออกไปหน้าหลัก 6 of 8
  83 เรื่องราวสำคัญของ พระมหาโมคคัลลานะ จากพระไตรปิฎกฉบับหลวง คัดเฉพาะคำสอนจากพระโอษฐ์
  62. กกุธเทพ แจ้งว่าขณะนี้พระเทวทัตเสื่อมจากฤทธิ์แล้ว (๑๐.กกุธสูตร)
  63. เรื่องศาสดา ๕ จำพวก (๑๐. กกุธสูตร)
  64. ผู้ไม่ประกอบความเพียร ไม่อาจทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติได้ (๗.กุสลสูตร)
  65. พระโมคหายไปปรากฎในชั้นพรหม เพื่อหาคำตอบเทวดาโสดาบัน (๔. โมคคัลลานสูตร)
  66. ทักษิณาทาน อันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ (๗.ทานสูตร)
  67. ญาณหยังรู้ในบุคคลของเทวดาพรหม ว่าผู้ใดมีอุปาทานขันธ์เหลือ-ไม่เหลือ (ติสสสูตร)
  68. วิธีแก้ง่วง ๗ วิธี ตรัสกับพระโมค (โมคคัลลานสูตร)
 
 


62

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๐๘

พระเทวทัตเสื่อมจากฤทธิ์แล้ว (๑๐. กกุธสูตร)
(พระสุตรนี้ซ้ำกับ เรื่องกักกุธโกฬิยบุตร เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๐๙)

(ย่อ)
กักกุธะเทพบุตร ผู้เคยเป็นอุปัฏฐากให้พระพระโมคฯ แต่ทำกาละไปแล้ว เข้าหาพระโมค คัลลานะ แจ้งให้ทราบว่า พระเทวทัตได้เสื่อมจากฤทธิ์แล้ว เพราะจิตคิดพยาบาท ต่อ พระผู้มีพระภาค

        [๑๐๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตารามใกล้เมืองโกสัมพี ก็สมัยนั้นแล บุตรเจ้าโกลิยะนามว่า กกุธะ ผู้อุปัฏฐาก ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กระทำกาละไม่นาน ได้บังเกิดในหมู่เทพ ชื่อว่าอโนมยะ หมู่หนึ่งเป็นผู้ได้อัตภาพ [ใหญ่] เหมือนคามเขต ในแว่นแคว้นมคธ สองสามหมู่ เพราะการได้อัตภาพนั้น เขาย่อมไม่ทำตน ให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน

    ครั้งนั้นแล กกุธเทพบุตรได้เข้าไปหา ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ถึงที่อยู่ อภิวาท แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเทวทัต เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์ และพระเทวทัต ได้เสื่อมจาก ฤทธิ์นั้น พร้อมกับจิตตุปบาท

    ครั้นกกุธเทพบุตร ได้กล่าวดังนี้แล้ว อภิวาทท่านพระมหาโมคัลลานะ ทำ ประทักษิณ แล้วหายไป ณ ที่นั้นลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มี พระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

    ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุตรแห่งเจ้าโกลิยะ นามว่า กกุธะ ผู้อุปัฏฐาก ข้าพระองค์ กระทำกาละไม่นาน ได้บังเกิดในหมู่เทพชื่อว่า อโนมยะ หมู่หนึ่งเป็นผู้ได้ อัตภาพ [ใหญ่] เหมือนคามเขต ในแว่นแคว้นมคธ สองสามหมู่ เพราะการได้อัตภาพนั้น เขาย่อมไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน

    ครั้งนั้น กกุธเทพบุตร ได้เข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญพระเทวทัต
เกิดความปรารถนา อย่างนี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์ พระเทวทัต ได้เสื่อม จากฤทธิ์ นั้น พร้อมกับ จิตตุปบาท กกุธเทพบุตร
ครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว อภิวาท ข้าพระองค์ ทำประทักษิณ แล้วหายไป ณ ที่นั้น

     พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรโมคคัลลานะ ก็กกุธเทพ บุตรเธอกำหนดรู้ใจ ด้วยใจดีแล้ว หรือว่า กกุธเทพบุตร กล่าวสิ่งใด สิ่งนั้นทั้งปวงย่อมเป็นอย่างนั้นทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น

     ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กกุธเทพบุตรข้าพระองค์ กำหนดรู้ใจด้วยใจดีแล้วว่า กกุธเทพบุตรกล่าวสิ่งใด สิ่งนั้นทั้งปวง ย่อมเป็นอย่างนั้นทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
63
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๐๘


เรื่องศาสดา ๕ จำพวก (๑๐. กกุธสูตร)
(เรื่องนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๒ ครั้ง) อ่าน

(ย่อ)
ตรัสกับพระโมคคัลลานะ เรื่องศาสดา 5 จำพวก
1. เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่าเราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์
2. เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญาณว่าเราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์
3. เป็นผู้มีธรรมเทศนา ไม่บริสุทธิ์ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์
4. เราเป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ว่าไวยากรณ์ของเราบริสุทธิ์ผุดผ่องไม่เศร้าหมอง
5. เป็นผู้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญาณว่าเราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์

 

     พ. ดูกรโมคคัลลานะ เธอจงรักษาวาจานั้น บัดนี้ โมฆบุรุษนั้น จักทำตนให้ปรากฏ ด้วยตนเอง ดูกรโมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

