เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  ปฐมธรรม-พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
    02 of 4  
 
  ปฐมธรรม พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
  ๓๔ เหตุให้ศาสนาเสื่อม 88  
  ๓๕ สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง 91  
  ๓๖ ผลจากความไม่มีธรรมะของมนุษย์ (อย่างเบา) 97  
  ๓๗ ผลจากความไม่มีธรรมะของมนุษย์ (อย่างหนัก) 100  
  ๓๘ ข้อควรทราบเกี่ยวกับอกุศลมูล (ราคะ โทสะ โมหะ) 105  
  ๓๙ คุณสมบัติของทูต 105  
  ๔๐ ไม่โกหกกัน แม้เพียงเพื่อหัวเราะเล่น 109  
  ๔๑ งูเปื้อนคูถ 110  
  ๔๒ สิ่งที่ควรรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ “กรรม” 114  
  ๔๓ กายนี้ เป็น “กรรมเก่า” 116  
  ๔๔ ศีล ๕ 118  
  ๔๕ ทาน ที่จัดว่าเป็น มหาทาน 120  
  ๔๖ อุโบสถ (ศีล) 122  
  ๔๗ อกุศลกรรมบถ ๑๐ 124  
  ๔๘ กุศลกรรมบถ ๑๐ 129  
  ๔๙ อานิสงส์สำหรับผู้ทำศีลให้บริบูรณ์ 135  
  ๕๐ ผลของการมีศีล 140  
  ๕๑ ผลของการไม่มีศีล 142  
  ๕๒ ทำดี ได้ดี 145  
  ๕๓ ธรรมดาของโลก 149  
  ๕๔ กรรมที่ทำให้ได้รับผลเป็นความไม่ตกต่ำ 150  
  ๕๕ ทานที่ให้แล้วในสงฆ์แบบใด จึงมีผลมาก 152  
  ๕๖ ผู้ประสบบุญใหญ่ 154  
  ๕๗ ต้องขึงสายพิณพอเหมาะ 158  
  ๕๘ ผู้เห็นแก่นอน 160  
  ๕๙ ลักษณะของ “ผู้มีความเพียรตลอดเวลา” 163  
  ๖๐ ลักษณะของ “ผู้เกียจคร้านตลอดเวลา” 164  
  ๖๑ วิธีการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง 165  
  ๖๒การตามรู้ซึ่งความจริง 169  
  ๖๓ การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง 172  
  ๖๔ ทำความเพียรแข่งกับอนาคตภัย 173  
       
 
 





หนังสือปฐมธรรม- พุทธวจน

ปฐมธรรม หน้า 88

๓๔
เหตุให้ศาสนาเสื่อม


ภิกษุทั้งหลาย ! มูลเหตุ ๔ ประการเหล่านี้ ที่ทำให้พระสัทธรรม เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.

๔ ประการ อะไรบ้างเล่า ? ๔ ประการคือ

(๑) ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาผิด ด้วยบทพยัญชนะ ที่ใช้กันผิด  เมื่อบทและพยัญชนะ ใช้กันผิดแล้ว แม้ความหมายก็มีนัยอัน คลาดเคลื่อน. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็น มูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้ พระสัทธรรม เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป

(๒) ภิกษุทั้งหลาย ! อีกอย่างหนึ่ง พวกภิกษุเป็นคนว่ายาก ประกอบด้วยเหตุ ที่ทำให้ เป็นคนว่ายากไม่อดทน ไม่ยอมรับคำ ตักเตือนโดยความเคารพ หนักแน่น. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็น มูลกรณีที่สอง ซึ่งทำให้พระสัทธรรม เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป

(๓) ภิกษุทั้งหลาย ! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่ว ในหลัก พระพุทธวจนทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) ภิกษุเหล่านั้น ไม่ได้เอาใจใส่ บอก สอนใจความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่นๆ เมื่อท่านเหล่านั้น ล่วงลับไป สูตรทั้งหลาย ก็เลยขาดผู้เป็นมูลราก(อาจารย์) ไม่มีที่อาศัยสืบไป. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นมูลกรณี ที่สาม ซึ่งทำให้พระสัทธรรม เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป

(๔) ภิกษุทั้งหลาย ! อีกอย่างหนึ่ง พวกภิกษุชั้นเถระ ทำการสะสมบริกขาร ประพฤติย่อ หย่อนในไตรสิกขา มีจิตต่ำ ด้วยอำนาจ แห่งนิวรณ์ ไม่เหลียวแล ในกิจแห่งวิเวกธรรม ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยัง ไม่บรรลุ เพื่อทำให้ แจ้ง ในสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ผู้บวชในภายหลังได้เห็นพวก เถระเหล่านั้นทำแบบแผนเช่นนั้นไว้ ก็ถือเอาไปเป็นแบบอย่าง จึงทำให้เป็นผู้ ทำการสะสมบริกขารบ้าง ประพฤติย่อหย่อนใน ไตรสิกขา มีจิตต่ำด้วยอำนาจ แห่งนิวรณ์ ไม่เหลียวแลในกิจ แห่งวิเวกธรรม ไม่ปรารภ ความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำ ให้แจ้ง ตามกัน สืบไป ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็น มูลกรณีที่สี่ ซึ่งทำให้พระสัทธรรมเลอะ เลือนจน เสื่อมสูญไป

ภิกษุทั้งหลาย ! มูลเหตุ ๔ ประการเหล่านี้แลที่ทำให้พระสัทธรรม เลอะเลือน จน เสื่อมสูญไป

ปฐมธรรม หน้า 91

๓๕
สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง


ภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง (อนิจฺจ)
ภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืน (อธุว)
ภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลายเป็นสิ่งที่หวังอะไรไม่ได้ (อนสฺสาสิก)

ภิกษุทั้งหลาย ! เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะ คลายกำหนัดพอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง

ภิกษุทั้งหลาย ! ขุนเขาสิเนรุ โดยยาว ๘๔,๐๐๐โยชน์(๑โยขน์ = ๑๖ กิโลเมตร) โดยกว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ หยั่งลงในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงขึ้นจากผิวพื้นสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ภิกษุทั้งหลาย ! มีสมัยซึ่งล่วงไป หลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี ที่ฝนไม่ตกเลย เมื่อฝนไม่ตก (ตลอดเวลาเท่านี้) ป่าใหญ่ๆ อันประกอบด้วยพีชคาม ภูตคาม ไม้ หยูกยา และหญ้าทั้งหลาย ย่อมเฉา ย่อมเหี่ยวแห้ง มีอยู่ไม่ได้ (นี้ฉันใด)

ภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงฉันนั้น สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืน ฉันนั้น สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งที่หวัง อะไรไม่ได้ ฉันนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะ เบื่อหน่ายใน สังขาร ทั้งปวง พอแล้ว เพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง. ภิกษุทั้งหลาย ! มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราวโดยการล่วงไป แห่งกาล นานไกล อาทิตย์ดวงที่สอง ย่อมปรากฏ.

เมื่อดวงอาทิตย์ ดวงที่สองปรากฏ
แม่น้ำน้อยหนองบึง ทั้งหมดก็งวดแห้งไป ไม่มีอยู่ (นี้ฉันใด) ภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงฉันนั้น สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืนฉันนั้น สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งที่หวัง อะไรไม่ได้ฉันนั้น ภิกษุทั้งหลาย ! เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะ เบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะ ปล่อยวาง. ภิกษุทั้งหลาย ! มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราวโดยการล่วงไป แห่งกาล นานไกล อาทิตย์ดวงที่สามย่อมปรากฏ.

เมื่อดวงอาทิตย์ ดวงที่สามปรากฏ
แม่น้ำสายใหญ่ๆ เช่น แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหีทั้งหมดก็งวดแห้งไป ไม่มีอยู่
(นี้ฉันใด) ภิกษุทั้งหลาย ! สังขาร ทั้งหลาย ไม่เที่ยง ฉันนั้น สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืนฉันนั้น สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งที่หวังอะไร ไม่ได้ ฉันนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะ เบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัดพอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง ภิกษุทั้งหลาย ! มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราว โดยการล่วงไปแห่งกาลนาน ไกล อาทิตย์ดวงที่สี่ย่อมปรากฏ

เมื่อดวงอาทิตย์ ดวงที่สี่ปรากฏ มหาสระทั้งหลายอันเป็นที่เกิดแห่งแม่น้ำใหญ่ๆ เช่น แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี มหาสระเหล่านั้นทั้งหมด ก็งวดแห้งไป ไม่มีอยู่ (นี้ฉันใด) ภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ฉันนั้น สังขาร ทั้งหลาย ไม่ยั่งยืน ฉันนั้น สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งที่หวัง อะไร ไม่ได้ ฉันนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้ว เพื่อจะคลาย กำหนัด พอแล้วเพื่อจะ ปล่อยวาง. ภิกษุทั้งหลาย ! มีสมัยซึ่งในกาล บางครั้ง บางคราว โดยการล่วงไปแห่งกาลนานไกล อาทิตย์ดวงที่ห้าย่อมปรากฏ

เมื่อดวงอาทิตย์ ดวงที่ห้าปรากฏ
น้ำในมหาสมุทรอันลึกร้อยโยชน์ ก็งวดลง น้ำใน มหาสมุทรอันลึกสอง-สาม-สี่- ห้า-หก-เจ็ด ร้อยโยชน์ ก็งวดลง เหลือ อยู่เพียงเจ็ดชั่ว ต้นตาล ก็มี เหลืออยู่ เพียงหก-ห้า-สี่-สาม-สอง กระทั่งหนึ่งชั่ว ต้นตาล ก็มี งวดลง เหลืออยู่เพียงเจ็ด ชั่วบุรุษ ก็มี เหลืออยู่เพียงหก-ห้า-สี่-สาม–สอง-หนึ่งกระทั่งครึ่งชั่วบุรุษ ก็มี งวดลง เหลืออยู่เพียงแค่สะเอว เพียงแค่เข่า เพียงแค่ข้อเท้า กระทั่งเหลืออยู่ ลึกเท่าน้ำในรอยเท้าโค ในที่นั้นๆเช่นเดียวกับน้ำในรอยเท้าโค เมื่อฝน เม็ดใหญ่ เริ่มตกในฤดูสารท ลงมาในที่นั้นๆ ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะการปรากฏแห่งอาทิตย์ดวงที่ห้า น้ำใน มหาสมุทรไม่มีอยู่ แม้สักว่าองคุลีเดียว(นี้ฉันใด) ภิกษุทั้งหลาย! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงฉันนั้น สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืน ฉันนั้น สังขารทั้งหลายเป็นสิ่ง ที่หวัง อะไรไม่ได้ ฉันนั้น ภิกษุทั้งหลาย ! เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายใน สังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะ คลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะ ปล่อยวาง ภิกษุทั้งหลาย ! มีสมัย ซึ่งในกาลบางครั้งบางคราวโดยการล่วงไป แห่งกาล นานไกล อาทิตย์ดวงที่หก ย่อมปรากฏ.

