เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

พระมหาโมคคัลลานะ
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของพระโมคคัลลานะ
อัครสาวกเบื้องซ้าย เอตทัคคะด้านผู้มีฤทธ
M104
               ออกไปหน้าหลัก 4 of 8
  83 เรื่องราวสำคัญของ พระมหาโมคคัลลานะ จากพระไตรปิฎกฉบับหลวง คัดเฉพาะคำสอนจากพระโอษฐ์
  36. ตุทุปัจเจกพรหมเข้าหาโกกาลิกผู้อาพาธ กล่าวถึงโทษการติเตียนพระอริยเจ้า (ตุทุพรหมสูตรที่ ๙)
  37. มหาโมคคัลลานะ จงกรมอยู่กับภิกษุผู้มีฤทธิ์ (๕.จังกมสูตร)
  38. พระสารีบุตร เห็นพระโมคคัลลานะผิวพรรณผ่องใส (๓.ฆฏสูตร)
  39. พระมหาโมคคัลลานะแสดงธรรม แทนพระพุทธเจ้า (เรื่อง อวัสสุตปริยาย และ อวัสสุตปริยาย)
  40. ภิกษุผู้มีใจชุ่มด้วยกาม มารย่อมสบช่อง (อวัสสุตปริยาย)
  41. ภิกษุผู้มีใจไม่ชุ่มด้วยกาม มารย่อมไม่ได้ช่อง (อนวัสสุตปริยาย)
  42. โมคคัลลานสังยุตต์ (แสดงธรรม เรื่องอานาปานสติ)
  42.1 ที่เรียกว่าปฐมฌานๆ ดังนี้ ปฐมฌานเป็นไฉนหนอ
  42.2 ที่เรียกว่า ทุติยฌานๆ ดังนี้ ทุติยฌานเป็นไฉนหนอ
  43.2 ที่เรียกว่า ตติยฌานๆ ดังนี้ ตติยฌานเป็นไฉนหนอ
  42.4 ที่เรียกว่า จตุตถฌานๆ ดังนี้ จตุตถฌานเป็นไฉนหนอ
  42.5 ที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌานๆ ดังนี้ อากาสานัญจา ยตนฌาน เป็นไฉนหนอ
  42.6 ที่เรียกว่า วิญญาณัญจายตนฌานๆ ดังนี้ วิญญาณัญจายตน ฌาน เป็นไฉนหนอ
  42.7 ที่เรียกว่า อากิญจัญญายตนฌานๆ ดังนี้ อากิญจัญญายตน ฌาน เป็นไฉนหนอ
  42.8 ที่เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌานๆ ดังนี้ เนวสัญญา นาสัญญายตนฌาน เป็นไฉนหนอ
  42.9 ที่เรียกว่า อนิมิตตเจโตสมาธิๆ ดังนี้ อนิมิตตเจโตสมาธิ เป็นไฉน หนอ
  43. พระโมคหายแสดงธรรมให้กับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ถึงความเลื่อมใส ในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ มีศีลไม่ด่างพร้อย
  44. ท้าวสักกะ พาเทวดาชั้นดาวดึงส์ นับหมื่นนับแสนเข้าฟังธรรมกับพระโมคคัลลานะ
  45. วัจฉปริพาชก เข้าไปหาท่านพระมหาโมค โลกไม่เที่ยงหรือ โลกมีที่สุดหรือ (โมคคัลลานสูตร)
 
 


36
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๘๒

ตุทุปัจเจกพรหม เข้าหาโกกาลิกภิกษุ ผู้อาพาธ กล่าวโทษของการติเตียนพระอริยเจ้า (ตุทุพรหมสูตรที่ ๙)

(ย่อ)
ตุทุปัจเจกพรหม เข้าหา โกกาลิกภิกษุ เป็นผู้อาพาธ พร้อมกล่าวว่า ท่านจงทำจิต ให้เลื่อมใส ในพระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ เพราะผู้มีศีลเป็นที่รัก... ผู้ใดติผู้ที่ควร ได้รับความสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมโทษ ด้วยปาก เพราะโทษนั้น เขาย่อมไม่ประสบ ความสุข... บุคคลกล่าววาจา และมีใจอันลามก เป็นผู้มักติเตียนพระอริยเจ้า ย่อมเข้าถึงนรก ซึ่งมีอายุถึง แสนสามสิบหกนิรัพพุท กับอีกห้าอัพพุท
(136,000 นิรัพพุท +5 อัพพุท)

                [๕๙๖] สาวัตถีนิทาน ฯ
ก็โดยสมัยนั้นแล พระโกกาลิกภิกษุ เป็นผู้อาพาธ ถึงความลำบากเป็นไข้หนัก

    ครั้งนั้นแล ตุทุปัจเจกพรหม เมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมีอันงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวัน ทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปหาพระโกกาลิกภิกษุ จนถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้ยืนในเวหาส กล่าวคำนี้กะพระโกกาลิกภิกษุว่า