     ๕ จำพวก เป็นไฉน คือ

    (1) ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมทราบเขาอย่างนี้ว่า ท่านศาสดานี้ เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเรา บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราจักบอกพวกคฤหัสถ์ ก็ไม่พึงเป็นที่พอใจ ของท่าน ก็พวกเรา จะพึงกล่าวด้วยความไม่พอใจของท่านนั้นอย่างไรได้

    อนึ่ง มหาชน ย่อมยกย่องด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย เภสัช บริขาร ด้วยคิดว่า ศาสดานี้จักทำกรรมใด เขาเองจักปรากฏด้วยกรรมนั้น ดังนี้

     พวกสาวกย่อมรักษาศาสดา เช่นนี้โดยศีล และศาสดาเช่นนี้ ย่อมหวังเฉพาะการ รักษาจากพวกสาวก โดยศีล

     อีกประการหนึ่ง (2) ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณ ว่า เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ อาชีวะของเรา บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวก ย่อมทราบเขาอย่างนี้ว่า ท่านศาสดานี้ เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์อาชีวะ ของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง

     แต่ถ้าพวกเราพึงบอกพวกคฤหัสถ์ ก็ไม่พึงเป็นที่พอใจของท่าน ก็พวกเราจะพึง กล่าว ด้วยความไม่พอใจของท่านนั้น อย่างไร ได้ อนึ่งมหาชนย่อมยกย่องด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ด้วยคิดว่า ศาสดานี้จักทำกรรมใด เขาเองจักปรากฏด้วยกรรมนั้น ดังนี้

     พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้โดยอาชีวะ และศาสดาเช่นนี้ ย่อมหวังเฉพาะ การ รักษาจากพวกสาวก โดยอาชีวะ

     อีกประการหนึ่ง (3) ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ ย่อม ปฏิญาณว่า เป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมทราบเขา อย่างนี้ว่า ท่านศาสดานี้ เป็นผู้มีธรรมเทศนา ไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเรา พึงบอกพวกคฤหัสถ์ ก็ไม่พึงเป็นที่พอใจ ของท่าน ก็พวกเราจะพึงกล่าวด้วยความไม่พอใจของท่านนั้นอย่างไรได้

    อนึ่ง มหาชนย่อมยกย่องด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช บริขาร ด้วยคิดว่า ท่านศาสดานี้จักทำกรรมใด เขาเองก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น ดังนี้ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ โดยธรรมเทศนา และศาสดาเช่นนี้ย่อมหวัง เฉพาะ การรักษาจากสาวก โดยธรรมเทศนา

    อีกประการหนึ่ง (4) ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีไวยากรณ์ไม่บริสุทธิ์ ย่อม ปฏิญาณ ว่า เป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ไวยากรณ์ของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้วไม่เศร้า หมอง พวกสาวกย่อมทราบเขาอย่างนี้ว่า ท่านศาสดานี้ เป็นผู้มีไวยากรณ์ ไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ไวยากรณ์ของเราบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเรา พึงบอกพวกคฤหัสถ์ ก็ไม่พึงเป็นที่พอใจของท่าน ก็พวกเราจักกล่าว ด้วยความไม่พอใจของท่าน นั้นอย่างไรได้

     อนึ่ง มหาชนย่อม ยกย่องด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช บริขาร ด้วยคิดว่าศาสดานี้ จักทำกรรมใด เขาเอง จักปรากฏ ด้วยกรรมนั้น ดังนี้ พวกสาวกย่ อมรักษาศาสดาเช่นนี้ โดยไวยากรณ์ และศาสดาเช่นนี้ย่อมหวังเฉพาะ การรักษา จากพวกสาวกโดยไวยากรณ์

     อีกประการหนึ่ง (5) ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ ย่อม ปฏิญาณว่า เป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมทราบเขาอย่างนี้ว่า ท่านศาสดานี้ เป็นผู้มีญาณทัสสนะ ไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่าเป็นผู้มีญาณทัสสนะ บริสุทธิ์ญาณทัสสนะ ของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอกพวกคฤหัสถ์ ก็ไม่พึงเป็นที่พอใจของ ท่าน ก็พวกเราจะพึงกล่าวด้วยความไม่พอใจของท่าน นั้นอย่างไรได้

     อนึ่ง มหาชนย่อมยกย่องด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัช บริขาร ด้วยคิดว่า ศาสดานี้จักทำกรรมใด เขาเองจักปรากฏด้วยกรรมนั้น ดังนี้ พวกสาวก ย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ โดยญาณทัสสนะ และศาสดาเช่นนี้ ย่อมหวัง เฉพาะการ รักษา จากพวกสาวกโดยญาณทัสสนะ

     ดูกรโมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก

-----------------------------------------------------------------------------------------------
64
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๗๕

ผู้ไม่ประกอบความเพียร ไม่อาจทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติได้ (๗. กุสลสูตร)

(ย่อ)
พระผู้มีพระภาคเตือนภิกษุบวชใหม่
ภิกษุใหม่บวช นอนตื่นสาย ณ ศาลาที่บำรุง จนพระอาทิตย์ขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นด้วย ทิพยจักษุ ตรัสถามภิกษุ ท.พระสารีบุตรไปไหน พระโมคคัลลานะไปไหน พระเถระเหล่านั้น ไปไหน  ภิกษุทูลว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปไม่นาน ต่างก็ได้ไปยังวิหารของตน

