เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 ขันธ์๕ เป็นอนัตตา / อัตตามี หรือ อัตตาไม่มี 1413
 

(โดยย่อ)

รูป เป็นอนัตตา
ถ้ารูป จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ
ก็เพราะรูปเป็น อนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย และวิญญาณ ก็เป็นอนัตตา และเป็นไปเพื่ออาพาธ
---------------------------------------------------------------------------------------------------
อัตตามี หรือ อัตตาไม่มี
ปริพพาชกวัจฉโคตร
ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่าอัตตามีหรือ ทรงนิ่งเสีย
ทูลถามว่า อัตตาไม่มีหรือ ก็ทรงนิ่งเสีย

ทรงนิ่งเสียเป็นเพราะ
ถ้าตอบว่า อัตตามี ก็จะไปตรงกันกับความเชื่อ ของสมณพราหมณ์บางพวก ที่เป็น สัสสตทิฏฐิ ที่มีความเชื่อว่า อัตตาและโลกเป็นของเที่ยง (ไม่มีการเปลี่นแปลง)
ถ้าตอบว่า อัตตาไม่มี ก็จะไปตรงกัน กับ ความเชื่อของ สมณพราหมณ์ บางพวกที่เป็น อุจเฉททิฏฐิ ที่มีความเห็นว่าขาดสูญ ไม่เชื่อ นรก สวรรค์ หลังความตายแล้วสูญ ไม่มีภพต่อไป
---------------------------------------------------------------------------------------------------
มูลฐานแห่งการบัญญัติขันธ์๕ (แต่ละขันธ์)
มหาภูตธาตุสี่ ... เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ รูปขันธ์
ผัสสะ... เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ เวทนาขันธ์
ผัสสะ... เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ สัญญาขันธ์
ผัสสะ... เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ สังขารขันธ์
นามรูป...เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ วิญญาณขันธ์

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 


ฉบับหลวง  เล่มที่ ๔ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ หน้าที่ ๒๐

อนัตตลักขณสูตร (ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์)

ขันธ์๕ เป็นอนัตตา (ไม่มีตัวตน) อุปมาขันธ์ ๕

รูป เป็นอนัตตา
ถ้ารูป จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ
ก็เพราะรูปเป็น อนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ ...
อุปมา เหมือนฟองน้ำในแม่น้ำ ที่มีแต่ความว่างเปล่า ไม่มีแก่นสาร (ไม่มีตัวตน)

เวทนา เป็นอนัตตา
ถ้าเวทนา จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้นเวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ …
อุปมาเป็นต่อมน้ำ ที่แตกกระจายบนผิวน้ำ ย่อมไม่มีแก่นสาร เป็นของว่างเปล่า (ไม่มีตัวตน)

สัญญา เป็นอนัตตา
ถ้าสัญญา จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึงเป็นไป เพื่อ อาพาธ ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ …
อุปมาเป็นพยับแดด ที่ระยิบ ระยับตอนเที่ยงวัน (ไม่มีตัวตน)

สังขารทั้งหลาย เป็นอนัตตา
ถ้าสังขารทั้งหลาย จักได้เป็นอัตตาแล้วสังขารเหล่านี้ ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ ก็เพราะสังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ … อุปมา เหมือนลอกกาบกล้วยต้นอ่อน ที่ปอกไปแล้วก็หาแก่นไม่ได้ (ไม่มีตัวตน)

วิญญาณ เป็นอนัตตา
ถ้าวิญญาณ จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้นวิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ …
อุปมาเปรียบเป็นนักมายากลว่าเป็นของว่างเปล่า หาแก่นสารในกลนั้นไม่ได้ (ไม่มีตัวตน)


(หนังสือ จิต มโน วิญญาณ หน้า 281)

อัตตามี หรือ อัตตาไม่มี



ปริพพาชกวัจฉโคตร เข้าไปทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า อัตตามีหรือ ทรงนิ่งเสีย ทูลถามว่า อัตตาไม่มีหรือ ก็ทรงนิ่งเสีย ปริพาชกนั้นได้ ลุกหลีกไป
ท่านอานนท์ กราบทูลถาม ถึงเหตุที่ทรงนิ่งเสีย พระองค์ได้ ตรัสตอบดังนี้ว่า

อานนท์ เมื่อเราถูกวัจฉโคตรปรพพาชก ถามว่าอัตตามีหรือ ถ้าตอบว่า อัตตามี ก็จะไปตรงกันกับความเชื่อ ของสมณพราหมณ์บางพวก ที่เป็น สัสสตทิฏฐิ เมื่อถูกถามว่า อัตตาไม่มีหรือ ถ้าตอบว่า อัตตาไม่มีก็จะไปตรงกัน กับ ความเชื่อของ สมณพราหมณ์ บางพวกที่เป็น อุจเฉททิฏฐิ เข้าอีก
(๑) (อัตตาและโลกเป็นของเที่ยง)
(๒) (ความเห็นว่าขาดสูญ ไม่เชื่อ นรก สวรรค์ หลังความตายแล้วสูญ ไม่มีภพต่อไป)

อานนท์ ถ้าตอบว่า อัตตามี มันจะเป็นการอนุโลมเพื่อให้เกิดญาณว่า ธรรมทั้งหลาย ทั้งปวง เป็นอนัตตา(สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา) ดังนี้บ้างไหม
ข้อนั้นหาไม่ได้ พระเจ้าข้า

อานนท์ ถ้าตอบว่า อัตตาไม่มี ก็จะทำให้วัจฉโคตรปรพพาชก ผู้หลงใหลอยู่แล้ว ถึงความงงงวย หนักยิ่งขึ้นไปอีกว่าเมื่อก่อนอัตตาของเราได้มีแล้วแน่นอน แต่ตอนนี้กลายเป็นว่าอัตตานั้นไม่มี ดังนี้


อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 222

มูลฐานแห่งการบัญญัติขันธ์๕ (แต่ละขันธ์)

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! อะไรเป็นเหตุปัจจัยเพื่อการบัญญัติ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ เล่า? พระเจ้าข้า!”

ภิกษุ มหาภูต (ธาตุ) สี่อย่าง เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ รูปขันธ์
ภิกษุ ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ เวทนาขันธ์
ภิกษุ ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ สัญญาขันธ์
ภิกษุ ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ สังขารขันธ์
ภิกษุ นามรูป แล เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ วิญญาณขันธ์






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์