1
อริยสัจจจากพระโอษฐ์หน้า 106
ผู้เข้าถึงอาเนญชาสมาธิ
(สมาธิระดับอรูป)
เพราะผ่านพ้นการกำหนดหมาย ในรูป (ผ่านพ้น ฌาน๑-๔)
เพราะความดับ แห่งการกำหนดหมาย ในอารมณ์ที่ขัดใจ
เพราะการไม่ทำในใจ ซึ่งการกำหนดหมาย ในภาวะต่าง ๆ
เข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สิ้นสุด”
เพราะผ่านพ้น อากาสานัญจายตนะ เสียได้โดยประการทั้งปวง
เข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “วิญญาณ ไม่มีที่สิ้นสุด”
เพราะผ่านพ้น วิญญาณัญจาย-ตนะ เสียได้โดยประการทั้งปวง
เข้าถึง อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า“อะไร ๆ ไม่มี”
เพราะผ่านพ้น อากิญจัญญายตนะ เสียได้โดยประการทั้งปวง
เข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะแล้วแลอยู่.
ภิกษุ ผู้ถึง อาเนญชา ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล
.......................................................................................
2
อริยสัจจจากพระโอษฐ์หน้า 106
ภิกษุผู้ถึงความเป็นเทพชั้นกามภพ (หลังกายแตก)
(เป็นเทพประเภทอริยะ)
ภิกษุสงัดแล้วจากกาม
สงัดแล้วจากอกุศลทั้งหลาย บรรลุฌานที่หนึ่ง
ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่
เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ บรรลุฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ทำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่
เพราะความจางไปแห่งปีติ
ย่อมอยู่อุเบกขา มีสติ-สัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุฌานที่สาม อันเป็นฌาน ที่พระอริยเจ้า กล่าวว่า “ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่
เพราะละสุข และละทุกข์เสียได้ และเพราะความ ดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัส ในกาลก่อน บรรลุฌานที่สี่ อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติ เป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์เพราะ อุเบกขา แล้วแลอยู่
ภิกษุ ผู้ถึงความเป็นเทพ (นิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง) ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.
.......................................................................................
3
ภิกษุผู้ถึงความเป็นเทพ ชั้นพรหม (หลังกายแตก)
(เจริญพรหมวิหาร๔)
ภิกษุผู้ถึงความเป็น พรหม เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุในกรณีนี้ แผ่จิต
อันประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
สู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ที่สาม และที่สี่
โดยลักษณะอย่างเดียวกันตลอดโลกทั้งสิ้น
ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ และ ด้านขวาง
ด้วยจิตอันประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
อันไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท เป็นจิต กว้างขวาง ประกอบด้วยคุณอันใหญ่หลวงหาประมาณมิได้ แล้วแลอยู่
ภิกษุ ผู้ถึงความเป็นพรหม ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล
.....................................................................................
4
เหตุแห่งความเสื่อมในพระสัทธรรม
(คัดย่อจากหลายพระสูตร)
ปัจจัยที่ 1 พุทธบริษัท ๔ ไม่มีความเคารพยำเกรงต่อศาสนา
ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคต ปรินิพพานแล้ว พวก ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้
๑) เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในศาสดา
๒) เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในธรรม
๓) เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในสงฆ์
๔) เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในสิกขา
๕) เป็นผู้ไม่มี ความเคารพ ไม่มีความยำเกรง กันและกัน
-------------------------------------------------------------
ปัจจัยที่ 2 เนื้อแท้อันตรธาน
เปรียบเหมือน กลองศึก “อานกะ“ ของกษัตริย์พวก ทสารหะ เมื่อกลองแตก ก็จะหา ไม้อื่น ทำเป็นลิ่มเสริมทุกคราว เมื่อปะเข้าหลายครั้ง นานเข้าเนื้อไม้เดิมก็หมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ไหม่ที่ทำเสริม
ฉันใดก็ฉันนั้น ในกาลแห่งอนาคต จะมีภิกษุไม่สนใจคำสอนของตถาคต แต่จะสนใจ คำแต่งใหม่ที่ สละสลวย คำแต่งใหม่เหล่านี้เธอไม่ควรฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่ควรศึกษาเล่าเรียน
-------------------------------------------------------------
ปัจจัยที่ 3 พุทธบริษัท ๔ ไม่มีความเคารพยำเกรงต่อศาสนา
เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือน หายแห่งพระสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้
๑) ไม่เคารพยำเกรง ในพระศาสดา
๒) ไม่เคารพยำเกรง ในพระธรรม
๓) ไม่เคารพยำเกรง ในพระสงฆ์
๔) ไม่เคารพยำเกรง ในสิกขา
๕ ไม่เคารพยำเกรง ในสมาธิ
-------------------------------------------------------------
ปัจจัยที่ 4 ความย่อหย่อน และความประพฤติของภิกษุ
๑) เล่าเรียนบอกสอนกันมาผิดๆ
๒) ภิกษุเป็นคนว่ายาก ไม่อดทน ไม่ยอมรับคำตักเตือน
๓) ภิกษุที่คล่องพระสูตรไม่เอาใจใส่บอกสอนภิกษรูปุอื่น
๔) ภิกษุเถระ ย่อหย่อนในสิกขา เป็นผู้นำในทางทราม พระรูปอื่นถือเอาอย่าง
-------------------------------------------------------------
อุปมาที่ทำให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ไม่นาน
สัทธรรมปฏิรูปกสูตร (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๒๑๗)
(อุปมา ๑) เหตุเพราะ โมฆะบุรุษ (คนเลว)
ธาตุ ดิน น้ำ ไฟลม ไม่อาจทำให้ พระสัทธรรมให้เลือนหายไปได้ แต่ โมฆะบุรุษ(คนเลว คนไร้ค่า) ทำให้พระสัทธรรมให้เลือนหายไปได้
(อุปมา ๒) เหตุจากการเกิดขึ้นของสัทธรรมปฏิรูป (อรรถกถา)
พระสัทธรรม เปรียบเหมือนทองแท้
สัทธรรมปฏิรูป(ธรรมะของปลอม) เปรียบเหมือน ทองเทียม
เมื่อใด สัทธรรมปฏิรูป ยังไม่เกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้นพระสัทธรรม ก็ยังไม่ เลือนหายไป
เมื่อใด สัทธรรมปฏิรูป เกิดขึ้นในโลกเมื่อใด เมื่อนั้น พระสัทธรรม จึง เลือนหายไป
.....................................................................................
5
อกุศลมูล (ราคะ โทสะ โมหะ)
อะไรเป็นความผิดแปลก อะไรเป็นความแตกต่าง อะไรเป็นเครื่องแสดงความต่าง ระหว่างธรรม ๓ อย่างเหล่านี้
(๑) ราคะ มีโทษน้อย คลายช้า
(๒) โทสะ มีโทษมาก คลายเร็ว
(๓) โมหะ มีโทษมาก คลายช้า
อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้ราคะ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือราคะที่เกิดขึ้น แล้ว เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์
คำตอบพึงมีว่า สุภนิมิต (สิ่งที่แสดงให้รู้สึกว่างาม) คือเมื่อเขาทำในใจ ซึ่งสุภนิมิต โดยไม่แยบคาย ราคะ ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และราคะที่เกิดอยู่แล้ว ก็เป็นไปเพื่อความเจริญ โดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์
อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้โทสะ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือโทสะที่เกิดขึ้น แล้ว เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ คำตอบพึงมีว่า ปฏิฆนิมิต (สิ่งที่แสดงให้รู้สึก กระทบกระทั่ง) คือเมื่อเขาทำ ในใจ ซึ่งปฏิฆ นิมิตโดยไม่แยบ คาย โทสะ ที่ยัง ไม่เกิดก็เกิดขึ้น และโทสะที่เกิด อยู่แล้ว ก็เป็นไปเพื่อ ความเจริญ โดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์
อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้โมหะ ที่ยัง ไม่เกิด เกิดขึ้น หรือโมหะที่เกิดขึ้น แล้ว เป็นไปเพื่อ ความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความ ไพบูลย์ ?” ดังนี้ คำตอบพึงมีว่า อโยนิโสมนสิการ (การกระทำในใจ โดยไม่แยบคาย) คือเมื่อ ทำในใจโดย ไม่แยบ คาย โมหะที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้ นและโมหะที่เกิดอยู่แล้ว ก็เป็นไปเพื่อความ เจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์
หนังสือปฐมธรรม หน้า 105 (พุทธวจน)
..................................................................................
