เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 รโหคตสูตร (ลำดับความดับสนิทแห่งสังขาร) 1456
รวมเรื่องเวทนา บางสูตร
 

(โดยย่อ)
6
รโหคตสูตร

ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นทุกข์
เรากล่าวเวทนา ๓ นี้คือ (อารมณ์) สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
เพราะเวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เพราะเวทนา คือสังขารทั้งหลายนั่นเอง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แปรปรวน

(ลำดับความดับสนิทแห่งสังขาร)

เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ
เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจาร ย่อมดับ
เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อมดับ
เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะ ย่อมดับ
เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าเนวสัญญานา สัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญา และเวทนาย่อมดับ ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุ ผู้สิ้นอาสวะ ย่อมดับ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 

รโหคตวรรคที่ ๒
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๓๑

รโหคตสูตร (รโหคตวรรคที่ ๒ สูตร ๑)

 

          [๓๙๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ความปริวิตกแห่งใจ เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ผู้หลีกเร้นอยู่ในที่ลับอย่างนี้ว่า

          พระผู้มีพระภาค ตรัสเวทนา ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัส เวทนา ๓ อย่างนี้ ก็พระผู้มีพระภาคตรัส พระดำรัสนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นทุกข์ ดังนี้แล

          พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นทุกข์ ดังนี้ ทรงหมายเอาอะไรหนอ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าถูกแล้ว ถูกแล้ว ภิกษุ ดูกรภิกษุ เรากล่าวเวทนา ๓ นี้คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา เรากล่าวเวทนา ๓ นี้

          ดูกรภิกษุเรากล่าวคำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้ ดูกรภิกษุ ก็คำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้ เรากล่าวหมายเอา ความที่สังขารทั้งหลายนั่นเองไม่เที่ยง

          ดูกรภิกษุ ก็คำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้ เรากล่าวหมายเอาความที่สังขารทั้งหลายนั่นแหละ มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรปรวนไปเป็นธรรมดา

          [๓๙๒] ดูกรภิกษุ ก็ลำดับนั้นแล
เรากล่าวความดับสนิทแห่งสังขารทั้งหลาย โดยลำดับคือ

เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ
เมื่อเข้าทุติยฌานวิตกวิจาร ย่อมดับ
เมื่อเข้าตติยฌานปีติย่อมดับ
เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะ ย่อมดับ
เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าเนวสัญญานา สัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมดับ ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุ ผู้สิ้นอาสวะ ย่อมดับ

          [๓๙๓] ดูกรภิกษุ ลำดับนั้นแล
เรากล่าวความสงบแห่งสังขารทั้งหลาย โดยลำดับ คือ
เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมสงบ
เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจาร ย่อมสงบ ฯลฯ
เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญา และ เวทนาย่อมสงบ ราคะโทสะ โมหะ ของภิกษุผู้สิ้นอาสวะ ย่อมสงบ

          [๓๙๔] ดูกรภิกษุ ปัสสัทธิ ๖ อย่างนี้ คือ
เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมระงับ
เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารย่อมระงับ
เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อมระงับ
เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะ ปัสสาสะย่อมระงับ
เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญา และ เวทนาย่อมระงับ ราคะโทสะ โมหะ ของภิกษุขีณาสพ ย่อมระงับ

 







พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์