พระสูตรสั้น ชุด3
41
ผู้ทำสมคำปฏิญาณว่า “สมณะ”
-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๙๖/๔๕๙.
ภิกษุทั้งหลาย มหาชนเขารู้จักเธอทั้งหลายว่า “สมณะ สมณะ” ดังนี้. ถึงเธอทั้งหลายเล่า เมื่อถูก เขาถามว่า ท่านทั้งหลาย เป็นอะไรพวกเธอทั้งหลาย ก็ปฏิญาณตัวเองว่า “เราเป็นสมณะ”ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลาย มีชื่อว่า สมณะ และปฏิญาณตัวเองว่าเป็นสมณะ อยู่อย่างนี้แล้ว พวกเธอทั้งหลาย จะต้องสำเหนียกใจว่า “ธรรมเหล่าใด อันจะทำเราให้เป็นสมณะและเป็นพราหมณ์ (คือเป็นอรหันต์ ผู้ลอยบุญบาปเสียแล้ว) เราจะประพฤติถือเอาด้วยดี ซึ่งธรรมเหล่านั้น ด้วยอาการ ปฏิบัติของเราอย่างนี้ สมัญญาว่าสมณะของพวกเราก็จักเป็นจริง และคำปฏิญาณว่าสมณะของ พวกเรา ก็จักสมจริง อนึ่งเล่า เราบริโภคใช้สอย จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัย เภสัชบริกขาร ของทายกเหล่าใด.
การบำเพ็ญทานของทายกเหล่านั้น ก็จักมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ และ การบรรพชา ของเราเอง ก็จักไม่เป็นหมันเปล่า แต่จักมีผลมีกำไรแก่เราโดยแท้” ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้ แล.
42
พรหมสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ เทวทูตวรรคที่ ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีพรหม
สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีบุรพาจารย์
สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีอาหุไนยบุคคล
(อาหุไนยบุคคล หมายถึงผู้สมควรได้รับสิ่งของ สำหรับบูชาซึ่งเป็นสิ่งของที่ดี ประณีตบรรจง)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คำว่าพรหมนี้ เป็นชื่อของมารดา และบิดา
คำว่าบุรพาจารย์นี้ เป็นชื่อของมารดา และบิดา
คำว่าอาหุไนยบุคคลนี้ เป็นชื่อของมารดา และบิดา
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยงแสดงโลกนี้แก่บุตรฯ
มารดาบิดา ผู้อนุเคราะห์ บุตรท่าน เรียกว่าพรหมว่าบุรพาจารย์และ ว่าอาหุไนยบุคคล
เพราะฉะนั้นบัณฑิตพึงนมัสการ และสักการะมารดาบิดาด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน การอบกลิ่น การให้ อาบน้ำ และการล้างเท้าทั้งสอง เพราะการปรนนิบัติในมารดาบิดา นั้นแล บัณฑิตย่อมสรรเสริญเขา ในโลกนี้เองเขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ฯ
..................................................................................................................................................
43
สามัญญผลในพุทธศาสนา เทียบกันไม่ได้ กับในลัทธิอื่น
นิทาน. สํ. ๑๖/๑๖๘/๓๓๑.
ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษพึงโยนกรวดหิน มีประมาณเท่าเม็ดถั่วเขียวเจ็ดเม็ด เข้าไปที่ เทือก เขาหลวงชื่อสิเนรุ.
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลายจะพึงสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร กรวดหินมีประมาณเท่า เม็ดถั่วเขียวเจ็ดเม็ด ที่บุรุษโยนเข้าไป (ที่เทือกเขาหลวงชื่อสิเนรุ)เป็นสิ่งที่มากกว่า หรือว่าเทือกเขา หลวงชื่อสิเนรุเป็นสิ่งที่มากกว่า ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เทือกเขาหลวงชื่อสิเนรุนั้นแหละ เป็นสิ่งที่มากกว่า. กรวดหิน มีประมาณ เท่าเม็ดถั่วเขียวเจ็ดเม็ด ที่บุรุษโยนเข้าไป (ที่เทือกเขาหลวงชื่อสิเนรุ)
มีประมาณน้อย. กรวดหินนี้
เมื่อนำ เข้าไปเทียบกับเทือกเขาหลวง ชื่อสิเนรุย่อมไม่เข้าถึง ส่วนหนึ่งในร้อย ส่วนหนึ่งในพัน ส่วนหนึ่งในแสน”
ภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น : การบรรลุคุณวิเศษ แห่งสมณพราหมณ์ และ ปริพาชก ผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่น เมื่อนำเข้าไปเทียบกับ การบรรลุคุณวิเศษของอริยสาวก ซึ่งเป็น บุคคลผู้ ถึงพร้อมด้วย(สัมมา)ทิฏฐิ ย่อมไม่เข้าถึง ส่วนหนึ่งในร้อย ส่วนหนึ่งในพัน ส่วนหนึ่ง ในแสน.
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย(สัมมา) ทิฏฐิเป็นผู้มีการบรรลุอันใหญ่หลวงอย่างนี้ เป็นผู้มี ความรู้ยิ่งอันใหญ่หลวงอย่างนี้ ดังนี้แล.
( สรุปย่อ:ความรู้ของสมณะพราหมณ์เหล่าอื่น เทียบไม่ได้กับความเป็นอริยะในพุทธศาสนา)
....................................................................................................................................................................
44
อาหุเนยยสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓
[๒๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของ ต้อนรับ เป็นผู้ ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น ยิ่งกว่า
๙ จำพวกเป็นไฉน คือ
พระอรหันต์ ๑
ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ ๑
พระอนาคามี ๑
ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ๑
พระสกทาคามี ๑
ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ๑
พระโสดาบัน ๑
ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๑
โคตรภูบุคคล ๑
(โคตรภูบุคคล คือ ผู้กำลังก้าวล่วงพ้นความเป็นปุถุชน และกำลังเข้าสู่ความเป็น อริยะบุคคล)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกเหล่านี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของ โลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
จบสูตรที่ ๑๐
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
....................................................................................................................................................................
45
อาหุเนยยสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔
[๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑๐ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรของคำนับเป็นผู้ควรของ ต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี
เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น ยิ่งกว่า
๑๐ จำพวกเป็นไฉน คือ
1 พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
2 พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
3 ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต * (ผู้หลุดพ้นโดยส่วนทั้งสอง)
4 ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต * (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา)
5 ท่านผู้เป็นกายสักขี *
6 ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ
7 ท่านผู้เป็นสัทธาวิมุต
8 ท่านผู้เป็นธัมมานุสารี
9 ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี
10 ท่านผู้เป็นโคตรภู *
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ
เป็นนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ
จบสูตรที่ ๖
1 ผู้อุภโตภาควิมุตต์ "
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็น อุภโตภาควิมุตต์ (ผู้หลุดพ้นโดยส่วนทั้งสอง) เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ บุคคลบางคน ถูกต้องวิโมกข์(วิมุตติ) ทั้งหลายอันไม่เกี่ยวกับรูป เพราะ ก้าวล่วงรูปเสียได้ อันเป็นวิโมกข์ที่สงบรำงับ ด้วยนาม-กาย แล้วแลอยู่ (นี้อย่างหนึ่ง)
และ อาสวะทั้งหลาย ของเขานั้น สิ้นไปรอบแล้ว เพราะเห็นแจ้งด้วยปัญญา (นี้อีกอย่างหนึ่ง)
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่าบุคคลผู้เป็น อุภโตภาควิมุตต์
ภิกษุทั้งหลาย สำหรับภิกษุนี้ เราไม่กล่าวว่า ยังมีอะไร ๆ เหลืออยู่ ที่เธอต้องทำด้วย ความไม่ประมาท ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? เพราะเหตุว่า กิจที่ต้องทำด้วยความไม่ประมาท เธอทำเสร็จแล้ว และเธอเป็นผู้ไม่อาจที่จะเป็นผู้ประมาทได้อีกต่อไป
2 ผู้ปัญญาวิมุตต์
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุตต์ (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา) เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ บุคคลบางคน วิโมกข์เหล่าใดอันไม่เกี่ยวกับรูป เพราะก้าวล่วงรูป เสียได้ อันเป็นวิโมกข์ที่สงบรำงับ มีอยู่, เขาหาได้ถูกต้องวิโมกข์เหล่านั้น ด้วยนามกาย แล้วแลอยู่ไม่ แต่ว่าอาสวะทั้งหลายของเขานั้น สิ้นไปรอบแล้ว เพราะเห็นแจ้งด้วยปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุตต์
ภิกษุทั้งหลาย สำหรับภิกษุแม้นี้ เราก็ไม่กล่าวว่า ยังมีอะไร ๆ เหลืออยู่ ที่เธอต้องทำด้วย ความไม่ประมาท ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? เพราะเหตุว่า กิจที่ต้องทำด้วยความไม่ประมาท เธอทำเสร็จแล้ว และเธอเป็นผู้ไม่อาจที่จะเป็นผู้ประมาทได้อีกต่อไป
3 กายสักขี
บุคคลชื่อว่า กายสักขีเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วสำเร็จ อิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะบางอย่าง ของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า กายสักขี
ก็กายสักขีบุคคลเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกาย อยู่ และ อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา บุคคลนี้ เรากล่าวว่า กายสักขีบุคคล
กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทย่อมมีแก่ภิกษุนี้ เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาท ของภิกษุ เช่นนี้ว่า ท่านผู้นี้ เมื่อเสพเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ ให้เสมออยู่ พึงทำซึ่งที่สุด พรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิต โดยชอบต้องการ ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ได้ในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้
10 โคตรภู
ปัญญาที่อยู่ในลำดับอริยมรรค ไม่เคร่งครัดในศาสนา มีขนบธรรมเนียมห่างจากธรรมวินัย
....................................................................................................................................................................
46
พระตถาคตเกิดขึ้นนี้ แสดงธรรมเพื่อ ความรำงับ ดับ รู้.
ภิกษุ ท. ! ตถาคต เกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้ชอบ ด้วยตนเอง สมบูรณ์ ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคน ควรฝึก ไม่มีใคร ยิ่งกว่า เป็นครูของ เทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนก ธรรมออกสั่งสอนสัตว์.
ธรรมที่ตถาคตแสดง นั้น เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความสงบ รำงับ เป็นธรรมที่เป็นไป เพื่อความดับเย็นสนิท เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความรู้ครบถ้วน เป็นธรรมที่ประกาศไว้ โดยพระสุคต.
....................................................................................................................................................................
