เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  ปฐมธรรม-พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  04 of 4  
 
  ปฐมธรรม พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
  ๙๑ เหตุผลที่ต้องรับฟังเฉพาะคำตรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า 242  
  ๙๒ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ กัลยาณวัตรที่ตถาคตทรงฝากไว้ 252  
  ๙๓ เหตุการณ์ช่วงปรินิพพาน 256  
  ๙๔ ผู้มีธรรมเป็นที่พึ่ง 261  
  ๙๕ หลักตัดสินธรรมวินัย ๔ ประการ 253  
  ๙๖ การบูชาตถาคตอย่างสูงสุด 265  
  ๙๗ พินัยกรรม ของ “พระสังฆบิดา” 267  
  ๙๘ สังเวชนียสถานภายหลัง พุทธปรินิพพาน 268  
  ๙๙ สถานที่ที่ควรจะระลึกตลอดชีวิต 271  
  ๑๐๐ เพราะการเกิด เป็นเหตุให้พบกับ ความทุกข์ 274  
  ๑๐๑ เหตุแห่งการเกิด “ทุกข์” 278  
  ๑๐๒ สิ้นทุกข์เพราะสิ้นกรรม 280  
  ๑๐๓ สิ้นนันทิ สิ้นราคะ 282  
  ๑๐๔ ความสิ้นตัณหา คือ นิพพาน 283  
  ๑๐๕ ความเพลิน เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ 285  
  ๑๐๖ ความเป็นโสดาบัน ประเสริฐกว่า เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 186  
  ๑๐๗ สัทธานุสารี 288  
  ๑๐๘ ธัมมานุสารี 289  
  ๑๑๐ ลำดับการปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล 293  
  ๑๑๑ อริยมรรค มีองค์ ๘ 295  
  ๑๑๒ “ดิน น้ำ ไฟ ลม” ไม่อาจหยั่งลงได้ในที่ไหน 300  
  ๑๑๓ สิ่งๆ หนึ่งซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง 303  
  ๑๑๔ สังขตลักษณะ 304  
  ๑๑๕ อสังขตลักษณะ 305  
  ๑๑๖ ลำดับการหลุดพ้นโดยละเอียด เมื่อเห็นอนัตตา 306  
  ๑๑๗ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาหาร 308  
  ๑๑๘ หลักการพิจารณาอาหาร 311  
  ๑๑๙ หมดความพอใจ ก็สิ้นทุกข์ 314  
  ๑๒๑ ผู้ชี้ชวนวิงวอน 318  
  ๑๒๒ ลักษณะของภิกษุผู้มีศีล (นัยที่ ๑) 319  
  ๑๒๓ ลักษณะของภิกษุผู้มีศีล (นัยที่ ๒) 322  
  ๑๒๔ ลักษณะของภิกษุผู้มีศีล (นัยที่ ๓) 324  
  **ท้ายเล่ม ปฐมธรรม 325  
  จบปฐมธรรม    
       
 
 





หนังสือปฐมธรรม- พุทธวจน

ปฐมธรรม หน้า 242

๙๑
เหตุผลที่ต้องรับฟังเฉพาะคำตรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า


ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่นภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุ บริษัทในกรณีนี้ สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษร สละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่อง นอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำ สุตตันตะเหล่านั้น มากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่ว ถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตน ควรศึกษาเล่าเรียน

ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้งเป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอย่อมฟังด้วยดีย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิต เพื่อจะรู้ทั่วถึง และ ย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถามทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ?” ดังนี้

ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้

ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้ ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย เธอก็บรรเทา ลงได้

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุบริษัทเหล่านี้ เราเรียกว่าบริษัทที่มีการลุล่วงไปได้ ด้วยการสอบถามแก่กัน และ กันเอาเอง หาใช่ด้วยการ ชี้แจงโดยกระจ่างของบุคคลภายนอกเหล่าอื่นไม่ (ปฏปิ จุ ฉาวนิ ตี าปรสิ าโนอกุ กาจติ วนิ ตี า) จัดเป็นบริษัทที่เลิศ แล

หากไม่สนใจคำตถาคต จะทำให้เกิดความอันตรธานของคำตถาคตเปรียบด้วยกลองศึก

ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่ เมื่อกลอง อานกะนี้ มีแผลแตก หรือลิ พวกกษัตริย์ทสารหะได้หาเนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของ กลองนั้น(ทุกคราวไป)

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้น นานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิมของ ตัวกลอง หมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้งเป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา เมื่อมีผู้นำสุตตันตะ เหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดีจักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน

ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะ อันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตน ควรศึกษาเล่าเรียน

ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้นที่เป็นคำ􀄁ของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล

พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิเมื่อจะพูดทุกถ้อยคำ จึงไม่ผิดพลาดอัคคิเวสนะ ! เรานั้นหรือ จำเดิม แต่เริ่มแสดง กระทั่งคำสุดท้ายแห่งการกล่าวเรื่องนั้นๆ ย่อมตั้งไว้ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายใน โดยแท้ให้จิตดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีจิตเป็นเอกดังเช่นที่คนทั้งหลาย เคยได้ยินว่าเรา กระทำอยู่ เป็นประจำดังนี้

คำพูดที่ตรัสมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้นสอดรับไม่ขัดแย้งกัน
ภิกษุทั้งหลาย !นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคต ปรินิพพาน ด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ตลอดเวลาระหว่างนั้นตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใดถ้อยคำเหล่านั้น ทั้งหมดย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกัน เป็นประการอื่นเลย

แต่ละคำพูดเป็นอกาลิโก

คือถูกต้องตรงจริง ไม่จำกัดกาลเวลา ภิกษุทั้งหลาย !
พวกเธอทั้งหลายเป็น ผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรม นี้อัน
เป็นธรรม ที่บุคคล จะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง(สนฺทิฏฐิโก)
เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล (อกาลิโก)
เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก)
ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว (โอปนยิโก)
อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ)

ทรงให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสแล้ว เป็นศาสดาแทนต่อไปอานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า “ธรรมวินัยของ พวกเรามี พระศาสดาล่วงลับไปแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา” ดังนี้

อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น.

อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้วบัญญัติแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้นจักเป็นศาสดา ของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา

อานนท์ !ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดีใครก็ตามจักต้องมีตนเป็นประทีปมีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่

อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขาภิกษุพวกนั้นจักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุด แล

ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอน สิ่งที่บัญญัติไว้

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย
จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ
จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว
จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น

ปฐมธรรม หน้า 252

๙๒
อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ กัลยาณวัตรที่ตถาคตทรงฝากไว้


อานนท์ ! ก็กัลยาณวัตรอันเราตั้งไว้ในกาลนี้ย่อมเป็นไป เพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลาย กำหนัด เพื่อดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อรู้พร้อม เพื่อนิพพาน

อานนท์ ! กัลยาณวัตรนี้ เป็นอย่างไรเล่า ?
นี้คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ กล่าวคือ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

อานนท์ ! เกี่ยวกับกัลยาณวัตรนั้นเราขอกล่าวกะเธอ โดยประการที่เธอทั้งหลายจะพากันประพฤติตาม กัลยาณวัตร ที่เราตั้งไว้ แล้วนี้ เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย

อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้มีในยุคแห่งบุรุษใดบุรุษนั้น ชื่อว่าบุรุษคนสุดท้ายแห่งบุรุษ ทั้งหลาย

อานนท์ ! เกี่ยวกับกัลยาณวัตรนั้นเราขอกล่าว (ย้ำ)กับเธอ โดยประการที่เธอทั้งหลายจะพากันประพฤติ ตามกัลยาณวัตร ที่เราตั้งไว้แล้วนี้ เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย

การปรินิพพาน ของตถาคต

ปฐมธรรม หน้า 256

๙๓
เหตุการณ์ช่วงปรินิพพาน


สารีบุตร ! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวอย่างนี้ เห็นอย่างนี้ว่า ชั่วเวลาที่บุรุษนี้ยังเป็นหนุ่ม มีผมดำ สนิท ประกอบด้วย ความหนุ่มแน่น ตั้งอยู่ในปฐมวัย ก็ยังคงประกอบด้วยปัญญาอันเฉียบแหลมว่องไว อยู่เพียงนั้น เมื่อใดบุรุษนี้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลนาน ผ่านวัยไปแล้ว มีอายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปีหรือ ๑๐๐ ปี จากการเกิด เมื่อนั้น เขาย่อมเป็นผู้เสื่อมสิ้น จากปัญญา อันเฉียบ แหลมว่องไว

สารีบุตร ! ข้อนี้ เธออย่าพึงเห็นอย่างนั้น เรานี้แลในบัดนี้เป็นคนแก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัย มาแล้ววัยของเรา นับได้ ๘๐ ปี ...ฯลฯ

สารีบุตร ! ธรรมเทศนาที่แสดงไปนั้น ก็มิได้แปรปรวนบทพยัญชนะแห่งธรรมของตถาคต ก็มิได้แปรปรวน ปฏิภาณในการตอบปัญหาของตถาคต ก็มิได้แปรปรวน ...ฯลฯ...