ภิกษุ ท. เป็นไปได้หรือไม่ที่ สมณะหรือพราหมณ์ นอนหลับสบาย ไม่คุ้มครองทวาร ใน อินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ทำความความเพียร ไม่เห็นแจ้งกุศลธรรม ไม่เจริญ โพธิปักขิยธรรม แล้วสามารถทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ... ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน


ภิกษุ ท. กราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า


        [๒๘๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จออกจาก ที่เร้นในเวลาเย็น เสด็จเข้าไปยังศาลาที่บำรุง ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาด ไว้แล้ว

     แม้ท่านพระสารีบุตร ก็ออกจากที่เร้นในเวลาเย็นเข้าไปยังศาลาที่บำรุง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้ท่านพระมหาโมค คัลลานะ แม้ท่านพระมหากัสสปะ แม้ท่านพระมหากัจจายนะ แม้ท่านพระมหา โกฏฐิกะ แม้ท่านพระมหาจุนทะ แม้ท่านพระมหากัปปินะ แม้ท่านพระอนุรุทธะ แม้ท่านพระเรวตะ

      แม้ท่านพระอานนท์ ก็ออกจากที่เร้นในเวลาเย็นเข้าไปยังศาลาที่บำรุง ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงยับยั้ง อยู่ด้วยการประทับนั่ง สิ้นราตรีเป็นอันมาก แล้วทรงลุกจากอาสนะ เสด็จ เข้าไปยังพระวิหาร

     แม้ท่านเหล่านั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสร็จไปไม่นาน ต่างก็ลุกจากอาสนะได้ไป ยังวิหารของตนๆ แต่พวกภิกษุใหม่ บวชไม่นาน มาสู่ธรรมวินัยนี้ ไม่นานต่างก็นอน หลับกัดฟันอยู่ ณ ศาลาที่บำรุงนั้น จนพระอาทิตย์ขึ้น

     พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นภิกษุเหล่านั้น ซึ่งต่างก็นอนหลับกัดฟัน อยู่จน พระอาทิตย์ ขึ้น ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ แล้วเสด็จเข้าไปยัง ศาลาที่บำรุง ประทับนั่งบน อาสนะ ที่ได้ปูลาดไว้ แล้วตรัสถาม ภิกษุทั้งหลายว่า

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสารีบุตรไปไหน พระโมคคัลลานะไปไหน พระมหา กัสสปะ ไปไหน พระมาหากัจจานะไปไหน พระมหาโกฏฐิตะไปไหน พระมหาจุนทะ ไปไหน พระมหากัปปินะ ไปไหน พระอนุรุทธะไปไหน พระเรวตะไปไหน พระอานนท์ ไปไหน พระสาวกชั้นเถระเหล่านั้นไปไหน

     ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านเหล่านั้น เมื่อพระผู้มี พระภาคเสด็จไปไม่นาน ต่างก็ลุกจากอาสนะแล้ว ได้ไปยังวิหารของตนๆ

     พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเป็นพระเถระหรือหนอ เธอทั้งหลายเป็น ภิกษุใหม่ นอนหลับกัดฟันอยู่จนพระอาทิตย์ขึ้น

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะ สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลาย ได้เห็นหรือได้ฟังมาบ้างไหมว่า พระราชา ผู้กษัตริย์ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงประกอบการนอนสบาย เอนข้างสบาย บรรทมหลับสบาย ตามพระประสงค์อยู่ เสวยราชสมบัติอยู่ตลอดพระชนม์ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของชาวชนบท

     ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า หามิได้พระเจ้าข้า

     พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดีละ ข้อนั้นแม้เราก็ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟังมาแล้วว่า พระราชา ผู้กษัตริย์ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงประกอบการนอนสบาย เอนข้างสบาย บรรทม หลับสบาย ตามพระประสงค์ เสวยราชสมบัติอยู่ตลอดพระชนม์ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ พอใจ ของชาวชนบท

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลาย ได้เห็น หรือ ได้ฟัง มา บ้างไหมว่าท่านผู้ครองรัฐ ท่านผู้เป็นทายาทแห่งตระกูล ท่านผู้เป็น เสนาบดี ท่านผู้ปกครอง บ้านท่านผู้ปกครองหมู่คณะ ประกอบการนอน สบาย เอนข้าง สบาย นอนหลับ สบาย ตามประสงค์ปกครองหมู่คณะอยู่ตลอดชีวิต ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของหมู่คณะ

     ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า

     พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดีละ ข้อนั้นแม้เราก็ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟังมาแล้วว่า ท่าน ผู้ ปกครองหมู่คณะ ประกอบการนอนสบาย เอนข้างสบาย นอนหลับสบายตามประสงค์ ปกครองหมู่คณะ อยู่ตลอดชีวิต ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของหมู่คณะ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลาย ได้เห็น หรือได้ฟัง มาบ้างไหมว่า สมณะหรือพราหมณ์ประกอบการนอนสบาย เอน ข้างสบาย นอนหลับสบาย ตามประสงค์ ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณ ในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ไม่เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ประกอบการเจริญ โพธิปักขิยธรรม ทั้งเบื้องต้นและ เบื้องปลายแห่งวันคืน แล้วกระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

     ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า

     พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดีละ ข้อนั้นแม้เราก็ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟังมาแล้วว่า สมณะ หรือพราหมณ์ ประกอบการนอนสบาย เอนข้างสบาย นอนหลับสบาย ตามประสงค์ ไม่คุ้มครองทวารใน อินทรีย์ ทั้งหลายไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบ ความเพียร ไม่เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งเบื้องต้น และ เบื้องปลายแห่งวันคืน แล้วกระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะ มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย จักเป็นผู้รู้ประมาณ ใน โภชนะ จักเป็นผู้ ประกอบความเพียร จักเป็นผู้เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย จักประกอบ การเจริญ โพธิปักขิยธรรม ทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลาย แห่งวันคืนอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล

จบสูตรที่ ๗

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
65
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๐๒

พระโมคหายไปปรากฎในชั้นพรหม (๔. โมคคัลลานสูตร)
(ย่อ)
พระโมค เกิดความปริตกสงสัยว่า เทวดาเหล่าไหนที่รู้คุณสมบัติของโสดาบัน คือ เลิ่อม ใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และมีศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว จึงกายไปปรากฎที่ ชั้นพรหม และได้พบกับ (อดีต)ภิกษุชื่อ ติสสะ ที่ทำกาละไปไม่นาน

พระโมคถามติสสะว่า.. เทวดาชั้นจาตุมหาราชเหล่าใด มีความไม่เลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ และไม่ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ ติสสะ ตอบว่า เทวดาชั้นจาตุมหาราช มีทั้งเลื่อมใส และไม่เลื่อมใสฯ แม้เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ก็เช่นกัน(พระสุตรนี้ทำให้ทราบว่าเทวดาชั้นกามภพ ตั้งแต่ชั้น จาตุ-ขึ้นไป มีทั้งเทวดาที่เป็น โสดาบัน และเป็นเทวดาปุถุชน เช่นเดียวกับมนุษย์


           [๓๐๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน  อาราม ของท่าน อนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมค คัลลานะ หลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า เทวดาเหล่า ไหนหนอ ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็น เบื้องหน้า

     ก็สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ติสสะ ทำกาละไม่นาน ได้เข้าถึงพรหมโลกชั้นหนึ่ง ณ พรหมโลกแม้ชั้นนั้น เทวดาทั้งหลายย่อมรู้จักพรหมผู้นั้น อย่างนี้ว่า ติสสพรหม เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก

     ครั้งนั้นท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้หายจากพระวิหารเชตวัน ไปปรากฏใน พรหมโลก เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น

    ติสสพรหม ได้เห็นท่านพระโมคคัลลานะมาแต่ไกล ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะ ผู้นิรทุกข์ นิมนต์มาเถิด ท่านมา ดีแล้ว ท่านได้ทำปริยาย ในการมา ณที่นี้นานนักแล นิมนต์นั่งเถิดขอรับ นี้อาสนะปูลาดไว้แล้ว ท่านพระมหา โมคคัลลานะ ได้นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ แม้ ติสสพรหมอภิวาท ท่านพระมหา โมคคัลลานะแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

    ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้ถามว่า

     ดูกรท่านติสสพรหม เทวดาชั้นไหนหนอ ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่าเราเป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ติสสพรหม ได้ตอบว่า
     ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นจาตุมหาราช แล ย่อมมีญาณ อย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้ เป็นเบื้องหน้า
------------------------------------------------------------------

     ม. ดูกรติสสพรหม เทวดาชั้นจาตุมหาราชทั้งปวงทีเดียวหรือหนอ ย่อมมี ญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะ ตรัสรู้ เป็นเบื้องหน้า ฯ

     ติ. ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นจาตุมหาราชมิใช่ทั้งปวง  ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้ เป็นเบื้องหน้า

     ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์

     เทวดาชั้นจาตุมหาราชเหล่าใด
ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ไม่ประกอบ ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ไม่ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าพอใจเทวดาชั้นจาตุมหาราช เหล่านั้น ย่อมไม่มีญาณ อย่างนี้ ว่าเราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า

     ส่วนเทวดาชั้นจาตุมหาราชเหล่าใด ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า...ในพระธรรม... ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ เทวดาชั้นจาตุมหาราชเหล่านั้น ย่อมมีญาณ อย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความ ไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า

     ม. ดูกรท่านติสสพรหม เทวดาชั้นจาตุมหาราชเท่านั้นหรือหนอ ย่อมมีญาณ อย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ เป็นเบื้องหน้า หรือว่า แม้ เทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ แม้เทวดาชั้นยามาฯลฯ แม้เทวดา ชั้นดุสิต ฯลฯ แม้เทวดาชั้น นิมมานรดี ฯลฯ

      แม้เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ก็มีญาณ อย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความ ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ เป็นเบื้องหน้า

     ติ. ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ แม้เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ก็ย่อมมี ญาณ อย่างนี้ว่าเราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะ ตรัสรู้ เป็นเบื้องหน้า

     ม. ดูกรท่านติสสพรหม เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดีทั้งปวงทีเดียว หรือหนอ ย่อมมี ญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดาเป็นผู้เที่ยง ที่จะ ตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า

     ติ. ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดีมิใช่ทั้งปวง ย่อมมี ญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้ เป็นเบื้องหน้า

     ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดีเหล่าใด ไม่ประกอบ ด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ไม่ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าพอใจ เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี เหล่านั้น ย่อมไม่มีญาณอย่างนี้ว่า

     เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็น เบื้องหน้า ส่วนเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดีเหล่าใด ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ...ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าพอใจ

     เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดีเหล่านั้น ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า

     ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของติสสพรหม แล้วหาย จากพรหมโลก ไปปรากฏ ณ พระวิหารเชตวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง พึงเหยียดแขน ที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
66
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๐๖

ทักษิณาทาน อันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ (๗. ทานสูตร)
(ย่อ)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย องค์ ๓ ของทายก องค์ ๓ ของปฏิคาหก
องค์ ๓ ของทายก เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทายกในศาสนานี้
   1. ก่อนให้ทาน เป็นผู้ดีใจ
   2. กำลัง ให้ทาน อยู่ย่อมยังจิต ให้เลื่อมใส
   3. ครั้นให้ทานแล้วย่อมปลื้มใจ
องค์ ๓ ของปฏิคาหกเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิคาหกในศาสนานี้
   1. เป็นผู้ปราศจากราคะหรือปฏิบัติเพื่อ กำจัด ราคะ
   2. เป็นผู้ปราศจากโทสะหรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ
   3. เป็นผู้ปราศจาก โมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัด โมหะ

        [๓๐๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ ท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อนันทมารดา ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะ ถวายทักษิณาทานอันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ ในภิกษุสงฆ์ มีพระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะเป็นประมุข

      พระผู้มีพระภาค ได้ทรงเห็นอุบาสิกาชื่อนันทมารดา ชาวเมือง เวฬุกัณฑกะ ถวาย ทักษิณาทาน อันประกอบ ด้วยองค์ ๖ ประการ ในภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะเป็นประมุข ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ แล้ว ตรัสกะ ภิกษุทั้งหลายว่า

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาชื่อนันทมารดาชาวเมืองเวฬุกัณฑกะ นั้นถวาย ทักษิณาทาน อันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ ในภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ เป็นประมุข ก็ทักษิณาทานอันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ เป็นอย่างไร

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย องค์ ๓ ของทายก องค์ ๓ ของปฏิคาหก องค์ ๓ ของทายก เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทายกในศาสนานี้ก่อนให้ทาน เป็นผู้ดีใจ ๑ กำลัง ให้ทาน อยู่ย่อมยังจิต ให้เลื่อมใส ๑ ครั้นให้ทานแล้วย่อมปลื้มใจ ๑ นี้องค์ ๓ ของ ทายก องค์ ๓ ของปฏิคาหกเป็นไฉน

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิคาหกในศาสนานี้เป็นผู้ปราศจากราคะ หรือปฏิบัติเพื่อ กำจัด ราคะ ๑ เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ ๑ เป็นผู้ปราศจาก โมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัด โมหะ ๑ นี้องค์ ๓ ของปฏิคาหก องค์ ๓ของทายก องค์ ๓ ของปฏิคาหก ย่อมมีด้วยประการ ดังนี้

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทักษิณาทานที่ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้แล การถือประมาณบุญแห่งทักษิณาทานที่ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ อย่างนี้ ว่า ห้วงบุญห้วง กุศล มีประมาณเท่านี้นำสุขมาให้มีอารมณ์เลิศมีสุขเป็นผล เป็นไป เพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไป เพื่อสิ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อสุข ดังนี้ ไม่ใช่ทำได้ง่าย โดยที่แท้บุญแห่งทักษิณาทานนั้น ย่อมถึงการ นับว่า เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศลที่ จะนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นกองบุญใหญ่ทีเดียว

     เปรียบเหมือนการถือเอา ประมาณแห่งน้ำในมหาสมุทรว่า เท่านี้อาฬหกะ เท่านี้ ร้อย อาฬหกะ เท่านี้พันอาฬหกะหรือเท่านี้ แสนอาฬหกะ ไม่ใช่ทำได้ง่าย โดยที่แท้ น้ำในมหาสมุทรย่ อมถึงการนับว่า เป็นห้วงน้ำที่จะนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นห้วง น้ำใหญ่ทีเดียวฉะนั้น ฯทายกก่อนแต่จะให้ทานเป็นผู้ดีใจ กำลังให้ทานอยู่ย่อม ยังจิต ให้เลื่อมใส

     ครั้นให้ทานแล้วย่อมปลื้มใจ นี้เป็นยัญสมบัติปฏิคาหกผู้สำรวมประพฤติ พรหมจรรย์ ทั้งหลาย คือ ท่านผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ไม่มีอาสวะ ย่อมเป็นเขตถึง พร้อมแห่งยัญ ทายกต้อนรับปฏิคาหก ด้วยตนเอง ถวายทาน ด้วยมือ ตนเอง ยัญนั้นย่อม มีผลมาก เพราะตน(ทายกผู้ให้ทาน) และ เพราะผู้อื่น (ปฏิคาหก) ทายกผู้มีปัญญา มีศรัทธา เป็นบัณฑิต มีใจพ้นจากความ ตระหนี่ ครั้นบำเพ็ญทาน อย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลก ที่เป็นสุขไม่มีความเบียดเบียน

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
67
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๖๔