47
ผู้เชื่อฟังพระตถาคต จะได้รับประโยชน์สุขสิ้นกาลนาน
ภิกษุ ท. ! เราแล เป็นผู้ฉลาดในเรื่อง โลกนี้ ฉลาดในเรื่อง โลกอื่นเป็นผู้ฉลาดต่อ วัฎฎะ อันเป็นที่อยู่ของมาร ฉลาดต่อวิวัฎฎะอันไม่เป็นที่อยู่ของมาร เป็นผู้ฉลาดต่อ วัฎฎะอันเป็นที่อยู่ ของมฤตยู ฉลาดต่อวิวัฎฎะอันไม่เป็นทีอยู่ของมฤตยู.
ชนเหล่าใดถือว่าเรื่องนี้ควรฟังควรเชื่อ ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้นสิ้นกาลนาน (ครั้นพระผู้มีพระภาคได้ตรัสคํานี้แล้ว พระสุคตได้ตรัสคําอื่น อีกดังนี้ว่า)
ทั้งโลกนี้แลโลกอื่น ตถาคตผู้ทราบดีอยู่ ได้ประกาศไว้ ชัดแจ้งแล้ว. ทั้งที่ที่มาร ไปไม่ถึง และที่ที่มฤตยู ไปไม่ถึงตถาคตผู้รู้ชัดเข้าใจชัด ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้ว เพราะความรู้โลกทั้งปวง.
ประตูนครแห่งความไม่ตาย ตถาคตเปิดโล่งไว้แล้ว เพื่อสัตว์ทั้งหลาย เข้าถึงถิ่น อันเกษม กระแสแห่งมารผู้มีบาป ตถาคตปิดกั้นเสียแล้ว กำจัดเสียแล้ว ทำให้หมดพิษสงแล้ว
....................................................................................................................................................................
48
การสนทนากับโทณพราหมณ์
"ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นเทวดาหรือ ?"
พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นเทวดาดอก.
"ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นคนธรรพ์หรือ ?"
พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นคนธรรพ์ดอก.
"ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นยักษ์หรือ ?"
พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นยักษ์ดอก.
"ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นมนุษย์หรือ ?"
พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นมนุษย์ดอก.
"ท่านผู้เจริญของเรา ! เราถามอย่างไร ๆ ท่านก็ตอบว่ามิได้เป็นอย่างนั้นๆ ถ้าเช่นนั้นท่านเป็นอะไร เล่า?"
พราหมณ์เอย ! อาสวะเหล่าใดที่จะทำให้เราเป็นเทวดา เพราะยังละมันไม่ได้ อาสวะ เหล่านั้น เราละได้ขาด ถอนขึ้นทั้งรากแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอด ด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปแล้ว
พราหมณ์เอย ! อาสวะเหล่าใดที่จะทำให้ เราเป็น คนธรรพ์ เป็น ยักษ์ เป็น มนุษย์เพราะยัง ละมันไม่ได้, อาสวะเหล่านั้น เราละได้ขาด ถอนขึ้นทั้งรากแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปแล้ว.
พราหมณ์ ! เปรียบเหมือน ดอกบัวเขียง บัวหลวง หรือบัวขาว มันเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่ขึ้นพ้นน้ำตั้งอยู่ น้ำไม่เปียกติดมันได้ ฉันใดก็ฉันนั้นนะพราหมณ์ ! เรานี้เกิดในโลก เจริญ ในโลกก็จริง แต่เราครอบงำโลกเสียได้แล้วและอยู่ในโลก โลกไม่ฉาบทาแปดเปื้อนเราได้.
พราหมณ์ ! ท่านจงจำเราไว้ว่า เป็น "พุทธะ" ดังนี้เถิด.
....................................................................................................................................................................
49
พุทธประวัติเรื่องย่อ
1) พระองค์เกิดใน “สากยะตระกูล” นครของเราชื่อ กบิลพัสดุ์
2) พระองค์เคยตั้ง ความเพียรไว้ได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณอันสูงสุด เป็นพระสัมมา สัมพุทธเจ้า
3) บิดาเป็นราชาชื่อ สุทโธทนะ มารดาผู้ให้กําเนิดเราชื่อ มายาเทวี (สิริมหามายา ) เราอยู่ ครองเรือน ๒๙ ปี มี ปราสาทสูงสุด ๓ หลังชื่อ สุจันทะ โกกนุทะ และโกญจะ มีหญิงประดับดีแล้ว สี่หมื่นนาง ชายาชื่อ ยโสธรา ลูกเราชื่อ ราหุล
4) สมัยยังเป็นโพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อมดำรงอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิต
5) โพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม จุติจากหมู่เทพชั้นดุสิต ก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดา
6) เมื่อก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดา แผ่นดินย่อมหวั่นไหว ย่อมสั่นสะเทือน
7) เมื่อกำลังก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดา เทพบุตรทั้งหลาย ย่อมทำการอารักขาในทิศ ทั้งสี่ แก่โพธิสัตว์ โดยประสงค์ว่ามนุษย์ หรืออมนุษย์หรือใครๆก็ตาม อย่าได้เบียดเบียน โพธิสัตว์ หรือมารดาแห่งโพธิสัตว์เลย
8) โพธิสัตว์ก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดา ในกาลนั้น มารดาแห่งโพธิสัตว์ ย่อมเป็นผู้มีศีล อยู่โดย ปกติ เป็นผู้เว้นจากปาณา- อทินนา- กาเม- มุสา- สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งของ ความประมาท
9) มารดาแห่งโพธิสัตว์ ไม่มีความคิดอันเจือด้วย กามคุณในบุรุษทั้งหลาย มารดา แห่งโพธิสัตว์ ย่อมเป็นผู้ที่บุรุษใดไม่คิดจะล่วงเกินด้วยจิตอันกำหนัด
10) มารดาแห่งโพธิสัตว์ ย่อมไม่มีอาพาธไรๆ มีความสุข ไม่อ่อนเพลีย
11) มารดาแห่งโพธิสัตว์ มีความสบายไม่อ่อนเพลีย แลเห็นโพธิสัตว์ผู้นั่งอยู่ในครรภ์
มีอวัยวะ น้อยใหญ่ สมบูรณ์ มีอินทรีย์ไม่ทราม
12) มารดาแห่งโพธิสัตว์ อุ้มครรภ์ไว้สิบเดือนเต็มแล้วจึงคลอด มารดาแห่งโพธิสัตว์ ยืนคลอด โพธิสัตว์
13) เกิดแสงสว่าง เนื่องด้วยการประสูติ แสงสว่างอันโอฬารจนหาประมาณมิได้ ยิ่งใหญ่กว่า อานุภาพของเทวดา ทั้งหลายจะบันดาลได้ แม้ในโลกันตริกนรก อันโล่งโถง ก็ไม่มีอะไรปิดกั้น
14) แผ่นดินไหว เนื่องด้วยการประสูติ เมื่อใด โพธิสัตว์ มีสติสัมปชัญญะ ออกจาก ท้องแห่ง มารดา เมื่อนั้น แผ่นดินย่อมหวั่นไหว ย่อมสั่นสะเทือน ย่อมสั่นสะท้าน.
15) โพธิสัตว์ออกมาจากท้องแห่งมารดา ในกาลนั้น เทวดาทั้งหลายย่อมเข้ารับก่อน
ส่วนมนุษย์ ทั้งหลาย ย่อมเข้ารับต่อภายหลัง
16) โพธิสัตว์ออกมาจากท้องแห่งมารดา ยังไม่ทันถึงแผ่นดิน เทพบุตรทั้งสี่ ย่อมรับ เอามาวาง ตรงหน้าแห่งมารดา ทูลว่าแม่เจ้าจงพอพระทัยเถิด บุตรอันมีศักดาใหญ่ ของแม่เจ้า เกิดแล้ว
17) โพธิสัตว์ออกมาจากท้องแห่งมารดาใน กาลนั้นเป็น ผู้สะอาดหมดจด ไม่เปื้อน ด้วยเมือก ไม่เปื้อนด้วยเสมหะ ไม่เปื้อนด้วยเลือด ไม่เปื้อนด้วยหนอง ไม่เปื้อนด้วย ของไม่สะอาด อย่างใดๆ เป็นผู้บริสุทธิ์ สะอาดหมดจดมาทีเดียว เหมือนอย่างว่าแก้วมณี ที่วางอยู่บนผ้าเนื้อ เกลี้ยงอันมา
18) โพธิสัตว์ออกมาจากท้องแห่งมารดาในกาลนั้น ท่อธาร แห่งน้ำสองท่อ ปรากฏ จากอากาศ เย็นท่อหนึ่ง ร้อนท่อหนึ่ง อันเขาใช้ในกิจอันเนื่องด้วยน้ำแก่โพธิสัตว์ และแก่มารดา
19) โพธิสัตว์ผู้คลอดแล้ว เหยียบพื้นดินด้วยผ่าเท้าอันสม่ำเสมอ มีพระพักตร์ทาง ทิศเหนือ
20) โพธิสัตว์ผู้คลอด ก้าวไป ๗ ก้าว มีฉัตรสีขาวกั้นอยู่ ณเบื้องบน ย่อมเหลียวดู ทิศทั้งหลาย
21) โพธิสัตว์ผู้คลอด กล่าวอาสภิวาจา (วาจาอันประกาศความสูงสุด) ว่า"เราเป็น ผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐสุดแห่งโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ย่อมไม่มี"
22) มหาบุรุษ (คือพระองค์เองก่อนผนวช) ผู้ประกอบด้วย มหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการ
23) ประสูติได้ ๗ วัน มายาเทวี(สิริมหามายา) มารดาแห่งโพธิสัตว์สวรรคต ย่อม เข้าถึง เทวนิกาย ชั้นดุสิต
ดูพุทธประวัติฉบับเต็ม จากพระโอษฐ์
50
สมาธิ มี ๙ ระดับ
รูปสัญญา ๔ ระดับ (ระดับฌาน)
๑.ปฐมฌาน (ฌาน๑) กามสัญญาดับ
๒.ทุติยฌาน (ฌาน๒) วิตกวิจารดับ
๓.ตติยฌาน (ฌาน๓) ปีติดับ
๔.จตุตถฌาน (ฌาน๔) ลมอัสสาสะ ปัสสาสะดับ(สุขในสมาธิดับ)
อรูปสัญญา ๔ ระดับ
๕.อากาสานัญจายตนะ (รูปสัญญาดับ)
๖.วิญญาณัญจายตนะ (อากาสานัญจายตนะดับ)
๗.อากิญจัญญายตนะ (วิญญาณัญจายตนะดับ)
๘.เนวสัญญานาสัญญายตนะ (อากิญจัญญายตนะดับ)
๙.สัญญาเวทยิตนิโรธ (สัญญาและเวทนาดับ)
ทำสมาธิแล้วตามเห็นการดับของขันธ์ ๕
ทำสมาธิ เห็นการเกิดดับของขันธ์ ๕ ตายไปเป็นเทวดาชั้นอริยบุคคล และจะปรินิพพาน ในภพนั้น
ทำสมาธิ ไม่เห็นเกิดดับ ตายไปเป็นเทวดาชั้นปุถุชน ยังไม่พ้น
นรกกำเนิดดิรัจฉาน และเปรตวิสัย
1) ปฐมฌาน (ฌาน๑)
เรานั้นแล สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม ได้บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุข ซึ่งเกิดแต่วิเวกอยู่.
