เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
    พระสูตรสั้น
ค้นหาคำที่ต้องการ       

 
พระสูตรสั้น พระสูตรโดยย่อ
  พระสูตรสั้น ชุด6 ทางลัด.. คลิกดูพระสูตรที่เป็นตัวเลข
 
1 (คลิก)
S6-131 ลมหายใจก็คือ “กาย”
S6-132 ก็สังขารมีเท่าใด ลมหายใจออก-เข้าเป็นกายสังขาร วิตกและวิจารเป็นวจีสังขาร สัญญา-เวทนา เป็นจิตตสังขาร.
S6-133 เรื่องมรรค ๘ กับขันธ์ ๓ (ตรัสกับนางวิสาขา) ขันธ์ ๓ (กองศีล กองสมาธิ กองปัญญา)
S6-134 เรื่องสมาธิและสังขาร (ตรัสกับนางวิสาขา)
S6-135 เรื่องสักกายทิฏฐิ (ตรัสกับนางวิสาขา)
S6-136 เรื่องภพ พระมหาโกฏฐิกะ ถามพระสารีบุตร
S6-137 ปฐมฌาน เป็นไฉน พระมหาโกฏฐิกะ ถามพระสารีบุตร
S6-138 เรื่องอินทรีย์ 5 พระมหาโกฏฐิกะ ถามพระสารีบุตร
S6-139 ภิกษุผู้ทำความฉิบหายแก่มหาชน ชักชวนมหาชนให้ทำกายกรรม วจีกรรม บำเพ็ญจิต ผิดแนวจากพุทธศาสนา
S6-140 คำทำนายเรื่องจีวร-ความเป็นอยู่ ที่ต้องการความสวยงามเหินห่างจากที่นอนอันเป็นป่า ป่าชัฏ เงียบสงัดจักมั่วสุมอยู่แต่ในเมือง
2  
S6-141 ผู้หล่นจากศาสนา : คือนักบวชผู้ไม่ประกอบด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ อันเป็นเครื่องไปจากข้าศึก
S6-142 ภิกษุที่ ไม่เรียกว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์..ไม่รู้ขันธ์5-อุปาทานขันธ์ -ไม่รู้ธาตุ4-ไม่รู้อินทรีย์6- อินทรีย์5-ไม่รู้ปฎิจจ-อริยสัจสี่
S6-143 พระพุทธเจ้ากำหนดสมาธิทุกครั้ง ตรัสกับอัคคิเวสสนะ ... เรานั้นหรือ, จำเดิมแต่เริ่มแสดงกระทั่งคำสุดท้ายแห่งการ
S6-144 สมถะ -วิปัสสนา สมถะจิตมีอารมณ์เดียว(เอกัคคตา)รู้ลมหายใจเข้าออกหรือมีจิตอยู่กับกาย วิปัสสนาคือปัญญา เห็นการเกิด-ดับ
S6-145 การเดิน ยืน นั่ง นอน อย่างมีสัมปชัญญะ จิตน้อมไปเพื่อการเดิน ก็เดินด้วยการตั้งจิตว่า บาปอกุศลธรรมจักไม่ไหลไปตามเรา
S6-146 เหตุที่พระสาวกเป็นผู้ทำตามคำสอน และเป็นพระอรหันต์ ตรัสกับอัคคิเวสสนะ -สัจจกนิครนถ์ หลังตอบโต้จนเหงื่อตก
S6-147 บุคคลที่ไม่ได้อบรมกาย อบรมจิต ผู้มิได้สดับ มีสุขเวทนาเกิดขึ้น เขาถูกสุขเวทนากระทบเข้าแล้ว มีความยินดีนักในสุขเวทนา
S6-148 รักษาพรหมจรรย์ไว้ด้วยนํ้าตา แม้จะทุกข์กายทุกข์ใจ ถึงนํ้าตานองหน้า ร้องไห้อยู่ก็ยังสู้ ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธ์ิ
S6-149 ผู้มีธรรมเป็นที่พึ่ง ภิกษุมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ..
S6-150 ฉันอาหารวันละหนเดียว (คือฉันหนเดียวลุกขึ้น แล้วไม่ฉันอีกในวันนั้น)
3  
S6-151 หลังอาหารแล้วภาวนา ดำรงสติเฉพาะหน้า หวัง อยู่ว่า “จิตของเรา ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
S6-152 เชิงรองของจิต หม้อที่ไม่มีเชิงรองรับ ย่อมกลิ้งได้ง่าย เครื่องรองรับของจิต เป็นอย่างไรเล่า อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้แล
S6-153 เนื้อแท้ที่ไม่อันตรธาน สุตตันตะเหล่าใดที่กวีแต่งขึ้นใหม่
S6-154 ยอดแห่งความเพียร ความเพียร เพื่อละอุปธิเสียทั้งหมด เป็นยอดแห่งความเพียร ที่เหนือกว่าความเพียรเพื่อให้ได้ทรัพย์สิน
S6-155 ผู้ไม่ทำศาสนาเสื่อม ภิกษุเล่าเรียนมาถูก.. เป็นคนว่าง่าย.. คล่องแคล่วในพุทธวจน.. ไม่สะสมและไม่ย่อหย่อนไตรสิกขา
S6-156 มนุษย์เป็นอันมาก ได้ยึดถือเอาที่พึ่งผิดๆ ป่าไม้ศักดิ์สิทธิ์ สวนป่าศักดิสิทธิ์ .. นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด
S6-157 อนุตตริยะ 6 (ภาวะอันเยี่ยม สิ่งที่ยอดเยี่ยม)(การเห็นอันเยี่ยม การฟัง การได้ การศึกษา การบำเรอ การระลึก)
S6-158 ปสาทสูตร ความเลื่อมใสในสิ่งเลิศ ๔ ประการเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า- มรรค8- วิราคะ(คลายความพอใจ)- พระสงฆ
S6-159 อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้สัตว์บางพวก ไม่ปรินิพพาน และ ปรินิพพาน ในทิฏฐธรรม? ความเพลิดเพลิน.. เมาหมกอยู่ในรูป
S6-160 ปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องลึกและดูลึก พระอานท์ ได้กราบทูลว่า " น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า! ไม่เคยมีแล้วพระเจ้าข้า
S6-179 ความเสื่อมสูญ แห่งพระสัทธรรม และ ความตั้งมั่น แห่งพระสัทธรรม ที่เกิดจากภิกษุ
S6-180 ทรงสอนเฉพาะแต่เรื่องทุกข์ กับ ความดับสนิทของทุกข์
4  
  พระสูตรนี้เป็น อรรถกถา  (พระพุทธโฆสะ) พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ คลิก
   
S6-161 เอกกนิทเทส (1) บุคคล ผู้พ้นแล้วในสมัย บุคคล ผู้มิใช่พ้นแล้วในสมัย เป็นไฉน
S6-162 เอกกนิทเทส (2) บุคคล ผู้มีธรรมอันกำเริบ  บุคคล ผู้มีธรรมอันไม่กำเริบ เป็นไฉน
S6-163 เอกกนิทเทส (3) บุคคล ผู้มีธรรมอันเสื่อม บุคคล ผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม เป็นไฉน
S6-164 เอกกนิทเทส (4) บุคคล ผู้ควรโดยเจตนา บุคคล ผู้ควรโดยการตามรักษา เป็นไฉน
S6-165 เอกกนิทเทส (5) บุคคลที่เป็น ปุถุชน บุคคลที่เป็น โคตรภูบุคคล เป็นไฉน
S6-166 เอกกนิทเทส (6) บุคคล ผู้ไม่ควรแก่การบรรลุมรรคผล  บุคคล ผู้ควรแก่การบรรลุมรรคผล เป็นไฉน
S6-167 เอกกนิทเทส (7) บุคคล ผู้เที่ยงแล้ว  บุคคล ผู้ปฏิบัติ  บุคคล ผู้งดเว้นเพราะกลัว เป็นไฉน
S6-168 เอกกนิทเทส (8) บุคคลชื่อว่า สมสีสี  บุคคลชื่อว่า ฐิตกัปปี เป็นไฉน
S6-169 เอกกนิทเทส (9) บุคคลเป็น อริยะ บุคคลเป็น เสขะ เป็นไฉน
S6-170 เอกกนิทเทส (10) บุคคลผู้มี วิชชา ๓ บุคคลผู้มี อภิญญา ๖ เป็นไฉน
5  
S6- 171 เอกกนิทเทส (11) บุคคลเป็น พระสัมมาสัมพุทธะ  บุคคลเป็น พระปัจเจกพุทธะ เป็นไฉน
S6-172 เอกกนิทเทส (12) บุคคลชื่อว่า อุภโตภาควิมุต  บุคคลชื่อว่า ปัญญาวิมุต เป็นไฉน บุคคลชื่อว่า กายสักขี เป็นไฉน
S6-173 เอกกนิทเทส (13) บุคคลชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ  บุคคลชื่อว่า สัทธาวิมุต เป็นไฉน
S6-174 เอกกนิทเทส (14) บุคคลชื่อว่า ธัมมานุสารี  บุคคลชื่อว่า สัทธานุสารี เป็นไฉน
S6-175 เอกกนิทเทส (15) บุคคลชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมะ  บุคคลชื่อว่า โกลังโกละ เป็นไฉน บุคคลชื่อว่า เอกพิชี เป็นไฉน
S6-176 เอกกนิทเทส (16) บุคคลชื่อว่า บุคคลชื่อว่า สกทาคามี  บุคคลชื่อว่า อนาคามี เป็นไฉน
S6-177 เอกกนิทเทส (17) บุคคลชื่อว่า อันตราปรินิพพาย อุปหัจจ อสังขาร สสังขาร อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เป็นไฉน
S6-178 เอกกนิทเทส (18)บุคคลชื่อว่า ปฏิบัติแล้วเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล สกทาคามี อนาคามี อรหันต์ เป็นไฉน
  พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์
 
ต่อชุด 7
 
 



131

ลมหายใจก็คือ “กาย”


ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
“เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก”

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้า
และลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย
.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า
เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส

มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้


132

ก็สังขาร มีเท่าใด (สังขาร ๓)
(ตรัสกับนางวิสาขา)

             วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สังขาร มีเท่าไร?
             ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ สังขารเหล่านี้ มี ๓ ประการคือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร.
             วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็กายสังขาร เป็นอย่างไร วจีสังขารเป็นอย่างไร จิตตสังขารเป็นอย่างไร?

             ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ลมหายใจออก และลมหายใจเข้า เป็นกายสังขาร วิตก*และวิจาร เป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนา เป็นจิตตสังขาร.
             วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เหตุไร ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า จึงเป็นกายสังขารวิตก และวิจาร จึงเป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร?

            ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ
    ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้ เป็นธรรมมีในกายเนื่อง ด้วยกาย
ฉะนั้น ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า จึงเป็นกายสังขาร
    บุคคลย่อมตรึกย่อมตรอง ก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจา
ฉะนั้น วิตก*และวิจาร จึงเป็นวจีสังขาร
    สัญญาและเวทนาเป็นธรรม มีในจิต เนื่องด้วยจิต
ฉะนั้น สัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร.
(*วิตก เป็นคำนาม แปลว่า ตรอง ความตรึก ความตริ ความคิด)
(วิตก เป็นกิริยา แปลว่า เป็นทุกข์ กังวล ร้อนใจ)

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์


133

เรื่องมรรค ๘ กับขันธ์ ๓
(ธรรมทินนาภิกษุณี สนทนาธรรม กับ วิสาขะอุบาสก)

            วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อริยมรรคมีองค์ ๘ ไฉน?
            ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑.

            วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตะหรือเป็นอสังขตะ?
            ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตะ.

            วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ขันธ์ ๓ (กองศีล กองสมาธิ กองปัญญา) พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วย ขันธ์ ๓.
             ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ขันธ์ ๓ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงสงเคราะห์ด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘ ส่วนอริยมรรคมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓ คือ วาจาชอบ ๑ ทำการงาน ชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วย สมาธิขันธ์ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยปัญญาขันธ์.

มรรค8 โดยย่อ

ปัญญา (ปัญญาขันธ์)
1. สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ ปัญญาชอบ)
2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)

ศีล (ศีลขันธ์)
3. สัมมาวาจา (วาจาชอบ)
4. สัมมากัมมันตะ (การพฤติชอบ)
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)

สมาธิ (สมาธิขันธ์)
6. สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ)
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตชอบ จิตตั้งมั่น)



134

เรื่องสมาธิ และสังขาร
(ตรัสกับนางวิสาขา)

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า
        ก็ธรรมอย่างไร เป็นสมาธิ
        ธรรมเหล่าใด เป็นนิมิตของสมาธิ
        ธรรมเหล่าใด เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ
        การทำให้สมาธิเจริญ เป็นอย่างไร?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ
        
ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว เป็นสมาธิ
       
 สติปัฏฐาน ๔ เป็นนิมิตของสมาธิ
        
สัมมัปปธาน ๔ เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ
        
ความเสพ คุ้น ความเจริญ ความทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้นแหละ
        เป็นการทำให้สมาธิเจริญ.


135

เรื่องสักกายทิฏฐิ
(ตรัสกับนางวิสาขา)

              วิสาขอุบาสกครั้นนั่งแล้ว ได้ถามธรรมทินนาภิกษุณีว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ สักกายะ ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ?
               ธรรมทินนาภิกษุณีตอบว่า ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ
อุปาทานขันธ์ ๕ คือรูปูปาทานขันธ์ ๑เวทนูปาทานขันธ์ ๑ สัญญูปาทานขันธ์ ๑ สังขารูปาทานขันธ์ ๑ วิญญาณูปาทานขันธ์ ๑ อุปาทานขันธ์ ๕ นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ.

               วิสาขอุบาสก ชื่นชม อนุโมทนา ภาษิตของธรรมทินนาภิกษุณีว่า ถูกละพระแม่เจ้า ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหาต่อไปว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายสมุทัย สักกายสมุทัย ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าสักกายสมุทัย?
               ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ
ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัด ยินดี เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหานี้แล พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า สักกายสมุทัย.

              วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ สักกายนิโรธดังนี้ ธรรมอะไรที่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ?
               ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ
ความดับด้วยความคลายกำหนัดไม่มีเหลือ ความสละ ความสละคืน ความปล่อย ความไม่พัวพัน ด้วยตัณหานั้น นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ.

               วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา สักกายนิโรธคา มินีปฏิปทา ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา?
               ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ
อริยะมรรคมีองค์ ๘ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑ นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.

               วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอันเดียวกัน หรืออุปาทานเป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕?
               ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ หาใช่อันเดียวกัน ไม่อุปาทาน เป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็หาใช่ไม่
ความกำหนัดพอใจในอุปาทาน ขันธ์ทั้ง ๕เป็นอุปาทาน ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นั้น.

               วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สักกายทิฏฐิมีได้อย่างไร?
               ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะไม่ฉลาดใน ธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ สัปบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่า มีรูปบ้าง ตามเห็นรูปในตนบ้าง ตามเห็นตนในรูปบ้าง ย่อมตามเห็นเวทนา ... ย่อมตามเห็นสัญญา ... ย่อมตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง อย่างนี้แลสักกายทิฏฐิจึงมีได้.

              วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อย่างไรสักกายทิฏฐิจึงจะไม่มีฯ
              ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ได้เห็นพระอริยะ
ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรม ของสัปบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ไม่ตาม เห็นตนว่ามีรูปบ้าง ไม่ตามเห็นรูปในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนในรูปบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นเวทนา ...ย่อมไม่ตามเห็นสัญญา ... ย่อมไม่ตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิ จึงจะไม่มี.


.............................................................................................................................................................

136

เรื่องภพ

             ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ ภพมีเท่าไร?
             สา. ภพมี ๓ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ.

             ก. ความเกิดในภพใหม่ในอนาคต มีได้อย่างไร?
             สา. ความยินดียิ่งในอารมณ์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกีดกัน มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ความเกิดในภพใหม่ในอนาคตมีได้อย่างนี้.

             ก. ความเกิดในภพใหม่ในอนาคต จะไม่มีอย่างไร?
             สา. เพราะความสิ้นแห่งอวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา และเพราะความดับแห่งตัณหา อย่างนี้ ความเกิดในภพใหม่ในอนาคต จึงจะไม่มี.

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ - พระมหาโกฏฐิกะ ถามพระสารีบุตร

.............................................................................................................................................................

137

ปฐมฌาน เป็นไฉน

             ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ ปฐมฌาน เป็นไฉน?
             สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ฌานนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าปฐมฌาน.

             ก. ปฐมฌาน มีองค์เท่าไร?
             สา. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก ๑ วิจาร ๑ ปีติ ๑ สุข ๑ เอกัคคตา ๑ ย่อมเป็นไปแก่ภิกษุผู้เข้าปฐมฌานมีองค์ ๕ ปฐมฌานมีองค์ ๕ อย่างนี้แล.
ก. ปฐมฌาน ละองค์เท่าไร ประกอบด้วยองค์เท่าไร?

             สา. ปฐมฌานละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าปฐมฌาน ละกามฉันท์ได้แล้ว ละพยาบาทได้แล้ว ละถีนมิทธะได้แล้ว ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ละวิจิกิจฉาได้แล้ว มีวิตก ๑ วิจาร ๑ ปีติ ๑ สุข ๑ เอกัคคตา ๑ เป็นไปอยู่ ปฐมฌานละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างนี้แล.

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ - พระมหาโกฏฐิกะ ถามพระสารีบุตร

.............................................................................................................................................................

138

เรื่องอินทรีย์ ๕
พระมหาโกฏฐิกะ ถามพระสารีบุตร

             ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับรู้วิสัยอันเป็นโคจรของกันและกัน เมื่ออินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับรู้วิสัยอันเป็นโคจรของกันและกัน จะมีอะไรเป็นที่อาศัย และธรรมอะไรรับรู้วิสัยอันเป็นโคจรแห่งอินทรีย์เหล่านั้น?
             สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับรู้วิสัยอันเป็นโคจรของกัน และ กันเมื่ออินทรีย์ ๕ เหล่านี้ มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับรู้วิสัยอันเป็นโคจรของกัน และกัน มีใจเป็นที่อาศัย ใจย่อมรับรู้วิสัยอันเป็นโคจรแห่งอินทรีย์เหล่านั้น.

             ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการ คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๕ นี้ อาศัยอะไรตั้งอยู่?
             สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการนี้นั้น คือจักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ อาศัยอายุ (ชีวิตินทรีย์) ตั้งอยู่.
             ก. อายุ อาศัยอะไรตั้งอยู่?
             สา. อายุ อาศัยไออุ่น (ไฟที่เกิดแต่กรรม) ตั้งอยู่.
             ก. ไออุ่น อาศัยอะไรตั้งอยู่?
             สา. ไออุ่น อาศัยอายุตั้งอยู่.

             ก. ผมรู้ทั่วถึงภาษิตของพระสารีบุตรผู้มีอายุในบัดนี้เองอย่างนี้ว่า อายุอาศัยไออุ่น ตั้งอยู่และว่าไออุ่นอาศัยอายุตั้งอยู่ แต่ผมจะพึงเห็นความแห่งภาษิตนี้ได้อย่างไร?
             สา. ถ้าเช่นนั้น ผมจักทำอุปมาแก่คุณ เพราะวิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมทราบ ความแห่งภาษิตได้แม้ด้วยอุปมา เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันกำลังติดไฟอยู่ แสงสว่างอาศัย เปลวปรากฏอยู่ เปลวก็อาศัยแสงสว่างปรากฏอยู่ฉันใด อายุอาศัยไออุ่นตั้งอยู่ ไออุ่นก็อาศัยอายุ ตั้งอยู่ฉันนั้นเหมือนกัน
             ก. อายุสังขาร (อายุ ชีวิตินทรีย์) กับเวทนียธรรม (เวทนา) เป็นอันเสมอกัน หรือว่าอายุสังขารกับเวทนียธรรมเป็นคนละอย่าง?
             สา. อายุสังขารกับเวทนียธรรม ไม่ใช่อันเดียวกัน (ถ้า) อายุสังขารกับ เวทนียธรรม เป็นอันเดียวกันแล้ว การออกจากสมาบัติของภิกษุผู้เข้าสัญญา เวทยิตนิโรธ ก็ไม่พึงปรากฏ แต่เพราะอายุสังขารกับเวทนียธรรมเป็นคนละอย่าง ฉะนั้น การออกจากสมาบัติของภิกษุผู้เข้า สัญญาเวทยิตนิโรธ จึงปรากฏอยู่.

             ก. ดูกรผู้มีอายุ ในเมื่อธรรมเท่าไรละกายนี้ไป กายนี้ก็ถูกทอดทิ้ง นอนนิ่งเหมือน ท่อนไม้ที่ปราศจากเจตนา?
             สา. ดูกรผู้มีอายุ ในเมื่อธรรม ๓ ประการ คือ อายุ ไออุ่น และวิญญาณ ละกายนี้ไป กายนี้ก็ถูกทอดทิ้ง นอนนิ่ง เหมือนท่อนไม้ที่ปราศจากเจตนา.