ญาณหยังรู้ของ เทวดาพรหม ว่าผู้ใดมีอุปาทานขันธ์เหลือ-ไม่เหลือ (ติสสสูตร)

(ย่อ)
เทวดา(พรหม) ตนหนึ่งเข้าเฝ้าฯ ทูลว่าภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นแล้ว เพราะไม่มีอุปาทานขันธ์ เหลืออยู่ พระศาสดาทรงพอพระทัย แต่พระโมคฯเกิดข้อสงสัยว่า เทวดาพรหมมีญาณหยั่งรู้ อุปาทานขันธ์ในบุคคลด้วยหรือว่า ยังเหลืออยู่ หรือไม่เหลืออยู่ จึงหายไปปรากฎในชั้นพรหม เพื่อหาคำตอบ และได้พบกับ ติสสะพรหม แล้วกลับมารายงานพระศาสดา แต่ปรากฎว่า เทวดาติสสะ ตอบไม่ครบ(อาจเพราะปัญญาไม่รู้ทั่วถึง) พระศาสดาจึงเติมเต็ม

เทวดาที่มีญาณหยังรู้มี ๗ ประเภท
(1-6 ติสสะเป็นผู้เฉลย ข้อ7 พระศาสดากล่าวเพิ่ม)
1. ผู้เป็น อุภโตภาควิมุติ มีญาณหยั่งรู้ในบุคคล ว่าเป็นผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ
2. ผู้เป็น ปัญญาวิมุติ มีญาณหยั่งรู้ในบุคคล ว่าเป็นผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ
3. ผู้เป็น เป็นกายสักขี มีญาณหยั่งรู้ในบุคคล ว่าเป็นผู้มีอุปาทานขันธ์เหลือ
4. ผู้เป็น เป็นทิฏฐิปัตตะ ผู้ถึงที่สุดทิฐิ ฯลฯ
5. ผู้เป็น เป็นสัทธาวิมุติ ผู้หลุดพ้นเพราะศรัทธา ฯลฯ
6. ผู้เป็น เป็นธัมมานุสารี มีญาณหยั่งรู้ ในบุคคล ว่ามีอุปาทานขันธ์เหลือ
7. ผู้เป็น
อนิมิตตวิหารี ผู้มีปรกติบรรลุเจโตสมาธิ อันหานิมิตมิได้ (พ.กล่าวเสริม)
(อมิตตตวิหารี คือผู้เข้าถึงความเป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะ ไม่มีนิมิตใดเหลืออยู่แล้ว)
อ่านต่อ บุคคล 7 จำพวกเป็นไฉน P866

            [๕๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนคร ราชคฤห์ ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไป เทวดา ๒ ตนมีรัศมีงาม ยังภูเขาคิชฌกูฏ ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

     ครั้นแล้วเทวดาตนหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นแล้ว เทวดาอีกตนหนึ่งกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้ หลุดพ้นด้วยดีแล้ว เพราะไม่มีอุปาทานขันธ์ เหลืออยู่ เทวดาเหล่านั้น ได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย (เทวดารู้วาระจิตของภิกษุณีอรหันต์)

     ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัย จึงถวายอภิวาท กระทำ ประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้น ครั้นล่วงราตรีนั้นไป พระผู้มีพระภาคตรัส กะภิกษุทั้งหลายว่า

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไป มีเทวดา ๒ ตนมีรัศมีงาม ยัง ภูเขาคิชฌกูฏ ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควร ส่วนหนึ่ง

     ครั้นแล้ว เทวดาตนหนึ่งได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้ หลุดพ้นแล้ว เทวดาอีกตนหนึ่งกล่าวว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้น ด้วยดีแล้ว เพราะ ไม่มีอุปาทานขันธ์ เหลืออยู่ เทวดาเหล่านั้นครั้นกล่าวแล้ว อภิวาทเรา กระทำประทักษิณ แล้วหายไป ณ ที่นั้นนั่นแล

     ก็สมัยนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ นั่งอยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านคิดเห็นว่าเทวดาเหล่าไหนหนอ มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมี อุปานขันธ์ เหลือว่า ยังมี อุปาทานขันธ์ เหลือหรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์ เหลือ

     ก็ในสมัยนั้นแล ภิกษุชื่อ ติสสะมรณภาพแล้วไม่นาน เข้าถึงพรหมโลกชั้นหนึ่ง แม้ในพรหมโลก นั้น ก็รู้กันอย่างนี้ว่า ท้าวติสสพรหม เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ มาก ครั้งนั้นแล ท่านพระมหามโคคัลลานะ หายจากภูเขาคิชฌกูฏ ไปปรากฏ ณ พรหมโลก นั้น เหมือนบุรุษ ผู้มีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด

     ฉะนั้นท้าวติสสพรหมได้เห็น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กำลังมาแต่ไกล จึงกล่าวกะ ท่านว่า ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะ ผู้นิรทุกข์นิมนต์มาเถิด ท่านมาดีแล้ว นานแล้ว ที่ท่านกระทำปริยาย เพื่อมาที่นี้ ขอนิมนต์ท่าน นั่งเถิด นี่อาสนะปูไว้ดีแล้ว

     ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว แม้ติสสพรหม  อภิวาทท่าน พระมหาโมคคัลลานะแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่าน พระมหาโมคคัลลานะ ได้ถามว่า
-----------------------------------------------------------------------------------------------------

