เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 เวทนาเป็นทางมาแห่งอนุสัย...อุปมาเวทนา...การเห็นเวทนาในระดับแห่งผู้หลุดพ้น 1465
รวมเรื่องเวทนา บางสูตร
 

(โดยย่อ)
15
(352)
อุปมาเวทนา
...เหมือนฟองน้ำในสารทสมัย

เวทนาเป็นทางมาแห่งอนุสัย...
บุคคลนั้นเมื่อ สุขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ อนุสัยคือ ราคะ ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น

เมื่อ ทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ย่อมระทมใจคร่ำครวญ ตีอก ร่ำไห้ ถึงความหลงใหลอยู่ อนุสัยคือ ปฏิฆะ ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น

เมื่อ เวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุข ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง
ซึ่งเหตุให้เกิด เวทนานั้นด้วย
ซึ่งความดับ แห่งเวทนานั้นด้วย
ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนานั้น ด้วย
ซึ่งอาทีนพ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วย
ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้น) ของเวทนานั้นด้วย
อนุสัยคือ อวิชชา ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(577)
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

เห็นเวทนา ในเวทนาอยู่
สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ สุขเวทนาก็รู้ ทุกขเวทนาก็รู้ อทุขมสุขก็รู้
ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหา และทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณา เห็นเวทนา ในเวทนาอยู่
อุเบกขาอิงอามิส
คือ อิงธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม เช่นตากระทบรูป (อายตนะภายนอก กระทบภายใน)
อุเบกขาที่ไม่อิงอามิส
คือทำสมาธิ จิตเกิดปิติ สุข เกิดอุเบกขา ที่ไม่อิงอามิส (เกิดจากภายใน)
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(722)
การเห็นเวทนาในระดับแห่งผู้หลุดพ้น
อัคคิเวสสนะ !
สุขเวทนา เป็นของไม่เที่ยง
แม้ทุกขเวทนา ก็เป็นของไม่เที่ยง
แม้อทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นของไม่เที่ยง
อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน สุขเวทนา แม้ในทุกขเวทนา แม้ใน อทุกขมสุขเวทนา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(863)
ว่าด้วยความต่างแห่งเวทนา
ความต่างแห่งผัสสะ เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่ง ธาตุ
ความต่างแห่งเวทนา เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่ง ผัสสะ
ความต่างแห่งผัสสะ ไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่ง เวทนา
ความต่างแห่งธาตุ ไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัย ความต่างแห่ง ผัสสะ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 

352
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๓๕

ว่าด้วยอุปมาขันธ์ ๕

อุปมาเวทนา

          [๒๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเมล็ดหยาบตกอยู่ในสารทสมัย ฟองน้ำ ในน้ำ ย่อมบังเกิดขึ้นและดับไป บุรุษผู้มีจักษุ พึงเห็น เพ่ง พิจารณาฟองน้ำนั้นโดย แยบคาย เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย ฟองน้ำนั้น พึงปรากฏเป็น ของว่างเปล่า หาสาระมิได้เลยสาระในฟองน้ำนั้นพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด.

          เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ภิกษุย่อมเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย เวทนานั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้ สาระในเวทนาพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้น เหมือนกัน.



577
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ (ตอน1) หน้า 183

เวทนาเป็นทางมาแห่งอนุสัย

          ภิกษุ ท. !
อาศัย ตา(1) กับ รูป(2) เกิด จักขุวิญญาณ(3) (ความรู้แจ้งทางตา) ขึ้น
อาศัย หู กับ เสียง เกิด โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางหู) ขึ้น
อาศัย จมูก กับ กลิ่น เกิด ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางจมูก) ขึ้น
อาศัย ลิ้น กับ รส เกิด ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางลิ้น) ขึ้น
อาศัย กาย กับ โผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางกาย) ขึ้น และ
อาศัย ใจ กับ ธรรมารมณ์ เกิด มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางใจ) ขึ้น

          ความประจวบกันแห่งสิ่งทั้งสาม นั้น ชื่อว่าผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา อันเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้างไม่ทุกข์ ไม่สุขบ้าง