เพราะความปรากฏแห่งอาทิตย์ ดวงที่หก
มหาปฐพีนี้และขุนเขาสิเนรุ ก็มี ควันขึ้น ยิ่งขึ้นและยิ่งขึ้น เปรียบเหมือน เตาเผาหม้อ อันนายช่างหม้อ สุมไฟแล้ว ย่อมมีควันขึ้นโขมง
ยิ่งขึ้นและยิ่งขึ้น ฉะนั้น(นี้ฉันใด) ภิกษุทั้งหลาย ! สังขาร ทั้งหลาย ไม่เที่ยงฉันนั้น สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืน ฉันนั้น สังขารทั้งหลายเป็น สิ่งที่หวัง อะไรไม่ได้ ฉันนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อ หน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง. ภิกษุทั้งหลาย ! มีสมัยซึ่ง ในกาลบางครั้งบางคราว โดยการล่วงไปแห่งกาล นานไกล

อาทิตย์ ดวงที่เจ็ดย่อมปรากฏ  

เพราะ ความปรากฏแห่งอาทิตย์ ดวงที่เจ็ด มหาปฐพีนี้ และ ขุนเขาสิเนรุ ย่อมมีไฟลุกโพลงๆ มีเปลวเป็นอัน เดียวกัน เมื่อมหาปฐพีนี้ และ ขุนเขา สิเนรุ อันไฟเผาอยู่ ไหม้อยู่อย่างนี้ เปลวไฟ ถูกลมซัดขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อขุนเขาสิเนรุ ถูกไฟเผาอยู่ ไหม้อยู่ วินาศอยู่ อันกองไฟท่วม ทับแล้ว ยอดทั้งหลายอันสูง ร้อยโยชน์บ้าง สอง-สาม-สี่-ห้าร้อยโยชน์บ้าง ก็พังทำลายไป ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อมหาปฐพีนี้และขุนเขาสิเนรุอันไฟเผาอยู่ ไหม้อยู่ ขี้เถ้าและเขม่า ย่อมไม่ ปรากฏ เหมือนเมื่อเนยใส หรือน้ำมันถูกเผา ขี้เถ้าและเขม่าย่อมไม่ปรากฏ ฉะนั้น (นี้ฉันใด)
 
ภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ฉันนั้น สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืน ฉันนั้น สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งที่หวังอะไร ไม่ได้ ฉันนั้น ภิกษุทั้งหลาย ! เพียง เท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะ ปล่อยวาง

ภิกษุทั้งหลาย ! ในข้อความนั้น ใครจะคิดใครจะเชื่อ ว่า “ปฐพีนี้และขุนเขา สิเนรุ จักลุกไหม้ จักวินาศจักสูญสิ้น ไปได้” นอกเสียจาก พวกมีบทอัน เห็นแล้ว

ปฐมธรรม หน้า 97

๓๖
ผลจากความไม่มีธรรมะของมนุษย์ (อย่างเบา)


ภิกษุทั้งหลาย !

สมัยใดราชา(ผู้ปกครอง) ทั้งหลาย ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
สมัยนั้น ราชยุตต์ (ข้าราชการ) ทั้งหลาย ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม

เมื่อ ราชยุตต์ทั้งหลาย ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
พราหมณ์ และ คหบดีทั้งหลาย ก็ไม่ตั้ง อยู่ในธรรม

เมื่อ พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
ชาวเมือง และชาวชนบท ทั้งหลาย ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม

เมื่อชาวเมือง และ ชาวชนบททั้งหลาย ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
ดวงจันทร์ และ ดวงอาทิตย์ ก็มีปริวรรต (การเคลื่อนที่การหมุนเวียน) ไม่สม่ำเสมอ

เมื่อ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ
ดาวนักษัตร และดาวทั้งหลาย ก็มีปริวรรตไม่ สม่ำเสมอ

เมื่อ ดาวนักษัตรและดาวทั้งหลาย มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ
คืน และวัน ก็มีปริวรรต ไม่สม่ำเสมอ

เมื่อ คืนและวัน มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ
เดือน และปักษ์ ก็มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ

เมื่อ เดือนและปักษ์ มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ
ฤดู และปี ก็มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ

เมื่อ ฤดูและปี มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ  
ลม (ทุกชนิด) ก็พัดไปไม่สม่ำเสมอ

เมื่อ ลม (ทุกชนิด) พัดไปไม่สม่ำเสมอ
ปัญชสา (ระบบแห่งทิศทางลมอันถูกต้อง) ก็แปรปรวน

เมื่อ ปัญชสา แปรปรวน 
เทวดาทั้งหลาย ก็ระส่ำระสาย

เมื่อเทวดาทั้งหลายระส่ำระสาย
ฝน ก็ตกลงมาอย่างไม่เหมาะสม

เมื่อ ฝนตก ลงมาอย่างไม่เหมาะสม
พืชพรรณ ข้าวทั้งหลาย ก็แก่และสุกไม่สม่ำเสมอ

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อมนุษย์ทั้งหลาย บริโภคพืชพรรณข้าวทั้งหลายอันมี ความ แก่และ สุกไม่สม่ำเสมอ ก็กลายเป็น ผู้มีอายุสั้น ผิวพรรณทราม ทุพพลภาพ และ มีโรคภัย ไข้เจ็บมาก (ข้อความต่อไปนี้ ได้ตรัสถึงภาวะการณ์ที่ ตรงกันข้าม ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม ตลอดสาย)

ปฐมธรรม หน้า 100

๓๗
ผลจากความไม่มีธรรมะของมนุษย์ (อย่างหนัก)


ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพระราชา มีการกระทำ ชนิดที่เป็นไปแต่เพียงเพื่อการ คุ้มครอง อารักขา แต่มิได้เป็นไปเพื่อการ กระทำให้ เกิดทรัพย์ แก่บุคคลผู้ไม่มี ทรัพย์ทั้งหลาย ดังนั้นแล้ว ความยากจนขัดสน ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้า ถึงที่สุด

เพราะความยากจนขัดสนเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด อทินนาทาน (ลักทรัพย์) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวาง แรงกล้า ถึงที่สุด

เพราะอทินนาทานเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด การใช้ศัสตราวุธ โดยวิธีการ ต่างๆ ก็เป็นไปอย่างกว้างขวาง แรงกล้าถึงที่สุด

เพราะการใช้ศัสตราวุธโดยวิธีการต่างๆ เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด ปาณาติบาต (ซึ่งหมายถึงการฆ่า มนุษย์ด้วยกัน) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรง กล้า ถึงที่สุด

เพราะปาณาติบาตเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด มุสาวาท (การหลอกลวง คดโกง) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวาง แรงกล้า ถึงที่สุด (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาจาก ๘ หมื่นปีเหลือเพียง ๔ หมื่นปี )

เพราะมุสาวาทเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด ปิสุณาวาท (การพูดจายุแหย่ เพื่อการแตกกันเป็นก๊กเป็นหมู่ ทำลาย ความสามัคคี) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวาง แรงกล้าถึงที่สุด (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัย ถอยลงมาเหลือเพียง ๒ หมื่นปี )

เพราะปิสุณาวาทเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด กาเมสุมิจฉาจาร (การทำชู้ การละเมิดของรักของบุคคลอื่น) ก็เป็นไป อย่างกว้างขวางแรงกล้า ถึงที่สุด (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมา เหลือเพียง ๑ หมื่นปี )

เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด ผรุสวาท และ สัมผัปปลาปวาท (การใช้คำหยาบ และ คำพูด เพ้อเจ้อเพื่อความสำราญ) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมา เหลือเพียง ๕ พันปี )

เพราะผรุสวาทและสัมผัปปลาปวาท เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด อภิชฌา และพยาบาท (แผนการกอบ โกยและ การทำลายล้าง) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้า ถึงที่สุด (ในสมัยนี้ นุษย์มีอายุขัยถอยลงมา เหลือเพียง ๒,๕๐๐-๒,๐๐๐ ปี )

เพราะอภิชฌาและพยาบาทเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิดชนิดเห็นกงจักร เป็น ดอกบัว นิยมความชั่ว) ก็เป็นไปอย่างกว้าง ขวาง แรงกล้า ถึงที่สุด(ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๑,๐๐๐ ปี )

เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด (อกุศล) ธรรมทั้งสาม คือ อธัมมราคะ (ความยินดีที่ไม่ เป็นธรรม) วิสมโลภะ (ความโลภไม่สิ้นสุด) มิจฉาธรรม (การประพฤติตามอำนาจกิเลส) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวาง แรงกล้า ถึงที่สุด (อย่างไม่แยกกัน)(ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๕๐๐ ปี)

เพราะ (อกุศล) ธรรม ทั้งสาม ... นั้นเป็นไปอย่าง กว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด (อกุศล) ธรรมทั้งหลาย คือ ไม่ปฏิบัติอย่าง ถูกต้องในมารดา บิดา สมณพราหมณ์ ไม่มี
กลุเชฏฐาปจายนธรรม (ความอ่อนน้อมตามฐานะสูง ต่ำ)ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรง กล้า ถึงที่สุด (ในสมัยนี้มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมา เหลือเพียง ๒๕๐-๒๐๐-๑๐๐ ปี )

สมัยนั้น จักมีสมัยที่มนุษย์มีอายุขัย ลดลงมาเหลือเพียง ๑๐ ปี (จักมีลักษณะแห่งความเสื่อมเสียมีประการต่างๆ ดังที่ท่าน กล่าวไว้ว่า) หญิงอายุ ๕ ปี ก็มีบุตร รสทั้งห้า คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และรสเค็ม ก็ไม่ ปรากฏ

มนุษย์ทั้งหลาย กินหญ้า ที่เรียกว่ากุท๎รูสกะ (ซึ่งนิยมแปลกันว่าหญ้ากับแก้) แทนการกินข้าว กุศลกรรมบถหายไป ไม่มีร่องรอย อกุศลกรรมบถ รุ่งเรืองถึงที่สุด ในหมู่มนุษย์ ไม่มีคำพูดว่ากุศล จึงไม่มีการทำกุศล  มนุษย์สมัยนั้น จักไม่ยกย่อง สรรเสริญ ความเคารพเกื้อกูลต่อมารดา (มัตเตยยธรรม) ความเคารพเกื้อกูลต่อ บิดา (เปตเตยยธรรม) ความเคารพเกื้อกูลต่อ สมณะ สามัญญธรรม) ความเคารพ เกื้อกูล ต่อพราหมณ์(พรหมัญญธรรม) และ กุลเชฏฐาปจายนธรรม  เหมือนอย่าง ที่มนุษย์ ยกย่องกันอยู่ในสมัยนี้ ไม่มีคำพูดว่า แม่ น้าชาย น้าหญิง พ่อ อา ลุง ป้า ภรรยาของ อาจารย์ และคำพูดว่าเมียของครู สัตว์โลกจักกระทำ การสัมเภท (สมสู่สำส่อน) เช่นเดียวกันกับแพะ แกะ ไก่ สุกร สุนัข สุนัขจิ้งจอก ความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดฆ่าเป็นไป อย่างแรงกล้า แม้ในระหว่าง มารดากับบุตร บุตรกับมารดา บิดากับบุตร บุตรกับบิดา พี่กับน้อง น้องกับพี่ ทั้งชาย และหญิง เหมือนกับที่นายพรานมีความรู้สึกต่อเนื้อทั้งหลาย

