เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
ธรรมอันเป็นเครื่องสนุกสนานชอบใจของตถาคต 1448
 

(โดยย่อ)

ธรรมอันเป็นเครื่องสนุกสนานชอบใจของตถาคต

1. วิชชา และวิมุตติ  
2. โพชฌงค์ ๗ 
3. สติปัฏฐาน ๔ 
4. สุจริต ๓  (กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หรือ กุศลกรรมบถ๑๐)
5 .อินทรีย์สังวร

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

 


ปฏิจจสมุปบาท จากพระโอษฐ์
 หน้า 631

ธรรมอันเป็นเครื่องสนุกสนานชอบใจของตถาคต
ปฏิจจสมุปบาทแห่งวิชชาและวิมุตติ(โดยสังเขป)



         กุณฑลิยปริพพาชก ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นผู้ชอบ เที่ยวไปตามหมู่บริษัทในอารามต่างๆ

         ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อข้าพเจ้าเสร็จภัตตกิจในเวลาเช้าแล้ว หลังจาก เวลาแห่งภัตแล้ว กิจเป็นประจำวันของข้าพเจ้า คือเที่ยวไปจากอารามนั้นสู่อารามนี้ จากอุทยานนั้น สู่อุทยานนี้

         ในที่นั้น ข้าพเจ้าได้เห็นสมณพราหมณ์พวกหนึ่งๆ เป็นผู้มีการเปลื้องวาทะ แก่กันและกันว่าอย่างนี้ ๆเป็นเครื่อง สนุกสนานชอบใจ (อานิสงส์) ก็มี มีการ ติเตียนกัน เมื่อกล่าวกถานั้น ๆอยู่ เป็นเครื่องสนุกสนานชอบใจก็มี ก็พระสมณะ โคดมเล่า เป็นผู้อยู่ด้วยการมีอะไร เป็นเครื่องสนุกสนาน ชอบใจ

         ดูก่อนกุณฑลิยะ ตถาคตอยู่ด้วยการมีผลแห่ง วิชชา และวิมุตติ (๑) เป็นเครื่อง สนุกสนาน ชอบใจ

         ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว ย่อมทำ วิชชา และวิมุตติให้บริบูรณ์
         ดูก่อนกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ ประการ แล....(๒) 

         ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมทำ โพชฌงค์ ๗ ประการ ให้บริบูรณ์
         ดูก่อนกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ ประการ แล....(๓) 

         ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมทำ สติปัฏฐาน๔ประการให้บริบูรณ์
         ดูก่อนกุณฑลิยะ สุจริต ๓ ประการ* แล....(๔) 

         ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่บุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมทำ สุจริต๓ประการให้บริบูรณ์
         ดูก่อนกุณฑลิยะ อินทรีย์สังวร แล (๕) ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมทำสุจริต ๓ ประการให้บริบูรณ์

         ดูก่อนกุณฑลิยะ อินทรีย์สังวร ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างไรเล่า จึงจะทำ สุจริต ๓ ประการให้บริบูรณ์
*กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต (กุศลกรรมบถ๑๐)

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

         ดูก่อนกุณฑลยะ ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปที่น่าพอใจด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่ เพ่งเล็งด้วยความโลภ ไม่หวังจะเอามา ทะนุถนอม ไม่ทำราคะให้เกิดขึ้น กายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว ในภายใน

         อนึ่งเธอ เห็นรูปที่ไม่น่าพอใจด้วยจักษุแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่เงอะงะ ไม่มีจิตตั้งอยู่ด้วยโทสะ มีใจอันความโกรธ ไม่ครอบงำแล้ว มีจิตไม่มาดร้ายแล้ว กายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ ตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว ในภายใน
(ในกรณีแห่งเสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ ก็ตรัสไว้มีนัยเดียวกัน)

         ดูก่อนกุณฑลิยะ เพราะเหตุที่ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้คงที่ มีจิต อันกิเลสไม่ครอบงำแล้วไม่มี จิตถึงความผิดปรกติแล้ว ในรูปทั้งหลาย ทั้งที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจ กายของเธอจึงคงที่ จิตของ เธอจึงคงที่ เป็นจิตตั้งมั่น ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว ในภายใน (ในกรณีแห่งเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ ก็ตรัสไว้มีนัยเดียวกัน)

         ดูก่อนกุณฑลิยะ อินทรียสังวร อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ แล จึงจะทำสุจริต ๓ ประการให้บริบูรณ์

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

         ดูก่อนกุณฑลิยะ สุจริต ๓ ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างไรเล่า จึงจะทำสติปัฏฐาน ๔ ประการให้บริบูรณ์

         ดูก่อนกุณฑลิยะ ภิกษุในกรณีนี้
(๑) ย่อมเจริญกายสุจริต เพื่อละ กายทุจริต
(๒) ย่อมเจริญวจีสุจริต เพื่อละ วจีทุจริต
(๓) ย่อมเจริญมโนสุจริต เพื่อละ มโนทุจริต


         ดูก่อนกุณฑลิยะ สุจริต ๓ ประการ* อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล จึงจะทำ สติปัฏฐาน๔ ประการให้บริบูรณ์
* กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต (กุศลกรรมบถ๑๐)
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

         ดูก่อนกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว อย่างไรเล่า จึงจะทำ โพชฌงค์ ๗ ประการให้บริบูรณ์

         ดูก่อนกุณฑลิยะ ภิกษุในกรณีนี้
(๑) ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกาย ในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกออกเสียได้
(๒) ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ ...ฯลฯ...
(๓) ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่เป็นประจำ ...ฯลฯ...
(๔) ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมป ชัญญะ มีสติ พึงกำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

         ดูก่อนกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ ประการอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล จึงจะทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้บริบูรณ์

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

         ดูก่อนกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างไรเล่า จึงจะทำ วิชชาและวิมุตติ ให้บริบูรณ์

         ดูก่อนกุณทลิยะ ภิกษุในกรณีนี้
(๑) ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธะน้อมไป เพื่อความปล่อยวาง
(๒) ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์...ฯลฯ...
(๓) ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...ฯลฯ...
(๔) ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ...ฯลฯ...
(๕) ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...ฯลฯ...
(๖) ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์...ฯลฯ...
(๗) ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธะ น้อมไปเพื่อความปล่อยวาง

         ดูก่อนกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำไปมากแล้ว อย่างนี้แลจึงจะทำ วิชชา และ วิมุตติ ให้บริบูรณ์

         เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้แล้ว กุณฑลิยปริพพาชก ยกย่องชมเชยใน พระธรรม เทศนาแล้ว แสดงตนเป็นอุบาสก รับนับถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ จนตลอดชีวิต

------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ปฏิจจสมุปบาทสายนี้ เป็นการแสดง โดยสังเขป เพียงไม่กี่อาการ มีลำดับคือ อินทรีย์สังวร สุจริต ๓ สติปัฏฐาน ๔โพชฌงค์ ๗ และวิชชาวิมุตติ ถึง กระนั้นก็พึงทราบว่า อาจจะขยายออก ให้มีมากครบทุกประการ ดังที่ได้แสดงไว้แล้วในหัวข้อเรื่องที่ แล้วมา
------------------------------------------------------------------------------------------------------








พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์