เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 เวทนาใน ฌาน ๑- ฌาน๔ 1407
 

(โดยย่อ)

เวทนาใน ฌาน ๑- ฌาน๔
บรรลุฌาณ ๑ มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่
สมัยนั้น เธอย่อมเสวยเวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย

บรรลุฌาณ ๒ มีปีติแล สุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่
สมัยนั้น เธอย่อมเสวยเวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย

บรรลุฌาณ ๓ เป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
สมัยนั้น เธอย่อมเสวยเวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย

บรรลุฌาณ ๔ ไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติ เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่
สมัยนั้น เธอย่อมเสวยเวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า 184

เวทนาใน ฌาน ๑- ฌาน๔ (อัสสาทะชั้นเลิศของเวทนา)


(ปิติ-สุข ในฌาน ๑)
ภิกษุ ท. ! อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมบรรลุฌาน ที่หนึ่ง ซึ่ง มีวิตก วิจาร
มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมบรรลุ ฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตก วิจาร
มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ ในสมัยนั้น เธอย่อมไม่คิด แม้ในทางที่จะให้เกิดความ เดือดร้อนแก่ตนเอง ย่อมไม่คิด แม้ในทางที่จะให้เกิด ความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น และย่อมไม่คิดแม้ในทาง ที่จะให้เกิด ความเดือดร้อน แก่ตนเองและผู้อื่น ทั้งสองฝ่าย.

ในสมัยนั้น เธอย่อมเสวยเวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลายว่า มีการไม่ทำความ เดือดร้อน แก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง.


(ปิติ-สุข ในฌาน ๒)
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ ย่อมบรรลุฌานที่สอง อันเป็น เครื่องผ่องใสในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียวแห่งใจ ไม่มีวิตก วิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ ย่อมบรรลุฌานที่สอง อันเป็นเครื่อง ผ่องใสในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียวแห่งใจ ไม่มี วิตกวิจาร มีแต่ปีติ และสุข อันเกิด แต่สมาธิ แล้วแลอยู่ ในสมัยนั้นเธอ ย่อมไม่คิด แม้ในทางที่จะให้เกิดความ เดือดร้อน แก่ตนเอง ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิด ความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น และย่อมไม่คิดแม้ในทาง ที่จะให้เกิดความเดือดร้อน แก่ตนเอง และผู้อื่นทั้งสองฝ่าย.

ในสมัยนั้น เธอ ย่อมเสวยเวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลายว่า มีการไม่ทำความ เดือดร้อน แก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง.


(อยู่อุเบกขา ในฌาน ๓)
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย ย่อมบรรลุฌานที่สาม อันเป็นฌาน ที่พระอริยเจ้า ทั้งหลายกล่าวว่า “ผู้ได้บรรลุฌานนี้
เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. ! ในสมัยใดภิกษุ เพราะความจางคลายไป แห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วย นามกาย ย่อมบรรลุฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระ อริยเจ้า ทั้งหลายกล่าวว่า “ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่.

ในสมัยนั้น เธอ ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง ย่อมไม่คิด แม้ ในทาง ที่จะให้เกิดความ เดือดร้อนแก่ผู้อื่น และย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิด ความเดือดร้อน แก่ ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย.

ในสมัยนั้น เธอย่อมเสวยเวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อน แต่อย่างใดเลย.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย ว่า มีการไม่ทำความ เดือดร้อน แก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง.


(ละทุกข์-ละสุขในฌาน๑-๓ ย่อมอยู่อุเบกขาในฌาน ๔)
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละ ทุกข์เสียได้ เพราะความดับ หายไปแห่งโสมนัส และโทมนัสในกาลก่อน ย่อมบรรลุฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความ ที่สติ เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ เพราะละสุขเสียได้และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความ ดับหายไป แห่งโสมนัส และโทมนัสในกาลก่อน
ย่อมบรรลุฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติ เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.

ในสมัยนั้น เธอย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะ ให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง ย่อมไม่คิด แม้ในทาง ที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น แล ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิด ความเดือดร้อน แก่ ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย.

ในสมัยนั้น เธอย่อมเสวยเวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย.
ภิกษุ ท. !
เรากล่าว อัสสาทะ ของเวทนาทั้งหลาย ว่ามีการไม่ทำความเดือดร้อน แก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่งแล.






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์