เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

พระมหาโมคคัลลานะ
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของพระโมคคัลลานะ
อัครสาวกเบื้องซ้าย เอตทัคคะด้านผู้มีฤทธ
M103
               ออกไปหน้าหลัก 3 of 8
  83 เรื่องราวสำคัญของ พระมหาโมคคัลลานะ จากพระไตรปิฎกฉบับหลวง คัดเฉพาะคำสอนจากพระโอษฐ์
  25. ท้าวสักกะเข้าไปเยี่ยมพระมหาโมคคัลลานะ ที่ปรากฏตัวในชั้นดาวดึงส์ เพื่อทราบว่าท้าว ยินดี หรือไม่ยินดี ในภาษิตของตถาคต
  26. ท้าวสักกะ และท้าวเวสวัณ พาพระโมค เยี่ยมชมเวชยันตปราสาท (ปราสาท ๑๐๐ชั้น ที่เต็มไปด้วยนางอัปสร และเหล่าเทพธิดา)
  27. ความน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ตรัสกับเท้าสักกะ ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น เมื่อรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
  28. พวกเทพธิดาผู้บำเรอ (ชั้นดาวดึงส์) คิดว่าพระมหาโมคคัลลานะ เป็นศาสดาของท้าวสักกะ (จอมเทพ)
  29. เรื่องพระอาคันตุกะพูดเสียงดัง ทรงไล่ภิกษุของสารีบุตร กับของพระโมคให้ออกไป เพราะส่งเสียงดังเหมือนชาวประมงแย่งปลา
  30 พวกเจ้าศากยะ อาสาจะขออาราธนา(ขอร้อง)ต่อพระพุทธเจ้า ให้ทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ที่ถูกขับไล่ (๗.จาตุมสูตร)
  31. พรหม อาราธนาพระพุทธเจ้า (๗.จาตุมสูตร) ให้ทรงอนุเคราะห์ ภิกษุ ๕๐๐ รูปที่ถูกขับไล่ออกไป ว่าภิกษุเหล่านั้นบวชไม่ได้นาน
  32 ทรงเรียกพระสารีบุตรกับพระโมค-เข้าเฝ้า ถามว่าเมื่อเราประณามภิกษุของพวกเธอ และไล่ออกไปแล้ว เธอคิดอย่างไร (๗.จาตุมสูตร)
  33. พรหมเกิดทิฐิอันชั่วช้า คิดว่าสมณะหรือพราหมณ์ ไม่อาจมาถึงชั้นพรหมได้ (อปราทิฏฐิสูตรที่ ๕)
  34. พระโมคคัลลานะ ถามพรหมถึงทิฐิอันชั่วช้า (อปราทิฏฐิสูตรที่ ๕) เมื่อพรหมเห็นพระผู้มีพระภาคและอรหันต์อีกมาปรากฎ ถึงกับสลดใจ
  35. พรหมปาริสัชชะ เข้าหาพระมหาโมค- ถึงความมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เพราะได้วิชชา ๓ บรรลุอิทธิวิธีญาณ และฉลาดในเจโต
 
 


25

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๓๒๖

ท้าวสักกะเข้าไปเยี่ยมพระมหาโมคคัลลานะ

(ย่อ)
พระโมคคัลลานะ ได้หายตัวไปปรากฏในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ เพื่อต้องการทราบว่า ท้าวสักกะจอมเทพ หลังฟังภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ยินดี หรือไม่ยินดี เป็นประการใด เมื่อท้าวสักกะ ไปปรากฎในหมู่เทวดา ก็เห็นจอมเทพ กำลังอิ่มเอิบ พร้อมพรั่งบำเรออยู่ ด้วยทิพยดนตรีห้าร้อย ในสวนดอกบุณฑริก

        [๔๓๕] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ นั่งอยู่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ได้มีความดำริว่า ท้าวสักกะนั้น ทราบความพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงยินดี หรือว่าไม่ทราบก็ยินดีถ้ากระไร เราพึงรู้เรื่องท้าวสักกะ ทราบความพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงยินดี หรือว่าไม่ทราบแล้วก็ยินดี

        ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ ได้หายไปในปราสาท ของมิคาร มารดาในวิหารบุพพาราม ปรากฏในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ประหนึ่งว่าบุรุษ ที่กำลัง เหยียด แขนทึ่งอ ออกไป หรืองอแขนที่เหยียดเข้ามา ฉะนั้น

        สมัยนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ กำลังอิ่มเอิบ พร้อมพรั่งบำเรออยู่ ด้วยทิพยดนตรี ห้าร้อย ในสวนดอกบุณฑริกล้วน. ท้าวเธอได้เห็นท่านพระมหาโมคคัลลาน์ มาอยู่แต่ ที่ไกล จึงให้หยุดเสียงทิพยดนตรี ห้าร้อยไว้ แล้วก็เข้าไปหาท่านพระมหา โมคคัลลาน์ แล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระโมคคัลลาน์ ผู้นฤทุกข์ นิมนต์มาเถิด ท่านมาดี แล้ว นานแล้วท่านได้ทำปริยายเพื่อจะมาในที่นี้ นิมนต์นั่งเถิด อาสนะนี้แต่งตั้ง ไว้แล้ว

