เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 สังโยชน์สิบ : สังโยชน์เบื้องต่ำ5 เบื้องสูง5 กิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ 318  
 
 


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] หน้า : ๒๑

สังโยชนสูตร ว่าด้วยสังโยชน์

             [๑๓] ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ (ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์) ๑๐ ประการนี้ สังโยชน์ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

โอรัมภาคิยสังโยชน์
(สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการ
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการ


โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)
๔. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๕. พยาบาท (ความคิดร้าย)

อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน)
๒. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน)
๓. มานะ (ความถือตัว)
๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๕. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง)

ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๑๐ ประการนี้แล

---------------------------------------------------
พระโสดาบัน - ละสังโยชน์ 3 ข้อ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
พระสกทาคามี - ละ 3 ข้อ และข้อ 4 - 5 คือ กามราคะ และปฏิฆะ ให้เบาบางลง
พระอนาคามี - ละสังโยชน์ 5 ข้อแรกได้หมด
พระอรหันต - ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค หน้าที่ ๑๕๗

สังโยชน์ ๕ (เบื้องสูง)

        [๖๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน?  คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา

สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ ความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็น ส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล

        [๖๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่า ไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ก็ย่อมเป็นผู้น้อม ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน

ก็ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไร ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่ นิพพาน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัด ราคะ เป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อม ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
  (พึงขยายความบาลี ตั้งแต่การกำจัดราคะเป็นที่สุดเช่นนี้ไปจนถึงการแสวงหา)

        [๖๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็น ไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์อันเป็น ส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ ความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะ เป็นที่สุด มี อันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอัน กำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล.

------------------------------------------------------------------------------

ฉบับหลวง  เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค หน้าที่ ๑๕๙

โอฆะ ๔ (เจริญโพชฌงค์ ๗ เพื่อละสังโยชน์)

        [๖๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอฆะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน? ได้แก่ โอฆะคือกาม โอฆะคือภพ โอฆะ คือทิฏฐิ โอฆะ คืออวิชชา (พึงขยายเนื้อความ ดังที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง)

        [๖๗๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์ อันเป็นส่วน เบื้องสูง ๕ ประการนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่ง สังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

(๑) ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

(๒) ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด

(๓) ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด

(๔) ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปเพื่อละซึ่ง สังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล.


โพชฌงค์ ๗ คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์
๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์

 


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์