6
หลักการพูด ที่เป็นวาจาสุภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน
(๑) กล่าวแล้ว ควรแก่เวลา
(๒) กล่าวแล้ว ตามสัจจ์จริง
(๓) กล่าวแล้ว อย่างอ่อนหวาน
(๔) กล่าวแล้ว อย่างประกอบด้วยประโยชน์
(๕) กล่าวแล้ว ด้วยเมตตาจิต
หนังสือปฐมธรรม หน้า 53 (พุทธวจน)
...................................................................................
7
ลักษณะการพูดของตถาคต
1) วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าววาจานั้น
2) วาจาใด จริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์และไม่เป็น ที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าววาจานั้น
3) วาจาใด จริง แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ แต่ไม่เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อมเลือกให้เหมาะกาล เพื่อกล่าววาจานั้น
4) วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่นตถาคตย่อม ไม่กล่าววาจานั้น
5) วาจาใด จริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่ก็เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าววาจานั้น
6) วาจาใด จริง แท้ ประกอบด้วยประโยชน์และเป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อมเป็นผู้ รู้จักกาละที่เหมาะ เพื่อกล่าววาจานั้น
หนังสือปฐมธรรม หน้า 53 (พุทธวจน)
....................................................................................
8
ลักษณะการพูดของ สัตบุรุษ
(๑) แม้มีใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ
(๒) แม้ไม่ถูกใครถามถึง ความดีของ บุคคลอื่น ก็ยังนำมาเปิดเผยให้ปรากฏ
(๓) แม้ไม่มีใครถามถึง ความไม่ดี ของตน ก็ยังนำมาเปิดเผยให้ปรากฏ
(๔) แม้มีใครถามถึง ความดีของตน ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ
ลักษณะการพูดของ อสัตบุรุษ
(๑) แม้ไม่มีใครถามถึง ความไม่ดีของ บุคคลอื่น ก็นำมาเปิดเผยให้ปรากฏ
(๒) แม้ถูกใครถามถึง ความดีขอ งบุคคลอื่น ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ
(๓) ถูกใครถามถึง ความไม่ดี ของตน ก็ปกปิดไม่เปิดเผยให้ปรากฏ
(๔) แม้ไม่มีใครถามถึง ความดีของตน ก็นำมาโอ้อวดเปิดเผย
หนังสือปฐมธรรม หน้า 53 (พุทธวจน)
....................................................................................
9
วิธีแก้ความหดหู่
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น
มิใช่กาล เพื่อเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
มิใช่กาล เพื่อเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์
มิใช่กาล เพื่อเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้นยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น
เปรียบเหมือนบุรุษ ต้องการจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลง เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และ โรยฝุ่นลงในไฟนั้น บุรุษนั้นจะสามารถก่อไฟดวงน้อย ให้ลุกโพลง ขึ้นได้หรือหนอ ?
“ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า !”.
ฉันนั้นเหมือนกัน...
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด จิตหดหู่
สมัยนั้น
เป็นกาล เพื่อเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
เป็นกาล เพื่อเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์
เป็นกาล เพื่อเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้นให้ตั้งขึ้นได้ง่าย ด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษ ต้องการ จะก่อไฟดวงน้อย ให้ลุกโพลง เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปาก เป่าและไม่โรยฝุ่นในไฟนั้น บุรุษนั้นสามารถ จะก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลง ขึ้นได้หรือหนอ ? “
ได้ พระเจ้าข้า !”.
ฉันนั้นเหมือนกัน...
(อ่านโพชฌงค์ ๗)
โพชฌงค์ ๗ |
สมัยใดจิตหดหู่ |
สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญ |
สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญ |
๑.
สติสัมโพชฌงค์ |
|
|
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ |
|
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ |
๓.
วิริยสัมโพชฌงค์ |
|
วิริยสัมโพชฌงค์ |
๔.
ปีติสัมโพชฌงค์ |
|
ปีติสัมโพชฌงค์ |
๕.
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ |
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ |
|
๖.
สมาธิสัมโพชฌงค์ |
สมาธิสัมโพชฌงค์ |
|
๗.
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ |
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ |
|
|
หนังสือปฐมธรรม หน้า 178 (พุทธวจน)
..................................................................................
10
วิธีแก้ความฟุ้งซ่าน
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น
มิใช่กาล เพื่อเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
มิใช่กาล เพื่อเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์
มิใช่กาล เพื่อเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้ สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น
เปรียบเหมือน บุรุษต้องการ จะดับ ไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่า และไม่โรยฝุ่นลงไปในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นสามารถจะดับไฟ กองใหญ่ได้หรือหนอ ?
“ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า !”
ฉันนั้นเหมือนกัน…
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น
เป็นกาล เพื่อเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
เป็นกาล เพื่อเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์
เป็นกาล เพื่อเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือน บุรุษ ต้องการจะดับไฟ กองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และ โรยฝุ่นลงใน กองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นจะสามารถดับกองไฟกองใหญ่นั้น ได้ หรือหนอ?
“ได้ พระเจ้าข้า !”.
ฉันนั้นเหมือนกัน...
ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าว “สติ” แลว่า มีประโยชน์ในที่ทั้งปวง.
( อ่านโพชฌงค์ ๗)
โพชฌงค์ ๗ |
สมัยใดจิตฟุ้งซ่าน |
สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญ |
สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญ |
๑.
สติสัมโพชฌงค์ |
|
|
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ |
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ |
|
๓.
วิริยสัมโพชฌงค์ |
สมาธิสัมโพชฌงค์ |
|
๔.
ปีติสัมโพชฌงค์ |
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ |
|
๕.
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ |
|
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ |
๖.
สมาธิสัมโพชฌงค์ |
|
สมาธิสัมโพชฌงค์ |
๗.
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ |
|
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ |
|
หนังสือปฐมธรรม หน้า 178 (พุทธวจน)
.................................................................................
11
อานิสงส์แห่งการปฏิบัติสมาธิแบบต่างๆ
ราหุล ! เธอจง เจริญเมตตาภาวนา เถิด
เมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่ พยาบาท จักละไป
ราหุล ! เธอจง เจริญกรุณาภาวนา เถิด
เมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่
วิหิงสา (ความคิดเบียดเบียน) จักละไป
ราหุล ! เธอจง เจริญมุทิตาภาวนา เถิด
เมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่
อรติ (ความไม่ยินดีด้วยใครๆ)จักละไป
ราหุล ! เธอจง เจริญอุเบกขา เถิด
เมื่อเธอเจริญอุเบกขาอยู่
ปฏิฆะ (ความหงุดหงิดแห่งจิต) จักละไป
ราหุล ! เธอจง เจริญอสุภะภาวนา เถิด
เมื่อเธอเจริญอสุภะภาวนาอยู่
ราคะ จักละไป
ราหุล ! เธอจง เจริญอนิจจสัญญาภาวนา เถิด
เมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่
อัส๎มิมานะ (ความสำคัญว่าตัวตน และของตน) จักละไป
หนังสือปฐมธรรม หน้า 229 (พุทธวจน)
...............................................................................
12
สิกขาบท 227 ข้อ (วินัยของพระ) P446
ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อ
เรื่องการไม่แสดงธรรมแก่บุคคลเหล่านี้
๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ที่มีร่มในมือ
๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ที่มีไม้พลองในมือ
๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ที่มีของมีคมในมือ
๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ที่มีอาวุธในมือ
๕.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ที่สวมเขียงเท่า (รองเท้าไม้) ๑
๖.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ที่สวมรองเท้า
๗.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ที่ไปในยาน
๘.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ที่อยู่บนที่นอน
๙.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ที่นั่งรัดเข่า
๑๐.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ที่โพกศีรษะ
๑๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ที่คลุมศีรษะ
๑๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน
๑๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ
๑๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน
๑๕.ภิกษุเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า
๑๖.ภิกษุเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง
...............................................................................
13
ความแตกต่างระหว่าง อรหันตสัมมา
สัมพุทธะ กับภิกษุปัญญาวิมุตติ
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๑/๑๒๕.
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับไม่เหลือ เพราะไม่ยึดมั่นในรูป เพราะไม่ยึดมั่นในเวทนา เพราะไม่ยึดมั่น ในสัญญา เพราะไม่ยึดมั่นในสังขาร เพราะไม่ยึดมั่นในวิญญาณ (ไม่ยึดมั่นในขันธ์๕) จึงได้นามว่า สัมมาสัมพุทธะ
ภิกษุผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา (ปญฺญาวิมุตฺโต) ก็หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับไม่เหลือ เพราะไม่ยึดมั่นในรูป เพราะไม่ยึดมั่นใน เวทนา เพราะไม่ยึดมั่น ในสัญญา เพราะไม่ยึดมั่นในสังขาร เพราะไม่ยึดมั่นใน วิญญาณ (ไม่ยึดมั่นในขันธ์๕) จึงได้นามว่า ปัญญาวิมุตติ
ในข้อนั้นจะมีอะไรเป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเหตุที่แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับ ภิกษุ
ปัญญาวิมุตติ
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ
ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้
ให้มีคนรู้
ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าว ให้เป็นมรรคที่กล่าวกันแล้ว
ตถาคต
เป็นผู้รู้มรรค (มคฺคญฺญู)
เป็นผู้รู้แจ้งมรรค (มคฺควิทู)
เป็นผู้ฉลาดในมรรค (มคฺคโกวิโท)
ส่วนสาวกทั้งหลาย
เป็นผู้เดินตามมรรค (มคฺคานุคา)
เป็นผู้ตามมาในภายหลัง
นี้แหละเป็นความผิดแผกแตกต่างกัน
เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน
เป็นเหตุที่แตกต่างกันระหว่าง
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับ ภิกษุปัญญาวิมุตติ
...............................................................................
