เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
ธรรมตามลำดับ (คณกโมคคัลลานสูตร) ตรัสกับ พราหมณ์ 1318
 

(โดยย่อ)

พราหมณ์ คณกะโมคคัลลานะ เข้าเฝ้าฯ
พวกพราหมณ์ มีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือในเรื่อง เล่าเรียน แม้พวกนักรบเหล่านี้ ก็มีการศึกษาโดยลำดับ

ดูกรพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ตถาคตได้บุรุษที่ควรฝึกแล้วเริ่มต้น ย่อมแนะนำอย่างนี้ว่า
(1) เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย อาจาระ และโคจรอยู่  สมาทานศึกษาใน สิกขาบท ทั้งหลายเถิด

(2) เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์

(3) เธอจงเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ พึงบริโภคอาหาร บริโภคเพียงเพื่อร่างกายดำรงอยู่

(4) เธอจงเป็นผู้ตื่นอยู่ จงชำระจิต ให้บริสุทธิ์ด้วยการ เดินจงกรม และการนั่งตลอดวัน จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากนิวรณ์ ๕  

(5) เธอจงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ รู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ แลดู เหลียวดู งอแขน เหยียดแขน การดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส

(6) เธอจงพอใจเสนาสนะ อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ กลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น

ภิกษุสงัดจากกาม จากอกุศลธรรม เข้า ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิด แต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน  เข้าตติยฌาน เข้าจตุตถฌาน

ภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุพระ อรหัตมรรค เรามีคำพร่ำสอน ปานฉะนี้ ภิกษุพวกที่เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว พ้นวิเศษแล้ว ธรรมเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความอยู่สบาย ในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ


สูตรอื่น
สาวกบางพวกยินดี บางพวกไม่ยินดี ในโอวาทของตถาคต

ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทาง ส่วนสาวกเป็นผู้เดินตาม
ตถาคตย่อมอยู่ร่วมกับสาวกผู้มีความศรัทธา เคารพในสิกขา

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๖๒

๗.  คณกโมคคัลลานสูตร  (๑๐๗)


          [๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ ปราสาท ของอุบาสิกาวิสาขา มิคารมารดา  ในพระวิหาร บุพพารามเขตพระนครสาวัตถี 

         ครั้งนั้นแล พราหมณ์ คณกะโมคคัลลานะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ยังที่ประทับ แล้วได้ทักทาย ปราศรัยกับ พระผู้มีพระภาค 

          ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ ตัวอย่างเช่นปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ย่อมปรากฏมีการศึกษาโดย ลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือกระทั่งโครงร่างของบันได ชั้นล่าง 

          แม้พวกพราหมณ์เหล่านี้ ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดย ลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือในเรื่องเล่าเรียน แม้พวกนักรบเหล่านี้ ก็ปรากฏ มีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำ โดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือในเรื่องใช้ อาวุธ 

          แม้พวกข้าพเจ้าผู้เป็นนักคำนวณ มีอาชีพในทางคำนวณ(โหร ทายลักษณะ) ก็ปรากฏมีการ ศึกษาโดยลำดับ  การกระทำโดยลำดับ  การปฏิบัติโดย ลำดับ คือในเรื่องนับจำนวน เพราะพวกข้าพเจ้าได้ศิษย์แล้ว เริ่มต้นให้นับอย่างนี้ ว่า หนึ่ง หมวดหนึ่ง สอง หมวดสอง สาม หมวดสาม สี่ หมวดสี่ ห้า หมวดห้าหก  หมวดหก เจ็ด หมวดเจ็ด แปด หมวดแปด เก้า หมวดเก้า สิบ หมวดสิบ ย่อมให้นับไป ถึงจำนวน ร้อย 

          ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์อาจหรือหนอ เพื่อจะบัญญัติการศึกษาโดย ลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติ โดยลำดับ ในธรรมวินัยแม้นี้ ให้เหมือน อย่างนั้น

        [๙๔]  พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เราอาจบัญญัติการศึกษาโดย ลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัยนี้ได้ เปรียบเหมือน คนฝึกม้าผู้ฉลาด ได้ม้าอาชาไนยตัวงามแล้ว เริ่มต้นทีเดียว ให้ทำสิ่งควรให้ทำใน บังเหียน ต่อไปจึงให้ทำสิ่งที่ควร ให้ทำยิ่งๆ ขึ้นไปฉันใด 

        ดูกรพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ตถาคตได้บุรุษที่ควรฝึกแล้วเริ่มต้น  ย่อมแนะนำอย่างนี้ว่า

        ดูกรภิกษุ มาเถิด (1) เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย อาจาระ และโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาใน สิกขาบท ทั้งหลายเถิด

        [๙๕]  ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย อาจาระ และโคจรอยู่ เป็นผู้เห็น ภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน  ศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย แล้ว ตถาคตย่อมแนะนำเธอ ให้ยิ่งขึ้นไปว่า 

          ดูกรภิกษุ มาเถิด (2) เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย เธอ เห็นรูป ด้วยจักษุแล้ว จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติ เพื่อ สำรวมจักขุนทรีย์ อันมีการเห็นรูปเป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูก อกุศลธรรม อันลามก คืออภิชฌา และโทมนัส ครอบงำได้  จงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมใน จักขุนทรีย์เถิด เธอได้ยินเสียง ด้วยโสตแล้ว ..เธอดมกลิ่นด้วย ฆานะแล้ว ...เธอลิ้มรส ด้วยชิวหาแล้ว .. เธอถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ... เธอรู้ธรรมารมณ์ ด้วยมโนแล้ว จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอา โดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อ สำรวม มนินทรีย์อันมีการรู้ธรรมารมณ์ เป็นเหตุ  ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูก อกุศลธรรม  อันลามกคืออภิชฌา และโทมนัส ครอบงำได้ จงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมใน มนินทรีย์เถิด 

        [๙๖]  ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุ เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลาย ได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า

       ดูกรภิกษุ มาเถิด (3) เธอจงเป็นผู้รู้จักประมาณ ในโภชนะ คือพึงบริโภคอาหาร  พิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภคมิใช่เพื่อ จะเล่น  มิใช่เพื่อจะมัวเมา มิใช่เพื่อจะ ตบแต่งร่างกายเลย บริโภคเพียงเพื่อร่างกายดำรงอยู่ เพื่อให้ชีวิตเป็นไปเพื่อบรรเทา ความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ เท่านั้น ด้วยอุบายนี้ เราจะป้องกันเวทนา เก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น และความเป็นไปแห่งชีวิต ความไม่มีโทษ ความอยู่ สบายจักมีแก่เรา 

        [๙๗]  ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะได้  ตถาคต ย่อมแนะนำเธอ ให้ยิ่งขึ้นไปว่า

        ดูกรภิกษุมาเถิด (4) เธอจงเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ คือ จงชำระจิต ให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการ เดินจงกรม และการนั่งตลอดวัน จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก อาวรณียธรรม  ด้วยการเดิน จงกรม และการนั่ง ตลอด ปฐมยามแห่งราตรี  พึงเอาเท้าซ้อนเท้า มีสติรู้สึกตัวทำความสำคัญว่า จะลุกขึ้น  ไว้ในใจแล้วสำเร็จสีหไสยาโดยข้าง เบื้องขวาตลอด มัชฌิมยาม แห่งราตรี จงลุกขึ้น ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรม และการนั่ง ตลอดปัจฉิมยาม แห่งราตรีเถิด

        [๙๘]  ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุ เป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้  ตื่นอยู่ได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอ ให้ยิ่งขึ้นไปว่า

        ดูกรภิกษุมาเถิด (5) เธอจงเป็นผู้ประกอบด้วย สติสัมปชัญญะ คือทำความ รู้สึกตัวในเวลาก้าวไป และถอยกลับ ในเวลาแลดู และเหลียวดู ในเวลางอแขน และ เหยียดแขน ในเวลาทรงผ้า สังฆาฏิบาตร และจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส ในเวลา ถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่งเถิด

        [๙๙]  ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุ เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ได้  ตถาคตย่อมแนะนำ เธอ ให้ยิ่งขึ้นไปว่า

