เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
อานันทสูตรที่ ๑ เรื่องเวทนา 1458
รวมเรื่องเวทนา บางสูตร
 

8
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘
อานันทสูตรที่ ๑
๑) เวทนามีเท่าไร … เวทนามี 3 สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
๒) ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นไฉน … เพราะผัสสะ เกิดขึ้นเวทนาจึงเกิด 
๓) ความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน… ผัสสะดับเวทนา จึงดับ
๔) ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนา …อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล
๕) อะไร เป็นคุณแห่งเวทนา …สุข โสมนัสนี้เป็นคุณแห่งเวทนา 
๖) อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา …. เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แปรปรวน เป็นโทษแห่งเวทนา
๗) อะไรเป็นอุบายเครื่องสลัดออก แห่งเวทนา …การกำจัด การละฉันทราคะ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

 

เวทนาสังยุตต์

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๓-๒๕๔

อานันทสูตรที่ ๑

          [๓๙๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มี พระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
๑) เวทนามีเท่าไร
๒) ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นไฉน
๓) ความดับแห่งเวทนาเป็นไฉนปฏิปทา
๔) เครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนา เป็นไฉน
๕) อะไร เป็นคุณแห่งเวทนา
๖) อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา
๗) อะไรเป็นอุบายเครื่องสลัดออก แห่งเวทนา

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์
๑) เวทนามี ๓ เหล่านี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูกรอานนท์ เหล่านี้ เราเรียกว่าเวทนา
๒)
เพราะผัสสะ เกิดขึ้นเวทนาจึงเกิด
๓) เพราะผัสสะดับเวทนา จึงดับ
๔) อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แลคือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาเครื่องให้ถึง ความดับแห่งเวทนา
๕) สุข โสมนัสย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยเวทนาใด นี้เป็นคุณแห่งเวทนา
๖) เวทนาใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งเวทนา ๗) การกำจัด การละฉันทราคะ ในเวทนาใด นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา

          [๔๐๐] ดูกรอานนท์ โดยที่แท้ เราได้กล่าวความดับแห่งสังขารทั้งหลาย โดยลำดับแล้ว คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ ฯลฯ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิต นิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมดับ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้ขีณาสพย่อมดับ

          [๔๐๑] ดูกรอานนท์ โดยที่แท้ เราได้กล่าวความสงบแห่งสังขารทั้งหลาย โดยลำดับแล้ว คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมสงบ ฯลฯ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิต นิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมสงบ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้ขีณาสพย่อมสงบ

          [๔๐๒] ดูกรอานนท์ โดยที่แท้ เราได้กล่าวความระงับแห่งสังขารทั้งหลาย โดยลำดับแล้ว คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมระงับ ฯลฯ เมื่อเข้าสัญญาเวท ยิตนิโรธ สัญญาและ เวทนาย่อมระงับ ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุผู้ขีณาสพ ย่อมระงับ


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๔

อานันทสูตรที่ ๒

          [๔๐๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า

          ดูกรอานนท์ เวทนามีเท่าไร ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นไฉน ความดับแห่ง เวทนา เป็นไฉน ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนา เป็นไฉน อะไรเป็นคุณ แห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนาอะไร เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา

           ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวก ข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาค เป็นรากฐานมีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค เป็นที่พึ่ง อาศัย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาค เท่านั้นเถิด

          ภิกษุทั้งหลาย ฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า

          ดูกรอานนท์ ถ้ากระนั้นเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวท่านพระอานนท์ ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรอานนท์ เวทนา ๓ เหล่านี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา

           ดูกรอานนท์ เหล่านี้เราเรียกว่าเวทนา ฯลฯ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้ ขีณาสพย่อมระงับ

 







พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์