พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๓๐-๓๓๙
๖. มหากัมมวิภังคสูตร (๑๓๖)
[๕๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็น
สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล ท่านพระสมิทธิ อยู่ในกระท่อมในป่า ครั้งนั้น ปริพาชกโปตลิบุตร เดินเล่นไปโดยลำดับเข้าไปหา ท่านพระสมิทธิยังที่อยู่แล้ว ได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระสมิทธิ ครั้นผ่านคำทักทาย ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
[๕๙๙] ปริพาชกโปตลิบุตร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่าน
พระสมิทธิ ดังนี้ว่า
ดูกรท่านสมิทธิ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระ
สมณโคดม ดังนี้ว่า กายกรรมเป็นโมฆะ วจีกรรมเป็นโมฆะ มโนกรรมเท่านั้นจริง และว่า สมาบัติที่บุคคลเข้าแล้วไม่เสวยเวทนาอะไรๆ นั้น มีอยู่
ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า ดูกรโปตลิบุตรผู้มีอายุ ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้
อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาค มิได้ตรัสอย่างนี้ ว่า กายกรรมเป็นโมฆะ วจีกรรมเป็นโมฆะ มโนกรรมเท่านั้นจริง และว่า สมาบัติที่บุคคลเข้าแล้วไม่เสวยเวทนาอะไรๆ นั้น มีอยู่ ฯ
ป. ดูกรท่านสมิทธิ ท่านบวชมานานเท่าไรแล้ว
ส. ดูกรท่านผู้มีอายุ ไม่นาน เพียง ๓ พรรษา
ป. ในเมื่อภิกษุใหม่เข้าใจการระแวดระวังศาสดาถึงอย่างนี้แล้ว คราวนี้
พวกเราจักพูดอะไรกะภิกษุผู้เถระได้
ดูกรท่านสมิทธิ บุคคลทำกรรมชนิดที่ประกอบ
ด้วยความจงใจแล้ว ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เขาจะเสวยอะไร
ส. ดูกรโปตลิบุตรผู้มีอายุ เขาจะเสวยทุกข์
ลำดับนั้น ปริพาชกโปตลิบุตรไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของท่านพระ
สมิทธิ แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป
[๖๐๐] ครั้นปริพาชกโปตลิบุตรหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระสมิทธิ
เข้าไปหาท่านพระอานนท์ยังที่อยู่ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้น
ผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอ
นั่งเรียบร้อยแล้ว จึงบอกเรื่องเท่าที่ได้สนทนา กับปริพาชกโปตลิบุตรทั้งหมด แก่
ท่านพระอานนท์ เมื่อท่านพระสมิทธิบอกแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าว
กะท่านพระสมิทธิดังนี้ว่า ดูกรท่านสมิทธิ เรื่องนี้มีเค้าพอจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ มาเถิด เราทั้งสองพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วกราบทูล
เรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แก่เราอย่างไร เราพึงทรง
จำคำพยากรณ์นั้นไว้อย่างนั้น ท่านพระสมิทธิรับคำท่านพระอานนท์ว่า ชอบแล้ว
ท่านผู้มีอายุ
ต่อนั้น ท่านพระสมิทธิและท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่ง
เรียบร้อยแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องเท่าที่ท่านพระสมิทธิ ได้สนทนา
กับปริพาชกโปตลิบุตรทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาค
...................................................................................................................................