             ก. สัตว์ผู้ตายทำกาละไป กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีความแปลก กันอย่างไร?            
              สา. สัตว์ผู้ตายทำกาละไป มีกายสังขาร วจีสังขาร และจิตสังขารดับ ระงับไป มีอายุหมดสิ้นไป มีไออุ่นสงบ มีอินทรีย์แตกทำลาย ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญา เวทยิตนิโรธ มีกายสังขารวจีสังขาร และจิตสังขารดับ ระงับไป แต่มีอายุยังไม่หมดสิ้น มีไออุ่นยังไม่สงบ มีอินทรีย์ผ่องใส สัตว์ผู้ตายทำกาละไปกับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวท ยิตนิโรธ มีความแปลกกัน ฉะนี้.

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ - พระมหาโกฏฐิกะ ถามพระสารีบุตร


.............................................................................................................................................................

139


ภิกษุผู้ทำความฉิบหายแก่มหาชน


             ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้เป็นที่เชื่อถือของมหาชนทั่วไป, เมื่อมีการกระทำ สามอย่างนี้แล้ว, จะได้ชื่อว่าเป็น ผู้ทำมหาชนให้เสื่อมเสีย ทำมหาชน ให้หมดสุข ทำไปเพื่อความฉิบหาย แก่มหาชน ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแต่เป็นไปเพื่อความทุกข์ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. การกระทำสามอย่างอะไรบ้างเล่า ? สามอย่าง คือ :-
             (๑) ทำการชักชวนมหาชนในกายกรรม๑ อันผิดแนวแห่งการทำ ที่สุดทุกข์ในพระศาสนา.
             (๒) ทำการชักชวนมหาชนในวจีกรรม๒ อันผิดแนวแห่งการทำ ที่สุดทุกข์ในพระศาสนา.
             (๓) ทำการชักชวนมหาชนในการบำเพ็ญทางจิต๓ อันผิดแนว แห่งการทำที่สุดทุกข์ในพระศาสนา.

             ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้เป็นที่เชื่อถือของมหาชนทั่วไป, เมื่อมีการกระทำ สามอย่างเหล่านี้เข้าแล้ว, ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำมหาชนให้เสื่อมเสีย ทำมหาชนให้หมดสุข ทำไปเพื่อความฉิบหายแก่มหาชน ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล, แต่เป็น ไปเพื่อความทุกข์ ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แล.

(ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า 81)


.............................................................................................................................................................

140

คำทำนายของพระศาสดาเรื่องจีวร

             ภิกษุ ท. ! ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย ผู้ต้องการ ความสวยงามในเครื่องนุ่งห่ม (จีวร), เธอทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนั้นอยู่จักเริดร้าง จากการใช้ผ้าบังสุกุล, จักเหินห่างที่นอนที่นั่ง อันเป็นป่า และป่าชัฏ เงียบสงัด, จักมั่วสุมชุมนุมกันอยู่แต่ในย่านหมู่บ้าน นิคม และเมืองหลวง และจักถึง อเนสนกรรม คือการแสวงหาอันไม่สมควรหลายแบบหลายวิธี เพราะความต้องการความสวยงาม ในเครื่องนุ่งห่มนั้น เป็นเหตุ.

             ภิกษุท. ! นี้เป็น อนาคตภัยข้อที่หนึ่ง ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้แต่จัก เกิดขึ้นในเวลา ต่อไป. พวกเธอทั้งหลายพึงสำนึกไว้ครั้นได้สำนึกแล้ว ก็พึงพยายามเพื่อกำจัดภัยนั้น เสีย.

(ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า 74)

.............................................................................................................................................................

141

ผู้หล่นจากศาสนา

            ภิกษุ ท. ! นักบวช ที่ไม่ประกอบด้วยเหตุสี่ประการแล้ว ย่อมกล่าวได้ว่า เป็นผู้หล่นจากธรรมวินัยนี้. เหตุสี่ประการอะไรกันเล่า ? เหตุสี่ประการคือ :-
            (๑) ผู้ที่ไม่ประกอบด้วยศีล อันเป็นเครื่องไปจากข้าศึก๒ เรียกได้ว่า คนหล่นจากธรรมวินัยนี้.
            (๒) ผู้ที่ไม่ประกอบด้วยสมาธิ อันเป็นเครื่องไปจากข้าศึก เรียกได้ว่า คนหล่นจากธรรมวินัยนี้.
            (๓) ผู้ที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา อันเป็นเครื่องไปจากข้าศึก เรียกได้ว่า คนหล่นจากธรรมวินัยนี้.
            (๔) ผู้ที่ไม่ประกอบด้วยวิมุตติ อันเป็นเครื่องไปจากข้าศึก เรียกได้ว่า คนหล่นจากธรรมวินัยนี้.
            ภิกษุ ท. ! นักบวชที่ไม่ประกอบด้วยเหตุสี่ประการเหล่านี้แล เรียกได้ว่า เป็นผู้หล่นจากธรรมวินัยนี้.

(ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า 120)

.............................................................................................................................................................

142

ภิกษุที่ไม่เรียกว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์

1. ไม่รู้ "ความลับ” ของขันธ์ห้า คือไม่รู้จักลักษณะ เหตุเกิด เหตุดับ ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับแห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร ก็หาได้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ไม่

2. ไม่รู้“ความลับ” ของอุปาทานขันธ์ คือไม่รู้จักรสอร่อย ไม่รู้จักโทษ อุบายให้ออกไปพ้นในอุปาทานขันธ์5 ก็หาได้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ไม่

3. ไม่รู้“ความลับ” ของธาตุสี่ ไม่รู้จักธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่รู้จักรสอร่อย ไม่รู้จักโทษ ไม่รู้จักอุบายเครื่องออก ไปพ้น ก็หาได้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ไม่

4. ไม่รู้“ความลับ” ของอินทรีย์หก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ การเกิด การดับ ไม่รู้จักรสอร่อย ไม่รู้จักอุบายเครื่องออก ก็หาได้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ไม่

5. ไม่รู้“ความลับ” ของอินทรีย์ห้า คือไม่รู้ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา และไม่รู้ความเกิด ความดับของอินทรีย์ 5 ก็หาได้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ไม่

6. ไม่รู้ "ปฏิจจสมุปบาท" ไม่รู้จักชรา มรณะ ชาติ ภพ อุปาทาน ไม่รู้เหตุเกิด เหตุดับ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับสนิท ก็หาได้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ไม่

7. ไม่รู้ "อริยสัจจ์" ไม่รู้ความจริงว่า ทุกข์เป็นเช่นนี้ ไม่รู้เหตุเกิด เหตุดับ และข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับสนิท ก็หาได้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ไม่

ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นสมณะใน บรรดาสมณะ ทั้งหลายก็ตาม, ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นพราหมณ์ ในบรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย ก็ตาม, ก็หาเป็นสมณะหรือพราหมณ์ ไปได้ไม่, หาได้ทำให้แจ้งซึ่ง ประโยชน์แห่งความเป็น สมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วย

(สรุปย่อ 7 พระสูตร จากขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า 145-150)

.............................................................................................................................................................

143

พระพุทธเจ้ากำหนดสมาธิทุกครั้งในการกล่าว

อัคคิเวสสนะ. !
เรานั้นหรือ, จำเดิมแต่เริ่มแสดง กระทั่งคำสุดท้ายแห่งการกล่าวเรื่องนั้นๆ ย่อมตั้งไว้ซึ่งจิต ในสมาธินิมิต อันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิตดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีจิต เป็นเอก ดังที่คนทั้งหลายเคยได้ยินว่าเรากระทำอยู่เป็นประจำ ดังนี้.

.............................................................................................................................................................

144

สมถะ กับ วิปัสสนา

ตถาคต ตรัสเรื่อง สมถะ กับ วิปัสสนา เพียง 2 อย่าง

สมถะ(สงบ).. คือให้จิตมีอารมณ์เดียว (เอกัคคตา) รู้ลมหายใจเข้าออก หรือมีจิตอยู่กับกาย เรียก กายคตาสติ จิตนิ่งอยู่กับอารมณ์เดียว อยู่กับลมหายใจเข้าออกขณะที่จิตหลุดออกไปจาก ลมหายใจไปคิดเรื่องอดีต เรื่องอนาคต ไปรู้สึกสุขทุกข์ก็ตาม ให้รีบละความเพลิน แล้วกลับมาที่ ลมหายใจ

พระตถาคตสอน ละนันทิ ความเพลิน อย่าเพลินไปกับอารมณ์ รีบวาง รีบละ แล้วกลับมา อยู่กับ ปัจจุบันให้ไวที่สุด ใครละความเพลินได้ไวดุจกระพริบตา พระองค์ชมว่านั่นเป็นอินทรีย์ ภาวนา ชั้นเลิศ 

ตรัสไว้กับอานนท์ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ เป็นที่ชอบใจ และ ไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังขึ้นเกิดแล้วแก่ภิกษุนั้น ดับไปได้เร็วดุจกระพริบตา อุเบกขายังเหลืออยู่ นี้เรียกว่าอินทรีย์ ภาวนาชั้นเลิศ

พระองค์ให้รู้ลมหายใจเข้าออก เรียกอานาปานสติ
อานาปานสติ เป็นสติปัฏฐาน4  ครบถ้วนบริบูรณ์

วิปัสสนา.. คือปัญญา เห็นการเกิดขึ้น และดับไป การเข้าถึงสัจจะแห่งการเกิดขึ้น และดับไป นี้คือวิปัสสนา วิปัสสนาอยู่ติดกับสมถะตลอดเวลา เพียงแต่ว่าใครจะมองมุมไหน เห็นการเกิดดับ คือเห็นการเกิดดับของขันธ์ทั้ง5

นี่คือกิจสองอย่างที่พึงกระทำในการปฏิบัติภาวนา มรรคมีองค์แปด พูดย่อเหลือ 2 คือ สมถะ กับ วิปัสสนา

.............................................................................................................................................................