       ท่านพระมหาโมคคัลลาน์นั่งบนอาสนะที่แต่งไว้แล้ว. ส่วนท้าวสักกะจอมเทพ ก็ถืออาสนะต่ำแห่งหนึ่ง นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

        [๔๓๖] ท่านพระโมคคัลลาน์ได้ถาม ท้าวสักกะผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ว่า

       ดูกรท้าวโกสีย์
พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสถึงความน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นแห่ง ตัณหาโดยย่อแก่ท่านอย่างไร ขอโอกาสเถิด แม้ข้าพเจ้าจักขอมีส่วนเพื่อจะฟัง กถานั้น

     ท้าวสักกะตรัสว่า ข้าแต่ท่านโมคคัลลาน์ ข้าพเจ้ามีกิจมาก มีธุระที่จะต้องทำมาก ทั้งธุระส่วนตัว ทั้งธุระของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ พระภาษิตใดที่ข้าพเจ้าฟังแล้ว ลืมเสียเร็วพลัน พระภาษิตนั้น ท่านฟังดี เรียนดี ทำไว้ในใจดี ทรงไว้ดีแล้ว ข้าแต่ พระโมคคัลลาน์ เรื่องเคยมีมาแล้วสงคราม ระหว่างเทวดา และอสูรได้ประชิดกันแล้ว

        ในสงครามนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรแพ้ข้าพเจ้า ชนะเทวาสุรสงคราม เสร็จสิ้นแล้ว กลับจากสงครามนั้นแล้ว ให้สร้างเวชยันตปราสาท

        เวชยันตปราสาท มีร้อยชั้น ในชั้นหนึ่งๆ มีกูฏาคารเจ็ดร้อยๆ ในกูฏาคารแห่ง หนึ่งๆ มีนางอัปสรเจ็ดร้อยๆ นางอัปสรผู้หนึ่งๆ มีเทพธิดาผู้บำเรอเจ็ดร้อยๆ
(รวมๆแล้ว ในเวชยันตปราสาท มีกูฎาคาร ทั้งหมด 70,000 ห้อง ซึ่งเป็นที่อาศัยของ นางอัปสรจำนวน 700 และเทพธิดาอีก 49,000 ซึ่งเป็นเทพบำเรอรับใช้ของนางอัปสร)

        ข้าแต่ ท่านพระโมคคัลลาน์ ท่านปรารถนาเพื่อจะชมสถานที่น่ารื่นรมย์ แห่งเวชยันตปราสาท หรือไม่?

ท่านพระมหาโมคคัลลาน์รับด้วยดุษณีภาพ พระโมคคัลลาน์ยกย่องเวชยันตปราสาท

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
26
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๓๒๖

ท้าวสักกะ และท้าวเวสวัณ พาพระโมค เยี่ยมชมเวชยันตปราสาท(๑๐๐ชั้น)
(พระโมคคัลลาน์ยกย่องเวชยันตปราสาท)

(ย่อ)
ท้าวสักกะจอมเทพ์ ดูจะไม่สนใจที่จะสนทนาธรรม อ้างมีกิจธุระบ้าง ได้ชวนพระโมค เที่ยวชม เวชยันตปราสาท ชื่นชมว่าน่ารื่นรมณ์บ้าง เป็นการ โออวด พระโมคจึงบันดาลให้ ปราสาทสั่นสะท้าน เพื่อเตือนสติ

        [๔๓๗] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ และท้าวเวสวัณมหาราช นิมนต์ท่าน พระมหาโมคคัลลาน์ออกหน้าแล้ว ก็เข้าไปยังเวชยันตปราสาท

        พวกเทพธิดาผู้บำเรอของท้าวสักกะ เห็นท่านพระมหาโมคคัลลาน์มาอยู่ แต่ที่ไกล เกรงกลัวละอายอยู่ ก็เข้าสู่ห้องเล็กของตนๆ คล้ายกะว่าหญิงสะใภ้ เห็น พ่อผัวเข้า ก็เกรงกลัวละอายอยู่ ฉะนั้น.
(เวชยันตปราสาท คงไม่ต่างกับฮาเร็ม ของเทวดาชั้นดาวดึงส์)

        ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ และท้าวเวสวัณมหาราช เมื่อให้ท่านพระมหา โมคคัลลาน์เที่ยวเดินไปใน เวชยันตปราสาท ได้ตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลาน์ ขอท่านจงดูสถานที่น่ารื่นรมย์ แห่งเวชยันตปราสาท แม้นี้ ขอท่านจงดูสถานที่น่า รื่นรมย์แห่งเวชยันตปราสาทแม้นี้

     ท่านพระมหาโมคคัลลาน์กล่าวว่า สถานที่น่ารื่นรมย์ ของท่านท้าวโกสีนี้ ย่อมงดงาม เหมือนสถานที่ของ ผู้ที่ได้ทำบุญไว้ในปางก่อน แม้มนุษย์ทั้งหลาย เห็นสถานที่น่ารื่นรมย์ไหนๆ เข้าแล้วกล่าวกันว่า งามจริง ดุจสถานที่น่ารื่นรมย์ของ พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์

      ในขณะนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ ได้มีความดำริว่า ท้าวสักกะนี้เป็นผู้ ประมาท อยู่มากนัก ถ้ากระไร เราพึงให้ท้าวสักกะนี้สังเวชเถิด จึงบันดาล อิทธาภิสังขาร เอาหัวแม่เท้า กดเวชยันตปราสาทเขย่าให้สั่น สะท้าน หวั่นไหว

     ทันใดนั้นท้าวสักกะจอมเทพ ท้าวเวสวัณมหาราช และพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ มีความประหลาดมหัศจรรย์จิต กล่าวกันว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย นี่เป็นความ ประหลาด อัศจรรย์ พระสมณะมีฤทธิ์มาก อานุภาพมาก เอาหัวแม่เท้ากดทิพยพิภพ เขย่าให้สั่น สะท้าน หวั่นไหวได้

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
27
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๓๒๗

ความน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา

(ย่อ)
เมื่อท้าวสักกะรู้สึกสลดใจ ขนลุกแล้ว จึงสนใจที่จะฟังธรรม ท้าวสักกะเล่าว่า เมื่อครั้งเข้าเฝ้า พระผู้มีพระภาค ได้ทูลถามข้อปฏิบัติในการน้อมไปในธรรม เพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา ปลอดจากกิเลส

ทรงตรัสว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น เมื่อรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมพิจารณา เห็นความไม่เที่ยง ในสุข- ทุกขเวทนา และไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ย่อมเห็นความเบื่อหน่าย เห็นความดับ เห็นความ สละคืน ในเวทนาทั้งหลาย เห็นอย่างนี้แล้วย่อมไม่ยึดมั่น ในสิ่งใดๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งกลัว
ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว ทราบชัดว่าชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี

ด้วยข้อปฏิบัติเพียง เท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรม เป็นที่สิ้นแห่งตัณหา
มีความ สำเร็จล่วงส่วน ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารี ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย...ครั้งนั้น พระโมค ชื่นชม ยินดีในภาษิตของท้าวสักกะ(ที่ยังจดจำคำของคตาคตได้) จึงได้หายตัวไป


        [๔๓๘] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ทราบว่า ท้าวสักกะจอมเทพ มีความ สลดจิตขนลุกแล้ว จึงถามว่า ดูกรท้าวโกสีย์ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสความน้อมไป ในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหาโดยย่นย่ออย่างไร ขอโอกาสเถิด แม้ข้าพเจ้าจักขอ มีส่วนเพื่อฟังกถานั้น

       ท้าวสักกะจึงตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลาน์ ผู้นฤทุกข์ ข้าพเจ้าจะเล่า ถวาย ข้าพเจ้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้ว จึงได้ยืนอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง

        ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติ เพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรม เป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จ ล่วงส่วน มีความปลอดโปร่งจากกิเลส เป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารี ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้าพเจ้า ทูลถามอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

        ดูกรจอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนั้นภิกษุได้สดับแล้ว ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง

        ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงดังนั้นแล้ว เธอได้เสวยเวทนา อย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็น ความหน่าย พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ก็ไม่ยึดมั่นสิ่งอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาด หวั่น เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว และทราบชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ดังนี้

        ดูกรจอมเทพ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าน้อมไป แล้ว ในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่งจาก กิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วนเป็นผู้ ประเสริฐกว่าเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

        ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลาน์ พระผู้มีพระภาคได้ตรัส ความน้อมไปในธรรม เป็นที่สิ้นแห่งตัณหา โดยย่อแก่ข้าพเจ้าอย่างนี้แล.

       ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ ชื่นชมยินดีภาษิตของท้าวสักกะ แล้วได้หาย ไปในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ มาปรากฏที่ปราสาท ของมิคารมารดา ในวิหารบุพพาราม ประหนึ่งว่าบุรุษที่กำลังเหยียดแขน ที่งอออกไป หรืองอแขน ที่เหยียดเข้ามา ฉะนั้น

------------------------------------------------------------------------------

28
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๓๒๘

พวกเทพธิดาผู้บำเรอ คิดว่าพระโมคเป็นศาสดาของท้าวสักกะ

(ย่อ)
เทพธิดานางบำเรอของท้าวสักกะ ถามท้าวสักกะว่าสมณะนั้น (พระโมคคัลลานะ) เป็นศาสดา ของท้าวสักกะหรือ เพราะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ท้าวสักกะตอบว่า ไม่ใช่เป็นศาสดา แต่ เป็นสพรหมจารีของเรา เทพธิดาจึงคิดว่าศาสดาของพระโมค
คงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เป็นอัศจรรย์ เป็นแน่

     ครั้งนั้น พวกเทพธิดาผู้บำเรอของท้าวสักกะ จอมเทพ (ชั้นดาวดึงส์) เมื่อท่าน พระมหา โมคคัลลาน์หลีกไปแล้วไม่นาน ได้ทูลถามท้าวสักกะว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้นฤทุกข์ พระสมณะนั้น เป็นพระผู้มีพระภาค ผู้พระศาสดาของพระองค์หรือหนอ?