สารีบุตร ! แม้ว่าเธอทั้งหลาย จักนำเราไปด้วยเตียงน้อย (สำหรับหามคนทุพพลภาพ)ความแปรปรวน เป็นอย่างอื่น แห่งปัญญาอันเฉียบแหลมว่องไวของตถาคตก็มิได้มี

สารีบุตร ! ถ้าผู้ใดจะพึงกล่าวให้ถูกให้ชอบว่า

“สัตว์มีความไม่หลงเป็นธรรมดาบังเกิดขึ้นในโลก
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่มหาชน
เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” ดังนี้แล้ว
ผู้นั้นพึงกล่าวซึ่งเราผู้เดียวเท่านั้น

ลำดับนั้น พระอานนท์ผู้มีอายุ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วลูบคลำทั่วพระกายของ พระผู้มีพระภาคอยู่ พลางกล่าวถ้อยคำนี้ ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้น่าอัศจรรย์ ข้อนี้ไม่เคยมีมาก่อน

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บัดนี้ ฉวีวรรณของพระผู้มีพระภาค ไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนแต่ก่อน และพระกายก็เหี่ยวย่น หย่อนยาน มีพระองค์ค้อมไปข้างหน้า อินทรีย์ทั้งหลาย ก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไปหมด ทั้งพระจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ”

อานนท์ ! นั่น ต้องเป็นอย่างนั้น คือ
ความชรามี (ซ่อน) อยู่ในความหนุ่ม
ความเจ็บไข้มี (ซ่อน) อยู่ในความไม่มีโรค
ความตายมี (ซ่อน) อยู่ในชีวิต
ฉวีวรรณจึงไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องเสียแล้ว และกายก็เหี่ยวย่นหย่อนยาน มีตัวค้อมไปข้างหน้า อินทรีย์ ทั้งหลายก็เปลี่ยนเป็น อย่างอื่นไปหมด ทั้งตา หู จมูก ลิ้น กายดังนี้

พระผู้มีพระภาค ครั้นตรัสคำนี้แล้ว ได้ตรัสข้อความนี้ (เป็นคำกาพย์กลอน)อีกว่า

โธ่เอ๋ย ! ความแก่อันชั่วช้าเอ๋ย ! อันทำความน่าเกลียดเอ๋ย !
กายที่น่าพอใจ บัดนี้ก็ถูกความแก่ย่ำยีหมดแล้ว

แม้ใครจะมีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปีทุกคน ก็ยังมีความตายเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ความตายไม่ยกเว้นให้แก่ใครๆ มันย่ำยีหมด ทุกคน

อานนท์ ! บัดนี้ เรามีสติสัมปชัญญะ ปลงอายุสังขารแล้ว ณ ปาวาลเจดีย์นี้ (พระอานนท์ได้สติจึงทูลขอให้ดำรงพระชนม์ชีพ อยู่ด้วย อิทธิบาทภาวนา กัปป์หนึ่งหรือยิ่งกว่ากัปป์ ทรงปฏิเสธ)

อานนท์ ! อย่าเลย อย่าวิงวอนตถาคตเลยมิใช่เวลาจะวิงวอนตถาคตเสียแล้ว (พระอานนท์ทูลวิงวอนอีกจนครบสามครั้ง ได้รับพระดำรัสตอบอย่างเดียวกัน ตรัสว่าเป็นความผิด ของพระอานนท์ผู้เดียว แล้วทรงจาระไนสถานที่ ๑๖ แห่งที่เคยให้โอกาสแก่พระอานนท์ในเรื่องนี้ แต่พระอานนท์รู้ไม่ทันสักครั้งเดียว)

อานนท์ ! ในที่นั้นๆ ถ้าเธอวิงวอนตถาคตตถาคตจักห้ามเสียสองครั้ง แล้วจักรับคำในครั้งที่สาม อานนท์ ! ตถาคตได้บอกแล้วมิใช่หรือ ว่าสัตว์จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น สัตว์จะได้ตามปรารถนาในสังขารนี้ แต่ที่ไหนเล่า ข้อที่สัตว์จะหวังเอาสิ่งที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว มีปัจจัยปรุงแต่งแล้วมีการแตกดับเป็นธรรมดา ว่าสิ่งนี้อย่าฉิบหายเลย ดังนี้ย่อมไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

สัตว์ทั้งปวง ทั้งที่เป็นคนหนุ่ม คนแก่ ทั้งที่เป็นคนพาลและบัณฑิตทั้งที่มั่งมี และยากจนล้วนแต่มี ความตายเป็นที่ไปถึงในเบื้องหน้า

เปรียบเหมือนภาชนะดินที่ช่างหม้อปั้นแล้วทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งที่สุกแล้ว และยังดิบล้วนแต่มีการ แตกทำลายเป็นที่สุดฉันใด ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลายก็มีความตายเป็นเบื้องหน้าฉันนั้นวัยของเรา แก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเราริบหรี่แล้วเราจักละ พวกเธอ ไปสรณะของตัวเองเราได้ทำไว้แล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาทมีสติ มีศีลเป็นอย่างดีมีความดำริอันตั้งไว้แล้วด้วยดี ตามรักษาซึ่งจิตของตนเถิด ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาทแล้วจักละชาติสงสาร ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

ปฐมธรรม หน้า 261

๙๔
ผู้มีธรรมเป็นที่พึ่ง


อานนท์ ! เราได้กล่าวเตือนไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือว่า “ความเป็นต่างๆ ความพลัดพรากความเป็นอย่างอื่นจากของรัก ของชอบใจ ทั้งสิ้นย่อมมี”

อานนท์ ! ข้อนั้น จักได้มาแต่ไหนเล่า ? สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้วอันปัจจัยปรุงแล้ว มีความชำรุดไปเป็นธรรมดา สิ่งนั้นอย่าชำรุดไปเลย ดังนี้ ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่มีไม่ได้

อานนท์ ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายจงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ

อานนท์ ! ภิกษุ มีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่น เป็นสรณะนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้

พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเนืองๆ อยู่
พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเนืองๆ อยู่
มีความเพียรเผากิเลส
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

อานนท์ ! ภิกษุ อย่างนี้แลชื่อว่ามีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่

อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตามจักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ

อานนท์ ! ภิกษุพวกใดเป็นผู้ใคร่ในสิกขา ภิกษุพวกนั้นจักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุด แล

ปฐมธรรม หน้า 253

๙๕

หลักตัดสินธรรมวินัย ๔ ประการ


๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี พระภาคว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...

๒. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่าในอาวาสชื่อโน้น มีสงฆ์อยู่พร้อมด้วยพระเถระ หัวหน้า ข้าพเจ้าได้สดับมา เฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า “นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...

๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่าในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่จำนวนมากเป็น พหูสูตร เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกาข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของ พระศาสดา”...

๔. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่าในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่รูปหนึ่งเป็นพหูสูตร เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกาข้าพเจ้าได้สดับเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า “นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของ พระศาสดา”...

เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้น ให้ดี แล้วพึงสอบสวน ลงในพระสูตร เทียบเคียงดูในวินัยถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตร ก็ไม่ได้เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า

“นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนี้รับมาผิด”
เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย.

ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า

“นี้เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนั้นรับมาด้วยดี”
เธอทั้งหลาย พึงจำมหาปเทส… นี้ไว้

ปฐมธรรม หน้า 265

๙๖
การบูชาตถาคตอย่างสูงสุด


อานนท์ ! เธอจงจัดตั้งที่นอน ระหว่างต้นสาละคู่มีศีรษะทางทิศเหนือ เราลำบากกายนักจักนอน (ประทับสีหไสยยาแล้ว มีอัศจรรย์ ดอกสาละผลิผิดฤดูกาลโปรยลงบนพระสรีระ ดอกมัณฑารพ จุรณ์ไม้จันทน์ ดนตรี ล้วนแต่ของทิพย์ได้ตกลง และบรรเลงขึ้น เพื่อบูชาตถาคตเจ้า)

อานนท์ ! การบูชาเหล่านี้ หาชื่อว่าตถาคตเป็นผู้ที่ได้รับสักการะ เคารพนับถือบูชาแล้วไม่

อานนท์ ! ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาใดประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมสักการะ เคารพนับถือบูชาตถาคต ด้วยการบูชาอันสูงสุด

อานนท์ ! เพราะฉะนั้นเธอพึงกำหนดใจว่า “เราจักประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่” ดังนี้

ปฐมธรรม หน้า 267

๙๗
พินัยกรรม ของ “พระสังฆบิดา”


อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า“ ธรรมวินัยของพวกเรา มีพระศาสดาล่วงลับไปแล้ว พวกเราไม่มี พระศาสดา” ดังนี้

อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น.

อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลายธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา

ภิกษุทั้งหลาย ! บัดนี้ เราจักเตือนพวกเธอทั้งหลายว่าสังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอทั้งหลาย จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ดังนี้

นี่แล เป็นพระวาจาที่ตรัสครั้งสุดท้ายของพระตถาคตเจ้า

ปฐมธรรม หน้า 268

๙๘
สังเวชนียสถานภายหลัง พุทธปรินิพพาน


“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แต่ก่อนนี้ ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาในทิศต่างๆ แล้วย่อมมาเฝ้าพระผู้มี พระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์ทั้งหลายได้มีโอกาสเห็นภิกษุทั้งหลายผู้น่าเจริญใจเหล่านั้น ได้มีโอกาสเข้าพบปะภิกษุทั้งหลาย ผู้น่าเจริญใจเหล่านั้น ครั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าล่วงลับไปแล้ว พวกข้าพระองค์ทั้งหลาย ย่อมหมดโอกาสที่จะได้เห็น หรือได้เข้าพบปะภิกษุทั้งหลาย ผู้น่าเจริญใจเหล่านั้นอีกต่อไป”

อานนท์ ! สถานที่ที่ควรเห็นและควรเกิดความสังเวชแก่ กุลบุตรผู้มีศรัทธา มีอยู่ ๔ ตำบล

๔ ตำบล อะไรเล่า ?

