เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 บุคคล ๒ จำพวก (ทุติยปัณณาสก์) เมื่อเกิดขึ้นในโลกย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลของชนมาก 1004
 
 


บุคคล ๒ จำพวก (ทุติยปัณณาสก์)


จำพวกที่ ๑ เมื่อเกิดขึ้นในโลกย่อมเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์เกื้อกูลของชนมาก
คูู่ที่ 1 พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับ พระเจ้าจักรพรรดิ
คูู่ที่ 2 พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับ พระปัจเจกฯ

จำพวกที่๒ สองจำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง

คูู่ที่ 3 พระอรหันต์ กับ ช้างอาชาไนย
คู่ที่ 4พระอรหันต์ กับ ม้าอาชาไนย
คู่ที่ 5พระอรหันต์ กับ สีหมฤคราช (ราชสีห์)

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต หน้าที่ ๗๑- ๗๒



บุคคล ๒ จำพวก (ทุติยปัณณาสก์)
เมื่อเกิดขึ้นในโลกย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลของชนมาก

คู่ 1 พระพุทธเจ้า-พระเจ้าจักรพรรดิ์

         [๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ เมื่อเกิดขึ้นในโลกย่อมเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์เกื้อกูลของชนมาก เพื่อสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูลแก่ชน เป็นอันมากเพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระเจ้าจักรพรรดิ ๑

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์ เกื้อกูลของชนมาก เพื่อสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชน เป็นอันมาก เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

         [๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้น เป็นอัจฉริยมนุษย์๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระเจ้าจักรพรรดิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แลเมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ ฯ

         [๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลกิริยา(ความตาย) ของบุคคล ๒ จำพวกนี้ เป็นความ เดือดร้อนแก่ชนเป็นอันมาก กาลกิริยาของบุคคล ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ของ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ ของพระเจ้าจักพรรดิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลกิริยาของบุคคล ๒ จำพวกนี้แลเป็นความเดือดร้อนแก่ชน เป็นอันมาก ฯ

         [๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูปารหบุคคล* ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระเจ้าจักรพรรดิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูปารหบุคคล ๒ จำพวกนี้แล ฯ *(สมควรสร้างสถูป)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สองจำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง

คู่ 2 พระพุทธเจ้า- พระปัจเจก


         [๓๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกนี้แล ฯ

คู่ 3 พระอรหันต์ขีนาสพ กับ ช้างอาชาไนย

         [๓๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ๒ จำพวกเป็นไฉนคือ พระภิกษุขีณาสพ (อรหันต์ผู้หมดกิเลส) ช้างอาชาไนย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง

คู่ 4 พระอรหันต์ขีนาสพ กับ ม้าอาชาไนย

         [๓๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระภิกษุขีณาสพ ๑ ม้าอาชาไนย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง

คู่ 5 พระอรหันต์ขีนาสพ กับ สีหมฤคราช (ราชสีห์)

         [๓๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ๒ จำพวกเป็นไฉนคือ พระภิกษุขีณาสพ ๑ สีหมฤคราช ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง

         [๓๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กินนร(อมนุษย์) เห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้  จึงไม่พูดภาษามนุษย์ อำนาจประโยชน์ ๒ ประการเป็นไฉน คือ เราอย่าพูดเท็จ ๑ เราอย่าพูดตู่ผู้อื่นด้วยคำไม่จริง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กินนรเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้แล จึงไม่พูดภาษามนุษย์ ฯ

         [๓๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคาม(สตรี) ไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม ๒ ประการ  ทำกาลกิริยาธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ การเสพเมถุนธรรม ๑ การคลอดบุตร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายมาตุคามไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม ๒ ประการนี้แลทำกาลกิริยา ฯ


 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์