เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
ปัญจกังคสูตร สุขอื่นยิ่งกว่าประณีตกว่ากามสุข...เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจารมีปีติและสุข 1459
รวมเรื่องเวทนา บางสูตร
 

(โดยย่อ)
9
ปัญจกังคสูตร
พระอุทายี กล่าวกะช่างไม้ปัญจกังคะว่าพระศาสดา ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่าง
แต่ช่างไม้กล่าวว่า พระองค์ตรัสไว้ ๒ อย่าง คือสุขเวทนา และ ทุกขเวทนา

พระอานนท์ ได้ฟังการสนทนา จึงไปทูลถามพระผู้มีพระภาค
ตรัสว่าเวทนา ๒ ก็มี เวทนา ๓ ก็มี เวทนา ๕ ก็มี เวทนา ๖ ก็มี เวทนา ๑๖ ก็มี เวทนา ๓๖ ก็มี เวทนา๑๐๘ ก็มี

ดูกรอานนท์ ก็สุขอื่น อันน่าใคร่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าสุขนั่น เป็นไฉน
ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีต กว่าสุขนั่น (สุขในปฐมฌาน ปราณีตกว่ากามสุข)

สุขอื่นยังมีอีก
- เข้าทุติยฌาน อันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก… มีปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้แลเป็นสุขอื่น อันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น

- ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ สิ้นไป เข้าตติยฌาน …นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีต กว่าสุขนั่น

- เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ …นี้แลเป็นสุขอื่น อันน่าใคร่ยิ่งกว่า และ ประณีตกว่าสุขนั่น

- เข้าอากาสานัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาทั้งหลาย …นี้แลเป็นสุขอื่น อันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น

- เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด นี้แลเป็นสุขอื่น อันน่าใคร่ยิ่งกว่า

- เข้าอากิญจัญญายตนฌาน …นี้แลเป็นสุขอื่น อันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น

- เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 

เวทนาสังยุตต์
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๓๗


ปัญจกังคสูตร
(พระอุทายี กล่าวกะช่างไม้ปัญจกังคะว่าพระศาสดา ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่าง แต่ช่างไม้กล่าวว่า พระองค์ตรัสไว้ ๒ อย่าง คือสุขเวทนา และ ทุกขเวทนา)

          [๔๐๙] ครั้งนั้นแล ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ไหว้ท่าน พระอุทายีแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอุทายีว่า ท่านพระอุทายีผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัส เวทนา ไว้เท่าไรหนอ ท่านพระอุทายี ตอบว่า ดูกรคฤหบดี พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูกรคฤหบดี พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่างนี้แล

          [๔๑๐] เมื่อท่านพระอุทายี กล่าวอย่างนี้แล้ว ช่างไม้ชื่อ ปัญจกังคะ ได้กล่าว กะท่านพระอุทายีผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่าง ตรัสไว้ ๒ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา

          ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนา อันเป็นไปฝ่ายละเอียด พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ใน สุขอันประณีต แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอุทายี ก็ได้กล่าวกะช่างไม้ว่า

          ดูกรคฤหบดี พระผู้มีพระภาค ไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๒ อย่างเลย พระผู้มีพระภาค ตรัสเวทนา ๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัส เวทนา ๓ อย่างนี้ แม้ครั้งที่ ๒ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ก็ได้กล่าว กะท่านพระอุทายีว่า ท่านพระอุทายีผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่างเลยตรัสเวทนาไว้ ๒ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา ท่านผู้เจริญ อทุกขม สุขเวทนา อันเป็นไปในฝ่าย ละเอียด พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ในสุขอันประณีต แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายี ก็ได้กล่าวกะช่างไม้ว่า

