เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  สุขตวินิโย ระเบียบถ้อยคำของพระสุคต 507
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป
วินัยของพระสุคตเป็นไฉน พระสุคตนั้นย่อมทรงแสดงธรรม อันงาม ในเบื้องต้นงามในท่ามกลาง
งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง

ความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม
(1) ภิกษุเล่าเรียนพระสูตรกันมาผิด ด้วยบท และพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด
(2) ภิกษุเป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ
(3) ภิกษุที่เป็นพหูสูต ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา แต่ไม่สอนแก่ผู้อื่น ทำให้รากขาดสูญ
(4) ภิกษุพระเถระเป็นผู้มักมาก ประพฤติย่อหย่อน ไม่ปรารภความเพียร เพื่อบรรลุธรรม

ความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
(1) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนพระสูตรอันเรียนกันมาดี ด้วยบท และพยัญชนะ อันตั้งไว้ดี
(2) ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรม อดทน รับคำพร่ำสอน โดยเคารพ
(3) ภิกษุที่เป็นพหูสูต เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรม ทรงวินัย บอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ
(4) ภิกษุพระเถระ เป็นผู้ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่บรรลุ

 
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๔๔


สุขตวินิโย ระเบียบถ้อยคำของพระสุคต

             [๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสุคต หรือ วินัยของพระสุคต ยังดำรงอยู่ในโลก พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พระสุคตเป็นไฉนตถาคตอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถี ฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้ ตื่นแล้วเป็นผู้จำแนกธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือพระสุคต

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วินัยของพระสุคตเป็นไฉน พระสุคตนั้นย่อมทรงแสดงธรรม อันงาม ในเบื้องต้นงามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือวินัยของพระสุคตดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสุคตหรือวินัยของ พระสุคต ยังดำรงอยู่ในโลก พึงเป็นไป เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อสุขแก่ชน เป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลกเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ฟั่นเฟือน  เพื่อความเสื่อมสูญแห่ง พระสัทธรรม ๔ ประการเป็นไฉน

(1.) ภิกษุในธรรมวินัยนี้  ย่อมเล่าเรียนพระสูตรอันเรียนกันมา ผิดลำดับ ด้วยบทและ พยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด แม้อรรถแห่งบท และพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด ย่อมมีนัยผิดไปด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย  นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความ เสื่อมสูญ แห่งพระสัทธรรม ฯ

(2.) อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมอันทำให้เป็นผู้ว่า ยาก เป็นผู้ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเสื่อมสูญแห่ง พระสัทธรรม ฯ

(3.) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ภิกษุนั้นไม่บอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นมรณภาพลง พระสูตรย่อมมีรากขาดสูญ ไม่มีที่พึ่งอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

(4.) อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นพระเถระ เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติ ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการก้าวลง ทอดธุระในวิเวก ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึง ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลัง ย่อมดำเนินตามอย่างภิกษุเหล่านั้น แม้ชนผู้เกิดมาภายหลัง นั้น ก็เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้า ในการก้าวลง ทอดธุระ ในวิเวก ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึงเพื่อบรรลุ ธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไป เพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความ ไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม
๔ ประการเป็นไฉน


(1.) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนพระสูตรอันเรียนกันมาดี ด้วยบท และ พยัญชนะอันตั้งไว้ดี แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี ย่อมมีนัยดี ไปด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไป เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความ ไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

(2.) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมอันทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้ อดทน รับคำ พร่ำสอนโดยเคารพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไป เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่ง พระสัทธรรม ฯ

(3.) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรม  ทรงวินัย ทรงมาติกา ภิกษุเหล่านั้นบอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้น มรณภาพลง พระสูตรย่อมไม่ ขาดมูลเดิม ยังมีที่พึ่งอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ตั้งมั่นเพื่อความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความไม่ เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

(4.) อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ เป็นผู้ไม่มักมากไม่ประพฤติย่อ หย่อน ทอดธุระในการก้าวลง เป็นหัวหน้าในวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยัง ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง หมู่ชน ผู้เกิดมาภายหลัง ย่อมดำเนิน ตามอย่างภิกษุเหล่านั้นแม้หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลัง เหล่านั้น ก็เป็นผู้ไม่มักมาก ไม่ประพฤติ ย่อมหย่อน ทอดธุระในการก้าวลง เป็นหัวหน้า ในวิเวก ปรารภความเพียร เพื่อถึง ธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง  ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระ สัทธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความ ไม่ฟั่นเฟือน  เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

จบอินทรียวรรคที่ ๑

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์