เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ทรัพย์ในอริยวินัย (นัยที่ ๒) ทรัพย์ ๗ ประการเหล่านี้มีอยู่ 357  
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป

ทรัพย์ในอริยวินัย (นัยที่ ๒)
ทรัพย์คือ ศรัทธา- ทรัพย์คือ ศีล-ทรัพย์คือ หิริ-ทรัพย์คือ โอตตัปปะ-
ทรัพย์คือ สุตะ - ทรัพย์คือ จาคะ - ทรัพย์คือ ปัญญา

 
 
 


หนังสือพุทธวจน เรื่องทาน หน้า 26
บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๕/๖.


ทรัพย์ในอริยวินัย
(นัยที่ ๒)

ภิกษุทั้งหลาย!  ทรัพย์ ๗ ประการเหล่านี้มีอยู่
๗ ประการเป็นอย่างไร คือ


(1) ทรัพย์คือ ศรัทธา
(2) ทรัพย์คือ ศีล
(3) ทรัพย์คือ หิริ
(4) ทรัพย์คือ โอตตัปปะ
(5) ทรัพย์คือ สุตะ
(6) ทรัพย์คือ จาคะ
(7) ทรัพย์คือ ปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย!  ก็ทรัพย์คือศรัทธาเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย!  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมเชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ ของตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศรัทธา.

ภิกษุทั้งหลาย!  ก็ทรัพย์คือศีลเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย!  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ... จากการดื่ม น้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศีล.

ภิกษุทั้งหลาย!  ก็ทรัพย์คือหิริเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย!  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความละอาย คือละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตละอายต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันเป็นบาป นี้เรียกว่า ทรัพย์คือหิริ.

ภิกษุทั้งหลาย!  ก็ทรัพย์คือโอตตัปปะเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย!  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว คือ สะดุ้งกลัว ต่อกายทุจริต วจีทุจริตมโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการถูกต้องอกุศลธรรม อันเป็นบาปนี้ เรียกว่า ทรัพย์คือโอตตัปปะ.

ภิกษุทั้งหลาย!  ก็ทรัพย์คือสุตะเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย!  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ สดับมามาก ทรงจำได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิซึ่งธรรม ทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง นี้เรียกว่า ทรัพย์คือสุตะ.

ภิกษุทั้งหลาย!  ก็ทรัพย์คือจาคะเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย!  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีการบริจาคอันปล่อยอยู่เป็นประจำ มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการให้และการแบ่งปัน นี้เรียกว่าทรัพย์คือจาคะ.

ภิกษุทั้งหลาย!  ก็ทรัพย์คือปัญญาเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย!  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา ที่กำหนดความเกิดและความดับเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ทรัพย์คือปัญญา.

ภิกษุทั้งหลาย!  นี้แล ทรัพย์ ๗ ประการ.

(ทรัพย์ ๕ ประการเป็นไฉน)



   
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์