เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

พระมหาโมคคัลลานะ
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของพระโมคคัลลานะ
อัครสาวกเบื้องซ้าย เอตทัคคะด้านผู้มีฤทธ
M102
               ออกไปหน้าหลัก 2 of 8
  83 เรื่องราวสำคัญของ พระมหาโมคคัลลานะ จากพระไตรปิฎกฉบับหลวง คัดเฉพาะคำสอนจากพระโอษฐ์
  18. ทรงนิ่ง ไม่แสดงพระปาฏิโมกข์ เพราะบริษัทไม่บริสุทธิ์ (ปาติโมกขฐปนะขันธกะ เรื่องพระอานนทเถระ)
  19. เรื่องปาปภิกษุในอุโบสถ ถูกพระโมคคัลลานะไล่ถึง ๓ ครั้ง (หัวข้อประจำขันธกะ ขันธกะ แปลว่า การทำสังฆกรรม วัตรปฏิบัติ)
  20. ธรรมทำให้เป็นคนว่ายาก ๑๖ ประการ พระโมคคคัลลานะแสดงธรรม (๕. อนุมานสูตร)
  21. ธรรม ทำให้เป็นคนว่าง่าย ๑๖ ประการ พระโมคคคัลลานะแสดงธรรม (๕. อนุมานสูตร)
  22. การเทียบเคียงตนเอง ๑๖ ประการ พระโมคคคัลลานะแสดงธรรม (๕. อนุมานสูตร)
  23. การพิจารณาตนเอง ๑๖ ประการ พระโมคคคัลลานะแสดงธรรม (๕. อนุมานสูตร)
  24. ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเช่นไร การสนทนาธรรมขอมพระเถระเรื่อง ป่างาม (๒. มหาโคสิงคสาลสูตร)
       (24.1) ความเห็นพระอานนท์ (เน้นความเป็นพหูสูตร สั่งสมสุตตะ สดับให้มาก ทรงจำให้มาก ในธรรมที่งามในเบื้องต้น ท่ามกลางที่สุด)
       (24.2) ความเห็นพระเรวตะ (เน้นการหลีกเร้น ยินดีในความหลีกเร้น เข้าถึงเจโตสมถะ มีฌานอันไม่เหินห่าง)
       (24.3) ความเห็นพระอนุรุทธ (เน้นเป็นผู้มีทิพยจักษุ ย่อมตรวจดูโลกธาตุพันหนึ่ง เปรียบเหมือนยืนบนปราสาท แลดูมณฑลตั้งพันได้)
       (24.4) ความเห็นพระมหากัสสป (เน้นการอยู่ป่า สรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่า พอใจในความสันโดษ สงัด ไม่คลุกคลี ปราภความเพียร)
       (24.5) ความเห็นพระมหาโมคคัลลานะ (เน้นให้ภิกษุ 2 รูปไถ่ถามปัญหากันและกัน ในอภิธรรมกถา)
       (24.6) ความเห็นพระสารีบุตร (เน้นการอยู่ในวิหารสมาบัติ (ทำสมาธิ) ทั้งในเวลาเช้า เวลาเที่ยง และเวลาเย็น)
       (24.7) เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ (พระสารีบุตร นำคำตอบของภิกษุแต่ละรูป กล่าวต่อพระผู้มีพระภาค ซึ่งประองค์ได้ตรัสชม ดีละ ดีละ)
       (24.8) พระพุทธโอวาท ภิกษุในศาสนานี้ กลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังภัตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า...
 
 



18

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๘๐

ทรงนิ่ง ไม่แสดงพระปาฏิโมกข์ เพราะบริษัทไม่บริสุทธิ์ (ปาติโมกขฐปนะขันธกะ เรื่องพระอานนทเถระ)

(ย่อ)
ทรงนิ่ง ไม่แสดงพระปาฏิโมกข์ ตรัสกับอานนท์ว่า "เพราะบริษัทไม่บริสุทธิ์ " พระโมคคัลลานะ มนสิการกำหนดจิต เห็นภิกษุบางรูปเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก ประพฤติ ไม่สะอาด จึงกล่าวว่า “ลุกขึ้นเถิดท่าน พระผู้มีพระภาค ทอดพระเนตรเห็น(จิต) ท่านแล้ว. แต่ภิกษุรูปนั้นยังนิ่งเสีย แม้ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 พระโมคคัลลานะ จึงจับบุคคลนั้น ให้ออกไปนอก ซุ้มประตู ลงกลอน

         [๔๔๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ที่ปราสาท  ของ มิคารมารดาในบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ พระผู้มีพระภาค มีภิกษุสงฆ์แวดล้อมประทับนั่งอยู่ จึงท่านพระอานนท์ เมื่อล่วงเข้า ราตรี ปฐมยามผ่านไปแล้ว ลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีไปทาง พระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลว่า

พระพุทธเจ้าข้า ล่วงเข้าราตรีปฐม  ยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงพระปาติโมกข์ แก่ภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า เมื่อพระอานนท์ กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงนิ่งเสีย

         แม้ครั้งที่สอง ท่านพระอานนท์ เมื่อล่วงเข้าราตรี มัชฌิมยามผ่านไปแล้ว   ลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค แล้วกราบ ทูลว่า พระพุทธเจ้าข้าล่วงเข้าราตรี มัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นาน    แล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า

         แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคก็ทรงนิ่งเสีย

         แม้ครั้งที่สาม ท่านพระอานนท์ เมื่อล่วงเข้าราตรี ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว   อรุณขึ้นราตรีสว่างแล้ว จึงลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีไป ทางพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ล่วงเข้าราตรี ปัจฉิมยาม    ผ่านไปแล้ว อรุณขึ้นราตรีสว่างแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระ   ภาคทรงแสดงพระปาติโมกข์ แก่ภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า

         พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกรอานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์

         [๔๔๘] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ คิดว่า พระผู้มีพระภาคตรัส  อย่างนี้ว่า ดูกรอานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์ ทรงหมายถึงบุคคลไรหนอ

         ทีนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ มนสิการกำหนดจิต ภิกษุสงฆ์ทั้งหมด ด้วยจิต ได้เห็นบุคคลผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ  ปิดบังการกระทำ ไม่ใช่สมณะปฏิญาณว่า เป็นสมณะมิใช่พรหมจารี ปฏิญาณว่าเป็น พรหมจารี เน่าภายใน โชกชุ่ม ด้วยกิเลส ผู้เศร้าหมองนั้น นั่งอยู่ ณ ท่ามกลาง ภิกษุสงฆ์

         ครั้นแล้ว จึงเข้าไปหาบุคคลนั้น ได้กล่าวไว้ว่า ลุกขึ้นเถิดท่าน พระผู้มีพระภาค ทอดพระเนตรเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาส กับภิกษุทั้งหลาย แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กล่าวอย่างนี้แล้ว บุคคลนั้นก็ยังนิ่งเสีย

         แม้ครั้งที่สอง ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะบุคคลนั้นว่า ลุกขึ้น เถิดท่านพระผู้มีพระภาค ทอดพระเนตรเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาสกับภิกษุ ทั้งหลาย

         แม้ครั้งที่สอง บุคคลนั้นก็ยังนิ่งเสีย

แม้ครั้งที่สาม ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะบุคคลนั้นว่า ลุกขึ้น เถิดท่านพระผู้มีพระภาค ทอดพระเนตรเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาสกับภิกษุ ทั้งหลาย

         แม้ครั้งที่สาม บุคคลนั้นก็ยังนิ่งเสีย

         ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ จับบุคคลนั้นที่แขนให้ออกไปนอกซุ้ม  ประตูใส่กลอนแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บุคคล  นั้นข้าพระองค์ให้ออกไปแล้ว บริษัทบริสุทธิ์แล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดง พระปาติโมกข์แก่ ภิกษุทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า

         พระผู้มีพระภาคตรัสว่า น่าอัศจรรย์ โมคคัลลานะ ไม่เคยมี โมคคัลลานะ ถึงกับต้องจับแขน โมฆบุรุษนั้นจึงมาได้

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
19
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๒๐๓

รื่องปาปภิกษุในอุโบสถ ถูกไล่ ๓ ครั้ง (หัวข้อประจำขันธกะ)
(ขันธกะ แปลว่า การทำสังฆกรรม วัตรปฏิบัติ)

(ย่อ)
เรื่องปาปภิกษุในอุโบสถ ถูกไล่ ๓ ครั้ง ไม่ออกไป ถูกพระโมคคัลลานะฉุดออก เรื่องอัศจรรย์ ในศาสนาของพระชินะเจ้า เปรียบด้วยมหาสมุทร ตั้งอยู่ตามปกติ ไม่ล้นฝั่ง สงฆ์ย่อมขับไล่ บุคคลทุศีลออก

         [๕๑๒] เรื่องปาปภิกษุ ในอุโบสถ ถูกไล่ ๓ ครั้ง ไม่ออกไป ถูกพระโมค คัลลานะฉุดออก เรื่องอัศจรรย์ในศาสนา ของพระชินะเจ้า

ทรงเปรียบเทียบ มหาสมุทร คือ อนุปุพพสิกขา เปรียบด้วยมหาสมุทร อันลุ่มลึก โดยลำดับพระสาวก ไม่ละเมิดสิกขาบท เปรียบด้วยมหาสมุทร ตั้งอยู่ตาม ปกติ ไม่ล้นฝั่ง สงฆ์ย่อมขับไล่ บุคคลทุศีลออก เปรียบด้วยมหาสมุทร ซัดซากศพ ขึ้นฝั่งวรรณะ ๔ เหล่า บวชเป็นบรรพชิตแล้ว ละนาม และโคตรเดิม ดุจแม่น้ำใหญ่ ไหลไปสู่มหาสมุทรแล้ว ละนาม และ โคตรเดิม

         ภิกษุเป็นอันมากปรินิพพาน เปรียบด้วยน้ำไหล ไปเต็มมหาสมุทร พระธรรมวินัย มีวิมุตติรส รสเดียว เปรียบด้วยมหาสมุทร มีรสเค็มรสเดียว

พระธรรมวินัย มีรัตนะมาก เป็นที่อยู่ของพระอริยบุคคล ๘ จำพวก เปรียบด้วย มหาสมุทร เป็นที่อยู่ของหมู่สัตว์ แล้วยังคุณในพระศาสนาให้ดำรงอยู่

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
20
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๑๓๐

ธรรมทำให้เป็นคนว่ายาก (๕. อนุมานสูตร)

(ย่อ)
พระโมคคัลลานะ สาธยายธรรมให้กับภิกษุ ท.
เรื่อง ธรรม ๑๖ ข้อ ที่ทำให้ภิกษูเป็นคนว่ายาก

1.เป็นผู้มีความปรารถนาลามก
2. เป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น
3. เป็นคนมักโกรธ
4. ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ
5. มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ
6. เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ
7. ถูกฟ้องกลับโต้เถียง
8. ถูกฟ้องกลับรุกราน
9. ถูกฟ้องกลับปรักปรำโจทก์
10. ถูกฟ้องกลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน มักพูดนอกเรื่อง
11. ถูกฟ้องกลับไม่พอใจตอบในความประพฤติของโจทก์
12. เป็นคนลบหลู่ตีเสมอ
13. เป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่
14. เป็นคนโอ้อวด เจ้ามายา
15.เป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น
16.เป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ถือรั้น


[๒๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะ พำนักอยู่ ณ เภสกฬาวัน อันเป็นสถานที่ ให้อภัยแก่เนื้อ ตำบลสุงสุมารคิระ ภัคคชนบท ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายผู้มีอายุ ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่าน พระมหาโมคคัลลานะแล้ว

ธรรมทำให้เป็นคนว่ายาก

        [๒๒๒] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุปวารณาไว้ว่า ขอท่านจงว่ากล่าวข้าพเจ้าๆ เป็นผู้ควรที่ท่านจะว่ากล่าวได้ แต่ภิกษุนั้นเป็นคนว่ายาก ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก เป็นผู้ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพเมื่อเป็นเช่นนี้ เพื่อนพรหมจรรย์ต่างไม่สำคัญภิกษุนั้นว่า ควรว่ากล่าว ควรพร่ำสอน ทั้งไม่สำคัญว่า ควรถึงความไว้วางใจในบุคคลนั้นได้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายากเป็นไฉน?