ในสมัยนั้น จักมี สัตถันตรกัปป์ (การใช้ศัสตราวุธ ติดต่อกันไม่หยุดหย่อน)

ตลอดเวลา ๗ วัน สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น จักมีความสำคัญแก่กันและกัน ราวกะว่าเนื้อ แต่ละคนมีศัสตราวุธในมือ ปลงชีวิต ซึ่งกัน และกันราวกะว่า ฆ่าปลา ฆ่าเนื้อ

(มีมนุษย์หลายคน ไม่เข้าร่วมวงสัตถันตรกัปป์ ด้วยความกลัว หนีไปซ่อนตัวอยู่ ในที่ที่พอจะซ่อนตัวได้ตลอด ๗ วัน แล้วกลับออกมาพบกันและกัน ยินดี สวมกอดกัน กล่าวแก่กันและกันในที่นั้นว่า มีโชคดีที่รอดมาได้แล้ว ก็ตกลงกัน ในการตั้งต้น ประพฤติธรรมกันใหม่ต่อไป ชีวิตมนุษย์ก็ค่อยเจริญ ขึ้น จาก ๑๐ ปีตามลำดับๆ จนถึงสมัย ๘ หมื่นปี อีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งเป็น สมัยแห่ง ศาสนาของพระพุทธเจ้า มีพระนามว่า เมตเตยยสัมมาสัมพุทธ)

ปฐมธรรม หน้า 105

๓๘
ข้อควรทราบเกี่ยวกับอกุศลมูล (ราคะ โทสะ โมหะ)


ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าพวกปริพพาชกเดียรถีย์เหล่าอื่นจะพึงถามอย่างนี้ว่า“ อาวุโส ! ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ คือ ราคะ โทสะ โมหะ.

อาวุโส ! อะไรเป็นความผิดแปลก อะไรเป็นความแตกต่าง อะไรเป็นเครื่องแสดง ความต่าง ระหว่างธรรม ๓ อย่างเหล่านั้น ? ” ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่เขาว่า “อาวุโส ! ราคะ มีโทษน้อย คลายช้า โทสะมีโทษมาก คลายเร็ว โมหะมีโทษมาก คลายช้า” ถ้าเขาถามว่า “อาวุโส ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้ราคะ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือราคะที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไป เพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ ?” ดังนี้ คำตอบพึงมีว่า สุภนิมิต (สิ่งที่แสดงให้รู้สึกว่างาม) คือเมื่อเขาทำในใจ ซึ่งสุภนิมิต โดย ไม่แยบคาย ราคะ ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และราคะที่เกิดอยู่แล้ว ก็เป็นไปเพื่อความเจริญ โดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์
อาวุโส ! นี้คือเหตุนี้คือปัจจัย

ถ้าเขาถามอีกว่า “อาวุโส ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้โทสะ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือโทสะที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปเพื่อ ความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ ?” ดังนี้ คำตอบพึงมีว่า ปฏิฆนิมิต (สิ่งที่แสดงให้รู้สึก กระทบกระทั่ง) คือเมื่อเขาทำ ในใจ ซึ่งปฏิฆ นิมิตโดยไม่แยบคาย โทสะ ที่ยัง ไม่เกิดก็เกิดขึ้น และโทสะที่เกิด อยู่แล้ว ก็เป็นไปเพื่อ ความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์
อาวุโส ! นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย

ถ้าเขาถามอีกว่า “อาวุโส ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้โมหะ ที่ยัง ไม่เกิด เกิดขึ้น หรือโมหะที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปเพื่อ ความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความ ไพบูลย์ ?” ดังนี้ คำตอบพึงมีว่า อโยนิโสมนสิการ (การกระทำในใจ โดยไม่แยบคาย) คือเมื่อ ทำในใจโดย ไม่แยบคาย โมหะที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้ นและโมหะที่เกิดอยู่แล้ว ก็เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์
อาวุโส ! นี้คือเหตุนี้คือปัจจัย

ถ้าเขาถามอีกว่า “อาวุโส ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคะที่ยัง ไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ละไป ?” ดังนี้ คำตอบพึงมีว่า อสุภนิมิต (สิ่งที่แสดงให้รู้สึกว่าไม่งาม) คือเมื่อเขาทำในใจ ซึ่งอสุภนิมิต โดยแยบคาย ราคะที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น และราคะที่เกิดอยู่แล้ว ก็ละไป
อาวุโส ! นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย

ถ้าเขาถามอีกว่า “อาวุโส ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้โทสะที่ยังไม่ เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือโทสะที่เกิดขึ้นแล้ว ละไป?” ดังนี้ คำตอบพึงมีว่า เมตตา เจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิตอันประกอบอยู่ด้วย เมตตา) คือเมื่อเขาทำ ในใจ ซึ่งเมตตา เจโตวิมุตติ โดยแยบคาย โทสะที่ยัง ไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น และ โทสะที่เกิดอยู่แล้วก็ละไป
อาวุโส ! นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย

ถ้าเขาถามอีกว่า “อาวุโส ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้โมหะ ที่ยังไม่ เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือโมหะที่เกิดขึ้นแล้ว ละไป?” ดังนี้คำตอบพึงมีว่า โยนิโส มนสิการ คือเมื่อทำในใจโดยแยบคาย โมหะที่ยัง ไม่เกิดก็ ไม่เกิดขึ้น และโมหะที่เกิดอยู่แล้ว ก็ละไป.
อาวุโส ! นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย

ปฐมธรรม หน้า 105

๓๙
คุณสมบัติของทูต


ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ควรทำหน้าที่ทูต
องค์ ๘ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. รับฟัง
๒. ให้ผู้อื่นฟัง
๓. กำหนด
๔. ทรงจำ
๕. เข้าใจความ
๖. ให้ผู้อื่นเข้าใจความ
๗. ฉลาดต่อประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
๘. ไม่ก่อความทะเลาะ

ภิกษุใด เข้าไปสู่บริษัทที่พูดคำหยาบ ก็ไม่สะทกสะท้าน ไม่ยังคำพูดให้เสีย ไม่ปกปิด ข่าวสาส์น พูดจนหมดความสงสัย และถูกถามก็ไม่โกรธ.

ภิกษุผู้เช่นนั้นแล ย่อมควรทำหน้าที่ทูต

ปฐมธรรม หน้า 109

๔๐
ไม่โกหกกัน แม้เพียงเพื่อหัวเราะเล่น


“ราหุล ! นักบวช ที่ไม่มีความละอายในการแกล้งกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จ ก็มีความเป็นสมณะ เท่ากับความว่างเปล่า ของน้ำในภาชนะนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน ..ฯลฯ..”

“ราหุล ! เรากล่าวว่า กรรมอันเป็นบาปหน่อยหนึ่ง ซึ่งนักบวชที่ไม่มีความละอาย ในการ แกล้งกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จ จะทำไม่ได้ หามีไม่.

เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ เธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ว่า
“เราทั้งหลายจักไม่กล่าวมุสาแม้แต่เพื่อหัวเราะกันเล่น” ดังนี้

ราหุล ! เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้”

ปฐมธรรม หน้า 110

๔๑
งูเปื้อนคูถ


ภิกษุทั้งหลาย ! นักบวชชนิดไร ที่ทุกๆ คนควรขยะแขยง ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! นักบวชบางคนในกรณีนี้ เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติชนิด ที่ตนเอง นึกแล้วก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำ ที่ต้องปกปิด ซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่ คนประพฤติ พรหมจรรย์ก็ปฏิญญาว่า ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีสัญชาติ หมักหมม เหมือนบ่อที่เทขยะ มูลฝอย

ภิกษุทั้งหลาย ! นักบวชชนิดนี้แล ที่ทุกๆ คนควรขยะแขยง ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้

ปฐมธรรม หน้า 111

ข้อนั้นเพราะอะไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุว่า ถึงแม้ผู้ที่เข้าใกล้ชิดจะไม่ถือเอานักบวชชนิดนี้ เป็นตัวอย่างก็ตาม แต่ว่าเสียงร่ำลือ อันเสื่อมเสีย จะระบือไปว่า “คนๆ นี้ มีมิตรเลวมี เพื่อนทราม มีเกลอลามก” ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนงูที่ตกลงไปจมอยู่ในหลุมคูถ กัดไม่ได้ก็จริงแล แต่มัน อาจทำคนที่เข้าไปช่วยยกมัน ขึ้นจากหลุมคูถให้เปื้อนด้วยคูถได้(ด้วยการดิ้นของมัน) นี้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้ผู้เข้าใกล้ชิด จะไม่ถือเอานักบวชชนิดนี้เป็นตัวอย่างก็จริงแล แต่ว่า เสียงร่ำลืออันเสื่อมเสีย จะระบือไปว่า “คนๆ นี้ มีมิตรเลว มีเพื่อนทราม มีเกลอลามก” ดังนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน

เพราะเหตุนั้น นักบวชชนิดนี้ จึงเป็นคนที่ทุกๆ คนควรขยะแขยง ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้

“กรรม” และ ผลของการกระทำ

ปฐมธรรม หน้า 114

๔๒
สิ่งที่ควรรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ “กรรม”


ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวซึ่ง เจตนาว่าเป็น กรรมเพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำ ซึ่งกรรมด้วยกายด้วยวาจา ด้วยใจ ...

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุเกิด (นิทานสัมภวะ) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุเกิดแห่งกรรมทั้งหลาย คือ ผัสสะ

ภิกษุทั้งหลาย ! ความมีประมาณต่างๆ(เวมัตตตา) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย !
กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในนรก มีอยู่
กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในกำเนิดเดรัจฉาน มีอยู่
กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเปรตวิสัย มีอยู่
กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในมนุษยโลก มีอยู่
กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเทวโลก มีอยู่...