    "ข้าแต่ท่านโกกาลิก ท่านจงทำจิตให้เลื่อมใส ในพระสารีบุตร และ พระโมค คัลลานะ พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก"

พระโกกาลิกภิกษุถามว่า "ผู้มีอายุ ท่านเป็นใคร"

ตุทุปัจเจกพรหมตอบว่า "เราคือตุทุปัจเจกพรหม"

    พระโกกาลิกภิกษุกล่าวว่า "ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท่านแล้ว ว่าเป็น พระอนาคามี มิใช่หรือ ไฉนเล่า ท่านจึงยังมาเที่ยวอยู่ในที่นี้ จงเห็นเถิดว่า ก็นี่เป็นความผิด ของท่านเพียงไร

        [๕๙๗] ตุทุปัจเจกพรหม ได้กล่าวว่าชนพาล เมื่อกล่าวคำเป็นทุพภาษิต ชื่อว่าย่อมตัดตน ด้วย ศัสตราใด ก็ศัสตรานั้น ย่อมเกิดในปากของบุรุษผู้เกิดแล้ว ฯ ผู้ใดสรรเสริญผู้ที่ควรถูกติ หรือติผู้ที่ควรได้รับความสรรเสริญผู้นั้น ชื่อว่าสั่งสมโทษ ด้วยปาก เพราะโทษนั้น เขาย่อมไม่ ประสบความสุข ความปราชัยด้วยทรัพย์ ในเพราะการพนันทั้งหลาย พร้อมด้วยสิ่งของของตนทั้งหมด ก็ดี พร้อมด้วยตนก็ดี ก็เป็นโทษเพียงเล็กน้อย

    บุคคลใดทำใจให้ประทุษร้าย ในท่านผู้ปฏิบัติดีทั้งหลาย ความประทุษร้ายแห่งใจ ของบุคคลนั้น เป็นโทษใหญ่กว่า

   บุคคลตั้งวาจา และใจอันลามกไว้ เป็นผู้มักติเตียนพระอริยเจ้า ย่อมเข้าถึงนรก ซึ่งมีปริมาณแห่งอายุถึง แสนสามสิบหกนิรัพพุท กับห้าอัพพุท 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
37
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๑๕๒

มหาโมคคัลลานะ จงกรมอยู่กับภิกษุผู้มีฤทธิ์ (๕. จังกมสูตร)

(ย่อ) พระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องธาตุ สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุ เทียว ตรัสไว้ใน "สตาปารัทธสูตร" พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุว่า เห็นพระโมค-กำลัง จงกรมอยู่ด้วยกัน กับภิกษุหลายรูป หรือไม่ ภิ.ตอบว่าเห็นพระเจ้าข้า พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีฤทธิ์มาก

        [๓๖๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์ ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรจงกรมอยู่ด้วยกันกับ ภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค

      ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกล พระผู้มีพระภาค

      ท่านพระมหากัสสป ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกล พระผู้มี พระภาค

      ท่านพระอนุรุทธ ก็จงกรมอยู่ ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มี พระภาค

      ท่านพระปุณณมันตานีบุตร ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกล พระผู้มีพระภาค

      ท่านพระอุบาลี ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค

      ท่านพระอานนท์ ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มี พระภาค

      แม้พระเทวทัตต์ ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มี พระภาค

        [๓๖๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นสารีบุตร กำลังจงกรมอยู่ด้วยกัน กับภิกษุหลายรูป หรือไม่ ฯ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ทั้งหมดนี้ ล้วนมีปัญญามาก

    พวกเธอเห็น มหาโมคคัลลานะ กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป หรือไม่

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า

พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีฤทธิ์มาก

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
38
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๒๗๘

พระสารีบุตร เห็นพระโมคคัลลานะผิวพรรณผ่องใส (๓.ฆฏสูตร)

(ย่อ) พระสารีบุตร เห็นพระโมคคัลลานะ มีอินทรีย์ผิวพรรณผ่องใส คิดว่าพระโมค อยู่ใน วิหารธรรมอันละเอียดเป็นแน่... ม.ตอบว่า วันนี้ผมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันหยาบ แต่ได้สนธนา ธรรมกับพระผู้มีพระภาค ด้วยทิพยจักษุ และทิพยโสตธาตุ อันหมดจด เท่าพระผู้มีพระภาค แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีทิพยจักษุและทิพยโสตธาตุอันหมดจดเท่าผม ...

พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ปรารภความเพียร ด้วยตั้งสัตยาธิษฐาน ว่าจะเหลืออยู่ แต่หนัง เอ็นและกระดูกก็ตามที เลือดและเนื้อในร่างกาย จงเหือด แห้งไปเถิด ผลอันใดที่จะ พึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ ยังไม่บรรลุผลนั้นแล้ว จะหยุดความเพียรเสีย เป็นอันไม่มี ภิกษุย่อมเป็นผู้ปรารภ ความเพียร อย่างนี้แล
(ความเพียรอันไม่ถอยกลับ)

           [๖๙๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล
ท่านพระสารีบุตร และ ท่านพระมหา โมคคัลลานะ อยู่ในวิหารเดียวกัน ในพระเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน

      ครั้งนั้นแล เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตร ออกจากที่เร้น เข้าไปหาท่านพระมหา โมคคัลลานะ ถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว ได้สนทนาปราศรัยกับท่าน พระมหา โมคคัลลานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง

           [๖๙๒] ครั้นท่านพระสารีบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระมหา โมคคัลลานะว่า อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก ผิวหน้าของท่านบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ชรอยวันนี้ ท่านมหาโมคคัลลานะ จะอยู่ด้วยวิหารธรรมอันละเอียด

      ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กล่าวว่า อาวุโส วันนี้ผมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันหยาบ อนึ่ง ผมได้มีธรรมีกถา
      สา. ท่านมหาโมคคัลลานะได้มีธรรมีกถากับใคร

      ม.  ผมได้มีธรรมีกถากับพระผู้มีพระภาค
      สา. เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ไกลนัก ท่านมหาโมคคัลลานะไปเฝ้า พระผู้มี พระภาคด้วยฤทธิ์หรือ หรือว่าพระผู้มีพระภาค เสด็จมาหาท่านมหาโมคคัลลานะ ด้วยฤทธิ์

      ม. ผมไม่ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยฤทธิ์ แม้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ได้เสด็จ มาหาผม ด้วยฤทธิ์ แต่ผมมีทิพยจักษุ และทิพยโสตธาตุ อันหมดจด เท่าพระผู้มี พระภาค แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีทิพยจักษุ และทิพยโสตธาตุอันหมดจด เท่าผม (มีตาทิพย์ หูทิพย์เท่ากับพระผู้มีพระภาค)

      สา. ท่านมหาโมคคัลลานะได้มีธรรมีกถากับพระผู้มีพระภาคอย่างไร

           [๖๙๓] ม. ผมได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคในที่นี้ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ที่เรียกว่าผู้ปรารภความเพียรๆ ดังนี้ ก็บุคคลจะชื่อว่าเป็นผู้ปรารภความเพียร ด้วยเหตุประมาณเท่าไรพระพุทธเจ้าข้า

      อาวุโส เมื่อผมกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะผมดังนี้ว่า โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ปรารภความเพียร ด้วยตั้ง สัตยา ธิษฐาน ว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็นและกระดูกก็ตามที เลือดและเนื้อใน ร่างกายจง เหือดแห้ง ไปเถิด ผลอันใดที่จะพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียร ของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ ยังไม่บรรลุผลนั้นแล้ว จะหยุด ความเพียรเสีย เป็นอันไม่มี โมคคัลลานะ ภิกษุย่อมเป็นผู้ปรารภความเพียรอย่างนี้แล (ความเพียรอันไม่ถอยกลับ)

      อาวุโส ผมได้มีธรรมีกถา กับพระผู้มีพระภาคอย่างนี้แล

           [๖๙๔] สา. อาวุโส เปรียบเหมือนก้อนหินเล็กๆ ที่บุคคลเอาไปวาง เปรียบเทียบ กับขุนเขาหิมพานต์ฉันใด เราเมื่อเปรียบเทียบเคียง กับท่านมหา โมคคัลลานะ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แท้จริงท่านมหาโมคคัลลานะ เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เมื่อจำนงอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกัปแล

           [๖๙๕] ม. อาวุโส ก้อนเกลือเล็กๆ ที่บุคคลหยิบเอาไปวางเปรียบเทียบ กับ หม้อเกลือใหญ่ ฉันใด ผมเมื่อเปรียบเทียบท่านสารีบุตร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แท้จริง ท่านพระสารีบุตร เป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงชม ทรงสรรเสริญ ทรงยกย่อง แล้ว โดยปริยายมิใช่น้อย มีอาทิว่า ภิกษุผู้ถึงซึ่งฝั่งคือพระนิพพาน เป็นผู้เยี่ยมด้วย ปัญญา ด้วยศีล และอุปสมะ(ความสงบ) คือพระสารีบุตร ดังนี้

      ท่านมหานาค ทั้งสองนั้น เพลิดเพลินคำสนทนา ที่เป็นสุภาษิตของกันและกัน ด้วยประการดังนี้แล

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
39
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๐๑

พระมหาโมคคัลลานะแสดงธรรม แทนพระพุทธเจ้า
(เรื่อง อวัสสุตปริยาย และ อวัสสุตปริยาย)

(ย่อ)

