เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 มหาจัตตารีสกสูตร มรรคแปดสำหรับอริยะ(อนาสวะ) กับ แบบปุถุชน(สาสวะ) 420
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

มรรคแปด แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือแบบ

สาสวะ เป็น สัมมาทิฐิของ ภิกษุผู้ยังไม่เป็นอริยะ เรียกว่าเป็น มิจฉาทิฐิที่เป็น สาสวะ คือยังไม่ ประเสริฐ ยังหวังบุญ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลแก่ขันธ์ เป็นสัมมาทิฐิเบื้องต้น จิตยังแสวงหาที่พึ่ง จึงเชื่อการบวงสรวง เชื่อเรื่องทาน โลกนี้โลกหน้า ทำบญแล้วไปเกิดเป็นเทวดา

อนาสวะ เป็น สัมมาทิฐิของ ภิกษุผู้อริยะ เรียกว่าเป็น สัมมาทิฐิ ที่เป็น อนาสวะ เป็นโลกุตตระ เมื่อปฏิบัติ ข้อใดแล้ว มรรคองค์อื่นๆที่เหลืออีก ๗ ก็เป็นบริวารห้อมล้อม เช่นสัมมาสมาธิเป็น องค์มรรค (ประธาน) ก็จะห้อมล้อมคล้อยตามด้วยมรรคที่เหลือ อีก ๗ องค์

สัมมาสมาธิ ของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมา กัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์ เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วย องค์ ๗ เหล่านี้แลเรียกว่า สัมมาสมาธิ ของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้างฯ

บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิ ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิ ย่อมเป็นประธาน อย่างไร คือ ภิกษุ (ผู้เป็นอริยะ)
   รู้จัก มิจฉาทิฐิ ว่ามิจฉาทิฐิ
   รู้จัก สัมมาทิฐิ ว่าสัมมาทิฐิ
   ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ

(รู้จักแค่มิจฉาทิฐิ ความรู้นั้นก็ถือเป็น สัมมาทิฐิ ไปด้วย มีความพยายามเพื่อจะละมิจฉาทิฐิ)

ก็มิจฉาทิฐิ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล สังเวยที่ บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล วิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็น อุปปาติกะ ไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศ โลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มีนี้มิจฉาทิฐิ ฯ

เมื่อภิกษุพยายาม ละมิจฉาทิฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฐิ
ความพยายาม ของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ

ภิกษุนั้นมีสติ ละมิจฉาทิฐิได้ มีสติบรรลุ สัมมาทิฐิอยู่ สติ ของเธอนั้น เป็น สัมมาสติ ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฐิ ของภิกษุนั้นฯ (เมื่อพยายามจะเจริญ มรรคองค์ใดองค์หนึ่ง มรรคองค์อื่นๆก็จะห้อมล้อม ตามกันมา)

  คลิก    
  มรรค 8 แบบสาสวะ และอนาสวะ (ตาราง)

  มหาจัตตารีสกสูตร ฉบับ มหาจุฬา

  คลิปเสียง มหาจัตตารีสกสูตร
(ฉบับมหาจุฬา)
  คลิปเสียง /สาธยาย (ฉบับหลวง)
 
   


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ หน้าที่ ๑๔๕


มหาจัตตารีสกสูตร [ฉบับหลวง]
มรรคแปดสำหรับอริยะ(อนาสวะ) กับ แบบปุถุชน(สาสวะ)


[๒๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้วฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

1 (สัมมาสมาธิ)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง สัมมาสมาธิ ของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังสัมมาสมาธินั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า

[๒๕๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ สัมมาสมาธิ ของพระ อริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ (๗ องค์) เป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แลเรียกว่า สัมมาสมาธิ ของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง(อุปนิสะ) มีองค์ประกอบ บ้าง (ปริขาร)
(ถ้าจิตมีอารมณ์เดียว มุ่งปฏิบัติมรรค ๘ ข้อใดข้อหนึ่ง ถือว่า องค์ที่ปฏิบัตินั้น สมบูรณ์ด้วย สัมมาสมาธิ โดยปริยาย เช่นตั้งใจปฏิบัติ สัมมากัมมันตะ ก็จะได้ สัมมาสมาธิไปพร้อมกัน)

[๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิ ย่อมเป็นประธาน ก็ สัมมาทิฐิ ย่อมเป็นประธาน อย่างไร คือ ภิกษุ(ผู้เป็นอริยะ)
รู้จัก มิจฉาทิฐิ ว่ามิจฉาทิฐิ
รู้จัก สัมมาทิฐิ ว่าสัมมาทิฐิ
ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ (ผู้เดินมรรคระดับ เสขะ)
(รู้จักแค่มิจฉาทิฐิ ว่าเป็นมิจฉาทิฐิ ความรู้นั้นก็ถือเป็น สัมมาทิฐิ ไปด้วย)

แผนภูมิ มหาจัตตารีสกสูตร (สัมมาสมาธิ)
  ธรรม ๗ องค์
ที่เป็นองค์ประกอบ
เดินมรรคระดับ อเสขะ (อรหันต์)   ผลจากการเดินมรรค
สัมมาสมาธิ
ธรรมองค์ที่๑
๑.สัมมาทิฐิ
  (ประธาน)
รู้จัก มิจฉาสมาธิ ว่ามิจฉาสมาธิ   ความรู้ของเธอ
  เป็นสัมมาทิฐิ
รู้จัก สัมมาสมาธิ ว่าสัมมาสมาธิ
๒.สัมมาสังกัปปะ      
๓.สัมมาวาจา  
๔.สัมมากัมมันตะ      
๕.สัมมาอาชีวะ  
๖.สัมมาวายามะ  
๗.สัมมาสติ  
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

2 (สัมมาทิฐิ-มิจฉาทิฐิ)

มิจฉาทิฐิ
[๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉนคือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
ผลวิบากของกรรม ที่ทำดีทำชั่วแล้ว ไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
มารดาไม่มี บิดาไม่มี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี

สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ (อริยสาวก) ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศ โลกนี้ โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในโลก ไม่มี นี้มิจฉาทิฐิ (ทิฐิ 62)

สัมมาทิฐิ มี ๒ อย่าง
[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว สัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ
๑) สัมมาทิฐิ ที่ยังเป็น สาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
๒) สัมมาทิฐิ ของพระอริยะ ที่เป็น อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑
(สัมมาทิฐิของภิกษุผู้ไม่เป็นอริยะ เรียกว่าเป็นมิจฉาทิฐิที่เป็น สาสวะ คือยังไม่ประเสริฐ ยังหวังบุญ เป็นส่วนแห่งบุญ เป็นสัมมาทิฐิเบื้องต้น .. ส่วน สัมมาทิฐิของภิกษุผู้อริยะ เรียกว่าเป็นสัมมาทิฐิ ที่เป็น อนาสวะ เป็น โลกุตตระ มุ่งหลุดพ้น)

[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็น สาสวะ (แบบ ๑) เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวย ที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในโลก มีอยู่
นี้สัมมาทิฐิที่ ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน แห่ง บุญ ให้ผลแก่ขันธ์ (ผู้เดินมรรคระดับ เสขะ)

[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็น อนาสวะ (แบบ ๒) เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปัญญา
ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ (ปัญญาพลัง-ผลแห่งปัญญา)
ธัมมจยสัมโพชฌงค์
ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มีจิตไกล ข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อม ด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาทิฐิ ของพระอริยะ
ที่เป็น อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค (เดินมรรคระดับ อเสขะ)

ภิกษุนั้น ย่อมพยายาม เพื่อ ละมิจฉาทิฐิ เพื่อ บรรลุสัมมาทิฐิ ความพยายามของเธอนั้น เป็น สัมมาวายามะ (ต้องรู้ทั้งมิจฉาทิฐิ และสัมมาทิฐิ)

ภิกษุนั้น มีสติ ละมิจฉาทิฐิ ได้ มีสติ บรรลุ สัมมาทิฐิ อยู่
สติ
ของเธอนั้น เป็น สัมมาสติ (ต้องรู้ทั้งมิจฉาทิฐิ และสัมมาทิฐิ)
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตาม สัมมาทิฐิ ของภิกษุนั้น