ภิกษุทั้งหลาย ! วิบากแห่งกรรมทั้งหลายเป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าววิบากแห่งกรรม ทั้งหลายว่ามีอยู่ ๓ อย่าง คือ วิบากในทิฏฐธรรม (คือทันควัน) หรือว่า วิบากใน อุปะปัชชะ (คือในเวลาต่อมา)หรือว่า วิบากในอปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก)

ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรม เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรม ย่อมมีเพราะ ความดับแห่งผัสสะ

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม (กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา) ได้แก่ สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

ปฐมธรรม หน้า 116

๔๓
กายนี้ เป็น “กรรมเก่า”


ภิกษุทั้งหลาย ! กายนี้ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลายและทั้งไม่ใช่ของบุคคลเหล่าอื่น

ภิกษุทั้งหลาย !กรรมเก่า (คือกาย) นี้ อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ปัจจัย ปรุงแต่ง ขึ้น (อภิสงฺขต) เป็นสิ่งที่ปัจจัยทำให้ เกิดความรู้สึกขึ้น (อภิสญฺเจตยิต) เป็นสิ่งที่มีความ รู้สึกต่ออารมณ์ได้ (เวทนีย)

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีของกายนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทำไว้ในใจโดย แยบคายเป็นอย่างดี ซึ่ง ปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียว ดังนี้ว่า “ด้วยอาการอย่างนี้

เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป

ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้น นั่นเทียว จึงมีความดับแห่ง สังขาร เพราะมีความดับแห่ง สังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ....ฯลฯ....ฯลฯ....ฯลฯ....

เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแลชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลง แห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้ แล

ปฐมธรรม หน้า 118

๔๔
ศีล ๕


(ปาณาติปาตา เวรมณี) เธอนั้น ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์ เกื้อกูล ในบรรดาสัตว์ทั้งหลายอยู่

(อทินนาทานา เวรมณี) เธอนั้น ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน (ลักทรัพย์) ถือเอาแต่ของที่เขาให้แล้ว หวังอยู่แต่ ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย มีตนเป็นคนสะอาด เป็นอยู่

(กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี) เธอนั้น ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการ ประพฤติผิดในกาม (คือเว้นขาดจาก การประพฤติผิด) ในหญิง ซึ่งมารดารักษาบิดา รักษา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง หรือญาติรักษา อันธรรมรักษา เป็นหญิง มีสามี หญิงอยู่ในสินไหม โดยที่สุดแม้หญิงอันเขาหมั้นไว้ (ด้วยการคล้องพวงมาลัย) ไม่เป็นผู้ประพฤติ ผิดจารีต ในรูปแบบเหล่านั้น

(มุสาวาทา เวรมณี) เธอนั้น ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่ความจริง รักษา ความสัตย์ มั่นคงในคำพูด มีคำพูดควร เชื่อถือได้ ไม่แกล้งกล่าวให้ผิดต่อโลก

(สุราเมระยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี) เธอนั้นเว้นขาดจากการดื่ม น้ำเมา คือสุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งของความ ประมาท

ปฐมธรรม หน้า 120

๔๕
ทาน ที่จัดว่าเป็น มหาทาน


ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวก ในกรณีนี้ ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต

ภิกษุทั้งหลาย !อริยสาวกเว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว ย่อมชื่อว่า ให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ ทั้งหลาย มากไม่มีประมาณ ครั้นให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยา ปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณแล้ว ย่อมเป็นผู้มี ส่วนแห่ง ความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อันไม่มีประมาณ

ภิกษุทั้งหลาย !นี้เป็นทานชั้นปฐม เป็นมหาทาน รู้จักกันว่าเป็นของเลิศเป็นของ มีมานาน เป็นของประพฤติสืบกันมา แต่โบราณ ไม่ถูกทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูกทอด ทิ้ง ในอดีต ไม่ถูก ทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และจักไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคต อันสมณพราหมณ์ ผู้รู้ไม่คัดค้าน

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ เป็นที่ไหลออกแห่งกุศล นำมาซึ่งสุข เป็นไป เพื่อ ยอดสุดอันดี มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูลเพื่อ ความสุขอันพึงปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ

(ในกรณีศีล ๕ อีกสี่ข้อที่เหลือ คือ การเว้นขาดจากอทินนาทาน การเว้นขาดจาก กาเมสุมิ ฉาจาร การเว้นขาดจาก มุสาวาท และการเว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ก็ตรัสอย่างเดียวกัน)

ภิกษุทั้งหลาย ! ทาน ๕ ประการนี้แล เป็นมหาทานรู้จักกันว่าเป็นของเลิศ เป็นของมี มานาน เป็นของประพฤติสืบ กันมาแต่ โบราณ ไม่ถูกทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูกทอดทิ้ง ในอดีต ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และจักไม่ถูกทอดทิ้งใน อนาคต อันสมณ พราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน

ปฐมธรรม หน้า 122

๔๖
อุโบสถ (ศีล)


(๑) (ปาณาติปาตา เวรมณี) เธอนั้น ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว มีความ ละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์ เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลายอยู่

(๒) (อทินนาทานา เวรมณี) เธอนั้น ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน (ลักทรัพย์) ถือเอาแต่ของที่เขาให้แล้ว หวังอยู่แต่ ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย มีตนเป็นคนสะอาด เป็นอยู่

(๓) (อพรฺหมฺจริยา เวรมณี) เธอนั้น ละกรรมอันไม่ใช่พรหมจรรย์ ประพฤติ พรหมจรรย์โดยปกติ ประพฤติห่างไกลเว้นขาด จากการ เสพเมถุนอันเป็นของ ชาวบ้าน

(๔) (มุสาวาทา เวรมณี) เธอนั้น ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่ความ จริง รักษา ความสัตย์ มั่นคงในคำพูด มีคำพูดควร เชื่อถือได้ ไม่แกล้งกล่าวให้ผิดต่อโลก

(๕) (สุราเมระยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี) เธอนั้นเว้นขาดจากการ ดื่มน้ำเมาคือสุรา และ เมรัย อันเป็นที่ตั้งของความ ประมาท

(๖) (วิกาละโภชนา เวรมณี) เธอนั้นเป็นผู้ ฉันอาหารวันหนึ่งเพียงหนเดียว เว้นจากการฉันใน ราตรีและวิกาล

(๗) (นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนาเวรมณี) เธอนั้นเป็นผู้เว้นขาดจากการ ฟ้อนรำ การขับร้อง การประโคม และการดู การเล่น ชนิด เป็นข้าศึกแก่กุศล
(มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภู-สะนัฏฐานา เวรมณี) เธอนั้น เป็นผู้เว้นขาดจากการ ประดับประดา คือทัด ทรงตกแต่ง ร่างกายด้วยมาลา ของหอมและเครื่องลูบทา

(๘) (อุจจาสะยะนะมหาสะยะนา เวรมณี) เธอนั้นเป็นผู้เว้นขาดจากการ นอน บนที่นอนสูงใหญ่ สำเร็จการนอนบนที่นอน อันต่ำ

ปฐมธรรม หน้า 124

๔๗
อกุศลกรรมบถ ๑๐


จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางกาย มี ๓ อย่างความไม่สะอาดทางวาจา มี ๔ อย่างความไม่สะอาดทางใจ มี ๓ อย่างจุนทะ ! ความไม่สะอาดทางกาย มี ๓ อย่างเป็นอย่างไรเล่า ?

(๑) บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง หยาบช้า มีฝ่ามือ เปื้อนด้วยโลหิต มีแต่การฆ่าและทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต

(๒) เป็นผู้มีปกติถือเอาสิ่งของที่มีเจ้าของมิได้ให้ คือวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ ของบุคคล อื่นที่อยู่ในบ้านหรือในป่าก็ตาม เป็นผู้ถือ เอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย

(๓) เป็นผู้มีปกติ ประพฤติผิดในกาม (คือประพฤติผิด) ในหญิง ซึ่งมารดา รักษา บิดา รักษา พี่น้องชายพี่น้องหญิง หรือญาติ รักษา อันธรรมรักษา เป็นหญิงมีสามีหญิง อยู่ใน สินไหม โดยที่สุดแม้หญิงอันเขาหมั้นไว้ (ด้วยการคล้องพวงมาลัย) เป็นผู้ประพฤติผิด จารีตในรูปแบบเหล่านั้น.

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความไม่สะอาดทางกาย ๓ อย่าง

จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

บุคคลบางคนในกรณีนี้

(๑) เป็นผู้มีปกติกล่าวเท็จไปสู่สภาก็ดี ไปสู่บริษัทก็ดี ไปสู่ท่ามกลาง หมู่ญาติก็ดี ไปสู่ ท่ามกลางศาลา ประชาคมก็ดี ไปสู่ท่ามกลางราชสกุล ก็ดีอันเขานำไปเป็น พยาน ถามว่า “บุรุษผู้เจริญ ! ท่านรู้อย่างไร ท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น” ดังนี้ บุรุษนั้นเมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น เพราะเหตุตนเอง เพราะเหตุผู้อื่นหรือ เพราะเหตุเห็นแก่อามิสไรๆ ก็เป็นผู้กล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่

(๒) เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือฟังจากฝ่ายนี้แล้วไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังจากฝ่ายโน้นแล้วมาบอก ฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น เป็นผู้ทำคนที่สามัคคีกัน ให้แตกกัน หรือทำคนที่แตกกันแล้วให้แตกกันยิ่งขึ้น พอใจ ยินดี เพลิดเพลิน ในการ แตกกันเป็นพวกเป็นผู้กล่าววาจาที่กระทำให้แตกกันเป็นพวก

(๓) เป็นผู้มีวาจาหยาบ อันเป็นวาจาหยาบคายกล้าแข็ง แสบเผ็ดต่อผู้อื่น กระทบ กระเทียบ ผู้อื่นแวดล้อมอยู่ด้วยความ โกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เขาเป็นผู้กล่าววาจา มีรูปลักษณะเช่นนั้น

(๔) เป็นผู้มีวาจาเพ้อเจ้อ คือเป็นผู้กล่าวไม่ถูกกาล ไม่กล่าวตามจริง กล่าวไม่อิงอรรถ ไม่อิงธรรม ไม่อิงวินัยเป็นผู้กล่าว วาจา ไม่มีที่ตั้งอาศัย ไม่ถูกกาละเทศะ ไม่มีจุดจบ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์.

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความไม่สะอาดทางวาจา ๔ อย่าง


จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางใจ มี ๓ อย่างเป็นอย่างไรเล่า ?