       ดูกรภิกษุ มาเถิด (6)ธอจงพอใจเสนาสนะ อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา  ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลา อาหารแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น เฉพาะหน้า ละอภิชฌาในโลกแล้ว มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่  ย่อมชำระ จิตให้บริสุทธิ์ จากอภิชฌา ได้ละความชั่วคือ พยาบาทแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์ ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์ และภูตอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก ความชั่ว คือพยาบาทได้ ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้มีจิต ปราศจาก ถีนมิทธะ  มีอาโลกสัญญา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้ บริสุทธิ์จาก ถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน อยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากอุทธัจจ กุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามความ สงสัย ไม่มีปัญหาอะไร ในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก วิจิกิจฉา ได้ 

        [๑๐๐]  เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ทำปัญญาให้ถอย กำลังนี้ได้แล้ว จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้า ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิด แต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใส แห่งใจ ภายในมีความ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบ วิตกและวิจารไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิด แต่สมาธิอยู่ เป็นผู้วางเฉยเพราะ หน่าย ปีติ มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอ ได้ว่าผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุข อยู่ เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละ ืสุข  ละทุกข์และดับ โสมนัส  โทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่ 

          ดูกรพราหมณ์ ในพวกภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุพระอรหัตมรรค ยัง ปรารถนาธรรม ที่เกษมจากโยคะ อย่างหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้อยู่นั้น เรามีคำพร่ำสอน เห็น ปานฉะนี้

        ส่วนสำหรับภิกษุพวกที่เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุ ประโยชน์ตนแล้ว โดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะผู้ชอบนั้น ธรรมเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่สบาย  ในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ 

----------------------------------------------------------------------------------------------

สาวกบางพวกยินดี บางพวกไม่ยินดี ในโอวาทของตถาคต

        [๑๐๑]  เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกะโมคคัลลานะ ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า สาวกของ พระโคดมผู้เจริญ อันพระโคดมผู้เจริญ โอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ ย่อมยินดีนิพพาน อันมีความสำเร็จล่วงส่วน ทุกรูปทีเดียว หรือหนอ หรือว่าบางพวกก็ไม่ยินดี 

        พ.  ดูกรพราหมณ์ สาวกของเรา อันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวก เพียงส่วนน้อย ยินดีนิพพาน อันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี 

        ค.  ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ในเมื่อนิพพาน ก็ยังดำรงอยู่ ทางให้ถึงนิพพาน ก็ยังดำรงอยู่ พระโคดมผู้เจริญ ผู้ชักชวนก็ยัง ดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของพระโคดม ผู้เจริญ อันพระโคดมผู้เจริญ โอวาท สั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย จึงยินดีนิพพาน อันมีความสำเร็จล่วงส่วน  บางพวกก็ไม่ยินดี 

        [๑๐๒]  พ. ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านชอบใจ อย่างไร พึงพยากรณ์อย่างนั้น ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน  ท่านชำนาญทางไปเมืองราชคฤห์มิใช่หรือ 
         ค.  แน่นอน พระเจ้าข้า 



ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทาง ส่วนสาวกเป็นผู้เดินตาม

        พ.  ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษผู้ปรารถนา จะไป เมืองราชคฤห์ พึงมาในสำนักของท่าน เข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมือง ราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์ แก่ข้าพเจ้า ด้วยเถิด ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า

          ดูกรพ่อมหาจำเริญ มาเถิดทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ท่านจงไปตามทางนั้น ชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นบ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้น ชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคม ชื่อโน้น ไปตาม ทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์  ภูมิภาคที่น่า รื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ ของเมืองราชคฤห์ บุรุษนั้นอันท่าน แนะนำพร่ำสั่ง อยู่อย่างนี้ จำทางผิดกลับเดินไป เสียตรงกันข้าม 

          ต่อมาบุรุษคนที่สอง ปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ พึงมาในสำนักของท่าน เข้ามาหาท่านแล้ว พูดอย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมือง ราชคฤห์
 ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์ แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า 

          ดูกรพ่อมหาจำเริญ มาเถิด ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ท่านจงไปตามทางนั้น ชั่วครู่หนึ่ง แล้ว จักเห็นบ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้น ชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคม ชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์  ภูมิภาคที่น่า รื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ ของเมือง ราชคฤห์ บุรุษนั้นอันท่าน แนะนำพร่ำสั่ง อยู่อย่างนี้ พึงไปถึงเมืองราชคฤห์โดยสวัสดี 