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

      ๑. เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก

     ๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก

     ๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนมักโกรธ อันความโกรธครอบงำแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมักโกรธ อันความโกรธครอบงำแล้ว นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก

     ๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธ เป็นเหตุ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก

     ๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนมักโกรธ มักระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมักโกรธ มักระแวง เพราะความโกรธเป็นเหตุนี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก

      ๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจา ใกล้ต่อความโกรธ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก

     ๗. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก

     ๘. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก

     ๙. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรำโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรำโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก

     ๑๐. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่องแสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก

     ๑๑. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤตินี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้คนว่ายาก

     ๑๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนลบหลู่ตีเสมอ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนลบหลู่ ตีเสมอ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก

     ๑๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก

     ๑๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนโอ้อวด เจ้ามายา แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนโอ้อวด เจ้ามายา นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก

     ๑๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก

      ๑๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนถือแต่ความเห็น ของตนถือรั้น ถอนได้ยาก แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยาก นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก

     ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้เรียกว่า ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
21
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๑๓๒
- ๑๓๙

ธรรม ทำให้เป็นคนว่าง่าย (๕. อนุมานสูตร)

(ย่อ)
พระโมคคัลลานะ สาธยายธรรม ให้กับภิกษุ ท.
เรื่องธรรม ๑๖ ข้อ ทำให้เป็นคนว่าง่าย

1.ไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก
2. ไม่เป็นผู้ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
3. ไม่เป็นคนมักโกรธ
4. ไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ
5. ไม่ระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ
6. ไม่เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ
7. ไม่โต้เถียง เมื่อถูกฟ้อง
8. ไม่รุกราน เมื่อถูกฟ้อง
9. ไม่ปรักปรำโจทก์ เมื่อถูกปรักปรำ
10. ไม่เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง เมื่อถูกฟ้องกลับ
11. ไม่แสดงความไม่พอใจ ในความประพฤติของโจทก์
12. ไม่เป็นคนลบหลู่ตีเสมอ
13. ไม่เป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่
14. ไม่เป็นคนโอ้อวด เจ้ามายา
15. ไม่เป็นคนกระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น
16. ไม่เป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ไม่ถือรั้น

        [๒๒๓] ถ้าแม้ภิกษุไม่ปวารณาไว้ว่า ขอท่านจงว่ากล่าวข้าพเจ้าๆ เป็นผู้ควร ที่ท่านจะว่ากล่าวได้ แต่ภิกษุนั้นเป็นคนว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นคน ว่าง่าย เป็นผู้อดทนรับคำพร่ำสอนโดยเคารพ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพื่อนพรหมจรรย์ต่าง สำคัญ ภิกษุนั้นว่า ควรว่ากล่าวได้ควรพร่ำสอนได้ ทั้งสำคัญว่า ควรถึงความไว้วางใจ ในบุคคลนั้นได้

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย เป็นไฉน? ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

     ๑. ไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย

     ๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นผู้ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นผู้ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย

     ๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ อันความโกรธไม่ครอบงำแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ อันความโกรธไม่ครอบงำแล้ว นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย

     ๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุนี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย

     ๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย

     ๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่เปล่งวาจา ใกล้ต่อความโกรธ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย

      ๗. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่โต้เถียงโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่โต้เถียงโจทก์ นี้ก็เป็นธรรม ที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย

     ๘. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่รุกรานโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่รุกรานโจทก์ นี้ก็เป็นธรรม ที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย

     ๙. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่ปรักปรำโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่ปรักปรำโจทก์ นี้ก็เป็นธรรม ที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย

     ๑๐. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่องไม่แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย

     ๑๑. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง พอใจตอบในความประพฤติ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง พอใจตอบในความประพฤติ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย

     ๑๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนลบหลู่ ไม่ตีเสมอแม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนลบหลู่ ไม่ตีเสมอ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย

     ๑๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนริษยา ไม่เป็นคนตระหนี่แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนริษยา ไม่เป็นคนตระหนี่ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย

     ๑๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนโอ้อวด มิใช่เจ้ามายาแม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนโอ้อวด มิใช่เจ้ามายา นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย

     ๑๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนกระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่นแม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนกระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย

     ๑๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนถือแต่ความเห็นของตนไม่ถือรั้น ถอนได้ง่าย แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ไม่ถือรั้น ถอนได้ง่ายนี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย

     ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
22
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๑๓๒ - ๑๓๙

การเทียบเคียงตนเอง (๕. อนุมานสูตร)

(ย่อ)
พระโมคคัลลานะ สาธยายธรรมให้กับ ภิกษุ ท.
เรื่อง การเทียบเคียงตนเองในธรรม ๑๖ ข้อ
โดยใช้หลักการตาม ธรรม ทำให้เป็นคนว่าง่าย

        [๒๒๔] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมทั้ง ๑๖ ข้อนั้น ภิกษุพึงเทียบเคียง ตน ด้วยตนเองอย่างนี้ว่าบุคคลที่มีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนา
ลามก หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคน มีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามกบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่ พอใจของคนอื่น

        (๑) ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนมีความปรารถนาลามก ไม่ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก ถึงบุคคลที่ ยกตนข่มผู้อื่นก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคน ยกตนข่มผู้อื่น บ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น

        (๒) ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ถึงบุคคลที่เป็นคนมักโกรธ อันความโกรธครอบงำ ก็หาเป็นที่รัก ใคร่ พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนมักโกรธ อันความโกรธ ครอบงำบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น

       (๓) ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า จักไม่เป็นคน มักโกรธ ไม่ให้ความโกรธครอบงำ บุคคลที่เป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะ ความโกรธเป็นเหตุ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึง เป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่ พอใจของคนอื่น

       (๔) ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนมักโกรธไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ ถึงบุคคลที่เป็นคน มักโกรธ มัก ระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเรา จะพึง เป็นคนมักโกรธ มักระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุบ้างเล่า เราก็คงไม่เป็น ที่รักใคร่ พอใจของคนอื่น

      (๕) ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลายภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ ถึงบุคคลที่เป็น คนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หาก เรา จะพึงเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่ พอใจ ของคนอื่น