2) ทุติยฌาน (ฌาน๒)
เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป
มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่สมาธิอยู่.
3) ตติยฌาน (ฌาน๓)
เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป ได้บรรลุ ตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสุขอยู่ ดังนี้ อยู่.
4) จตุตถฌาน (ฌาน๔)
เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
5) อากาสานัญจายตนะ
สัตว์ที่เข้าถึงชั้น อากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุด มิได้ เพราะล่วง รูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิญญาณฐิติ ที่ ๕
6) วิญญาณัญจายตนะ
วิญญาณัญจายตนะ มีอารมณ์ว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะ ได้โดย ประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็นอัตตา นั้นท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแล ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเลิกเกิด อัตตานี้ จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.
7) อากิญจัญญายตนะ
อากิญจัญญายตนะ มีอารมณ์ ว่าไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดย ประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก
อัตตานั้นแล ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเลิกเกิดอัตตานี้จึงเป็นอัน ขาดสูญ อย่างเด็ดขาด พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด
ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.
8) เนวสัญญานาสัญญายตนะ
บุคคลย่อมเข้าถึงซึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนะ อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๗ เพราะ ล่วงเสียซึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง
9) สัญญาเวทยิตนิโรธ
บุคคลย่อมเข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘
....................................................................................................................................................................
51
คุณ และ โทษ ของวิญญาณ
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๕/๑๑๗
ภิกษุทั้งหลาย
สุขโสมนัสใดๆ อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ (อัสสาทะ)
วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ
(อาทีนวะ)
การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออก แห่งวิญญาณ (นิสสรณะ).
....................................................................................................................................................................
52
จิตดวงแรกเกิดขึ้น วิญญาณดวงแรกปรากฏ
-บาลีมหา. วิ. ๔/๑๘๗/๑๔๑.
ภิกษุทั้งหลาย จิตดวงแรกใดเกิดแล้วในครรภ์แห่งมารดา
วิญญาณดวงแรก ปรากฏแล้วอาศัย จิตดวงแรก
วิญญาณดวงแรกนั้น นั่นแหละ เป็นความเกิดของสัตว์นั้น.
....................................................................................................................................................................
53
กุศลกรรมบถ ๑๐ : อกุศลกรรมบถ ๑๐
กุศลกรรมบถ ๑๐ |
อกุศลกรรมบถ ๑๐ |
เป็นเหตุให้ เทวดาปรากฏ
เป็นเหตุให มนุษย์ปรากฏ
สุคติใดๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี |
เป็นเหตให้นรกปรากฏ
กำเนิดเดรัจฉานย่อมปรากฏ
เปรตวิสัยย่อมปรากฏ
ทุคติใดๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี |
กายกรรม 3 ประการ
1. ไม่ฆ่าหรือทำลายชีวิตผู้อื่น
2. ไม่ลักขโมย ไม่เอาทรัพย์ของผู้อื่น
มาเป็นของตน
3. ไม่ประพฤติผิดในกาม
วจีกรรม 4 ประการ (สัมมาวาจา)
4. ไม่พูดเท็จ
5. ไม่พูดส่อเสียด
6. ไม่พูดคำหยาบคาย
7. ไม่พูดเพ้อเจ้อ
มโนกรรม 3 ประการ
8. ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น
9. ไม่คิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น
10. เห็นชอบตามคลองธรรม |
กายกรรม 3 ประการ
1. ฆ่าหรือทำลายชีวิตผู้อื่น
2. ลักขโมย
เอาทรัพย์ของผู้อื่น
มาเป็นของตน
3.ประพฤติผิดในกาม
วจีกรรม 4 ประการ (มิจฉาวาจา)
4. พูดเท็จ
5. พูดส่อเสียด
6. พูดคำหยาบคาย
7. พูดเพ้อเจ้อ
มโนกรรม 3 ประการ
8. อยากได้ของคนอื่น
9. คิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น
10. ไม่เห็นชอบตามคลองธรรม |
ดูพระสูตรฉบับเต็ม |
54
ชีวกสูตร ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก- นวกนิบาต
[๑๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วง ของหมอชีวก ใกล้พระนคร ราชฤห์ ครั้งนั้น หมอชีวกโกมารภัจจ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
(คำถามที่1)
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ บุคคลชื่อว่าเป็น อุบาสก
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรชีวก เมื่อใดแลบุคคลถึง พระพุทธเจ้า ถึงพระธรรม ถึงพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ชื่อว่าเป็นอุบาสก ฯ
(คำถามที่2)
ช. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้มีศีล ฯ
พ. ดูกรชีวก เมื่อใดแล อุบาสกงดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็น ที่ตั้งแห่งความประมาท ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล อุบาสกชื่อว่า เป็นผู้มีศีล ฯ
(คำถามที่3)
ช. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสกชื่อว่าปฏิบัติเพื่อโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อ ประโยชน์ผู้อื่น ฯ
พ. ดูกรชีวก เมื่อใดแล อุบาสกถึงพร้อมด้วยศรัทธาด้วยตนเอง แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึง พร้อมด้วย ศรัทธา ฯลฯ ตนเองเป็นผู้รู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม แต่ไม่ชักชวนผู้อื่น ในการปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ ประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ
(คำถามที่ 4)
ช. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อ ประโยชน์ตน และเพื่อ ประโยชน์ผู้อื่น ฯ
พ. ดูกรชีวก เมื่อใดแล อุบาสกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๑
ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล ๑
ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ๑
ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อเห็นภิกษุ และชักชวนผู้อื่นในการเห็นภิกษุ ๑
ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อฟังสัทธรรม และชักชวนผู้อื่นในการฟังสัทธรรม ๑
ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่ตนเองฟังแล้ว และชักชวนผู้อื่นเพื่อการทรงจำธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้พิจารณาอรรถแห่งธรรมที่ตนฟังแล้ว และชักชวนผู้อื่น ในการพิจารณาอรรถ แห่งธรรม ๑
ตนเองรู้ทั่วถึงอรรถผู้ทั่วถึงธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และชักชวนผู้อื่นในการ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แลอุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และเพื่อ ประโยชน์ ผู้อื่น ฯ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
56
บทอธิษฐานจิตเพื่อทำความเพียร
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เรายังรู้สึกได้อยู่ซึ่งธรรม ๒ อย่าง คือ ความไม่รู้จักอิ่มจักพอ (สันโดษ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย และความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ (อัปปฏิวานี) ในการทำความเพียร.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เราย่อมตั้งไว้ซึ่งความเพียรอัน ไม่ถอยกลับ (ด้วยการอธิษฐานจิต) ว่า
“หนัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่
เนื้อและเลือดในสรีระจักเหือดแห้งไปก็ตามที
ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง
ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ
ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว
จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี ” ดังนี้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! การตรัสรู้เป็นสิ่งที่เราถึงทับแล้ว
ด้วยความไม่ประมาท อนุตตรโยคักเขมธรรม ก็เป็นสิ่งที่
เราถึงทับแล้วด้วยความไม่ประมาท.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ถ้าแม้ พวกเธอ พึงตั้งไว้ซึ่งความ
เพียรอันไม่ถอยกลับ (ด้วยการอธิษฐานจิต) ว่า “หนัง เอ็น
กระดูก จักเหลืออยู่ เนื้อและเลือดในสรีระจักเหือดแห้ง
ไปก็ตามที ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง
ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ ถ้ายังไม่บรรลุ
ประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี” ดังนี้
แล้วไซร้
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! พวกเธอ ก็จักกระทำให้แจ้งด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า
อันเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตร ผู้ออกบวชจากเรือน
เป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ, ได้ต่อกาลไม่นานในทิฏฐธรรม
เข้าถึงแล้วแลอยู่ เป็นแน่นอน.
ทุก. อํ. ๒๐/๖๔/๒๕๑.
57
ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
ในโลกนี้ ไม่มีสิ่งใดๆ เลย
ที่เมื่อเรายึดถืออยู่ เราจักเป็นผู้หาโทษมิได้
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง
ก็บุคคล " เห็นแจ้ง " ธรรมปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ในธรรมนั้น ๆ ได้
บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนือง ๆให้ปรุโปร่งเถิด
พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ
ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง
เพราะว่า " ความผัดเพี้ยนกับมัจจุราช "
ผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้.
มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
นั้นแลว่า " ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ "
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ หน้า ๒๖๗ ข้อ ๕๓๔
58
สติ กับ สัมปชัญญะ
" จงเป็นผู้มีสติคู่กันไปกับสัมปชัญญะ "
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติอยู่ อย่างมีสัมปชัญญะ : นี้เป็นอนุสาสนีของเราแก่พวกเธอทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้มีสติ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌา และโทมนัสในโลก
เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส
มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่ง อภิชฌาและโทมนัสในโลก
เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส
มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส
มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก.
ภิกษุทั้งหลาย ! อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้รู้ตัวรอบคอบ ในการก้าวไปข้างหน้า
การถอยกลับไปข้างหลัง การแลดู การเหลียวดู, การคู้ การเหยียด
การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร, การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม
การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การไป การหยุด การนั่ง การนอน การหลับ
การตื่น การพูด การนิ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย ! อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติอยู่ อย่างมีสัมปชัญญะ
นี้เป็น อนุสาสนีของเราแก่พวกเธอทั้งหลาย.
พุทธวจน ปฐมธรรม หน้า ๒๓๙.
(ภาษาไทย) มหา. ที. ๑๐/๘๒/๙๐.