14
การเข้าไปหา เป็นความไม่หลุดพ้น
การไม่เข้าไปหา เป็นความหลุดพ้น
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๖/๑๐๕.
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอารูปตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็น อารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ
งอกงาม ไพบูลย์ได้
วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาเวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้…
วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ …
วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ …
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติ การมา การไป การจุติ การอุปบัติ หรือความเจริญความงอกงาม ความไพบูลย์แห่งวิญญาณ โดยเว้นจาก รูปจากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร ดังนี้ ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายละได้แล้ว
เพราะละราคะนั้นได้
อารมณ์สำหรับวิญญาณย่อมขาดลง
ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี
วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม
หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง
เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น
เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง
เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว
เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพาน เฉพาะตนนั่นเทียว
เธอย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ ไม่ได้มีอีก
วิญญาณตั้งอยู่ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร ได้ เพราะมีราคะ
ละราคะได้ อารมณ์เพื่อการตั้งอยู่ของวิญญาณย่อมขาดลง
เมื่อวิญญาณไม่มีที่ตั้งก็ไม่งอกงาม ก็หลุดพ้นไปเพราะไม่ปรุงแต่ง
หลุดพ้นเพราะไม่ตั้งมั่น เพราะไม่ตั้งมั่นจึงยินดีเฉพาะตน |
...............................................................................
15
ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๖
จังกมสูตร อานิสงส์ในการเดินจงกรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการจงกรม ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุผู้เดินจงกรม
๑)
ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล
๒)
ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร
๓)
ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย
๔)
อาหารที่กินดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อมย่อยไปโดยดี
๕)
สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมย่อมตั้งอยู่ได้นาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรม ๕ ประการนี้แล
...............................................................................
16
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒หน้าที่ ๒๐
๕. อนุคคหสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว ย่อมเป็นธรรม
๑) มีเจโตวิมุติ เป็นผล
๒) มีเจโตวิมุติ เป็นผลานิสงส์
๓) มีปัญญาวิมุติ เป็นผล
๔) มีปัญญาวิมุติ เป็นผลานิสงส์
องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิ
๑) อันศีล อนุเคราะห์แล้ว
๒) อันสุตะ อนุเคราะห์แล้ว
๓) อันการสนทนาธรรม อนุเคราะห์แล้ว
๔) อันสมถะอนุเคราะห์ แล้ว
๕) อันวิปัสสนา อนุเคราะห์แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว ย่อมมีเจโตวิมุติ เป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็น ผลานิสงส์
.............................................................................
17
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๒
๗. สมาธิสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิ หาประมาณ มิได้เถิด เมื่อเธอมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิหาประมาณมิได้อยู่ ญาณ ๕ อย่างย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน
ญาณ ๕ อย่างเป็นไฉนคือ
๑) ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป
๒) สมาธินี้เป็น อริยะ ปราศจากอามิส
๓) สมาธินี้อันคนเลวเสพไม่ได้
๔) สมาธินี้ละเอียด ประณีต ได้ด้วยความสงบระงับ บรรลุได้ด้วยความเป็นธรรมเอก ผุดขึ้น และมิใช่บรรลุได้ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก ห้ามกิเลสด้วยจิตอันเป็น สสังขาร
๕) ก็เราย่อมมีสติเข้าสมาธินี้ได้ มีสติออกจากสมาธินี้ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิอันหา ประมาณมิได้เถิด เมื่อเธอทั้งหลายมีปัญญารักษาตน มีสติเจริญสมาธิอันหาประมาณ มิได้อยู่ ญาณ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน
.................................................................................
18
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๗
ธนสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑) ทรัพย์คือ ศรัทธา
๒) ทรัพย์ คือ ศีล
๓) ทรัพย์ คือ สุตะ
๔) ทรัพย์ คือ จาคะ
๕) ทรัพย์ คือปัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ทรัพย์ คือ ศรัทธาเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี ศรัทธา ย่อมเชื่อพระปัญญา เครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้วเป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ ศรัทธา
ก็ทรัพย์ คือศีลเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นขาดจาก ปาณาติบาต ฯลฯ เว้นขาดจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เรียกว่าทรัพย์คือ ศีล
ก็ทรัพย์ คือ สุตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ นี้เรียกว่าทรัพย์ คือ สุตะ
ก็ทรัพย์ คือ จาคะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ มีใจปราศจาก มลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีราคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่มยินดีในการ เสียสละ ควรแก่การขอ ยินดีในทานและการจำแนกทาน นี้เรียกว่าทรัพย์ คือ จาคะ
ก็ทรัพย์ คือ ปัญญา เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี ปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันหยั่งถึงความตั้งขึ้นและความเสื่อมไป เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่าทรัพย์คือ ปัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๕ ประการนี้แล
ผู้ใดมีความเชื่อในตถาคต ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว มีศีลอันงาม อันพระอริยะชอบใจ สรรเสริญ มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรงบัณฑิตทั้งหลาย กล่าวผู้นั้นว่า ไม่เป็นคนขัดสน ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะเหตุนั้น ผู้มีปัญญา เมื่อนึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบศรัทธา ศีล ปสาทะ และความเห็นธรรมเนืองๆเถิด
(ทรัพย์ ๗ ประการเป็นไฉน)
................................................................................
19
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ หน้า ๒๘๕
เทวทูตสูตร
ดูกรพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่ได้ทำดีทางกายทางวาจา และทางใจไว้ เพราะมัวประมาทเสีย ดังนั้น
เหล่านายนิรยบาลจักลงโทษ โดยอาการที่ท่านประมาทแล้ว
ก็บาปกรรมนี้นั่นแล
ไม่ใช่มารดาทำให้ท่านไม่ใช่บิดาทำให้ท่าน
ไม่ใช่พี่น้องชายทำให้ท่าน
ไม่ใช่พี่น้องหญิงทำให้ท่าน
ไม่ใช่มิตรอำมาตย์ทำให้ท่าน
ไม่ใช่ญาติสาโลหิตทำให้ท่าน
ไม่ใช่สมณะและพราหมณ์ทำให้ท่าน
ไม่ใช่เทวดาทำให้ท่าน ตัวท่านเองทำเข้าไว้
ท่านเท่านั้น จักเสวยวิบากของบาปกรรมนี้
..............................................................................
20
ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ หน้า ๔๕
ทำบุญได้บาปด้วยเหตุ ๕ ประการ
(ตรัสกับ หมอชีวกโกมารภัจจ์)
[๖๐] ดูกรชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์ เจาะจง ตถาคต หรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ
ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
(๑) ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา
(๒) สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ได้เสวยทุกข์ โทมนัส
(๓) ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้
(๔) สัตว์นั้นเมื่อกำลังเขาฆ่าย่อมเสวยทุกข์ โทมนัส
(๕) ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีด้วยเนื้อเป็นอกัปปิยะ
ดูกรชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคต หรือสาวกของตถาคต ผู้นั้นย่อมประสพ บาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้
...............................................................................
21
หนังสือ จิต มโน วิญญาณ หน้า 120
อกุศลธรรม-กุศลธรรม มีมโนเป็นหัวหน้า
-บาลีเอก. อํ. ๒๐/๑๒/๕๗.
ภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมทั้งหลาย ที่เป็นไปใน ส่วนอกุศล
ที่เป็นไปในฝักฝ่ายอกุศล ทั้งหมดนั้น มีมโนเป็นหัวหน้า
มโนเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมทั้งหลายเกิดทีหลัง
ภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมทั้งหลาย ที่เป็นไปในส่วนกุศล
ที่เป็นไปในฝักฝ่ายกุศล ทั้งหมดนั้น มีมโนเป็นหัวหน้า
มโนเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมทั้งหลายเกิดทีหลัง
...............................................................................