พระมหาโมคคัลลานะ แสดงธรรมแทนพระพุทธเจ้า เรื่อง อวัสสุต คือ เหตุแห่งความเป็นผู้ ชุ่มด้วย รูป เสียง กลิ่น รส ...หรือถูกกิเลสครอบงำ ทำให้เปิดโอกาสให้มารเข้าหาภิกษุนั้น
ส่วน อนวัสสุต นั้นตรงกันข้าม คือความเป็นผู้ไม่ชุ่มด้วย กาม-กิเลส
ไม่ถูกมารครอบงำจิต


            [๓๒๘] ลำดับนั้นแล เมื่อเจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์  เสด็จไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก พระมหาโมคคัลลานะ มาตรัสว่า

      ดูกรโมคคัลลานะ ภิกษุสงฆ์ปราศจาก ถีนมิทธะแล้วแล ธรรมีกถาของเธอจงแจ่ม แจ้งแก่ ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยหลัง จักเหยียดหลัง

      ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาค ทรงปูลาด ผ้าสังฆาฏิ๔ ชั้น แล้วทรงสำเร็จสีหไสยาโดย พระปรัสเบื้องขวา ทรงซ้อน พระบาทด้วยพระบาท มีพรสติสัมปชัญญะ ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่ง อุฏฐานสัญญา

      ในลำดับนั้นแลท่านพระมหาโมคคัลลานะ เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น รับต่อพระมหาโมคคัลลานะแล้ว

      ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวว่าดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราจักแสดง อวัสสุตปริยาย(๑) และ อนวัสสุตปริยาย(๒) แก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงฟัง อวัสสุตปริยาย และอนวัสสุตปริยายนั้น จงใส่ใจ ให้ดีเราจักกล่าว

     ภิกษุเหล่านั้น รับต่อท่าน พระมหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัล ลานะได้กล่าวว่า
(๑) อวัสสุตบรรยาย หมายถึงเหตุแห่งความเป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลส
(๒) อนวัสสุตบรรยาย หมายถึงเหตุแห่งความเป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลส


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
40
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๐๑

ภิกษุผู้มีใจชุ่มด้วยกาม มารย่อมสบช่อง (อวัสสุตปริยาย)

      ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มีใจชุ่มด้วยกามอย่างไร

      ภิกษุในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมน้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อม ขัดเคือง ในรูปอัน ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งกายคตาสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และ ย่อมไม่รู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือ แห่งอกุศลธรรม อันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ

      ภิกษุในศาสนานี้ รู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมารมณ์ อันน่ารัก ย่อมขัดเคือง ในธรรมารมณ์ อันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้ง กายคตาสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไป ไม่เหลืออกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้น แล้ว แก่เธอ ตามความเป็นจริง

      ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้มีใจชุ่มแล้วในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้แจ้งด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

            [๓๒๙] ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้ว่า มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปรกติอยู่ อย่างนั้นทางจักษุ มารย่อมได้ช่องได้เหตุ ฯลฯ

      ถ้าแม้ว่ามาร เข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปรกติ อยู่อย่างนั้นทางใจ มารย่อมได้ช่อง ได้เหตุ ดูกรอาวุโส เรือนไม้อ้อก็ดี เรือนหญ้าก็ดี ที่แห้งเกราะ เขาทำไว้ภายนอก กาลฝน

      ถ้าแม้บุรุษ พึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อ หรือเรือนหญ้านั้นในทิศบูรพา ด้วยคบหญ้า อันไฟติดทั่วแล้ว ไฟพึงได้ช่องได้เหตุ

      ถ้าแม้บุรุษ พึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อ หรือเรือนหญ้านั้นในทิศปัจจิมในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ด้วยคบหญ้า อันไฟติดทั่วแล้ว ไฟพึงได้ช่องได้เหตุ

      ถ้าแม้ว่าบุรุษนั้น พึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อ หรือเรือนหญ้านั้น แต่ทิศใดทิศหนึ่ง ด้วยคบหญ้า อันไฟติดทั่วแล้ว ไฟพึงได้ช่องได้เหตุ แม้ฉันใด

      ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้ว่ามาร เข้าไปหาภิกษุนั้น ผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น ทางจักษุ ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจมาร พึงได้ช่องได้เหตุฉันนั้น

            [๓๓๐] ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็รูปครอบงำภิกษุผู้มีปรกติอยู่ อย่างนั้น ภิกษุ ไม่ครอบงำ รูป เสียง ครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำเสียง กลิ่นครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำกลิ่น รสครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำรส โผฏฐัพพะครอบงำภิกษุ

      ภิกษุไม่ครอบงำโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำ ธรรมารมณ์ ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ถูกรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะธรรมารมณ์ ครอบงำ ไม่ครอบงำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาป เป็นอกุศล มีความเศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวน กระวาย มีทุกข์เป็น วิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป ครอบงำแล้ว ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีใจชุ่มแล้วด้วยกามอย่างนี้แล

