รโหคตวรรคที่ ๒
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๒
วาตสูตรที่ ๑
[๓๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนลมต่างชนิด พัดไปแม้ในอากาศ คือ ลมทิศตะวันออกบ้าง ลมทิศตะวันตกบ้าง ลมทิศเหนือบ้าง ลมทิศใต้บ้าง ลมมีธุลีบ้าง ลมไม่มีธุลีบ้าง ลมหนาวบ้าง ลมร้อนบ้าง ลมอ่อนบ้างลมแรงบ้าง ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนาต่างชนิดย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน แล คือ สุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง พระผู้มีพระภาค ผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า
[๓๙๖] เปรียบเหมือนลมมากมายหลายชนิด พัดไปในอากาศคือ บางครั้ง ลมทิศตะวันออกบ้าง บางครั้งทิศตะวันตกบ้าง บางครั้งทิศเหนือบ้าง บางครั้งทิศใต้ บ้าง บางครั้งมีธุลีบ้าง บางครั้งไม่มีธุลีบ้าง บางครั้งลมหนาวบ้าง บางครั้งลมร้อนบ้าง บางครั้งลมอ่อนบ้าง ฉันใด
เวทนาย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน คือสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง เมื่อใดภิกษุมีความเพียร รู้สึกอยู่ เข้านิโรธ เมื่อนั้นเธอผู้เป็นบัณฑิตย่อมกำหนดรู้เวทนา ได้ทุกอย่าง
ภิกษุนั้นกำหนดรู้ เวทนาแล้วเป็นผู้ ไม่มีอาสวะ ตั้งอยู่ในธรรม เรียนจบ พระเวท ในปัจจุบัน เพราะกายแตกย่อมไม่เข้าถึง ซึ่งบัญญัติ
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๒
วาตสูตรที่ ๒
[๓๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนลมต่างชนิด พัดไปในอากาศคือ ลมทิศตะวันออกบ้าง ฯลฯ ลมแรงบ้าง ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนาต่างชนิดย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน แล คือ สุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๓
นิวาสสูตร
[๓๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือนพักคนเดินทาง ชนทั้งหลายมาจากทิศ
ตะวันออกบ้าง มาจากทิศตะวันตกบ้าง มาจากทิศเหนือบ้าง มาจากทิศใต้บ้าง เป็นกษัตริย์บ้าง เป็นพราหมณ์บ้าง เป็นพ่อค้าบ้าง เป็นคนงานบ้าง มาพักในเรือนนั้น ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนาต่างชนิดย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน คือ สุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง
อทุกขมสุขเวทนาบ้างสุขเวทนามีอามิสบ้าง ทุกขเวทนามีอามิสบ้าง อทุกขมสุขเวทนามีอามิส
บ้างสุขเวทนาไม่มีอามิสบ้าง ทุกขเวทนาไม่มีอามิสบ้าง อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิสบ้าง
|