22
หนังสือ จิต มโน วิญญาณ หน้า 121
ธรรมทั้งหลาย มีมโนเป็นหัวหน้า
-บาลีขุ. ขุ. ๒๕/๑๕/๑๑.
ธรรมทั้งหลายมีมโนเป็นหัวหน้า มีมโนประเสริฐที่สุด
สำเร็จแล้วแต่มโน ถ้าบุคคลมีมโนอันโทษประทุษร้ายแล้ว
กล่าวอยู่ก็ตาม กระทำอยู่ก็ตาม ทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น
เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคที่ลากเกวียนไป ฉะนั้น
ธรรมทั้งหลายมีมโนเป็นหัวหน้า มีมโนประเสริฐที่สุด
สำเร็จแล้วแต่มโน ถ้าบุคคลมีมโนผ่องใส กล่าวอยู่ก็ตาม
กระทำอยู่ก็ตาม สุขย่อมไปตามบุคคลนั้น เหมือนเงาติดตาม
ตัวไป ฉะนั้น.
ก็ชนเหล่าใด ยังผูกใจเจ็บอยู่ว่า ผู้นั้นได้ด่าเรา ได้
ทำร้ายเรา ได้เอาชนะเรา ได้ลักทรัพย์ของเรา เวรของชน
เหล่านั้น ย่อมระงับไม่ลง ส่วนชนเหล่าใด ไม่ผูกใจเจ็บว่า
ผู้นั้นได้ด่าเรา ได้ทำร้ายเรา ได้เอาชนะเรา ได้ลักทรัพย์
ของเรา เวรของชนเหล่านั้น ย่อมระงับได้ ในยุคไหนก็ตาม
เวรทั้งหลาย ไม่เคยระงับได้ด้วยการจองเวรเลย แต่ระงับได้
ด้วยการไม่จองเวร ธรรมนี้เป็นของเก่า ที่ใช้ได้ตลอดกาล
...............................................................................
23
วักกลิสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๑๕ (คลิก)
มารใจหยาบ หาวิญญาณ วักกลิ ไม่เจอ
(วิญญาณย่อมไม่มีที่ตั้ง สำหรับภิกษุผู้ปรินิพพานแล้ว)
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า มาไปกันเถิด ภิกษุทั้งหลาย เราจะพากันไปยังวิหารกาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ ซึ่งเป็นที่ ที่ วักกลิกุลบุตร นำเอาศาตรามา
ภิกษุเหล่านั้น รับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค เสด็จไปยังวิหาร กาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ พร้อมด้วย ภิกษุเป็นจำนวนมาก. ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระวักกลิ นอนคอบิดอยู่ บนเตียงแต่ไกลเทียว
ก็สมัยนั้นแล ปรากฏเป็นกลุ่มควัน กลุ่มหมอกลอยไป ทางทิศบูรพา ทิศปัจจิม ทิศอุดร ทิศทักษิณ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และอนุทิศ
ลำดับนั้นเอง พระผู้มีพระภาคก็ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมองเห็นกลุ่มควัน กลุ่มหมอก ลอยไปทางทิศบูรพา ฯลฯ และอนุทิศหรือไม่?
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่าเห็น พระเจ้าข้า
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นแหละ คือมารใจหยาบช้า ค้นหาวิญญาณของ วักกลิกุลบุตร ด้วยคิดว่าวิญญาณของวักกลิกุลบุตร ตั้งอยู่ ณ ที่แห่งไหนหนอ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วักกลิกุลบุตรมีวิญญาณไม่ได้ตั้งอยู่ ปรินิพพานแล้ว
...............................................................................
24
สติปัฎฐาน ๔ คือ กองกุศลที่แท้จริง (กุศลราสี) แบบย่อ
(อ่านฉบับเต็ม มหาสติปัฏฐานสูตร)
1) กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน
2) เวทนานุปัสสนาสติปัฎฐาน
3) จิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน
4) ธรรมานุปัสสนาสติปัฎฐาน
สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน
1. พิจารณาเห็นกายในกาย (กายานุปัสสนา) 6 นัยยะ
1. มีสติหายใจเข้า-ออก ..อานาปานสติ สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดเวลา
2.
เดินก็รู้ว่าเดิน... กำหนดรู้ทุกอิริยาบถ ทุกอาการ การเดิน นั่ง ยืน นอน
3.
รู้ตัวในการก้าว-ถอย..มีสัมปชัญญะ การดื่มการเคี้ยวการลิ้มทำความรู้สึกตัว เดิน ยืน นั่ง
4. เห็นกายภายนอก-ภายใน ...พิจารณาเห็นกายเป็นปฏิกูล เป็นของเน่า เป็นของไม่สะอาด
5. รู้ว่ากายนี้มี 4 ธาตุ ... คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
6. เห็นกายเป็นของเน่า เป็นซากศพ ในป่าช้า
- ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้างที่ขึ้นพอง มีสีเขียว มีน้ำเหลืองไหล
- เป็นซากเน่า มีฝูงกา ฝูงนก ฝูงแร้ง จิกกินหมู่สุนัขกัดกินบ้าง
- เป็นร่างกระดูกยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็น ผูกรัดอยู่
- เป็นร่างกระดูกปราศจากเนื้อแต่ยังเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่
- เป็นร่างกระดูกปราศจากเนื้อและเลือดแล้วยังมีเส้นเอ็น ผูกรัดอยู่
- เป็นกระดูกปราศจากเส้นเอ็น เรี่ยรายไปในทิศใหญ่ ทิศน้อย
- เป็นกระดูกมีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์
- เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่แล้ว เกินปีหนึ่งขึ้นไป
- เป็นกระดูกผุ เป็นจุณแล้ว
2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา (เวทนานุปัสสนา) เวทนา 9 อย่าง
1. เสวย สุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา
2. เสวย ทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา
3. เสวย อทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา
4. เสวย สุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา มีอามิส
5. เสวย สุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส
6. เสวย ทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยทุกขเวทนามีอามิส
7. เสวย ทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส
8. เสวย อทุกขมสุขเวทนา มีอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส
9. เสวย อทุกขมสุขเวทนา ไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส
มีอามิส-ไม่มีอามิส คืออะไร อ่าน
3. พิจารณา เห็นจิตในจิต (จิตตานุปัสสนา)
1. จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ
2. จิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
3. จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ
4. จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
5. จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ
6. จิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
7. จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่
8. จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
10. จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ
11. จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
12. จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
13. จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น
ฯลฯ
4. พิจารณาเห็นธรรมในธรรม (ธรรมานุปัสสนา) 5 นัยยะ
1.
รู้ชัด นิวรณ์๕...กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา
2.
รู้ชัด อุปาทานขันธ์ ๕...อุปาทานในรูป ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
3. รู้ชัด อายตนะภายใน๖ ภายนอก๖ ...ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ / รูป เสียง กลิ่น รส ..
4. รู้ชัด โพชฌงค์ ๗ ...สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจย วิริย ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา
5. รู้ชัด อริยสัจ ๔.. ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
----------------------------------------------------------
ผลของการเจริญ สติปัฏฐานทั้ง ๔
เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
1. พระอรหัตผลในปัจจุบัน หรือ
2. เมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี
(อ่านฉบับเต็ม มหาสติปัฏฐานสูตร)
...............................................................................
25
อริยบุคคลแต่ละระดับกับการละสังโยชน์
โสดาบัน
๑ โสดาบัน สัตตักขัตตุปรมะ ละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อ จะเกิดเป็นเทวดาบ้าง มนุษย์บ้าง อีกไม่เกิน ๗ คราว แล้วบรรลุอรหันต์
๒ โสดาบัน โกลังโกละ ละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อ จะเกิดเป็นมนุษย์อีก ๒ ถึง ๓ คราว แล้วบรรลุอรหันต์
๓ โสดาบัน เอกพีชี ละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อ จะเกิดเป็นมนุษย์อีกคราวเดียว แล้ว บรรลุอรหันต์
สกทาคามี
๔ สกทาคามี ละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อ กำลังเริ่มทำลายสังโยชน์ข้อที่ ๔ ราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง จะเกิดในเทวดากามภพ ชั้นดุสิต อีกคราวเดียว แล้วบรรลุ อรหันต์
อนาคามี
๕ อานาคามี มี ๒ จำพวก
พวกที่ ๑ ละสังโยชน์ได้ ๔ ข้อ เกิดในสุทธวาสชั้นที่ ๑-๒-๓-๔
พวกที่ ๒ อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ละสังโยชน์ได้ ๕ ข้อ เกิดในสุทธวาสชั้นที่ ๕ อกนิฏฐา อายุประมาณ ๕๐๐-๒๐๐๐๐ กัป และจะปรินิพพานในภพนั้น ทั้ง ๒ จำพวก
๖ อันตราปรินิพพายี ๓ จำพวก ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้ และ ละสังโยชน์ ตัวเหตุ ให้ได้การเกิด ได้ด้วย จึงปรินิพพาน หลังจากกายแตกทำลาย เป็นช่วง สัมภเวสีสัตว์ ช่วงแสวงหาภพ แต่ยังไม่แตะภพ ปรินิพพานก่อน ๓ ระดับ
๗ อุปหัจจปรินิพพายี
๘ อสังขารปรินิพพายี
๙ สสังขารปรินิพพายี ๓ จำพวกนี้ ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้ หลังจากกายแตก ทำลาย แตะภพใหม่ไปแล้ว เป็นภูตสัตว์ไปแล้ว จึงปรินิพพาน
๑๐ อรหันต์ ละสังโยชน์ได้๑๐ข้อ ปรินิพพาน ในปัจจุบัน
สังโยชน์ ๑๐
โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการ
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)
๔. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๕. พยาบาท (ความคิดร้าย)
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
๑. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน)
๒. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน)
๓. มานะ (ความถือตัว)
๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๕. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง)
...............................................................................