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
41
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๐๑

ภิกษุผู้มีใจไม่ชุ่มด้วยกาม มารย่อมไม่ได้ช่อง (อนวัสสุตปริยาย)

            [๓๓๑] ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีใจไม่ชุ่มด้วยกามอย่างไรภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ไม่ขัดเคือง ในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้ง กายคตาสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือ แห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ

      รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจ ไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ไม่ขัดเคือง ในธรรมารมณ์ อันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้ง กายคตาสติไว้แล้ว มีใจหา ประมาณ มิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่ง เจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือ แห่งอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง

      ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้มีใจ ไม่ชุ่มแล้วในรูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้แจ้ง ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

      ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้น ผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้นทางจักษุ มารย่อมไม่ได้ ช่อง ไม่ได้เหตุ ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้น ทางใจ มารย่อม ไม่ได้ช่องไม่ได้เหตุ

       ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้บุรุษพึงเข้าไปใกล้ กุฏาคารศาลา ในทิศบูรพา ด้วยคบหญ้าอันไฟติด ทั่วแล้ว ไฟไม่พึงได้ช่องไม่พึงได้เหตุ เพราะการขยำดินทา อย่างแน่นหนา ถ้าแม้บุรุษพึงเข้าไปใกล้ กุฏาคารศาลานั้น ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องบน ด้วยคบหญ้าอันไฟ ติดทั่วแล้ว ไฟไม่พึงได้ ช่อง ไม่พึงได้เหตุ เพราะการขยำดินทาอย่างแน่นหนา ถ้าแม้บุรุษพึงเข้าไป ใกล้ กุฏาคาร นั้น แต่ที่ใดที่หนึ่ง ด้วยคบหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟไม่พึงได้ช่องไม่พึงได้ เหตุแม้ฉันใด

      ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้น ผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น ทางจักษุ มารก็ไม่ได้ช่อง ไม่ได้เหตุ ถ้าแม้มาร เข้าไปหาภิกษุนั้น ผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้เหตุ ฉันนั้น

      ดูกรอาวุโสทั้งหลายก็ภิกษุ ผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้นครอบงำรูป รูปไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำ เสียง เสียงไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำกลิ่น กลิ่นไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำรสรสไม่ครอบงำ ภิกษุ ภิกษุครอบงำโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะไม่ครอบงำ ภิกษุ ภิกษุครอบงำธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ ไม่ครอบ งำภิกษุ

      ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ครอบงำรูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันเป็นบาป เป็นอกุศลเหล่านั้น อันมีความเศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป

      ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีใจไม่ชุ่มแล้วด้วยกามอย่างนี้ ครั้งนั้น พระผู้มี พระภาคเสด็จ ลุกขึ้นแล้ว ตรัสเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะมาว่า ดีละ ดีละ โมคคัลลานะ

      ดูกรโมคคัลลานะ เธอได้ภาษิต อวัสสุตปริยาย และ อนวัสสุตปริยาย แก่ ภิกษุทั้งหลาย ดีแล้วๆ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้ จบลง แล้ว พระศาสดาได้ทรงพอพระทัย ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชม เพลิดเพลินภาษิตของ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ฉะนั้นแล ฯ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
42
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๗๘


โมคคัลลานสังยุตต์

(ย่อ)
พระโมคคัลลานะ แสดงธรรมแก่ ภิกษุ ท. ว่าด้วยเรื่อง อานาปานสติ.. ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เป็นไฉนหนอ ...อากาสานัญจายตน วิญญาณัญจายตน อากิญจัญญา ยตน เนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นไฉนหนอ... อนิมิตตเจโตสมาธิ เป็นไฉนหนอ


            [๕๑๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหา โมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหาโมคคัลลานะ แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า

      ดูกรผู้มีอายุทั้งหลายขอโอกาส เมื่อเราหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ความปริวิตกแห่งใจ ได้เกิดขึ้น อย่างนี้ว่า

------------------------------------------------------------------------------------------
42.1

     ที่เรียกว่าปฐมฌานๆ ดังนี้
ปฐมฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มี ความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้เรียกว่า ปฐมฌาน เราก็สงัด จากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม ข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและ สุขเกิด แต่วิเวกอยู่เมื่อ เราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนิการอันประกอบด้วย กามย่อมฟุ้ง ซ่าน

     ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทปฐมฌาน จงดำรงจิตไว้ในปฐมฌาน จงกระทำจิตให้ เป็นธรรมเอก ผุดขึ้นในปฐมฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นใน ปฐมฌาน

      สมัยต่อมา เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิด แต่วิเวกอยู่

      ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่าสาวก อันพระ ศาสดา ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด คำนั้น กะเราว่าสาวกอันพระศาสดา ทรงอนุเคราะห์แล้วถึงความเป็นผู้รู้ ยิ่งใหญ่