[๖๐๑] เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
กะท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ แม้ความเห็นของปริพาชกโปตลิบุตร เรา
ก็ไม่ทราบชัด ไฉนเล่าจะทราบชัดการสนทนากันเห็นปานนี้ได้ โมฆบุรุษสมิทธิ
นี้แล ได้พยากรณ์ปัญหาที่ควรแยกแยะพยากรณ์ของปริพาชกโปตลิบุตรแต่แง่
เดียว ฯ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอุทายี ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าท่านพระสมิทธิกล่าวหมายทุกข์ดังนี้
แล้ว ไม่ว่าการเสวยอารมณ์ใดๆ ต้องจัดเข้าในทุกข์ทั้งนั้น
[๖๐๒] เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
กะท่าน พระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เธอจงเห็นความนอกลู่นอกทางของโมฆบุรุษ
อุทายี นี้เถิด เรารู้แล้วละ เดี๋ยวนี้แหละ โมฆบุรุษอุทายีนี้โพล่งขึ้น โดยไม่แยบคาย
ดูกรอานนท์ เบื้องต้นทีเดียว ปริพาชกโปตลิบุตรถามถึงเวทนา ๓ ถ้าโมฆบุรุษสมิทธิ ผู้ถูกถามนี้ จะพึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรโปตลิบุตรผู้มีอายุ
บุคคลทำกรรม
ชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้ว ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ อันให้ผลเป็น
สุข เขาย่อมเสวย สุข
บุคคลทำกรรมชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้ว ด้วยกาย
ด้วยวาจา ด้วยใจ อันให้ผลเป็นทุกข์ เขาย่อมเสวย ทุกข์
บุคคลทำกรรมชนิดที่
ประกอบด้วยความจงใจแล้ว ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ อันให้ผลไม่ทุกข์ไม่สุข เขาย่อมเสวย อทุกขมสุข
ดูกรอานนท์ โมฆบุรุษสมิทธิเมื่อพยากรณ์อย่างนี้แล
ชื่อว่าพยากรณ์โดย ชอบแก่ปริพาชกโปตลิบุตร ก็แต่ว่าพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นนั้น เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด ใครเล่าจักรู้ มหากัมมวิภังค์ ของตถาคต ถ้าพวกเธอฟังตถาคตจำแนก มหากัมมวิภังค์ อยู่ฯ
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคต เป็นกาล
สมควรแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงจำแนกมหากัมมวิภังค์ ภิกษุทั้งหลายสดับต่อ
พระผู้มีพระภาคแล้วจักได้ทรงจำไว้
พ. ดูกรอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
...................................................................................................................................
(๑) (๒) ทำผิดศีล (อกุศลกรรมบถ๑๐) เมื่อตายไป ตกนรกก็มี ขึ้นสวรรค์ก็มี
(๓) (๔) รักษาศีล (กุศลกรรมบถ๑๐) เมื่อตายไป ขึ้นสวรรค์ก็มี ตกนรกก็มี
[๖๐๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ บุคคล ๔ จำพวก
นี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเหล่าไหน คือ
(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง มักถือเอา
สิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มักพูดส่อเสียด
มักพูดคำหยาบ มักเจรจาเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิด* อยู่ในโลกนี้ เขาตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็มี ฯ
* (อกุศลกรรมบถ ๑๐)
(๒) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง มักถือเอา
สิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มักพูดส่อเสียด
มักพูดคำหยาบ มักเจรจาเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความเห็น
ผิดอยู่ในโลกนี้ เขาตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ ก็มี
(๓) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจาก
อทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากพูด
ส่อเสียด เว้นขาดจากพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ ไม่มากด้วย
อภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบ* อยู่ในโลกนี้ เขาตายไปแล้ว ย่อม
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็มี
* (กุศลกรรมบถ ๑๐)
(๔) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจาก
อทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากพูด
ส่อเสียด เว้นขาดจากพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ ไม่มากด้วย
อภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบอยู่ในโลกนี้ เขาตายไปแล้ว ย่อมเข้า
ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็มีฯ (รักษาศีลแต่ไปนรกก็มี)
อกุศลกรรมบถ๑๐
อกุศลทางกาย
1. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
2. เป็นผู้ลักทรัพย์
3. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม
อกุศลทางวาจา
4. เป็นผู้พูดเท็จ
5. เป็นผู้พูดส่อเสียด
6. เป็นผู้พูดคำหยาบ
7. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ
อกุศลทางใจ
8. เป็นผู้อยากได้ของผู้อื่น(โลภ)
9. เป็นผู้มีจิตคิดปองร้าย (พยาบาท)
10. เป็นผู้มีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) |
...................................................................................................................................