แผนภูมิ มหาจัตตารีสกสูตร (สัมมาทิฐิ)
  ธรรม ๓ ที่ห้อมล้อม เดินมรรคระดับ อเสขะ (อรหันต์)   ผลจากการเดินมรรค
  สัมมาทิฐิ
(ประธาน)
รู้จัก มิจฉาทิฐิ ว่ามิจฉาทิฐิ   ความรู้ของเธอ
  เป็นสัมมาทิฐิ
  รู้จัก สัมมาทิฐิ ว่าสัมมาทิฐิ
สัมมาทิฐิ สัมมา
วายามะ
ภิกษุย่อมพยายาม เพื่อละ มิจฉาทิฐิ  ความพยายามของเธอ
 เป็นสัมมาวายามะ
ภิกษุย่อมพยายาม เพื่อบรรลุ สัมมาทิฐิ
  สัมมาสติ ภิกษุมีสติ เพื่อละ มิจฉาทิฐิ  สติของเธอเป็น
 สัมมาสติ
  ภิกษุมีสติ เพื่อบรรลุ สัมมาทิฐิ
   

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
3
(สัมมาสังกัปปะ)

[๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิ ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุ
รู้จัก มิจฉาสังกัปปะ ว่า มิจฉาสังกัปปะ
รู้จัก สัมมาสังกัปปะ ว่าสัมมาสังกัปปะ
ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ (ต้องรู้ทั้งสองฝั่ง มิจฉา กับ สัมมา)

[๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาสังกัปปะเป็นไฉน คือ ความดำริในกาม ดำริในพยาบาท ดำริในความเบียดเบียน นี้มิจฉาสังกัปปะ

[๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาสังกัปปะเป็น ๒ อย่าง คือ
๑) สัมมาสังกัปปะ ที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่ง บุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
๒) สัมมาสังกัปปะ ของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑

[๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็น สาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือความดำริในเนกขัมมะ(ออกจากกาม) ดำริในความไม่พยาบาท ดำริในความไม่เบียดเบียน นี้สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์

[๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะของพระอริยะ ที่เป็น อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตรึก ความวิตก ความดำริ ความแน่ว ความแน่ ความปักใจ วจีสังขาร(วิตก-วิจาร) ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะ มิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่นี้แล สัมมาสังกัปปะ ของพระอริยะที่เป็น อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค

ภิกษุนั้น ย่อมพยายาม เพื่อละ มิจฉาสังกัปปะ เพื่อบรรลุ สัมมาสังกัปปะ
ความพยายามของเธอนั้น เป็น
สัมมาวายามะ

ภิกษุนั้น มีสติ ละมิจฉาสังกัปปะ ได้ มีสติ บรรลุสัมมาสังกัปปะอยู่
สติ ของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตาม สัมมาสังกัปปะ ของภิกษุนั้น

แผนภูมิ มหาจัตตารีสกสูตร (สัมมาสังกัปปะ)
  ธรรม ๓ ที่ห้อมล้อม เดินมรรคระดับ อเสขะ (อรหันต์)   ผลจากการเดินมรรค
  สัมมาทิฐิ
(ประธาน)
รู้จัก มิจฉาสังกัปปะ ว่า มิจฉาสังกัปปะ  ความรู้ของเธอ
 เป็นสัมมาทิฐิ
  รู้จัก สัมมาสังกัปปะ ว่า สัมมาสังกัปปะ
สัมมา
สังกัปปะ
สัมมา
วายามะ
ภิกษุย่อมพยายาม เพื่อละมิจฉาสังกัปปะ  ความพยายามของเธอ
 เป็นสัมมาวายามะ
ภิกษุย่อมพยายาม เพื่อบรรลุสัมมาสังกัปปะ
  สัมมาสติ ภิกษุมีสติ เพื่อละ มิจฉาสังกัปปะ  สติของเธอเป็น
 สัมมาสติ
  ภิกษุมีสติ เพื่อบรรลุ สัมมาสังกัปปะ
   

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
4
(สัมมาวาจา)


[๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมา ทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุ
รู้จัก มิจฉาวาจา ว่ามิจฉาวาจา
รู้จัก สัมมาวาจา ว่าสัมมาวาจา
ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ (ต้องรู้ทั้งสองฝั่ง มิจฉา กับ สัมมา)