145

การเดิน การยืน การนั่ง การนอน อย่างมีสัมปชัญญ
อุปริ. ม. ๑๔/๒๓๖-๒๔๐/๓๔๗-๓๕๐ จาก ฐานที่ตั้งแห่งความมีสัมปชัญญะ ๑๙ ฐาน

         อานนท์ ! ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตน้อมไปเพื่อการเดิน เธอก็เดิน ด้วยการ ตั้งจิตว่า “บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย กล่าวคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ไหลไปตามเรา ผู้เดินอยู่ ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในกรณีแห่ง การเดิน นั้น (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่เก้า)

         อานนท์ ! ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตน้อมไปเพื่อการยืน เธอก็ยืนด้วยการ ตั้งใจว่า “บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย กล่าวคืออภิชฌา และโทมนัส จักไม่ไหลไปตามเราผู้ยืนอยู่ ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในกรณีแห่ง การยืน นั้น (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบ)

         อานนท์ ! ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตน้อมไปเพื่อการนั่ง เธอก็ นั่งด้วยการ ตั้งใจว่า “บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย กล่าวคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ไหลไปตามเราผู้นั่งอยู่ ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในกรณีแห่ง การนั่ง นั้น (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบเอ็ด)

         อานนท์ ! ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตน้อมไปเพื่อการนอน เธอก็นอน ด้วยการ ตั้งใจว่า “บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย กล่าวคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ไหลไปตาม เราผู้นอนอยู่ ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัว ทั่วพร้อม ในกรณีแห่ง การนอน นั้น (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบสอง)

อ่านพระสูตรฉบับเต็ม

.............................................................................................................................................................

146

เหตุที่พระสาวกเป็นผู้ทำตามคำสอน และเป็นพระอรหันต์
(ตรัสกับอัคคิเวสสนะ -สัจจกนิครนถ์ หลังตอบโต้จนเหงื่อตก)
จูฬสัจจกสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้า 300- 305

[๔๐๑] สัจจกนิครนถ์ ทูลถามว่า ด้วยเหตุเท่าไร สาวกของพระโคดม จึงชื่อว่าเป็น ผู้ทำตามคำสั่งสอน ทำถูกตามโอวาท ข้ามความสงสัยเสียได้ ปราศจากความแคลงใจ อันเป็นเหตุให้กล่าวว่าข้อนี้เป็นอย่างไร ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น อยู่ใน คำสอนของศาสดาตน?

พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นเบญจขันธ์นั้น ด้วยปัญญา อันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งเกิดขึ้นเฉพาะในบัดนี้ ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี ทั้งหมด ก็เป็นแต่รูปเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้

ดูกรอัคคิเวสสนะ ด้วยเหตุเท่านี้แหละ สาวกของเราจึงชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสั่งสอน ทำถูกตามโอวาท ข้ามความสงสัยเสียได้ ปราศจากความแคลงใจ อันเป็นเหตุ ให้กล่าวว่า ข้อนี้เป็นอย่างไรถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น อยู่ในคำสอนของ ศาสดาตน.

.............................................................................................................................................................

147

บุคคลที่มีกายมิได้อบรม มีจิตมิได้อบรม
( บาลี – มู. ม. ๑๒/๔๔๐-๔๔๑/๔๐๙ )

ดูกรอัคคิเวสสนะ !
ก็บุคคลที่ มีกายมิได้อบรม มีจิตมิได้อบรม เป็นอย่างไร ?

ดูกรอัคคิเวสสนะ ! ปุถุชนในโลกนี้ ผู้มิได้สดับ
มีสุขเวทนาเกิดขึ้น เขาถูกสุขเวทนา กระทบเข้าแล้ว มีความยินดีนักในสุขเวทนา และถึงความเป็นผู้ยินดีนัก ในสุขเวทนา สุขเวทนาของเขานั้นย่อมดับไป

เพราะสุขเวทนาดับ ก็มีทุกขเวทนาเกิดขึ้น
เขาถูกทุกขเวทนา กระทบเข้าแล้ว ก็เศร้าโศก ลำบากใจ รำพัน คร่ำครวญ ตบอก ถึงความหลงไหล แม้สุขเวทนานั้นเกิดขึ้นแก่เขาแล้ว ก็ครอบงำจิต ตั้งอยู่ เพราะเหตุที่มิได้ อบรมกาย แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้นแล้ว ก็ครอบงำจิต ตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ มิได้อบรมจิต

ดูกรอัคคิเวสสนะ !
แม้สุขเวทนา
เกิดขึ้น แก่ปุถุชนคนใดคนหนึ่ง ก็ครอบงำจิต ตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ มิได้อบรมกาย
แม้ทุกขเวทนา เกิดขึ้น
ก็ครอบงำจิต ตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ มิได้อบรมจิต ทั้งสองอย่าง ดังนี้

ดูกรอัคคิเวสสนะ ! บุคคลที่มีกายมิได้อบรม มีจิตมิได้อบรม เป็นอย่างนี้แหละ
(เพราะไม่ได้อบรมจิต เมื่อสุขเวทนากระทบก็ยินดี เมื่อทุกขเวทนากระทบก็เศร้าโศก)

ดูกรอัคคิเวสสนะ !
ก็บุคคลที่มีกายอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้วเป็นอย่างไร
?

ดูกรอัคคิเวสสนะ ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ
มีสุขเวทนาเกิดขึ้น เขาถูกสุขเวทนา กระทบเข้าแล้ว ไม่มีความยินดีนักในสุขเวทนา และไม่ถึงความเป็นผู้ ยินดีนักในสุขเวทนา สุขเวทนาของเขานั้นย่อมดับไป

เพราะสุขเวทนาดับ ก็มีทุกขเวทนาเกิดขึ้น
เขาถูกทุกขเวทนา กระทบเข้าแล้ว ก็ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน ไม่คร่ำครวญ ไม่ตบอก ไม่ถึงความหลงไหล แม้สุขเวทนานั้นเกิดขึ้นแก่อริยสาวกแล้ว ก็ไม่ครอบงำจิต ตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้อบรม กาย แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ก็ไม่ครอบงำจิต ตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้อบรมจิต

ดูกรอัคคิเวสสนะ !
แม้สุขเวทนาเกิดขึ้น แก่อริยสาวกผู้ใดผู้หนึ่ง ก็ไม่ครอบงำจิต ตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้อบรมกาย แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ก็ไม่ครอบงำจิต ตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ ได้อบรมจิตทั้งสองอย่างนี้ ดังนี้

ดูกรอัคคิเวสสนะ ! บุคคลที่มีกายอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้ว เป็นอย่างนี้แหละ
(เพราะได้อบรมจิต เมื่อสุขเวทนากระทบก็ไม่ยินดี เมื่อทุกขเวทนากระทบก็ไม่เศร้าโศก)

สัจจกนิครนถ์ ทูลว่าเมื่อเป็นอย่างนี้ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อพระโคดม เพราะพระโคดม มีกายอบรม แล้ว มีจิตอบรมแล้ว

.............................................................................................................................................................

148

รักษาพรหมจรรย์ไว้ด้วยนํ้าตา
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า193

            ภิกษุ ท. ! บรรพชิตรูปใด จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม, แม้จะทุกข์กายทุกข์ใจ ถึงนํ้าตานองหน้า ร้องไห้อยู่ก็ยังสู้ ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธ์ิบริบูรณ์อยู่ได้ ก็มีข้อที่น่า สรรเสริญ เธอให้เหมาะสมแก่ธรรมที่เธอมีในบัดนี้มีอยู่ห้าอย่าง. ห้าอย่างอะไรบ้างเล่า ? ห้าอย่างคือ :
            (๑) ธรรมที่ชื่อว่า ศรัทธา ในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ได้มีแล้วแก่เธอ.
            (๒) ธรรมที่ชื่อว่า หิริในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ได้มีแล้วแก่เธอ.
            (๓) ธรรมที่ชื่อว่า โอตตัปปะ ในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ได้มีแล้วแก่เธอ.
            (๔) ธรรมที่ชื่อว่า วิริยะ ในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ได้มีแล้วแก่เธอ.
            (๕) ธรรมที่ชื่อว่า ปัญญา ในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ได้มีแล้วแก่เธอ.
             ภิกษุ ท. ! บรรพชิตรูปใด จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม, แม้จะทุกข์กาย ทุกข์ใจ ถึงนํ้าตานองหน้าร้องไห้อยู่ก็ยังสู้ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ อยู่ได้ ก็มี.

ข้อที่น่าสรรเสริญเธอให้เหมาะสมแก่ธรรม ที่เธอมีในบัดนี้ห้าอย่างเหล่านี้แล.

.............................................................................................................................................................

149

เรื่องผู้มีธรรมเป็นที่พึ่ง
หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า 277


            อานนท์ ! ภิกษุ มีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็น สรณะ มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

            อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเนือง ๆ อยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเนือง ๆ อยู่ มีเพียรเผากิเลส มีความ รู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติจะพึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

            อานนท์ ! ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่ามีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่น เป็นสรณะ มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่.
            อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดีในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดีใครก็ตาม จักต้องมีตน เป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็น ประทีป มีธรรมเป็น สรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่.

             อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา ภิกษุพวกนั้นจักเป็นผู้อยู่ใน สถานะอันเลิศที่สุดแล.

.............................................................................................................................................................

150

ฉันอาหารวันละหนเดียว 
หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า 275

           ภิกษุท. ! เราย่อมฉันโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียว (คือฉันหนเดียวลุกขึ้น แล้วไม่ฉันอีกในวันนั้น). ภิกษุท. ! เมื่อเราฉันโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียวอยู่ ย่อมรู้สึก ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย มีความเบากาย กระปรี้กระเปร่า มีกำลัง และมีความผาสุกด้วย.

            ภิกษุท. ! มาเถิด, แม้พวกเธอทั้งหลาย ก็จงฉันโภชนะแต่ในที่นั่ง แห่งเดียว. ภิกษุท. ! พวกเธอทั้งหลาย เมื่อฉันโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียวอยู่จักรู้สึกความเป็น ผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย มีความเบากาย กระปรี้กระเปร่า มีกำลัง และมีความผาสุก ด้วย 

.............................................................................................................................................................

151

หลังอาหารแล้วภาวนา
หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า 275 

           สารีบุตร ! คำของเธอทั้งหลาย เป็นสุภาษิตได้โดยปริยาย. เธอทั้งหลาย จงฟังคำของเราบ้าง. สารีบุตร ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เวลาหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ (ขัดสมาธิ) ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า หวัง อยู่ว่า “จิตของเรา ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะยังไม่สิ้น อุปาทานเพียงใด เราจักไม่เลิกถอนการนั่งคู้บัลลังก์นี้เพียงนั้น” ดังนี้. 
            สารีบุตร ! ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามสง่า เพราะมีภิกษุประเภทนี้เข้าอาศัย อยู่แล.

.............................................................................................................................................................