พระสัมมาสัมพุทธะ เห็นสัตว์ด้วยทิพย์จักษุว่า
ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
(1) กรรมชั่วมี วิบากของทุจริตมี
(2) กรรมชั่วไม่มี วิบากของทุจริตไม่มี
ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต
(3) กรรมดีมี วิบากของสุจริตมี
(4) กรรมดีไม่มี วิบากของสุจริตไม่มี
(1) [๖๐๔] ดูกรอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัย ความเพียร เครื่องเผากิเลส ความตั้งใจมั่น ความประกอบเนืองๆ ความไม่ประมาท
ความใส่ใจโดย ชอบ ย่อมถูกต้องเจโตสมาธิ มีรูปทำนองที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมเล็งเห็นบุคคล โน้น ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
มักประพฤติผิด ในกาม มักพูดเท็จ มักพูดส่อเสียด มักพูดคำหยาบ มักเจรจา
เพ้อเจ้อ มากด้วย อภิชฌา มีจิต พยาบาท มีความเห็นผิดในโลกนี้ และเล็งเห็น ผู้นั้น ตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วิบาต นรกได้ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ ของมนุษย์ สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า กรรมชั่ว มีวิบากของทุจริตมี
ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้มักทำชีวิตสัตว์ ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิด ในโลกนี้ และผู้นั้นตายไป เข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก ข้าพเจ้าก็เห็น แล้วกล่าว ต่อไป อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่าผู้ใดมักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิด ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ชนเหล่าใด รู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ
ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด สมณะหรือพราหมณ์นั้น
จะพูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเองทราบเอง โดยประการ นั้นแหละ ในที่นั้นๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า
(2) [๖๐๕] ดูกรอานนท์ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้อาศัย
ความเพียรเครื่องเผากิเลส ความตั้งใจมั่น ความประกอบเนืองๆ ความไม่ประมาท
ความใส่ใจโดยชอบ ย่อมถูกต้องเจโตสมาธิมีรูปทำนองที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อม
เล็งเห็นบุคคลโน้น ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้ และ
เล็งเห็นผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ได้ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่ากรรมชั่วไม่มี วิบากของทุจริตไม่มี ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น
ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้ และผู้นั้นตายไป เข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์
ข้าพเจ้าก็เห็น แล้วกล่าวต่อไปอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า
ผู้ใดมักทำชีวิตสัตว์ ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิด ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใด
รู้โดยประการอื่น ความรู้ของ ชนเหล่านั้นผิด สมณะหรือพราหมณ์นั้นจะพูดปักลงไป
ถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง โดยประการนั้นแหละ ในที่นั้นๆ ตาม
กำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า
(3) [๖๐๖] ดูกรอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความ
เพียรเครื่องเผากิเลส ความตั้งใจมั่น ความประกอบเนืองๆ ความไม่ประมาท
ความใส่ ใจโดยชอบ ย่อมถูกต้องเจโตสมาธิมีรูปทำนองที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมเล็งเห็น บุคคล โน้น ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจาก กาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากพูดส่อเสียด เว้นขาดจากพูดคำ หยาบ เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ ไม่มากด้วยอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท
มีความ เห็นชอบในโลกนี้ และเล็งเห็นผู้นั้นเมื่อตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ได้ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ สมณะหรือพราหมณ์
นั้นจึง กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า กรรมดีมี วิบากของสุจริตมี ข้าพเจ้าได้ เห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ และผู้นั้น ตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ข้าพเจ้าก็เห็น แล้วกล่าวต่อไป
อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดเว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ ผู้นั้นทุกคน ตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้
ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใด รู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด
สมณะหรือพราหมณ์นั้น จะพูด ปักลงไป ถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง โดย
ประการนั้นแหละ ในที่นั้นๆ ตามกำลังและ ความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า
(4) [๖๐๗] ดูกรอานนท์ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัย
ความเพียรเครื่องเผากิเลส ความตั้งใจมั่น ความประกอบเนืองๆ ความไม่ประมาท
ความใส่ใจโดยชอบ ย่อมถูกต้องเจโตสมาธิมีรูปทำนองที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อม
เล็งเห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ และ
เล็งเห็นผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกได้ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า กรรมดีไม่มี วิบากของสุจริตไม่มี ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคล โน้น ผู้เว้นขาด จาก ปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ และผู้นั้นตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ข้าพเจ้าก็เห็น แล้วกล่าวต่อไปอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดเว้น ขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ ผู้นั้นทุกคนตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด
สมณะหรือพราหมณ์นั้น จะพูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง โดยประการนั้นแหละ ในที่นั้นๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า
...................................................................................................................................