(๑) บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา (ความโลภเพ่งเล็ง)เป็นผู้โลภ เพ่งเล็งวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ ของผู้อื่นว่า “สิ่งใดเป็นของผู้อื่น สิ่งนั้นจงเป็น ของเรา” ดังนี้

(๒) เป็นผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริในใจเป็นไปในทางประทุษร้าย ว่า “สัตว์ทั้งหลาย เหล่านี้จงเดือดร้อน จงแตก ทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศอย่าได้มีอยู่เลย” ดังนี้ เป็นต้น

(๓) เป็นผู้มีความเห็นผิด มีทัสสนะวิปริต ว่า“ทานที่ให้แล้ว ไม่มี (ผล) ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล) ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ ไม่มี โลกอื่น ไม่มี, มารดา ไม่มีบิดา ไม่มีโอปปาติกะสัตว์ ไม่มีสมณพราหมณ์ ที่ไปแล้ว ปฏิบัติแล้วโดยชอบถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดย ชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็ไม่มี” ดังนี้

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความไม่สะอาดทางใจ ๓ อย่าง.
จุนทะ ! เหล่านี้แล เรียกว่า อกุศลกรรมบถ ๑๐


จุนทะ ! บุคคลประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ เหล่านี้ ลุกจากที่นอนตามเวลาแห่ง ตนแล้ว
แม้จะลูบแผ่นดิน ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้
แม้จะไม่ลูบแผ่นดิน ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้
แม้จะจับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้
แม้จะไม่จับโคมัยสด ก็เป็น คนสะอาดไปไม่ได้
แม้จะจับหญ้าเขียว ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้
แม้จะไม่จับหญ้าเขียว ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้
แม้จะบำเรอไฟ ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้
แม้จะไม่บำเรอไฟ ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้
แม้จะไหว้ดวงอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้
แม้จะไม่ไหว้ดวงอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้
แม้จะลงน้ำในเวลาเย็นเป็นครั้งที่สาม ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้
แม้จะไม่ลงน้ำในเวลาเย็นเป็นครั้งที่สาม ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
จุนทะ ! เพราะเหตุว่า อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการเหล่านี้ เป็นตัวความไม่สะอาด และเป็นเครื่องกระทำความไม่สะอาด

จุนทะ ! อนึ่ง เพราะมีการประกอบด้วย อกศุลกรรมบถทั้ง ๑๐ประการเหล่านี้ เป็นเหตุ นรกย่อมปรากฏ กำเนิดเดรัจฉาน ย่อมปรากฏ เปรตวิสัยย่อมปรากฏ หรือว่า ทุคติใดๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี

ปฐมธรรม หน้า 129

๔๘
กุศลกรรมบถ ๑๐


จุนทะ !
ความสะอาดทางกายมี ๓ อย่าง
ความสะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง
ความสะอาดทางใจมี ๓ อย่าง

จุนทะ ! ความสะอาดทางกายมี ๓ อย่างนั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

บุคคลบางคนในกรณีนี้

(๑) ละการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง เว้นขาดจาก ปาณาติบาต วางท่อนไม้วาง ศัสตรา มีความละอายถึงความเอ็นดูกรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์ ทั้งหลายอยู่

(๒) ละการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้เว้นขาดจาก การถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของ มิได้ให้ ไม่ถือเอาทรัพย์และอุปกรณ์ แห่งทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ ในบ้าน ก็ดีในป่า ก็ดี ด้วยอาการแห่งขโมย

(๓) ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม (คือเว้น จากการประพฤติผิด) ในหญิงซึ่งมารดา รักษา บิดารักษา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง หรือ
ญาติรักษา อันธรรมรักษา เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ในสินไหม โดยที่สุดแม้หญิง อันเขาหมั้นไว้ (ด้วยการคล้องมาลัย) ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความสะอาดทางกาย๓ อย่าง

จุนทะ ! ความสะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

บุคคลบางคนในกรณีนี้

(๑) ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท ไปสู่สภาก็ดีไปสู่บริษัท ก็ดี ไปสู่ท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี ไปสู่ท่าม กลางศาลาประชาคมก็ดีไปสู่ ท่ามกลาง ราชสกุลก็ดี อันเขานำไปเป็นพยาน ถามว่า “บุรุษผู้เจริญ ! ท่านรู้อย่างไร ท่านจง กล่าวไปอย่างนั้น” ดังนี้ บุรุษนั้น เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อรู้ก็กล่าวว่ารู้เมื่อไม่เห็น ก็กล่าวว่า ไม่เห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่าเห็น เพราะเหตุตนเอง เพราะเหตุผู้อื่น หรือ เพราะเหตุเห็นแก่อามิสไรๆ ก็ไม่เป็น ผู้กล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่

(๒) ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากการส่อเสียด ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่เก็บไปบอก ฝ่ายโน้น เพื่อแตกจากฝ่ายนี้ หรือ ได้ฟัง จากฝ่ายโน้นแล้วไม่เก็บมาบอกแก่ฝ่ายนี้
เพื่อแตกจากฝ่ายโน้น แต่จะสมานคนที่แตกกันแล้วให้กลับพร้อมเพรียงกัน อุดหนุน คนที่พร้อมเพรียงกันอยู่ให้พร้อม เพรียง กันยิ่งขึ้นเป็นคนชอบในการพร้อมเพรียง เป็นคนยินดีในการพร้อมเพรียง เป็นคนพอใจในการพร้อมเพรียง กล่าวแต่วาจาที่ทำ ให้พร้อมเพรียงกัน

(๓) ละการกล่าวคำหยาบเสีย เว้นขาดจากการกล่าวคำหยาบ กล่าวแต่วาจาที่ไม่มี โทษ เสนาะโสตให้เกิดความรัก เป็นคำ ฟูใจ เป็นคำสุภาพที่ชาวเมืองเขาพูดกัน เป็นที่ใคร่ที่พอใจของมหาชน กล่าวแต่วาจาเช่นนั้นอยู่

(๔) ละคำพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำพูดเพ้อเจ้อ กล่าวแต่ในเวลาอันสมควร กล่าวแต่คำจริง เป็นประโยชน์เป็นธรรม เป็นวินัย กล่าวแต่วาจามีที่ตั้ง มีหลักฐาน ที่อ้างอิงมีเวลาจบ ประกอบด้วยประโยชน์ สมควรแก่เวลา

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความสะอาดทางวาจา๔ อย่าง


จุนทะ ! ความสะอาดทางใจ มี ๓ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?


(๑) บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา คือเป็นผู้ไม่โลภ เพ่งเล็งวัตถุ อุปกรณ์แห่งทรัพย์ของผู้อื่น ว่า “สิ่งใดเป็น ของผู้อื่น สิ่งนั้นจงเป็นของเรา” ดังนี้

(๒) เป็นผู้ไม่มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจอันไม่ประทุษร้าย ว่า “สัตว์ทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มี ทุกข์ มีสุข บริหารตนอยู่เถิด” ดังนี้ เป็นต้น

(๓) เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีทัสสนะไม่วิปริต ว่า “ทานที่ให้แล้ว มี (ผล) ยัญที่บูชาแล้ว มี (ผล) การบูชาที่บูชา แล้ว มี (ผล) ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดี ทำชั่ว มี โลกอื่น มี มารดา มี บิดา มี โอปปาติกสัตว์ มี สมณพราหมณ์ ที่ไปแล้ว ปฏิบัติแล้ว โดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็มี” ดังนี้

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความสะอาดทางใจ ๓ อย่าง

จุนทะ ! เหล่านี้แล เรียกว่า กุศลกรรมบถ ๑๐


จุนทะ ! บุคคลประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ประการเหล่านี้

ลุกจากที่นอนตามเวลาแห่งตนแล้ว
แม้จะลูบแผ่นดิน ก็เป็นคนสะอาด แม้จะไม่ลูบแผ่นดิน ก็เป็นคนสะอาด แม้จะจับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาด แม้จะไม่จับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาด แม้จะจับหญ้าเขียว ก็เป็นคนสะอาด แม้จะไม่จับหญ้าเขียว ก็เป็นคน สะอาด แม้จะบำเรอไฟ ก็เป็นคนสะอาด แม้จะไม่บำเรอไฟ ก็เป็นคนสะอาด แม้จะไหว้พระอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาด แม้จะไม่ไหว้ พระอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาด แม้จะลงน้ำในเวลาเย็นเป็นครั้งที่สาม ก็เป็นคนสะอาด แม้จะไม่ลงน้ำในเวลาเย็น เป็นครั้งที่สาม ก็เป็นคนสะอาด

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?


จุนทะ ! เพราะเหตุว่า กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการเหล่านี้ เป็นตัวความสะอาด และเป็น เครื่องกระทำความสะอาด

จุนทะ ! อนึ่ง เพราะมีการประกอบด้วยกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการเหล่านี้ เป็นเหตุพวกเทพจึงปรากฏ หรือว่าสุคติใดๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี

ปฐมธรรม หน้า 135

๔๙
อานิสงส์สำหรับผู้ทำศีลให้บริบูรณ์


ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลาย จงมีศีลสมบูรณ์มีปาติโมกข์สมบูรณ์อยู่เถิด พวกเธอทั้งหลาย จงสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วยมรรยาทและโคจรอยู่เถิด จงเป็นผู้เห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย ที่มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบท ทั้งหลายเถิด

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงเป็นที่รัก ที่เจริญใจ ที่เคารพ ที่ยกย่อง ของเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยกันทั้งหลาย” ดังนี้แล้ว เธอพึงทำให้บริบูรณ์ ในศีลทั้งหลายพึงตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องสงบแห่งจิตในภายใน เป็นผู้ไม่เหินห่างในฌาน เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยวิปัสสนา และให้วัตรแห่งผู้อยู่ สุญญาคาร ทั้งหลาย เจริญงอกงามเถิด

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงเป็นผู้มีลาภด้วยบริขารคือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ทั้งหลาย” ดังนี้ก็ดี ...ฯลฯ...

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน ปัจจัยเภสัช-บริขารของทายกเหล่าใด การกระทำเหล่านั้น พึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก แก่ทายกเหล่านั้น” ดังนี้ก็ดี ...ฯลฯ...

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “ญาติสายโลหิตทั้งหลาย ซึ่งตายจากกันไปแล้ว มีจิตเลื่อมใสระลึกถึงเราอยู่ ข้อนั้นจะ พึงมีผลมาก มีอานิสงส์มากแก่เขา เหล่านั้น” ดังนี้ก็ดี ...ฯลฯ...

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงอดทนได้ซึ่งความไม่ยินดีและความยินดี อนึ่ง ความไม่ยินดีอย่าเบียดเบียนเรา เราพึงครอบงำย่ำยีความไม่ยินดี ซึ่งยังเกิดขึ้นแล้ว อยู่เถิด” ดังนี้ก็ดี ...ฯลฯ...

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงอดทนความขลาดกลัวได้ อนึ่ง ความ ขลาดกลัวอย่าเบียดเบียนเรา เราพึง ครอบงำย่ำยีความขลาดกลัว ที่บังเกิดขึ้น แล้ว อยู่เถิด” ดังนี้ก็ดี ...ฯลฯ...

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงได้ตามต้องการ ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้งสี่

อันเป็นไปในจิตอันยิ่ง เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร” ดังนี้ก็ดี...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงเป็นโสดาบัน เพราะความสิ้นไปแห่ง สังโยชน์สามเป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา ผู้เที่ยงต่อพระนิพพานมีการตรัสรู้ อยู่ข้างหน้า” ดังนี้ก็ดี ...ฯลฯ...