     ดูกรติสสะ เทวดาเหล่าไหนแลมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคล ผู้ยังมีอุปาทานขันธ์ เหลือว่า ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มี อุปาทานขันธ์เหลือ

     ติสสพรหมกล่าวว่า ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะ ผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นพรหม ย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมี อุปาทานขันธ์ เหลือ ว่ายังมีอุปาทานขันธ์ เหลือ หรือในบุคคล ผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ว่าไม่มี อุปาทานขันธ์เหลือ

     ม. เทวดาชั้นพรหมทั้งหมดหรือ ที่มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคล ผู้มีอุปาทานขันธ์ เหลือว่า ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์ เหลือ

     ต. ข้าแต่พระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นพรหมไม่ใช่ทั้งหมด ที่มีญาณ หยั่งรู้ อย่างนี้ ..
-----------------------------------------------------------------------------------------------------

(กลุ่มเทวดาที่ยังยินดี ใน วรรณะ สุข ยศ ย่อมไม่มีญาณหยังรู้)

     
ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นพรหมเหล่าใด ผู้ยินดีด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ และความเป็นอธิบดีอันเป็นของพรหม แต่ไม่รู้ ชัดตามความเป็นจริง ซึ่ง อุบายเป็นเครื่องสลัดออกไป อย่างยิ่งแห่งอายุ เป็นต้นนั้น เทวดาชั้นพรหม เหล่านั้น ไม่มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ยังมีอุปาทานขันธ์ เหลือ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ

(กลุ่มเทวดาที่ไม่ยินดี ในวรรณะ สุข ยศ ย่อม่มีญาณหยังรู้ )

     
ส่วนเทวดา ชั้นพรหมเหล่าใด ไม่ยินดีด้วยอายุ วรรณะ สุขยศ และความ เป็นอธิบดี อันเป็นของพรหม และรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัด ออกไปอย่างยิ่งแห่งอายุเป็นต้นนั้น เทวดาชั้นพรหมเหล่านั้น ย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่าง นี้

(เทวดาที่มีญาณหยังรู้ (ไม้ยินดีในอายุ วรรณะ ... มี ๗ ประเภท)

   (1)  ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นอุภโตภาควิมุติ เทวดาเหล่านั้น ย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แล เป็นอุภโตภาควิมุติ กายของท่าน จักตั้งอยู่เพียงใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จักเห็นท่านเพียงนั้น เพราะกายสลายไป เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลายจักไม่เห็นท่าน ข้าแต่ท่านโมค คัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ ในบุคคล ผู้ไม่มี อุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ

   (2) ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นปัญญาวิมุติ เทวดาเหล่านั้น ย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แลเป็นปัญญาวิมุติ กายของท่าน จักตั้งอยู่เพียงใด เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นท่านเพียงนั้น เพราะกาย สลายไป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จักไม่เห็นท่าน ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะ ผู้นิรทุกข์ เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ ในบุคคล ผู้ไม่มี อุปาทานขันธ์ เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ

    (3) ข้าแต่ท่าน โมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นกายสักขี (ผู้บรรลุฌานแล้วกระทำให้แจ้งซึ่ง นิพพาน) เทวดาเหล่านั้น ย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แลเป็นกายสักขีแม้ไฉน ท่านผู้นี้เสพ เสนาสนะที่สมควรอยู่ คบกัลยาณมิตร อบรมอินทรีย์ พึงกระทำให้แจ้ง ซึ่งที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตร ทั้งหลาย ออกบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบ ต้องการ นั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ใน ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะ ผู้นิรทุกข์ เทวดาเหล่านั้น ย่อมมีญาณ หยั่งรู้อย่างนี้ใน บุคคล ผู้มี อุปาทานขันธ์เหลือว่า มีอุปาทานขันธ์เหลือ ข้าแต่ท่าน โมคคัลลานะ ผู้นิรทุกข์

         อนึ่งภิกษุในธรรมวินัยนี้
    (4) เป็นทิฏฐิปัตตะ (ผู้ถึงที่สุดทิฐิ) ฯลฯ
    (5) เป็นสัทธาวิมุติ (ผู้หลุดพ้น เพราะศรัทธา) ฯลฯ

    (6) ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นธัมมานุสารี (ผู้ดำเนิน ตามกระแสธรรม) เทวดาเหล่านั้นย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แลเป็น ธัมมานุสารี แม้ไฉน ท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควรอยู่ คบกัลยาณมิตร อบรมอินทรีย์ พึงกระทำ ให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกบวช เป็นบรรพชิต โดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้าแต่ ท่านโมคคัลลานะ ผู้นิรทุกข์ เทวดาเหล่านั้น ย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ ในบุคคลผู้มี อุปาทานขันธ์ เหลือว่า มีอุปาทานขันธ์เหลือ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

     ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ชื่นชมยินดีภาษิตของ ท้าวติสสพรหมแล้ว หายจากพรหมโลกไปปรากฏ ที่เขาคิชฌกูฏ เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือ คู้แขน ที่เหยียดฉะนั้น แล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล ถ้อยคำ สนทนา ปราศรัยกับ ท้าวติสสพรหมทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาค

