เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 ธรรมที่เป็นบาปอกุศล ..ธรรม ๒ อย่าง.. คนพาล ๒ จำพวก บัณฑิต ๒ จำพวก 1408
 

(โดยย่อ)

ทุติยปัณณาสก์

สนิมิตตวรรคที่ ๓ (ธรรมที่เป็นบาปอกุศล)
-มีนิมิตจึงเกิดขึ้น ไม่มี นิมิต ไม่เกิดขึ้น (พึงละนิมิตนั้นเสีย)
-มีนิทานจึงเกิดขึ้นไม่มี นิทาน ไม่เกิดขึ้น (พึงละนิทานนั้นเสีย)
-มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุ ไม่เกิดขึ้น(พึงละเหตุนั้นเสีย)
-มีเครื่องปรุงจึงเกิดขึ้น ไม่มี เครื่องปรุงไม่เกิดขึ้น(พึงละเครื่องปรุงนั้นเสีย)
-มีปัจจัยจึงเกิดขึ้น ไม่มีปัจจัย ไม่เกิดขึ้น(พึงละปัจจัยนั้นเสีย)
-มีรูปจึงเกิดขึ้น ไม่มีรูป ไม่เกิดขึ้น(พึงละรูปนั้นเสีย)
-มีเวทนาจึงเกิดขึ้นไม่มี เวทนา ไม่เกิดขึ้น(พึงละเวทนานั้นเสีย)
-มีสัญญาจึงเกิดขึ้น ไม่มี สัญญาไม่เกิดขึ้น(พึงละสัญญานั้นเสีย)
-มีวิญญาณจึงเกิดขึ้น ไม่มี วิญญาณไม่เกิดขึ้น(พึงละวิญญาณนั้นเสีย)
-มีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ จึงเกิดขึ้น ไม่มีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ไม่เกิดขึ้น(พึงละสังขตธรรมนั้นเสีย)


ธรรมวรรคที่ ๔ (ธรรม ๒ อย่าง)
คือ เจโตวิมุติ ๑ ปัญญาวิมุติ ๑
คือ ความเพียร ๑ ความไม่ฟุ้งซ่าน ๑
คือ นาม ๑ รูป ๑
คือ วิชชา ๑ วิมุตติ ๑
คือ ภวทิฏฐิ ๑ วิภวทิฏฐิ ๑
คือ ความไม่ละอาย ๑ ความไม่เกรงกลัว ๑
คือ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑
คือ ความเป็นคนว่ายาก ๑ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑
คือ ความเป็นคนว่าง่าย ๑ ความเป็นผู้มีมิตรดี ๑
คือ ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ ๑
คือ ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ ๑


พาลวรรคที่ ๕ (คนพาล ๒ จำพวก บัณฑิต ๒ จำพวก)
คนพาล ๒ จำพวก
-คนที่ นำเอาภาระที่ยังไม่มาถึงไป ๑
-คนที่ ไม่นำเอาภาระที่มาถึงไป ๑
บัณฑิต ๒ จำพวกนี้
-คนที่ นำภาระที่มาถึงไป ๑
-คนที่ ไม่นำเอาภาระที่ยังไม่มาถึงไป ๑
----------------------------------------------------------------------
คนพาล ๒ จำพวก
-คนที่เข้าใจว่าควรในของที่ไม่ควร ๑
-คนที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ควร ๑
บัณฑิต ๒ จำพวกนี้
-คนที่เข้าใจว่า ไม่ควรในของที่ไม่ควร ๑
-คนที่เข้าใจว่า ควรในของที่ควร ๑
----------------------------------------------------------------------
คนพาล ๒ จำพวก
-คนที่เข้าใจว่า เป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๑
-คนที่เข้าใจว่า ไม่เป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ ๑
บัณฑิต ๒ จำพวกนี้
-คนที่เข้าใจว่า ไม่เป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๑
-คนที่เข้าใจว่า เป็นอาบัติข้อที่เป็นอาบัติ ๑
----------------------------------------------------------------------
คนพาล ๒ จำพวกนี้
-คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๑
-คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๑
บัณฑิต ๒ จำพวกนี้
-คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๑
-คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๑
----------------------------------------------------------------------
คนพาล ๒ จำพวกนี้
-คนที่เข้าใจว่า เป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๑
-คนที่เข้าใจว่า ไม่เป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย ๑
บัณฑิต ๒ จำพวกนี้
-คนที่เข้าใจว่า ไม่เป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๑
-คนที่เข้าใจว่า เป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย ๑
---------------------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------------------
อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก
-ผู้ที่ รังเกียจสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจ ๑
-ผู้ที่ ไม่รังเกียจสิ่งที่น่ารังเกียจ ๑
อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก
-ผู้ที่ ไม่รังเกียจสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจ ๑
-ผู้ที่ รังเกียจสิ่งที่น่ารังเกียจ ๑
----------------------------------------------------------------------
อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก
-ผู้ที่เข้าใจว่า ควรในของที่ไม่ควร ๑
-ผู้ที่เข้าใจว่า ไม่ควรในของที่ควร ๑
อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก
-ผู้ที่เข้าใจว่า ไม่ควรในของที่ไม่ควร ๑
-ผู้ที่เข้าใจว่า ควรในของที่ควร ๑
----------------------------------------------------------------------
อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก
-ผู้ที่เข้าใจว่า เป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๑
-ผู้ที่เข้าใจว่า ไม่เป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ ๑
อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก
-ผู้ที่เข้าใจว่า ไม่เป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๑
-ผู้ที่เข้าใจว่า เป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ ๑
----------------------------------------------------------------------
อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก
-ผู้ที่เข้าใจว่า เป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๑
-ผู้ที่เข้าใจว่า ไม่เป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๑
อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก
-ผู้ที่เข้าใจว่า ไม่เป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๑
-ผู้ที่เข้าใจว่า เป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๑
----------------------------------------------------------------------
อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก
-
ผู้ที่เข้าใจว่า เป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๑
-ผู้ที่เข้าใจว่า ไม่เป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย ๑
อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก
-ผู้ที่เข้าใจว่า ไม่เป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๑
-ผู้ที่เข้าใจว่า เป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย ๑