       (๖) ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ ถึงบุคคลที่ถูกบุคคล ผู้เป็นโจทก์ ฟ้องกลับโต้เถียงโจทก์ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเรา จะพึงถูกบุคคล ผู้เป็น โจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์บ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่ พอใจของคนอื่น

      (๗) ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราถูกบุคคล ผู้เป็นโจทก์ฟ้อง จักไม่โต้เถียงโจทก์ ถึงบุคคลที่ถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ ฟ้อง กลับ รุกรานโจทก์ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจ ของเราไม่ ก็หากเราจะพึงถูกบุคคล ผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์บ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น

      (๘) ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราถูกบุคคล ผู้เป็นโจทก์ฟ้อง จักไม่รุกรานโจทก์ ถึงบุคคลที่ถูกบุคคล ผู้เป็นโจทก์ ฟ้องกลับปรักปรำโจทก์ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงถูกบุคคล ผู้เป็นโจทก์ ฟ้อง กลับปรักปรำโจทก์บ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น

      (๙) ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราถูกบุคคล ผู้เป็นโจทก์ฟ้อง จักไม่ปรักปรำโจทก์ ถึงบุคคลที่ถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ ฟ้องกลับ เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธความมุ่งร้าย และความไม่ เชื่อฟังให้ปรากฏ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงถูก บุคคลผู้เป็น โจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่องแสดงความ โกรธ ความ มุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่ พอใจของคนอื่น

      (๑๐) ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราถูกบุคคล ผู้เป็นโจทก์ฟ้องจักไม่เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ ถึงบุคคลที่ถูก บุคคลผู้เป็น โจทก์ฟ้อง ไม่พอใจ ตอบในความประพฤติ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจ ของเราไม่ ก็หากเรา จะพึง ถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติ เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจ ของคนอื่น

      (๑๑) ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราถูก บุคคล ผู้เป็นโจทก์ฟ้อง พอใจตอบในความประพฤติ ถึงบุคคลที่เป็นคนลบหลู่ ตีเสมอ ก็หา เป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนลบหลู่ตีเสมอบ้าง เล่า เราคง ไม่เป็น ที่รักใคร่พอใจของคนอื่น

      (๑๒) ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจัก ไม่เป็น คนลบหลู่ ตีเสมอ ถึงบุคคลที่เป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่ ก็หาเป็น ที่รักใคร่ พอใจ ของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่บ้างเล่า เราคงไม่เป็น ที่รักใคร่ พอใจของคนอื่น

      (๑๓) ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็น คนริษยา ไม่เป็นคนตระหนี่ ถึงบุคคลที่เป็นคนโอ้อวด เจ้ามายา ก็หาเป็น ที่รักใคร่ พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนโอ้อวด เจ้ามายาบ้างเล่า เราคงไม่ เป็นที่ รักใคร่ พอใจของคนอื่น

      (๑๔) ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่มีมายา ถึงบุคคลที่เป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น นี้ก็หาเป็น ที่รักใคร่ พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่นบ้างเล่า เราคง ไม่เป็น ที่รักใคร่พอใจของคนอื่น

      (๑๕) ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนกระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น ถึงบุคคลที่ถือแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยาก ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนถือแต่ความเห็น ของตนถือรั้น ถอนได้ยากบ้างเล่าเราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น

      (๑๖) ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคน ถือแต่ความเห็นของตน ไม่ถือรั้น ถอนได้ง่ายดังนี้

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

23
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๑๓๒ - ๑๓๙

การพิจารณาตนเอง
(๕. อนุมานสูตร)

(ย่อ)
พระโมคคัลลานะ สาธยายธรรมให้กับภิกษุ ท. เรื่อง การพิจารณาตนเองโดยหลักการ แล้ว เช่นเดียวกับ
ธรรมทำให้เป็นคนว่าง่าย ๑๖ ประการ แต่ควรพยายามเพื่อจะละ อกุศลธรรม อันชั่วช้านั้น ภิกษุพึงอยู่ด้วยปีติ และปราโมทย์ นั้นทีเดียว หมั่นศึกษา ทั้งกลางวัน กลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย

        [๒๒๕] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมทั้ง ๑๖ ข้อนั้น ภิกษุพึงพิจารณาตน ด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนมีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนา ลามก หรือไม่?

        หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่ง ความปรารถนาลามกจริง ก็ควรพยายาม เพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราไม่ใช่คนมีความปรารถนาลามก ไม่ลุอำนาจ แห่งความ ปรารถนาลามก ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติ และปราโมทย์ นั้นทีเดียว หมั่นศึกษา ทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย

     อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตน ด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนยกตน ข่มผู้อื่น หรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนยกตนข่มผู้อื่นจริง ก็ควร พยายาม เพื่อที่จะละอกุศลธรรม อันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติ และปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้ งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย

     อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตน ด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ อันความโกรธครอบงำแล้วหรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ อันความโกรธครอบงำแล้วจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่าเราไม่เป็นคนมักโกรธ อันความโกรธไม่ครอบงำ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติ และปราโมทย์นั้นทีเดียวหมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย

     อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุหรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมัก โกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรม อันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษา ทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเอง อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุหรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคน มักโกรธ มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละ อกุศลธรรม อันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์ นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย

     อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณา ตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธหรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธจริง ก็ควรพยายาม เพื่อที่จะละอกุศลธรรม อันชั่วช้า นั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่าเราไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ต่อความ โกรธ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติ และปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวัน กลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย

     อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูก โจทก์ฟ้องกลับโต้เถียงโจทก์หรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลย ถูกโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์จริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละ อกุศลธรรม อันชั่วช้า นั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่กลับโต้เถียง โจทก์ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติ และปราโมทย์นั้นทีเดียวหมั่นศึกษา ทั้งกลางวัน กลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย

     อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลย ถูกโจทก์ ฟ้องกลับรุกรานโจทก์หรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลย ถูกโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์จริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรม อันชั่วช้า นั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่กลับรุกรานโจทก์ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติ และปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย

     อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตน ด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลย ถูกโจทก์ ฟ้องกลับปรักปรำโจทก์หรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลย ถูกโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรำโจทก์จริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรม อันชั่วช้า นั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่กลับปรักปรำ โจทก์ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติ และปราโมทย์ นั้นทีเดียวหมั่นศึกษาทั้งกลางวัน กลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย

     อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตน ด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลย ถูกโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟัง ให้ปรากฏหรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมา กลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดง ความ โกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟัง ให้ปรากฏจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะ ละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณา อยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ ฟ้อง ไม่เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน ไม่พูด นอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ ภิกษุนั้น พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษา ทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย

     อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตน ด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลย ถูกโจทก์ ฟ้องไม่พอใจตอบ ในความประพฤติหรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบ ในความ ประพฤติจริง ก็ควรพยายาม เพื่อที่จะละอกุศลธรรม ที่ชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้ อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลย ถูกโจทก์ฟ้อง พอใจตอบ ในความประพฤติ ภิกษุนั้นพึงอยู่ ด้วยปีติ และปราโมทย์ นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรม ทั้งหลาย

     อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตน ด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนลบหลู่ ตีเสมอหรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนลบหลู่ ตีเสมอจริง ก็ควรพยายาม เพื่อที่จะละอกุศลธรรม อันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนลบหลู่ ไม่ตีเสมอ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์ นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย

     อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตน ด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่หรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่ จริง ก็ควรพยายาม เพื่อที่จะละอกุศลธรรม อันชั่วช้านั้นเสียหากพิจารณา อยู่รู้อย่างนี้ ว่า เราไม่เป็นคนริษยา ไม่เป็นคนตระหนี่ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติ และปราโมทย์นั้น ทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

     อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตน ด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนโอ้อวด เจ้ามายาหรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนโอ้อวด เจ้ามายาจริง ก็ควร พยายาม เพื่อที่จะละอกุศลธรรม อันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ ว่าเราไม่ เป็นคนโอ้อวด ไม่เป็นคนเจ้ามายาภิกษุนั้น พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย

     อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนกระด้างดูหมิ่นผู้อื่นจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรม อันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนกระด้าง ไม่ดูหมิ่น ผู้อื่น ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติ และปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย

     อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตน ด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนถือเอาแต่ ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยากหรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่าเป็นคน ถือเอา แต่ความเห็นของตนถือรั้น ถอนได้ยากจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละ อกุศลธรรม อันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนถือเอาแต่ ความเห็นของตน ไม่ถือรั้น ถอนได้ง่าย ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์ นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากภิกษุพิจารณาอยู่ เห็นชัดอกุศลธรรมอันชั่วช้า เหล่านี้ ทั้งหมด ที่ยังละไม่ได้ในตน ภิกษุนั้นก็ควรพยายาม เพื่อที่จะละอกุศลธรรม อันชั่วช้าทั้งหมดเหล่านั้น หากจารณาอยู่ เห็นชัดอกุศลธรรมอันชั่วช้าทั้งหมดเหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติ และปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้ง กลางวัน กลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย

     ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อุปมาเหมือนสตรีหรือบุรุษ รุ่นกำดัด ชอบโอ่อ่าส่อง ดูเงาหน้าของตนในกระจกเงา หรือในภาชนะน้ำใสสะอาดบริสุทธิ์ ถ้าเห็นธุลีหรือ สิวบนในหน้านั้น ย่อมพยายามที่จะให้ธุลีหรือสิวนั้นหายไป หากไม่เห็นธุลีหรือ สิว บนใบหน้านั้น ก็จะรู้สึกพอใจว่า ช่างเป็นลาภของเรา ใบหน้าของเราบริสุทธิ์สะอาด ดังนี้ ฉันใด

แม้ภิกษุหากพิจารณาอยู่ เห็นชัดอกุศลธรรมอันชั่วช้าทั้งหมดเหล่านี้ ที่ยังละ ไม่ได้ในตน ภิกษุนั้นก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรม อันชั่วช้าทั้งหมด นั้นเสีย แต่ถ้าเมื่อพิจารณาอยู่ เห็นชัดอกุศลธรรมอันชั่วช้าทั้งหมด เหล่านี้ ที่ละได้ แล้ว ในตน ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวัน กลางคืนในกุศลธรรมทั้งหลาย ฉันนั้น นั่นแล

     ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวภาษิตดังนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดี ภาษิตของท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้วแล

จบ อนุมานสูตร ที่ ๕

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
24
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๒๘๐


การสนทนาธรรม
"ป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงามด้วยภิกษุเช่นไร"
(๒. มหาโคสิงคสาลสูตร)

(ย่อ)
พระผู้เถระผู้มีชื่อเสียงมากรูป คือ 1.พระสารีบุตร 2.พระมหาโมคัลลานะ 3. พระมหากัสสป 4.พระอนุรุทธ 5.พระเรวตะ 6.พระอานนท์ และพระสาวกผู้เถระ ซึ่งมีชื่อเสียงอื่นๆ ได้มาอยู่ พร้อมหน้ากัน เพื่อถกปัญหาธรรมที่ว่า... ” ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่ม กระจ่าง ไม้สาละบาน สะพรั่ง ทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงาม ด้วยภิกษุเห็นปานไร? (ป่างาม พึงเหมาะสมด้วยด้วยภิกษุเช่นไร)

ภิกษุเถระต่างแสดงความเห็นที่แตกต่างกัน จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค เพื่อขอคำตอบ... พระศาสดาฟังทัศนะของภิกษุแต่ละรูปแล้ว ทรงตรัสว่า ดีละ ดีละ (ทุกรูปตอบได้ดีหมด) แต่คำตอบของตถาคต มีดังนี้  ภิกษุในศาสนานี้ กลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังภัตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้าว่า จิตของเรายังไม่หมดความถือมั่น ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพียงใด เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้เพียงนั้น ดังนี้ ดูกรสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล...