บุคคลนั้นเมื่อ สุขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลินย่อมพร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ อนุสัยคือ ราคะ ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น

เมื่อ ทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ย่อมระทมใจคร่ำครวญ ตีอก ร่ำไห้ ถึงความหลงใหลอยู่ อนุสัยคือ ปฏิฆะ ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น

เมื่อ เวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุข ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง ซึ่งเหตุให้เกิด เวทนานั้นด้วย ซึ่งความดับแห่งเวทนานั้นด้วยซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนานั้น ด้วย ซึ่งอาทีนพ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วยซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้น) ของเวทนานั้นด้วย อนุสัยคืออวิชชา ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น

          ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้นหนอ
ยังละอนุสัย คือ ราคะ ในเพราะ สุขเวทนา ไม่ได้
ยังบรรเทาอนุสัย คือ ปฏิฆะ ในเพราะ ทุกขเวทนา ไม่ได้
ยังถอนอนุสัย คือ อวิชชา ในเพราะ อทุกขมสุขเวทนา ไม่ได้

ยังละอวิชชาไม่ได้ และ ยังทำวิชชาให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว
จักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ดังนี้
ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.


722
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๗๗

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

          [๑๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไรเล่า?

ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เมื่อ

เสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนา
เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา
เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา.

หรือเสวยสุขเวทนา มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา มีอามิส
หรือเสวยสุขเวทนา ไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา ไม่มีอามิส

หรือเสวยทุกขเวทนา มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา มีอามิส
หรือเสวยทุกขเวทนา ไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา ไม่มีอามิส

หรือ เสวยอทุกขสุขเวทนา มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา มีอามิส
หรือเสวยอทุกขมสุขเวทนา ไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยอทุกขมสุขเวทนา ไม่มีอามิส

ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อม

พิจารณา เห็นเวทนา ในเวทนาภายในบ้าง
พิจารณา เห็นเวทนา ในเวทนาภายนอกบ้าง
พิจารณา เห็นเวทนา ในเวทนาทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง

พิจารณา เห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง
พิจารณา เห็นธรรม คือ ความเสื่อมในเวทนาบ้าง
พิจารณา เห็นธรรม คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อม ในเวทนาบ้าง ย่อมอยู่

          อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้เพียง สักว่า อาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหา และทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่น อะไรๆในโลก

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่

จบ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน


863
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค ๒ หน้าที่ ๙๕๔

การเห็นกาย และ เวทนาในระดับแห่งผู้หลุดพ้น

กาย

อัคคิเวสสนะ ! กายนี้ มีรูป ประกอบด้วยมหาภูตสี่ มีมารดาบิดา เป็นแดนเกิด เจริญขึ้น ด้วยข้าวสุก และขนมสด ทั้งที่มีการขัดสีนวดฟั้นอยู่ ก็ยังมีการแตกสลาย กระจัดกระจาย เพราะความไม่เที่ยงนั่นเองเป็นธรรมดา อันบุคคลควรตามเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน

เมื่อบุคคคลนั้น ตามเห็นอยู่ซึ่งกายนี้โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น เป็นของ แตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน ความพอใจในกาย ความสิเนหาในกาย ความตกอยู่ในอำนาจของกาย ที่มีอยู่ในกาย เขาย่อมละเสียได้

เวทนา

อัคคิเวสสนะ ! เวทนาสามอย่าง เหล่านี้ มีอยู่ คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา

อัคคิเวสสนะ ! สมัยใด บุคคลเสวยสุขเวทนา สมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา สมัยนั้นคงเสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น

อัคคิเวสสนะ ! สมัยใด บุคคลเสวยทุกขเวทนา, สมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา สมัยนั้นคงเสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น

อัคคิเวสสนะ ! สมัยใด บุคคลเสวยอทุกขมสุขเวทนา สมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา สมัยนั้นคงเสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น

อัคคิเวสสนะ ! สุขเวทนา เป็นของไม่เที่ยง (อนิจฺจา) เป็นของปรุงแต่ง (สงฺขตา) เป็นของอาศัยกันเกิดขึ้น (ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา) มีความสิ้นไป เป็นธรรมดา (ขยธมฺมา) มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา (วยธมฺมา) มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา (วิราคธมฺมา) มีความดับไปเป็นธรรมดา (นิโรธธมฺมา)