[๒๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาวาจาเป็นไฉน คือพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำ หยาบ เจรจาเพ้อเจ้อ นี้ มิจฉาวาจา

[๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจา เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว สัมมาวาจา เป็น ๒ อย่าง คือ
๑) สัมมาวาจา ที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
๒) สัมมาวาจา ของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑

[๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาที่ยังเป็น สาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ ขันธ์ เป็นไฉน คือ งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้น จากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ นี้ สัมมาวาจา ที่ยังเป็น สาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์

[๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาของพระอริยะ ที่เป็น อนาสวะ เป็น โลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนางดเว้น* จากวจีทุจริตทั้ง ๔ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อม ด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาวาจา ของพระอริยะ ที่เป็น อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค (*บาลีไม่มีคำว่าเจตนา)

ภิกษุย่อมพยายาม เพื่อละ มิจฉาวาจา เพื่อบรรลุ สัมมาวาจาอยู่
ความพยายามของ เธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ

ภิกษุนั้น มีสติ ละมิจฉาวาจาได้ มีสติ บรรลุสัมมาวาจาอยู่
สติ ของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตาม สัมมาวาจา ของภิกษุนั้น

แผนภูมิ มหาจัตตารีสกสูตร (สัมมาวาจา)
  ธรรม ๓ ที่ห้อมล้อม เดินมรรคระดับ อเสขะ (อรหันต์)   ผลจากการเดินมรรค
  สัมมาทิฐิ
(ประธาน)
รู้จัก มิจฉาวาจา ว่า มิจฉาวาจา   ความรู้ของเธอ
  เป็นสัมมาทิฐิ
  รู้จัก สัมมาวาจา ว่า สัมมาวาจา
สัมมา
วาจา
สัมมา
วายามะ
ภิกษุย่อมพยายาม เพื่อละ มิจฉาวาจา  ความพยายามของเธอ
 เป็น สัมมาวายามะ
ภิกษุย่อมพยายาม เพื่อบรรลุ สัมมาวาจา
  สัมมาสติ ภิกษุมีสติ เพื่อละ มิจฉาวาจา  สติของเธอเป็น
 สัมมาสติ
  ภิกษุมีสติ เพื่อบรรลุ สัมมาวาจา
   

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
5
(สัมมากัมมันตะ)


[๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็ สัมมาทิฐิ ย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุ
รู้จัก มิจฉากัมมันตะ ว่า มิจฉากัมมันตะ
รู้จัก สัมมากัมมันตะ ว่า สัมมากัมมันตะ
ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ (ต้องรู้ทั้งสองฝั่ง มิจฉา กับ สัมมา)

[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉากัมมันตะเป็นไฉน คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร นี้ มิจฉากัมมันตะ

[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว สัมมากัมมันตะเป็น ๒ อย่าง คือ
๑) สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
๒) สัมมากัมมันตะ ของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑

[๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะที่ยังเป็น สาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผล แก่ขันธ์เป็นไฉน คืองดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร นี้สัมมากัมมันตะที่ยังเป็น สาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์

[๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะของพระอริยะที่เป็น อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้น เจตนา* งดเว้นจาก กายทุจริตทั้ง ๓ (ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม) ของภิกษุผู้มีจิตไกล ข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อม ด้วย อริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมากัมมันตะ ของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค
(*บาลีไม่มีคำว่า เจตนา)

ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละ มิจฉากัมมันตะ เพื่อบรรลุ สัมมากัมมันตะ
ความพยายามของเธอนั้น
เป็นสัมมาวายามะ

ภิกษุนั้น มีสติ ละ มิจฉากัมมันตะได้ มีสติ บรรลุ สัมมากัมมันตะอยู่
สติ ของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ
ด้วยอาการ นี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตาม สัมมากัมมันตะ ของภิกษุนั้น