    (7) พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมคคัลลานะ ก็ท้าวติสสพรหมไม่ได้แสดง บุคคล อนิมิตตวิหารี (ผู้มีปรกติบรรลุเจโตสมาธิ อันหานิมิตมิได้อยู่) ที่ ๗ แก่เธอหรือท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต บัดนี้ เป็นการควร ที่พระผู้มีพระภาค จะพึงทรงแสดงถึงบุคคล อนิมิตตวิหารีที่ ๗ ข้าแต่พระสุคต ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้

     พ. ดูกรโมคคัลลานะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว
ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลรับ พระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

     ดูกรโมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมบรรลุเจโตสมาธิอันหานิมิตมิได้ เพราะ ไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ เทวดาเหล่านั้น ย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แล บรรลุเจโตสมาธิอันหานิมิตมิได้ เพราะไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ แม้ไฉน ท่านผู้นี้ เสพเสนาสนะ ที่สมควรอยู่ คบกัลยาณมิตรอบรมอินทรีย์ พึงกระทำให้แจ้ง ซึ่งที่สุด แห่งพรหมจรรย์ อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิต โดยต้องการ นั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่

    ดูกรโมคคัลลานะ เทวดาเหล่านั้น ย่อมมีญาณหยั่งรู้ อย่างนี้ในบุคคล ผู้มี อุปาทานขันธ์เหลือ ว่า มีอุปาทานขันธ์เหลือ

จบสูตรที่ ๓

อ่านต่อ บุคคล 7 จำพวกเป็นไฉน P866

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
68
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๗๓

วิธีแก้ง่วง ๗ วิธี ตรัสกับพระโมค (โมคคัลลานสูตร)
(ย่อ)
วิธีแก้ง่วง ตรัสกับพระโมค
1.เธอพึง ตรึกตรอง พิจารณาถึงธรรม ตามที่ตนได้สดับแล้ว
2.เธอพึง สาธยายธรรม ตามที่ตนได้สดับมาแล้ว ได้เรียนมาแล้ว
3.เธอพึง ยอนช่องหูทั้งสองข้าง เอามือลูบตัว
4.เธอพึง ลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์
5.เธอพึง ลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศ ทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์
6.เธอพึง ทำในใจถึงเอาโลกสัญญา ตั้งความสำคัญว่า กลางวันอย่างไร กลางคืนอย่างนั้น
7.เธอพึง อธิษฐานจงกรม สำรวมอินทรีย์ มีใจไม่คิดไปในภายนอก
8.เธอพึง สำเร็จสีหไสยา นอนตะแคงขวาเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ

(ทำข้อ 1-7 แล้วยังง่วง ก็ทำข้อ 8 คือนอน)

            [๕๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าเภสกลา มิคทายวัน ใกล้สุงสุมารคีรนคร แคว้นภัคคะ ก็สมัยนั้นแล ท่านมหาโมคคัลลานะนั่งโงกง่วงอยู่ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็น ท่านพระมหา โมคคัลลานะ นั่งโงกง่วงอยู่ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธด้วย ทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์

     ครั้นแล้วทรงหายจาก เภสกลามิคทายวัน ใกล้สุงสุมารคีรนคร แคว้นภัคคะ เสด็จไป ปรากฏเฉพาะ หน้าท่ านพระมหาโมคคัลลานะ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ เปรียบเหมือนบุรุษ มีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาค ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้ว ครั้นแล้วได้ตรัสถามท่าน พระมหา โมคคัลลานะว่า ดูกรโมคคัลลานะ เธอง่วง หรือ ดูกรโมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ

     ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

     ดูกรโมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไรอยู่ ความง่วงนั้น ย่อมครอบงำได้ เธอพึงทำไว้ในใจ ซึ่งสัญญานั้นให้มาก

     ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละ ความง่วงนั้นได้ ถ้าเธอยังละไม่ได้

     แต่นั้น เธอพึงตรึก ตรอง พิจารณา ถึงธรรม ตามที่ตนได้สดับแล้ว ได้เรียนมาแล้ว ด้วยใจ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอ ละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้

    แต่นั้น เธอพึง สาธยาย ธรรมตามที่ตน ได้สดับ มาแล้ว ได้เรียนมาแล้ว โดย พิสดาร ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละ ความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้

   แต่นั้น เธอพึงยอน ช่องหู ทั้งสองข้าง เอามือลูบตัว ข้อนี้จะเป็นเหตุ ให้เธอละ ความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้

    แต่นั้น เธอพึงลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศ ทั้งหลาย แหงนดูดาวนัก ษัตรฤกษ์ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้

    แต่นั้น เธอพึงทำในใจถึง เอาโลกสัญญา ตั้งความสำคัญในกลางวันว่า กลางวัน อย่างไร กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างไร กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยอยู่ฉะนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิต อันมีแสงสว่างให้เกิด ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละ ความง่วงนั้น ได้ ถ้ายังละไม่ได้

    แต่นั้น เธอพึงอธิษฐาน จงกรม กำหนด หมายเดินกลับ ไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีใจไม่คิดไปในภายนอก ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้

    แต่นั้น เธอพึงสำเร็จสีหไสยา คือนอน ตะแคง เบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำความหมาย ในอันจะลุกขึ้น พอตื่นแล้ว พึงรีบลุกขึ้นด้วย ตั้งใจว่า เราจักไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุข ในการเคลิ้ม หลับ

     ดูกรโมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล



 

   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์