26
ลูกศรคือตัณหา อวิชชาคือโทษอันเป็นพิษ
ลูกศร คือตัณหา โทษอันเป็นพิษคือ อวิชชา ย่อมงอกงามได้ด้วย ฉันทราคะ และ พยาบาท เรา(ตถาคต) ละลูกศร คือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัดโทษ อันเป็นพิษ คืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล
สุนักขัตตสูตร ตรัสกับ สุนักขัตตะ ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๔๗ ข้อที่ [๗๖]
...............................................................................
27
สิ่งที่แตกสลายได้ และสิ่งที่แตกสลายไม่ได้
สิ่งซึ่งแตกสลายได้ คือ รูป
สิ่งที่แตกสลายไม่ได้ คือ
-ธรรม(ชาติ)เป็นที่ดับไม่เหลือ (ของรูป)
-ธรรมเป็นที่สงบระงับ (ของรูป)
-ธรรมเป็นที่เข้าไปตั้งอยู่ไม่ได้ (ของรูป)
สิ่งซึ่งแตกสลายได้ คือ เวทนา
สิ่งที่แตกสลายไม่ได้ คือ
-ธรรม(ชาติ)เป็นที่ดับไม่เหลือ (ของเวทนา)
-ธรรมเป็นที่สงบระงับ (ของเวทนา)
-ธรรมเป็นที่เข้าไปตั้งอยู่ไม่ได้ (ของเวทนา)
สิ่งซึ่งแตกสลายได้ คือ สัญญา
สิ่งที่แตกสลายไม่ได้ คือ
-ธรรม(ชาติ)เป็นที่ดับไม่เหลือ (ของสัญญา)
-ธรรมเป็นที่สงบระงับ (ของสัญญา)
-ธรรมเป็นที่เข้าไปตั้งอยู่ไม่ได้ (ของสัญญา)
สิ่งซึ่งแตกสลายได้ คือ สังขาร
สิ่งที่แตกสลายไม่ได้ คือ
-ธรรม(ชาติ)เป็นที่ดับไม่เหลือ (ของสังขาร)
-ธรรมเป็นที่สงบระงับ (ของสังขาร)
-ธรรมเป็นที่เข้าไปตั้งอยู่ไม่ได้ (ของสังขาร)
สิ่งซึ่งแตกสลายได้ คือ วิญญาณ
สิ่งที่แตกสลายไม่ได้ คือ
-ธรรม(ชาติ)เป็นที่ดับไม่เหลือ (ของวิญญาณ)
-ธรรมเป็นที่สงบระงับ (ของวิญญาณ)
-ธรรมเป็นที่เข้าไปตั้งอยู่ไม่ได้ (ของวิญญาณ)
(โดยสรุป)
สิ่งซึ่งแตกสลายได้ คือ ขันธ์ ๕
สิ่งที่แตกสลายไม่ได้ คือ
-ธรรม(ชาติ)เป็นที่ดับไม่เหลือ (ของขันธ์๕)
-ธรรมเป็นที่สงบระงับ (ของขันธ์๕)
-ธรรมเป็นที่เข้าไปตั้งอยู่ไม่ได้ (ของขันธ์๕)
ธรรม(ชาติ)ทางฝ่าย สังขต ย่อมปรากฎขันธ์๕ และเป็นธรรมที่แตกสลายได้
ธรรม(ชาติ)ทางฝ่าย อสังขต ย่อมไม่ปรากฎขันธ์๕ และเป็นธรรมที่แตกสลายไม่ได้
(ประมวลจากอริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 232 เรื่อง ขันธ์๕เป็นธรรมฝ่ายที่แตกสลายได้)
...............................................................................
28
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๒๘
เพราะไม่รู้อริยสัจสี่ เราและเธอทั้งหลายจึงท่องเที่ยวไป
วัชชีสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการตรัสรู้และไม่ตรัสรู้อริยสัจ ๔
[๑๖๙๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โกฏิคามในแคว้นวัชชี ณ ที่นั้นแลพระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดอริยสัจ ๔ เราด้วย เธอทั้งหลายด้วย จึงแล่นไป ท่องเที่ยวไปยังสังสารวัฏนี้ ตลอดกาลนานอย่างนี้
อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดทุกขอริยสัจ ๑ทุกขสมุทยอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ๑ เราด้วย เธอทั้งหลายด้วย จึงแล่นไป ท่องเที่ยวไปยังสังสารวัฏนี้ตลอดกาลนาน อย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลายทุกขอริยสัจ เราด้วย เธอทั้งหลายด้วย ตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว ทุกขสมุทยอริยสัจ ...ทุกขนิโรธอริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ เราด้วย เธอทั้งหลายด้วย ตรัสรู้แล้วแทงตลอดแล้ว ตัณหาในภพขาดสูญ แล้ว ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีพระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๑๖๙๙] เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง เราและเธอทั้งหลายได้ ท่องเที่ยวไปในชาตินั้นๆ ตลอดกาลนาน อริยสัจ ๔ เหล่านี้ เรา และเธอทั้งหลาย เห็นแล้ว ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพถอนขึ้นได้แล้ว มูล แห่งทุกข์ตัดขาดแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ ไม่มี
...............................................................................
29
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๔๗
นิวรณ์เป็นปัจจัยให้มนต์ไม่แจ่มแจ้ง (สคารวสูตร)
นิวรณ์มี 5 อย่าง
1) กามฉันทะ - ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง
2) พยาบาท - ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปรารถนาในโลกียะสมบัติทั้งปวง
3) ถีนมิทธะ - ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
4) อุทธัจจะกุกกุจจะ - ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใด ๆ
5) วิจิกิจฉา - ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ
บุคคลมีใจฟุ้งซ่าน ด้วย อุทธัจจกุกกุจจะ อันอุทธัจจกุกกุจ จะเหนี่ยวรั้งไป และ ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็น เครื่องสลัดออก ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง
อุปมา อุทธัจจะกุกกุจจะ
ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ อันลมพัดต้องแล้ว หวั่นไหว กระเพื่อม เกิดเป็นคลื่น บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตาม ความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ อันอุทธัจจกุกกุจ จะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่อง สลัดออก ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง
(พระสูตรเต็ม)
...............................................................................
30
คู่สองจำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง
คู่ที่ ๑
๑ พระภิกษุขีณาสพ (อรหันต์ผู้หมดกิเลส)
๒ ช้างอาชาไนย
คู่ที่ ๒
๑. พระภิกษุขีณาสพ
๒.
ม้าอาชาไนย
คู่ที่ ๓
๑. พระภิกษุขีณาสพ
๑.
สีหมฤคราช (ราชสีห์)
(ดูพระสูตรเต็ม P1004)
...............................................................................
31
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า 184
(พระสูตรเต็ม P1407)
เวทนาใน ฌาน ๑- ฌาน๔ (อัสสาทะชั้นเลิศของเวทนา)
บรรลุฌาณ ๑ มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่
สมัยนั้น เธอย่อมเสวยเวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย
บรรลุฌาณ ๒ มีปีติแล สุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่
สมัยนั้น เธอย่อมเสวยเวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย
บรรลุฌาณ ๓ เป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
สมัยนั้น เธอย่อมเสวยเวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย
บรรลุฌาณ ๔ ไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติ เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่
สมัยนั้น เธอย่อมเสวยเวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย
............................................................................
32
อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 222
มูลฐานแห่งการบัญญัติขันธ์๕ (แต่ละขันธ์)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! อะไรเป็นเหตุปัจจัยเพื่อการบัญญัติ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ เล่า? พระเจ้าข้า!”