152

เชิงรองของจิต
หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า 299

           ภิกษุท. ! หม้อ ที่ไม่มีเชิงรองรับ ย่อมกลิ้งได้ง่าย. ส่วนหม้อที่มีเชิง รองรับ ย่อมกลิ้งได้ยาก. ภิกษุท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น จิตที่ไม่มีเครื่อง รองรับ ย่อมหมุนไปได้ง่าย. ส่วนจิต ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมหมุนไปได้ยาก.

            ภิกษุท. ! เครื่องรองรับของจิต เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรค นี้แล ได้แก่ความเข้าใจอันถูกต้อง ความดำริอันถูกต้อง การพูดจาอันถูกต้อง การทำงานอัน ถูกต้อง การเลี้ยงชีวิตอันถูกต้อง ความ พยายามอันถูกต้อง ความระลึกอันถูกต้อง ความตั้งใจ มั่นคงอันถูกต้อง อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้แล เป็นเครื่องรองรับของจิต.

.............................................................................................................................................................

153

เนื้อแท้ที่ไม่อันตรธาน
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์หน้า 352

           ภิกษุท. ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้ สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อย กรอง ประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอัน วิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่า นั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

           ภิกษุท. ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมาย ซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา เมื่อมีผู้นำสุตตันตะ เหล่านั้น มากล่าวอยู่ เธอย่อมฟังด้วยดีย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญ ว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน

จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ?” ดังนี้.

ด้วยการทำดังนี้เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้, ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้ ความสงสัยในธรรมหลาย ประการที่น่าสงสัย เธอก็บรรเทาลงได้.

           ภิกษุท. ! ภิกษุบริษัทเหล่านี้เราเรียกว่า บริษัทที่มีการลุล่วงไปได้ด้วย การสอบถาม แก่กันและกันเอาเอง หาใช่ด้วยการชี้แจงโดยกระจ่างของ บุคคลภายนอกเหล่าอื่นไม่ จัดเป็นบริษัทที่เลิศแล.

.............................................................................................................................................................

154

ยอดแห่งความเพียร
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์หน้า 352

ภิกษุท. ! ความเพียรที่เป็นหลักเป็นประธาน สองประการเหล่านี้
เป็นสิ่งที่ทำได้ยากในโลก สองประการอะไรบ้างเล่า? สองประการ คือ

ฝ่ายคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ต้องใช้ความเพียร เพื่อให้ได้เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และยาแก้ไข้ นี่อย่างหนึ่ง

ฝ่ายบรรพชิต ผู้ออกบวชจากเรือนไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน ต้องใช้ความเพียร เพื่อละอุปธิ เสียทั้งหมด นี่อย่างหนึ่ง.

ภิกษุท. ! ความเพียรที่เป็นหลักเป็นประธาน สองประการเหล่านี้แหละ เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ในโลก.

ภิกษุท. ! บรรดาความเพียรที่เป็นหลักเป็นประธานสองประการเหล่านี้ ความเพียร เพื่อละอุปธิเสียทั้งหมด จัดเป็นยอดแห่งความเพียร.

ภิกษุท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ว่า “เราทั้งหลาย จักตั้งความเพียร ที่เป็นหลักเป็นประธาน เพื่อละอุปธิ เสียทั้งหมด” ดังนี้.

ภิกษุท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่าง นี้แล.

.............................................................................................................................................................

155

ผู้ไม่ทำศาสนาเสื่อม
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์หน้า 35

ภิกษุท. ! มูลเหตุสี่ประการเหล่านี้ย่อมทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือน จนเสื่อมสูญไป. สี่ประการอะไรบ้างเล่า ? สี่ประการ คือ :-

(๑) ภิกษุท. ! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาถูก ด้วยบทพยัญชนะ ที่ใช้กันถูก ความหมายแห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก ย่อมมีนัย อันถูกต้องเช่นนั้น. ภิกษุท. ! นี่เป็นมูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้พระสัทธรรม ตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อม สูญไป.

(๒) ภิกษุท. ! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุเป็นคนว่าง่าย ประกอบ ด้วยเหตุที่ทำให้เป็น คนว่าง่าย อดทน ยอมรับคำสั่งสอนโดยความเคารพหนักแน่น. ภิกษุท. ! นี่เป็นมูล กรณีที่สอง ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.

(๓) ภิกษุท. ! อีกอย่างหนึ่ง พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่ว ในหลักพระพุทธวจนะ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) พวกภิกษุเหล่านั้น เอาใจใส่บอกสอน เนื้อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่น ๆ เมื่อ ท่านเหล่านั้นล่วง ลับไป สูตรทั้งหลาย ก็ไม่ขาดเป็นมูลราก (อาจารย์) มีที่อาศัยสืบกันไป. ภิกษุท. ! นี่เป็นมูลกรณีที่สาม ซึ่งทำให้พระสัทธรรม ตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.

(๔) ภิกษุท. ! อีกอย่างหนึ่ง พวกภิกษุผู้เถระ ไม่ทำการสะสม บริกขาร ไม่ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา ไม่เป็นผู้นำในทางทราม มุ่งหน้า ไปในกิจแห่ง วิเวกธรรม ย่อมปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่ง ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง. พวกภิกษุที่บวช ในภายหลัง ได้เห็นพระเถระ เหล่านั้น ทำแบบฉบับเช่นนั้นไว้ก็ถือเอาเป็น ตัวอย่าง พวกภิกษุรุ่นหลัง จึงเป็นพระ ที่ไม่ทำการสะสมบริกขาร ไม่ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา ไม่เป็นผู้นำในทางทราม มุ่งหน้าไปในกิจแห่งวิเวก ธรรม ย่อมปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุเพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง. ภิกษุท. ! นี่เป็น มูลกรณีที่สี่ ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.

ภิกษุท. ! มูลเหตุสี่ประการเหล่านี้แล ย่อมทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไปเลย.

.............................................................................................................................................................

156
มนุษย์เป็นอันมาก ได้ยึดถือเอาที่พึ่งผิด ๆ
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค ๑

มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถูกความกลัวคุกคามเอาแล้ว
ย่อมยึดถือเอาภูเขาบ้าง ป่าไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง
สวนศักดิ์สิทธิ์บ้าง รุกขเจดีย์บ้าง ว่าเป็นที่พึ่งของตนๆ

นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันทำความเกษมให้ได้เลย
นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด ผู้ใดถือเอาสิ่งนั้นๆ เป็นที่พึ่งแล้ว
ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้

ส่วนผู้ใด ที่ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้ว
เห็นอริยสัจทั้งสี่ ด้วยปัญญาอันถูกต้อง คือ
เห็นทุกข์ เห็นเหตุเป็นเครื่องให้เกิดขึ้นของทุกข์
เห็นความก้าวล่วงเสียได้ซึ่งทุกข์ และเห็นมรรค
ประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ
ซึ่งเป็นเครื่องให้ถึงความเข้าไปสงบรำงับแห่งทุกข์  

นั่นแหละคือ ที่พึ่งอันเกษม นั่นคือ ที่พึ่งอันสูงสุด
ผู้ใดถือเอาที่พึ่งนั้นแล้ว
ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวง ได้แท้

ธ. ขุ. ๒๕/๔๐/๒๔.

.............................................................................................................................................................

157

อนุตตริยะ 6 (ภาวะอันเยี่ยม, สิ่งที่ยอดเยี่ยม)
(สรุปย่อ)

          1. ทัสสนานุตริยะ (การเห็นอันเยี่ยม ) ได้แก่ การเห็นพระตถาคต และตถาคตสาวกรวมถึงสิ่งทั้งหลาย ที่จะให้เกิดความเจริญงอกงามแห่งจิตใจ
          2. สวนานุตตริยะ (การฟังอันเยี่ยม) ได้แก่ การสดับธรรมของพระตถาคต และ ตถาคตสาวก)
          3. ลาภานุตตริยะ (การได้อันเยี่ยม) ได้แก่ การได้ศรัทธาในพระตถาคต และตถาคตสาวก หรือการได้อริยทรัพย์)
          4. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันเยี่ยม) ได้แก่ การฝึกอบรมในอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา
          5. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำเรออันเยี่ยม)ได้แก่ การบำรุงรับใช้ พระตถาคต และตถาคตสาวก
          6. อนุสสตานุตตริยะ (การระลึกอันเยี่ยม) ได้แก่ การระลึกถึงพระตถาคต และตถาคตสาวก

โดยสรุปคือ การเห็น การฟัง การได้ การศึกษา การช่วยรับใช้ และการรำลึกที่จะเป็น ไปเพื่อความบริสุทธิ์ ล่วงพ้นโสกะปริเทวะ ดับสูญทุกข์โทมนัส เพื่อการบรรลุญายธรรม ทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

ดูพระสูตรเต็ม

.............................................................................................................................................................

158

“ปสาทสูตร” ความเลื่อมใสในสิ่งเลิศ ๔ ประการเป็นไฉน

1.ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
(คำสอน) ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งเลิศ และวิบากอันเลิศย่อมมีแก่ชนผู้เลื่อมใสในสิ่งเลิศ

2.ชนเหล่าใดเลื่อมใสอันประกอบด้วยองค์ ๘
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งเลิศ และวิบากอันเลิศย่อมมีแก่ชนผู้เลื่อมใสในสิ่งเลิศ

3.ชนเหล่าใดเลื่อมใสในวิราคะ
(คลายความพอใจ) ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งเลิศ และวิบากอันเลิศย่อมมีแก่ชน ผู้เลื่อมใสในสิ่งเลิศ

4.ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระสงฆ์
(ที่ประพฤติปฏิบัติชอบตามธรรมวินัย) ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งเลิศ และวิบากอันเลิศย่อมมีแก่ชนผู้เลื่อมใสในสิ่งเลิศ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งเลิศ ๔ ประการนี้แล ฯ บุญที่เลิศ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติคุณ สุข และพละอันเลิศ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้รู้แจ้งซึ่งธรรมอันเลิศ

https://www.youtube.com/watch?v=mZLxktSLCog

.............................................................................................................................................................

159
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
(บทนำ หน้า 18)


อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้สัตว์บางพวก ไม่ปรินิพพาน และ ปรินิพพาน ในทิฏฐธรรม?

ท้าวสักกะ(เทวดาชั้นดาวดึงส์) ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! อะไรหนอเป็นเหตุอะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บางพวก ในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานใน ทิฏฐธรรม? และอะไรเป็นเหตุเป็น ปัจจัยที่ทำให้สัตว์ บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในทิฏฐธรรม พระเจ้าข้า?”

