อุปริ. ม. ๑๔/๒๓๖-๒๔๐/๓๔๗-๓๕๐
ฐานที่ตั้งแห่งความมีสัมปชัญญะ ๑๙ ฐาน
อานนท์ อย่างไรเล่า ชื่อว่า ภิกษุกระทำจิตในภายในนั่นแหละ ให้เป็นจิตตั้งอยู่ อย่างสม่ำเสมอ ให้เป็นจิตหยุดพัก ให้เป็นจิตมีอารมณ์เดียว ให้เป็นจิตตั้งมั่น ? อานนท์ ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจาก กามสงัดจากอกุศลธรรม จึง เข้าถึงปฐมฌาน .... ทุติยฌาน .... ตติยฌาน .... จตุตถฌาน แล้วแลอยู่.
อานนท์ ! อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุกระทำจิตในภายในนั่นแหละ ให้เป็นจิตตั้งอยู่อย่าง สม่ำเสมอ ให้เป็นจิตหยุดพัก ให้เป็นจิตมีอารมณ์เดียว ให้เป็นจิตตั้งมั่น. ภิกษุ นั้น ย่อมกระทำในใจซึ่ง สุญญตาอันเป็นภายใน
(1) เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งสุญญตาอันเป็นภายในอยู่ จิตไม่แล่นไปเพื่อ สุญญตา อันเป็นภายใน ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป. อานนท์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากระทำในใจ ซึ่งสุญญตาอันเป็นภายในอยู่ จิตไม่แล่นไปเพื่อ สุญญตาอันเป็นภายใน ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ไม่น้อมไป ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้รู้สึกตัวทั่วพร้อม (สมฺปชาน) ในกรณีที่ จิตไม่น้อมไปสู่สุญญตา อันเป็นภายใน นั้น. (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่หนึ่ง)
(2) ภิกษุนั้น ย่อมกระทำในใจซึ่ง สุญญตาอันเป็นภายนอก. เมื่อเธอกระทำในใจซึ่ง สุญญตาอันเป็นภายนอก อยู่ จิตไม่แล่นไปเพื่อสุญญตาอันเป็น ภายนอก ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป. อานนท์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรา กระทำในใจซึ่งสุญญตาอันเป็น ภายนอกอยู่ จิตไม่แล่นไปเพื่อสุญญตา อันเป็น ภายนอก ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ รู้สึกตัวทั่ว พร้อมในกรณีที่ จิตไม่น้อมไปสู่สุญญตาอันเป็นภายนอก นั้น (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สอง)
(3) ภิกษุนั้น ย่อมกระทำในใจซึ่ง สุญญตาอันเป็นทั้งภายในและภายนอก เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งสุญญตา อันเป็นภายในและภายนอกอยู่ จิตไม่แล่นไปเพื่อ สุญญตาอันเป็นทั้งภายในและภายนอก ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป. อานนท์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า “เมื่อเรากระทำในใจซึ่งสุญญตา อันเป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่ จิตไม่แล่นไปเพื่อสุญญตาอันเป็นทั้ง ภายในและ ภายนอก ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป“ ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่า เป็นผู้ รู้สึกตัวทั่วพร้อมในกรณีที่ จิตไม่น้อมไปสู่สุญญตาอันเป็นทั้งภายใน และภายนอก นั้น (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สาม)
(4) ภิกษุนั้น ย่อมกระทำในใจซึ่ง อาเนญชะ เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งอาเนญชะอยู่ จิตไม่แล่นไปเพื่อ อาเนญชะ ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป. อานนท์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรา กระทำในใจซึ่งอาเนญชะอยู่ จิตไม่แล่นไปเพื่อ อาเนญชะ ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ดังนี้ ในกรณี อย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่า เป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในกรณีที่ จิตไม่น้อมไปสู่อาเนญชะ นั้น (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สี่)
(5) อานนท์ ภิกษุนั้น พึงกระทำจิตในภายในนั้นแหละให้ตั้งมั่นอยู่ อย่างสม่ำเสมอ ในสมาธินิมิต ที่เคยมีมาแล้วในกาลก่อน (คือในรูปสัญญาทั้งสี่ ที่กล่าวแล้ว ข้างต้น) นั้น นั่นเทียว พึงให้เป็นจิตหยุดพัก พึงให้เป็นจิตมีอารมณ์เดียว พึงให้เป็นจิตตั้งมั่น.
