เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 รายละเอียดของสังขาร (นัยที่ ๑- ๕) 1412
 

(โดยย่อ)

นัยยะที่ ๑
๑) กายสังขาร ๒) วจีสังขาร ๓) จิตตสังขาร
-ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร เพราะความเกิดขึ้นแห่งอวิชชา
-ความดับแห่ง สังขารย่อมมี เพราะความดับ แห่งอวิชชา
-มรรคมีองค์ ๘  เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร

นัยยะที่ ๒
๑) กายสังขาร ๒) วจีสังขาร ๓) จิตตสังขาร
-ลมหายใจเข้า และลมหายใจออก จึงเป็นกายสังขาร (มีในกาย เนื่องด้วยกาย)
-วิตกและวิจาร จึงเป็น วจีสังขาร (บุคคลย่อมคิด ก่อนเปล่งวาจา)
-สัญญา และเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร (เป็นธรรมมีในจิต เนื่องด้วยจิต)

นัยยะที่ ๓
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ปรุงแต่งวจีสังขาร ปรุงแต่งมโนสังขาร ที่เป็นไปเพื่อ
- ความเบียดเบียน ...ครั้นปรุงแต่งแล้ว ผัสสะ ย่อมเสวยทุกข์โดยส่วนเดียว (เช่นสัตว์นรก)
- ไม่มีความเบียดเบียน...ครั้นปรุงแต่งแล้ว ผัสสะ ย่อมเสวยสุขโดยส่วนเดียว (เช่นเทวดา)
- เบียดเบียนบ้าง ไม่เบียดเบียนบ้าง ...ครั้นปรุงแต่งแล้ว ผัสสะ ย่อมเสวยสุข และทุกข์ (เช่นมนุษย์ เทวดาบางพวก และสัตว์พวกวินิบาตบางพวก)

นัยยะที่ ๔
ก็สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร... หมู่แห่งเจตนา ๖ เหล่านี้ คือ สัญเจตนาในรูป สัญเจตนาในเสียง สัญเจตนาในกลิ่น สัญเจตนาในรส สัญเจตนาในโผฏฐัพพะ สัญเจตนาในธรรม
- ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ
- ความดับแห่งสังขาร เพราะความดับแห่งผัสสะ
- อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร
เมื่อรู้ชัดทั้งความเกิด ความดับ และมรรคข้อปฏิบัติแล้ว ย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อความดับ แห่งสังขาร ย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้ ย่อมหลุดพ้น หลุดพ้นแล้วเป็นเกพลี วัฏฏะย่อมไม่มี

นัยยะที่ ๕
สุขและทุกข์ อาศัยปัจจัยคือ ผัสสะ เกิดขึ้น
-เมื่อกายมีอยู่ สุข และทุกข์อันเป็นภายในย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางกาย เป็นเหตุ
-เมื่อวาจามีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางวาจา เป็นเหตุ -เมื่อมโนมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางมโนเป็นเหตุ
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย บุคคลย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร ด้วยตนเองบ้าง โดยผู้อื่นบ้าง โดยรู้สึกตัวบ้าง โดยไม่รู้สึกตัวบ้าง
เพราะความจางคลาย ดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว กาย วาจา มโน ผืนนา พืช (เพื่อการงอก) อายตนะ อธิกรณ์(เครื่องทำให้งอก) ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ จึงไม่มี

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 

จาก หนังสือ จิต มโน วิญญาณ หน้า 37

รายละเอียดของสังขาร (นัยที่ ๑) ตรัสกับภิกษุ ท.
(โดยย่อ)

สังขารทั้งหลาย ๓ อย่าง คือ
๑) กายสังขาร (ความปรุงแต่งทางกาย)
๒) วจีสังขาร (ความปรุงแต่ง ทางวาจา)
๓) จิตตสังขาร (ความปรุงแต่งทางจิต)
- ความเกิดขึ้นแห่งสังขารย่อมมี เพราะความเกิดขึ้น แห่งอวิชชา
- ความดับแห่ง สังขารย่อมมี เพราะความดับ แห่งอวิชชา
 -มรรคมีองค์ ๘  เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร



รายละเอียดของสังขาร (นัยที่ ๒) ตรัสกับ  อาวุโสวิสาขะ
(โดยย่อ)

สังขารทั้งหลาย ๓ อย่าง คือ
๑) กายสังขาร ๒) วจีสังขาร ๓) จิตตสังขาร
-ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เป็น กายสังขาร
-วิตกและวิจาร เป็น วจีสังขาร
-สัญญา และเวทนา เป็น จิตตสังขาร
๑) ก็เพราะเหตุอะไร ลมหายใจเข้า และลมหายใจออก จึงเป็นกายสังขาร
เพราะลมหายใจเข้า และลมหายใจออกเหล่านี้ เป็นธรรมมีในกาย เนื่องด้วยกาย ดังนั้นลมหายใจเข้า และลมหายใจออกจึงเป็น กายสังขาร
๒) เพราะเหตุอะไรวิตกและวิจาร จึงเป็น วจีสังขาร  บุคคลย่อมคิด ย่อมพิจารณา ก่อนแล้วจึงเปล่งวาจา ดังนั้นวิตก และวิจารจึงเป็น วจีสังขาร
๓) เพราะเหตุอะไรสัญญา และเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร สัญญาและเวทนา เป็นธรรมมีในจิต เนื่องด้วยจิต ดังนั้น สัญญาและเวทนาจึงเป็น จิตตสังขาร



