เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 การเห็นกาย และ เวทนาในระดับแห่งผู้หลุดพ้น 863
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

กาย
กายนี้ มีรูป
ประกอบด้วยมหาภูตสี่ มีมารดาบิดา เป็นแดนเกิด บุคคลควรตามเห็น โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน

เมื่อบุคคคลนั้น ตามเห็นอยู่ซึ่งกายนี้โดยความเป็นของไม่เที่ยง.. ความพอใจในกาย ความสิเนหาในกาย ความตก อยู่ในอำนาจของกาย ที่มีอยู่ในกาย เขาย่อมละเสียได้. 

เวทนา
สุขเวทนา เป็นของไม่เที่ยง เป็นของปรุงแต่ง เป็นของอาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อม มีความ จางคลาย มีความดับไป เป็นธรรมดา แม้ทุกขเวทนา ก็เป็นของไม่เที่ยง แม้อทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นของไม่เที่ยง

อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว.

อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ สำเร็จแล้ว กิจอย่างอื่นที่จะต้อง ทำ เพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้ มิได้มีอีก”

พระสารีบุตรผู้ถวายงานพัดอยู่เบื้องหลังได้บรรลุพระอรหันต์



 
 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ ภาค ๔ ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือมรรคหน้า ๙๕๔


การเห็นกาย และ เวทนาในระดับแห่งผู้หลุดพ้น

กาย

อัคคิเวสสนะ ! กายนี้ มีรูป ประกอบด้วยมหาภูตสี่ มีมารดาบิดา เป็นแดนเกิด เจริญขึ้น ด้วยข้าวสุก และขนมสด ทั้งที่มีการขัดสีนวดฟั้นอยู่ ก็ยังมีการแตกสลาย กระจัดกระจาย เพราะความไม่เที่ยงนั่นเองเป็นธรรมดา อันบุคคลควรตามเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน.

เมื่อบุคคคลนั้น ตามเห็นอยู่ซึ่งกายนี้โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น เป็นของ แตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน ความพอใจในกาย ความสิเนหาในกาย ความตกอยู่ในอำนาจของกาย ที่มีอยู่ในกาย เขาย่อมละเสียได้. 


เวทนา

อัคคิเวสสนะ ! เวทนาสามอย่าง เหล่านี้ มีอยู่ คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา.

อัคคิเวสสนะ ! สมัยใด บุคคลเสวยสุขเวทนา สมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา สมัยนั้นคงเสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น.

อัคคิเวสสนะ ! สมัยใด บุคคลเสวยทุกขเวทนา, สมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา สมัยนั้นคงเสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น.

อัคคิเวสสนะ ! สมัยใด บุคคลเสวยอทุกขมสุขเวทนา สมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา สมัยนั้นคงเสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น. 

อัคคิเวสสนะ ! สุขเวทนา เป็นของไม่เที่ยง (อนิจฺจา) เป็นของปรุงแต่ง (สงฺขตา) เป็นของอาศัยกันเกิดขึ้น (ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา) มีความสิ้นไป เป็นธรรมดา (ขยธมฺมา) มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา (วยธมฺมา) มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา (วิราคธมฺมา) มีความดับไปเป็นธรรมดา (นิโรธธมฺมา).

อัคคิเวสสนะ ! แม้ทุกขเวทนา ก็เป็นของไม่เที่ยง เป็นของปรุงแต่ง เป็นของอาศัยกัน เกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไป เป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา.

อัคคิเวสสนะ ! แม้อทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นของไม่เที่ยง เป็นของปรุงแต่ง เป็นของ อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจาง คลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา. 

อัคคิเวสสนะ ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน สุขเวทนา แม้ในทุกขเวทนา แม้ในอทุกขมสุขเวทนา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว.

อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ สำเร็จแล้ว กิจอย่างอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้. 

อัคคิเวสสนะ ! ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่กล่าวคำประจบใครๆ ย่อมไม่กล่าวคำขัดแย้งใครๆ และโวหารใดที่เขากล่าวกันอยู่ในโลก เธอก็กล่าวโดย โวหารนั้น ไม่ยึดมั่นความหมายไรๆ อยู่.

(เมื่อจบพระพุทธดำรัสนี้ พระสารีบุตรผู้ถวายงานพัดอยู่เบื้องหลังได้บรรลุพระอรหันต์)

- ม.ม. ๑๓/๒๖๖-๒๖๗/๒๗๒-๒๗๓.

 



 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์