ภิกษุ มหาภูต (ธาตุ) สี่อย่าง เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ รูปขันธ์
ภิกษุ ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ เวทนาขันธ์
ภิกษุ ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ สัญญาขันธ์
ภิกษุ ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ สังขารขันธ์
ภิกษุ นามรูป แล เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ วิญญาณขันธ์
...............................................................................
33
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑ วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๓๓
ยอดมหาโจร
(อวดคุณวิเศษที่ไม่จริง เพื่อการได้มาซึ่งโภคทรัพย์)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กล่าว อวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง นี้จัดเป็นยอดมหาโจร ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์
ข้อนั้น เพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้น ฉันก้อนข้าวของชาว แว่นแคว้น ด้วยอาการแห่งคนขโมย
...............................................................................
34
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑ วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๓๑
ทรงติเตียนเรื่องภิกษุอวดอุตริ
[๒๒๙] พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้กล่าวชม อุตตริมนุสสธรรมของกัน และกัน แก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่งท้องเล่า
ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ท้องอันพวกเธอคว้านแล้ว ด้วยมีดเชือดโคอันคม ยังดีกว่าอันพวกเธอกล่าวชม อุตตริมนุสสธรรมของกันและกัน แก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่งท้อง ไม่ดีเลยข้อที่เราว่าดีนั้น เพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้คว้านท้อง ด้วยมีดเชือดโคอันคมนั้น พึงถึงความตาย หรือความทุกข์เพียงแค่ตาย ซึ่งมีการ กระทำนั้น เป็นเหตุ และเพราะการกระทำนั้น เป็นปัจจัยเบื้องหน้า แต่แตกกายตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก
ส่วนบุคคลผู้กล่าวชม อุตตริมนุสสธรรมของกันและกัน แก่พวกคฤหัสถ์ นั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก ซึ่งมีการ กระทำนี้แล เป็นเหตุ
ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใส ของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชน ที่เลื่อมใสแล้ว
โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใส ของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่น ของคนบางพวก ผู้เลื่อมใส แล้ว ครั้นแล้วทรงกระทำธรรมมีกถารับสั่งกะภิกขุทั้งหลาย ว่าดังนี้
...............................................................................
35
พุทธวจน ปฐมธรรม หน้า 278
เหตุแห่งการเกิด “ทุกข์”
ถูกแล้ว ถูกแล้ว อานนท์ ! ตามที่สารีบุตร เมื่อตอบปัญหาในลักษณะนั้น เช่นนั้น ชื่อว่าได้ตอบโดยชอบ
อานนท์ ! ความทุกข์นั้น เรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้ว เกิดขึ้น (เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม)
ความทุกข์นั้นอาศัยปัจจัยอะไรเล่า ? ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยคือ ผัสสะ
ผู้กล่าว อย่างนี้แล ชื่อว่ากล่าวตรงตามที่เรากล่าว ไม่เป็นการกล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง และ สหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม ก็จะไม่พลอย กลายเป็นผู้ควรถูกติไปด้วย
อานนท์ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอน เรื่องกรรม ทั้ง ๔ พวกนั้น
(๑) สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่า เป็นสิ่งที่ ตนทำเอาด้วย ตนเอง แม้ความทุกข์ ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็น ปัจจัย จึงเกิดได้
(๒) สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่า เป็นสิ่ง ที่ผู้อื่นทำให้ แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้
(๓) สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่า เป็นสิ่ง ที่ตนทำเอาด้วยตนเอง ด้วยผู้อื่น ทำให้ด้วย แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยัง ต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิด มีได้
(๔) ถึงแม้สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่า เป็น สิ่งที่ไม่ใช่ทำเอง หรือใครทำให้ ก็เกิดขึ้นได้ ก็ตาม แม้ความทุกข์ที่พวก เขา บัญญัติ นั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัยจึง เกิดมีได้อยู่นั่นเอง
อานนท์ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมทั้ง ๔ พวกนั้น... สมณพราหมณ์พวกนั้น หนาหากเว้นผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อสุขและทุกข์นั้น ได้ดังนั้นหรือ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย...
...............................................................................
36
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔๗ - ๒๕๒
สัทธานุสารี และ ธัมมานุสารี ย่อมเห็นใน 10 แง่มุมนี้ ว่าเป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน
(พระสูตรเต็มพร้อมผังโดยละเอียด P1417 )
1. อายตนะภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน
2. อายตนะภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) ไม่เที่ยง..
3. วิญญาณ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่เที่ยง ..
4. ผัสสะทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่เที่ยง ..
5. เวทนา อันเกิดจากสัมผัส ทางตา ทางหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่เที่ยง ..
6. สัญญา ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในกาย ในใจ ไม่เที่ยง ..
7. สัญเจตนา(ความตั้งใจ) ในรูป ในเสียง ในรส กายผัสสะ ทางใจ ไม่เที่ยง ..
8. ตัณหาในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในผัสสะกาย ในธรรมารมณ์ ไม่เที่ยง ..
9. ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ (ธาตุ๖) ไม่เที่ยง
10. เห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง (ขันธ์๕) ไม่เที่ยง..
...............................................................................
37
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๕๙
พระผู้มีพระภาคกล่าวชมสาวก ที่เป็นพุทธบริษัท ๔
ผู้เป็นตราชู (ผู้มีความเที่ยงตรงต่อศาสนา)
ภิกษุ - สารีบุตร และ โมคคัลลานะ
ภิกษุณี - พระเขมาภิกษุณี และ พระอุบลวรรณาภิกษุณี
อุบาสก - จิตตคฤหบดี และ หัตถกอุบาสก ชาวเมืองอาฬวี
อุบาสิกา -
นางขุชชุตราอุบาสิกา และนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดา
[๑๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศรัทธาเมื่อปรารถนาโดยชอบ พึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะเถิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตร และ โมคคัลลานะ นี้ เป็นตราชู เป็นประมาณแห่ง ภิกษุทั้งหลาย ผู้สาวกของเรา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนา อย่างนี้ ว่า ขอเราจงเป็น เช่น พระเขมาภิกษุณี และ พระอุบลวรรณาภิกษุณี เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เขมาภิกษุณี และอุบลวรรณาภิกษุณีนี้ เป็นตราชู เป็นประมาณ แห่งภิกษุณี ทั้งหลาย ผู้สาวิกาของเรา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบ พึงปรารถนาอย่างนี้ ว่า ขอเราจงเป็นเช่น จิตตคฤหบดี และ หัตถกอุบาสก ชาวเมืองอาฬวีเถิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตตคฤหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีนี้ เป็นตราชู เป็นประมาณแห่ง อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้มีศรัทธาเมื่อปรารถนาโดยชอบ พึงปรารถนาอย่างนี้ ว่า ขอเราจงเป็นเช่น นางขุชชุตราอุบาสิกา และ นางเวฬุกัณฏกีนันทมารดา เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย นางขุชชุตราอุบาสิกา และนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดานี้ เป็นตราชู เป็นประมาณของอุบาสิกาทั้งหลายผู้สาวิกาของเรา
...............................................................................
38
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๕๙
๕. มาตุปุตติกสูตร
มารดา ย่อมไม่กำหนัดในบุตร และ บุตรย่อมไม่กำหนัดในมารดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
มารดา ย่อมไม่กำหนัด ในบุตร และ
บุตร ย่อมไม่กำหนัดในมารดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
หญิงเดินอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี
นั่งอยู่ก็ดี
นอนอยู่ก็ดี นอนหลับแล้วก็ดี หัวเราะก็ดี
พูดอยู่ก็ดี ขับร้องอยู่ก็ดี ร้องไห้อยู่ก็ดี
บวมขึ้นก็ดี ตายแล้วก็ดี
ย่อมครอบงำจิต ของบุรุษได้
...............................................................................
39
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ (สุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๑๑
อภินันทสูตรที่ ๑ (พระสูตรเต็ม)
ความเพลินในอายตนะ(ภายใน) ย่อมเป็นทุกข์
ผู้ใดยังเพลิดเพลิน จักษุ (ตา) ผู้นั้นชื่อว่าย่อม เพลิดเพลินทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลิน จักษุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์
ผู้ใดยังเพลิดเพลิน โสตะ (หู) ผู้นั้นชื่อว่าย่อม เพลิดเพลินทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลิน โสตะ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์
ผู้ใดยังเพลิดเพลิน ฆานะ (จมูก) ผู้นั้นชื่อว่าย่อม เพลิดเพลินทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลิน ฆานะ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์
ผู้ใดยังเพลิดเพลิน ชิวหา (ลิ้น) ผู้นั้นชื่อว่าย่อม เพลิดเพลินทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลิน ชิวหา ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์
ผู้ใดยังเพลิดเพลิน กายะ (กาย) ผู้นั้นชื่อว่าย่อม เพลิดเพลินทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลิน กายะ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์
ผู้ใดยังเพลิดเพลิน มนะ (ใจ) ผู้นั้นชื่อว่าย่อม เพลิดเพลินทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลิน มนะ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์
...............................................................................