(โดยย่อ สมณะหรือพราหมณ์4 จำพวก)
พระสัมมาสัมพุทธะเห็นกรรมของสัตว์ ด้วยญาณในมหากัมมวิภังค์
เห็นกรรมชั่วมี วิบากชั่ว(วิบากทุจริต) มี
เห็นกรรมดีมี วิบากดี(วิบากสุจริต) มี
[๖๐๘] ดูกรอานนท์ ในสมณะหรือพราหมณ์ ๔ จำพวกนั้น เราอนุมัติวาทะ* ของสมณะหรือพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า กรรมชั่วมี
วิบากของ ทุจริตมี แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้
มักทำชีวิต สัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้ และผู้นั้นตายไปแล้ว เข้า
ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้าพเจ้าก็เห็น นี้เราก็อนุมัติ ส่วนวาทะของเขา ที่กล่าว อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดมักทำชีวิตสัตว์ให้ ตกล่วง ฯลฯ มี
ความเห็นผิด ผู้นั้นทุกคน ตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เรายังไม่อนุมัติ
แม้วาทะของเขา ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้น
ชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดย ประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ แม้วาทะ ของเขาที่พูดปัก ลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง นั้น
แหละในที่นั้นๆ ตามกำลังและความ แน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ นั่นเพราะเหตุไร ดูกรอานนท์ เพราะตถาคตมีญาณใน มหากัมมวิภังค์
เป็นอย่างอื่น
* อนุมัติ หมายถึง ยินยอม เห็นด้วย
[๖๐๙] ดูกรอานนท์ ในสมณะหรือพราหมณ์ ๔ จำพวกนั้น เราไม่อนุมัติวาทะของสมณะหรือพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า กรรมชั่วไม่มี วิบากของทุจริตไม่มี แต่วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้เห็น บุคคลโน้น ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้ และผู้นั้นตายไป แล้ว เข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ ข้าพเจ้าก็เห็น นี้เราอนุมัติ ส่วนวาทะ ของเขาที่กล่าว อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดมักทำชีวิตสัตว์ให้ ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิด ผู้นั้นทุกคน ตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เรายังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขา ที่กล่าว อย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดย ประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด นี้ เราก็ยังไม่อนุมัติ
แม้วาทะของเขาที่พูดปักลง ไป ถึงเรื่อง ที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเองนั้นแหละ ในที่นั้นๆตามกำลังและ ความ แน่ใจว่านี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ นั่นเพราะเหตุไร ดูกรอานนท์ เพราะตถาคตมีญาณ ในมหากัมมวิภังค์เป็น อย่างอื่น
[๖๑๐] ดูกรอานนท์ ในสมณะหรือพราหมณ์ ๔ จำพวกนั้น เราอนุมัติวาทะ ของสมณะ หรือพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า กรรมดีมี
วิบากของ สุจริตมี แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าเห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจาก ปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ และผู้นั้นตายไปแล้วเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ ข้าพเจ้าก็เห็น นี้เราก็อนุมัติ ส่วนวาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดเว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ ผู้นั้น
ทุกคนตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้ เรายังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใด รู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดย
ประการอื่น ความรู้ของ ชนเหล่านั้นผิด นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขาที่พูด
ปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง นั้นแหละในที่ นั้นๆ ตามกำลังและ
ความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ นั่นเพราะเหตุไร ดูกรอานนท์ เพราะตถาคตมีญาณ ในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น
[๖๑๑] ดูกรอานนท์ ในสมณะหรือพราหมณ์ ๔ จำพวกนั้น เราไม่อนุมัติ วาทะ ของสมณะ หรือพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า กรรมดี
ไม่มี วิบากของสุจริตไม่มี แต่วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคล
โน้น ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ และผู้นั้นตายไป
แล้วเข้า ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้าพเจ้าก็เห็น นี้เราอนุมัติ ส่วนวาทะ
ของเขาที่กล่าว อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดเว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ
มีความเห็นชอบ ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้วย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกนี้
เรายังไม่อนุมัติ แม้วาทะ ของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่า
นั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใด รู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด นี้เราก็
ยังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขา ที่พูด ปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง
นั้นแหละ ในที่นั้นๆ ตามกำลัง และ ความแน่ใจว่านี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า นี้เราก็
ยังไม่อนุมัติ นั่นเพราะเหตุไร ดูกรอานนท์ เพราะตถาคตมีญาณในมหากัมมวิภังค์
เป็นอย่างอื่น
...................................................................................................................................