------------------------------------------------------------------------------------------
42.2

            [๕๑๖] ที่เรียกว่า ทุติยฌานๆ ดังนี้ ทุติยฌานเป็นไฉนหนอเราได้มีความคิด อย่างนี้ว่าภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าทุติยฌาน อันมีความผ่องใส แห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไปมีปีติ และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เรียกว่าทุติยฌาน เราก็เข้าทุติยฌาน อันมีความผ่องใส แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจาร สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ อันประกอบด้วยวิตกย่อมฟุ้งซ่าน

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

      ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค เสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาททุติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในทุติยฌาน จงกระทำจิต ให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในทุติยฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในทุติยฌาน

      สมัยต่อมา เราเข้าทุติยฌาน อันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจาร สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดา ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำนั้น กะเราว่า สาวกอันพระศาสดา ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

------------------------------------------------------------------------------------------
42.3

            [๕๑๗] ที่เรียกว่า ตติยฌานๆ ดังนี้ ตติยฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มีความ คิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌาน นี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข นี้เรียกว่าตติยฌาน

     เราก็มีอุเบกขา มีสติ มี สัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌาน ที่พระอริยเจ้า ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ อันประกอบด้วยปีติ ย่อมฟุ้งซ่าน

      ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่าโมค คัลลานะๆ เธออย่าประมาทตติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในตติยฌาน จงกระทำจิตให้ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในตติยฌานจง ตั้งจิตไว้ในตติยฌาน

      สมัยต่อมาเรามีอุเบกขา มีสติมีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ สิ้นไปเข้าตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

     ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำใดว่า สาวก อัน พระศาสดา ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึง ความเป็นผู้รู้ ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึง พูดคำนั้น กะเราว่าสาวกอัน พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ ยิ่งใหญ่

------------------------------------------------------------------------------------------
42.4

            [๕๑๘] ที่เรียกว่า จตุตถฌานๆ ดังนี้ จตุตถฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มี ความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานอัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่าจตุตถฌาน เราก็เข้า จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ ละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์ อยู่เมื่อเราอยู่ด้วย วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยสุขย่อมฟุ้งซ่าน

      ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค เสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาท จตุตถฌาน จงดำรงจิตไว้ใน จตุตถฌาน จงกระทำ จิต ให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในจตุตถฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในจตุตถฌาน สมัยต่อมา เราเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับ โสมนัสโทมนัส ก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

      ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอัน พระศาสดา ทรงอนุเคราะห์ แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะ พูดให้ถูก พึงพูดคำนั้น กะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรง อนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ ยิ่งใหญ่

------------------------------------------------------------------------------------------
42.5

            [๕๑๙] ที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌานๆ ดังนี้ อากาสานัญจา ยตนฌาน เป็นไฉนหนอเราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าอากาสานัญ จายตนฌาน ด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้

      เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้เพราะ ดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่กระทำไว้ ในใจ ซึ่งนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌาน เราก็เข้าอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยคำนึงว่าอากาศหาที่สุดมิได้

      เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่กระทำไว้ ในใจ ซึ่งนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา มนสิการอันประกอบด้วย รูปสัญญาย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคเสด็จ เข้าไปหาเรา ด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่าโมคคัลลานะ

      เธออย่าประมาท อากาสานัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากาสานัญจายตน ฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในอากาสานัญจา ยตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้ มั่นในอากาสานัญจายตนฌาน

      สมัยต่อมา เราเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่าอากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่ กระทำไว้ในใจ ซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง

      ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอัน พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด คำนั้นกะเราว่าสาวก อันพระศาสดาทรง อนุเคราะห์แล้วถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

------------------------------------------------------------------------------------------
42.6

            [๕๒๐] ที่เรียกว่า วิญญาณัญจายตนฌานๆ ดังนี้ วิญญาณัญจายตน ฌาน เป็นไฉนหนอเราได้มีความคิดอย่างนี้ว่าภิกษุใน พระธรรม วินัยนี้ เข้า วิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้

      เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้ โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่า วิญญาณัญจายตนฌาน เราก็เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วย คำนึงว่า วิญญาณ หาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตน ฌาน เสียได้โดยประการทั้งปวง

      เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วย อากาสานัญจา ยตนะ ย่อมฟุ้งซ่าน

      ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค เสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทวิญญาณัญจายตนฌาน จงดำรงจิต ไว้ในวิญญา ณัญจายตนฌาน จงกระทำจิตให้ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในวิญญาณัญจายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในวิญญาณัญจายตน ฌาน

      สมัยต่อมา เราเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยคำนึงว่าวิญญาณ หาที่สุดมิได้ เพราะล่วง อากาสา นัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง

      ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอัน พระศาสดา ทรงอนุเคราะห์ ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูด ให้ถูก พึงพูด คำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดา ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ ยิ่งใหญ่