          ดูกรคฤหบดี พระผู้มีพระภาค ไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๒ อย่างเลย ตรัสเวทนา ไว้ ๓ อย่างคือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัส เวทนา๓ อย่างนี้ แม้ครั้งที่ ๓ ช่างไม้ได้กล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ท่านพระอุทายี ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค ไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่างเลย ตรัสเวทนาไว้ ๒ อย่าง คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาอันเป็นไปในฝ่ายละเอียด พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ในสุขอันประณีต ท่านพระอุทายีไม่สามารถจะให้ช่างไม้ ตกลงได้ ฝ่ายช่างไม้ ก็ไม่สามารถให้ท่านพระอุทายีตกลงได้

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(พระอานนท์ ได้ฟังการสนทนา จึงไปทูลถามพระผู้มีพระภาค ตรัสว่า เวนา ๒ ก็มี เวทนา ๓ ก็มี เวทนา ๕ ๖ ๑๘ ๓๖ ๑๐๘ ก็มี )

          [๔๑๑] ท่านพระอานนท์ ได้ฟังการสนทนาปราศรัยนี้ ของท่านพระอุทายี กับช่างไม้ ครั้นแล้วได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูล การสนทนาปราศัย แม้นั้นทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรอานนท์ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ไม่คล้อยตามเหตุ อันมีอยู่ของภิกษุอุทายี ส่วนภิกษุอุทายี ก็ไม่คล้อยตามเหตุอันมีอยู่ ของช่างไม้

          [๔๑๒] ดูกรอานนท์ โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๒ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๓ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๕ ก็มีโดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา๖ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๑๘ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๓๖ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๑๐๘ ก็มี ดูกรอานนท์ ธรรมอันเราแสดงแล้ว โดยปริยายอย่างนี้

           ดูกรอานนท์ เมื่อธรรมอันเราแสดงแล้ว โดยปริยายอย่างนี้แล ชนเหล่าใด จักไม่สำคัญตาม จักไม่รู้ตาม จักไม่บันเทิงตาม ซึ่งคำที่เรากล่าวดีแล้ว เจรจาดีแล้ว แก่กันและกัน เหตุนี้จักเป็นอันชนเหล่านั้น หวังได้ คือ ชนเหล่านั้น จักเกิดความบาดหมางกัน เกิดความทะเลาะกัน วิวาทกันจัก ทิ่มแทงกัน และกัน ด้วยหอกคือปาก ดูกรอานนท์ธรรมอันเราแสดงแล้ว โดยปริยาย อย่างนี้แล

          ดูกรอานนท์ เมื่อธรรมอันเราแสดงแล้ว โดยปริยายอย่างนี้ ชนเหล่าใด จักสำคัญตาม จักรู้ตาม จักบันเทิงตาม ซึ่งคำที่เรากล่าวดีแล้ว เจรจาดีแล้ว แก่กัน และกัน เหตุนี้ ชนเหล่านั้นพึงหวังได้คือ ชนเหล่านั้นจักพร้อมเพรียงกัน ชื่นบาน ต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นดุจน้ำเจือด้วยน้ำนม มองกันและกัน ด้วยจักษุอันเปี่ยม ด้วยความรักอยู่
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

          [๔๑๓] ดูกรอานนท์ กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือ รูป ที่พึงรู้แจ้ง ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ชวนให้ กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจน่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด กามคุณ๕ เหล่านี้แล ดูกรอานนท์ สุขโสมนัส ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัย กามคุณ ๕ เหล่านี้ นี้เราเรียกว่า กามสุข
(กามคุณ ๕ รูปรู้แจ้งด้วยจักษุ เสียงรู้แจ้งด้วยหู กลิ่นรู้แจ้งด้วยจมูก รสรู้แจ้งด้วยลิ้น โผฏฐัพพะรู้แจ้งด้วยกาย)

          [๔๑๔] ดูกรอานนท์ ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลาย ย่อมเสวยสุข โสมนัสนั่น อันเป็นเยี่ยม และละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้ แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะสุขอื่น อันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่า สุขนั่น มีอยู่
-------------------------------------
(สุขอื่นที่ปราณีตกว่ากามสุข)

          [๔๑๕] ดูกรอานนท์ ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีต กว่าสุขนั่น (สุขในปฐมฌาน ปราณีตกว่า กามสุข)