59
อะไรคือเดรัจฉานกถา
-บาลีมหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๖/๑๖๖๓.
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลาย จงอย่ากล่าวเดรัจฉานกถาเห็นปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยานพาหนะ เรื่องหมู่บ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญ และความเสื่อม
ด้วยประการนั้นๆข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะถ้อยคำนี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเงื่อนต้น ของพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพานเลย.
60
นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกั้น
ใช้หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้นหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมไม่ได้ หรือทำให้เลิกล้มความตั้งใจปฏิบัติไป
นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ *
1) กามฉันทะ - ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่
2) พยาบาท - ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปรารถนาในโลกียะสมบัติทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ ทรมานอยู่
3) ถีนมิทธะ -ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
4) อุทธัจจะกุกกุจจะ -ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใด ๆ
5) วิจิกิจฉา -ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ
* (อ่านพระสูตรเต็มใน
สคารวสูตร)
61
ทุกขตาสูตร ความเป็นทุกข์ ๓
[๓๑๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ
ความเป็นทุกข์ เกิดจาก ความไม่สบายกาย ๑ (ไม่สบายในรูปหรือกายเช่นร้อนไปหนาวไป)
ความเป็นทุกข์ เกิดจาก สังขาร ๑ (จิตปรุงแต่ง ทุกข์ใจ กลุ้มใจ)
ความเป็นทุกข์ เกิดจาก ความแปรปรวน ๑ (แปรปรวนของรูป หรือกาย เช่นแก่ลง ผมหงอก)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้แล.
[๓๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค)
62
ผู้ชี้ขุมทรัพย์ !
อานนท์ ! เราไม่พยายามทำกะพวกเธอ อย่างทะนุถนอม
เหมือนพวกช่างหม้อ ทำแก่หม้อ ที่ยังเปียก ยังดิบอยู่
อานนท์ ! เราจักขนาบแล้ว ขนาบอีก ไม่มีหยุด
อานนท์ ! เราจักชี้โทษแล้ว ชี้โทษอีก ไม่มีหยุด
ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจักทนอยู่ได้.
คนเรา ควรมองผู้มีปัญญาใด ๆ ที่คอยชี้โทษ คอยกล่าว
คำขนาบอยู่เสมอไป ว่าคนนั้นแหละ คือผู้ชี้ขุมทรัพย์ละ
ควรคบบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้น,
เมื่อคบหากับบัณฑิตชนิดนั้น
อยู่ย่อมมีแต่ดีท่าเดียว ไม่มีเลวเลย.
(หน้า 27 หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หมวด 2 ว่าด้วยการไม่สังวร )
63
เมื่อโจรกำเริบ
ภิกษุท. ! คราวใด พวกโจรมีกำลัง พระราชาเสื่อมกำลัง คราวนั้น ทั้งพระราชาเองก็หมด ความผาสุก ที่จะเข้าใน ออกนอก หรือจะมีใบบอกไปยัง ชนบทปลายแดน ถึงแม้พวกพราหมณ์ และคฤหบดีก็หมดความสะดวกที่จะเข้า ใน ออกนอก หรือที่จะอำนวยการงานนอกเมือง. ข้อนี้ฉันใด
ภิกษุท. ! คราวใด พวกภิกษุลามกมีกำลัง และหมู่ภิกษุผู้มีศีลเป็น ที่รักเสื่อมกำลัง คราวนั้น หมู่ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก จำต้องเป็นผู้นิ่ง เงียบเชียบ อยู่ในท่ามกลางสงฆ์หรือถึงกับ ต้องไปอยู่ตาม ชนบท ชายแดน ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุท. ! เหตุเช่นนี้มีขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์แก่คนจำนวนมากเลย กลับทำให้มหาชน ขาดความสะดวกสบาย เป็นความเสียหายแก่มหาชน เป็นอันมาก และทั้งเป็นความทุกข์ไม่เกื้อกูล แก่ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ทั่วกัน แล.
(หน้า 24 หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หมวด 2 ว่าด้วยการไม่สังวร )
64
ฤทธิเดชของลาภสักการะ
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุพระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรม อื่นยิ่งกว่า.
ภิกษุ ท. ! สมณพราหณ์พวกใด ไม่รู้จักความยวนใจ ไม่รู้จักโทษ อันตํ่าทราม ไม่รู้จัก อุบายเป็นทางพ้น ในกรณีอันเกี่ยวกับลาภสักการะ และเสียงเยินยอ ตรงตาม ที่เป็นจริง สมณ พราหมณ์พวกนั้น จะกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วเข้าถึงความ สงบอยู่หาได้ไม่.
ภิกษุ ท. ! สมณพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักมูลฐานเป็นที่ตั้งขึ้น ไม่รู้จักความ ดับสนิท ไม่รู้จักความยวนใจ ไม่รู้จักโทษอันตํ่าทราม ไม่รู้จักอุบายเป็นทางพ้น ในกรณีอัน เกี่ยวกับลาภ สักการะและเสียงเยินยอ ตรงตามที่เป็นจริง สมณพราหมณ์พวกนั้น จะกระทำให้แจ้ง ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง แล้วเข้าถึงความสงบอยู่หาได้ไม่.
ภิกษุท. ! สมณพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักลาภสักการะและเสียง เยินยอไม่รู้จัก มูลฐาน เป็นที่ตั้งขึ้นแห่งลาภสักการะและเสียงเยินยอไม่รู้จักความดับ สนิทแห่งลาภ สักการะ และเสียง เยินยอ ไม่รู้จักหนทางให้ถึงความดับสนิทแห่งลาภ สักการะและเสียง เยินยอ สมณพราหมณ์พวกนั้น จะกระทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเอง แล้วเข้าถึงความ สงบ อยู่หาได้ไม่.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้ลํ่าสัน นำเอาเชือกมีคมอันหยาบมาพัน รอบ ๆ แข้ง แล้วสีไปสีมา. เชือกนั้นย่อมบาดผิวหนัง ครั้นบาดผิวหนังแล้ว ย่อมบาดหนัง ครั้นบาดหนัง แล้ว ย่อมบาดเนื้อ ครั้นบาดเนื้อแล้ว ย่อมบาดเอ็น ครั้นบาดเอ็นแล้ว ย่อมบาดกระดูก ครั้นบาดกระดูกแล้ว ย่อม เข้าจดอยู่ที่เยื่อกระดูก. ข้อนี้ฉันใด
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะ และเสียงเยินยอนี้ก็ฉันนั้น มันย่อมจะบาดผิวหนัง ครั้น บาด ผิวหนังแล้ว ย่อมจะบาดหนัง ครั้นบาดหนังแล้ว ย่อมจะบาดเนื้อ ครั้นบาดเนื้อแล้ว ย่อมจะบาดเอ็น ครั้น บาดเอ็นแล้ว ย่อมจะบาดกระดูก ครั้นบาดกระดูกแล้ว ย่อมจะเข้าจด อยู่ที่เยื่อกระดูก.
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการ บรรลุพระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่น ยิ่งกว่า ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ดังนี้ว่า “เราทั้งหลายจักไม่เยื่อใย ในลาภสักการะ และเสียง เยินยอที่เกิดขึ้น. อนึ่ง ลาภสักการะและเสียงเยินยอที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องไม่มาห่อหุ้ม อยู่ที่จิตของเรา” ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.
(หน้า 53 หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หมวดที่๓ ว่าด้วย เกียรติและลาภสักการะ)
65
สุนัขขี้เรื้อน
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุพระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรม อื่นยิ่งกว่า.
ภิกษุ ท. ! พวกเธอเห็นสุนัขจิ้งจอกตัวที่อาศัยอยู่เมื่อตอนยํ่ารุ่ง แห่ง ราตรีนี้ไหม ?
“เห็น พระเจ้าข้า”.
ภิกษุ ท. ! สุนัขจิ้งจอกตัวนั้น เป็นโรคหูชัน (โรคเรื้อนสุนัข)๒ วิ่งไป บนแผ่นดิน ก็ไม่สบาย ไปอยู่ที่โคนไม้ก็ไม่สบาย ไปอยู่กลางแจ้งก็ไม่สบาย. มันไปในที่ใด มันยืนในที่ใด มันนั่งในที่ใด มันนอนในที่ใด ล้วนแต่ได้รับ ทุกข์ทรมาน ในที่นั้น ๆ.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ก็เหมือนกัน ครั้นถูกลาภ สักการะและเสียง เยินยอ ครอบงำเอาแล้ว มีจิตติดแน่นอยู่ในสิ่งนั้น ๆ ไปอยู่สุญญาคารก็ไม่สบาย ไปอยู่ โคนไม้ ก็ไม่ สบาย ไปอยู่กลางแจ้งก็ไม่สบาย. เธอไปในที่ใด เธอยืนในที่ใด เธอนั่งใน ที่ใด เธอนอน ในที่ใด ล้วนแต่ได้รับทุกข์ทรมาน ในที่นั้นๆ
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการ บรรลุพระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรม
อื่นยิ่งกว่า ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึง สำเหนียกใจไว้ ดังนี้ว่า “เราทั้งหลาย จักไม่เยื่อใยในลาภสักการะและเสียง เยินยอ ที่เกิดขึ้น. อนึ่ง ลาภสักการะและ เสียงเยินยอ ที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องไม่มา ห่อหุ้มอยู่ที่จิต ของเรา”
ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้อย่าง นี้แล.
(หน้า 55 หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หมวดที่๓ ว่าด้วย เกียรติและลาภสักการะ)
....................................................................................................................................................
66
(1) ทรงเห็นสัตว์ดุจดอกบัว ๓ เหล่า (พุทธประวัติจากพระโอษฐ์)
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๒๒๓ บาลี. ม.ม. ๑๓/๔๖๓/๕๑๑. ตรัสแก่โพธิราชกุมาร. (ปาสราสิสูตร มู.ม. ก็มี)
ราชกุมาร ! ครั้งนั้น เรารู้แจ้งคำเชื้อเชิญของสหัมบดีพรหมแล้ว และเพราะอาศัยความ กรุณา ในสัตว์ทั้งหลาย เราตรวจดูโลกด้วยพุทธจักขุแล้ว.