ไม่ปรินิพพาน

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย! รูปทั้งหลายที่จะพึงรู้ได้ด้วยจักษุมีอยู่ เป็นรูปที่น่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด

ถ้าหากว่า ภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญเมาหมกอยู่ ซึ่งรูปนั้นแล้วไซร้ เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่กะรูปนั้น วิญญาณนั้น อันตัณหาในอารมณ์ คือรูปอาศัยแล้ว ย่อมมีแก่เธอนั้น วิญญาณนั้น คืออุปาทาน

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย! ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน

(ในกรณีแห่งเสียงที่จะพึงรู้สึกด้วยโสตะ กลิ่นที่จะพึงรู้สึกด้วยฆานะ รสที่จะพึงรู้สึกด้วยชิวหา สัมผัส ทางผิวหนังที่จะพึงรู้สึกด้วยกาย (ผิวกายทั่วไป) ก็มีข้อความอย่างเดียวกันกับข้อความ ในกรณีแห่งรูป ที่จะพึงรู้ได้ด้วยจักษุ ดังที่กล่าวแล้วข้างบน ทุกตัวอักษะ ต่างกันเพียงชื่อ แห่งอายตนะ แต่ละอายตนะ เท่านั้น ในที่นี้จะยกข้อความอันกล่าวถึงธัมมารมณ์เป็นข้อสุดท้าย มากล่าวไว้อีกครั้งดังต่อไปนี้ )

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย! ธัมมารมณ์ทั้งหลายที่จะพึงรู้สึกด้วยมโน มีอยู่ เป็นธัมมารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารักเป็นที่เข้าไปอาศัย แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัด

ถ้าหากว่า ภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งธัมมารมณ์นั้น แล้วไซร้ เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ กะธัมมารมณ์นั้น วิญญาณนั้น อันตัณหา ในอารมณ์ คือธัมมารมณ์อาศัยแล้ว ย่อมมีแก่เธอนั้น วิญญาณนั้นคือ อุปาทาน.

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอม แห่งเทวดาทั้งหลาย! ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน.

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย! นี้แลเป็นเหตุ นี้เป็นปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บาง พวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในทิฏฐธรรม.
...................................................................................................

ปรินิพพาน
ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย! รูปทั้งหลายที่จะพึงรู้ได้ด้วยจักษุมีอยู่ เป็นรูปที่น่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัย แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด

ถ้าหาก ว่า ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งรูปน้น แล้วไซร้ เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ กะรูปนั้น วิญญาณนั้น อันตัณหา ในอารมณ์ คือรูปอาศัยแล้ว ย่อมไม่มีแก่เธอนั้น วิญญาณที่จะเป็นอุปาทาน ย่อมไม่มี

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย! ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน

(ในกรณีแห่งเสียง ที่จะพึงรู้ด้วยโสตะ กลิ่นที่จะพึงรู้สึกด้วยฆานะ รสที่จะพึงรู้สึกด้วย ชิวหาสัมผัส ทางผิวหนังที่จะพึง รู้สึกด้วยกาย (ผิวกายทั่วไป) ก็มีข้อความอย่าง เดียวกันกับ ข้อความในกรณีแห่งรูปที่จะพึงรู้ได้ด้วยจักษุ ดังที่กล่าวแล้วข้างบน ทุกตัวอักษร ต่างกัน แต่เพียงชื่อแห่งอายตนะแต่ละอายตนะเท่านั้น ในที่นี้จะ ยกข้อความอันกล่าวถึงธัมมารมณ์ เป็นข้อสุดท้าย มากกล่าวไว้อีกครั้ง ดังต่อไปนี้ )

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย! ธัมมารมณ์ทั้งหลายที่จะพึงรู้สึกด้วยมโน มีอยู่ เป็นธัมมารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารักเป็นที่เข้าไป อาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัด

ถ้าหากว่าภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งธัมมารมณ์นั้น แล้วไซร้ เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ กะธัมมารมณ์ นั้น วิญญาณนั้นอัน ตัณหาในอารมณ์ คือธัมมารมณ์อาศัยแล้ว ย่อมไม่มีแก่เธอนั้น วิญญาณที่จะเป็นอุปาทาน ย่อมไม่มี.

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย! ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย! นี้แลเป็นเหตุ นี้เป็นปัจจัยที่ทำให้สัตว์บางพวก ในโลกนี้ ปรินิพพานในทิฏฐธรรม ดังนี้ แล.

.............................................................................................................................................................

160

ปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องลึกและดูลึก
(ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์หน้า52)

พระอานท์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า " น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า! ไม่เคยมีแล้วพระเจ้าข้า! ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ปฏิจจสมุปบาทนี้ เขาร่ำลือกันว่าเป็นธรรมลึก(๒) ด้วย ดูท่าทางราวกะว่า เป็นธรรมลึกด้วย แต่ปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนกับเป็นธรรมตื้น ๆ".

ดูก่อนอานนท์! อย่ากล่าวอย่างนั้น. ดูก่อนอานนท์! อย่ากล่าว อย่างนั้น. ก็ปฏิจจสมุปบาทนี้ ลึกซึ้งด้วย มีลักษณะดูเป็นธรรมลึกซึ้งด้วย.

ดูก่อนอานนท์! เพราะไม่รู้ เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมคือ ปฏิจจสมุปบาท นี้ (จิตของ)หมู่สัตว์นี้ จึงเป็นเหมือนกลุ่มด้ายยุ่ง ยุ่งเหยิงเหมือนความยุ่ง ของกลุ่มด้ายที่หนา แน่นไปด้วยปม พันกันยุ่งเหมือน เซิงหญ้ามุญชะ และหญ้าปัพพชะอย่างนี้ ย่อมไม่ ล่วงพ้นซึ่ง สงสาร ที่เป็นอบาย ทุคติ วินิบาตไปได้.

……………………………………………………………………..
ท่านพุทธทาส ไม่เห็นด้วยกับอรรถกถา ที่เข้าใจพระสูตรนี้ แตกต่างออกไป จากที่ควรจะเป็น

(๑) สูตรที่ ๑๐ ทุกขวรรค อภิสมยสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑/๒๒๕, ตรัสแก่พระอานนท์ ที่กัมมาสทัมมนิคม;มหานิทานสูตร มหา. ที่. ๑๐/๖๕/๕๗, ตรัสแก่พระอานนท์ ที่กัมมาสทัมมนิคม [มหานิทานสูตรนี้ไม่มีคำว่า "เพราะไม่รู้" (อญฺญญฺาณา)].

(๒)ความลึกของปฏิจจสมุปบาทนี้
อรรถกถาอธิบายว่า เป็นของลึกเกินประมาณ และมีลักษณะปรากฏแก่ตาผู้ดูรู้สึกว่าลึกเหลือประมาณด้วย เปรียบได้กับความลึกของมหาสมุทร ที่มีอยู่ที่เชิงเขาสิเนรุ; ไม่เหมือนกับความลึกของน้ำเน่าสีดำ เพราะใบไม้หมักหมมอยู่ภายใต้ ซึ่งหลอกตาให้รู้สึกว่าเป็นของลึก น่ากลัว แต่ความจริงตื้นแค่เข่า.

ข้อความใน อรรถกถาตอนนี้ มีสิ่งที่ควรสังเกตเป็นพิเศษตรงที่กล่าวไว้ว่า มีมหาสมุทรอันลึก เหลือประมาณ ตั้งอยู่ที่ เชิงเขาสิเนรุ คือภูเขาหิมาลัย.

ผู้ได้ฟังในบัดนี้ ไม่อาจจะเข้าใจได้ เพราะมหาสมุทรอินเดีย ในบัดนี้ อยู่ไกลเชิงเขาหิมาลัย ตั้งพันไมล์ แต่เผอิญไปตรงกับเค้าเงื่อนที่นักธรณีวิทยา แห่งยุคปัจจุบันได้มีมติ กันว่า ประเทศอินเดียสมัยดึกดำบรรพ์ พื้นที่ระหว่างภูเขาหิมาลัยทางเหนือ กับภูเขาวินธัยทางใต้นั้น ลุ่มลึกเป็นทะเล.
ดังนั้นข้อความในอรรถกถานี้ จะถูกผิดหรือเพ้อเจ้อประการใด ขอฝากไว้ เพื่อการพิจารณา -อรรถกถา สุมังคลวิลาสินี ภาค ๒ หน้า ๑๐๖.

นอกจากนี้ ก็ยังมีพระบาลี(สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐๒/๖๓)
ที่กล่าวว่าภูเขาสิเนรุนั้น หยั่งลงใน มหาสมุทร ลึกถึง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ นับว่าเป็นสิ่งที่ยังเข้าใจไม่ได้ จะต้องสันนิษฐานกันต่อไป.

.............................................................................................................................................................


161

พระสูตรนี้เป็น อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของตถาคต
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์

เอกกนิทเทส
(1)

        [๑๗] บุคคล ผู้พ้นแล้วในสมัย เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย ในกาลโดยกาลในสมัยโดยสมัยแล้ว สำเร็จ อิริยาบถอยู่ อนึ่ง อาสวะบางอย่างของบุคคลนั้น หมดสิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้พ้นแล้วในสมัย

        [๑๘] บุคคล ผู้มิใช่พ้นแล้วในสมัย เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ มิได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย ในกาลโดยกาลในสมัยโดยสมัย สำเร็จ อิริยาบถอยู่ อนึ่ง อาสวะทั้งหลายของบุคคลนั้น หมดสิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มิใช่พ้นแล้วในสมัย พระอริยบุคคล แม้ทั้งปวง ชื่อว่าผู้มิใช่พ้นแล้วในสมัย ในวิโมกข์ ส่วนที่เป็นอริยะ


.............................................................................................................................................................

162
พระสูตรนี้เป็น อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของตถาคต
เอกกนิทเทส (2)

           [๑๙] บุคคล ผู้มีธรรมอันกำเริบ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌาน หรือสหรคตด้วยอรูปฌาน* แต่บุคคลนั้น มิใช่เป็นผู้ได้ ตามปรารถนา มิใช่เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก มิใช่เป็นผู้ได้โดยไม่ ลำบาก ไม่สามารถจะเข้าหรือออกสมาบัติใดในที่ใด นานเท่าใด ตามปรารถนา ข้อนี้ก็เป็น ฐานะอยู่แล ที่สมาบัติเหล่านั้นจะพึงกำเริบได้ เพราะอาศัยความประมาทของ บุคคลนั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรมอันกำเริบ
*(อรูปฌาน ในบาลี ใช้ อรูป ไม่มีฌาน)

        [๒๐] บุคคล ผู้มีธรรมอันไม่กำเริบ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌาน หรือสหรคตด้วยอรูปฌาน แต่บุคคลนั้น เป็นผู้ได้ตาม ต้องการ เป็นผู้ได้โดยไม่ยากเป็นผู้ได้โดยไม่ลำบาก สามารถจะ เข้า หรือออกสมาบัติใดในที่ใด นานเท่าใดได้ตาม ปรารถนา ข้อนี้ไม่เป็นฐานะไม่เป็นโอกาส ที่สมาบัติเหล่านั้น จะพึงกำเริบเพราะอาศัยความประมาทของบุคคลนั้น บุคคลนี้เรียกว่าผู้มี ธรรม อันไม่กำเริบพระอริยบุคคลแม้ทั้งหมด ชื่อว่าผู้มีธรรมอันไม่กำเริบ ในวิโมกข์ส่วน ที่เป็น อริยะ
.............................................................................................................................................................