          ดูกรอานนท์ ชนเหล่าใดแล พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลาย ย่อมเสวยสุข โสมนัสนั่น อันเป็นเยี่ยม และละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้ แก่ชน เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่

------------------------------------------------------------------------------

          [๔๑๖] ดูกรอานนท์ ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าทุติยฌาน อันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารระงับไป มีปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้แลเป็นสุขอื่น อันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น ดูกรอานนท์

          ชนเหล่าใดแล พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่น อันเป็นเยี่ยม และละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่

------------------------------------------------------------------------------

          [๔๑๗] ดูกรอานนท์ ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่นเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ สิ้นไป เข้าตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มี อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีต--- กว่าสุขนั่น

           ดูกรอานนท์ ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุข โสมนัสนั่น อันเป็นเยี่ยม และละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่นมีอยู่

------------------------------------------------------------------------------

          [๔๑๘] ดูกรอานนท์ ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้แลเป็นสุขอื่น อันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น

          [๔๑๙] ดูกรอานนท์ ชนเหล่าใดแล พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลาย ย่อมเสวยสุข โสมนัสนั่น อันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ชน เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่

------------------------------------------------------------------------------

          [๔๒๐] ดูกรอานนท์ สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าอากาสานัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาทั้งหลาย เพราะความดับสูญแห่ง ปฏิฆสัญญาทั้งหลาย เพราะไม่มนสิการ ถึงนานัตตสัญญาทั้งหลาย โดยประการทั้งปวงอยู่นี้แลเป็นสุขอื่น อันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น

          ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลาย ย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่น อันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้เราไม่ยอมตาม คำนี้ แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุ อะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีต กว่า สุขนั่น มีอยู่

------------------------------------------------------------------------------

          [๔๒๑] ดูกรอานนท์ สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด นี้แลเป็นสุขอื่น อันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น

          ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่น อันเป็นเยี่ยม และละเอียดดังนี้ เราไม่ยอมตาม คำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุ อะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีต กว่าสุขนั่น มีอยู่

------------------------------------------------------------------------------

          [๔๒๒] ดูกรอานนท์ สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนฌาน โดยบริกรรมว่า อะไรหน่อยหนึ่งไม่มี นี้แลเป็นสุขอื่น อันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น

          ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลาย ย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่น อันเป็นเยี่ยมและละเอียดดังนี้ เราไม่ยอมตาม คำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะ เหตุอะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีต กว่า สุขนั่น มีอยู่

------------------------------------------------------------------------------

          [๔๒๓] ดูกรอานนท์ ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌาน โดยประการ ทั้งปวงแล้ว เข้า เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้แลเป็นสุขอื่น อันน่าใคร่ยิ่งกว่า และ ประณีตกว่า สุขนั่น

          ชนเหล่าใดแล พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลาย ย่อมเสวยสุข โสมนัสนั่น อันเป็นเยี่ยม และละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้ แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะ เหตุอะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่

------------------------------------------------------------------------------

          [๔๒๔] ดูกรอานนท์ สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าแ ละประณีตกว่าสุขนั่น เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง แล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอยู่

------------------------------------------------------------------------------

          นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น ก็ข้อที่ปริพาชก อัญญเดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม กล่าวสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ และ ย่อมบัญญัตินิโรธนั้นไว้ในความสุข ข้อนี้นั้นเพราะเหตุไร ข้อนี้นั้นเป็นอย่างไร นั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ มีวาทะอย่างนี้ พวกเธอพึงค้าน อย่างนี้ว่า

           ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค ไม่ได้ทรงหมายเอา สุขเวทนา บัญญัตินิโรธนั้น ไว้ในความสุขเลย บุคคลย่อมได้สุข ในฐานะใดๆ พระตถาคต ย่อมทรงบัญญัติฐานะนั้นๆ อันเป็นสุขไว้ในความสุขทุกแห่ง







พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์