(โดยย่อ บุคคล 4 จำพวก)
(1) ทำสัตว์ให้ตกล่วง/มีมิจฉาทิฐิ /ทำกรรมชั่วในกาลก่อน/สมาทานศีล/ตายแล้วไปอบาย
(2) ทำสัตว์ให้ตกล่วง/มีสัมมาทิฐิ /ทำกรรมดีในกาลก่อน/สมาทานศีล/ตายแล้วไปสวรรค์
(3) ไม่ทำสัตว์ให้ตกล่วง/มีสัมมาทิฐิ /ทำกรรมดีในกาลก่อน/สมาทานศีล/ตายแล้วไปสวรรค์
(4) ไม่ทำสัตว์ให้ตกล่วง/มีมิจฉาทิฐิ /ทำกรรมชั่วในกาลก่อน/สมาทานศีล/ตายแล้วไปอบาย
(ผู้มีมิจฉาทิฐิ แม้ไม่ทำให้สัตว์ตกล่วง ตายแล้วย่อมไปอบาย)
[๖๑๒] ดูกรอานนท์ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่เป็นผู้มักทำชีวิต สัตว์ ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้ ตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรกนี้ เป็นอันว่า เขาทำกรรมชั่วที่ให้ผลเป็นทุกข์ไว้ในกาลก่อน หรือในกาล ภายหลัง หรือว่ามีมิจฉาทิฐิพรั่งพร้อม สมาทานแล้วในเวลาจะตาย เพราะฉะนั้น เขาตายไป จึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็แหละบุคคลที่เป็นผู้มัก ทำชีวิตสัตว์ ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้นั้น เขาย่อมเสวยวิบากของกรรม นั้น ในชาตินี้ หรือ ในชาติหน้า หรือในชาติต่อไป
[๖๑๓] ดูกรอานนท์ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่เป็นผู้มัก ทำชีวิต สัตว์ ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้ ตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์นี้ เป็นอันว่าเขาทำกรรมดีที่ให้ผลเป็นสุขไว้ในกาลก่อนๆ หรือในกาล ภายหลัง
หรือว่า มีสัมมาทิฐิ พรั่งพร้อม สมาทานแล้วในเวลาจะตาย เพราะฉะนั้น เขาตาย
ไปจึงเข้าถึง สุคติโลก สวรรค์ ก็แหละบุคคลที่เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ
มีความเห็นผิด ในโลกนี้นั้น เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมนั้น ในชาตินี้ หรือในชาติ
หน้า หรือในชาติต่อไป
[๖๑๔] ดูกรอานนท์ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่เว้นขาดจาก
ปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ ตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้ เป็นอันว่า เขาทำกรรมดีที่ให้ผลเป็นสุขไว้ในกาลก่อนๆ หรือในกาลภายหลัง
หรือว่า มีสัมมาทิฐิ พรั่งพร้อม สมาทานแล้วในเวลาจะตาย เพราะฉะนั้น เขาตายไป จึงเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ ก็แหละบุคคลที่เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มี
ความเห็นชอบ ในโลกนี้นั้น เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมนั้นในชาตินี้ หรือในชาติหน้า หรือในชาติ ต่อไป
[๖๑๕] ดูกรอานนท์ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่เว้นขาดจาก
ปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ ตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกนี้ เป็นอันว่า เขาทำกรรมชั่วที่ให้ผลเป็นทุกข์ไว้ในกาลก่อนๆ หรือในกาลภายหลัง หรือว่ามีมิจฉาทิฐิพรั่งพร้อม สมาทานแล้วในเวลาจะตาย เพราะ
ฉะนั้น เขาตายไป จึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็แหละบุคคลที่เว้นขาด
จากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้นั้น เขาย่อมเสวยวิบาก ของกรรมนั้นในชาตินี้ หรือใน ชาติหน้า หรือในชาติต่อไป
[๖๑๖] ดูกรอานนท์ ด้วยประการนี้แล
กรรมไม่ควรส่องให้เห็นว่า ไม่ควรก็มี ให้เห็นว่าควรก็มี และ
กรรมที่ควรแท้ๆ
ส่องให้เห็นว่า ควรก็มี ให้เห็นว่าไม่ควรก็มี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี
พระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล
|