ภิกษุนั้น กระทำในใจซึ่ง สุญญตาอันเป็นภายใน (ในรูปสัญญาทั้งสี่) เมื่อ เธอกระทำในใจซึ่งสุญญตาอันเป็นภายในอยู่ จิตก็แล่นไป เพื่อสุญญตา อันเป็น ภายใน ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมหลุดพ้น. อานนท์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากระทำในใจซึ่ง สุญญตาอันเป็น ภายในอยู่ จิตก็แล่นไปเพื่อสุญญตาอันเป็นภายใน ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมหลุดพ้น ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่า เป็นผู้มีความรู้สึกตัว ทั่วพร้อม ในกรณีที่ จิตน้อมไปสู่สุญญตาอันเป็นภายใน นั้น (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่ห้า)
(6) ภิกษุนั้น กระทำในใจซึ่ง สุญญตาอันเป็นภายนอก เมื่อเธอกระทำในใจซึ่ง สุญญตาอันเป็นภายนอกอยู่. จิตก็แล่นไปเพื่อสุญญตาอันเป็นภายนอกย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมหลุดพ้น. อานนท์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า “เมื่อเรากระทำในใจซึ่งสุญญตาอันเป็นภายนอกอยู่, จิตก็แล่นไปเพื่อสุญญตา อันเป็นภายนอก ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมหลุดพ้น” ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่า เป็นผู้มีความ รู้สึกตัว ทั่วพร้อมในกรณี ที่จิตน้อมไปสู่ สุญญตาอันเป็นภายนอกนั้น. (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะฐานที่หก)
(7) ภิกษุนั้น กระทำในใจซึ่ง สุญญตาอันเป็นทั้งภายในและภายนอก เมื่อเธอกระทำในใจซึ่ง สุญญตาอัน เป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่, จิตก็แล่นไป เพื่อสุญญตาอันเป็นทั้งภายในและ ภายนอก ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมหลุดพ้น อานนท์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อม รู้ชัด อย่างนี้ว่า เมื่อเรากระทำในใจ ซึ่งสุญญตาอันเป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่ จิตก็แล่นไปเพื่อ สุญญตาอันเป็นทั้ง ภายในและภายนอก ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมหลุดพ้น ดังนี้ ในกรณี อย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่า เป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในกรณี ที่จิตน้อมไปสู่สุญญตา อันเป็น ทั้งภายในและภายนอกนั้น. (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่ง สัมปชัญญะ ฐานที่เจ็ด)
(8) ภิกษุนั้น กระทำในใจซึ่ง อาเนญชะ เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งอาเนญชะอยู่จิตก็แล่นไปเพื่อ อาเนญชะ ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมหลุดพ้น อานนท์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อม รู้ชัด อย่างนี้ว่า “เมื่อเรากระทำ ในใจซึ่งอาเนญชะอยู่, จิตก็แล่นไปเพื่ออาเนญชะ ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้ง อยู่ ย่อมหลุดพ้น ดังนี้ ในกรณี อย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัว ทั่วพร้อมในกรณี ที่จิตน้อมไปสู่อาเนญชะนั้น. (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่แปด)
(9) อานนท์ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตน้อมไปเพื่อ การ เดิน เธอก็เดินด้วยการ ตั้งจิตว่า บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย กล่าวคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ไหลไปตามเราผู้เดินอยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในกรณีแห่ง การเดิน นั้น. (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่เก้า).
(10) อานนท์ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตน้อมไปเพื่อการยืน เธอก็ยืนด้วยการ ตั้งใจว่า บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย กล่าวคืออภิชฌา และโทมนัส จักไม่ไหลไปตามเราผู้ยืนอยู่ ด้วยอาการอย่างน้” ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในกรณีแห่ง การยืน นั้น (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบ)
(11) อานนท์ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตน้อมไปเพื่อการนั่ง เธอก็ นั่งด้วยการ ตั้งใจว่า “บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย กล่าวคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ไหลไปตามเราผู้นั่งอยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในกรณีแห่ง การนั่ง นั้น (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบเอ็ด)
(12) อานนท์ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตน้อมไปเพื่อการนอน เธอก็นอนด้วยการ ตั้งใจว่า บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย กล่าวคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ไหลไปตามเราผู้นอนอยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในกรณีแห่ง การนอน นั้ (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบสอง)
(13) อานนท์ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตน้อมไปเพื่อการพูด เธอก็ ตั้งจิตว่า เราจักไม่พูดเรื่องเลวทราม เรื่องของชาวบ้าน เรื่องของบุถุชน ไม่ใช่เรื่องของ พระอริยเจ้า ไม่ใช่ เรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อดับ ไม่เป็นไป เพื่อสงบ รำงับ เพื่อรู้ยิ่งรู้พร้อม เพื่อนิพพาน เห็นปานนั้น เช่นเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องน่ากลัว เรื่องการรบพุ่ง เรื่องข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน ระเบียบดอกไม้ ของหอม ญาติ ยานพาหนะ หมู่บ้าน จังหวัด เมืองหลวง บ้านนอก เรื่องหญิงชาย เรื่องคนกล้า เรื่องตรอก ทางเดิน เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ตายไปแล้ว เรื่องต่างๆ นานา เรื่องโลก เรื่องมหาสมุทร เรื่องความ รุ่งเรือง เรื่องความทรุดโทรม ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึตัวทั่วพร้อม ในกรณีแห่งเรื่องไม่ควรพูด นั้น. (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะฐานที่สิบสาม).