     ท้าวสักกะตรัสบอกว่า ดูกรเหล่าเทพธิดาผู้นฤทุกข์ พระสมณะนั้น ไม่ใช่พระผู้มี พระภาคผู้พระศาสดาของเรา เป็นท่านพระมหาโมคคัลลาน์ ผู้เป็นสพรหมจารี ของเรา

     พวกเทพธิดานั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นฤทุกข์ เป็นลาภของพระองค์ๆ ได้ดีแล้ว ที่ได้พระสมณะผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ เป็นสพรหมจารีของพระองค์ พระผู้มีพระภาคผู้ศาสดาของพระองค์ คงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากเป็นอัศจรรย์ เป็นแน่

        [๔๓๙] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ ประทับถวายอภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่าพระองค์ เป็นผู้ตรัสความน้อม ไปในธรรม เป็นที่สิ้นแห่งตัณหาโดยย่อ แก่เทพผู้มีศักดิ์มากผู้ใดผู้หนึ่งบ้างหรือหนอ?

     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมคคัลลาน์ เรารู้เฉพาะอยู่ จะเล่าให้ฟัง ท้าวสักกะ จอมเทพเข้ามาหาเรา อภิวาทแล้ว ได้ไปยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุ ชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้น แห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความ ปลอดโปร่ง จากกิเลส เป็นเครื่องประกอบ ล่วงส่วนเป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุด ล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

        ดูกรโมคคัลลาน์ เมื่อท้าวสักกะนั้น ถามอย่างนี้แล้ว เราบอกว่า ดูกรจอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่าธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนั้นภิกษุได้สดับแล้ว ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง

        ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความ หน่าย พิจารณาเห็นความดับพิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อ พิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งอะไรๆในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาด หวั่น เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตน ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้ มิได้มี ดังนี้

        ดูกรจอมเทพ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าน้อมไป แล้วในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่งจาก กิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ ประเสริฐกว่าเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรโมคคัลลาน์ เราจำได้อยู่ว่า เราเป็นผู้ กล่าว ความน้อมไปในธรรม เป็นที่สิ้นแห่งตัณหาโดยย่อ แก่ท้าวสักกะจอมเทพ อย่างนี้แล.

     พระผู้มีพระภาคตรัส พระพุทธพจน์นี้จบแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล

จบ จูฬตัณหาสังขยสูตร ที่ ๗

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
29
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๕๒

เรื่องพระอาคันตุกะพูดเสียงดัง (๗. จาตุมสูตร)

(ย่อ)
ภิกษุประมาณห้าร้อย มีพระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ เป็นหัวหน้า เดินทางมา เข้าเฝ้าฯ ได้ส่งเสียงดังเหมือนชาวประมงแย่งปลากัน
... ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจง พากันไป เราประณามพวกเธอ พวกเธอไม่ควรอยู่ในสำนักเรา (พระพุทธเจ้าขับไล่ให้ออกไป) ภิกษุเหล่านั้น ทำประทักษิณ เก็บอาสนะ ถือบาตรและจีวร แล้วหลีกไป


          [๑๘๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ อามลกีวัน ใกล้บ้านจาตุมา. ก็สมัยนั้น ภิกษุประมาณห้าร้อยรูป มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เป็นหัวหน้าไปถึง จาตุมคาม เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค

      ก็ภิกษุอาคันตุกะ เหล่านั้น ปราศรัยกับภิกษุเจ้าถิ่น จัดเสนาสนะ เก็บบาตรและ จีวร เป็นผู้มีเสียงสูง มีเสียงดัง. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกท่านพระอานนท์ มาว่า ดูกรอานนท์ ผู้ที่เสียงสูง เสียงดังนั้นเป็นใคร ราวกะชาวประมงแย่งปลากัน?

     ท่านพระอานนท์ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประมาณห้าร้อยนั้น มีพระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ เป็นหัวหน้า มาถึงจาตุมคาม เพื่อเฝ้า พระผู้มีพระภาค ภิกษุผู้อาคันตุกะเหล่านั้น ปราศรัยกับภิกษุเจ้าถิ่น จัดเสนาสนะ เก็บบาตรและจีวรอยู่ เป็นผู้มีเสียงสูงมีเสียงดัง

     ดูกรอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงไปเรียกพวกภิกษุ มาตามคำของเราว่า พระศาสดา ตรัสเรียกท่านทั้งหลาย. ท่านพระอานนท์ ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงเข้าไปหา ภิกษุ เหล่านั้นถึงที่พัก ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า พระศาสดาตรัสเรียกท่าน ทั้งหลาย

      ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคตรัส กะภิกษุเหล่านั้นว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมีเสียงสูง มีเสียงดังราวกะชาวประมง แย่งปลากัน เพราะเหตุอะไรหนอ?

     พวกภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประมาณห้าร้อยนั้น มีพระสารีบุตร และโมคคัลลานะ เป็นหัวหน้า มาถึงจาตุคาม เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ภิกษุผู้อาคันตุกะเหล่านี้นั้นปราศรัยกับภิกษุเจ้าถิ่น จัดเสนาสนะ เก็บบาตรและจีวรอยู่ จึงมีเสียงสูง เสียงดัง พระเจ้าข้า

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงพากันไป เราประณามพวกเธอ พวกเธอ ไม่ควรอยู่ ในสำนักเรา

      ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มี พระภาค ทำประทักษิณแล้ว เก็บอาสนะ ถือบาตรและจีวรหลีกไปแล้ว

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
30
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๕๓

พวกเจ้าศากยะ อาสาจะขออาราธนากับพระพุทธเจ้า
(๗. จาตุมสูตร)


(ย่อ)
พวกเจ้าศากยะ เห็นภิกษุที่ถูกขับไล่ มาแต่ไกล จึงอาสาจะเจรจากับพระพุทธเจ้าให้
ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ เหมือนที่พระผู้มีพระภาค ทรงอนุเคราะห์ ในกาลก่อนเถิด ภิกษุทั้งหลายยังเป็นผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ เมื่อภิกษุ เหล่านั้น ไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาค จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรปรวนไป เปรียบเหมือน เมื่อลูกโคอ่อน ไม่เห็นแม่ (แต่พระพุทธเจ้ายังนิ่ง)

           [๑๘๗] ก็สมัยนั้น พวกเจ้าศากยะ ชาวเมืองจาตุมาประชุมกันอยู่ที่เรือน รับแขก ด้วยกรณียะบางอย่าง. ได้เห็นภิกษุเหล่านั้นมาแต่ไกล ครั้นแล้ว จึงเข้าไป หาภิกษุ เหล่านั้น จนถึงที่ใกล้ ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูเถิดท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จะพากันไปไหนเล่า?

     ภ. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์ถูกพระผู้มีพระภาคทรงประณามแล้ว.

     ส. ข้าแต่ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลาย จงนั่งอยู่ครู่หนึ่ง แม้ไฉนข้าพเจ้าทั้งหลาย พึงอาจให้พระผู้มีพระภาคทรงเลื่อมใสได้. ภิกษุเหล่านั้น รับคำพวกเจ้าศากยะชาวเมืองจาตุมาแล้ว. ลำดับนั้น พวกศากยะชาวเมืองจาตุ มาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. แล้วกราบทูลว่า

      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ของพระผู้มีพระภาค จงชื่นชมกะภิกษุสงฆ์เถิด ขอพระผู้มีพระภาค จงรับสั่งกะ ภิกษุสงฆ์เถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ เหมือนที่พระผู้มีพระภาค ทรง อนุเคราะห์ในกาลก่อนเถิด

      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ มีอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้น ไม่ได้เฝ้าพระผู้มี พระภาค จะพึงมี ความน้อยใจ มีความแปรปรวนไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนเมื่อพืช ที่ยังอ่อนไม่ได้น้ำ จะพึงเป็นอย่างอื่น จะพึงแปรไป ฉันใด

      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ ภิกษุทั้งหลาย ที่ยังเป็นผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ มีอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้น ไม่ได้เฝ้าพระผู้มี พระภาค ก็ฉันนั้น จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรปรวนไป

      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนเมื่อลูกโคอ่อน ไม่เห็นแม่ จะพึงเป็น อย่างอื่น จะพึงแปรไปฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ ภิกษุทั้งหลาย ที่ยังเป็น ผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้มีอยู่ ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เฝ้า พระผู้มี พระภาค ก็ฉันนั้น จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรปรวนไป

      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงชื่นชมกะภิกษุสงฆ์เถิด ขอพระผู้มีพระภาค จงรับสั่งกะ ภิกษุสงฆ์เถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาค ทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ เหมือนที่ พระผู้มีพระภาค ทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในกาลก่อนเถิด

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
31
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๕๔

พรหม อาราธนาพระพุทธเจ้า (๗.จาตุมสูตร)

(ย่อ)
ท้าวสหัมบดีพรหม
หายตัวจากพรหมโลก มาปรากฎต่อหน้าพระพักตร์ เพื่อขอร้องให้ พ.อนุเคราะห์ ภิกษุ 500 รูปที่ถูกขับไล่ออกไป ว่าภิกษุเหล่านั้นบวชไม่นาน เหมือนพืช ที่ยังอ่อน... เปรียบเหมือน ลูกโคอ่อนไม่เห็นแม่ (แต่พระพุทธเจ้ายังนิ่ง)

            [๑๘๘] ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบพระพุทธดำริแห่งพระทัย ของพระผู้มีพระภาค ด้วยใจของตนแล้ว หายไปในพรหมโลก มาปรากฏตรง พระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขน ที่คู้ออก หรือคู้แขน ที่เหยียดเข้า ฉะนั้น

      ครั้นแล้ว ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประณมอัญชลี ไปทางที่พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรง ชื่นชม กะภิกษุสงฆ์เถิด ขอพระผู้มีพระภาค จงรับสั่งกะ ภิกษุสงฆ์เถิด