40 พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ (สุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๑๒
อภินันทสูตรที่ ๒ (พระสูตรเต็ม)
ความเพลินในอายตนะ(ภายนอก) ย่อมเป็นทุกข์
ผู้ใดยังเพลิดเพลิน รูป ผู้นั้นชื่อว่าย่อม เพลิดเพลินทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลิน รูป ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์
ผู้ใดยังเพลิดเพลิน เสียง ผู้นั้นชื่อว่าย่อม เพลิดเพลินทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลิน เสียง ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์
ผู้ใดยังเพลิดเพลิน กลิ่น ผู้นั้นชื่อว่าย่อม เพลิดเพลินทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลิน กลิ่น ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์
ผู้ใดยังเพลิดเพลิน รส ผู้นั้นชื่อว่าย่อม เพลิดเพลินทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลิน รส ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์
ผู้ใดยังเพลิดเพลิน สัมผัสกาย ผู้นั้นชื่อว่าย่อม เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลิน สัมผัสกาย ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์
ผู้ใดยังเพลิดเพลิน ธรรมารมณ์ ผู้นั้นชื่อว่าย่อม เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลิน ธรรมารมณ์ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์
...............................................................................
41
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๒๐๖-๒๐๗
ละทุจริต เจริญสุจริต ดำรงอยู่ในศีล แล้วเจริญสติปัฏฐาน ๔ (ทุจริตสูตร)
[๘๓๑] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด
[๘๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ
เธอจงชำระ เบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน
ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม?
เธอจักละกายทุจริต เจริญกายสุจริต
จักละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต
จักละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต
[๘๓๓] ดูกรภิกษุ
เมื่อใดแล เธอ
จักละกายทุจริต เจริญกายสุจริต
จักละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต
จักละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต
เมื่อนั้น เธอพึงอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสติปัฏฐาน ๔
สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
ว่าด้วยกองกุศล เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ... ในเวทนาอยู่ ...ในจิตอยู่ ... จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสีย
ว่าด้วยกองกุศลเมื่อใดแล เธอจักอาศัยศีลดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมได้ทีเดียว ตลอดคืน หรือวันที่จักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย ฯลฯ
ก็แล ภิกษุรูปนั้น เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย
...............................................................................
42
สุมนสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๙
(ดูพระสูตรเต็ม)
ผู้มี ศีล ศรัทธา ปัญญา เหมือนกัน แต่ผู้หนึ่งให้ทาน
อีกผู้หนึ่งไม่ให้ จะได้รับผลกรรมต่างกัน
(1) ถ้าไปเกิดเป็นเทวดา จะได้ความเป็นทิพย์ต่างกัน
ถ้าบุคคล ๒ คน มี ศรัทธา ศีล ปัญญา เท่าๆกัน คนหนึ่งเป็นผู้ให้ คนหนึ่งไม่ให้ เมื่อตายไปแล้ว
ทั้งสองพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ แต่จะมีความพิเศษแตกต่างกัน
- ผู้ให้เป็นเทวดา ย่อมข่มเทวดาผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ 5 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และอธิปไตย ที่เป็นทิพย์
(2) ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ จะมีอายุ วรรณะ ยศ ฐานะ ต่างกัน
ถ้าเทวดาทั้งสองนั้นจุติจากเทวโลก มาสู่ความเป็นมนุษย์ พึงมีความแตกต่างกัน
-ผู้ให้เป็นมนุษย์ ย่อมข่มคนไม่ให้ด้วยเหตุ 5 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และอธิปไตย ที่เป็นของมนุษย์
(3) ถ้าออกบวช เป็นบรรพชิตเหมือนกัน ย่อมมีชื่อเสียง มีคนนับหน้าถือตา
พึงมีความพิเศษแตกต่างกัน
๕ ประการ คือ
1.ได้จีวรมาก
2.ได้บิณฑบาตมาก
3.ได้เสนาสนะมาก
4.ได้บริขารมาก
5.ได้เพื่อนพรหมจรรย์ที่ดี ให้สิ่งที่พอใจเป็นส่วนใหญ่ ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย
(4) ก็ถ้าคนทั้งสองนั้น บรรลอรหัตเหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ
(กรณีบรรลุอรหันต์)
เราไม่กล่าวว่ามีเหตุแตกต่างกันใดๆ ในวิมุตติ กับวิมุตติ ข้อนี้
อย่างนั้น สุมนา ควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญเป็นอุปการะ แม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่ บรรพชิต ... ทรงอุปมาว่า ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน เดินไป ในอากาศย่อมสว่างกว่า หมู่ดาวทั้งปวง ในโลกด้วยรัศมี ฉันใด บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วย ศีล มีศรัทธา ก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์กว่า ผู้ตระหนี่ทั้งปวง ในโลกด้วยจาคะ
...............................................................................
43
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๔๙
สถานที่ปลอดภัยจากมาร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล สมัยใด ภิกษุสงัดจากกาม ...บรรลุปฐมฌาน ...สมัยนั้น ภิกษุมีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ เรามีตนได้ที่พึ่งแล้ว มารจะทำอะไรเราไม่ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้มารผู้ลามกก็มีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ ภิกษุมีตนได้ที่พึ่งแล้ว เราจะทำอะไรไม่ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ จตุตถฌาน ฯลฯ สมัยนั้น ภิกษุมีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้เรามีตนได้ ที่พึ่งแล้ว มาร จะทำอะไรเราไม่ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้มารผู้ลามกก็มีความคิด อย่างนี้ว่า บัดนี้ ภิกษุมีตนได้ที่พึ่งแล้ว เราจะทำอะไรไม่ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง บรรลุ อากาสา นัญจายตนฌาน ... สมัยนั้น ภิกษุ นี้เรียกว่า ได้ทำมารให้เป็นที่สุด ให้ติดตามไม่ได้ ปิดตามารสนิท มารมองไม่เห็น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ฯลฯ บรรลุอากิญจัญญาย ตนฌาน ฯลฯบรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฯลฯ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ อาสวะ ของเธอ สิ้นรอบแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา สมัยนั้น
ภิกษุนี้เรียกว่า ได้กระทำมาร ให้เป็นที่สุด ให้ติดตามไม่ได้ ปิดตามารสนิท มารมองไม่เห็น
...............................................................................
44
(ดูพระสูตรเต็ม P1308)
ความวิตก ๒ ส่วน อกุศลวิตก - กุศลวิตก
ส่วนที่หนึ่ง อกุศลวิตก (มิจฉาสังกัปปะ ดำริผิด)
1.กามวิตก (กามสังกัปปะ ตรึกในกาม)
2.พยาบาทวิตก (พยาปาทะสังกัปปะ ตรึกในทางพยายาท)
3.วิหิงสาวิตก (วิหิงสาสังกัปปะ ตรึกในทางเบียดเบียน)
ส่วนที่สอง กุศลวิตก (สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ)
1.เนกขัมมวิตก (เนกขัมมะสังกัปปะ ดำริออกจากกาม)
2.อัพยาบาทวิตก (อพยาบาทสังกัปปะ ดำริออกจากพยาบาท)
3.อวิหิงสาวิตก (อวิหิงสาสังกัปปะ ดำริออกจากการเบียดเบียน)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรอง ถึงวิตกใดๆมาก เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้นๆมาก
ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ถึง เนกขัมมวิตก มาก เธอก็จะละ กามวิตก เสียได้
จิตของเธอ ก็จะน้อมไปเพื่อ เนกขัมมวิตก (หลีกออกจากกาม)
ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ถึง อัพยาบาทวิตก มาก เธอก็จะละ พยาบาทวิตก เสียได้
จิตของเธอก็จะน้อมไป เพื่อ อัพยาบาทวิตก (หลีกออกจากพยาบาท)
ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ถึง อวิหิงสาวิตก มาก เธอก็จะละ วิหิงสาวิตก เสียได้
จิตของเธอก็น้อมไป เพื่อ อวิหิงสาวิตก (หลีกออกจาการเบียดเบียน)
...............................................................................