(๑) สถานที่ ที่ควรเห็นและควรเกิดความสังเวชแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธา ว่าตถาคตประสูติ แล้ว ณ ที่นี้

(๒) สถานที่ ที่ควรเห็นและควรเกิดความสังเวชแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธา ว่าตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณแล้ว ณ ที่นี้

(๓) สถานที่ ที่ควรเห็นและควรเกิดความสังเวชแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธา ว่าตถาคตได้ประกาศอนุตตร ธรรมจักร ให้เป็นไปแล้ว ณ ที่นี้

(๔) สถานที่ ที่ควรเห็นและควรเกิดความสังเวชแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธา ว่าตถาคตปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสส-นิพพานธาตุแล้ว ณ ที่นี้

อานนท์ ! สถานที่ ที่ควรเห็นและควรเกิดความสังเวชแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธา มี ๔ ตำบลเหล่านี้ แล

อานนท์ ! ภิกษุทั้งหลาย หรือภิกษุณีทั้งหลายหรืออุบาสกทั้งหลาย หรืออุบาสิกาทั้งหลาย ผู้มีศรัทธา

จักพากันมาสู่สถานที่ ๔ ตำบลเหล่านี้ โดยหมายใจว่าตถาคตได้ประสูติแล้ว ณ ที่นี้บ้าง ตถาคตได้ ตรัสรู้ อนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณแล้ว ณ ที่นี้บ้าง ตถาคตได้ประกาศอนุตตรธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว ณ ที่นี้บ้าง ตถาคตได้ปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุณ ที่นี้บ้าง ดังนี้

อานนท์ !ชนเหล่าใด เที่ยวไปตามเจดียสถานจักมีจิตเลื่อมใส ทำกาละแล้วชนเหล่านั้น จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ภายหลังแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกายดังนี้

ปฐมธรรม หน้า 271

๙๙

สถานที่ที่ควรจะระลึกตลอดชีวิต


ภิกษุทั้งหลาย ! สถานที่ ๓ แห่ง เป็นที่ระลึกตลอดชีวิตของพระราชา ผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษกแล้ว

๓ แห่ง ที่ไหนบ้างเล่า ? ๓ แห่ง คือ

พระราชา ผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก ประสูติ ณ ตำบลใด ตำบลนี้เป็นที่ระลึกตลอดชีวิต ของพระราชา พระองค์นั้น เป็นแห่ง ที่หนึ่ง

พระราชา ได้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษกแล้ว ณ ตำบลใด ตำบลนี้เป็นที่ระลึกตลอดชีวิต ของพระราชา พระองค์นั้น เป็นแห่งที่สอง

พระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษกทรงผจญสงครามได้ชัยชนะแล้ว เข้ายึดครองสนามรบนั้นไว้ได้ณ ตำบลใด ตำบลนี้ เป็นที่ ระลึกตลอดชีวิตของพระราชาพระองค์นั้น เป็นแห่งที่สาม

นิพพานและการพ้นทุกข์

ปฐมธรรม หน้า 274

๑๐๐
เพราะการเกิด เป็นเหตุให้พบกับ ความทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ย่อมมีได้ เพราะการประชุมพร้อมของสิ่ง ๓ อย่าง

ในสัตว์โลกนี้ แม้มารดาและบิดาเป็นผู้อยู่ร่วมกันแต่มารดายังไม่ผ่านการมีระดู และคันธัพพะ (สัตว์ที่จะ เข้าไปปฏิสนธิ ในครรภ์ นั้น) ก็ยังไม่เข้าไปตั้งอยู่โดยเฉพาะด้วย การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ก็ยังมีขึ้นไม่ได้ก่อน

ในสัตว์โลกนี้ แม้มารดาและบิดาเป็นผู้อยู่ร่วมกันและมารดาก็ผ่านการมีระดู แต่ คันธัพพะ ยังไม่เข้าไป ตั้งอยู่โดยเฉพาะ การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ก็ยังมีขึ้นไม่ได้นั่นเอง

ภิกษุทั้งหลาย ! แต่เมื่อใด มารดาและบิดาเป็นผู้อยู่ร่วมกันด้วย มารดาก็ผ่านการมีระดูด้วยคันธัพพะ ก็เข้าไปตั้งอยู่โดยเฉพาะ ด้วยการปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ย่อมสำเร็จได้ เพราะการประชุมพร้อมกัน ของสิ่ง ๓ อย่าง ด้วยอาการอย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! มารดา ย่อมบริหารสัตว์ที่เกิดในครรภ์นั้น ด้วยความเป็นห่วงอย่างใหญ่หลวง เป็นภาระ หนักตลอดเวลา เก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง

ภิกษุทั้งหลาย !เมื่อล่วงไปเก้าเดือนหรือสิบเดือน มารดา ย่อมคลอดบุตรนั้นด้วยความเป็นห่วงอย่าง ใหญ่หลวง เป็นภาระหนัก ได้เลี้ยงซึ่งบุตรอันเกิดแล้วนั้น ด้วยโลหิตของตนเอง

ภิกษุทั้งหลาย ! ในวินัยของพระอริยเจ้า คำว่า“ โลหิต” นี้ หมายถึงน้ำนมของมารดา

ภิกษุทั้งหลาย ! ทารกนั้น เจริญวัยขึ้น มีอินทรีย์อันเจริญเต็มที่แล้ว เล่นของเล่นสำหรับเด็ก เช่น เล่นไถน้อยๆ เล่นหม้อข้าว หม้อแกง เล่นของเล่นชื่อโมกขจิกะ เล่นกังหันลมน้อยๆ เล่นตวงของด้วย เครื่องตวงที่ทำด้วยใบไม้ เล่นรถน้อยๆ เล่นธนูน้อยๆ

ภิกษุทั้งหลาย ! ทารกนั้น ครั้นเจริญวัยขึ้นแล้วมีอินทรีย์อันเจริญเต็มที่แล้ว เป็นผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อม ด้วยกามคุณ ๕ ให้เขา บำเรออยู่  ทางตาด้วยรูป ทางหูด้วยเสียง ทางจมูกด้วยกลิ่น ทางลิ้นด้วยรส และทางกายด้วยโผฏฐัพพะ ซึ่งล้วนแต่เป็น สิ่งที่ปรารถนา น่ารักใคร่

น่าพอใจ เป็นที่ยวนตา ยวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ย้อมใจ และเป็น ที่ตั้ง แห่งความรัก

ทารกนั้น ครั้นเห็นรูปด้วยจักษุ เป็นต้นแล้วย่อมกำหนัดยินดีในรูป เป็นต้น ที่ยั่วยวนให้เกิดความรัก ย่อมขัดใจในรูป เป็นต้น ที่ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความรัก ไม่เป็นผู้ตั้งไว้ซึ่งสติ อันเป็นไปในกาย มีใจเป็น อกุศลไม่รู้ตามที่เป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งธรรม อันเป็นบาปอกุศล ทั้งหลาย

กุมารน้อยนั้น เมื่อประกอบด้วยความยินดีและความยินร้ายอยู่เช่นนี้แล้ว เสวยเฉพาะซึ่งเวทนาใดๆ เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม เขาย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนานั้นๆ

เมื่อเป็นอยู่เช่นนั้น ความเพลิน (นันทิ) ย่อมบังเกิดขึ้น

ความเพลินใด ในเวทนาทั้งหลายมีอยู่ ความเพลินอันนั้นเป็นอุปาทาน

เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัยจึงเกิดมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดมีพร้อม.
ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.

ปฐมธรรม หน้า 278

๑๐๑

เหตุแห่งการเกิด “ทุกข์”


ถูกแล้ว ถูกแล้ว อานนท์ ! ตามที่สารีบุตรเมื่อตอบปัญหาในลักษณะนั้นเช่นนั้น ชื่อว่าได้ตอบโดยชอบ

อานนท์ ! ความทุกข์นั้น เรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเกิดขึ้น(เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม)

ความทุกข์นั้นอาศัยปัจจัยอะไรเล่า ? ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยคือ ผัสสะ ผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่ากล่าวตรงตามที่เรากล่าว ไม่เป็นการกล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง และ สหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม ก็จะไม่พลอย กลายเป็นผู้ควรถูกติไปด้วย

อานนท์ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอน
เรื่องกรรมทั้ง ๔ พวกนั้น

(๑) สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่า เป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วย ตนเอง แม้ความทุกข์ ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดได้

(๒) สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่า เป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้ แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดมีได้

(๓) สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่า เป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเอง ด้วยผู้อื่น ทำให้ด้วย แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้นก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิด มีได้

(๔) ถึงแม้สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทำเอง หรือใครทำให้ ก็เกิดขึ้นได้ก็ตาม แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัยจึง เกิดมีได้อยู่นั่นเอง

อานนท์ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมทั้ง ๔ พวกนั้น... สมณพราหมณ์พวกนั้น หนาหากเว้นผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อสุขและทุกข์นั้นได้ดังนั้นหรือ  นั่นไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย...