รายละเอียดของสังขาร (นัยที่ ๓)
(โดยย่อ)

บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๓ จำพวกเป็นอย่างไร
1) บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ปรุงแต่งวจีสังขาร ปรุงแต่งมโน สังขาร ที่มีความเบียดเบียน ครั้นปรุงแต่งแล้ว ผัสสะที่มีความเบียดเบียน ย่อมถูกต้อง เขา เขาย่อมได้เสวยเวทนาอันมีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว ดังเช่น พวก สัตว์นรก

2) บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ปรุงแต่งวจีสังขาร ปรุงแต่ง มโนสังขาร ที่ไม่มีความเบียดเบียน ครั้นปรุงแต่งแล้ว ผัสสะที่มีความไม่เบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขา ย่อมได้เสวยเวทนาอันไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว ดังเช่น พวกเทวดา สุภกิณหะ.


3) บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ปรุงแต่งวจีสังขาร ปรุงแต่ง มโนสังขาร ที่เป็นไปความเบียดเบียนบ้าง ไม่เบียดเบียนบ้าง ครั้นปรุงแต่งแล้ว ผัสสะที่มีความเบียดเบียน และไม่เบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขา ย่อมได้เสวยเวทนา อันมี ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง อันเป็นสุข และทุกข์เจือปนกัน ดังเช่น มนุษย์ทั้งหลาย เทวดาบางพวก และสัตว์พวกวินิบาตบางพวก



รายละเอียดของสังขาร (นัยที่ ๔) ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย
(โดยย่อ)

ก็สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร

หมู่แห่งเจตนา ๖ เหล่านี้ คือ สัญเจตนาในรูป สัญเจตนาในเสียง สัญเจตนาในกลิ่น สัญเจตนาในรส สัญเจตนาในโผฏฐัพพะ สัญเจตนาในธรรม

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสังขารทั้งหลาย

ความเกิดขึ้นแห่งสังขารย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ
ความดับแห่งสังขารย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร

ภิกษุ ท. ก็สมณะหรือพราหมณ์
รู้ชัดแล้วซึ่งสังขารอย่างนี้
รู้ชัดแล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้
รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้

แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่งสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้วชนเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ชัดแล้วซึ่งสังขารอย่างนี้
รู้ชัดแล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่งสังขารอย่างนี้
รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้ แล้วเป็นผู้หลุดพ้น
เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัดเพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นในสังขาร

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นเกพลี
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นเกพลี
วัฏฏะย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น



รายละเอียดของสังขาร (นัยที่ ๕) ตรัสกับอานนท์
(โดยย่อ)

อานนท์ เรากล่าวว่าสุขและทุกข์เป็นของอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนํ) สุข และทุกข์นั้นอาศัยปัจจัยอะไรเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยปัจจัยคือผัสสะเกิดขึ้น บุคคล ผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นอันกล่าวตามที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง

อานนท์ เมื่อกายมีอยู่ สุข และทุกข์อันเป็นภายในย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางกาย (กายสญฺเจตนา) เป็นเหตุ

อานนท์ เมื่อวาจามีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางวาจา (วจีสญฺเจตนา) เป็นเหตุ

อานนท์ เมื่อมโนมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางมโน (มโนสญฺเจตนา) เป็นเหตุ

เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นแหละ บุคคลย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุข และทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น
ด้วยตนเองบ้าง โดยผู้อื่นบ้าง โดยรู้สึกตัวบ้าง โดยไม่รู้สึกตัวบ้าง

อานนท์ อวิชชาแทรกอยู่แล้วในธรรมเหล่านี้

อานนท์ เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว
-กาย ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ จึงไม่มี
-วาจา ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ จึงไม่มี
-มโน ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ จึงไม่มี
-เขต (ผืนนาสำหรับงอก) ซึ่งเป็นปัจจัย... จึงไม่มี
-วัตถุ (พืชเพื่อการงอก) ซึ่งเป็นปัจจัย... จึงไม่มี
-อายตนะ (การสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการงอก) ซึ่งเป็นปัจจัย..จึงไม่มี หรือ
-อธิกรณ์ (เครื่องกระทำให้เกิดการงอก) ซึ่งเป็นปัจจัย.. จึงไม่มี






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์