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๗๖

ทุติยปัณณาสก์

สนิมิตตวรรคที่ ๓

ธรรมที่เป็นบาปอกุศล

         [๓๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีนิมิตจึงเกิดขึ้น ไม่มี นิมิต ไม่เกิดขึ้น เพราะละนิมิตนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการ ดังนี้

         [๓๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีนิทานจึงเกิดขึ้นไม่มี นิทาน ไม่เกิดขึ้น พราะละนิทานนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้

         [๓๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุ ไม่เกิดขึ้น เพราะละเหตุนั้นเสีย รรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้

         [๓๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีเครื่องปรุงจึงเกิดขึ้น ไม่มี เครื่องปรุงไม่เกิดขึ้น เพราะละเครื่องปรุงนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล เหล่านั้น จึงไม่มี ด้วยประการดังนี้

         [๓๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีปัจจัยจึงเกิดขึ้น ไม่มีปัจจัย ไม่เกิดขึ้น เพราะละปัจจัยนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น จึงไม่มี ด้วยประการ ดังนี้

         [๓๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีรูปจึงเกิดขึ้น ไม่มีรูป ไม่เกิดขึ้น เพราะละรูปนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้

         [๓๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีเวทนาจึงเกิดขึ้นไม่มี เวทนา ไม่เกิดขึ้น เพราะละเวทนานั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้

         [๓๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีสัญญาจึงเกิดขึ้น ไม่มี สัญญาไม่เกิดขึ้น เพราะละสัญญานั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น จึงไม่มี ด้วยประการดังนี้

         [๓๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีวิญญาณจึงเกิดขึ้น ไม่มี วิญญาณไม่เกิดขึ้น เพราะละวิญญาณนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น จึงไม่มี ด้วยประการดังนี้

         [๓๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ จึงเกิดขึ้น ไม่มีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ไม่เกิดขึ้น เพราะละสังขตธรรมนั้นเสีย ธรรม ที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้

-----------------------------------------------------------------------

ทุติยปัณณาสก์
ธรรมวรรคที่ ๔

ธรรม ๒ อย่าง เป็นไฉน

        [๓๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ เจโตวิมุติ ๑ ปัญญาวิมุติ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล    

        [๓๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเพียร ๑ ความไม่ฟุ้งซ่าน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล

         [๓๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ นาม ๑ รูป ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล

         [๓๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ วิชชา ๑ วิมุตติ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล

         [๓๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ ภวทิฏฐิ ๑ วิภวทิฏฐิ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล

         [๓๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความไม่ละอาย ๑ ความไม่เกรงกลัว ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล

         [๓๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล

         [๓๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นคนว่ายาก ๑ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล

         [๓๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ  ความเป็นคนว่าง่าย ๑ ความเป็นผู้มีมิตรดี ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล

         [๓๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรม ๒ อย่างนี้แล

         [๓๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง เป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ทุติยปัณณาสก์
พาลวรรคที่ ๕

(คนพาล ๒ จำพวก บัณฑิต ๒ จำพวก)

         [๓๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
คนที่นำเอาภาระที่ยังไม่มาถึงไป ๑
คนที่ไม่นำเอาภาระที่มาถึงไป ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล

         [๓๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้
๒ จำพวกเป็นไฉน  คือ
คนที่นำภาระที่มาถึงไป ๑
คนที่ไม่นำเอาภาระที่ยังไม่มาถึงไป ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------

         [๓๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวก
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ 
คนที่เข้าใจว่าควรในของที่ไม่ควร ๑
คนที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ควร ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒จำพวกนี้แล

         [๓๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
คนที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ไม่ควร ๑
คนที่เข้าใจว่าควรในของที่ควร ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒จำพวกนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------

         [๓๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้
๒ จำพวก เป็นไฉน คือ
คนที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๑
คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล

         [๓๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๑
คนที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติข้อที่เป็นอาบัติ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------

         [๓๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๑
คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล

         [๓๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้
๒ จำพวกเป็นไฉน  คือ
คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๑
คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------

         [๓๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
คนที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๑ คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล

          [๓๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๑
คนที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------

         [๓๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
ผู้ที่รังเกียจสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจ ๑
ผู้ที่ไม่รังเกียจสิ่งที่น่ารังเกียจ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล

         [๓๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
ผู้ที่ไม่รังเกียจสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจ ๑
ผู้ที่รังเกียจสิ่งที่น่ารังเกียจ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------

         [๓๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก
๒ จำพวกเป็นไฉนคือ
ผู้ที่เข้าใจว่าควรในของที่ไม่ควร ๑
ผู้ที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ควร ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายอาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล

         [๓๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
ผู้ที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ไม่ควร ๑
ผู้ที่เข้าใจว่าควรในของที่ควร ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลายอาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------

         [๓๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก
๒ จำพวกเป็นไฉนคือ
ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล

         [๓๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก
๒ จำพวกเป็นไฉนคือ
ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๑
ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------

         [๓๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก
๒ จำพวกเป็นไฉนคือ
ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๑
ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล

         [๓๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก
๒ จำพวกเป็นไฉนคือ
ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๑
ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน๒ จำพวกนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------

          [๓๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๑
ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล

         [๓๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๑
ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์