เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  เวทนาเป็นทางมาแห่งอนุสัย (ราคานุสัย ปฎิฆานุสัย อวิชชานุสัย) 577
 
(เนื้อหาพอสังเขป)
เมื่อสุขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน อนุสัยคือ ราคะ ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น
เมื่อทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก อนุสัยคือ ปฏิฆะ ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดาน ของบุคคคลนั้น
เมื่อเวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุข ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง อนุสัยคือ อวิชชา ย่อมนอนเนื่อง  

 
 
 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ (ตอน1) หน้า 183

เวทนาเป็นทางมาแห่งอนุสัย 


ภิกษุ ท. !
อาศัย ตา(1) กับ รูป(2) เกิด จักขุวิญญาณ(3) (ความรู้แจ้งทางตา) ขึ้น
อาศัย หู กับ เสียง เกิด โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางหู) ขึ้น
อาศัย จมูก กับ กลิ่น เกิด ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางจมูก) ขึ้น
อาศัย ลิ้น กับ รส เกิด ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางลิ้น) ขึ้น
อาศัย กาย กับ โผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางกาย) ขึ้น และ
อาศัย ใจ กับ ธรรมารมณ์ เกิด มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางใจ) ขึ้น  

ความประจวบกันแห่งสิ่งทั้งสาม นั้น ชื่อว่าผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมี เวทนา อันเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้างไม่ทุกข์ ไม่สุขบ้าง

บุคคลนั้น
เมื่อ สุขเวทนา ถูกต้องแล้ว
ย่อมเพลิดเพลินย่อมพร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ อนุสัยคือ ราคะ ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น 

เมื่อ ทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ย่อมระทมใจคร่ำครวญ ตีอก ร่ำไห้ ถึงความหลงใหลอยู่ อนุสัยคือ ปฏิฆะ ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น 

เมื่อ เวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุข ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง ซึ่งเหตุให้เกิด เวทนานั้นด้วย ซึ่งความดับแห่งเวทนานั้นด้วยซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนานั้น ด้วย ซึ่งอาทีนพ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วยซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้น) ของเวทนานั้นด้วย อนุสัยคืออวิชชา ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น

ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้นหนอ
ยังละอนุสัย คือราคะ ในเพราะ สุขเวทนา ไม่ได้
ยังบรรเทาอนุสัย คือปฏิฆะ ในเพราะ ทุกขเวทนา ไม่ได้
ยังถอนอนุสัย คืออวิชชา ในเพราะ อทุกขมสุขเวทนา ไม่ได้


ยังละอวิชชาไม่ได้ และ ยังทำวิชชาให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว
จักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ดังนี้
ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์