เมื่อเราตรวจดูโลกด้วย พุทธจักขุอยู่ เราได้เห็นสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีธุลีในดวงตา เล็กน้อย บ้าง มีมากบ้าง ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าบ้าง อ่อนบ้าง มีอาการดีบ้าง เลวบ้าง อาจสอนให้รู้ ได้ง่ายบ้าง ยากบ้าง และบางพวกเห็นโทษในปรโลก โดยความเป็นภัยอยู่ก็มี
เปรียบเหมือนในหนอง บัวอุบล บัวปทุม บัวบุณฑริก
ดอกบัว
บางเหล่า เกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ ยังจมอยู่ในน้ำ
บางเหล่า เกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ ตั้งอยู่เสมอพื้นน้ำ
บางเหล่า เกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ โผล่ขึ้นพ้นน้ำ อันน้ำไม่ถูกแล้ว มีฉันใด
ราชกุมาร ! เราได้เห็นสัตว์ทั้งหลายเป็นต่างๆ กันฉันนั้น.
ราชกุมาร ! ครั้งนั้น เราได้รับรอง กะ สหัมบดีพรหมด้วยคำ (ที่ผูกเป็นกาพย์) ว่า
“ประตูแห่งนิพพานอันเป็นอมตะ เราเปิดไว้แล้วแก่สัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดมีโสต ประสาท สัตว์เหล่านั้น จงปลงศรัทธาลงไปเถิด
ดูก่อนพรหม ! เรารู้สึกว่ายาก จึงไม่กล่าวธรรมอันประณีต ที่เราคล่องแคล่วชำนาญ ในหมู่มนุษย์ ทั้งหลาย” ดังนี้.
ราชกุมาร ! ครั้งนั้น สหัมบดีพรหม รู้ว่า ตนเป็นผู้ได้โอกาสอันพระผู้มีพระภาค ทรงกระทำแล้วเพื่อ แสดงธรรม จึงไหว้เรากระทำอันประทักษิณแล้ว อันตรธานไปในที่นั้น นั่นเอง.
.
(2) เปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า (ฉบับหลวง)
ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓
สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ หน้าที่ ๓๔๙
[๕๑๑] ดูกรราชกุมาร ครั้นอาตมภาพทราบว่า ท้าวสหัมบดีพรหมอาราธนา และ อาศัย ความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ.
เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นหมู่สัตว์ ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปกติ เห็นโทษ ในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี
เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือ ดอกบัวขาว ซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ
(1) บางเหล่า ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้
(2) บางเหล่า ตั้งอยู่เสมอน้ำ
(3) บางเหล่า ตั้งขึ้นพ้นน้ำ น้ำไม่ติด ฉันใด
ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ฉันนั้น ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลส ดุจธุลีใน จักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยาก ก็มี บางพวก มีปกติเห็นโทษ ในปรโลก โดยเป็นภัยอยู่ก็มี.
ดูกรราชกุมาร ครั้งนั้นอาตมภาพ ได้กล่าวรับท้าวสหัมบดีพรหม ด้วยคาถาว่า
ดูกรพรหม เราเปิดประตูอมตนิพพานแล้ว เพื่อสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีโสต จงปล่อยศรัทธา มาเถิด เราสำคัญว่าจะลำบาก จึงไม่กล่าวธรรมอันคล่องแคล่ว ประณีต ในมนุษย์ทั้งหลาย.
ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงเปิดโอกาส เพื่อจะแสดงธรรม แล้ว
จึง อภิวาทอาตมภาพ ทำประทักษิณแล้ว หายไปในที่นั้นเอง
............................................................................................................
(หมายเหตุ : ในบาลี พระองค์อุปมาบัว 3 เหล่า แต่พระไตรปิฎกภาษาไทยบางสำนักแบ่งเป็น 4 เหล่า โดยเพิ่มบัวใต้โคลนเข้าไปอีก 1 เหล่า ตามอรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร
ธมฺมเทสนาธิฏฺฐานวณฺณนา ) อ้างอิง
วิกิพีเดีย
............................................................................................................
67
77_1
ราคีของนักบวช
ภิกษุ ท. ! เครื่องเศร้าหมองของพระจันทร์ และพระอาทิตย์มีอยู่สี่อย่าง อันเป็นเหตุให้ พระจันทร์ และพระอาทิตย์ไม่สุกใส ไม่สว่างไสวรุ่งเรือง. สี่อย่าง
อะไรบ้าง ? สี่อย่างคือ เมฆ หมอก ผงคลี และอสุรินทราหู. ภิกษุ ท. ! เครื่องเศร้าหมอง ของ พระจันทร์และพระอาทิตย์อันเป็นเหตุให้พระจันทร์และ พระอาทิตย์ไม่สุกใส ไม่สว่างไสวรุ่งเรือง มีอยู่สี่อย่างนี้
ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : เครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์ก็มีอยู่สี่อย่าง อันเป็นเหตุ ให้สมณพราหมณ์ไม่ผ่องใส ไม่งามสง่ารุ่งเรือง. สี่อย่าง อะไรบ้าง ?
สี่อย่างคือ
(๑) สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ดื่มสุราเมรัย ไม่งดเว้นจากการดื่มสุรา เมรัย.
(๒) สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังมีการกระทำ(อย่างใดอย่างหนึ่ง) อย่างที่คนคู่เขาทำต่อกัน๑ ไม่งดเว้นจาก การกระทำเช่นนั้น.
(๓) สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง รับทองและเงิน ไม่งดเว้นจากการรับทอง และเงิน.
(๔) สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง สำเร็จการเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ผิดวิสัย ของสมณะ ไม่งดเว้นจากการ เลี้ยงชีวิตที่ผิดวิสัย.
ภิกษุ ท. ! เครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์ มีอยู่สี่อย่างนี้อันเป็น เหตุให้ สมณพราหมณ์ ไม่ผ่องใส ไม่งามสง่ารุ่งเรือง แล.
(หน้า 77 หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ )
...........................................................................................................
68
คนแหวกแนว
ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้เป็นที่เชื่อถือของมหาชนทั่วไป เมื่อมีการกระทำ สามอย่างนี้แล้ว จะได้ชื่อว่าเป็น ผู้ทำมหาชนให้เสื่อมเสีย ทำมหาชน ให้หมดสุข ทำไปเพื่อความฉิบหายแก่มหาชน ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแต่เป็นไป เพื่อความทุกข์ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย. การกระทำสามอย่างอะไรบ้างเล่า ? สามอย่าง คือ :-
(๑) ทำการชักชวนมหาชนในกายกรรม๑ อันผิดแนวแห่งการทำ ที่สุดทุกข์ในพระศาสนา.
(๒) ทำการชักชวนมหาชนในวจีกรรม๒ อันผิดแนวแห่งการทำ ที่สุดทุกข์ในพระศาสนา.
(๓) ทำการชักชวนมหาชนในการบำเพ็ญทางจิต๓ อันผิดแนว แห่งการทำที่สุดทุกข์ใน พระศาสนา.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้เป็นที่เชื่อถือของมหาชนทั่วไป, เมื่อมีการกระทำ สามอย่างเหล่านี้ เข้าแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำมหาชนให้เสื่อมเสีย ทำมหาชนให้หมดสุข ทำไปเพื่อความฉิบหาย แก่มหาชน ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล แต่เป็น ไปเพื่อความทุกข์ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ ทั้งหลาย แล.
(หน้า 81 หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ )
............................................................................................................................................
69
ผู้ถูกตรึง
(ภิกษุที่เคลือบแคลงสงสัยในธรรม)
ภิกษุ ท. ! บรรพชิตรูปใด จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังละตะปูตรึงใจห้าตัว ไม่ได้ คืนวันของบรรพชิตรูปนั้น ย่อมผ่านไป โดยหวังได้แต่ความ เสื่อมในกุศลธรรม ทั้งหลายอย่างเดียว หาความเจริญมิได้. ตะปูตรึงใจห้าตัว ที่บรรพชิตรูปนั้นยังละไม่ได้ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ยังสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจ เชื่อ ไม่เลื่อมใส ใน พระศาสดา. ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียรเผากิเลส เพียรประกอบเนือง ๆ เพียรตั้งหลัก ติดต่อเนื่องกัน. จิตของผู้ใด ไม่น้อมไปตามนัยที่กล่าวนี้, นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่หนึ่ง ที่เธอนั้นยังละไม่ได้.
ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุยังสงสัย ฯลฯ ในธรรม
_ _ _ฯลฯ _ _ _
นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่สอง ที่เธอนั้นยังละไม่ได้.
ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุยังสงสัย ฯลฯ ในพระสงฆ์
_ _ _ฯลฯ _ _ _ นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่สาม ที่เธอนั้นยังละไม่ได้.
ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุยังสงสัย ฯลฯ ในไตรสิกขา
_ _ _ฯลฯ _ _ _
นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่สี่ที่เธอนั้นยังละไม่ได้.
ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ครุ่นโกรธในเพื่อนผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ ด้วยกัน, ไม่ชอบใจ มีจิตอันโทสะกระทบกระทั่งแล้ว จน เกิดเป็นเครื่องตรึงใจ.
ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียรเผากิเลส เพียรประกอบเนือง ๆ เพียรตั้งหลักติดต่อเนื่องกัน. จิตของผู้ใด ไม่น้อมไปตามนัยที่กล่าวนี้ นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่ห้า ที่เธอนั้นยังละไม่ได้.
ภิกษุ ท. ! บรรพชิตรูปใด จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังละตะปูตรึงใจ ห้าตัว ไม่ได้, คืนวันของบรรพชิตรูปนั้น ย่อมผ่านไป โดยหวังได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรม ทั้งหลายอย่างเดียว หาความเจริญมิได้แล.
(หน้า 84 หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ )
.......................................................................................................................................
70
ขี้ตามช้าง
(ภิกษุที่ติดอกติดในในลาภ ไม่เห็นโทษของลาภ)
ภิกษุ ท. ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : มีสระใหญ่ในที่ใกล้ป่าแห่งหนึ่ง. ช้างทั้งหลาย ได้อาศัย หากินในสระใหญ่แห่งนั้น. มันลงสู่สระแล้ว ใช้งวง ถอนหัวบัวและรากบัวขึ้นมา แล้วแกว่งไป แกว่งมาในนํ้า ทำให้หมดเปือกตม แล้วใส่ปากเคี้ยวให้ดีเสียก่อน จึงกลืน ลงไป. การกินอย่างนี้ ของช้างเหล่านั้นย่อมทำให้เนื้อตัวเปล่งปลั่ง มีพละกำลัง และไม่ถึง ซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์ เจียนตาย เพราะข้อที่ช้างนั้นรู้จักกินนั้นเองเป็นเหตุ.