      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงอนุเคราะห์ ภิกษุสงฆ์ เหมือนที่พระผู้มีพระภาค ทรงอนุเคราะห์ ภิกษุสงฆ์ในกาลก่อนเถิด ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้

      ภิกษุทั้งหลายยังเป็นผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ มีอยู่ เมื่อภิกษุ เหล่านั้น ไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาค จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรปรวน ไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเปรียบเหมือนพืช ที่ยังอ่อน ไม่ได้น้ำ จะพึงเป็นอย่างอื่น จะพึงแปรไป ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้

      ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้มีอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เฝ้า พระผู้มีพระภาค ก็ฉันนั้น จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรปรวนไป

      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือน เมื่อลูกโคอ่อนไม่เห็นแม่ จะพึงเป็น อย่างอื่น จะพึงแปรไป ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ ภิกษุทั้งหลาย ที่ยัง เป็นผู้ใหม่บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ มีอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เฝ้า พระผู้มีพระภาค ก็ฉันนั้น จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรปรวนไป

      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงชื่นชม กะภิกษุสงฆ์เถิด ขอ พระผู้มีพระภาคจงรับสั่งกะภิกษุสงฆ์เถิด

      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ เหมือนที่ พระผู้มีพระภาค ทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ ในกาลก่อนเถิด.

      เจ้าศากยะชาวเมืองจาตุมา และท้าวสหัมบดีพรหม ได้สามารถทูลให้พระผู้มี พระภาค ทรงเลื่อมใส ด้วยคำวิงวอนเปรียบด้วย ข้าวกล้าอ่อน และด้วยคำวิงวอน เปรียบด้วย ลูกโคอ่อน ฉะนี้แล

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
32
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๕๕

พระผู้มีพระภาคเรียกพระสารีบุตร กับพระโมค-เข้าเฝ้า ทรงถามว่า เมื่อเราประณาม ภิกษุสงฆ์แล้ว เธอคิดอย่างไร
(๗.จาตุมสูตร)

(ย่อ)
พระผู้มีพระภาคเรียกพระสารีบุตร กับพระโมค-เข้าเฝ้า ทรงถามว่า
เมื่อเราประณาม ภิกษุสงฆ์ที่เป็นศิษย์ของพวกเธอแล้ว เธอคิดอย่างไร
   สารีบุตรกราบทูลว่า... บัดนี้พระผู้มีพระภาคจักทรงมีความขวนขวายน้อย ประกอบตามธรรม เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมอยู่ ข้าพระองค์ กับพระโมค ก็จักมีความ ขวนขวายน้อย ประกอบตามธรรมเป็นเครื่อง อยู่เป็นสุข ในทิฏฐธรรมอยู่ในบัดนี้.. จากนั้นทรง ถามพระโมค-ว่าคิดอย่างไร..
   โมคคัลลานะ.... บัดนี้พระผู้มีพระภาค จักทรงมีความขวนขวายน้อย ประกอบ ตามธรรม เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมอยู่ เรา และ ส. จักช่วยกันปกครอง ภิกษุสงฆ์ ในบัดนี้
   ดีละโมคคัลลานะ ความจริงเรา(ตถาคต) หรือสารีบุตร และโมคคัลลานะเท่านั้นพึง ปกครองภิกษุสงฆ์

        [๑๘๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด จงถือเอาบาตรและจีวรเถิด พระผู้มีพระภาค อันเจ้าศากยะชาวเมืองจาตุมา และท้าวสหัมบดีพรหม ทรงให้ เลื่อมใสแล้ว ด้วยคำวิงวอนเปรียบด้วยข้าวกล้าอ่อน และด้วยคำวิงวอน เปรียบด้วย ลูกโคอ่อน

      ภิกษุเหล่านั้นรับคำ ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว จึงลุกจากอาสนะ ถือบาตร และ จีวร เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

      พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งกับ ท่านพระสารีบุตรผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า

      ดูกรสารีบุตร เมื่อเราประณาม ภิกษุสงฆ์ แล้วจิตของเธอได้มีอย่างไร?

     ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาค ทรง ประณามภิกษุสงฆ์แล้ว จิตของข้าพระองค์ได้มีอย่างนี้ว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาค จักทรงมีความขวนขวายน้อย ประกอบตามธรรม เป็นเครื่องอยู่เป็นสุข ในทิฏฐธรรม อยู่ แม้เราทั้งหลายก็จักมีความขวนขวายน้อย ประกอบตามธรรมเป็นเครื่อง อยู่เป็น สุข ในทิฏฐธรรมอยู่ในบัดนี้

     ดูกรสารีบุตร เธอจงรอก่อน ดูกรสารีบุตร เธอจงรอก่อน ดูกรสารีบุตร เธออย่า พึงให้จิตเห็นปานนี้ เกิดขึ้นอีกเลย.

     ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกท่าน พระมหาโมคคัลลานะมาว่า

    ดูกรโมคคัลลานะ เมื่อเราประณาม ภิกษุสงฆ์แล้ว จิตของเธอได้มีอย่างไร?

     ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงประณามภิกษุสงฆ์ แล้ว จิตของข้าพระองค์ได้มีอย่างนี้ว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาค จักทรงมีความขวนขวายน้อย ประกอบตามธรรม เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมอยู่ เรา และ ท่านพระสารีบุตร จักช่วยกันปกครองภิกษุสงฆ์ในบัดนี้

      ดีละ โมคคัลลานะ ความจริงเรา หรือสารีบุตร และ โมคคัลลานะเท่านั้น พึงปกครองภิกษุสงฆ์

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
33

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๗๖

พรหมเกิดทิฐิอันชั่วช้า เห็นว่าสมณะหรือพราหมณ์ ไม่อาจมาถึงชั้นพรหมได้ (อปราทิฏฐิสูตรที่ ๕)

(ย่อ)
พรหมองค์หนึ่งได้เกิดทิฐิอันชั่วช้า คิดว่าจะไม่มีสมณะ หรือพราหมณ์ มาในชั้นพรหม โลก นี้ได้เลย ... เมื่อพระผู้มีพระภาค ทราบความคิดของพรหม ด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายไป ปรากฏในพรหมโลก พร้อมอรหันต์ผู้มีฤทธิ์อีก 4 รูป
ขึ้นไปนั่งขัดสมาธิอยู่เหนือพรหม (อรหันต์ 4 รูปได้แก่ พระโมคคัลลานะ พระมหากัปปินะ พระมหากัสสป พระอนุรุทธ)


        [๕๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

      ก็โดยสมัยนั้นแล พรหมองค์หนึ่ง ได้เกิดทิฐิอันชั่วช้า เห็นปานดังนี้ว่า สมณะ หรือพราหมณ์ ที่จะพึงมาในพรหมโลกนี้ได้ไม่มีเลย

           [๕๗๔] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงทราบความปริวิตกแห่งใจ ของ พรหมนั้น ด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายไปในพระวิหารเชตะวัน ปรากฏแล้วในพรหมโลก นั้นเปรียบเหมือนบุรุษ มีกำลังพึงเหยียดออก ซึ่งแขนที่คู้ไว้ หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขน ที่เหยียดออก ฉะนั้น

     ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับ นั่งขัดสมาธิ ในเวหาเบื้องบนของพรหมนั้น เข้า เตโชธาตุกสิณแล้ว

          [๕๗๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้มีความคิดเช่นนี้ว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ  

     ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้เห็นแล้วแลซึ่งพระผู้มีพระภาค ผู้ประทับนั่ง ขัดสมาธิ ในเวหาเบื้องบน ของพรหมนั้น เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว ด้วยจักษุเพียงดัง  ทิพย์อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ครั้นแล้วได้หายไปในพระวิหารเชตวัน ปรากแล้ว ในพรหมโลกนั้น ปานดังบุรุษมีกำลัง พึงเหยียดออก ซึ่งแขนที่คู้เข้า หรือพึงคู้ เข้า ซึ่งแขน ที่เหยียดออกแล้ว ฉะนั้น

      ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ อาศัยทิศบูรพา นั่งขัดสมาธิ ในเวหา เบื้องบนของพรหมนั้น (แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเข้าเตโชธาตุกสิณ แล้ว

          [๕๗๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป ได้มีความคิดนี้ว่า บัดนี้พระผู้มี พระภาค ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอแล ท่านพระมหากัสสป ได้เห็นแล้วแล ซึ่งพระผู้มี พระภาค ฯลฯ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ ฯลฯ ครั้นแล้วได้หายไปในพระวิหารเชตวัน ปรากฏแล้ว ในพรหมโลกนั้น ปานดังบุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น

      ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัสสป อาศัยทิศทักษิณ นั่งขัดสมาธิ ในเวหาส เบื้องบน ของพรหมนั้น (แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว

          [๕๗๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะ ได้มีความคิดนี้ว่า บัดนี้พระผู้มี พระภาคประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอแลฯ

      ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะ ได้เห็นพระผู้มีพระภาค ฯลฯ ด้วยจักษุเพียง ดังทิพย์ ครั้นแล้วได้หายไปในพระวิหารเชตะวัน ปรากฏแล้วในพรหมโลกนั้น ปานดัง บุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น

      ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะ อาศัยปัจฉิมทิศ นั่งขัดสมาธิในเวหาเบื้องบน พรหมนั้น (แต่)ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว

          [๕๗๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธ ได้มีความคิดนี้ว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอแล ท่านพระอนุรุทธได้เห็นแล้วแล ซึ่งพระผู้มีพระภาค ฯลฯ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ ครั้นแล้วได้หายไปในพระวิหารเชตวัน ปรากฏแล้วใน พรหมโลก นั้น ปานดังบุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น

      ลำดับนั้นแล ท่านพระอนุรุทธ อาศัยทิศอุดร นั่งขัดสมาธิในวิเวหาเบื้องบน ของ พรหมนั้น (แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
34
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๗๘