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงเป็นสกทาคามี เพราะความสิ้นไปแห่ง สังโยชน์สามและเพราะความเบาบางแห่งราคะ โทสะ และโมหะพึงมาสู่เทวโลก อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วพึงทำที่สุดแห่งทุกข์ได้” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงเป็นโอปปาติกะ (พระอนาคามี) เพราะ ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำห้า พึงปรินิพพานในภพนั้น ไม่กลับจากโลกนั้น เป็นธรรมดา” ดังนี้ก็ดี ...ฯลฯ...

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงแสดงอิทธิวิธีมีอย่างต่างๆ ได้” ดังนี้ก็ดี, ...ฯลฯ...

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงมีทิพยโสต” ดังนี้ก็ดี ...ฯลฯ... ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราใคร่ครวญแล้ว พึงรู้จิตของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่น ด้วยจิตของตน” ดังนี้ก็ดี ...ฯลฯ... ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหาก จำนงว่า “เราพึงตามระลึก ถึงภพที่เคยอยู่ในกาลก่อนได้หลายๆ อย่าง...”ดังนี้ก็ดี ...ฯลฯ..

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงเห็นสัตว์ทั้งหลายด้วยจักษุทิพย์ อันหมดจด เกินจักษุสามัญของมนุษย์” ดังนี้ก็ดี ...ฯลฯ...

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา อาสวะมิได้เพราะความสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เทียวเข้าถึงแล้วแลอยู่” ดังนี้ก็ดี เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย พึงตามประกอบ ในธรรมเป็นเครื่องสงบแห่งจิตในภายในเป็น ผู้ไม่เหินห่างในฌาน ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยวิปสัสนา และให้วัตร แห่งผู้อยู่สุญญาคารทั้งหลายเจริญ งอกงามเถิด

คำใดที่เราผู้ตถาคตกล่าวแล้วว่า “ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจงมีศีลสมบูรณ์ มี ปาติโมกข์ สมบูรณ์อยู่เถิดเธอทั้งหลาย จงสำรวมด้วยปาติโมกขสังวรสมบูรณ์ ด้วย มรรยาท และโคจรอยู่เถิดจงเป็นผู้ เห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายที่มีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด” ดังนี้

คำนั้นอันเราตถาคต อาศัยเหตุผลดังกล่าวนี้แลจึงได้กล่าวแล้ว

ปฐมธรรม หน้า 140

๕๐
ผลของการมีศีล


ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็น กำเนิดมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็น ที่พึ่งอาศัย กระทำกรรมใดไว้ ดีก็ตามชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคน ในกรณีนี้ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้วางศัสตรา มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย เขาไม่กระเสือกกระสนด้วย(กรรมทาง)กาย ไม่กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) วาจา ไม่กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง)ใจ กายกรรมของเขาตรง วจีกรรมของ เขาตรง มโนกรรมของเขาตรง คติของเขาตรง อุปบัติของเขาตรง

ภิกษุทั้งหลาย ! สำหรับผู้มีคติตรง มีอุปบัติตรงนั้นรากล่าวคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาคติสองอย่างแก่เขาคือ เหล่าสัตว์ผู้มีสุขโดยส่วนเดียว หรือว่าตระกูลอันสูง
ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณ์มหาศาล หรือตระกูล คหบดี มหาศาลอัน มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมากมีทองและเงินมาก มีอุปกรณ์แห่งทรัพย์มาก... (ในกรณีแห่งบุคคล ผู้ไม่กระทำอทินนาทาน ไม่กระทำกาเมสุมิจฉาจาร ก็ได้ตรัสไว้ด้วย ข้อความอย่างเดียวกัน กับในกรณีของผู้ไม่กระทำปาณาติบาต ดังกล่าวมาแล้ว ข้างบนทุกประการ)

ปฐมธรรม หน้า 142

๕๑
ผลของการไม่มีศีล


ภิกษุทั้งหลาย ! ปาณาติบาต ที่เสพทั่วแล้วเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ นรก เป็นไปเพื่อกำเนิดเดรัจฉาน เป็นไป เพื่อเปรตวิสัย วิบากแห่งปาณาติบาต ของผู้เป็น มนุษย์ ที่เบากว่าวิบากทั้งปวงคือ วิบากที่เป็นไปเพื่อ มีอายุสั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! อทินนาทาน ที่เสพทั่วแล้วเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ นรก เป็นไปเพื่อกำเนิดเดรัจฉาน เป็นไป เพื่อเปรตวิสัย วิบากแห่งอทินนาทาน ของผู้เป็น มนุษย์ ที่เบากว่าวิบากทั้งปวงคือ วิบากที่เป็นไปเพื่อ ความเสื่อมแห่ง โภคทรัพย์

ภิกษุทั้งหลาย ! กาเมสุมิจฉาจาร ที่เสพทั่วแล้วเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ นรกเป็นไปเพื่อกำเนิดเดรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย วิบากแห่ง กาเมสุมิจฉาจาร ของ ผู้เป็น มนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือ วิบากที่เป็นไปเพื่อ ก่อเวรด้วยศัตรู

ภิกษุทั้งหลาย ! มุส าว าท ที่เ ส พ ทั่ว แ ล้วเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดเดรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย วิบากแห่งมุสาวาท ของผู้เป็น มนุษย์ ที่เบากว่าวิบากทั้งปวงคือ วิบากที่เป็นไปเพื่อ การถูกกล่าวตู่ ด้วยคำไม่จริง

ภิกษุทั้งหลาย ! ปิสุณาวาท (คำยุยงให้แตกกัน)ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรกเป็นไปเพื่อ กำเนิดเดรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย วิบากแห่ง ปิสุณาวาท ของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวงคือ วิบากที่เป็นไปเพื่อ การแตกจาก มิตร

ภิกษุทั้งหลาย ! ผรุสวาท (คำหยาบ) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรกเป็นไปเพื่อกำเนิดเดรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย วิบากแห่ง ผรุสวาท ของผู้เป็น มนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวงคือ วิบากที่เป็นไปเพื่อ การได้ฟังเสียง ที่ไม่น่าพอใจ

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมผัปปลาปวาท (คำเพ้อเจ้อ) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรกเป็นไปเพื่อกำเนิด เดรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย วิบากแห่ง สัมผัปปลา ปวาทของผู้เป็นมนุษย์ ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือ วิบากที่เป็นไปเพื่อ วาจา ที่ไม่มีใครเชื่อถือ

ภิกษุทั้งหลาย ! การดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรกเป็นไปเพื่อกำเนิด เดรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย วิบากแห่งการ ดื่มน้ำเมาของผู้เป็น มนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวงคือ วิบากที่เป็นไปเพื่อ ความเป็นบ้า (อุมฺมตฺตก)

ปฐมธรรม หน้า 145

๕๒
ทำดี ได้ดี


มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศัสตราได้ มีความละอายถึง ความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์ และภูตอยู่ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้นอันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลังจะเป็นคนมีอายุยืน.

มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีปกติไม่เบียด เบียนสัตว์ ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือ ท่อนไม้ หรือศัสตรา เขาตายไป จะเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้นอันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆในภายหลัง จะเป็นคน มีโรคน้อย

มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีปแก่สมณะ หรือ พราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้ พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็น มนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคทรัพย์มาก

มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มาก ด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามาก ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคืองไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตายไป จะเข้าถึง สุคติโลก สวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทาน ไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ถ้ามาเป็น มนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนน่าเลื่อมใส

มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยาไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภ สักการะ ความเคารพความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไปจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้ พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไปไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลังจะเป็น คนมีศักดามาก

มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คน ที่สมควร แก่ อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทางสักการะคนที่ควรสักการะ เคารพ คนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เพราะกรรม นั้น อันเขาให้พรั่ง พร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ถ้ามาเกิด เป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนเกิด ในสกุลสูง

มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้เข้าไปหา สมณะ หรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไร เป็นกุศล อะไรเป็นอกุศลอะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพอะไรเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาล นานหรือว่าอะไรเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทาน ไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญามาก

ปฐมธรรม หน้า 149

๕๓
ธรรมดาของโลก


มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ
นินทา สรรเสริญ สุข และ ทุกข์

แปดอย่างนี้เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงในหมู่มนุษย์ไม่ยั่งยืนมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ผู้มีปัญญา มีสติ รู้ความข้อนี้แล้วย่อมเพ่งอยู่ใน ความแปรปรวน เป็นธรรมดาของ โลกธรรมนั้น

ปฐมธรรม หน้า 150

๕๔
กรรมที่ทำให้ได้รับผลเป็นความไม่ตกต่ำ


ภิกษุทั้งหลาย ! แต่ชาติที่แล้วมา แต่อดีตตถาคตได้เคยเจริญ เมตตาภาวนา ตลอด ๗ ปี จึงไม่เคยมาบังเกิดในโลกมนุษย์นี้ ตลอด ๗ สังวัฏฏกัปป์ และ วิวัฏฏกัปป์ ในระหว่างกาลอันเป็นสังวัฏฏกัปป์นั้น เราได้บังเกิดใน อาภัสสร พรหม ในระหว่างกาล อันเป็น วิวัฏฏกัปป์ นั้น เราก็ได้อยู่พรหมวิมาน อันว่างเปล่าแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกัปป์นั้น เราได้เคยเป็นพรหม ได้เคยเป็นมหาพรหมผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครครอบงำได้เป็นผู้เห็นสิ่งทั้งปวง โดยเด็ดขาด เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด

ภิกษุทั้งหลาย ! เราได้เคยเป็นสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเทวดา(ชั้นดาวดึงส์) นับได้ ๓๖ ครั้ง เราได้เคย เป็นราชาจักรพรรดิผู้ประกอบด้วยธรรม เป็นพระราชา โดยธรรม มีแว่นแคว้น จรด มหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นที่สุดเป็นผู้ชนะแล้วอย่างดี มีชนบทอันบริบูรณ์ประกอบด้วย แก้วเจ็ด ประการ นับด้วยร้อยๆ ครั้ง ทำไมจะต้องกล่าวถึงความเป็นราชา ตาม ธรรมดาด้วย

ภิกษุทั้งหลาย ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราว่าผลวิบากแห่งกรรมอะไรของเราหนอ ที่ทำให้ เราเป็นผู้มีฤทธิ์มากถึงอย่างนี้ มีอานุภาพมากถึงอย่างนี้ ในครั้งนั้นๆ

ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ผลวิบากแห่งกรรม ๓ อย่างนี้แล ที่ทำให้เรา มีฤทธิ์มากถึงอย่างนี้ มีอานุภาพ มากถึงอย่างนี้

วิบากแห่งกรรม ๓ อย่าง ในครั้งนั้น คือ
(๑) ผลวิบากแห่งทาน การให้
(๒) ผลวิบากแห่งทมะ การบีบบังคับใจ
(๓) ผลวิบากแห่งสัญญมะ การสำรวมระวังดังนี้

