เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  เหตุปัจจัยทำให้ศาสนาเสื่อม.. พุทธบริษัท๔ ไม่สนใจคำสอน.. เปรียบเหมือนกลอง อานกะ 1149
  1149
  (สรุปย่อพอสังเขป)

เหตุปัจจัย ที่ทำให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน เมื่อ ตถาคตปรินิพพานแล้ว

เหตุปัจจัยที่ 1 (พุทธบริษัท ๔ ไม่มีความเคารพยำเกรงต่อศาสนา)
ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคต ปรินิพพานแล้ว พวก ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้
๑) เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในศาสดา
๒) เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในธรรม
๓) เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในสงฆ์
๔) เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในสิกขา
๕) เป็นผู้ไม่มี ความเคารพ ไม่มีความยำเกรง กันและกัน

เหตุปัจจัยที่ 2
(เนื้อแท้อันตรธาน)
เปรียบเหมือน กลองศึก “อานกะ“ ของกษัตริย์พวก ทสารหะ เมื่อกลองแตก ก็จะหาไม้อื่น ทำเป็นลิ่ม เสริมทุกคราว เมื่อปะเข้าหลายครั้ง นานเข้า เนื้อไม้เดิมก็หมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ไหม่ที่ทำเสริม

ฉันใดก็ฉันนั้น ในกาลแห่งอนาคต จะมีภิกษุไม่สนใจคำสอนของตถาคต แต่จะสนใจคำแต่งใหม่ที่ สละสลวย คำแต่งใหม่เหล่านี้เธอไม่ควรฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่ควรศึกษาเล่าเรียน

เหตุปัจจัยที่ 3 (พุทธบริษัท ๔ ไม่มีความเคารพยำเกรงต่อศาสนา)
เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความ ฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่ง พระสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้
๑) ไม่เคารพยำเกรง ในพระศาสดา
๒) ไม่เคารพยำเกรง ในพระธรรม
๓) ไม่เคารพยำเกรง ในพระสงฆ์
๔) ไม่เคารพยำเกรง ในสิกขา
๕ ไม่เคารพยำเกรง ในสมาธิ

เหตุปัจจัยที่ 4
๑) เล่าเรียนบอกสอนกันมาผิดๆ
๒) ภิกษุเป็นคนว่ายาก ไม่อดทน ไม่ยอมรับคำตักเตือน
๓) ภิกษุที่คล่องพระสูตรไม่เอาใจใส่บอกสอนภิกษรูปุอื่น
๔) ภิกษุเถระ ย่อหย่อนในสิกขา เป็นผู้นำในทางทราม พระรูปอื่นถือเอาอย่าง

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อุปมาที่ทำให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ไม่นาน

ธาตุ ดิน น้ำ ไฟลม ไม่อาจทำให้ พระสัทธรรมให้เลือนหายไปได้ แต่
โมฆะบุรุษ
(คนเลว คนไร้ค่า) ทำให้พระสัทธรรมให้เลือนหายไปได้

พระสัทธรรม (ของตถาคต) เปรียบเหมือนทองแท้
สัทธรรมปฏิรูป (ธรรมะของปลอม) เปรียบเหมือนทองเทียม

เมื่อใด สัทธรรมปฏิรูป ยังไม่เกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้นพระสัทธรรม ก็ยังไม่เลือนหายไป
เมื่อใด สัทธรรมปฏิรูป เกิดขึ้นในโลกเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรม จึงเลือนหายไป

ทองเทียม ยังไม่เกิดขึ้นในโลก ทองคำธรรมชาติ ก็ยังไม่หายไป
ทองเทียม เกิดขึ้น ทองคำธรรมชาติจึงหายไป
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

 

เหตุปัจจัยทำให้ศาสนาเสื่อม


กิมพิลสูตร ว่าด้วยเหตุปัจจัยทำให้ศาสนาเสื่อม
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๒๐)

          [๒๐๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ใกล้เมือง กิมิลา ครั้งนั้น ท่านพระกิมพิละ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึง ที่ประทับถวาย บังคม แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เครื่องให้พระ สัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน ในเมื่อ พระตถาคต ปรินิพพานแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

(1)    ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคต ปรินิพพานแล้ว พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้
๑) เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในศาสดา
๒) เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในธรรม
๓) เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในสงฆ์
๔) เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในสิกขา
๕) เป็นผู้ไม่มี ความเคารพ ไม่มีความยำเกรง กันและกัน

ดูก่อนกิมพิละ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระ สัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน ในเมื่อ ตถาคตปรินิพพานแล้ว.