ภิกษุ ท. ! ส่วนพวกลูกช้าง เล็ก ๆ อยากจะเอาอย่างช้างใหญ่ๆ บ้าง มันจึง ลงสู่สระบัวนั้น ใช้งวงถอน หัวบัวและรากบัวขึ้นมาได้ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้แกว่งไปแกว่งมา ในนํ้า มีเปือกตมติด อยู่ก็เอาเข้าใส่ปาก ไม่ได้เคี้ยวให้ดีเสียก่อน กลืนลงไปแล้ว. การกินอย่างนี้ของพวกลูกช้างเล็ก ๆ นั้น ย่อมไม่ทำให้เนื้อตัวเปล่งปลั่งมีพละกำลัง แล้วยัง จะถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อที่ลูกช้างเหล่านั้น ไม่รู้จัก กินนั้นเองเป็นเหตุ
ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ในกรณีนี้เวลาเช้า ครองจีวร ถือบาตร เข้าไปสู่ย่านหมู่บ้านหรือนิคม เพื่อบิณฑบาต, พวกภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ย่อม กล่าวธรรมอยู่ในที่นั้น ๆ พวกคฤหัสถ์ผู้เลื่อมใสต่อภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ย่อมทำอาการแห่ง ผู้เลื่อมใส. อนึ่ง พวกภิกษุผู้เถระนั้น เล่า ก็ไม่ติดอกติดใจ ไม่สยบ ไม่เมาหมก ในลาภนั้น ๆ เป็นผู้มองเห็น ส่วนที่เป็นโทษ เป็นผู้รู้แจ่ม แจ้งในอุบายเป็นเครื่องออกไปจากทุกข์แล้ว จึง ทำการบริโภคลาภนั้น.
การบริโภคอย่างนี้ของภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ย่อมทำให้มีร่างกายสุกใส มีพละ กำลัง และไม่ถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อที่ท่านเหล่านั้นรู้จักการ ทำการฉัน นั้นเองเป็นเหตุ.
ภิกษุ ท. ! ส่วนพวกภิกษุผู้หย่อนวัย อยากจะเอาอย่างพวกภิกษุผู้เถระ เหล่านั้น บ้าง เวลาเช้า ก็ครองจีวร ถือบาตร เข้าไปสู่ย่านหมู่บ้านหรือนิคม เพื่อบิณฑบาต. พวกเธอก็กล่าวธรรมอยู่ ในที่นั้น ๆ พวกคฤหัสถ์ผู้เลื่อมใส ต่อภิกษุผู้หย่อนวัยเหล่านั้น ย่อมทำอาการแห่งผู้เลื่อมใส.
อนึ่ง พวกภิกษุผู้หย่อนวัยนั้นเล่า ก็ติดอกติดใจ สยบอยู่เมาหมกอยู่ในลาภนั้น ๆ, เป็นผู้ไม่ มองเห็นส่วนที่เป็นโทษ ไม่เป็นผู้รู้แจ่มแจ้งในอุบายเป็นเครื่องออกไป จากทุกข์ ทำการบริโภคลาภ นั้น. การบริโภคอย่างนี้ของภิกษุผู้เด็ก ๆ เหล่านั้น ย่อม ไม่ทำให้มีร่างกายสุกใส มีพละกำลัง (ชนิดเดียวกับผู้ที่บริโภค เพียงเพื่อเป็นการ อนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์)
แต่ได้กลับถึงซึ่งความ ตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อที่ภิกษุเด็ก ๆ เหล่านั้น ไม่รู้จักการ ทำการฉัน นั้นเองเป็นเหตุ.
ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอ ทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ว่า
“เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่ติดอกติดใจ ไม่สยบ ไม่เมาหมก ในปัจจัยลาภ มีปรกติ มองเห็น ส่วนที่เป็นโทษ เป็นผู้รู้แจ่มแจ้งในอุบายเป็นเครื่องออกไปจากทุกข์ทำการ บริโภค ปัจจัยลาภนั้น ๆ” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึง สำเหนียกใจไว้อย่างนี้ แล.
(หน้า 84 หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ )
....................................................................................................................................
71
นกแก้ว นกขุนทอง
ภิกษุ ! ภิกษุในกรณีนี้ย่อมเล่าเรียนปริยัติธรรม (นานาชนิด) คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ แต่เธอไม่รู้ทั่วถึง ความหมาย อันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้มากด้วยปริยัติ (นักเรียน) ยังมิใช่ ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม).
อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุแสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมา แก่คนอื่นโดยพิสดาร, แต่เธอไม่รู้ ทั่วถึงความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการบัญญัติ (นักแต่ง) ยังมิใช่ธรรมวิหารี(ผู้อยู่ด้วยธรรม).
อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมา โดยพิสดาร, แต่เธอไม่รู้ ความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการ สวด (นักสวด) ยังมิใช่ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม).
อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุคิดพล่านไปในธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมา แต่เธอไม่รู้ทั่ว ถึง ความหมาย อันยิ่งแห่งธรรมนั้นๆด้วยปัญญา. ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้มากด้วยการคิด (นักคิด) ยังมิใช่ ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม).
(หน้า 103 หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ )
.........................................................................................................................................
72
105
ปริยัติที่เป็นงูพิษ
(ทรงอุปมาภิกษุที่เล่าเรียนธรรม แต่ไม่ใคร่ครวญเนื้อธรรมด้วยปัญญา ว่าเป็นโมษะบุรุษ
เปรียบเหมือนอสรพิษ ที่ฉกอวัยวะของภิกษุนั้นได้)
ภิกษุ ท. ! โมฆบุรุษบางพวกในกรณีนี้เล่าเรียนปริยัติธรรม (นานาชนิด) คือ สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ, พวกโมฆบุรุษเหล่านั้น ครั้นเล่าเรียนธรรมนั้น ๆ แล้ว ไม่สอดส่อง ใคร่ครวญเนื้อความ แห่งธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญา เมื่อไม่สอดส่องใคร่ครวญเนื้อความ ด้วยปัญญา ธรรมทั้งหลาย เหล่านั้น ย่อมไม่ทน ต่อการเพ่ง พิสูจน์ ของโมฆบุรุษเหล่านั้น.
พวกโมฆบุรุษเหล่านั้น เล่าเรียน ธรรมด้วยการเพ่งหาข้อบกพร่อง (ของธรรม หรือของ ลัทธิใด ลัทธิหนึ่ง) และมีความคิดที่จะใช้ เป็นเครื่องทำลายลัทธิใดลัทธิหนึ่ง เป็นอานิสงส์.
ผู้รู้ทั้งหลาย เล่าเรียนพระปริยัติธรรม เพื่อคุณประโยชน์อันใด พวกโมฆบุรุษ เหล่านั้น หาได้รับ คุณประโยชน์อันนั้นแห่งธรรมไม่ ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ก็เลยเป็นธรรม ที่โมฆบุรุษ เหล่านั้นถือเอาไม่ดี เป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เขา เหล่านั้น ตลอดกาลนาน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะความที่ธรรมทั้งหลายอันโมฆบุรุษเหล่านั้น ถือเอา ไม่ดี เป็นเหตุ
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการใคร่จะได้งูเที่ยวเสาะ แสวงหา งูอยู่. บุรุษนั้น ครั้น เห็นงูตัวใหญ่ก็เข้าจับงูนั้นที่ตัวหรือที่หาง อสรพิษ ตัวนั้น ก็จะพึงกลับ ฉกเอามือ หรือแขน หรืออวัยวะแห่งใด แห่งหนึ่งของบุรุษนั้น
บุรุษนั้น ก็จะตายหรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะการฉกเอาของอสรพิษนั้น เป็นเหตุ.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะความที่บุรุษนั้นจับงูไม่ดี (คือไม่ถูกวิธี) เป็นเหตุ. ข้อนี้ฉันใด
ภิกษุ ท. ! โมฆบุรุษบางพวกในกรณีนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เขา เล่าเรียนปริยัติ ธรรม (นานาชนิด) คือ สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ พวกโมฆบุรุษ เหล่านั้น ครั้นเล่าเรียนธรรมนั้น ๆ แล้ว ไม่สอดส่องใคร่ครวญ เนื้อความ แห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา เมื่อไม่สอดส่อง ใคร่ครวญเนื้อความ ด้วยปัญญา ธรรมทั้งหลาย เหล่านั้น ย่อมไม่ทนต่อการเพ่งพิสูจน์ ของโมฆบุรุษเหล่านั้น โมฆบุรุษเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมด้วยการ เพ่งหาข้อบกพร่อง (ของธรรมหรือ ของลัทธิใดลัทธิหนึ่ง) และมีความคิดที่จะใช้เป็นเครื่องทำลายลัทธิใด ลัทธิหนึ่ง เป็นอานิสงส์.
ผู้รู้ทั้งหลาย เล่าเรียนปริยัติธรรม เพื่อคุณประโยชน์อันใด โมฆบุรุษเหล่านั้น หาได้รับคุณ ประโยชน์อันนั้นแห่งธรรมไม่ ธรรมทั้งหลาย เหล่านั้น ก็เลยเป็นธรรมที่ โมฆบุรุษเหล่านั้น ถือเอาไม่ดี เป็นไปเพื่อความไม่เป็น ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เขา เหล่านั้นตลอดกาลนาน. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะความที่ธรรมทั้งหลาย อันโมฆบุรุษ เหล่านั้นถือเอาไม่ดีเป็นเหตุแล.
(หน้า 104 หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ )
.........................................................................................................................................
73
ผู้ที่ไม่ควรพูดอภิธรรม
ภิกษุ ท. ! ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย ซึ่งมิได้อบรมกาย มิได้รับอบรม ศีล มิได้อบรมจิต และมิได้รับอบรมปัญญา เธอทั้งหลาย
เมื่อเป็นเช่นนั้น พูดกันถึงเรื่องอภิธรรม หรือเรื่อง เวทัลละ(ชื่อพระสูตรแบบถาม-ตอบ) อยู่จักพลัดออก ไปสู่แนวของมิจฉาทิฏฐิ โดยไม่รู้สึกตัว.
ภิกษุ ท. ! ด้วยอาการอย่างนี้เอง วินัยมีมลทิน เพราะธรรมมีมลทิน ธรรมมี มลทิน เพราะวินัยมี มลทิน. นี้เป็นอนาคตภัย ที่ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้แต่จักเกิดขึ้น ในเวลาต่อไป.
พวกเธอทั้ง หลายพึงสำนึกไว้ ครั้นได้สำนึกแล้ว ก็พึงพยายามเพื่อกำจัด ภัยนั้นเสีย.