ปฐมธรรม หน้า 280

๑๐๒

สิ้นทุกข์เพราะสิ้นกรรม


ภิกษุทั้งหลาย ! มรรคใด ปฏิปทาใดเป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งตัณหา พวกเธอจงเจริญซึ่งมรรคนั้น ปฏิปทานั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! มรรคนั้น ปฏิปทานั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
นั้นคือ โพชฌงค์เจ็ด กล่าวคือ สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

เมื่อตรัสดังนี้แล้ว ท่านพระอุทายิทูลถามว่าเจริญโพชฌงค์เจ็ดนั้น ด้วยวิธีอย่างไร ? ตรัสว่า

อุทายิ ! ภิกษุในกรณีนี้ เจริญสติสัมโพชฌงค์
... ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์... วิริยะสัมโพชฌงค์... ปีติสัมโพชฌงค์... ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์... สมาธิสัมโพชฌงค์ ... อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ชนิดที่ อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (การปล่อยการวาง)เป็นโพชฌงค์อันไพบูลย์ ถึงซึ่งคุณอันใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีความลำบากเมื่อเจริญสติสัมโพชฌงค์ (เป็นต้น) อย่างนี้อยู่ตัณหาย่อมละไป เพราะตัณหาละไป กรรมก็ละไปเพราะ กรรมละไป ทุกข์ก็ละไป

อุทายิ !
ด้วยอาการอย่างนี้แลความสิ้นกรรมย่อมมี เพราะความสิ้นตัณหาความสิ้นทุกข์ย่อมมี เพราะความสิ้นกรรม

ปฐมธรรม หน้า 282

๑๐๓
สิ้นนันทิ สิ้นราคะ


สัมมา ปัสสัง นิพพินทะติ
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
นันทิกขะยา ราคักขะโย
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
ราคักขะยา นันทิกขะโย
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
นันทิราคักขะยา จิตตัง สุวิมุตตันติ วุจจะติ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ

กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้

ปฐมธรรม หน้า 283

๑๐๔

ความสิ้นตัณหา คือ นิพพาน


“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกว่า ‘สัตว์ สัตว์’ ดังนี้ อันว่าสัตว์มีได้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า !”

ราธะ ! ความพอใจอันใด ราคะอันใด นันทิอันใด ตัณหาอันใด มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ เพราะการติดแล้วข้องแล้ว ในสิ่งนั้นๆ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า “สัตว์”ดังนี้

ราธะ ! เปรียบเหมือนพวกกุมารน้อยๆ หรือกุมารีน้อยๆ เล่นเรือนน้อยๆ ที่ทำด้วยดินอยู่ ตราบใดเขายัง มีราคะ มีฉันทะ มีความรัก มีความกระหายมีความเร่าร้อน และมีตัณหา ในเรือนน้อยที่ทำด้วยดิน เหล่านั้น ตราบนั้นพวกเด็กน้อยนั้นๆ ย่อมอาลัยเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ย่อมอยากเล่น ย่อมอยากมีเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ย่อมยึดถือเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ว่าเป็นของเรา ดังนี้

ราธะ ! แต่เมื่อใดแล พวกกุมารน้อยๆ หรือกุมารีน้อยๆ เหล่านั้น ปราศจากราคะแล้ว ปราศจากฉันทะแล้ว ปราศจากความรักแล้ว ปราศจากความเร่าร้อนแล้วปราศจากตัณหาแล้ว ในเรือนน้อยที่ทำ ด้วยดินเหล่านั้น ในกาลนั้น พวกเขาย่อมทำเรือนน้อยๆ ที่ทำด้วยดินเหล่านั้นให้กระจัดกระจายเรี่ยราย เกลื่อนกล่นไป กระทำให้จบการเล่นเสีย ด้วยมือและเท้าทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด

ราธะ ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ แม้พวกเธอทั้งหลายจงเรี่ยรายกระจายออกซึ่งรูป เวทนา สัญญาสังขาร และวิญญาณ จงขจัดเสียให้ถูกวิธี จงทำให้แหลกลาญโดยถูกวิธี จงทำให้จบการเล่นให้ถูกวิธี จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา เถิด

ราธะ !
เพราะว่า ความสิ้นไปแห่งตัณหานั้น คือ นิพพาน ดังนี้ แล

ปฐมธรรม หน้า 285

๑๐๕
ความเพลิน เป็นเหตุให้เกิดทุกข์


ความเพลินใดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ความเพลินนั้น เป็นอุปาทาน
เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะทุกขะ โทมนัสและอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้

ปฐมธรรม หน้า 286

๑๐๖
ความเป็นโสดาบัน ประเสริฐกว่า เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ


ภิกษุทั้งหลาย ! แม้พระเจ้าจักรพรรดิ ได้ครองความเป็นใหญ่ยิ่งแห่งทวีปทั้ง ๔ เบื้องหน้าจากการตาย เพราะการแตก ทำลาย แห่งกาย อาจได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เป็นสหายอยู่ร่วมกับ เหล่าเทวดาชั้น ดาวดึงส์ ถูกแวดล้อมอยู่ด้วยหมู่นาง อัปษร ในสวน นันทวัน ท้าวเธอเป็นผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ทั้งห้าอันเป็นของทิพย์อย่างนี้ก็ตาม แต่กระนั้นท้าวเธอก็ยังรอดพ้น ไปไม่ได้ จากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต และจากอบาย ทุคติ วินิบาต

ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนอริยสาวกในธรรมวินัยนี้แม้เป็นผู้ยังอัตตภาพ ให้พอเป็นไปด้วยคำข้าวที่ได้มาจาก บิณฑบาต ด้วยปลีแข้งของตนเอง พันกายด้วยการนุ่งห่มผ้าปอนๆ ไม่มีชาย หากแต่ว่าเป็นผู้ประกอบ พร้อมแล้วด้วยธรรม ๔ ประการ เธอก็ยังสามารถ รอดพ้นเสียได้จากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัย แห่งเปรต และจากอบาย ทุคติ วินิบาต

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๔ ประการนั้นเป็นไฉน ? ๔ ประการคือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบ พร้อมแล้ว ด้วยความ เลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว ในองค์พระพุทธเจ้า... ในองค์พระธรรม... ในองค์พระสงฆ์... เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วย ศีล ทั้งหลาย ชนิดเป็นที่พอใจเหล่าอริยเจ้า อันเป็นศีลที่ไม่ขาดไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย... ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! ระหว่างการได้ทวีปทั้ง ๔ กับการได้ธรรม ๔ ประการนี้นั้น การได้ทวีปทั้ง ๔ มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่สิบหก ของการ ได้ธรรม ๔ ประการนี้ เลย

ปฐมธรรม หน้า 288

๑๐๗

สัทธานุสารี


ภิกษุทั้งหลาย ! ตา.. หู.. จมูก.. ลิ้น.. กาย.. ใจเป็น สิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเป็นปกติ

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลใดมีความเชื่อ น้อมจิตไปในธรรม ๖ อย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลนี้ เราเรียกว่าเป็น สัทธานุสารี หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม(ระบบแห่งความถูกต้อง)หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ)ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำ กรรมอันกระทำแล้วจะเข้าถึง นรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือเปรตวิสัยและไม่ควรที่จะทำกาละ (ตาย)ก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

ปฐมธรรม หน้า 289

๑๐๘

ธัมมานุสารี


ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ทนต่อการเพ่งโดยประมาณอันยิ่งแห่งปัญญาของบุคคลใด ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลนี้ เราเรียกว่า ธัมมานุสารี หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระบบแห่งความถูกต้อง) หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ(ภูมิแห่งสัตบุรุษ)ล่วงพ้นบุถุชน ภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรมอันกระทำแล้วจะเข้า ถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือเปรตวิสัย และไม่ควรที่จะทำ กาละ (ตาย) ก่อน แต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล

ปฐมธรรม หน้า 291

๑๐๙

ฐานะที่เป็นไปไม่ได้
ของผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (พระโสดาบัน)


ภิกษุทั้งหลาย !ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ เหล่านี้มีอยู่

๖ ประการเหล่าไหนเล่า ? ๖ ประการ คือ
(๑) เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงปลงชีวิตมารดา
(๒) เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงปลงชีวิตบิดา
(๓) เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงปลงชีวิตพระอรหันต์
(๔) เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงคิดประทุษร้ายตถาคต แม้เพียงทำโลหิตให้ห้อ
(๕) เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงทำ􀄁สงฆ์ให้แตกกัน
(๖) เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงถือศาสดาอื่น (นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ

ปฐมธรรม หน้า 293

๑๑๐

ลำดับการปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล


ภิกษุทั้งหลาย !เราย่อมไม่กล่าวการประสบความพอใจในอรหัตตผล ด้วยการกระทำอันดับแรก เพียงอันดับเดียว

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็แต่ว่า การประสบความพอใจในอรหัตตผล ย่อมมีได้เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำโดย ลำดับเพราะการปฏิบัติโดยลำดับ

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็การประสบความพอใจในอรหัตตผล ย่อมมีได้เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ เพราะการปฏิบัติโดยลำดับนั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! บุรุษบุคคลในกรณีนี้
เป็นผู้มีศรัทธาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเข้าไปหา(สัปบุรุษ)
เมื่อเข้าไปหา ย่อม เข้าไปนั่งใกล้
เมื่อเข้าไปนั่งใกล้ ย่อม เงี่ยโสตลงสดับ
ผู้เงี่ยโสตลงสดับ ย่อม ได้ฟังธรรม
ครั้นฟังแล้ว ย่อม ทรงจำธรรมไว้
ย่อม ใคร่ครวญพิจารณาซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลายที่ตนทรงจำไว้
เมื่อเขาใคร่ครวญพิจารณา ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นอยู่
ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อการเพ่งพิสูจน์
เมื่อธรรมทนต่อการเพ่งพิสูจน์มีอยู่
ฉันทะ (ความพอใจ) ย่อมเกิด
ผู้เกิดฉันทะแล้ว ย่อมมีอุตสาหะ
ครั้นมีอุตสาหะแล้ว ย่อม ใช้ดุลยพินิจ (เพื่อหาความจริง)
ครั้นใช้ดุลยพินิจ (พบ) แล้ว ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น
ผู้มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่
ย่อม กระทำ􀄁ให้แจ้ง ซึ่งบรมสัจจ์ด้วยนามกาย ด้วย
ย่อมเห็นแจ้งแทงตลอด ซึ่งบรมสัจจ์นั้นด้วยปัญญา ด้วย