แผนภูมิ มหาจัตตารีสกสูตร (สัมมากัมมันตะ)
  ธรรม ๓ ที่ห้อมล้อม เดินมรรคระดับ อเสขะ (อรหันต์)   ผลจากการเดินมรรค
  สัมมาทิฐิ
(ประธาน)
รู้จัก มิจฉากัมมันตะ ว่า มิจฉากัมมันตะ   ความรู้ของเธอ
  เป็นสัมมาทิฐิ
  รู้จัก สัมมากัมมันตะ ว่า สัมมากัมมันตะ
สัมมา
กัมมันตะ
สัมมา
วายามะ
ภิกษุย่อมพยายาม เพื่อละมิจฉากัมมันตะ  ความพยายามของเธอ
 เป็นสัมมาวายามะ
ภิกษุย่อมพยายาม เพื่อบรรลุสัมมากัมมันตะ
  สัมมาสติ ภิกษุมีสติ เพื่อละ มิจฉากัมมันตะ  สติของเธอ
 เป็นสัมมาสติ
  ภิกษุมีสติ เพื่อบรรลุ สัมมากัมมันตะ
   

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
6 (สัมมาอาชีวะ)

[๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิ ย่อมเป็นประธานอย่างไร คือภิกษุ
รู้จัก มิจฉาอาชีวะ ว่ามิจฉาอาชีวะ
รู้จัก สัมมาอาชีวะ ว่าสัมมาอาชีวะ
ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ
(ต้องรู้ทั้งสองฝั่ง มิจฉา กับ สัมมา)

[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน คือการโกง การล่อลวง การตลบตะแลง การยอมมอบตนในทางผิด การเอาลาภต่อลาภ นี้มิจฉาอาชีวะ

[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวสัมมาอาชีวะเป็น ๒ อย่าง คือ
๑) สัมมาอาชีวะ ที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
๒) สัมมาอาชีวะ ของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑

[๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะที่ยังเป็น สาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผล แก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมา อาชีวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ สัมมาอาชีวะ ที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ ขันธ์

[๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะของพระอริยะ ที่เป็น อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้น เจตนา* งดเว้นจาก มิจฉาอาชีวะ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะ มิได้พรั่งพร้อมด้วย อริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาอาชีวะ ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค (*บาลีไม่มีคำว่าเจตนา)

ภิกษุนั้น ย่อมพยายาม เพื่อละ มิจฉาอาชีวะ เพื่อบรรลุ สัมมาอาชีวะ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ

ภิกษุนั้น มีสติ ละมิจฉาอาชีวะ ได้ มีสติ บรรลุสัมมาอาชีวะอยู่
สติ ของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตาม สัมมาอาชีวะ ของภิกษุนั้น

แผนภูมิ มหาจัตตารีสกสูตร (สัมมาอาชีวะ)
  ธรรม ๓ ที่ห้อมล้อม เดินมรรคระดับ อเสขะ (อรหันต์)   ผลจากการเดินมรรค
  สัมมาทิฐิ
(ประธาน)
รู้จัก มิจฉาอาชีวะ ว่า มิจฉาอาชีวะ   ความรู้ของเธอ
  เป็นสัมมาทิฐิ
  รู้จัก สัมมาอาชีวะ ว่า สัมมาอาชีวะ
สัมมา
อาชีวะ
สัมมา
วายามะ
ภิกษุย่อมพยายาม เพื่อละ มิจฉาอาชีวะ  ความพยายามของเธอ
 เป็นสัมมาวายามะ
ภิกษุย่อมพยายาม เพื่อบรรลุ สัมมาอาชีวะ
  สัมมาสติ ภิกษุมีสติ เพื่อละ มิจฉาอาชีวะ  สติของเธอเป็น
 สัมมาสติ
  ภิกษุมีสติ เพื่อบรรลุ สัมมาอาชีวะ
   

(พระพุทธเจ้ากล่าวเพียงเท่านี้)

.......................................................................................................................
(มรรค ๑๐ )

[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น
สัมมาทิฐิ (องค์ที่๑) ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิ ย่อมเป็นประธาน อย่างไร คือ
เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ(๒) จึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา (๓) จึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ (๔) จึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ(๕) จึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ(๖) จึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติ (๗) จึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิ (๘) จึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ(๙) จึงพอเหมาะได้ (ความรู้ที่ถูกต้อง)
เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ(๑๐) จึงพอเหมาะได้ (การหลุดพ้นที่ถูกต้อง)
(สัมมาญานะ กับ สัมมาวิมุตติ เปรียบเหมือนมรรคองค์ที่๙ และองค์ที่ ๑๐)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็น พระอรหันต์ ประกอบด้วยองค์ ๑๐

[๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิ ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิ ย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ

ผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมเป็นอันสลัด มิจฉาทิฐิได้ ทั้งอกุศลธรรมลามก เป็นอเนก บรรดามี
เพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฐิสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนก
ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฐิเป็นปัจจัย ฯ
ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัด มิจฉาสังกัปปะได้
ผู้มีสัมมาวาจา
ย่อมเป็นอันสลัด มิจฉาวาจาได้...
ผู้มีสัมมากัมมันตะ
ย่อมเป็นอันสลัด มิจฉากัมมันตะได้
ผู้มีสัมมาอาชีวะ
ย่อมเป็นอันสลัด มิจฉาอาชีวะได้...
ผู้มีสัมมาวายามะ
ย่อมเป็นอันสลัด มิจฉาวายามะได้...
ผู้มีสัมมาสติ
ย่อมเป็นอันสลัด มิจฉาสติได้...
ผู้มีสัมมาสมาธิ
ย่อมเป็นอันสลัด มิจฉาสมาธิได้...
ผู้มีสัมมาญาณะ
ย่อมเป็นอันสลัด มิจฉาญาณะได้...
ผู้มีสัมมาวิมุตติ
ย่อมเป็นอันสลัด มิจฉาวิมุตติได้ ทั้งอกุศลธรรมลามก เป็นอเนกบรรดา มี เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มี สัมมาวิมุตติสลัดได้แล้ว และกุศลธรรม เป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะ สัมมาวิมุตติ เป็นปัจจัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล จึงเป็น ธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ฝ่ายอกุศล ๒๐ ชื่อ ธรรมบรรยาย มหาจัตตารีสกะ อันเราให้เป็นไปแล้ว สมณะหรือ พราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลกจะให้เป็นไปไม่ได้
.......................................................................................................................

มหาจัตตารีสกะ ใครๆก็ติเตียนไม่ได้

[๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งพึงสำคัญที่จะติเตียน คัดค้าน ธรรมบรรยาย มหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อน และการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะ หรือพราหมณ์ผู้นั้น ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิ ในปัจจุบัน เทียว
ถ้าใครติเตียนสัมมาทิฐิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีทิฐิผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาสังกัปปะ เขาก็ต้องบูชาสรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสังกัปปะผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาวาจา เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวาจาผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมากัมมันตะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีการกระทำผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาอาชีวะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีอาชีวะผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาวายามะเขาก็ต้องบูชาสรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีความพยายามผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาสติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสติผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาสมาธิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสมาธิผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาญาณะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีญาณผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาวิมุตติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวิมุตติผิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง พึงสำคัญที่จะติเตียน คัดค้าน ธรรมบรรยาย มหาจัตตารีสกะ นี้ การกล่าวก่อน และ การกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบ ด้วยเหตุของสมณะ หรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบัน เทียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พวกอัสสะ และพวกภัญญะ ชาวอุกกล ชนบท ซึ่งเป็น อเหตุกวาทะ-๑ อกิริยวาทะ-๒ นัตถิกวาทะ-๓ ก็ยังสำคัญที่จะไม่ติเตียน ไม่คัดค้าน ธรรมบรรยาย มหาจัตตารีสกะ นั่นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ถูกว่าร้าย และ ถูกก่อความ
(๑- ๒- ๓- เป็นชื่อลัทธิอื่นที่มีมิจฉาทิฐิ เป็นผู้เห็นผิด)
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล

คลิป มหาจัตตารีสกสูตร


แยก 5 กลุ่ม (จากพระสูตรข้างต้น)
ความพยายาม .. ย่อมสมบูรณ์ (ถูกห้อมล้อม)ด้วย สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ โดยมีสัมมาทิฐิ เป็นประธาน

1. ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละ มิจฉาทิฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฐิ ความพยายาม ของเธอ นั้นเป็นสัมมาวายามะ ฯ ภิกษุนั้นมีสติ ละมิจฉาทิฐิได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฐิอยู่ สติ ของเธอนั้น เป็น สัมมาสติ ฯ ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฐิ ของภิกษุนั้น

2.ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละ มิจฉาสังกัปปะ เพื่อบรรลุสัมมาสังกัปปะ ความ พยายามของเธอนั้น เป็น สัมมาวายามะ ฯ ภิกษุนั้น มีสติ ละมิจฉาสังกัปปะ ได้ มี สติ บรรลุสัมมาสังกัปปะอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการ นี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตาม สัมมาสังกัปปะ ของภิกษุนั้น

3.ภิกษุย่อมพยายามเพื่อละ มิจฉาวาจา เพื่อบรรลุ สัมมาวาจาอยู่ ความพยายาม ของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาวาจาได้ มีสติบรรลุสัมมาวาจาอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตาม สัมมาวาจา ของภิกษุนั้น

4.ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละ มิจฉากัมมันตะ เพื่อบรรลุสัมมากัมมันตะ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ ภิกษุนั้นมีสติละ มิจฉากัมมันตะได้ มีสติบรรลุสัมมากัมมันตะอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตาม สัมมากัมมันตะ ของภิกษุนั้น

5.ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละ มิจฉาอาชีวะ เพื่อบรรลุสัมมาอาชีวะ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาอาชีวะ ได้ มีสติบรรลุสัมมาอาชีวะอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตาม สัมมาอาชีวะ ของภิกษุนั้น

ธรรมที่ห้อมล้อม
1. สัมมาทิฐิ (ประธาน)
2. สัมมาวายามะ (ความเพียร)
3. สัมมาสติ (มีสติ)
4. สัมมาสมาธิ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วย องค์ ๗ เหล่านี้แลเรียกว่า สัมมาสมาธิ ของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง

มรรค 8 ที่เป็นทั้ง สาสวะ และ อนาสวะ
มรรค 8 ที่เป็น สาสวะ   มรรค 8 ที่เป็น อนาสวะ

1 สัมมาทิฐิ

(ความเห็นชอบ)


สัมมาทิฐิที่ยังเป็น สาสวะ

เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ ขันธ์ เป็นไฉน คือความเห็น ดังนี้ ว่าทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชาแล้ว มีผล สังเวย ที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรม ที่ทำดี ทำชั่ว แล้วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็น อุปปาติกะมี

สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่ง ด้วยตนเองในโลกมีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ (เสขะ ผู้เดินมรรค)

 


สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็น
อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ... ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมจยสัม โพชฌงค์ ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรค อยู่ นี้แล สัมมาทิฐิ ของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค

ภิกษุนั้นย่อมพยายาม เพื่อละมิจฉาทิฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฐิ ความ พยายามของเธอนั้นเป็นสัมมาวายามะฯ ภิกษุนั้นมีสติ ละมิจฉาทิฐิ ได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฐิอยู่ สติ ของเธอนั้น เป็น สัมมาสติ ด้วย อาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตาม สัมมาทิฐิ ของภิกษุนั้น




2 สัมมาสังกัปปะ

(ดำริชอบ)


สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็น สาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือความดำริ ในเนกขัมมะ ดำริในความไม่พยาบาท ดำริในความไม่ เบียดเบียน นี้สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่ง บุญ ให้ผลแก่ขันธ์

 
สัมมาสังกัปปะของพระอริยะ ที่เป็น อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ... ความตรึก ความวิตก ความดำริ ความแน่วแน่ ความปักใจ วจีสังขาร ของภิกษุ ผู้มีจิต ไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะ มิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรค อยู่นี้แล สัมมาสัง กัปปะ ของพระอริยะที่เป็น อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค

ภิกษุนั้น ย่อมพยายาม เพื่อละ มิจฉาสังกัปปะ เพื่อบรรลุ สัมมา สังกัปปะ ความพยายามของเธอนั้น เป็น สัมมาวายามะ

