เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
เรื่องภิกษุพวกพระอัสสชิ และ พระปุนัพพสุกะ (ประพฤติชั่วช้า ประพฤติอนาจาร) 1330
 

(โดยย่อ)

ภิกษุของพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ เป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุ อลัชชี ชั่วช้า ประพฤติอนาจาร ไม่ตั้งมั่นในธรรมวินัย ประพฤติผิดวินัยหลายปราการ

พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ พระสารีบุตร กับ พระโมคคัลลานะ ทำปัพพาชนียกรรม (ขับออกจากหมู่สงฆ์)

(พระสูตรนี้เป็นเรื่องพระธรรมวินัย)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑ วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้าที่ ๗๒๙ - ๗๓๒

สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๓

เรื่องภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ


        [๖๑๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอาราม ของอนาถบิณฑิกะคหบดี เขตพระนครสาวัตถี

ครั้งนั้น ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ เป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุ อลัชชี ชั่วช้า

ภิกษุพวกนั้นประพฤติอนาจาร เห็นปานดังนี้ คือ

ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง
รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง
เก็บดอกไม้เองบ้างใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง
ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง
ทำมาลัยต่อก้านเองบ้างใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำดอกไม้แผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง

ซึ่งมาลัยต่อก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง
ซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง
ซึ่งดอกไม้ช่อ นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง
ซึ่งดอกไม้พุ่ม นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง
ซึ่งดอกไม้เทริดนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง
ซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง
ซึ่งดอกไม้แผงสำหรับประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุลกุมารี เพื่อสะใภ้แห่งสกุล เพื่อกุลทาสี

ภิกษุพวกนั้น ฉันอาหารในภาชนะอันเดียวกันบ้าง
ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง
นั่งบนอาสนะอันเดียวกันบ้าง
นอนบนเตียงอันเดียวกันบ้าง
นอนร่วมเครื่องลาดอันเดียวกันบ้าง

นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง
นอนร่วมเครื่องลาด และคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้าง กับกุลสตรี กุลธิดา กุลกุมารี สะใภ้แห่งสกุล กุลทาสี

ฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้บ้าง

ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง
เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำกับ หญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง
ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง  เต้นรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง
ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง
ประโคมกับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง
ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง ขับร้องกับหญิงประโคมบ้าง
ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง
ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง

ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง
เล่นหมากรุกแถวละแปดตาบ้าง เล่น-หมากรุกแถวละสิบตาบ้าง
เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง
เล่นโยนห่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง
เล่นฟาดให้เป็นรูปต่างๆ บ้าง เล่นสะกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อยๆ
บ้าง
เล่นหกคะเมนบ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยไม้ไบ้บ้าง เล่นรถน้อยๆ บ้าง
เล่นธนูน้อยๆ บ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง หัดขี่ช้างบ้าง

หัดขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง
หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่งผลัดช้างบ้าง วิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง
วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวกันบ้าง ผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง
ปล้ำกันบ้าง ชกมวยกันบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ณ กลางสถานเต้นรำแล้ว
พูดกับหญิงฟ้อนรำอย่างนี้ว่า น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำ ณ ที่นี้ ดังนี้บ้าง
ให้การคำนับบ้าง ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง

        [๖๑๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาในแคว้นกาสี เดินทางไป พระนครสาวัตถีเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึง ชนบทกิฏาคีรี แล้ว ครั้นเวลาเช้า ภิกษุนั้น ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาต ยังชนบทกิฏาคีรี มีอาการเดินไป ถอยกลับ แลเหลียว เหยียดแขนคู้แขน น่าเลื่อมใส มีจักษุทอดลง สมบูรณ์ด้วย อิริยาบถ

        คนทั้งหลายเห็นภิกษุรูปนั้นแล้ว พูดอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปนี้เป็นใคร ดูคล้ายคน ไม่ค่อยมีกำลัง เหมือนคนอ่อนแอ เหมือนคนมีหน้าสยิ้ว ใครเล่าจักถวายบิณฑะ แก่ท่าน ผู้เข้าไปเที่ยวบิณฑบาตรูปนี้