------------------------------------------------------------------------------------------
42.7

            [๕๒๑] ที่เรียกว่า อากิญจัญญายตนฌานๆ ดังนี้ อากิญจัญญายตน ฌาน เป็นไฉนหนอ ราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรม วินัยนี้ เข้าอากิญ จัญญา ยตนฌาน ด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไร หน่อยหนึ่งไม่มี

      เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน เสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่าอากิญ จัญญายตนฌาน เราก็เข้าอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยคำนึง ว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่ง ไม่มี

      เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วย วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ อันประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนะ ย่อมฟุ้งซ่าน

      ครั้งนั้นแล พระผู้มีภาคเสด็จเข้าไปหาเรา ด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาท อากิญจัญญายตนฌาน จงดำรงจิต ไว้ในอากิญ จัญญายตนฌาน จงกระทำจิตให้เป็น ธรรมเอกผุดขึ้นใน อากิญจัญญายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นใน อากิญจัญญายตนฌาน

      สมัยต่อมาเราเข้าอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยคำนึงว่าสิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วง วิญญา ณัญจายตนฌาณ เสียได้โดยประการทั้งปวง

      ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระ ศาสดา ทรงอนุเคราะห์ แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อ จะพูดให้ถูก พึงพูด คำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดา ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

------------------------------------------------------------------------------------------
42.8

            [๕๒๒] ที่เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌานๆ ดังนี้ เนวสัญญา นาสัญญายตนฌาน เป็นไฉนหนอราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรม วินัย นี้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้ โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่าเนวสัญญานา สัญญายตนฌาน เราก็เข้าเนวสัญญา นาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม นี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วย อากิญจัญญายตนะ ย่อมฟุ้งซ่าน

      ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค เสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ ตรัสว่า โมคคัลลานะ  โมคคัลลานะ เธออย่าประมาท เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ใน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นใน เนวสัญญานาสัญญายตน ฌาน

      สมัยต่อมา เราเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตน ฌาน เสียได้โดย ประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดา ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอัน พระศาสดาทรงอนุเคราะห์ แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

------------------------------------------------------------------------------------------
42.9

            [๕๒๓] ที่เรียกว่า อนิมิตตเจโตสมาธิๆ ดังนี้ อนิมิตตเจโตสมาธิ เป็นไฉนหนอ เราได้มี ความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าอนิมิตตเจโต สมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิต ทั้งปวง นี้เรียกว่าอนิมิตตเจโตสมาธิ เราก็เข้า อนิมิตต เจโตสมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำ ไว้ในใจซึ่งนิมิต ทั้งปวง เมื่อเราอยู่ ด้วยวิหารธรรมนี้ วิญญาณอันซ่านไปตามซึ่งอนิมิตย่อมมี

      ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะ โมคคัลลานะ เธออย่าประมาทอนิมิตตเจโตสมาธิ จงดำรงจิต ไว้ใน อนิมิตตเจโตสมาธิ จงกระทำจิตให้เป็นธรรม เอกผุดขึ้นในอนิมิตตเจโตสมาธิ จงตั้งจิตไว้ให้มั่น ในอนิมิตตเจโตสมาธิ สมัยต่อมาเรา เข้า อนิมิตตเจโต สมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง

      ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอัน พระศาสดาทรงอนุเคราะห์ แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่บุคคล เมื่อจะพูด ให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดา ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ ยิ่งใหญ่

------------------------------------------------------------------------------------------

43
พระโมคคัลลานะหายตัวไปแสดงธรรม ให้กับเทวดา ชั้นดาวดึงส์
(ย่อ)
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ มีศีลไม่ด่างพร้อย ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว เมื่อกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

            [๕๒๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ หายจากพระวิหารเชตวัน ไปปรากฏ ในดาวดึงส์ เทวโลก เหมือนบุรุษมีกำลังพึง เหยียด แขน ที่คู้ หรือพึงคู้ แขน ที่เหยียด ฉะนั้น

      ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๕๐๐ องค์ เข้าไปหา ท่านพระมหาโมค คัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่าน พระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้พูดกะท้าวสักกะจอมเทพว่า

       ดูกรจอมเทพ การถึง พระพุทธเจ้า เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึง พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก...การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนักเพราะเหตุ แห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์

        ท้าวสักกะ จอมเทพตรัสว่า ข้าแต่พระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึง พระพุทธเจ้า เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์ บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระธรรม เป็นสรณะดีนัก ...การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุ แห่งการถึงพระสงฆ์ เป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไปย่อม เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

------------------------------------------------------------------------------------------
44

ท้าวสักกะ พาเทวดาชั้นดาวดึงส์ นับหมื่นนับแสนเข้าหา พระโมคคัลลานะ เพื่อฟังธรรม

(ย่อ)
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ มีศีลไม่ด่างพร้อย ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว เมื่อกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