ปฐมธรรม หน้า 295

๑๑๑

อริยมรรค มีองค์ ๘


ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ อริยสัจ คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

คือ หนทางอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้เอง องค์แปดคือ
ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ)
วาจาชอบ (สัมมาวาจา)
การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ)
อาชีวะชอบ (สัมมาอาชีวะ)
ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ)
ความระลึกชอบ (สัมมาสติ)
ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุ
ให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด
นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ

ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน
นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ

ภิกษุทั้งหลาย ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการพูดเท็จ การเว้นจากการพูดยุให้แตกกัน การเว้นจากการพูดหยาบ การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ

ภิกษุทั้งหลาย ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
นี้เราเรียกว่า การงานชอบ

ภิกษุทั้งหลาย ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในกรณีนี้ ละการหาเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพ
ที่ชอบ นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม อันเป็นบาปทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้ บังเกิด ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสีย ซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่บังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมปลูก ความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภ ความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรม ทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้บังเกิด ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือนความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบแห่งกุศลธรรม ทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว
นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ

ภิกษุทั้งหลาย ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผา กิเลส มีความรู้สึก ตัวทั่วพร้อม (สัมปชัญญะ) มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนา ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึก ตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจ ในโลก ออกเสียได้ เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีความ รู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจ และความ ไม่พอใจในโลกออกเสียได้ เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความ เพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลก ออกเสียได้
นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ

ภิกษุทั้งหลาย ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง ฌานที่หนึ่ง อันมี วิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่ เพราะวิตกวิจารรำงับลง เธอเข้าถึง ฌานที่สองอันเป็นเครื่อง ผ่องใส แห่งใจ ในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่ เพราะปีติจาง หายไป เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยนามกายย่อมเข้าถึง ฌานที่สาม อันเป็นฌาน ที่พระอริย เจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัว ทั่วพร้อม” แล้วแลอยู่ เพราะละสุข และ ทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์และ ไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่
นี้เราเรียกว่าสัมมาสมาธิ


ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจ คือ หนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

ปฐมธรรม หน้า 300

๑๑๒

“ดิน น้ำ ไฟ ลม” ไม่อาจหยั่งลงได้ในที่ไหน



เกวัฏฏะ ! เรื่องเคยมีมาแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งในหมู่ภิกษุนี้เอง เกิดความสงสัยขึ้นในใจว่า “มหาภูตสี่คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เหล่านี้ ย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือในที่ไหนหนอ” ดังนี้

(ความว่าภิกษุรูปนั้นได้เข้าสมาธิอันอาจนำ ไปสู่เทวโลก ได้นำเอาปัญหา ข้อที่ตนสงสัยนั้นไปเที่ยว ถามเทวดาพวกจาตุมหาราชิกา เมื่อไม่มีใครตอบได้ ก็เลยไปถามเทวดาในชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นนั้น โยนให้ไปถามท้าวสักกะ ท้าวสุยามะ ท้าวสันตุสิตะ ท้าวสุนิมมิตะ ท้าวปรนิมมิตวสวัตตี ถามเทพพวก พรหมกายิกา กระทั่งท้าวมหาพรหมในที่สุด ท้าวมหาพรหม พยายามหลีกเลี่ยง เบี่ยงบ่ายที่จะไม่ตอบอยู่พักหนึ่ง แล้วในที่สุดได้สารภาพว่าพวกเทวดาทั้งหลาย พากันคิดว่าท้าวมหาพรหม เองเป็นผู้รู้เห็นไปทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ที่จริงไม่รู้ ในปัญหาที่ว่ามหาภูตรูปจักดับไปในที่ไหนนั้นเลย มันเป็นความผิดของ ภิกษุ นั้นเอง ที่ไม่ไปทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ในที่สุดก็ต้องย้อนกลับมาเฝ้าพระผู้มี พระภาคเจ้า)

เกวัฏฏะ ! ภิกษุนั้นได้กลับมาอภิวาทเรา นั่ง ณ ที่ควร แล้วถามเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาภูตสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เหล่านี้ ย่อมดับสนิทไม่มีเศษเหลือ ในที่ไหน?” ดังนี้

เกวัฏฏะ ! เมื่อเธอถามขึ้นอย่างนี้ เราได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า แน่ะภิกษุ ! เรื่องเก่าแก่มีอยู่ว่า พวกค้าทางทะเล ได้พานก สำหรับค้นหาฝั่งไปกับเรือค้า ด้วยเมื่อเรือหลงทิศในทะเล และแลไม่เห็นฝั่ง พวกเขาปล่อยนกสำหรับ ค้นหา ฝั่งนั้นไป นกนั้นบินไปทาง ทิศตะวันออกบ้างทิศใต้บ้าง ทิศตะวันตก บ้าง ทิศเหนือบ้าง ทิศเบื้องบนบ้างทิศน้อยๆบ้าง เมื่อมันเห็นฝั่งทางทิศใดแล้ว มันก็จะบินตรงไป ยังทิศนั้น แต่ถ้าไม่เห็น ก็จักบินกลับมาสู่เรือตามเดิม.

ภิกษุ ! เช่นเดียวกับเธอนั้นแหละ ได้เที่ยวหาคำตอบของปัญหานี้ มาจนจบทั่ว กระทั่งถึงพรหมโลกแล้ว ในที่สุดก็ยังต้อง ย้อนมาหาเราอีก

ภิกษุ ! ในปัญหาของเธอนั้น เธอไม่ควรตั้งคำถามขึ้นว่า “มหาภูตสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลมเหล่านี้ ย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือในที่ไหน ?” ดังนี้เลย

อันที่จริง เธอควรจะตั้งคำถามขึ้นอย่างนี้ว่า

ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน ?
ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงามความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน ?
นามรูปย่อม ดับสนิท ไม่มีเศษเหลือในที่ไหน ?”

ดังนี้ ต่างหาก

ภิกษุ ! ในปัญหานั้น คำตอบมีดังนี้ “สิ่ง” สิ่งหนึ่ง ซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นสิ่งที่ ไม่มี ปรากฏการณ์ ไม่มีที่สุด แต่มีทางปฏิบัติ เข้ามาถึงได้โดยรอบนั้น มีอยู่
ใน “สิ่ง” นั้นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้
ใน “สิ่ง ” นั้น แหละ ความยาว ความสั้น ความเล็กความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้
ใน “สิ่ง” นั้นแหละ นามรูป ย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ นามรูปดับสนิท ใน “สิ่ง” นี้ เพราะการดับสนิทของวิญญาณ ดังนี้”

ปฐมธรรม หน้า 303

๑๑๓
สิ่งๆ หนึ่งซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง


“สิ่ง” สิ่งหนึ่งซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง
เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ ไม่มีที่สุด
มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบ นั้นมีอยู่
ใน “สิ่ง” นั้นแหละดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้
ใน “สิ่ง” นั้นแหละความยาว ความสั้น ความเล็ก
ความใหญ่ความงาม ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้
ใน “สิ่ง” นั้นแหละนามรูป ย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ
นามรูป ดับสนิท ใน “สิ่ง” นี้
เพราะการดับสนิทของ วิญญาณ ดังนี้แล.

ปฐมธรรม หน้า 304

๑๑๔
สังขตลักษณะ


ภิกษุทั้งหลาย ! สังขตลักษณะ แห่งสังขตธรรม

๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่
๓ อย่างอย่างไรเล่า ? ๓ อย่างคือ
๑. มีการเกิดปรากฏ (อุปฺปาโท ปญฺญายติ)
๒. มีการเสื่อมปรากฏ (วโย ปญฺญายติ)
๓. เมื่อตั้งอยู่ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ
(ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ)

ภิกษุทั้งหลาย ! สามอย่างเหล่านี้แล คือ สังขตลักษณะ แห่งสังขตธรรม

ปฐมธรรม หน้า 305

๑๑๕

อสังขตลักษณะ


ภิกษุทั้งหลาย ! อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม

๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ ๓ อย่างอย่างไรเล่า ? ๓ อย่างคือ

๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ)
๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ)
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ)

ภิกษุทั้งหลาย !สามอย่างเหล่านี้แล คือ อสังขตลักษณะ ของอสังขตธรรม

ปฐมธรรม หน้า 306

๑๑๖
ลำดับการหลุดพ้นโดยละเอียด เมื่อเห็นอนัตตา



ภิกษุทั้งหลาย ! รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นนั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเราไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา  เธอทั้งหลายพึงเห็น ข้อนั้นด้วยปัญญา โดยชอบตรงตาม ที่เป็นจริง อย่างนี้ ด้วยประการดังนี้ (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณี แห่งรูป ทุกประการ)

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญาโดยชอบตรง ตามที่เป็นจริงอยู่อย่างนี้ ปุพพันตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต)ทั้งหลาย ย่อมไม่มี

เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิทั้งหลายไม่มี อปรันตานุทิฏฐิทั้งหลาย (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอนาคต) ย่อมไม่มีเมื่อ อปรันตานุ ทิฏฐิ ทั้งหลายไม่มี ความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี

เมื่อความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าไม่มี จิตย่อมจางคลายกำหนัด ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย ในวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่ (ตามสภาพของจิต) เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่จิตจึงยินดี ร่าเริงด้วยดี เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดีจิตจึงไม่หวาดสะดุ้ง

เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อมปรินิพพาน (ดับรอบ) เฉพาะตนนั่นเทียว เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

ปฐมธรรม หน้า 308

๑๑๗
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาหาร


ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าไม่มีราคะ (ความกำหนัด)ไม่มีนันทิ (ความเพลิน) ไม่มีตัณหา(ความอยาก) ในกพฬีการาหาร (อาหารคือคำข้าว)แล้วไซร้ วิญญาณ ก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ ในกพฬีการาหารนั้น

วิญญาณ ตั้งอยู่ไม่ได้เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ ในที่ใดการหยั่งลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มีในที่นั้น การหยั่งลงแห่งนามรูป ไม่มีใน ที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมไม่มี ในที่นั้น

ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ไม่มีในที่ใด การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น การบังเกิด ในภพใหม่ต่อไป ไม่มีในที่ใด ชาติชรามรณะต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น

ชาติชรามรณะ ต่อไป ไม่มีในที่ใด ภิกษุทั้งหลาย ! เราเรียก“ที่” นั้นว่าเป็น “ที่ไม่มีโศก ไม่มีธุลี ไม่มีความคับแค้น” ดังนี้...

