เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 พิธีปลงบาปแบบสมณะพราหมณ์ และ แบบอริยสาวก (ละอกุศลกรรมบถ๑๐) 1411
 

(โดยย่อ)

พิธี ปลงบาป แบบสมณะพราหมณ์เหล่าอื่น
(๑) สนานเกล้านุ่งห่มผ้าไหม ทั้งคู่ อันใหม่
(๒) ทาแผ่นดินด้วยโคมัยสด
(๓) ลาดด้วยหญ้าคาที่เขียวสด แล้ว
(๔) สำเร็จการนอนในระหว่างกองทราย และเรือนไฟ ในราตรีนั้น

(ปลงแปลว่า ปลดเปลื้อง เอาออก ปลงบาปแปลว่า ปลดเปลื้องจากสิ่งอันเป็นบาป เป็นมลทิน)

พิธี ปลงบาป แบบอริยสาวกของพระพุทธเจ้า
(๑) ย่อมละปาณาติบาต ย่อมปลงบาปจากปาณาติบาต (ละการฆ่าสัตว์)
(๒) ย่อมละอทินนาทาน ย่อมปลงบาปจากอทินนาทาน (ละการลักโขมย)
(๓) ย่อมละกาเมสุมิจฉาจาร ย่อมปลงบาปจากกาเมสุมิจฉาจาร (ละประพฤติผิดในกาม)
(๔) ย่อมละมุสาวาท ย่อมปลงบาปจากมุสาวาท (ละการพูดเท็จ)
(๕) ย่อมละปิสุณาวาจา ย่อมปลงบาปจากปิสุณาวาจา (ละพูดส่อเสียด)
(๖) ย่อมละผรุสวาจา ย่อมปลงบาปจากผรุสวาจา (ละพูดหยาบคาย)
(๗) ย่อมละสัมผัปปลาปวาจา ย่อมปลงบาปจากสัมผัปปลาปวาจา (ละพูดเพ้อเจ้อ)
(๘) ย่อมละอภิชฌา ย่อมปลงบาปจากอภิชฌา (ละความโลภ)
(๙) ย่อมละพยาบาท ย่อมปลงบาปจากพยาบาท (ละพยาบาท)
(๑๐) ย่อมละมิจฉาทิฐิ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาทิฐิ (ละความเห็นผิด)
(ละอกุศลกรรมบถ๑๐)
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งพิธีปลงบาป ในวินัยของพระอริยะนี้ ... ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำ ข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๒๔


พิธีปลงบาปแบบของสมณะพราหมณ์ กับแบบของอริยสาวก
ในธรรมวินัยนี้
(ชานุสโสณีวรรคที่ ๒
)


          [๑๕๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ชานุสโสณีพราหมณ์สนานเกล้า ในวันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าไหมทั้งคู่อันใหม่ ถือกำหญ้าคาสด ไปยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ในที่ ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคพระผู้มีพระภาค ได้ทอดพระเนตร เห็นชานุสโสณีพราหมณ์ ผู้สนานเกล้าในวันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าไหมทั้งคู่อันใหม่ ถือกำหญ้าคาสดยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งที่ไม่ไกล

ครั้นแล้วได้ตรัสถามชานุสโสณีพราหมณ์ว่า

     ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงสนานเกล้าในวันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าไหม ทั้งคู่ อันใหม่ ถือกำหญ้าคาสด มายืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง วันนี้เป็นวันอะไรของ สกุลพราหมณ์ ชานุสโสณีพราหมณ์ กราบทูลว่า

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ วันนี้เป็นวันปลงบาปของสกุลพราหมณ์

     พ. ดูกรพราหมณ์ ก็พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลายย่อมมีด้วยประการไรเล่า

     ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พราหมณ์ทั้งหลายในโลกนี้ ในวันอุโบสถ
    (๑) สนานเกล้านุ่งห่มผ้าไหม ทั้งคู่ อันใหม่
    (๒) ทาแผ่นดินด้วยโคมัยสด
    (๓) ลาดด้วยหญ้าคาทั้งหลายที่เขียวสด แล้ว
    (๔) สำเร็จการนอนในระหว่างกองทรายและเรือนไฟ ในราตรีนั้น


     พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมลุกขึ้น ประนมอัญชลี นมัสการไฟ ๓ ครั้ง ด้วยการกล่าว ว่า ข้าพเจ้าขอปลงบาปกะท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอปลงบาป กะท่านผู้เจริญ ดังนี้ และ ย่อมยังไฟให้อิ่มหนำ ด้วยเนยใส น้ำมัน และเนยข้นอันเพียงพอ พอล่วงราตรีนั้นไป ย่อมเลี้ยงพราหมณ์ทั้งหลาย ให้อิ่มหนำ ด้วยขาทนียโภชนียาหาร อันประณีต ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้แล

          พ. ดูกรพราหมณ์ พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมมีโดยประการ อย่างอื่น ส่วนพิธีปลงบาป ในวินัยของพระอริยะ ย่อมมีโดยประการอย่างอื่น ฯ

          ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พิธีปลงบาปในวินัยของพระอริยะ ย่อมมีโดย ประการใดเล่า ขอประทานพระวโรกาส ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงแสดงธรรม แก่ข้าพระองค์ ตามพิธีปลงบาป ในวินัยของพระอริยะด้วยเถิด

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ชานุสโสณีพราหมณ์ ทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสว่า

ดูกรพราหมณ์อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
(ละ ปลดเปลื้อง อกุศลกรรมบถ๑๐)


     (๑) ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าวิบากของปาณาติบาต เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละปาณาติบาต ย่อมปลงบาปจากปาณาติบาต

     (๒) ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งอทินนาทาน เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งใน ปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละ อทินนาทาน ย่อมปลงบาปจาก อทินนาทาน

     (๓) ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจาร เป็นสิ่งที่ชั่วช้า ทั้งใน ปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละ กาเม สุมิจฉาจาร ย่อมปลงบาปจาก กาเมสุมิจฉาจาร

     (๔) ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมุสาวาท เป็นสิ่งที่ชั่วช้า ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมุสาวาท ย่อมปลงบาปจากมุสาวาท

     (๕) ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งปิสุณาวาจา เป็นสิ่งที่ชั่วช้า ทั้งใน ปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละปิสุณา วาจา ย่อมปลงบาปจาก ปิสุณาวาจา

     (๖) ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งผรุสวาจา เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละผรุสวาจา ย่อม ปลงบาปจากผรุสวาจา

     (๗) ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งสัมผัปปลาปวาจา เป็นสิ่งที่ชั่วช้า ทั้งใน ปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละสัมผัป ปลาปวาจา ย่อมปลงบาปจากสัมผัปปลาปวาจา

     (๘) ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งอภิชฌา เป็นสิ่งที่ชั่วช้า ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละอภิชฌา ย่อม ปลงบาปจากอภิชฌา

     (๙) ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งพยาบาท เป็นสิ่งที่ชั่วช้า ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละพยาบาท ย่อมปลงบาปจากพยาบาท

     (๑๐) ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาทิฐิเป็นสิ่งที่ชั่วช้า ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาทิฐิ ย่อม ปลงบาปจากมิจฉาทิฐิ


          ดูกรพราหมณ์ พิธีปลงบาปในวินัยของพระอริยะ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล

          ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมมี โดยประการอื่น ส่วนพิธีปลงบาป ในวินัยของ พระอริยะ ย่อมมีโดยประการอื่น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งพิธีปลงบาปในวินัยของพระอริยะนี้

     ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ แจ่มแจ้ง ยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระโคดม ผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์