อัคคิเวสสนะ ! แม้ทุกขเวทนา ก็เป็นของไม่เที่ยง เป็นของปรุงแต่ง เป็นของอาศัยกัน เกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไป เป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา

อัคคิเวสสนะ ! แม้อทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นของไม่เที่ยง เป็นของปรุงแต่ง เป็นของ อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจาง คลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา

อัคคิเวสสนะ ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน สุขเวทนา แม้ในทุกขเวทนา แม้ในอทุกขมสุขเวทนา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว

อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ สำเร็จแล้ว กิจอย่างอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้

อัคคิเวสสนะ ! ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่กล่าวคำประจบใครๆ ย่อมไม่กล่าวคำขัดแย้งใครๆ และโวหารใดที่เขากล่าวกันอยู่ในโลก เธอก็กล่าวโดย โวหารนั้น ไม่ยึดมั่นความหมายไรๆ อยู่

(เมื่อจบพระพุทธดำรัสนี้ พระสารีบุตรผู้ถวายงานพัดอยู่เบื้องหลัง ได้บรรลุพระอรหันต์)


777
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] หน้าที่ ๑๗๑-๑๗๒

๔. เวทนานานัตตสูตร

ว่าด้วยความต่างแห่งเวทนา สูตรที่ ๑

          [๘๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...

“ภิกษุทั้งหลาย
ความต่างแห่งผัสสะ เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่ง ธาตุ (อายตนะภายใน-ตา)
ความต่างแห่งเวทนา
เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่ง ผัสสะ

ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ จักขุธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ

ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งเวทนา เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ เป็นอย่างไร คือ

จักขุสัมผัส เกิดขึ้น เพราะอาศัย จักขุธาตุ
จักขุสัมผัสสชาเวทนา เกิดขึ้น เพราะอาศัย จักขุสัมผัส ฯลฯ
มโนสัมผัส เกิดขึ้น เพราะอาศัย มโนธาตุ
มโนสัมผัสสชาเวทนา เกิดขึ้น เพราะอาศัย มโนสัมผัส

ภิกษุทั้งหลาย
ความต่างแห่งผัสสะ เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งเวทนา เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ เป็นอย่างนี้”
-----------------------------------------------------------------------

๕. ทุติยเวทนานานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งเวทนา สูตรที่ ๒

          [๘๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค..

“ภิกษุทั้งหลาย
ความต่างแห่งผัสสะ เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่ง ธาตุ
ความต่างแห่งเวทนา
เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่ง ผัสสะ
ความต่างแห่งผัสสะ ไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่ง เวทนา
ความต่างแห่งธาตุ ไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่ง ผัสสะ

ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ จักขุธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ

ความต่างแห่งผัสสะ เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่ง ธาตุ
ความต่างแห่งเวทนา เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่ง ผัสสะ
ความต่างแห่งผัสสะ ไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่ง เวทนา

ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะเป็นอย่างไร คือ

จักขุสัมผัส เกิดขึ้น เพราะอาศัยจักขุธาตุ
จักขุสัมผัสสชาเวทนา เกิดขึ้น เพราะอาศัยจักขุสัมผัส
จักขุสัมผัส ไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยจักขุสัมผัสสชาเวทนา
จักขุธาตุ ไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยจักขุสัมผัส ฯลฯ

มโนสัมผัส เกิดขึ้น เพราะอาศัยมโนธาตุ
มโนสัมผัสสชาเวทนา เกิดขึ้น เพราะอาศัยมโนสัมผัส
มโนสัมผัส ไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยมโนสัมผัสสชาเวทนา
มโนธาตุ ไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยมโนสัมผัส

ภิกษุทั้งหลาย
ความต่างแห่งผัสสะ เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่ง ธาตุ
ความต่างแห่งเวทนา เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่ง ผัสสะ
ความต่างแห่งผัสสะ ไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่ง เวทนา
ความต่างแห่งธาตุ ไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัย ความต่างแห่ง ผัสสะ เป็นอย่างนี้”

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์