พระมหาโมคคัลลานะ ถามพรหมถึงทิฐิอันชั่วช้า

(ย่อ)
พระโมคคัลลานะ เป็นผู้ถามพรหมว่า ทิฐิก่อน
* ยังมีอยู่หรือไม่ พรหมตอบว่า ทิฐิ(อันชั่วช้า) นั้นไม่มีอีกแล้ว เพราะเห็นพระผู้มีพระภาค พร้อมอรหันต์อีก 4 รูป มาปรากฎ ที่ชั้นพรหมได้ *(จากเดิมที่เคยเชื่อว่าไม่มีสมณะหรือพราหมณ์คนไหนจะมาถึงชั้นพรหมได้)

        [๕๗๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะพรหมด้วย คาถา ว่าผู้มีอายุ ทิฐิในก่อนของท่าน แม้ในวันนี้ก็ยังมีแก่ท่านหรือ ท่านเห็นพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นไปล่วงวิเศษ ผู้เป็นเบื้องหน้าของสัตว์ในพรหมโลกหรือ

        [๕๘๐] พรหมนั้นตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ทิฐิในเก่าก่อน ของข้าพเจ้า มิได้มีแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าย่อมเห็นพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นไปล่วงวิเศษ ผู้เป็น เบื้องหน้า ของสัตว์ ในพรหมโลก ไฉนในวันนี้ ข้าพเจ้าจะพึงกล่าวว่า "เราเป็นผู้เที่ยง เป็นผู้ติดต่อกัน" ดังนี้เล่า

        [๕๘๑] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาค ยังพรหมนั้น ให้สลดใจแล้ว ได้หายไป ในพรหมโลกนั้น ปรากฏแล้วในพระวิหารเชตะวัน ปานดังบุรุษมีกำลัง พึงเหยียดออก ซึ่งแขนที่คู้เข้า หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนที่ได้เหยียดออกแล้ว ฉะนั้น

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
35
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๗๘

พรหมปาริสัชชะ เข้าหาพระมหาโมคคัลลานะ

(ย่อ)
พรหมปาริสัชชะ ถามว่าสาวกของพระผู้มีพระภาค มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เหมือนกับท่าน พระมหาโมค ท่านพระกัสสป ท่านพระกัปปินะ และท่านพระอนุรุทธะ อยู่หรือหนอ พระโมค-กล่าวด้วย คาถาว่า สาวกของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้วิชชา ๓ บรรลุอิทธิวิธีญาณ และฉลาดใน เจโตปริยญาณ หมดอาสวะ ไกลจากกิเลส มีอยู่มาก ดังนี้


        ลำดับนั้นแล พรหมได้เรียก พรหมปาริสัชชะ  องค์หนึ่งมาว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ท่านจงมา ท่านจงเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะ จนถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จงกล่าว กะท่าน พระมหาโมคคัลลานะอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ สาวกทั้งหลาย ของ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น แม้เหล่าอื่นซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากเหมือนกับท่าน พระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระกัสสป ท่านพระกัปปินะ และท่านพระอนุรุทธะ ผู้เจริญ ก็ยังมีอยู่หรือหนอแล

      พรหมปาริสัชชะ นั้นรับคำของพรหมนั้นว่า อย่างนั้นท่านผู้นิรทุกข์ แล้วหายไป ในพรหมโลกนั้น ปรากฏแล้วข้างหน้าท่าน พระมหาโมคคัลลานะ ปานดัง บุรุษมี กำลัง ฯลฯ ฉะนั้น

        [๕๘๒] ครั้งนั้นแล พรหมปาริสัชชะนั้น อภิวาทท่าน พระมหาโมคคัลลานะ แล้วได้ยืนอยู่ในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

      พรหมปาริสัชชะ นั้นยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กล่าวคำนี้กะท่าน พระมหา โมคคัลลานะว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น แม้เหล่าอื่น ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากเหมือนกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระกัสสป ท่านพระกัปปินะ และท่านพระอนุรุทธะก็ยังมีอยู่ หรือหนอ

        [๕๘๓] ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะพรหมปาริสัชชะ ด้วย คาถาว่า สาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้วิชชา ๓ บรรลุอิทธิวิธีญาณ และฉลาดในเจโตปริยญาณ หมดอาสวะ ไกลจากกิเลส มีอยู่มากดังนี้

        [๕๘๔] ลำดับนั้นแล พรหมปาริสัชชะนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของ ท่าน มหาโมคคัลลานะแล้ว เข้าไปหาพรหมนั้นถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะพรหม นั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระมหาโมคคัลลานะ กล่าวเช่นนี้ว่าสาวกทั้งหลายของ พระพุทธเจ้า ซึ่งได้วิชชา ๓ บรรลุอิทธิวิธีญาณ และฉลาดในเจโตปริยญาณ หมดอาสวะ ไกลจากกิเลส มีอยู่มาก ดังนี้

        [๕๘๕] พรหมปาริสัชชะได้กล่าวคำนี้แล้ว พรหมมีใจยินดีชื่นชมภาษิต ของ พรหมปาริสัชชะ นั้นแล

   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์