(หน้า 106 หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ )
.................................................................................................................................................
74
เนื้อแท้อันตรธาน
ภิกษุ ท. ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่. เมื่อกลองอานกะนี้มีแผลแตก หรือลิ พวก กษัตริย์ทสารหะ ได้หาเนื้อไม้อื่น ทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป).
ภิกษุท. ! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้นนานเข้า ก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่ง เนื้อไม้เดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น
ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย สุตตันตะ (ตัวสูตรส่วนที่ลึกซึ้ง) เหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา เมื่อมีผู้นำ สุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิต เพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่ง ขึ้นใหม่เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์
กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าว ของสาวก เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักฟังด้วยดีจักเงี่ยหู ฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ ทั่วถึง และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ภิกษุ ท. ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.
(หน้า 107 หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ )
...............................................................................................................................................
75
ผู้ทำศาสนาเสื่อม
ผู้ทำศาสนาเสื่อม 4 อย่าง (เล่าเรียนมาผิด-เป็นคนว่ายาก-คล่องแคล่วแต่ไม่บอกสอน
-สะสม บริกขาร ไม่เหลียวแลวิเวกธรรม)
ภิกษุ ท. ! มูลเหตุสี่ประการเหล่านี้ที่ทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือน จนเสื่อมสูญไป. สี่อย่างอะไรกันเล่า ? สี่อย่างคือ :-
ภิกษุ ท. ! พวกภิกษุเล่าเรียนสูตรอันถือกันมาผิด ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้ กันผิด เมื่อบท และพยัญชนะใช้กันผิดแล้ว แม้ความหมายก็มีนัยอัน คลาดเคลื่อน. ภิกษุ ท. ! นี้มูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้พระสัทธรรมเลอะ เลือนจนเสื่อมสูญไป.
ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุเป็นคนว่ายาก ประกอบด้วยเหตุที่ทำให้ เป็นคน ว่ายาก ไม่อดทน ไม่ยอมรับคำตักเตือนโดยความเคารพหนักแน่น. ภิกษุ ท. ! นี้มูลกรณีที่สอง ซึ่งทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือน จนเสื่อมสูญไป.
ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่วใน หลัก พระพุทธวจน ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เอาใจใส่ บอกสอนใจ ความแห่งสูตร ทั้งหลาย แก่คนอื่น ๆ เมื่อท่าน เหล่านั้นล่วงลับดับไป สูตรทั้งหลาย ก็เลยขาดผู้เป็นมูลราก (อาจารย์)ไม่มีที่อาศัยสืบไป.
ภิกษุ ท. ! นี้มูลกรณีที่สาม ซึ่งทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือน จนเสื่อมสูญไป.
ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุชั้นเถระ ทำการสะสมบริกขาร ประพฤติ ย่อหย่อน ในไตรสิกขา เป็นผู้นำในทางทราม ไม่เหลียวแลในกิจแห่งวิเวกธรรม ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึง สิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุเพื่อทำให้แจ้ง ในสิ่งที่ยัง ไม่ทำให้แจ้ง.
ผู้บวชในภายหลังได้เห็นพวก เถระเหล่านั้นทำแบบแผนเช่นนั้นไว้ ก็ถือเอาไป เป็นแบบ อย่าง จึงทำให้เป็นผู้ทำการสะสมบริกขารบ้าง ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา มีจิตตํ่าด้วยอำนาจ แห่งนิวรณ์ไม่เหลียวแลในกิจแห่งวิเวกธรรม ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่ง ที่ยังไม่บรรลุเพื่อทำให้แจ้งในสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ตามกันสืบไป.
ภิกษุ ท. ! นี้มูลกรณีที่สี่ซึ่งทำให้พระสัทธรรม เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.
ภิกษุ ท. ! มูลเหตุสี่ประการเหล่านี้แล ที่ทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือน
มูลเหตุสี่ประการเหล่านี้แล ที่ทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือน
(หน้า 108 หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ )
........................................................................................................................................................................
76
พระหลวงตา
(พระหลวงตาที่หายาก)
ภิกษุท.! พระหลวงตา๒ ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบห้าอย่าง หาได้ยาก.
ห้าอย่างอะไรกันเล่า ? ห้าอย่างคือ
ภิกษุท. !
1) พระหลวงตาที่มีปัญญาละเอียดอ่อน(ในการรู้อริยสัจสี่) หาได้ยาก
2) พระหลวงตาที่เป็นคนมีท่าทางเรียบร้อย หาได้ยาก.
3) พระหลวงตาที่เป็นคนสดับรับฟังแล้วจำได้มาก หาได้ยาก.
4) พระหลวงตาที่เป็นธรรมกถึก หาได้ยาก.
5) พระหลวงตาที่เป็นคนปฏิบัติเคร่งตามวินัย หาได้ยาก.
(อีกสูตรหนึ่ง)
ภิกษุท. !
1) พระหลวงตาที่เป็นคนว่าง่ายสอนง่าย หาได้ยาก.
2) พระหลวงตาที่รับคำแนะนำไปปฏิบัติให้เป็นอย่างดี หาได้ยาก.
3) พระหลวงตาที่ยอมรับคำตักเตือนโดยเคารพเอื้อเฟื้อ หาได้ยาก.
4) พระหลวงตาที่เป็นธรรมกถึก หาได้ยาก.
5) พระหลวงตาที่ปฏิบัติเคร่งตามวินัย หาได้ยาก.
ภิกษุท. ! พระหลวงตาที่ประกอบด้วยองค์ประกอบห้าอย่าง(แต่ละหมวด) เหล่านี้แลหาได้ยาก.
(หน้า 118 หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ )
77
“กูเป็นโค !”
ภิกษุ ท. ! ลาที่เดินตามฝูงโคไปข้างหลัง ๆ แม้จะร้องอยู่ว่า “กูก็เป็น โค, กูก็เป็นโค” ดังนี้ก็ตามที, แต่สีของมันก็หาเป็นโคไปได้ไม่ เสียงของ มันก็หาเป็นโค ไปได้ไม่ เท้าของมัน ก็หาเป็นโคไปได้ไม่ มันก็ได้แต่เดินตามฝูงโคไปข้างหลัง ๆ ร้องเอาเองว่า “ กูก็เป็นโค, กูก็เป็นโค” ดังนี้เท่า นั้น. ข้อนี้ฉันใด
ภิกษุ ท. ! ภิกษุบางรูปในกรณีเช่นนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ร้องประกาศอยู่ว่า “ข้า ก็เป็นภิกษุ ข้า ก็เป็น ภิกษุ” คือแม้จะเดินตามหมู่ภิกษุไปข้างหลัง ๆ ดังนี้ก็ตามที แต่ ความใคร่ในการประพฤติ สีลสิกขา ของเธอ ไม่เหมือนของภิกษุทั้งหลาย ความใคร่ ในการ ประพฤติจิตตสิกขาของเธอ ไม่เหมือนของภิกษุทั้งหลาย ความใคร่ในการประพฤติ ปัญญาสิกขาของเธอ ไม่เหมือนของ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้น ได้แต่เดินตามหมู่ภิกษุ ไปข้างหลัง ๆ ร้องประกาศเอาเองว่า “ข้า ก็เป็นภิกษุ ข้าก็เป็นภิกษุ” ดังนี้เท่านั้น.
ภิกษุท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจ ไว้ว่า “ความใคร่ในการ ประพฤติสีลสิกขาของเรา ต้องเข้มงวดเสมอ ความ ใคร่ในการประพฤติ จิตตสิกขาของเรา ต้องเข้มงวดเสมอ ความใคร่ในการ ประพฤติปัญญาสิกขาของเรา ต้องเข้มงวดเสมอ” ดังนี้. ภิกษุ ท.! พวกเธอ ทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.
(หน้า 125 หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ )
78
ผู้ที่ถือว่าไม่ได้เป็นสมณะ หรือพราหมณ์ (7 นัยยะ)
(หมวดที่๗ ว่าด้วย การลืมคำปฏิญาณ หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า 148-150)
1) ไม่รู้ “ความลับ” ของขันธ์ห้า
(ไม่รู้ขันธ์5 ไม่รู้ความดับสนิทแห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร ก็หาได้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ไม่)
โสณะ ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ย่อมไม่รู้จักลักษณะ ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้น ไม่รู้จักความ ดับสนิท ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความ ดับสนิท แห่ง รูป เวทนา สัญญาสังขาร ย่อมไม่รู้จักลักษณะ ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้น ไม่รู้จักความดับสนิท ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่อง ให้ถึงความ ดับสนิท แห่ง วิญญาณ ...
2) ไม่รู้“ความลับ” ของอุปาทานขันธ์
(ไม่รู้จักรสอร่อย ไม่รู้จักโทษอุปาทานขันธ์5 ก็หาได้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ไม่)
ภิกษุท ! อุปทานขันธ์๕ เหล่านี้คือ อุปทานขันธ์คือรูป อุปทานขันธ์คือเวทนา อุปทานขันธ์ คือสัญญา อุปทานขันธ์คือสังขาร อุปทานขันธ์คือวิญญาณ. ภิกษุ ท. ! สมณะหรือ พราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักรสอร่อย ไม่รู้จักโทษ และไม่รู้จักอุบาย เป็นเครื่องออกไปพ้น ในอุปทานขันธ์๕ เหล่านี้ตามที่ เป็นจริง...
3) ไม่รู้“ความลับ” ของธาตุสี่
(ไม่รู้จักธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่รู้จักอุบายเครื่องออกไปพ้น ก็หาได้เป็นสมณะ หรือ พราหมณ์ไม่)
ภิกษุ ท. ! ธาตุ๔ เหล่านี้คือ ธาตุดิน ธาตุนํ้า ธาตุไฟ ธาตุลม. ภิกษุ ท. ! สมณะหรือ พราหมณ์ พวกใด ไม่รู้จักรสอร่อย ไม่รู้จักโทษ และไม่รู้จักอุบายเครื่องออกไปพ้น ในธาตุ๔ เหล่านี้ตามที่เป็น จริง....
4) ไม่รู้“ความลับ” ของอินทรีย์หก
(ไม่รู้อินทรีย์ 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ การเกิดขึ้น และการดับไปของอินทรีย์ 6
ก็หาได้ เป็นสมณะ หรือพราหมณ์ไม่)
ภิกษุ ท. ! อินทรีย์๖ เหล่านี้คือ อินทรีย์คือตา อินทรีย์คือหู, อินทรีย์คือจมูก อินทรีย์คือลิ้น, อินทรีย์คือกาย อินทรีย์คือใจ.