ภิกษุนั้น มีสติ ละมิจฉาสังกัปปะ ได้ มี สติบรรลุสัมมาสังกัปปะอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตาม สัมมาสังกัปปะ ของภิกษุนั้น


3 สัมมาวาจา

(วาจาชอบ)

สัมมาวาจาที่ยังเป็น สาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ ขันธ์ เป็นไฉน คือ เจตนา งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้น จากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ นี้ สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ ขันธ์

 
สัมมาวาจาของพระอริยะ ที่เป็น อนาสวะ เป็น โลกุตระ เป็นองค์มรรค ...ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนา งดเว้น จากวจีทุจริตทั้ง ๔ ของภิกษุผู้มีจิต ไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อม ด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาวาจาของ พระอริยะ ที่เป็น อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค

ภิกษุย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาวาจา เพื่อบรรลุ สัมมาวาจาอยู่ ความพยายามของ เธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ

ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาวาจาได้ มีสติบรรลุสัมมาวาจาอยู่ สติของเธอ นั้น เป็นสัมมาสติ ฯ ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตาม สัมมาวาจา ของภิกษุนั้นฯ


4 สัมมากัมมันตะ

(ประพฤติชอบ)

สัมมากัมมันตะที่ยังเป็น สาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผล แก่ขันธ์เป็นไฉน คือ เจตนา งดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้น จากกาเมสุมิจฉาจาร นี้สัมมากัมมันตะที่ยังเป็น สาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์
 
สัมมากัมมันตะของพระอริยะที่เป็น
อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค .. ความงดความเว้น เจตนางดเว้นจาก กายทุจริต ทั้ง ๓ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อม ด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมากัมมันตะ ของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค

ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละ มิจฉากัมมันตะ เพื่อบรรลุสัมมา กัมมันตะ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ ภิกษุนั้น มีสติละ มิจฉา กัมมันตะได้ มีสติบรรลุสัมมากัมมันตะอยู่ สติของ เธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ ด้วยอาการ นี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตาม สัมมากัมมันตะ ของภิกษุนั้น


5 สัมมาอาชีวะ

(เลี้ยงชีพชอบ)

สัมมาอาชีวะที่ยังเป็น สาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ ย่อมละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมา อาชีวะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ ขันธ์

 
สัมมาอาชีวะของพระอริยะ ที่เป็น
อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ... ความงด ความเว้น เจตนางดเว้น จากมิจฉา อาชีวะ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะ มิได้พรั่งพร้อม ด้วย อริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาอาชีวะ ของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็น โลกุตระ เป็นองค์มรรค

ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละ มิจฉาอาชีวะ เพื่อบรรลุสัมมาอาชีวะ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ ภิกษุนั้นมีสติ ละมิจฉาอาชีวะ ได้ มีสติบรรลุสัมมาอาชีวะอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตาม สัมมาอาชีวะ ของภิกษุนั้น

6 สัมมาวายามะ
(ความเพียรชอบ)
    เป็นธรรม ๓ ที่แวดล้อมองค์อื่นๆ ที่ถูกปฏิบัติขึ้นมา
(๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ

7 สัมมาสติ
(ระลึกชอบ)
    เป็นธรรม ๓ ที่แวดล้อมองค์อื่นๆ ที่ถูกปฏิบัติขึ้นมา
(๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ

8 สัมมาสมาธิ
(จิตตั้งมั่น)
   
สัมมาสมาธิของพระอริย อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้ว ด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แลเรียกว่า สัมมาสมาธิ ของพระอริยะ อันมีเหตุ บ้าง (อุปนิสะ) มีองค์ประกอบบ้าง (ปริขาร)

บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิ ย่อมเป็นประธาน ก็ สัมมาทิฐิ ย่อมเป็นประธาน อย่างไร คือ ภิกษุ(ผู้เป็นอริยะ)
รู้จัก มิจฉาทิฐิ ว่ามิจฉาทิฐิ
รู้จัก สัมมาทิฐิ ว่าสัมมาทิฐิ
ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิฯ
(รู้จักแค่มิจฉาทิฐิ ว่าเป็นมิจฉาทิฐิ ความรู้นั้นก็ถือเป็น สัมมาทิฐิ ไปด้วย)
       
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์