ปฐมธรรม หน้า 152

๕๕

ทานที่ให้แล้วในสงฆ์แบบใด จึงมีผลมาก


ภิกษุทั้งหลาย !
บุคคล ๘ จำพวกเหล่านี้ เป็นผู้ควรแก่ของบูชาควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

๘ จำพวกอะไรบ้างเล่า ?
๘ จำพวก คือ :-

(๑) พระโสดาบัน
(๒) พระผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
(๓) พระสกทาคามี
(๔) พระผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
(๕) พระอนาคามี
(๖) พระผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
(๗) พระอรหันต์
(๘) พระผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์

ภิกษุทั้งหลาย !บุคคล ๘ จำพวกเหล่านี้แล เป็นผู้ควรแก่ของบูชาควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็น เนื้อนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

“ผู้ปฏิบัติแล้ว ๔ จำพวกและผู้ตั้งอยู่ในผลแล้ว ๔ จำพวกนี่แหละ ! สงฆ์ที่เป็นคนตรง เป็นผู้ตั้งมั่นแล้วในปัญญา และศีลย่อม กระทำให้เกิดบุญอื่น เนื่องด้วยอุปธิแก่ มนุษย์ ทั้งหลายผู้มีความต้องการด้วยบุญ กระทำการบูชาอยู่ทานที่ให้แล้วในสงฆ์ จึงมีผลมาก”

ปฐมธรรม หน้า 154

๕๖
ผู้ประสบบุญใหญ่


ภิกษุทั้งหลาย ! นักบวชผู้มีศีล เข้าไปสู่สกุลใดมนุษย์ทั้งหลายในสกุลนั้น ย่อมประสบบุญ เป็นอันมากด้วยฐานะ ๕ อย่าง

ฐานะ ๕ อย่าง อะไรบ้างเล่า ? ๕ อย่าง คือ

(๑) ในสมัยใด จิตของมนุษย์ทั้งหลายย่อมเลื่อมใส เพราะได้เห็นนักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อสวรรค์

(๒) ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลาย พากันต้อนรับกราบไหว้ ให้อาสนะแก่นักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไป เพื่อการเกิด ในสกุลสูง

(๓) ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลาย กำจัดมลทินคือความตระหนี่เสียได้ในนักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่าปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการ ได้เกียรติศักดิ์อันใหญ่

(๔) ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมแจกจ่ายทานตามสติ ตามกำลังในนักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไป เพื่อการ ได้โภคทรัพย์ใหญ่

(๕) ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไต่ถามสอบสวน ย่อมฟังธรรมในนักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไป เพื่อการ ได้ปัญญาใหญ่

ภิกษุทั้งหลาย ! นักบวชผู้มีศีล เข้าไปสู่สกุลใด มนุษย์ทั้งหลายในสกุลนั้น ย่อมประสบบุญ เป็นอันมาก ด้วยฐานะ ๕ อย่างเหล่านี้ แล

ปฐมธรรม หน้า 158

๕๗
ต้องขึงสายพิณพอเหมาะ


โสณะ ! เธอมีความคิดในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร เมื่อก่อนแต่ครั้งเธอยังเป็นคฤหัสถ์ เธอเชี่ยวชาญในเรื่องเสียงแห่งพิณ มิใช่หรือ ?
“เป็นเช่นนี้ พระเจ้าข้า !”.

โสณะ ! เธอจะสำคัญข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อใดสายพิณของเธอขึงตึงเกินไป เมื่อนั้น พิณของเธอจะมีเสียงไพเราะน่าฟังหรือ จะใช้การได้หรือ ?
“ไม่เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า !”

โสณะ ! เธอจะสำคัญข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อใดสายพิณของเธอขึงหย่อนเกินไป เมื่อนั้น พิณของเธอจะมีเสียงไพเราะน่าฟังหรือ จะใช้การได้หรือ ?
“ไม่เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า !”

โสณะ ! แต่ว่าเมื่อใด สายพิณของเธอ ไม่ตึงนักหรือไม่หย่อนนัก ขึงได้ระเบียบเสมอๆ กันแต่พอดีเมื่อนั้น พิณของเธอย่อมมีเสียงไพเราะน่าฟังหรือใช้การได้ดีมิใช่หรือ ?
“เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า !”

โสณะ ! ข้อนี้ก็เป็นเช่นนั้นแล กล่าวคือความเพียรที่บุคคลปรารภจัดเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ย่อหย่อนเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
โสณะ ! เหตุผลนั้นแลเธอจงตั้งความเพียรแต่พอดี จงเข้าใจความที่อินทรีย์ทั้งหลาย ต้องเป็นธรรมชาติที่เสมอๆ กัน จงกำหนดหมายในความพอดีนั้นไว้เถิด
“พระเจ้าข้า ! ข้าพระองค์จักปฏิบัติอย่างนั้น”

ปฐมธรรม หน้า 160

๕๘
ผู้เห็นแก่นอน


ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย จะเข้าใจเรื่องนี้กันอย่างไร ? พวกเธอเคยได้เห็น ได้ฟังมาบ้างหรือว่า พระราชาผู้เป็น กษัตริย์ได้รับมุรธาภิเษกแล้ว ทรงประกอบ ความสุขในการประทม หาความสุขในการเอนพระวรกาย หาความสุขในการประทม หลับ ตามแต่พระประสงค์อยู่เนืองนิจยังคงทรงปกครองราชสมบัติให้เป็นที่รักใคร่ ถูกใจพลเมืองจนตลอดพระชนม์ชีพ ได้อยู่หรือ ?

“อย่างนี้ ไม่เคยได้เห็นได้ฟังเลย พระเจ้าข้า !”.

ดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่กล่าวนี้ แม้เราเองก็ไม่เคยได้เห็น ได้ฟังอย่างนั้น เหมือนกัน

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย จะเข้าใจเรื่องนี้กันอย่างไร ? พวกเธอเคยได้เห็น ได้ฟังมาบ้างหรือว่า ผู้ครองรัฐก็ดีทายาท ผู้สืบมรดกก็ดี เสนาบดีก็ดี นายบ้านก็ดี และหัวหน้าหมู่บ้านก็ดี ประกอบความสุขในการนอน หาความสุข ในการเอนกาย หาความสุขในการหลับ ตามสบายใจอยู่เนืองนิจ ยังคงดำรงตำแหน่ง นั้นๆ ให้เป็นที่รักใคร่ ถูกใจของ (ประชาชนทุกเหล่า) กระทั่งลูกหมู่ จนตลอดชีวิต ได้อยู่หรือ ?

“อย่างนี้ ไม่เคยได้เห็นได้ฟังเลย พระเจ้าข้า !”

ดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่กล่าวนี้ แม้เราเองก็ไม่เคยได้เห็น ได้ฟัง อย่างนั้น
เหมือนกัน

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย จะเข้าใจเรื่องนี้กันอย่างไร ? พวกเธอเคยได้เห็น ได้ฟัง มาบ้างหรือว่า สมณะหรือพราหมณ์ ที่เอาแต่ประกอบความสุขในการนอนหา ความสุข ในการเอนกาย หาความสุขในการหลับ ตามสบายใจอยู่เสมอๆ ทั้งเป็นผู้ไม่ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในการบริโภค ไม่ตามประกอบธรรม เป็นเครื่องตื่น ไม่เห็นแจ่มแจ้งซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ตามประกอบการทำเนืองๆ ในโพธิปักขิยธรรม ทั้งในยามต้นและยามปลาย แล้วยังจะกระทำให้แจ้งได้ซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันประเสริฐยิ่งเองในทิฏฐธรรม เทียว เข้าถึงแล้วแลอยู่ ?

“ ข้อนั้น ก็ยังไม่เคยได้เห็นได้ฟังเลย พระเจ้าข้า !”

ดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่กล่าวถึงนี้ แม้เราเองก็ไม่เคยได้เห็น ได้ฟังอย่างนั้น เหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ว่า

“เราทั้งหลาย จักคุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค ตามประกอบธรรมเป็นเครื่องตื่น เป็นผู้เห็นแจ่มแจ้งซึ่งกุศลธรรม ทั้งหลาย และจัก ตามประกอบอนุโยคภาวนาในโพธิปักขิยธรรม ทั้งในยามต้นและยามปลายอยู่เสมอๆ” ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลายพึง สำเหนียกใจอย่างนี้แล

ปฐมธรรม หน้า 163

๕๙
ลักษณะของ “ผู้มีความเพียรตลอดเวลา”


ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังเดิน...ยืน...นั่ง...นอนอยู่ ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความ ครุ่นคิด ในกามหรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิด ด้วยความครุ่นคิด ในทาง ทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆขึ้นมา และภิกษุ ก็ไม่รับเอาความ ครุ่นคิดนั้นไว้ สละทิ้ง ไปถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มี เหลือ ภิกษุที่เป็น เช่นนี้ แม้กำลัง เดิน ...ยืน ...นั่ง ...นอนอยู่ก็เรียกว่าเป็นผู้ทำความเพียรเผา กิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งลามก เป็นคน ปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลส อยู่เนืองนิจ

ปฐมธรรม หน้า 164

๖๐
ลักษณะของ “ผู้เกียจคร้านตลอดเวลา”


ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังเดิน...ยืน...นั่ง...นอนอยู่ ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความ ครุ่นคิด ในกามหรือครุ่นคิด ด้วยความครุ่นคิด ในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิด ด้วยความ ครุ่นคิด ในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆขึ้นมา และภิกษุก็รับเอาความ ครุ่นคิด นั้นไว้ ไม่สละทิ้ง ไม่ถ่ายถอนออก ไม่ทำให้สุดสิ้นไป จนไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังเดิน...ยืน ...นั่ง...นอนอยู่ ก็เรียกว่า เป็นผู้ไม่ทำความเพียร เผากิเลส ไม่รู้สึกกลัวต่อสิ่งลามก เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรอันเลวทราม อยู่เนืองนิจ

ปฐมธรรม หน้า 165

๖๑
วิธีการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง (สจฺจานุรกฺขณา)


“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง(สจฺจานุรกฺขณา) นั้น มีได้ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลจะตาม รักษาไว้ซึ่งความจริงนั้นได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญถึงวิธีการตามรักษาไว้ ซึ่งความจริง”

ภารท๎วาชะ !ถ้าแม้ ความเชื่อ ของบุรุษ มีอยู่และเขาก็ ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า“ข้าพเจ้ามีความเชื่ออย่างนี้” ดังนี้เขาก็ อย่าพึงถึงซึ่งการสันนิษฐานโดย ส่วนเดียว ว่า“อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน ...