**พระสูตรนี้แสดงถึงพระปัญญาของพระศาสดาว่าล้ำเลิศ เหนือกว่าภิกษุอรหันต์ อย่างเทียบ กันไม่ได้ คำว่า“ป่างาม พึงงามด้วยภิกษุเช่นไร” คำตอบที่ถูกต้องและครอบคลุมคำตอบ ของพระเถระทั้งหมด ก็คือ การเจริญอานาปานสติ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นจนสิ้นอาสวะ ภิกษุใด ที่ปฏิบัติเช่นนี้ ไม่ว่าจะอยู่ป่างามที่ใด ก็เหมาะสมกับป่านั้นๆเสมอ **
--------------------------------------------------------------------------------------------------------

        [๓๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวัน พร้อมด้วยพระสาวกผู้เถระ ซึ่งมีชื่อเสียงมากรูป คือ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระอนุรุทธ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และพระสาวกผู้เถระ ซึ่งมีชื่อเสียงอื่นๆ

     ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น เข้าไปหาท่าน พระมหากัสสป ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระมหากัสสปว่า มาไปกันเถิด ท่านกัสสป เราจักเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร เพื่อฟังธรรม ท่านพระมหากัสสป รับคำท่าน พระมหาโมคคัลลานะแล้ว

        ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป และท่านพระอนุรุทธ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร เพื่อฟังธรรม ท่านพระอานนท์ได้เห็น ท่านพระมหา โมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป และท่านพระอนุรุทธเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร เพื่อฟังธรรม

        ครั้นแล้ว จึงเข้าไปหาท่านพระเรวตะ แล้วกล่าวกะท่านพระเรวตะว่า ท่านเรวตะ ท่านสัปบุรุษพวกโน้น กำลังเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร เพื่อฟังธรรม มาไปกันเถิด ท่านเรวตะ เราจักเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร เพื่อฟังธรรม ท่านพระ เรวตะ รับคำท่านพระอานนท์แล้ว ลำดับนั้น ท่านพระเรวตะ และท่านพระอานนท์ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร เพื่อฟังธรรม

        [๓๗๐] ท่านพระสารีบุตร ได้เห็นท่านพระเรวตะ และท่านพระอานนท์กำลัง เดินมา แต่ไกลครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์จงมาเถิด ท่านอานนท์ ผู้เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค ผู้อยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค มาดีแล้ว

        ท่านอานนท์ ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบาน สะพรั่ง ทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านอานนท์ป่า โคสิงคสาลวัน จะพึงงาม ด้วยภิกษุเห็นปานไร?

(24.1) ความเห็นพระอานนท์
(พระอานนท์ เน้นให้ภิกษุ เป็นพหูสูตร สั่งสมสุตตะ สดับให้มาก ทรงจำให้มาก ในธรรมที่งามในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด แทงตลอดดีแล้ว)

     ท่านพระอานนท์ตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ เป็นพหูสูต เป็นผู้ ทรงสุตะสั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น อันภิกษุนั้น สดับมากแล้ว ทรงไว้แล้ว สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่ง ด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยความเห็น ภิกษุนั้นแสดงธรรมแก่บริษัท ๔ ด้วยบท และพยัญชนะอันราบเรียบ ไม่ขาดสาย เพื่อถอนเสียซึ่งอนุสัย

ท่านพระสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล

(24.2) ความเห็นพระเรวตะ
(พระเรวตะ เน้นการหลีกเร้น ยินดีในความหลีกเร้น เข้าถึงเจโตสมถะ มีฌานอันไม่เหินห่าง

[๓๗๑] .... ท่านพระเรวตะตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ เป็นผู้มีความหลีกเร้น เป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น ประกอบเนืองๆ ซึ่งเจโตสมถะอันเป็นภายใน มีฌานอันไม่ห่างเหินแล้ว ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล

(24.3) ความเห็นพระอนุรุทธ
(พระอนุรุทธะ เน้นความเป็นผู้มีทิพยจักษุ ย่อมตรวจดูโลกธาตุพันหนึ่ง เปรียบเหมือนยืนบน ปราสาท พึงแลดูมณฑลตั้งพันได้)

        [๓๗๒] ... ท่านอนุรุทธตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ ย่อมตรวจดู โลกพันหนึ่ง ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มี จักษุขึ้นปราสาท อันงดงามชั้นบน พึงแลดูมณฑลแห่งกงตั้งพันได้ ฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่ง ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของ มนุษย์ ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล

(24.4) ความเห็นพระมหากัสสป
(พระมหากัสสป เน้นการอยู่ป่า สรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่า พอใจในความสันโดษ สงัด ไม่คลุกคลี ปราภความเพียร ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ด้วยวิมุตติ และวิมุตติญาณ ทัสนะ)

        [๓๗๓] ....ท่านพระมหากัสสปตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ ตนเองอยู่ในป่า เป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งความเป็นผู้อยู่ในป่า เป็นวัตร ด้วยตนเองเที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งความเป็นผู้ เที่ยวบิณฑบาต เป็นวัตรด้วย ตนเองถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งความเป็นผู้ถือ ผ้าบังสุกุลเป็นวัตรด้วย ตนเองถือไตรจีวรเป็นวัตร และ กล่าวสรรเสริญ คุณแห่งความ เป็นผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตรด้วย ตนเองเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าวสรรเสริญ คุณ แห่งความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยด้วย ตนเองเป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งความสันโดษด้วย ตนเองเป็นผู้สงัด และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งความสงัดด้วย ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งความไม่คลุกคลีด้วย ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งการปรารภความเพียรด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งความถึงพร้อมด้วยศีลด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย สมาธิ และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งความถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วย ตนเองเป็นผู้ถึง พร้อม ด้วยปัญญา และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งความถึงพร้อมด้วย ปัญญาด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งความถึงพร้อมวิมุติด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย วิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งความ ถึงพร้อมด้วย วิมุตติญาณทัสสนะด้วย

ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล

(24.5) ความเห็นพระมหาโมคคัลลานะ
(พระโมคคัลลานะ เน้นให้ภิกษุ 2 รูปไถ่ถามปัญหากันและกัน ในอภิธรรมกถา)

        [๓๗๔] ....ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุ ๒ รูป ในพระศาสนานี้ กล่าวอภิธรรมกถา เธอทั้ง ๒ นั้น ถามกันและกัน ถามปัญหากันแล้ว ย่อมแก้กันเอง ไม่หยุดพักด้วย และธรรมกถาของเธอทั้ง ๒ นั้น ย่อมเป็นไปด้วย ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล

(24.6) ความเห็นพระสารีบุตร
(พระสารีบุตร เน้นการอยู่ในวิหารสมาบัติ (ทำสมาธิ) ทั้งในเวลาเช้า เวลาเที่ยง และเวลาเย็น)

