เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
อนาคตสูตรที่ ๔ (ภัยของภิกษุที่จะเกิดแก่พุทธศาสนาในอนาคต) 1447
 

(โดยย่อ)
ภัย ๕ ประการ คือ

1)
ภิกษจักเป็นผู้ชอบจีวรดีงาม
เมื่อชอบจีวรดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จักละเสนาสนะ อันสงัดคือป่าและ ป่าชัฏ จักประชุมกันที่บ้าน นิคม ราชธานี

2) ภิกษจักเป็นผู้ชอบบิณฑบาตที่ดีงาม
เมื่อชอบบิณฑบาตที่ดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือเที่ยว บิณฑบาต เป็นวัตร ละเสนาสนะ อันสงัด คือป่าและป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และราชธานี

3) ภิกษจักเป็นผู้ชอบเสนาสนะที่ดีงาม
เมื่อชอบเสนาสนะดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือการ อยู่ป่า เป็นวัตร

4) ภิกษจักเป็นผู้อยู่คลุกคลีด้วยภิกษุณี
นางสิกขมานา(สามเณรี) และสมณุทเทส(นักบวช) เธอเหล่านั้นจะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ จักต้องอาบัติ หรือจักบอกคืน สิกขา

5) ภิกษจักเป็นผู้คลุกคลีด้วยอารามิกบุรุษ และสมณุทเทส
เมื่อคลุกคลีแล้ว จักเป็นผู้ประกอบการ บริโภคของที่สะสมไว้ จักกระทำนิมิต แม้อย่างหยาบ ที่แผ่นดินบ้าง ที่ปลายของเขียวบ้าง

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๙๓


อนาคตสูตรที่ ๔
(ภัยของภิกษุที่จะเกิดแก่พุทธศาสนาในอนาคต)

             [๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ซึ่งยังไม่บังเกิด ในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น

๕ ประการเป็นไฉน คือ

             ในอนาคต (๑) ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบจีวรดีงาม เมื่อชอบจีวร ดีงาม ก็จักละความเป็น ผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จักละเสนาสนะอันสงัดคือป่า และ ป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคมและราชธานี และจักถึงการแสวงหา ไม่สมควร อันไม่เหมาะสมต่างๆ เพราะเหตุจีวร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๑ นี้ซึ่งยัง ไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จัก บังเกิดในกาลต่อไปภัยนั้น อันเธอทั้งหลาย พึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายาม เพื่อละภัยนั้น

             อีกประการหนึ่ง ในอนาคต (๒) ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบบิณฑบาต ที่ดีงาม เมื่อชอบบิณฑบาตที่ดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ละเสนาสนะ อันสงัด คือป่า และป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และราชธานี แสวงหาบิณฑบาตที่มีรสอันเลิศด้วยปลายลิ้น และจักถึงการแสวงหาอันไม่สมควร ไม่เหมาะสมต่างๆ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๒ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไปภัยนั้น อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้ เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายาม เพื่อละภัยนั้น

             อีกประการหนึ่ง ในอนาคต(๓) ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบเสนาสนะ ดีงาม เมื่อชอบเสนาสนะดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรละเสนาสนะ อันสงัด คือป่า และป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และราชธานี และจักถึงการ แสวงหา อันไม่สมควร ไม่เหมาะสมต่างๆ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดใน กาล ต่อไป ภัยนั้น อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายาม เพื่อละภัยนั้น

             อีกประการหนึ่ง ในอนาคต(๔) ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้อยู่คลุกคลี ด้วยภิกษุณี นางสิกขมานา และสมณุทเทส เมื่อมีการคลุกคลีด้วยภิกษุณี นางสิกขมานา และสมณุทเทส พึงหวังข้อนี้ได้ว่า เธอเหล่านั้น จักเป็นผู้ไม่ยินดี ประพฤติพรหมจรรย์ จักต้องอาบัติเศร้าหมองบางอย่าง หรือจักบอกคืนสิกขา เวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิด ในบัดนี้ แต่จักบังเกิดใน กาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลาย พึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยนั้น

             อีกประการหนึ่ง ในอนาคต (๕) ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้คลุกคลีด้วย อารามิกบุรุษ และสมณุทเทส เมื่อมีการคลุกคลีด้วยอารามิกบุรุษ และสมณุทเทส พึงหวังข้อนี้ได้ว่า เธอเหล่านั้น จักเป็นผู้ประกอบการบริโภคของที่สะสมไว้ มีประการต่างๆ จักกระทำนิมิตแม้อย่างหยาบที่แผ่นดินบ้าง ที่ปลายของเขียวบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๕ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิด ในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึง พยายาม เพื่อละภัยเหล่านั้น

จบสูตรที่ ๑๐
จบโยธาชีวรรคที่ ๓






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์