ภารท๎วาชะ !ถ้าแม้ ความชอบใจ ของบุรุษ มีอยู่และเขาก็ ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า“ข้าพเจ้ามีความชอบใจ อย่างนี้” ดังนี้,เขาก็ อย่าพึงถึงซึ่งการสันนิษฐาน โดยส่วนเดียว ว่า “อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน ...

ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ เรื่องที่ฟังตามๆ กันมา ของบุรุษ มีอยู่ และเขาก็ตามรักษาไว้ ซึ่งความ จริง กล่าวอยู่ว่า“ ข้าพเจ้ามีเรื่องที่ฟังตามๆ กันมาอย่างนี้” ดังนี้ เขาก็ อย่าพึงถึงซึ่ง การสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า“อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน ...

ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ ความตริตรึกไปตามเหตุผลที่แวดล้อม ของบุรุษมีอยู่ และ เขาก็ตาม รักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า“ ข้าพเจ้ามีความตริตรึกไปตามเหตุผล ที่แวดล้อม อย่างนี้”ดังนี้ เขาก็ อย่าพึงถึงการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า“ อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน

ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ ข้อยุติที่ทนได้ต่อการเพ่งพินิจด้วยความเห็นของบุรุษ มีอยู่ และเขา ก็ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า“ ข้าพเจ้ามีข้อยุติที่ทนได้ต่อการเพ่ง พินิจ ด้วย ความเห็นอย่างนี้” ดังนี้ เขาก็ อย่าพึงถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า“ อย่างนี้ เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน

ภารท๎วาชะ !ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้แลการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมี บุคคล ชื่อว่า ย่อมตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ และเราบัญญัติการ ตามรักษาไว้ซึ่งความจริงด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ แต่ว่านั่นยังไม่เป็นการ ตามรู้ซึ่งความจริง

ปฐมธรรม หน้า 169

๖๒

การตามรู้ซึ่งความจริง (สจฺจานุโพโธ)


“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรู้ซึ่งความจริง(สจฺจานุโพโธ) มีได้ ด้วยการกระทำ เพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่าตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอ ถามพระโคดมผู้เจริญถึงการตามรู้ซึ่งความจริง”.

ภารท๎วาชะ ! ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้เข้าไปอาศัยอยู่ในบ้าน หรือในนิคมแห่งใด แห่งหนึ่ง

คหบดีหรือคหบดีบุตร ได้เข้าไปใกล้ภิกษุนั้นแล้วใคร่ครวญดูอยู่ในใจ เกี่ยวกับธรรม ๓ ประการ คือ
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ...

เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรม อันเป็นที่ตั้ง แห่ง โลภะ ต่อแต่นั้นเขาจะพิจารณาใคร่ ครวญภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไปในธรรมทั้งหลาย อันเป็น ที่ตั้งแห่งโทสะ… ในธรรมทั้งหลาย

อันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้นย่อมเล็งเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ... ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ลำดับนั้น เขา
(๑) ปลูกฝัง ศรัทธา ลงไปในภิกษุนั้น ครั้นมีศรัทธาเกิดแล้ว
(๒) ย่อม เข้าไปหา ครั้นเข้าไปหาแล้ว
(๓) ย่อม เข้าไปนั่งใกล้ ครั้นเข้าไปนั่งใกล้แล้ว
(๔) ย่อม เงี่ยโสตลง ครั้นเงี่ยโสตลง
(๕) ย่อม ฟังซึ่งธรรม ครั้นฟังซึ่งธรรมแล้ว
(๖) ย่อม ทรงไว้ซึ่งธรรม
(๗) ย่อม ใคร่ครวญ ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลาย อันตนทรงไว้แล้ว เมื่อใคร่ครวญ ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมอยู่
(๘) ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อ ความเพ่ง พินิจ เมื่อการทนต่อการเพ่งพินิจของธรรม มีอยู่
(๙) ฉันทะย่อมเกิดขึ้น ผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว
(๑๐) ย่อม มีอุสสาหะ ครั้นมีอุสสาหะแล้ว
(๑๑) ย่อม พิจารณาหาความสมดุลแห่งธรรม ครั้นมีความสมดุลย์แห่งธรรมแล้ว
(๑๒) ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น เขาผู้มีตนส่งไปแล้ว อย่างนี้อยู่ ย่อมกระทำ ให้แจ้ง ซึ่งปรมัตถสัจจะ (ความจริงโดยความ หมายสูงสุด) ด้วยนามกายด้วย ย่อมแทง ตลอดซึ่ง ธรรมนั้น แล้วเห็นอยู่ด้วยปัญญาด้วย

ภารท๎วาชะ !การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมีด้วยการกระทำเพียงเท่านี้บุคคลชื่อว่า ย่อมตาม รู้ ซึ่งความจริงด้วยการกระทำเพียง เท่านี้ และเราบัญญัติการตามรู้ซึ่ง ความจริง ด้วยการ กระทำเพียงเท่านี้ แต่ว่านั่นยังไม่เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง

ปฐมธรรม หน้า 172

๖๓
การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง (สจฺจานุปตฺติ)


“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง(สจฺจานุปตฺติ) มีได้ ด้วยการ กระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่าย่อมตาม บรรลุถึงซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียง เท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญถึงการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง”

ภารท๎วาชะ ! การเสพคบ การทำให้เจริญการกระทำให้มาก ซึ่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้น แหละ (ทั้ง ๑๒ ข้อ ข้างต้น) เป็นการ ตามบรรลุถึงซึ่งความจริง

ภารท๎วาชะ !การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ย่อมมีด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ บุคคล ชื่อว่า ย่อมตามบรรลุถึงซึ่งความจริงด้วยการ กระทำเพียงเท่านี้ และเราบัญญัติ การตามบรรลุถึง ซึ่ง ความจริงด้วยการกระทำเพียงเท่านี้

ปฐมธรรม หน้า 173

๖๔
ทำความเพียรแข่งกับอนาคตภัย


ภิกษุทั้งหลาย ! ภัยในอนาคตเหล่านี้ มีอยู่๕ ประการ ซึ่งภิกษุผู้มองเห็นอยู่ ควรแท้ ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในการทำ เช่นนั้น อยู่ตลอดไป เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำ ให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เสียโดยเร็ว

ภัยในอนาคต ๕ ประการนั้น คืออะไรบ้างเล่า ?

๕ ประการ คือ

(๑) ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า“บัดนี้ เรายังหนุ่ม ยังเยาว์วัย ยังรุ่นคะนอง มีผมยังดำสนิทตั้งอยู่ในวัยกำลังเจริญ คือปฐมวัย แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่ความแก่ จะมาถึงร่างกายนี้ ก็คนแก่ ถูกความชราครอบงำแล้ว จะมนสิการถึงคำสอนของ ท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้นไม่ทำได้สะดวกเลย และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด ซึ่งเป็น ป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่ายๆเลย.

ก่อนแต่สิ่งอัน ไม่เป็น ที่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ (คือความแก่) นั้นจะมา ถึงเรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึงเพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่ง ที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว แม้จะแก่เฒ่าก็จักอยู่เป็นผาสุก” ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมีอีก

(๒) ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ เรามีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีไฟธาตุ ให้ความ อบอุ่น สม่ำเสมอไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก พอปานกลาง ควรแก่การทำ ความเพียร แต่จะมีสัก คราวหนึ่งที่ความเจ็บไข้จะมาถึงร่างกายนี้ ก็คนที่เจ็บไข้ถูก พยาธิครอบงำ แล้ว จะมนสิการ ถึงคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้ สะดวกเลย  และจะเสพเสนา สนะ อันเงียบสงัด ซึ่งเป็นป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่ายๆ เลย

ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็นที่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ(คือความเจ็บไข้) นั้น จะมาถึงเรา เราจะรีบทำความเพียรเพื่อถึงสิ่งที่ยัง ไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่ง ที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่ง เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว แม้จะเจ็บไข้ ก็จักอยู่เป็นผาสุก” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย !ข้ออื่นยังมีอีก

(๓) ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ ข้าวกล้างามดี บิณฑะ (ก้อนข้าว) หาได้ง่าย เป็นการสะดวกที่จะยังชีวิตให้เป็นไปด้วย ความพยายามแสวงหาบิณฑบาต แต่จะมีสัก คราวหนึ่งที่ ภิกษาหายาก ข้าวกล้าเสียหายบิณฑะหาได้ยาก ไม่เป็นการสะดวก ที่จะยังชีวิตให้เป็นไปด้วยความพยายามแสวงหาบิณฑบาต เมื่อภิกษาหายากที่ใดภิกษา หาง่าย คนทั้งหลายก็อพยพกันไป ที่นั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ความอยู่คลุกคลีปะปนกัน ในหมู่คน ก็จะมีขึ้นเมื่อมีการคลุกคลีปะปนกันในหมู่คน จะมนสิการถึงคำสอน ของท่านผู้รู้ ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย

ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็นที่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ (คือภิกษาหายาก) นั้นจะมา ถึงเรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึงเพื่อ บรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้ แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสีย โดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ ผู้ถึง แล้ว จักอยู่เป็นผาสุก แม้ในคราวที่เกิดทุพภิกขภัย” ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมีอีก

(๔) ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ คนทั้งหลายสมัครสมานชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้ดุจดั่งนมผสมกับน้ำ มองแลกันด้วยสายตาแห่งคนที่รักใคร่กัน เป็นอยู่ แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่ ภัย คือโจรป่ากำเริบชาวชนบทผู้ขึ้นอยู่ในอาณาจักร แตกกระจัดกระจายแยกย้ายกันไป, เมื่อมีภัยเช่นนี้ ที่ใดปลอดภัย คนทั้งหลายก็อพยพ กันไปที่นั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ความอยู่ คลุกคลีปะปนกันในหมู่คนก็จะมีขึ้น เมื่อมีการอยู่ คลุกคลีปะปนกันในหมู่คน จะมนสิการถึงคำสอนของท่านผู้รู้ ทั้งหลายนั้นไม่ทำได้ สะดวก เลย 

ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็นที่ต้องการไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ (คือโจรภัย) นั้น จะมาถึงเราเรา จะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว จักอยู่เป็นผาสุก แม้ในคราวที่เกิด โจรภัย” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมีอีก

(๕) ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ สงฆ์สามัคคีปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศ เดียวกัน อยู่เป็นผาสุก แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่สงฆ์แตกกัน เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว จะ มนสิการถึงคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย  ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็น ที่ต้องการไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ (คือสงฆ์แตกกัน) นั้นจะมาถึงเราเราจะรีบ ทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำ ให้แจ้งเสีย โดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว จักอยู่เป็นผาสุก แม้ในคราวเมื่อสงฆ์แตกกัน” ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! ภัยในอนาคต ๕ ประการเหล่านี้แล
ซึ่งภิกษุผู้มองเห็นอยู่ ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียรเผากิเลส
มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้นอยู่ตลอดไป
เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว.

ปฐมธรรม หน้า 178