163
พระสูตรนี้เป็น อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของตถาคต
เอกกนิทเทส (3)


          [๒๑] บุคคล ผู้มีธรรมอันเสื่อม เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌาน หรือสหรคตด้วยอรูปฌาน แต่บุคคลนั้น มิใช่เป็นผู้ได้ตาม ต้องการ มิใช่เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก มิใช่เป็นผู้ได้โดยไม่ลำบาก ไม่สามารถจะเข้าหรือออกสมาบัติใด ในที่ใด นานเท่าใด ตามปรารถนา ข้อนี้ก็เป็นฐานะ อยู่แล ที่บุคคลนั้น จะพึงเสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้นได้ เพราะอาศัยความประมาท บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้มีธรรมอันเสื่อม

          [๒๒] บุคคล ผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌาน หรือสหรคตด้วยอรูปฌาน แต่บุคคลนั้น เป็นผู้ได้ตาม ต้องการ เป็นผู้ได้โดยไม่ยากเป็นผู้ได้โดยไม่ลำบาก สามารถ จะเข้าหรือออก สมาบัติใด ในที่ใด นานเท่าใดตามปรารถนา ข้อนี้ไม่เป็นฐานะไม่เป็นโอกาส ที่บุคคลนั้น จะพึงเสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น เพราะอาศัยความประมาท บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรมอันไม่เสื่อมพระอริยบุคคล แม้ทั้งปวงเป็นผู้มีธรรมอันไม่เสื่อมในวิโมกข์ ส่วนที่เป็นอริยะ
.............................................................................................................................................................

164
พระสูตรนี้เป็น อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของตถาคต
เอกกนิทเทส (4)

           [๒๓] บุคคล ผู้ควรโดยเจตนา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสรหคตด้วยรูปฌาน หรือสหรคตด้วยอรูปฌาน แต่บุคคลนั้นมิใช่เป็นผู้ได้ ตามต้องการ มิใช่ได้โดยไม่ยากมิใช่เป็นผู้ได้โดยไม่ลำบาก ไม่สามารถจะเข้าหรือออกสมาบัติใด ในที่ใด นานเท่าใด ได้ตามปรารถนา หากว่าคอย ใส่ใจอยู่ ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น หากไม่เอาใจใส่ก็เสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ควรโดยเจตนา

          [๒๔] บุคคล ผู้ควรโดยการตามรักษา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสรหคตด้วยรูปฌาน หรือสรหคตด้วยอรูปฌาน และบุคคลนั้นแล มิใช่เป็นผู้ได้ ตามต้องการ มิใช่เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก มิใช่เป็นผู้ได้ โดยไม่ลำบาก ไม่สามารถจะเข้าหรือออกสมาบัติใด ในที่ใด นานเท่าใด ได้ตามปรารถนา หากว่าคอยรักษาอยู่ ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น หากว่าไม่คอยรักษา ก็เสื่อมจาก สมาบัติเหล่านั้น บุคคลนี้เรียกว่าผู้ควรโดยการตามรักษา 

.............................................................................................................................................................

165
พระสูตรนี้เป็น อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของตถาคต
เอกกนิทเทส (5)

          [๒๕] บุคคลที่เป็น ปุถุชน เป็นไฉน
สัญโญชน์ ๓ อันบุคคลใดละไม่ได้ ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อละธรรมเหล่านั้นบุคคลนี้เรียกว่าปุถุชน

          [๒๖] บุคคลที่เป็น โคตรภูบุคคล เป็นไฉน
ความย่างลงสู่อริยธรรมในลำดับแห่งธรรมเหล่าใด บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมเหล่านั้น นี้เรียกว่าโคตรภูบุคคล

[๒๗] บุคคล ผู้งดเว้นเพราะกลัว เป็นไฉน

พระเสขะ ๗ จำพวก และบุคคลปุถุชนผู้มีศีล ชื่อว่าผู้งดเว้นเพราะกลัว พระอรหันต์ชื่อว่ามิใช่ ผู้งดเว้น เพราะกลัว


.............................................................................................................................................................

166

พระสูตรนี้เป็น อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของตถาคต
เอกกนิทเทส (6)

            [๒๘] บุคคล ผู้ไม่ควรแก่การบรรลุมรรคผล เป็นไฉน
บุคคลที่ประกอบด้วยกัมมาวรณ์ ประกอบด้วยกิเลสาวรณ์ ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นผู้ไม่ควรหยั่งลงสู่นิยามอันถูกในกุศลธรรมทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้เรียกว่า ผู้ไม่ควรแก่การบรรลุมรรคผล

          [๒๙] บุคคล ผู้ควรแก่การบรรลุมรรคผล เป็นไฉน
บุคคลที่ไม่ประกอบด้วยกัมมาวรณ์ ไม่ประกอบด้วยกิเลสาวรณ์ ไม่ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญา ไม่โง่เขลา เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยามอันถูกในกุศลธรรม ทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้เรียกว่า ผู้ควรแก่การบรรลุมรรคผล

.............................................................................................................................................................

167

พระสูตรนี้เป็น อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของตถาคต
เอกกนิทเทส (7)

          [๓๐] บุคคล ผู้เที่ยงแล้ว เป็นไฉน
บุคคลผู้ทำอนันตริยกรรม ๕ จำพวก บุคคลผู้เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ และพระอริยบุคคล๘ ชื่อว่า ผู้เที่ยง แล้ว บุคคลนอกนั้น ชื่อว่า ผู้ไม่เที่ยง

          [๓๑] บุคคล ผู้ปฏิบัติ เป็นไฉน
บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ ชื่อว่าผู้ปฏิบัติ บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยผล ๔ ชื่อว่าผู้ตั้ง อยู่แล้ว ในผล
.............................................................................................................................................................

168
พระสูตรนี้เป็น อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของตถาคต
เอกกนิทเทส (8)

           [๓๒] บุคคลชื่อว่า สมสีสี เป็นไฉน
การสิ้นไปแห่งอาสวะ และการสิ้นไปแห่งชีวิตของบุคคลใด มีไม่ก่อนไม่หลังกัน บุคคลนี้เรียก ว่า สมสีสี 

          [๓๓] บุคคลชื่อว่า ฐิตกัปปี เป็นไฉน
บุคคลนี้พึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล และเวลาที่กัลป์ไหม้จะพึงมีกัลป์ ก็ไม่พึงไหม้ ตราบเท่าที่บุคคลนี้ ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลบุคคลนี้เรียกว่า ฐิตกัปปี บุคคลผู้พร้อมเพรียง ด้วยมรรค แม้ทั้งหมด ชื่อว่าเป็นผู้มีกัลป์ ตั้งอยู่แล้ว

.............................................................................................................................................................

169

พระสูตรนี้เป็น อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของตถาคต
เอกกนิทเทส (9)

           [๓๔] บุคคลเป็น อริยะ เป็นไฉน
พระอริยบุคคล ๘ เป็นอริยะ บุคคลนอกนั้น ไม่ใช่อริยะ

          [๓๕] บุคคลเป็น เสขะ เป็นไฉน
บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๓ เป็นเสขะพระอรหันต์ เป็นอเสขะ บุคคลนอกนั้นเป็นเสขะ ก็มิใช่ เป็นอเสขะก็มิใช่
.............................................................................................................................................................

170

พระสูตรนี้เป็น อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของตถาคต
เอกกนิทเทส (10)

           [๓๖] บุคคลผู้มี วิชชา ๓ เป็นไฉน
บุคคลประกอบด้วยวิชชา ๓ ชื่อว่าผู้มีวิชชา ๓

[๓๗] บุคคลผู้มี อภิญญา ๖ เป็นไฉน

บุคคลประกอบด้วยอภิญญา ๖ ชื่อว่าผู้มีอภิญญา ๖

.............................................................................................................................................................

171

พระสูตรนี้เป็น อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของตถาคต
เอกกนิทเทส (11)

           [๓๘] บุคคลเป็น พระสัมมาสัมพุทธะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งสัจจะด้วยตนเองในธรรมทั้งหลาย ที่ตน มิได้เคย สดับมาแล้วในก่อน บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมนั้น และบรรลุความเป็นผู้ มีความชำนาญ ในธรรม เป็นกำลังทั้งหลายบุคคลนี้เรียกว่า พระสัมมาสัมพุทธะ

          [๓๙] บุคคลเป็น พระปัจเจกพุทธะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมตรัสรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลายด้วยตนเอง ในธรรมทั้งหลาย ที่ตนไม่ได้ สดับ มาแล้วในก่อน แต่มิได้บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมนั้น ทั้งไม่ถึงความเป็นผู้ ชำนาญในธรรม อันเป็นกำลังทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า พระปัจเจกพุทธะ
.............................................................................................................................................................

172

พระสูตรนี้เป็น อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของตถาคต
เอกกนิทเทส (12)

           [๔๐] บุคคลชื่อว่า อุภโตภาควิมุต เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วสำเร็จอิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะ ของผู้นั้น ก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า อุภโตภาควิมุต

          [๔๑] บุคคลชื่อว่า ปัญญาวิมุต เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ มิได้ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ แต่อาสวะ ของผู้นั้น สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ปัญญาวิมุต

          [๔๒] บุคคลชื่อว่า กายสักขี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วสำเร็จอิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะ บางอย่าง ของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญาบุคคลนี้เรียกว่า กายสักขี

.............................................................................................................................................................

