เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ธรรมิกสูตร พราหมณ์และคฤหบดีไม่ตั้งอยู่ในธรรม... ชาวนิคมก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม... 675
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

สมัยใด พระราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม... ข้าราชการก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
ข้าราชการไม่ตั้งอยู่ในธรรม... พราหมณ์ และคฤหบดี ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม

พราหมณ์และคฤหบดีไม่ตั้งอยู่ในธรรม... ชาวนิคมก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม... พระจันทร์และพระอาทิตย์หมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ

เมื่อพระจันทร์ และพระอาทิตย์หมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ... หมู่ดาวนักษัตร ก็ย่อมหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ
เมื่อคืนและวันหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ... เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็หมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ
เมื่อเดือนหนึ่งและกึ่งเดือนหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ... ฤดูและปี ก็ย่อมหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ
เมื่อฤดูและปีหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ... ลมย่อมพัดไม่สม่ำเสมอ
เมื่อลมพัดไม่สม่ำเสมอ... ลมก็เดินผิดทางไม่สม่ำเสมอย่อมพัดเวียนไป
เมื่อลมเดินผิดทางไม่สม่ำเสมอพัดเวียนไป... เทวดาย่อมกำเริบ
เมื่อเทวดากำเริบ... ฝนย่อมไม่ตกต้องตามฤดูกาล
เมื่อฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล... ข้าวกล้าทั้งหลายก็สุกไม่เสมอกัน

มนุษย์ผู้บริโภคข้าวที่สุกไม่เสมอกัน... ย่อมเป็นผู้มีอายุน้อย
มีผิวพรรณเศร้าหมอง... มีกำลังน้อย มีอาพาธมาก




 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๗๔

ธรรมิกสูตร


           [๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด พระราชาเป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
สมัยนั้นแม้พวกข้าราชการก็เป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม

เมื่อพวกข้าราชการไม่ตั้งอยู่ในธรรม
สมัยนั้นแม้พราหมณ์ และคฤหบดีก็เป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม

เมื่อพราหมณ์และคฤหบดีไม่ตั้งอยู่ในธรรม
สมัยนั้นแม้ชาวนิคมและชาวชนบท ก็เป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
พระจันทร์และพระอาทิตย์ ย่อมหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ

เมื่อพระจันทร์ และพระอาทิตย์หมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ
หมู่ดาวนักษัตร ก็ย่อมหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ

เมื่อคืนและวันหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ
เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็หมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ

เมื่อเดือนหนึ่งและกึ่งเดือนหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ
ฤดูและปี ก็ย่อมหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ

เมื่อฤดูและปีหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ
ลมย่อมพัดไม่สม่ำเสมอ

เมื่อลมพัดไม่สม่ำเสมอ
ลมก็เดินผิดทางไม่สม่ำเสมอย่อมพัดเวียนไป

เมื่อลมเดินผิดทางไม่สม่ำเสมอพัดเวียนไป
เทวดาย่อมกำเริบ

เมื่อเทวดากำเริบ
ฝนย่อมไม่ตกต้องตามฤดูกาล

เมื่อฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล
ข้าวกล้าทั้งหลายก็สุกไม่เสมอกัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

มนุษย์ผู้บริโภคข้าวที่สุกไม่เสมอกัน ย่อมเป็นผู้มีอายุน้อย
มีผิวพรรณเศร้าหมอง มีกำลังน้อย มีอาพาธมาก

(ในทางตรงกันข้าม)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สมัยใดพระราชาเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม 
สมัยนั้นแม้ข้าราชการ ก็ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม

เมื่อข้าราชการตั้งอยู่ในธรรมสมัยนั้น
แม้พราหมณ์ และคฤหบดี ก็เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม

เมื่อพราหมณ์และคฤหบดีตั้งอยู่ในธรรม
สมัยนั้น แม้ชาวนิคมและชาวชนบท ก็ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม

เมื่อชาวนิคม และชาวชนบทเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม
พระจันทร์และพระอาทิตย์ ก็ย่อมหมุนเวียนสม่ำเสมอ

เมื่อพระจันทร์ และพระอาทิตย์หมุนเวียนสม่ำเสมอกัน
หมู่ดาวนักษัตร ก็ย่อมหมุนเวียนสม่ำเสมอ

เมื่อหมู่ดาวนักษัตรหมุนเวียนสม่ำเสมอ
คืนและวันก็ย่อมหมุนเวียนสม่ำเสมอ

เมื่อคืน และวันย่อมหมุนเวียนสม่ำเสมอ
เดือนหนึ่งและกึ่งเดือน ก็ย่อมหมุนเวียนสม่ำเสมอกัน

เมื่อเดือนหนึ่งและกึ่งเดือนหมุนเวียนสม่ำเสมอ
ฤดูและปีก็ย่อมหมุนเวียนไปสม่ำเสมอ

เมื่อฤดูและปีหมุนเวียนไปสม่ำเสมอกัน
ลมย่อมพัดสม่ำเสมอ

เมื่อลมพัดสม่ำเสมอ
ลมย่อมพัดไปถูกทาง

เมื่อลมพัดไปถูกทาง เทวดาย่อมไม่กำเริบ
ฝนย่อมตกต้องตามฤดูกาล

เมื่อฝนตกต้องตามฤดูกาล
ข้าวกล้าก็สุกเสมอกัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

มนุษย์ผู้บริโภคข้าวกล้าที่สุกเสมอกัน ย่อมมีอายุยืน
มีผิวพรรณดี มีกำลัง และ มีอาพาธน้อยฯ

เมื่อฝูงโคข้ามไปอยู่ ถ้าโคผู้นำฝูงไปคด
โคเหล่านั้นย่อม ไปคดทั้งหมด

ในเมื่อโคผู้นำไปคด
ในมนุษย์ก็เหมือนกัน

ผู้ใดได้รับสมมติให้เป็นผู้นำ
ถ้าผู้นั้นประพฤติอธรรมประชาชน

นอกนี้ก็จะประพฤติอธรรมเหมือนกัน
แว่นแคว้นทั้งหมดจะได้ประสบความทุกข์

ถ้าพระราชาเป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
เมื่อฝูงโคข้ามไปอยู่ ถ้าโคผู้นำฝูงไปตรง
โคเหล่านั้นย่อมไปตรงทั้งหมด

ในเมื่อโคผู้นำไปตรง ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน
ผู้ใดได้รับสมมติ ให้เป็นผู้นำ ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรม
ประชาชนนอกนี้ย่อมประพฤติธรรมเหมือนกัน
แว่นแคว้นทั้งหมดย่อมได้ประสบความสุข
ถ้าพระราชาเป็นผู้ ตั้งอยู่ในธรรม




 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์