        [๓๗๕] ....ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านโมคคัลลานะ ภิกษุในพระศาสนานี้ ยังจิตให้เป็น ไปในอำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต เธอหวังจะอยู่ด้วย วิหารสมาบัติใด ในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้น ได้ในเวลาเช้า

หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใด ในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้น ได้ในเวลาเที่ยง หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้น ได้ในเวลาเย็น เปรียบเหมือนผอบผ้า ของพระราชา หรือราชมหาอำมาตย์ ซึ่งเต็ม ด้วยผ้าที่ย้อมแล้วเป็นสีต่างๆพระราชา หรือราชมหาอำมาตย์นั้น หวังจะห่มคู่ผ้า ชนิดใด ในเวลาเช้า ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้น ได้ในเวลาเช้า หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใด ในเวลาเที่ยง ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้น ได้ในเวลาเที่ยง หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใด ในเวลาเย็น ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นได้ ในเวลาเย็น ฉันใด

        ภิกษุยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต เธอหวังจะ อยู่ด้วยวิหารสมาบัติใด ในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้น ได้ในเวลาเช้า หวังจะ อยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้น ได้ในเวลาเที่ยงหวัง จะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใด ในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเย็น ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านโมคคัลลานะ ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.

        [๓๗๖] ลำดับนั้น ท่านสารีบุตร ได้กล่าวกะท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ดังนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ปฏิภาณตามที่เป็นของตนๆ พวกเราทุกรูปพยากรณ์แล้ว มาไปกันเถิด พวกเราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ยังที่ประทับ ครั้นแล้ว จักกราบทูลเนื้อความนี้ แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค จักทรงพยากรณ์แก่พวกเราอย่างใด พวกเราจักทรงจำข้อความนั้นไว้อย่างนั้น. ท่านผู้มีอายุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว

(24.7) เข้าเฝ้าพระพุทธองค์
(พระสารีบุตร นำคำตอบของภิกษุแต่ละรูป กล่าวต่อพระผู้มีพระภาค ซึ่งประองค์ได้ตรัสชม ดีละ ดีละ ในคำตอบนั้นๆ)

        ลำดับนั้น ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วท่าน พระสารีบุตร ได้กราบทูลดังนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ เข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่เพื่อฟังธรรม ข้าพระองค์ได้เห็นท่าน พระเรวตะ และท่านพระอานนท์ กำลังเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่าน พระอานนท์ดังนี้ว่า

        ท่านอานนท์ จงมาเถิด ท่านอานนท์ผู้เป็นอุปัฏฐาก ของพระผู้มีพระภาค ผู้อยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค มาดีแล้ว ท่านอานนท์ ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่า รื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านอานนท์ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร?

        เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้วท่านพระอานนท์ ได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่าใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถพร้อม ทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น อันภิกษุ นั้น สดับมากแล้ว ทรงไว้แล้ว สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้ว ด้วยความเห็น ภิกษุนั้นแสดงธรรมแก่บริษัท ๔ ด้วยบทและพยัญชนะอันราบเรียบ ไม่ขาดสาย เพื่อถอนเสีย ซึ่งอนุสัยท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วย ภิกษุเห็นปานนี้แล

     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร

    (1)
อานนท์
เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่า อานนท์เป็น พหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง พยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง


ธรรมเห็นปานนั้น อันอานนท์นั้น สดับมากแล้ว ทรงไว้แล้วสั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่ง ด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วย ความเห็น อานนท์นั้น แสดงธรรมแก่บริษัท ๔ ด้วยบท และพยัญชนะอันราบเรียบ ไม่ขาดสาย เพื่อถอนเสียซึ่งอนุสัย

        [๓๗๗] พระพุทธเจ้าข้า เมื่อท่านพระอานนท์ กล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ ได้กล่าวกะท่านพระเรวตะดังนี้ว่า ท่านเรวตะ ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านอานนท์ พยากรณ์แล้ว เราขอถามท่านเรวตะในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่า รื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านเรวตะ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร?

เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระเรวตะ ได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ เป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้ว ในความหลีกเร้น ประกอบเนืองๆ ซึ่งเจโตสมถะอันเป็นภายใน มีฌานอันไม่เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงาม ด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล

     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร
     (2) เรวตะ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่า เรวตะ เป็นผู้มี ความหลีกเร้น เป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น ประกอบเนืองๆ ซึ่งเจโต สมถะอันเป็นภายใน มีฌานอันไม่เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร

        [๓๗๘] พระพุทธเจ้าข้า เมื่อท่านพระเรวตะ กล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้ กล่าวกะพระอนุรุทธดังนี้ว่า ท่านอนุรุทธ ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านเรวตะ พยากรณ์แล้ว เราขอถามท่านอนุรุทธในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่า รื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านอนุรุทธ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร?

        เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอนุรุทธได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่งด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีจักษุ ขึ้นปราสาทอันงดงามชั้นบน พึงแลดู มณฑล แห่งกงตั้งพันได้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่ง ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงาม ด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล

     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร
      (3)
อนุรุทธ
เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่า อนุรุทธ ย่อมตรวจดูโลกตั้งพัน ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.

        [๓๗๙] พระพุทธเจ้าข้า เมื่อท่านพระอนุรุทธ กล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้ กล่าวกะท่านพระมหากัสสปดังนี้ว่า ท่านกัสสป ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่าน พระอนุรุทธพยากรณ์แล้ว เราขอถามท่านมหากัสสปในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่างไม้สาละบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านกัสสป ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร?

เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านมหากัสสป ได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ ตนเองอยู่ในป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งความเป็นผู้อยู่ในป่าเป็นวัตรด้วย ตนเองเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าว สรรเสริญคุณ แห่งความเป็นผู้เที่ยว บิณฑบาต เป็นวัตรด้วย ตนเองถือผ้าบังสุกุล เป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือผ้าบังสุกุล เป็นวัตรด้วย ตนเอง เป็นผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งความเป็นผู้ถือไตรจีวร เป็นวัตร ด้วย ตนเองเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งความเป็นผู้มี ความปรารถนาน้อยด้วย ตนเองเป็นผู้สันโดษ ละกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งความ สันโดษด้วย ตนเองเป็นผู้สงัด และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งความสงัดด้วย ตนเอง เป็นผู้ไม่คลุกคลี และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วย ตนเองเป็นผู้ ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งการปรารภความเพียรด้วย ตนเองเป็น ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งความถึงพร้อมด้วยศีลด้วย ตนเองเป็น ผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งความถึงพร้อมด้วย สมาธิด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งความ ถึงพร้อมด้วย ปัญญาด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งความถึง พร้อมด้วยวิมุติ ด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย วิมุตติญาณทัสสะ และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งความถึง พร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วย ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล

      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร
      (4)
กัสสป เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้นด้วยว่า กัสสป ตนเอง เป็นผู้อยู่ในป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งความเป็นผู้อยู่ในป่าเป็นวัตรด้วย


ตนเองเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งความเป็นผู้เที่ยว บิณฑบาต เป็นวัตรด้วย ตนเองถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งความเป็นผู้ถือบังสุกุลเป็นวัตรด้วย ตนเองถือไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งความเป็นผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตร ด้วย ตนเองเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งความเป็นผู้มี ความปรารถนาน้อยด้วย ตนเองเป็นผู้ สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้สันโดษด้วย ตนเองเป็นผู้สงัด และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้สงัดด้วย ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วย ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งการปรารภความเพียรด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งความถึงพร้อมด้วยศีลด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย สมาธิ และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งความถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วย ตนเองเป็นผู้ถึง พร้อมด้วยปัญญา และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งความถึงพร้อมด้วย ปัญญาด้วย ตนเองเป็นถึงพร้อมด้วยวิมุติ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความ ถึงพร้อม ด้วยวิมุติด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย วิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งความ ถึงพร้อมด้วย วิมุตติญาณทัสสนะด้วย

        [๓๘๐] พระพุทธเจ้าข้า เมื่อท่านพระมหากัสสปกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ ได้ กล่าวกะท่านมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า

        ดูกรท่านโมคคัลลานะ ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านพระมหากัสสป พยากรณ์แล้ว เราจะขอถามท่านโมคคัลลานะในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ดูกรท่าน โมคคัลลานะป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร?

        เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้ตอบข้า พระองค์ ดังนี้ว่า

ดูกรท่านสารีบุตร ภิกษุ ๒ รูปในพระศาสนานี้ กล่าวอภิธรรมกถา เธอทั้ง ๒ นั้น ถามกันและกัน ถามปัญหากันแล้ว ย่อมแก้กันเอง ไม่หยุดพักด้วยและ ธรรมกถา ของเธอทั้ง ๒ นั้น ย่อมเป็นไปด้วย ดูกรท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วย ภิกษุเห็นปานนี้แล

      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร
       (5 ) โมคคัลลานะ เมื่อจะพยากรณ์ โดย ชอบพึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่า โมคคัลลานะ เป็นธรรมกถึก

        [๓๘๑] เมื่อท่านพระสารีบุตร กล่าวอย่างนั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ในลำดับต่อไป ข้าพระองค์ได้ กล่าวกะท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า

        ดูกรท่านสารีบุตร ปฏิภาณตามที่เป็นของตน เราทั้งหมดพยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราจะขอถามท่านสารีบุตร ในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรี แจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป

        ดูกรท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร?
        เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า

        ดูกรท่านโมคคัลลานะ ภิกษุในพระศาสนานี้ ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ และไม่ เป็นไปตามอำนาจของจิต เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วย วิหารสมาบัตินั้นได้ ในเวลาเช้า เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเที่ยง เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใด ในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเย็น

เปรียบเหมือนผอบผ้าของพระราชา หรือราชมหาอำมาตย์ ซึ่งเต็มด้วยผ้าที่ ย้อมเป็นสีต่างๆ พระราชา หรือ ราชมหาอำมาตย์นั้น หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลา เช้า ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นได้ในเวลาเช้า หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลาเที่ยง ก็ห่มคู่ผ้า ชนิดนั้น ได้ในเวลาเที่ยง หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลาเย็น ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้น ได้ในเวลาเย็น ฉันใด

        ภิกษุยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิตเธอหวังจะอยู่ ด้วย วิหารสมาบัติใด ในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเช้า เธอหวัง จะอยู่ ด้วยวิหารสมาบัติใด ในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ ในเวลาเที่ยง เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใด ในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ ในเวลาเย็น ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรท่านโมคคัลลานะ ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงาม ด้วยภิกษุ เห็นปานนี้แล

     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ โมคคัลลานะ
    (6) สารีบุตร เมื่อจะพยากรณ์ โดยชอบพึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่า สารีบุตร ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ และไม่เป็น ไปตามอำนาจของจิตเธอ หวังจะอยู่ด้วย วิหารสมาบัติ
ใดในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วย วิหารสมาบัตินั้น ได้ในเวลาเช้า เธอหวังจะอยู่ ด้วยวิหารสมาบัติใด ในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้น ได้ในเวลาเที่ยง เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใด ในเวลา เย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ ในเวลาเย็น.

(24.8) พระพุทธโอวาท ความเห็นของพระผู้มีพระภาคในเรื่อง ป่างาม

(ย่อ)
ภิกษุในศาสนานี้ กลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังภัตแล้ว นั่งคู้ บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรง สติมั่นเฉพาะหน้าว่า จิตของเรายังไม่หมดความถือมั่น ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพียงใด เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้เพียงนั้น ดังนี้ ดูกรสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงาม ด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล

        [๓๘๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า คำของใครหนอเป็นสุภาษิต?

     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร คำของพวกเธอทั้งหมด เป็นสุภาษิตโดย ปริยาย ก็แต่พวกเธอจงฟังคำของเรา คำถามว่าป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุ เห็นปานไรนั้น เราตอบว่า

        ดูกรสารีบุตร ภิกษุในศาสนานี้ กลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังภัตแล้ว นั่งคู้ บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้าว่า จิตของเรายังไม่หมดความถือมั่น ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพียงใด เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้เพียงนั้น ดังนี้ ดูกรสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.

     พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้แล้ว ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล

จบ มหาโคสิงคสาลสูตร ที่ ๒






   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์