(14) แต่ถ้า กถาใด เป็นเรื่องขูดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การ วิจารณญาณ แห่งจิต เป็นไปเพื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อรู้ พร้อม เพื่อนิพพาน กล่าวคือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ดังนี้ เธอ ตั้งจิตคิดว่า “เราจัก กล่าวกถาเห็นปานนั้น ดังนั้น ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในกรณีแห่งกถาที่ควรพูด นั้น (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบสี่)
(15) อานนท์ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตน้อมไปในการตรึก เธอก็ ตั้งจิตว่า “วิตกเหล่านี้ใด ซึ่งเลวทราม เป็นของชาวบ้าน ของบุถุชน ไม่ใช่ของ พระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง รู้พร้อม เพื่อนิพพาน กล่าวคือกามวิตก พ๎ยาปาทวิตก วิหิงสาวิตก เราจักไม่ตรึกในวิตก เห็นปาน นั้น ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุ นั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในกรณีแห่งวิตกอันไม่ควรตรึก นั้น. (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบห้า)
(16) แต่ถ้า วิตกเหล่าใด ซึ่งเป็นของพระอริยเจ้า เป็นเครื่องนำออก ย่อมนำ ออกเพื่อความพ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตามวิตกนั้น กล่าวคือ เนกขัมมวิตก อัพยาปาทวิตก อวิหิงสาวิตก เธอตั้งจิตคิดว่า เราจึกตรึกในวิตกเห็นปานนั้น ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวตัวทั่วพร้อม ในกรณีแห่งวิตกอันควรตรึก นั้น (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบหก)
(17) อานนท์ กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ? ห้าอย่างคือ รูป ท. อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ .... เสียง ท. อันจะพึงรู้แจ้งด้วยโสตะ.... กลิ่น ท. อันพึงรู้แจ้งด้วยฆานะ .... รส ท. อันจะพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา .... โผฏฐัพพะ ท. อันจะพึงรู้แจ้งด้วยกายะ อันเป็นสิ่งที่ปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เหล่านี้แล คือ กามคุณ ๕ อย่าง ซึ่งในกามคุณเหล่านั้น ภิกษุพึง พิจารณาจิตของตนอยู่เนืองๆว่า “มีอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ที่ความกำเริบแห่งจิตเกิดขึ้นในกามคุณ ทั้งห้าเหล่านี้ หรือว่าในอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้. อานนท์ ถ้าภิกษุเมื่อพิจารณาอยู่ ย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า มีอยู่แก่เราแล ที่ความกำเริบแห่งจิต เกิดขึ้นในกามคุณทั้งห้าเหล่านี้ หรือว่าในอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ อานนท์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัด อย่างนี้ว่า ฉันทราคะในกามคุณทั้งห้าเหล่านี้ เรายังละไม่ได้” ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่า เป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในกรณีแห่ง ฉันทะราคะ ในกามคุณที่ตนยังละ มันไม่ได้ นั้น (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบเจ็ด)
(18) อานนท์ แต่ถ้าว่าภิกษุ เมื่อพิจารณาอยู่ ย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า ไม่มีอยู่แก่ เราเลย ที่ความกำเริบแห่งจิตเกิดขึ้นในกามคุณทั้งห้า หรือว่าใน อายตนะ อย่างใด อย่างหนึ่ง ดังนี้ อานนท์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า ฉันทราคะ ในกามคุณทั้งห้าเหล่านี้ เราละได้แล้ว ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่า เป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในกรณี แห่ง ฉันทราคะในกามคุณห้า ที่ตนละได้แล้ว นั้น (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบแปด)
(19) อานนท์ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล มีอยู่ ซึ่งในอุปาทานขันธ์ห้าเหล่านั้น ภิกษุพึงเป็นผู้มีปกติตามเห็นซึ่งความตั้งขึ้นและความเสื่อมไปอยู่ ดังนี้ว่า รูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณ เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณ เป็นอย่างนี้ ความดับแห่งรูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณ เป็นอย่างนี้ ดังนี้เมื่อภิกษุนั้น มีปกติตามเห็นซึ่ง ความตั้งขึ้น และความเสื่อมไปใน อุปาทานขันธ์ห้าเหล่านี้อยู่ อัส๎มิมานะใน อุปาทานขันธ์ทั้งห้า อันเธอย่อมละได้. อานนท์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า อัส๎มิมานะของเราในอุปาทานขันธ์ทั้งห้า อันเราละ ได้แล้ว ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่า เป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในกรณีแห่งอัสมิ มานะ ในปัญจุปาทานขันธ์ อันตนละได้แล้ว นั้น (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบเก้า)
อานนท์ ! ธรรมทั้งหลาย (อันเป็นที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ๑๙ อย่าง) เหล่านี้แล เป็นไปเพื่อกุศลโดยส่วนเดียว เป็นของพระอริยเจ้า เป็นโลกุตตระอันมารผู้มีบาป หยั่งลงไม่ได้. |