45
"คณกโมคคัลลานสูตร" พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๖๒
(P1318)
สาวกบางพวกยินดี บางพวกไม่ยินดี ในโอวาทของตถาคต
[๑๐๑] เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกะโมคคัลลานะ ได้ทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า สาวกของพระโคดมผู้เจริญ อันพระโคดมผู้เจริญ โอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ ย่อมยินดีนิพพาน อันมีความสำเร็จล่วงส่วน ทุกรูปทีเดียว หรือหนอ หรือว่าบางพวกก็ไม่ยินดี
พ. ดูกรพราหมณ์ สาวกของเรา อันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียง ส่วนน้อยยินดีนิพพาน อันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี
ค. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ในเมื่อนิพพาน ก็ยังดำรงอยู่ ทางให้ถึง นิพพาน ก็ยังดำรงอยู่ พระโคดมผู้เจริญ ผู้ชักชวนก็ยังดำรง อยู่ แต่ก็สาวกของพระโคดม ผู้เจริญ อันพระโคดมผู้เจริญ โอวาท สั่งสอน อยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย จึงยินดีนิพพาน อันมีความสำเร็จ ล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ ยินดี
[๑๐๒] พ. ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านชอบใจ อย่างไร พึงพยากรณ์ อย่างนั้น ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน ท่านชำนาญทางไป เมืองราชคฤห์มิใช่หรือ
ค. แน่นอน พระเจ้าข้า
...............................................................................
46
"คณกโมคคัลลานสูตร" พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๖๒
(P1318)
ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทาง ส่วนสาวกเป็นผู้เดินตาม
พ. ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษผู้ปรารถนา จะไป เมืองราชคฤห์ พึงมาในสำนักของท่าน เข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมือง ราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์ แก่ข้าพเจ้า
ด้วยเถิด ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า
ดูกรพ่อมหาจำเริญ มาเถิดทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ท่านจงไปตามทางนั้น ชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นบ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้น ชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคม ชื่อโน้น ไปตาม ทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่า รื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ ของเมืองราชคฤห์ บุรุษนั้นอันท่าน แนะนำพร่ำสั่ง อยู่อย่างนี้ จำทางผิดกลับเดินไป เสียตรงกันข้าม
ต่อมาบุรุษคนที่สอง ปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ พึงมาในสำนักของท่าน เข้ามาหาท่านแล้ว พูดอย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมือง ราชคฤห์
ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์ แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า
ดูกรพ่อมหาจำเริญ มาเถิด ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ท่านจงไปตามทางนั้น ชั่วครู่หนึ่ง แล้ว จักเห็นบ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้น ชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคม ชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่า รื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ ของเมือง ราชคฤห์ บุรุษนั้นอันท่าน แนะนำพร่ำสั่ง อยู่อย่างนี้ พึงไปถึงเมืองราชคฤห์โดยสวัสดี
ดูกรพราหมณ์ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ในเมื่อเมืองราชคฤห์ ก็ดำรงอยู่ ทางไป เมืองราชคฤห์ก็ดำรงอยู่ ท่านผู้ชี้แจงก็ดำรงอยู่ แต่ก็บุรุษอันท่าน แนะนำพร่ำสั่งอย่างนี้ คนหนึ่งจำทางผิด กลับเดินไปทางตรงกันข้ามคนหนึ่ง ไปถึง เมืองราชคฤห์ได้โดยสวัสดี
ค. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจะทำอย่างไรได้ ข้าพเจ้า เป็นแต่ผู้บอกทาง
[๑๐๓] พ. ดูกรพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเมื่อนิพพานก็ดำรงอยู่ ทางไปนิพพานก็ ดำรงอยู่ เราผู้ชักชวน ก็ดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของเรา อันเราโอวาท สั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวก เพียงส่วนน้อย ยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จ ล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี
ดูกรพราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ตถาคตเป็นแต่ผู้ บอกหนทางให์
...............................................................................
47
"คณกโมคคัลลานสูตร" พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๖๒
(P1318)
ตถาคตย่อมอยู่ร่วมกับสาวกผู้มีความศรัทธา เคารพในสิกขา
[๑๐๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกะ โมคคัลลานะ ได้ทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่าข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคลจำพวก ที่ไม่มีศรัทธา ประสงค์จะเลี้ยงชีวิต ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้โอ้อวด มีมายา เจ้าเล่ห์ ฟุ้งซ่าน ยกตัว กลับกลอกปากกล้า มีวาจา เหลวไหล ไม่คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่น ไม่มุ่งความเป็นสมณะ ไม่มีความเคารพ กล้าในสิกขา มีความประพฤติมักมาก มีความ ปฏิบัติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในทางเชือนแช ทอดธุระในความสงัด เงียบ เกียจคร้าน ละเลยความเพียรหลงลืมสติไม่รู้สึกตัว ไม่มั่นคง มีจิตรวนเร มีปัญญาทราม เป็นดัง คนหนวก คนใบ้ พระโคดมผู้เจริญ ย่อมไม่อยู่ร่วม กับบุคคลจำพวก นั้น
ส่วนพวกกุลบุตร ที่มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่โอ้อวด ไม่มี มายา ไม่เป็นคน เจ้าเล่ห์ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ยกตน ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า ไม่มี วาจา เหลวไหล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งความ เป็นผู้ตื่น
มุ่งความเป็นสมณะ เคารพกล้าในสิกขา ไม่มีความ ประพฤติ มักมาก ไม่มีความปฏิบัติย่อหย่อน ทอดธุระในทางเชือนแช เป็นหัวหน้าในความสงัด เงียบ
ปรารภความเพียร ส่งตนไปในธรรม ตั้งสติมั่นรู้สึกตัวมั่นคง มีจิตแน่วแน่มีปัญญา ไม่เป็นดัง คนหนวกคนใบ้ พระโคดมผู้เจริญ ย่อมอยู่ร่วมกับ กุลบุตรพวกนั้น
...............................................................................
48
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ #1
1. ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา จักเคารพ ในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
- ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ชื่อว่า ไม่เคารพ ในธรรมด้วย
2. ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม จักเคารพในสงฆ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
- ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ชื่อว่าไม่เคารพในสงฆ์ด้วย
3. ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ จักเคารพในสิกขา ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้
- ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรมในสงฆ์ ชื่อว่าไม่เคารพในสิกขาด้วย
4. ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรมในสงฆ์ ในสิกขา จักเคารพในสมาธิ ข้อนี้ ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
- ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ชื่อว่าไม่เคารพในสมาธิ ด้วย
5. ภิกษุไม่เคารพ ในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ จักเคารพใน ความ ไม่ประมาท ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
- ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดาในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ชื่อว่าไม่ เคารพใน ความไม่ประมาทด้วย
6. ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรมในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ ประมาท จักเคารพในปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
- ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ ประมาท ชื่อว่าไม่เคารพในปฏิสันถารด้วย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
(สักกัจจสูตร ความปริวิตกของพระสารีบุตรพระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๙๕)
...............................................................................
49
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ #2
1. ภิกษุเคารพในพระศาสดา จักไม่เคารพในธรรม
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
ภิกษุเคารพในพระศาสดา ชื่อว่าเคารพในธรรมด้วย
2. ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม จักไม่เคารพในสงฆ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ชื่อว่าเคารพในสงฆ์ด้วย
3. ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ จักไม่เคารพในสิกขา
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้
-ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรมในสงฆ์ ชื่อว่าเคารพในสิกขาด้วย
4. ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา จักไม่เคารพในสมาธิ
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
-ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ชื่อว่าเคารพในสมาธิด้วย
5. ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ จักไม่เคารพใน ความไม่ประมาท ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
- ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ชื่อว่าเคารพ ในความไม่ประมาท
6. ภิกษุคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท จักไม่เคารพในปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
- ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ในสิกขา ในสมาธิในความไม่ประมาท ชื่อว่าเคารพในปฏิสันถารด้วย
(สักกัจจสูตร ความปริวิตกของพระสารีบุตรพระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๙๕)
...............................................................................
50
หนังสือภพภูมิ - พุทธวจน หน้า 63 (อุปมาความทุกข์ในนรก)
ทุกข์ของมนุษย์เท่าแผ่นหินบนฝ่ามือ
ทุกข์ในนรกเทียบเขาหลวงหิมพานต์
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงหยิบแผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือ แล้วตรัสถาม ภิกษุทั้งหลายว่า
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสําคัญความข้อนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่เราถือนี้ กับ ภูเขาหลวงหิมพานต์ อย่างไหนหนอ แลใหญ่กว่ากัน ?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือ ที่ทรงถือนี้ มีประมาณน้อยนัก เปรียบเทียบภูเขาหลวงหิมพานต์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้ความนับ ย่อมไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้
ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันนั้นเหมือนกันแลทุกขโทมนัส ที่บุรุษกําลังเสวยเพราะ การถูกแทง ด้วยหอกสามร้อยเล่ม เป็นเหตุ เปรียบเทียบทุกข์ของนรก ยังไม่ถึงแม้ ความนับ ยังไม่ถึง แม้ส่วนแห่งเสี้ยว ยังไม่ถึงแม้การเทียบกันได้
|