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเรือนยอด หรือศาลาเรือนยอดที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ หรือใต้ก็ตาม เป็นเรือน มีหน้าต่าง ทางทิศ ตะวันออก ครั้นพระอาทิตย์ขึ้นมาแสงสว่างแห่งพระอาทิตย์ ส่องเข้าไป ทางหน้าต่างแล้ว จักตั้งอยู่ที่ส่วนไหน แห่งเรือนนั้น เล่า?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งพระอาทิตย์ จักปรากฏที่ฝาเรือนข้างในทางทิศตะวันตก พระเจ้าข้า !”

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าฝาเรือนทางทิศตะวันตกไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งพระอาทิตย์นั้น จักปรากฏอยู่ ณ ที่ไหน ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งพระอาทิตย์ จักปรากฏที่พื้นดิน พระเจ้าข้า !”

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าพื้นดินไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งพระอาทิตย์นั้น จักปรากฏที่ไหน ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งพระอาทิตย์ จักปรากฏในน้ำ พระเจ้าข้า !”

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าน้ำไม่มีเล่า แสงสว่างแห่ง พระอาทิตย์นั้น จักปรากฏที่ไหนอีก ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่ง พระอาทิตย์นั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏแล้ว พระเจ้าข้า !”

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้นแล  

ถ้าไม่มีราคะ (ความกำหนัด) ไม่มีนันทิ (ความเพลิน) ไม่มีตัณหา (ความอยาก)ในกพฬีการาหาร แล้วไซร้ วิญญาณก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงาม อยู่ไม่ได้ในกพฬีการาหารนั้น

วิญญาณตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ในที่ใด การหยั่งลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มีในที่นั้น การหยั่ง ลงแห่งนามรูป ไม่มีในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมไม่มี ในที่นั้น

ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ไม่มีในที่ใด การบังเกิดในภพใหม่ต่อไปย่อมไม่มี ในที่นั้น
การบังเกิด ในภพใหม่ต่อไป ไม่มีในที่ใด ชาติชรามรณะต่อไป ย่อมไม่มี ในที่นั้น ชาติชรามรณะ ต่อไป ไม่มีในที่ใด
ภิกษุทั้งหลาย ! เราเรียก “ที่” นั้นว่าเป็น“ที่ไม่มีโศก ไม่มีธุลี ไม่มีความคับแค้น” ดังนี้...

ปฐมธรรม หน้า 311

๑๑๘
หลักการพิจารณาอาหาร

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ กพฬีการาหาร (อาหารคือคำข้าว) จะพึงเห็นได้อย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนภรรยาสามี สองคนถือเอาเสบียงสำหรับเดินทางเล็กน้อย เดินไปสู่หนทางอันกันดาร สองสามีภรรยานั้น มีบุตรน้อยคนเดียวผู้น่ารัก น่าเอ็นดูอยู่คนหนึ่ง เมื่อขณะเขาทั้งสอง กำลังเดินไป ตามทางอันกันดารอยู่นั้น เสบียงสำหรับเดินทาง ที่เขามีอยู่เพียง เล็กน้อย นั้น ได้หมดสิ้นไป หนทาง อันกันดารนั้นยังเหลืออยู่ เขาทั้งสองนั้น ยังไม่เดินข้ามหนทางอันกันดารนั้นไปได้

ครั้งนั้น แล สองภรรยาสามีนั้น ได้มาคิดกันว่า“เสบียงสำหรบเดินทางของเราทั้งสอง ที่มีอยู่เพียงเล็กน้อย นี้ได้หมดสิ้นลงแล้ว หนทางอันกันดารนี้ยังเหลืออยู่ ทั้งเราก็ยังไม่เดินข้ามหนทาง อันกันดารนี้ไปได้ อย่ากระนั้นเลยเราทั้งสองคน พึงฆ่าบุตรน้อยคนเดียว ผู้น่ารักน่าเอ็นดูนี้เสียแล้ว ทำให้เป็นเนื้อเค็มและเนื้อย่างบริโภคเนื้อบุตรนี้แหละ

เดินข้ามหนทางอันกันดารที่ยังเหลืออยู่นี้กันเถิด เพราะถ้าไม่ทำเช่นนี้ พวกเราทั้งสามคนจะต้องพา กันพินาศหมดแน่” ดังนี้

ครั้งนั้นแล ภรรยาสามีทั้งสองนั้น จึงฆ่าบุตรน้อยคนเดียวผู้น่ารักน่าเอ็นดูนั้น แล้วทำให้เป็นเนื้อเค็ม และเนื้อย่าง บริโภค เนื้อบุตรนั้นเทียว เดินข้ามหนทางอันกันดารที่ยังเหลืออยู่นั้น สองภรรยาสามีนั้น บริโภคเนื้อบุตรไปพลางพร้อมกับ ค่อนอก ไปพลาง รำพันว่า “บุตรน้อยคนเดียวของเราไปไหนเสีย บุตรน้อยคนเดียวของเราไปไหนเสีย” ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ? สองภรรยาสามีนั้นจะพึงบริโภคเนื้อบุตร เป็นอาหาร เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานบ้าง เพื่อความมัวเมาบ้าง เพื่อความประดับประดาบ้าง หรือเพื่อตกแต่ง(ร่างกาย) บ้าง หรือหนอ ?

ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นกราบทูลว่า
“ข้อนั้นหาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า !”

แล้วตรัส ต่อไปว่า “ถ้าอย่างนั้นสองภรรยาสามีนั้นจะพึงบริโภคเนื้อบุตรเป็นอาหารเพียงเพื่อ (อาศัย)เดินข้ามหนทางอันกันดาร เท่านั้นใช่ไหม ?”.
“ใช่ พระเจ้าข้า !”

ภิกษุทั้งหลาย !ข้อนี้มีอุปมาฉันใด เราย่อมกล่าวว่า กพฬีการาหารอันอริยสาวกพึงเห็น (ว่ามีอุปมา เหมือนเนื้อบุตร) ฉันนั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อกพฬีการาหาร อันอริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว ราคะ (ความกำหนัด) ที่มีกามคุณทั้ง ๕ เป็นแดนเกิด ย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้น กำหนดรู้ได้แล้วด้วย เมื่อราคะที่มีกามคุณทั้ง ๕ เป็นแดนเกิด เป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้น กำหนดรู้ได้แล้ว สังโยชน์ชนิดที่อริยสาวกประกอบเข้าแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้มาสู่โลกนี้ได้อีกย่อมไม่มี

ปฐมธรรม หน้า 314

๑๑๙
หมดความพอใจ ก็สิ้นทุกข์


นะติยา อะสะติ อาคะติคะติ นะ โหติ
เมื่อความน้อมไป ไม่มี การมาและการไป ย่อมไม่มี

อาคะติคะติยา อะสะติ จุตูปะปาโต นะ โหติ
เมื่อการมาและการไป ไม่มี
การเคลื่อนและการเกิดขึ้น ย่อมไม่มี

จุตูปะปาเต อะสะติ เนวิธะ นะ หุรัง นะ อุภะยะมันตะเร
เมื่อการเคลื่อนและการเกิดขึ้น ไม่มี
อะไรๆ ก็ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น
ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง

เอเสวันโต ทุกขัสสะ
นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ละ

ปฐมธรรม หน้า 315

๑๒๐
ความรู้สึกภายในใจ เมื่อละตัณหา ความอยาก)ได้



เราเมื่อยังค้นไม่พบแสงสว่าง มัวเสาะหานายช่างปลูกเรือน (คือตัณหา ผู้ก่อสร้างเรือนคืออัตตภาพ)อยู่ได้ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ กล่าวคือความเกิดแล้ว เกิดอีกเป็นอเนกชาติ ความเกิดเป็นทุกข์ ร่ำไปทุกชาติ

แน่ะ นายช่างผู้ปลูกสร้างเรือน ! เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว เจ้าจักสร้างเรือนให้เราต่อไปอีกไม่ได้ โครงเรือน (คือกิเลสที่เหลือ เป็นเชื้อเกิดใหม่) ของเจ้าเราหักเสียยับเยินหมดแล้วยอดเรือน(คืออวิชชา) เราขยี้เสียแล้ว จิตของเรา ถึงความเป็น ธรรมชาติ ที่อารมณ์จะยุแหย่ ยั่วเย้าไม่ได้เสียแล้ว มันได้ลุถึงความหมดอยากทุกอย่าง

ลักษณะภิกษุผู้มีศีล

ปฐมธรรม หน้า 318

๑๒๑

ผู้ชี้ชวนวิงวอน



ยํ ภิกฺขเว สตฺถารา กรณียํ สาวกานํ หิเตสินา อนุกมฺปเกน อนุกมฺปํ อุปาทาย กตํ โว ตํ มยา
ภิกษุทั้งหลาย ! กิจอันใดที่ศาสดาผู้เอ็นดูแสวงหาประโยชน์ เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำ แก่สาวกทั้งหลาย กิจอันนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย

เอตานิ ภิกฺขเว รุกฺขมูลานิ เอตานิ สุญฺญาคารานิ
ภิกษุทั้งหลาย ! นั่น โคนไม้ทั้งหลาย, นั่นเรือนว่างทั้งหลาย

ฌายถ ภิกฺขเว มา ปมาทตฺถ
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลายจงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาท

มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ
พวกเธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.

อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนี
นี่แล เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนพวกเธอทั้งหลายของเรา

ปฐมธรรม หน้า 319

๑๒๒
ลักษณะของภิกษุผู้มีศีล
(นัยที่ ๑)


มหาราชะ ! ภิกษุเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว เป็นอย่างไรเล่า ?
มหาราชะ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูล ในบรรดาสัตว์ทั้งหลายอยู่ แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง

เป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทานถือเอาแต่ของที่เขาให้แล้ว หวังอยู่แต่ของที่เขาให้ เป็นคนสะอาด ไม่เป็น ขโมยอยู่ แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง

เป็นผู้ละกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์โดยปกติ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากการเสพเมถุน อันเป็นของ ชาวบ้าน แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง

เป็นผู้ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่ความจริง รักษาความสัตย์ มั่นคงในคำพูด ควรเชื่อถือได้ไม่แกล้งกล่าว ให้ผิด ต่อโลก แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง

เป็นผู้ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียดได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่เก็บ ไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อให้ฝ้ายนี้แตกร้าวกัน หรือได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่นำมาบอกแก่ฝ่ายนี้เพื่อให้ฝ่ายโน้นแตกร้าวกัน แต่จะสมานคนที่แตกกันแล้ว ให้กลับพร้อมเพรียงกัน อุดหนุนคนที่พร้อมเพรียงกันอยู่ ให้พร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น เป็นคนชอบในการพร้อมเพรียงเป็นคนยินดี ในการพร้อมเพรียง เป็นคนพอใจในการพร้อมเพรียง กล่าวแต่วาจาที่ทำให้พร้อมเพรียงกัน แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง

เป็นผู้ละการกล่าวคำหยาบเสีย เว้นขาดจากการกล่าวคำหยาบ กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสตให้ เกิดความรัก เป็นคำฟูใจ เป็นคำสุภาพที่ชาวเมืองเขาพูดกัน เป็นที่ใคร่ที่พอใจของมหาชน แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง

เป็นผู้ละคำพูดที่โปรยประโยชน์ทิ้งเสีย เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ กล่าวแต่ในเวลาอันสมควร กล่าวแต่คำจริง เป็นประโยชน์ เป็นธรรม เป็นวินัย กล่าวแต่วาจามีที่ตั้ง มีหลักฐานที่อ้างอิง มีเวลาจบ ประกอบด้วยประโยชน์สมควร แก่เวลา แม้นี้ ก็เป็นศีล ของเธอประการหนึ่ง

ปฐมธรรม หน้า 322

๑๒๓
ลักษณะของภิกษุผู้มีศีล (นัยที่ ๒)



มหาราชะ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ฉันอาหารวันหนึ่งเพียงหนเดียว เว้นจากการฉันในราตรีและวิกาล
เป็นผู้เว้นขาดจากการฟ้อนรำ การขับร้อง การประโคมและการดูการเล่น ชนิดเป็นข้าศึกแก่กุศล
เป็นผู้เว้นขาดจากการประดับประดา คือทัดทรงตกแต่งด้วยมาลา และของหอมและเครื่องลูบทา
เป็นผู้เว้นขาดจากการนอนบนที่นอนสูงใหญ่
เป็นผู้เว้นขาดจากการรับเงินและทอง
เป็นผู้เว้นขาดจากการรับข้าวเปลือก
เป็นผู้เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
เป็นผู้เว้นขาดจากการรับหญิงและเด็กหญิง
เป็นผู้เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย
เป็นผู้เว้นขาดจากการรับแพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ทั้งผู้และเมีย
เป็นผู้เว้นขาดจากการรับที่นาและที่สวน
เป็นผู้เว้นขาดจากการรับใช้เป็นทูตไปในที่ต่างๆ
เป็นผู้เว้นขาดจากการซื้อและการขาย
เป็นผู้เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การลวงด้วยของปลอม และการฉ้อด้วยเครื่องนับ
เป็นผู้เว้นขาดจากการโกงด้วยการนับสินบน และล่อลวง
เป็นผู้เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจำจอง การซุ่มทำร้าย การปล้นและการกรรโชก
แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง

ปฐมธรรม หน้า 324

๑๒๔

ลักษณะของภิกษุผู้มีศีล (นัยที่ ๓)


อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวกฉันโภชนะ ที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังทำพีชคาม และ ภูตคามให้กำเริบ คืออะไรบ้าง ? คือพืชที่เกิดแต่ราก พืชที่เกิดแต่ต้น พืชที่เกิดแต่ ผล พืชที่เกิดแต่ยอด และพืชที่เกิด แต่เมล็ด เป็นที่ห้า ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เธอเว้นขาดจากการทำพีชคาม และภูตคามเห็นปานนั้นให้กำเริบแล้ว แม้นี้ ก็เป็นศีลของ เธอประการหนึ่ง

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์ บางพวกฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังเป็นผู้ทำการบริโภค สะสมอยู่เนืองๆ คืออะไรบ้าง ? คือสะสมข้าวบ้าง สะสมน้ำดื่มบ้าง สะสมผ้าบ้าง สะสมยานพาหนะบ้าง สะสม เครื่องนอนบ้าง สะสมของหอมบ้าง สะสมอามิสบ้าง ส่วนภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เธอเว้นขาดจากการบริโภคสะสมเห็นปานนั้นเสียแล้ว แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการ หนึ่ง

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวกฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังเป็นผู้ดู การละเล่น กันอยู่เนืองๆ คืออะไรบ้าง ? คือดูฟ้อนฟังขับ ฟังประโคม ดูไม้ลอย ฟังนิยาย ฟังเพลงปรบมือฟังตีฆ้อง ฟังตีระนาด ดูหุ่นยนต์ ฟังเพลงขอทาน ฟังแคนดูเล่นหน้าศพ ดูชนช้าง แข่งม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะชนแกะ ชนไก่ ชนนกกระทา ดูรำไม้ รำมือ ชกมวย ดูเขารบกัน ดูเขาตรวจพล ดูเขาตั้งกระบวนทัพ ดูกองทัพที่จัดไว้ ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอเว้นขาดจากการดูการ เล่นเห็นปานนั้นเสียแล้ว แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวกฉันโภชนะ ที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังสำเร็จการเป็นอยู่ ด้วยการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้อยู่ คืออะไรบ้าง ? คือทายลักษณะในร่างกายบ้าง ทายนิมิต ลางดีลางร้ายบ้าง ทายอุปปาตะ คือของตกบ้างทำนายฝัน ทายชะตา ทายผ้าหนูกัด ทำพิธีโหมเพลิง ทำพิธีเบิกแว่น เวียนเทียน ทำพิธีซัดโปรยแกลบ ทำพิธีซัดโปรยรำ ทำพิธีซัดโปรยข้าวสาร ทำพิธีจองเปรียง ทำพิธีจุดไฟบูชา ทำพิธีเสกเป่า ทำพิธีพลีด้วยโลหิตบ้าง เป็นหมอดูอวัยวะร่างกาย หมอดูภูมิที่ตั้งบ้านเรือน ดูลักษณะไร่นา เป็นหมอปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอทำยันต์กันบ้านเรือนหมองู หมอดับพิษ หมอแมลงป่อง หมอหนูกัด หมอทายเสียงนก เสียงกา หมอทายอายุ หมอกันลูกศร หมอดูรอยสัตว์ ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอเว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำเดรัจฉานวิชา เห็นปานนั้นเสียแล้ว แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวกฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังสำเร็จการเป็น อยู่ ด้วยการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้อยู่ คืออะไรบ้าง ? คือทำนายจันทรคราส สุริยคราสนัก ษัตรคราส ทำนายดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวพระเคราะห์ว่า จักเดินในทางบ้าง นอกทางบ้าง, ทำนายว่า จักมีอุกกาบาต ฮูมเพลิง แผ่นดินไหว ฟ้าร้องบ้าง ทำนายการขึ้น การตกการหมอง การแผ้วของดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวจะมีผล เป็นอย่างนั้นๆ ดังนี้บ้าง ส่วนภิกษุในศาสนานี้ เธอเว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำเดรัจฉานวิชา เห็นปานนั้นเสีย แล้ว แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวกฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังสำเร็จการ เป็นอยู่ ด้วยการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้อยู่ คืออะไรบ้าง ? คือ ทำนายว่าจักมีฝนดีบ้างจักมี ฝนแล้งบ้าง อาหารหาง่าย อาหารหายาก จักมีความสบาย จักมีความทุกข์ จักมีโรค จักไม่มีโรคบ้าง ทำนายการนับ คะแนน คิดเลข ประมวล แต่งกาพย์กลอน สอนตำราว่า ด้วยทางโลก ดังนี้บ้าง. ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เธอเว้นขาด จากการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำเดรัจฉาน วิชาเห็นปานนั้นเสียแล้ว. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวกฉันโภชนะ ที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังสำเร็จ การเป็น อยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้อยู่ คืออะไรบ้าง ? คือ ดูฤกษ์อาวาหะ ดูฤกษ์วิวาหะ ดูฤกษ์ ทำการผูกมิตร ดูฤกษ์ทำการแตกร้าว ดูฤกษ์ทำการเก็บทรัพย์ ดูฤกษ์ทำการจ่ายทรัพย์ ดูโชคดีโชคร้ายบ้าง ให้ยาบำรุง ครรภ์บ้าง ร่ายมนต์ผูกยึด ปิดอุดบ้าง ร่ายมนต์สลัด ร่ายมนต์กั้นเสียง เป็นหมอเชิญผีถามบ้างเชิญเจ้า เข้าหญิงถามบ้าง ถามเทวดาบ้าง ทำพิธีบวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงมหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟร่ายมนต์เรียกขวัญให้บ้าง ส่วนภิกษุใน ธรรมวินัยนี้เธอเว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำเดรัจฉานวิชาเห็นปานนั้นเสียแล้ว.แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวกฉันโภชนะ ที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังสำเร็จการ เป็นอยู่ ด้วยการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้อยู่ คืออะไรบ้าง ? คือ บนขอลาภผลต่อเทวดาทำการ บวงสรวง แก้บน สอนมนต์กันผีกันบ้านเรือนทำกะเทยให้เป็นชาย ทำชายให้เป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือนทำการบวงสรวง ในที่ปลูกเรือน พ่นน้ำมนต์ บูชาเพลิงให้บ้าง ประกอบยาสำรอกให้บ้าง ประกอบยาประจุ ประกอบยาถ่ายโทษข้างบน ประกอบยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมัน หยอดหู ทำยาหยอดตา ประกอบยานัตถุ์ ประกอบยาทำให้กัดประกอบยาทำให้สมาน เป็นหมอป้ายยาตา เป็นหมอผ่าบาดแผล เป็นหมอกุมาร หมอพอกยาแก้ยาให้บ้าง ส่วนภิกษุในธรรม วินัยนี้ เธอเว้นขาด จากการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำเดรัจฉานวิชา เห็นปานนั้นเสียแล้ว แม้นี้ ก็เป็นศีล ของเธอประการหนึ่ง