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักความเกิดขึ้น ไม่รู้จัก ความดับไป ไม่รู้จักรสอร่อย ไม่รู้จักโทษ และไม่รู้จักอุบายเป็นเครื่อง ออกไปพ้น ในอินทรีย์๖ เหล่านี้ตามที่เป็นจริง....
5) ไม่รู้“ความลับ” ของอินทรีย์ห้า
(ไม่รู้อินทรีย์ 5 ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา และไม่รู้ความเกิด ความดับของอินทรีย์ 5
ก็หาได้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ไม่)
ภิกษุ ท. ! อินทรีย์๕ เหล่านี้คือ อินทรีย์คือ ศรัทธา, อินทรีย์คือ วิริยะ อินทรีย์คือ สติ อินทรีย์คือ สมาธิ, อินทรีย์คือ ปัญญา. ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จัก ความเกิดขึ้น ไม่รู้จัก ความดับไป ไม่รู้จักรสอร่อย ไม่รู้จักโทษ (เมื่อยึดถือ) และไม่รู้จัก อุบายเป็น เครื่องออกไปพ้น ในอินทรีย์๕ เหล่านี้ตามที่เป็นจริง....
6) ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ไม่ได้เป็นสมณะ
(ไม่รู้ปฎิจจสมุปปบาท ก็หาได้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ไม่)
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักชรามรณะ ไม่รู้จัก เหตุเกิดขึ้นแห่งชรามรณะ ไม่รู้จักความดับสนิทแห่งชรามรณะ ไม่รู้จักข้อ ปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งชรามรณะ
ไม่รู้จักชาติ ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งชาติ ไม่รู้จักความดับสนิทแห่ง ชาติ ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่อง ให้ถึงความดับสนิทแห่งชาติ ....
7) ไม่รู้อริยสัจจ์ ไม่ได้เป็นสมณะ -
(ไม่รู้อริยสัจจ์ ก็หาได้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ไม่)
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักตามที่เป็นจริงว่า ทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ ไม่รู้จักตามที่เป็นจริงว่า เหตุให้เกิดทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ ไม่รู้จัก ตามที่เป็นจริงว่า ความดับสนิท แห่งทุกข์เป็น เช่นนี้ๆ ไม่รู้จักตามที่เป็นจริงว่า ข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความ ดับสนิทแห่ง ทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ...
(หน้า 148-150 หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ )
79
ผู้จมมิดในหลุมคูถ
(ทรงพยากรณ์พระเทวทัต ว่าไม่เห็นธรรมขาวแม้ปลายขน)
อานนท์ ! ภิกษุรูปนั้นชะรอยจักเป็นพระใหม่บวชยังไม่นาน หรือว่า เป็นพระเถระผู้พาล ผู้เขลา. ข้อที่เราพยากรณ์โดยส่วนเดียวแล้ว จักกลับกลาย ไปเป็นสองส่วนได้อย่างไร. อานนท์ ! เรายังมอง ไม่เห็นคนอื่นแม้สักคนหนึ่ง ซึ่งเราได้วินิจฉัยประมวลเหตุการณ์ทั้งปวงแล้ว จึงพยากรณ์ไว้อย่างนั้น เหมือนอย่างเทวทัต.
อานนท์ ! ตราบใด เรายังมองเห็นธรรมขาวของเทวทัต แม้เพียง เท่าปลายแหลมสุดแห่ง เส้นขน ตราบนั้นเราก็ไม่พยากรณ์เทวทัตว่า เทวทัต ต้องไปเกิดในอบาย เป็นสัตว์นรก ตั้งอยู่ ชั่วกัลป์ หนึ่ง ช่วยเหลืออะไรไม่ได้ก่อน.
อานนท์ ! เมื่อใดแล เรามองไม่เห็นธรรมขาวของเทวทัต แม้เพียงเท่าปลายแหลมสุด แห่งเส้นขน, เมื่อนั้น เราจึงพยากรณ์เทวทัตว่า เทวทัต ต้องไปเกิดในอบาย เป็นสัตว์นรก ตั้งอยู่ชั่ว กัลป์หนึ่ง ช่วยเหลืออะไรไม่ได้.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๑. บาลีพระพุทธภาษิต ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๐/๓๓๓, ตรัสแก่ท่านพระอานนท์โดยที่มีภิกษุรูปหนึ่งถาม ท่านว่า “ท่านอานนท์ผู้มีอายุ ! พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวินิจฉัยประมวลเหตุการณ์ทั้งปวง ครบถ้วนดี แล้วหรือ จึงทรง พยากรณ์ว่าพระเทวทัต ต้องเกิดในอบาย เป็นสัตว์นรก ตั้งอยู่ชั่วกัลป์หนึ่ง ช่วยเหลืออะไรไม่ได้, หรือว่าทรงพยากรณ์โดยปริยายบางอย่างเท่านั้น” ดังนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ จึงให้คำตอบว่า “ผู้มีอายุ ! คำพยากรณ์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพยากรณ์แล้ว ย่อมเป็นความจริง เช่นนั้นเสมอ” ดังนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเรื่องนี้จึงได้ตรัส พระพุทธวจนะนี้.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อานนท์ ! เปรียบเหมือน หลุมคูถลึกชั่วบุรุษ เต็มไปด้วยคูถจนปริ่ม ขอบหลุม บุรุษคนหนึ่ง พึงตกลงไปในหลุมคูถนั้นจนมิดทั้งตัว. ยังมีบุรุษบาง คนหวังประโยชน์ เกื้อหนุน หวังความเกษม สำราญจากสภาพเช่นนั้น หวังจะช่วย ยกเขาขึ้นจากหลุมคูถนั้น บุรุษนี้จึงเข้าไปใกล้เดินเวียนดูรอบ ๆ หลุมคูถนั้น มองไม่เห็นอวัยวะของคนในหลุมนั้น แม้เพียงเท่าปลายแหลมสุดแห่งเส้นขน ที่ยังที่ยัง ไม่ได้เปื้อนคูถ ซึ่งตนพอจะจับยกขึ้น มาได้. ข้อนี้ฉันใด
อานนท์ ! เมื่อใด เรามองไม่เห็นธรรมขาวของเทวทัต แม้เพียงเท่าปลายแหลม สุดแห่ง เส้นขน เมื่อนั้น เราจึงกล้าพยากรณ์เทวทัตว่า เทวทัตต้องไปเกิดในอบาย เป็นสัตว์นรก ตั้งอยู่ชั่ว กัลป์หนึ่ง ช่วยเหลืออะไรไม่ได้ฉันนั้นแล.
(หน้า 165 หนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ )
80
อนุตตริยะ 6 ประการ (6 สิ่งที่ยอดเยี่ยม)
1. การเห็น อันเยี่ยมได้แก่การเห็นตถาคต (ทัสสนานุตตริยะ)
บุคคลบางคน ในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อดู ช้างแก้วบ้าง ม้าแก้วบ้าง แก้วมณีบ้าง ของใหญ่ของเล็ก หรือสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด.,. ก็ทัสสนะนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าทัสสนะนี้นั้นแล เป็นกิจเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
....ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใส ยิ่ง ย่อมไปเห็นพระตถาคต หรือ สาวกพระตถาคต การเห็นนี้ยอด เยี่ยมกว่าการเห็น ทั้งหลาย
2. การฟัง อันเยี่ยมคือสดับธรรมตถาคต(สวนานุตตริยะ)
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อฟัง เสียงกลองบ้าง เสียงพิณบ้าง เสียงเพลงขับบ้าง หรือเสียงสูงๆต่ำๆ ย่อมไปเพื่อฟังธรรม ของสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด..
การฟังนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มี ก็แต่ว่าการฟังนี้นั้นเป็น กิจเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
....ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใส ยิ่ง ย่อมไปฟังธรรมของพระตถาคต หรือ สาวกของพระตถาคต การฟังนี้ ยอดเยี่ยมกว่า การฟังทั้งหลาย
3. การได้ อันเยี่ยมได้แก่การได้ศรัทธาตถาคต (ลาภานุตตริยะ)
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมได้ลาภ คือบุตรบ้าง ภรรยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือลาภมากบ้าง น้อยบ้าง หรือได้ ศรัทธาในสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด... ลาภนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าลาภนี้นั้นเป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
....ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่น ไหว มีความเลื่อมใส ยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคต หรือ สาวกของพระตถาคต การได้นี้ ยอดเยี่ยม กว่าการได้ทั้งหลาย
4. การศึกษา อันเยี่ยมได้แก่การฝึกอบรมในอธิศีล (สิกขานุตตริยะ)
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมศึกษา ศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง ธนูบ้าง ดาบบ้าง หรือศึกษาศิลป ชั้นสูงชั้นต่ำ ย่อมศึกษาต่อสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ... การศึกษานี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มี ก็แต่ว่าการศึกษานั้น เป็นการศึกษาที่เลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ไม่เป็นไป เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
....
ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่น ไหว มีความเลื่อมใส ยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัย ที่พระตถาคต ประกาศแล้ว การศึกษานี้ยอดเยี่ยมกว่าการศึกษาทั้งหลาย
5. การบำเรอ อันเยี่ยมได้แก่ การบำรุงรับใช้พระตถาคต (ปาริจริยานุตตริยะ)
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมบำรุง กษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง คฤหบดีบ้าง บำรุงคนชั้นสูง ชั้นต่ำ บำรุงสมณะ หรือพราหมณ์ ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด... การบำรุงนี้นั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มี ก็แต่ว่า การบำรุงนี้ นั้นเป็นการบำรุงที่เลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
....
ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่ หวั่นไหวมีความเลื่อมใส ยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคต หรือ สาวกของพระตถาคต การบำรุง นี้ยอดเยี่ยมกว่า การบำรุงทั้งหลาย
6. การระลึก อันเยี่ยมได้แก่ระลึกถึงพระตถาคต (อนุสสตานุตตริยะ)
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมระลึก ถึงการได้บุตรบ้าง ภริยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือการได้มากน้อย ระลึกถึง สมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด.. การระลึกนี้มีอยู่เราไม่กล่าวว่าไม่มี ก็แต่ว่าการระลึกนี้นั้น เป็นกิจเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
...
ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธา ไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใส ยิ่ง ย่อมระลึกถึง พระตถาคต หรือ สาวกของพระตถาคต การระลึกถึงนี้ ยอดเยี่ยมกว่า การระลึกถึงทั้งหลาย
ดูพระสูตรเต็ม
|