173

พระสูตรนี้เป็น อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของตถาคต
เอกกนิทเทส (13)

           [๔๓] บุคคลชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ผู้นั้นเห็นชัด แล้ว ดำเนินไปดีแล้วด้วยปัญญา อนึ่งอาสวะบางอย่าง ของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วย ปัญญาบุคคลนี้เรียกว่า ทิฏฐิปัตตะ

          [๔๔] บุคคลชื่อว่า สัทธาวิมุต เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อนึ่งธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ผู้นั้นเห็นชัด แล้ว ดำเนินไปดีแล้วด้วยปัญญา อนึ่ง อาสวะบางอย่างของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วย ปัญญา แต่มิใช่เหมือนบุคคล ผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคลนี้เรียกว่าสัทธาวิมุต

.............................................................................................................................................................

174

พระสูตรนี้เป็น อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของตถาคต
เอกกนิทเทส (14)

          [๔๕] บุคคลชื่อว่า ธัมมานุสารี เป็นไฉน
ปัญญินทรีย์ของบุคคลใด ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลมีประมาณยิ่ง บุคคลนั้น ย่อมอบรม ซึ่งอริยมรรค อันมีปัญญาเป็นเครื่องนำมา มีปัญญาเป็นประธานให้เกิดขึ้น บุคคลนี้ เรียกว่า ธัมมานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ชื่อว่าธัมมานุสารี บุคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ 

          [๔๖] บุคคลชื่อว่า สัทธานุสารี เป็นไฉน
สัทธินทรีย์ของบุคคลใดผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล มีประมาณยิ่ง อบรม อริยมรรคมีสัทธา เป็นเครื่องนำมา มีสัทธาเป็นประธานให้เกิดขึ้น บุคคลนี้เรียกว่า สัทธานุสารี บุคคล ผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล ชื่อว่าสัทธานุสารี ผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่า สัทธาวิมุต

.............................................................................................................................................................

175

พระสูตรนี้เป็น อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของตถาคต
เอกกนิทเทส (15)

          [๔๗] บุคคลชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์ทั้ง ๓ เป็นโสดาบัน มีอันไม่ไป เกิดใน อบายเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง จะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า บุคคลนั้นจะแล่นไป ท่องเที่ยวไปในเทวดา และมนุษย์ ๗ ชาติ แล้วทำที่สุดทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า สัตตัก ขัตตุปรมะ

          [๔๘] บุคคลชื่อว่า โกลังโกละ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์ทั้ง ๓ เป็นโสดาบัน มีอันไม่ ไปเกิด ในอบายเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า บุคคลนั้นจะแล่นไป ท่องเที่ยวไป สู่ตระกูลสอง หรือสาม แล้วทำที่สุดทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า โกลังโกละ

          [๔๙] บุคคลชื่อว่า เอกพิชี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์ทั้ง ๓ มีอันไม่ไปเกิด ในอบาย เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง จะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า บุคคลนั้นเกิดในภพมนุษย์อีกครั้งเดียว แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่าเอกพิชี
.............................................................................................................................................................

176

พระสูตรนี้เป็น อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของตถาคต
เอกกนิทเทส (16)

          [๕๐] บุคคลชื่อว่า สกทาคามี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์ทั้ง ๓ เพราะทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง เป็นสกทาคามี ยังจะมาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วทำที่สุดทุกข์ ได้บุคคลนี้เรียกว่า สกทาคามี

          [๕๑] บุคคลชื่อว่า อนาคามี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้ง ๕ มีกำเนิดเป็น อุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนี้เรียกว่า อนาคามี 

.............................................................................................................................................................

177

พระสูตรนี้เป็น อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของตถาคต
เอกกนิทเทส (17)

          [๕๒] บุคคลชื่อว่า อันตราปรินิพพายี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้ง ๕ มีกำเนิดเป็น อุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนั้น ย่อมยัง อริยมรรคให้เกิดขึ้น เพื่อละสัญโญชน์อันมีในเบื้องบน ในระยะเวลาติดต่อ กับที่เกิดบ้าง ยังไม่ถึง ท่ามกลางกำหนดอายุบ้าง บุคคลนี้เรียกว่า อันตราปรินิพพายี

          [๕๓] บุคคลชื่อว่า อุปหัจจปริพพายี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้ง ๕ มีกำเนิดเป็น อุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้น เป็นธรรมดา บุคคลนั้น ย่อมยัง อริยมรรคให้เกิดขึ้น เพื่อละสัญโญชน์อันมีในเบื้องบน เมื่อล่วงพ้น ท่ามกลางกำหนดอายุบ้าง เมื่อใกล้จะทำกาลกิริยาบ้าง บุคคลนี้เรียกว่า อุปหัจจปรินิพพายี

          [๕๔] บุคคลชื่อว่า อสังขารปรินิพพายี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้ง ๕ มีกำเนิดเป็น อุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนั้นย่อมยัง อริยมรรคให้เกิดขึ้น โดยไม่ลำบากเพื่อละสัญโญชน์อันมีในเบื้องบน บุคคลนี้เรียกว่า อสังขาร ปรินิพพายี

          [๕๕] บุคคลชื่อว่า สสังขารปรินิพพายี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบ แห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้ง ๕ มีกำเนิดเป็น อุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนั้น ย่อมยังอริยมรรคให้เกิดขึ้นโดยลำบาก เพื่อละสัญโญชน์อันมีในเบื้องบน บุคคลนี้ เรียกว่า สสังขารปรินิพพายี

          [๕๖] บุคคลชื่อว่า อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้ง ๕ มีกำเนิดเป็น อุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้น เป็นธรรมดา บุคคลนั้น จุติจากอวิหา ไปอตัปปา จุติจากอตัปปาไปสุทัสสา จุติจากสุทัสสาไปสุทัสสีจุติ จากสุทัสสีไปอกนิฏฐา ย่อมยัง อริยมรรค ให้เกิดขึ้นในอกนิฏฐา เพื่อละสัญโญชน์เบื้องบน บุคคลนี้เรียกว่า อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

.............................................................................................................................................................

178

พระสูตรนี้เป็น อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของตถาคต
เอกกนิทเทส (18)

          [๕๗] บุคคลชื่อว่าโสดาบัน ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อ ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล เป็นไฉน
          บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อละสัญโญชน์ ๓  ปฏิบัติแล้วเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สัญโญชน์ ๓ อันบุคคลใดละได้แล้ว บุคคลนั้นเรียกว่าโสดาบัน

          บุคคลปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบาบางแห่งกามราคะ และพยาบาท ปฏิบัติแล้วเพื่อ ทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล เพราะราคะและพยาบาทของ บุคคลใด เบาบางแล้ว บุคคลนี้เรียกว่า สกทาคามี

          บุคคลปฏิบัติแล้ว เพื่อละไม่ให้เหลือ ซึ่งกามราคะ และพยาบาท ปฏิบัติแล้ว
เพื่อทำ ให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล กามราคะและพยาบาท อันบุคคลใดละได้หมดไม่มีเหลือ บุคคลนั้นเรียกว่า อนาคามี

          บุคคลปฏิบัติแล้ว เพื่อไม่ให้เหลือซึ่งรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา 
ปฏิบัติแล้วเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล รูปราคะ อรูปราคะมานะ อุทธัจจะ อวิชชา 
อันบุคคลใดละได้หมดไม่มีเหลือ บุคคลนี้เรียกว่า อรหันต์

179

ความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม
(1.) ภิกษุเล่าเรียนพระสูตรกันมาผิด ด้วยบท และพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด
(2.) ภิกษุเป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ
(3.) ภิกษุที่เป็นพหูสูต ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา แต่ไม่สอนแก่ผู้อื่น ทำให้รากขาดสูญ
(4.) ภิกษุพระเถระเป็นผู้มักมาก ประพฤติย่อหย่อน ไม่ปรารภความเพียร เพื่อบรรลุธรร

ความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
(1.) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนพระสูตรอันเรียนกันมาดี ด้วยบท และพยัญชนะ อันตั้งไว้ดี
(2.) ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรม อดทน รับคำพร่ำสอน โดยเคารพ
(3.) ภิกษุที่เป็นพหูสูต เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรม ทรงวินัย บอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ
(4.) ภิกษุพระเถระ เป็นผู้ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่บรรลุ

อ่านพระสูตรเต็ม (สุขตวินิโย ระเบียบของพระสุคต)

.............................................................................................................................................................

180

ทรงสอนเฉพาะแต่เรื่องทุกข์ กับความดับสนิทของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! ทั้งที่เรามีถ้อยคำอย่างนี้ มีการกล่าวอย่างนี้ สมณะและพราหมณ์บางพวก ยังกล่าวตู่เราด้วยคำเท็จเปล่าๆ ปลี้ๆ ไม่มีจริงให้เป็นจริงว่า

พระสมณโคดมเป็นคนจูงคนให้เดินผิดทางไปสู่ความฉิบหาย ย่อมบัญญัติลัทธิ ความสูญเปล่า ความวินาศ ความไม่มีของสัตว์ คน ตัวตน เราเขา ขึ้นสั่งสอน” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมณะและพราหมณ์บางพวกเหล่านั้น กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จเปล่าๆ ปลี้ๆ ไม่มีจริงให้เป็นจริง โดยประการที่เราไม่ได้กล่าว หรือจะกล่าวอย่างนั้น ก็หามิได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลก่อนก็ตาม ในกาลบัดนี้ก็ตาม เราบัญญัติสอนแต่เรื่องความทุกข์ และความดับสนิทไม่มีเหลือของความทุกข์ เท่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในการกล่าวแต่เรื่องความทุกข์ และความดับสนิทไม่มีเหลือ ของความ ทุกข์เช่นนี้ แม้จะมีใครมาด่าว่า ถากถาง กระทบกระเทียบ เสียดสี, ตถาคตก็ไม่มีความ ขุ่นแค้น โกรธเคือง เดือดร้อนใจ เพราะเหตุนั้น แต่ประการใด.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในเรื่องเดียวกันนั้นเอง แม้จะมีใครมาสักการะ เคารพ สรรเสริญ บูชา, ตถาคตก็ไม่มีความรู้สึกเพลิดเพลิน ชื่นชม หรือเคลิ้มใจไปตาม.

ถ้ามีใครมาสักการะ เคารพ สรรเสริญ บูชา, ตถาคตย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ก่อนหน้านี้ เรามีความรู้สึกตัวทั่วถึงอย่างไร บัดนี้เราก็ต้องทำความรู้สึกตัวทั่วถึงอย่างนั้น ดังนี้.

-บาลี มู. ม. ๑๒/๒๗๖/๒๘๖.
พุทธวจนหมวดธรรม เล่ม1 ตามรอยธรรม หน้า33-34