        ส่วนพระผู้เป็นเจ้าเหล่าพระอัสสชิ และ พระปุนัพพสุกะ ของพวกเรา เป็นผู้อ่อนโยน พูดไพเราะ อ่อนหวาน ยิ้มแย้มก่อน มักพูดว่า มาเถิด มาดีแล้ว มีหน้าไม่สยิ้ว มีหน้าชื่นบานมักพูดก่อน ใครๆ ก็ต้องถวาย บิณฑะแก่ท่านเหล่านั้น

        อุบาสกคนหนึ่ง ได้แลเห็นภิกษุรูปนั้น กำลังเที่ยวบิณฑบาต อยู่ในชนบท กิฏาคีรี ครั้นแล้วจึงเข้าไปหาภิกษุนั้น กราบเรียนถามภิกษุรูปนั้นว่า พระคุณเจ้าได้ บิณฑะบ้างไหม ขอรับ

        ภิกษุรูปนั้นตอบว่า ยังไม่ได้บิณฑะเลยจ้ะ (ยังไม่ได้บิณฑบาต)

        อุบาสกกล่าวอาราธนาว่า นิมนต์ไปเรือนผมเถิด ขอรับ แล้วนำภิกษุนั้นไปเรือน นิมนต์ให้ฉันแล้ว ถามว่า พระคุณเจ้าจักไปที่ไหน ขอรับ
        ภิ. อาตมาจักไปพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค
        อุ. ถ้าเช่นนั้น ขอพระคุณเจ้า จงกราบถวายบังคมพระบาท ของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า และขอจงกราบทูล ตามถ้อยคำของกระผมอ ย่างนี้ด้วยขอรับว่า พระพุทธเจ้าข้าวัดในชนบทกิฏาคีรีโทรม

ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ เป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุอลัชชี เลวทราม พวกเธอประพฤติอนาจารเห็นปานดั่งนี้ คือ

ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง
รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง

เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้างร้อยกรองดอกไม้เอง
ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง
ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง
ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ...

ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง เมื่อก่อนชาวบ้านยังมีศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้ เขาไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใสแล้ว แม้ทานประจำของสงฆ์ก่อนๆ บัดนี้ทายกทายิกา ได้ตัดขาดแล้ว ภิกษุมีศีลเป็นที่รักย่อมหลีกเลี่ยงไป ภิกษุเลวทรามอยู่ครอง พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้า

ขอประทานพระวโรกาส พระผู้มีพระภาค พึงส่งภิกษุทั้งหลาย ไปสู่ชนบทกิฏาคีรี เพื่อวัดชนบทกิฏาคีรีนี้จะพึงตั้งมั่นอยู่

        ภิกษุนั้นรับคำของอุบาสกนั้นแล้ว หลีกไปโดยหนทาง อันจะไปสู่พระนคร สาวัตถี ถึงพระนครสาวัตถี พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี โดยลำดับ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง.

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑ วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้าที่ ๗๒๙
- ๗๓๒

พุทธประเพณี

        [๖๑๖] อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัย กับ พระอาคันตุกะ ทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระพุทธเจ้าทรงปราศรัย



        ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูกรภิกษุ เธอยังพอทนอยู่ ดอกหรือ ยังพอครองอยู่ดอกหรือ เธอเดินทางมาเหนื่อยน้อยหรือ ก็นี่เธอมาจาก ไหนเล่า?

        ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้ายังพอทนอยู่ได้ ยังพอครองอยู่ได้ พระพุทธเจ้าข้า และข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาลำบากเล็กน้อย ข้าพระพุทธเจ้า จำพรรษาในแคว้นกาสีแล้ว เมื่อจะมายังพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ผ่านชนบทกิฏาคีรี พระพุทธเจ้าข้า

ครั้นเวลาเช้าข้าพระพุทธเจ้า ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาต ยังชนบทกิฏาคีรี พระพุทธเจ้าข้า อุบาสกคนหนึ่ง ได้เห็นข้าพระพุทธเจ้า กำลังเที่ยว บิณฑบาตอยู่ในชนบทกิฏาคีรี  

ครั้นแล้วได้เข้าไปหาข้าพระพุทธเจ้า กราบไหว้ ข้าพระพุทธเจ้าถามว่า ท่านได้บิณฑะ บ้างไหมขอรับ ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่า ยังไม่ได้บิณฑะ เลยจ้ะ เขาพูดว่า นิมนต์ไปเรือนผมเถิด ขอรับ แล้วนำข้าพระพุทธเจ้า ไปเรือน ให้ฉันแล้ว ถามว่า พระคุณเจ้าจักไปที่ไหน ขอรับ

ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่า จักไปพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคจ้ะ เขาพูดว่า ท่านขอรับ ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงกราบถวายบังคมพระบาท ของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า และขอจง กราบทูลตามถ้อยคำของกระผมอย่างนี้ว่า


ทรงสอบถามภิกษุสงฆ์

        [๖๑๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ เป็นเจ้าถิ่น ในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุอลัชชี เลวทราม ประพฤติอนาจารเห็นปานดั่งนี้

คือ

ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง
รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง


เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง
ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง
ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำดอกไม้แผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง

... ประพฤติอนาจารต่างๆ บ้าง เมื่อก่อนชาวบ้านยังมีศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้เขา ไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใสแล้ว แม้ทานประจำของสงฆ์ก่อนๆ

บัดนี้ทายกทายิกา ได้ตัดขาดแล้วภิกษุ มีศีลเป็นที่รัก ย่อมหลีกเลี่ยงไป ภิกษุเลวทราม อยู่ครอง ดังนี้ จริงหรือ ?

        ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า (ภิกษุเหล่านั้นยอมรับว่าทำผิดพระวินัย)

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑ วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้าที่ ๗๒๙ - ๗๓๒

พระพุทธเจ้าทรงติเตียน

        พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของ ภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร  ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ.

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ประพฤติอนาจาร เห็นปานดั่งนี้ คือ

ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง
รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง
เก็บดอกไม้เองบ้างใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง
ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง
ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำดอกไม้แผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
พวกเธอนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง
ซึ่งมาลัยต่อก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง
ซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง
ซึ่งดอกไม้ช่อ นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง
ซึ่งดอกไม้พุ่ม นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง
ซึ่งดอกไม้เทริด นำไปเองบ้างใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง
ซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง
ซึ่งดอกไม้แผง สำหรับประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุลกุมารี เพื่อสะใภ้แห่งสกุล เพื่อกุลทาสี

พวกเธอฉันอาหารในภาชนะอันเดียวกันบ้าง
ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง
นั่งบนอาสนะอันเดียวกันบ้าง
นอนบนเตียงอันเดียวกันบ้าง
นอนร่วมเครื่องลาดอันเดียวกันบ้าง
นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง
นอนร่วมเครื่องลาด และคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้าง
กับกุลสตรี กุลธิดา กุลกุมารี สะใภ้แห่งสกุลกุลทาสี

ฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง
ทัดทรงดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้บ้าง

ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง
ฟ้อนรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง

ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้นรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง
ฟ้อนรำกับหญิง ขับร้องบ้าง ขับร้องกับหญิง ขับร้องบ้าง

ประโคมกับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง
ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง ขับร้องกับหญิงประโคมบ้าง

ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง
ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง

ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้า งเต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง
เล่นหมากรุกแถวละแปดตาบ้าง เล่นหมากรุกแถวละสิบตาบ้าง
เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง
เล่นโยนห่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาด ให้เป็นรูปต่างๆ บ้าง
เล่นสะกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อยๆ บ้าง
เล่นหกคะเมนบ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง
เล่นรถน้อยๆ บ้าง เล่นธนูน้อยๆ บ้างเล่นเขียนทายบ้าง
เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง
หัดขี่ช้างบ้าง หัดขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง
หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่งผลัดช้างบ้าง วิ่งผลัดม้าบ้าง
วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวกันบ้าง
ผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง ปล้ำกันบ้าง ชกมวยกันบ้าง
ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ณ กลางสถานเต้นรำ แล้วพูดกับหญิงฟ้อนรำ อย่างนี้ว่า น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำ ณ ที่นี้ดั่งนี้บ้าง ให้การคำนับบ้างประพฤติ อนาจารมีอย่างต่างๆ บ้างเล่า.

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของ ภิกษุโมฆบุรุษเหล่า นั้น นั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชน ที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความไม่ เลื่อมใส ของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่น ของชนบางพวก ที่เลื่อมใสแล้ว.






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์