         ดูกรพราหมณ์ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ในเมื่อเมืองราชคฤห์ ก็ดำรงอยู่ ทางไป เมืองราชคฤห์ก็ดำรงอยู่ ท่านผู้ชี้แจงก็ดำรงอยู่ แต่ก็บุรุษอันท่าน แนะนำพร่ำสั่งอย่างนี้ คนหนึ่งจำทางผิด กลับเดินไปทางตรงกันข้ามคนหนึ่ง ไปถึง เมืองราชคฤห์ได้โดยสวัสดี

        ค. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจะทำอย่างไรได้ ข้าพเจ้า เป็นแต่ผู้บอกทาง 

        [๑๐๓]  พ. ดูกรพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเมื่อนิพพานก็ดำรงอยู่  ทางไปนิพพานก็ ดำรงอยู่ เราผู้ชักชวน ก็ดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของเรา อันเราโอวาท สั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวก เพียงส่วนน้อย ยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จ ล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี 

       ดูกรพราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ตถาคตเป็นแต่ผู้ บอกหนทางให้ 



ตถาคตย่อมอยู่ร่วมกับสาวกผู้มีความศรัทธา เคารพในสิกขา

        [๑๐๔]  เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกะ โมคคัลลานะ ได้ทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่าข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคลจำพวก ที่ไม่มีศรัทธา  ประสงค์จะเลี้ยงชีวิต ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้โอ้อวด มีมายา เจ้าเล่ห์ ฟุ้งซ่าน ยกตัว กลับกลอกปากกล้า มีวาจา เหลวไหล ไม่คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่น  ไม่มุ่งความเป็นสมณะ ไม่มีความเคารพ กล้าในสิกขา มีความประพฤติมักมาก มีความ ปฏิบัติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในทางเชือนแช ทอดธุระในความสงัด เงียบ เกียจคร้าน  ละเลยความเพียรหลงลืมสติไม่รู้สึกตัว ไม่มั่นคง มีจิตรวนเร มีปัญญาทราม เป็นดัง คนหนวก คนใบ้ พระโคดมผู้เจริญ ย่อมไม่อยู่ร่วม กับบุคคลจำพวก นั้น

         ส่วนพวกกุลบุตร ที่มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่โอ้อวด ไม่มี มายา ไม่เป็นคน เจ้าเล่ห์  ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ยกตน ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า ไม่มี วาจา เหลวไหล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบเนืองๆ  ซึ่งความ เป็นผู้ตื่น มุ่งความเป็นสมณะ เคารพกล้าในสิกขา ไม่มีความ ประพฤติ มักมาก ไม่มีความปฏิบัติย่อหย่อน ทอดธุระในทางเชือนแช เป็นหัวหน้าในความสงัด เงียบ ปรารภความเพียร ส่งตนไปในธรรม ตั้งสติมั่นรู้สึกตัวมั่นคง มีจิตแน่วแน่มีปัญญา ไม่เป็นดัง คนหนวกคนใบ้ พระโคดมผู้เจริญ ย่อมอยู่ร่วมกับ กุลบุตรพวกนั้น

         ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เปรียบเหมือน บรรดาไม้ ที่มีรากหอม เขากล่าว กฤษณา ว่า เป็นเลิศ  บรรดาไม้ที่มี แก่น หอม เขากล่าวแก่นจันทน์ แดงว่าเป็น เลิศ บรรดาไม้ที่มี ดอกหอม เขากล่าว ดอกมะลิ ว่าเป็นเลิศฉันใด  โอวาทของ พระโคดม ผู้เจริญ  ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล บัณฑิต กล่าวได้ว่า เป็นเลิศในบรรดาธรรม ของครูอย่างแพะที่นับว่าเยี่ยม แจ่มแจ้ง แล้วพระเจ้าข้า แจ่มแจ้งแล้ว  พระเจ้าข้า 

           พระโคดมผู้เจริญ ทรงประกาศธรรมโดยปริยาย มิใช่น้อย เปรียบเหมือน หงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอกทาง แก่คนหลงทางหรือตามประทีป ในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีตาดี จักเห็น รูปทั้งหลายได้ 

           ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึง พระโคดมผู้เจริญ พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป

จบ  คณกโมคคัลลานสูตร  ที่  ๗






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์