            [๕๒๕] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ กับเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ ๗๐๐ องค์ ฯลฯ ๘๐๐ องค์ ฯลฯ

            [๕๒๖] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ กับเทวดา ๘๔,๐๐๐ องค์ เข้าไป หาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่าน พระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ประทับ ยืน อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้พูดกะ ท้าวสักกะจอมเทพว่า

      ดูกรจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึง พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ...การถึงพระสงฆ์เป็น สรณะ ดีนัก เพราะเหตุแห่ง การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์

      ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึง พระพุทธเจ้า เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการ ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การถึง พระธรรม เป็นสรณะดีนัก .. การถึงพระสงฆ์ เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะสัตว์ บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์

...ฯลฯ...

------------------------------------------------------------------------------------------

45
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๓๙๑

วัจฉโคตรปริพาชก เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะ ถามโลกไม่เที่ยงหรือ โลกมีที่สุดหรือ (โมคคัลลานสูตร)

(ย่อ)
วัจฉโคตรปริพาชก เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะ ถามปัญหา
โลกไม่เที่ยงหรือ  โลกมีที่สุดหรือ
โลกไม่มีที่สุดหรือ ชีพก็อันนั้นหรือ
ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นหรือ
สัตว์ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกหรือ
สัตว์ตายแล้ว ย่อมไม่เกิดอีกหรือ
สัตว์ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีหรือ
สัตว์ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ

ม. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงพยากรณ์

ก็อะไรเล่าเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสมณโคดม เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว ไม่ทรงพยากรณ์
ก็เพราะพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น ย่อมตามเห็นจักษุว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็น ตัวตน ของเรา.... ส่วนพระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมทรงพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ย่อมทรงพิจารณา เห็นหู..จมูก.. ลิ้น.. กาย..ใจ ว่านั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา เพราะฉะนั้น เมื่อพระ ตถาคตถูกถามอย่างนั้นแล้ว จึงไม่ทรงพยากรณ์ อย่างนี้ ว่าโลกเที่ยงก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีก ก็หามิได้ก็ดี

            [๗๘๘] ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชก เข้าไปหาท่านพระมหาโมค คัลลานะ ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระมหา โมคคัลลานะว่า

            ดูกรท่านโมคคัลลานะ โลก เที่ยงหรือ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ตอบว่า ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงพยากรณ์

ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ โลกไม่เที่ยงหรือ
ม. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงพยากรณ์

ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ โลกมีที่สุดหรือ
ม. ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงพยากรณ์

ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ โลกไม่มีที่สุดหรือ
ม. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงพยากรณ์

ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ ชีพก็อันนั้นหรือ
ม. ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงพยากรณ์

ว. ดูกรโมคคัลลานะ ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นหรือ
ม. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงพยากรณ์

ว. ดูกรโมคคัลลานะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกหรือ
ม. ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงพยากรณ์

ว. ดูกรโมคคัลลานะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เกิดอีกหรือ
ม. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงพยากรณ์

ว. ดูกรโมคคัลลานะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่ อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีหรือ
ม. ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงพยากรณ์

ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ
ม. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์

            [๗๘๙] ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้พวก ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว พยากรณ์ อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอย่างอื่น สรีระก็เป็นอย่างอื่นบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย แล้วย่อมเกิดอีกบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เกิดอีกบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีก ก็หามิได้บ้าง

            ดูกรท่านโมคคัลลานะ ก็อะไรเล่าเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสมณโคดม เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว ไม่ทรงพยากรณ์ อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงก็ดี โลกไม่เที่ยงก็ดี โลกมีที่สุดก็ดี โลกไม่มีที่สุดก็ดี ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นก็ดี ชีพเป็นอย่างอื่นสรีระ ก็เป็นอย่างอื่น ก็ดีสัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้วย่ อมเกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้า แต่ตาย แล้ว ย่อมไม่เกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี

            [๗๙๐] ม. ดูกรวัจฉะ ก็เพราะพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น ย่อมตามเห็น จักษุว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นย่อม ตามเห็นหู .. จมูก... ลิ้น...กาย...ใจว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา เพราะเหตุ นั้น เมื่อพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น ถูกถามอย่างนั้นแล้ว จึงพยากรณ์ อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ไม่เกิดอีก ก็หามิได้บ้าง

            ดูกรวัจฉะ ส่วนพระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมทรงพิจารณา เห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ย่อมทรงพิจารณา เห็น หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจว่านั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา เพราะฉะนั้น เมื่อพระตถาคตถูกถามอย่างนั้นแล้ว จึงไม่ทรงพยากรณ์ อย่างนี้ ว่าโลกเที่ยงก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีก ก็หามิได้ก็ดี  





   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์