ท้ายเล่ม ปฐมธรรม ..........................................


ขอนอบน้อมแด่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า(สาวกตถาคต) คณะงาน ธัมมะวัดนาป่าพง(กลุ่มอาสาสมัครพุทธวจน-หมวดธรรม) มูลนิธิพุทธโฆษณ์ มูลนิธิแห่งมหาชน ชาวพุทธ ผู้ซึ่งชัดเจน และมั่นคงใน พุทธวจน

เริ่มจากชาวพุทธกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง ได้มีโอกาสมาฟังธรรมบรรยายจากท่าน พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล ที่เน้นการนาพุทธวจน (ธรรมวินัยจากพุทธโอษฐ์ที่พระพุทธองค์ทรงยืนยันว่า ทรงตรัสไว้ดีแล้ว บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ทั้งเนื้อ ความและพยัญชนะ) มาใช้ในการถ่ายทอดบอกสอน ซึ่งเป็น รูปแบบ การแสดงธรรมที่ตรงตามพุทธบัญญัติ ตามที่ ทรงรับสั่งแก่พระอรหันต์ ๖๐ รูปแรกที่ป่าอิสิปตน มฤคทายวันในการประกาศพระสัทธรรม และเป็นลักษณะเฉพาะที่ ภิกษุในครั้งพุทธกาล ใช้เป็นมาตรฐานเดียว

หลักพุทธวจนนี้ ได้เข้ามาตอบคำถามต่อความลังเลสงสัย ได้เข้ามาสร้างความชัดเจน ต่อความพร่าเลือน สับสน ในข้อธรรมต่างๆ ที่มีอยู่ในสังคมชาวพุทธซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นผลจากสาเหตุเดียวคือ การไม่ใช้คำของพระพุทธเจ้า เป็นตัวตั้งต้นในการศึกษาเล่าเรียน

ด้วยศรัทธาอย่างไม่หวั่นไหวต่อองค์สัมมาสัมพุทธะ ในฐานะพระศาสดาท่านพระอาจารย์คึกฤทธิ์ ได้ประกาศอย่าง เป็นทางการว่า “อาตมาไม่มีคำสอนของตัวเอง”และใช้เวลาที่มีอยู่ ไปกับการรับ สนองพุทธประสงค์ ด้วยการโฆษณา พุทธวจนเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม และความประสาน เป็นหนึ่งเดียวของชาวพุทธเมื่อกลับมาใช้หลักพุทธวจน เหมือนที่เคยเป็นในครั้งพุทธกาล

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ความชัดเจนสอดคล้องลงตัว ในความรู้ความเข้าใจ ไม่ว่าในแง่ของหลักธรรมตลอด จนมรรควิธีที่ตรง และ สามารถนาไปใช้ปฏิบัติให้เกิดผล รู้เห็นประจักษ์ได้จริงด้วยตนเองทันที

ด้วยเหตุนี้ ชาวพุทธที่เห็นคุณค่าในคาของพระพุทธเจ้า จึงขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆเกิดเป็น “กระแสพุทธวจน” ซึ่งเป็น พลังเงียบที่กาลังจะกลายเป็นคลื่นลูกใหม่ ในการกลับไปใช้ระบบการ เรียนรู้ พระสัทธรรม เหมือนดังครั้ง พุทธกาล ด้วยการขยายตัวของกระแส พุทธวจน นี้

สื่อธรรมที่เป็น พุทธวจน ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ หรือซีดี ซึ่งแจกฟรีแก่ญาติโยม เริ่มมีไม่พอเพียง ในการแจก ทั้งนี้เพราะ จำนวนของผู้ที่สนใจเห็นความสาคัญของ พุทธวจน ได้ขยายตัวมากขึ้น อย่างรวดเร็ว ประกอบกับว่าท่าน พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เคร่งครัดในข้อวัตรปฏิบัติ ที่พระศาสดาบัญญัติไว้ อันเป็นธรรมวินัยที่ออกจาก พระโอษฐ์ของ ตถาคตโดยตรง การเผยแผ่ พุทธวจน ที่ผ่านมาจึงเป็นไปในลักษณะสันโดษตามมีตามได้ เมื่อมีโยมมาปวารณาเป็นเจ้าภาพ ในการจัดพิมพ์ ได้มาจำนวนเท่าไหร่ ก็ทยอยแจกไปตามที่มีเท่านั้น เมื่อมีมา ก็แจกไป เมื่อหมด ก็คือหมด เนื่องจากว่า หน้าที่ในการดารงพระสัทธรรมให้ตั้งมั่นสืบไป ไม่ได้ผูกจำกัดอยู่แต่เพียง พุทธสาวก ในฐานะของสงฆ์ เท่านั้น

ฆราวาสกลุ่มหนึ่งซึ่งเห็นความสำคัญ ของพุทธวจน จึงรวมตัวกันเข้ามาช่วยขยายผลในสิ่งที่ ท่านพระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล ทาอยู่แล้ว นั่นคือ การนำพุทธวจน มาเผยแพร่โฆษณา โดยพิจารณาตัดสินใจ จดทะเบียน จัดตั้งเป็นมูลนิธิอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้การดำเนินการ ต่างๆ ทั้งหมดอยู่ในรูปแบบที่โปร่งใสเปิดเผย และเปิดกว้างต่อสาธารณชนชาวพุทธทั่วไป

สาหรับผู้ที่เห็นความสาคัญของ พุทธวจน และมีความประสงค์ที่จะดารงพระสัทธรรมให้ตั้งมั่น ด้วยวิธีของพระพุทธเจ้า สามารถสนับสนุนการดาเนินการตรงนี้ได้ด้วยวิธีง่ายๆ นั่นคือ เข้ามาใส่ใจศึกษาพุทธวจน และนำไปใช้ปฏิบัติด้วย ตนเอง เมื่อรู้ประจักษ์ เห็นได้ด้วยตนแล้ว ว่ามรรควิธีที่ได้จากการทาความเข้าใจ โดยใช้คำของพระพุทธเจ้าเป็นตัว ตั้งต้นนั้น นำไปสู่ความเห็นที่ถูกต้อง ในหลักธรรมอันสอดคล้องเป็นเหตุเป็นผล และเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียว กระทั่งได้ผลตามจริงทาให้เกิดมีจิตศรัทธาในการช่วยเผยแพร่ขยายสื่อพุทธวจน เพียงเท่านี้

คุณก็คือหนึ่งหน่วยในขบวน “พุทธโฆษณ์” แล้วนี่คือเจตนารมณ์ของ มูลนิธิพุทธโฆษณ์ นั่นคือเป็นมูลนิธิแห่งมหาชน ชาวพุทธ ซึ่งชัดเจน และมั่นคง ในพุทธวจนผู้ที่สนใจรับสื่อธรรม ที่เป็นพุทธวจน เพื่อไปใช้ศึกษาส่วนตัวหรือนำไปแจก เป็นธรรมทาน แก่พ่อแม่พี่น้อง ญาติ หรือเพื่อนสามารถมารับได้ฟรี ที่วัดนาป่าพงหรือตามที่ พระอาจารย์คึกฤทธิ์ ได้รับนิมนต์ไปแสดงธรรมนอกสถานที่

สาหรับรายละเอียดกิจธรรมต่างๆ ภายใต้เครือข่ายพุทธวจนโดยวัดนาป่าพง ค้นหาข้อมูลได้จาก www.buddhakos.org หรือ www.watnapp.com

หากมีความจานงที่จะรับไปแจกเป็นธรรมทาน ในจานวนหลายสิบชุด ขอความกรุณาแจ้งความจานงได้ที่ มูลนิธิพุทธโฆษณ์ ประสานงานและเผยแผ่ : เลขที่ ๒๙/๓ หมู่ที่ ๗ ถนนเลียบคลอง ๑๐ ฝั่งตะวันออก ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ๑๒๑๕๐โทรศัพท์ ๐๘ ๒๒๒๒ ๕๗๙๐-๙๔, ๐๘ ๕๐๕๘ ๖๘๘๘, ๐๘ ๑๕๑๓ ๑๖๑๑