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เนื้อแท้อันตรธาน
เปรียบเหมือนกลองศึก
( ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า107)

 

(2)     ภิกษุ ท. ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่ เมื่อกลองอานกะนี้มีแผลแตก หรือลิ พวก กษัตริย์ทสารหะ ได้หาเนื้อไม้ อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป)

ภิกษุท. ! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้นนานเข้า ก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่ง เนื้อไม้เดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริม เข้าใหม่เท่านั้น

ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย สุตตันตะ (ตัวสูตรส่วนที่ลึกซึ้ง) เหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา เมื่อมีผู้นำ สุตตันตะ เหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดีจักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิต เพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่ง ที่ตน ควรศึกษาเล่าเรียน ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เป็นคำร้อยกรอง ประเภทกาพย์

กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็น คำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักฟัง ด้วยดีจักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจัก สำคัญว่าเป็นสิ่ง ที่ตนควรศึกษา เล่าเรียน

ภิกษุ ท. ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความ ลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่อง สุญญตา จักมีได้ด้วยอาการ อย่างนี้แล
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร
(พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๗)

(อุปมา)

          [๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้า พระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อย และภิกษุตั้งอยู่ ใน พระอรหัตผลมีมาก และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บัดนี้สิกขาบทมีมาก และภิกษุ ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย

          [๕๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ เมื่อหมู่สัตว์ เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่ตั้งอยู่ ใน พระอรหัตผลจึงน้อยเข้า

สัทธรรมปฏิรูป(ธรรมะของปลอม) ยังไม่เกิดขึ้น ในโลกตราบใดตราบนั้น พระสัทธรรม ก็ยังไม่เลือน หายไป และ สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด เมื่อนั้น พระสัทธรรม จึงเลือน หายไป

ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใดตราบนั้น ทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และ เมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรมชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรม ก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้น พระสัทธรรมก็ยังไม่ เลือนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรม จึงเลือนหายไป

          [๕๓๓] ดูกรกัสสป ธาตุดิน ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษ ในโลกนี้ ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะอัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(3)    [๕๓๔] ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อ ความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม
เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้
 1) ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑
 2) ในพระธรรม ๑
 3) ในพระสงฆ์ ๑
 4) ในสิกขา ๑
 5) ในสมาธิ ๑


เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการ เหล่านี้ แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม

          [๕๓๕] ดูกรกัสสป เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความ ตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ ๑

เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือนไม่เลือนหาย แห่ง พระสัทธรรม

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(หนังสือหน้า 108 ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์)

ผู้ทำศาสนาเสื่อม ๔ อย่าง

ภิกษุ ท. ! มูลเหตุสี่ประการเหล่านี้ ที่ทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือน จนเสื่อมสูญไป
สี่อย่างอะไรกันเล่า ? สี่อย่างคือ

(4)
1) ภิกษุ ท. ! พวกภิกษุ เล่าเรียนสูตร อันถือกันมาผิด ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันผิด เมื่อบทและพยัญชนะใช้กันผิดแล้ว แม้ความหมายก็มีนัยอันคลาดเคลื่อน

2) ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง พวกภิกษุเป็นคนว่ายาก ประกอบด้วยเหตุที่ทำให้เป็น คน ว่ายาก ไม่อดทน ไม่ยอมรับคำตักเตือนโดยความเคารพหนักแน่น

3)
ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่วในหลัก พระพุทธวจนะ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) ภิกษุเหล่านั้น ไม่ได้เอาใจ ใส่บอกสอน ใจความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่น ๆ เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับดับไป สูตรทั้งหลาย ก็เลยขาดผู้เป็นมูลราก (อาจารย์) ไม่มีที่อาศัยสืบไป

4) ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง พวกภิกษุชั้นเถระ ทำการสะสมบริกขารประพฤติ ย่อ หย่อน ในไตรสิกขา เป็นผู้นำในทางทราม ไม่เหลียวแลในกิจแห่งวิเวกธรรม ไม่ปรารภ ความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ในสิ่งที่ยัง ไม่ทำให้แจ้ง. ผู้บวชในภายหลังได้เห็นพวกเถระเหล่านั้น ทำแบบแผน เช่นนั้นไว้ ก็ถือเอาไปเป็นแบบอย่าง จึงทำให้เป็นผู้ทำการสะสมบริกขารบ้าง ประพฤติ ย่อหย่อน ในไตรสิกขา มีจิตต่ำด้วยอำนาจแห่งนิวรณ์ ไม่เหลียวแลในกิจแห่งวิเวก ธรรม ไม่ปรารภ ความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้ แจ้ง ในสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ตามกันสืบไป






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์