เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  ตามรอยธรรม-พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  2 of 4  
 
  ตามรอยธรรม พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
  ๑๓. ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง สัมมาสัมพุทธะ กับ ภิกษุผู้ปัญญาวิมุตติ 30  
  ๑๔. ไม่ได้ทรงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อให้เขานับถือ 32  
  ๑๕. ทรงสอนเฉพาะแต่เรื่องทุกข์กับความดับสนิทของทุกข์ 33  
  ๑๖. คำ ของพระองค์ ตรงเป็นอันเดียวกันหมด 35  
  ๑๗.หลักที่ทรงใช้ในการตรัส (๖ อย่าง) 36  
  ๑๘. สิ่งที่ตรัสรู้แต่ไม่ทรงนำ มาสอน มีมากกว่าที่ทรงนำ มาสอนมากนัก 39  
  ๑๙. ถ้ามัวรอให้รู้เรื่องที่ไม่จำ เป็นเสียก่อนก็ตายเปล่า 41  
  ๒๐. คำ สอนที่ทรงสั่งสอนบ่อยมาก 43  
  ๒๑. ลำ ดับการหลุดพ้น เมื่อเห็นไตรลักษณ์ 45  
  ๒๒. ผู้ไม่เข้าไปหา ย่อมหลุดพ้น 47  
  ๒๓. มนุษย์เป็นอันมาก ได้ยึดถือเอาที่พึ่งผิดๆ 51  
  ๒๔. จงเจริญสมาธิ จักรู้อริยสัจตามเป็นจริง 52  
  ๒๕. ทรงมีหลักเกณฑ์การฝึกตามลำ ดับ (อย่างย่อ) 53  
       
 
 





ตามรอยธรรม หน้า 30

๑๓
ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง สัมมาสัมพุทธะ กับ ภิกษุผู้ปัญญาวิมุตติ

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะหลุดพ้นแล้วจากรูป เพราะความเบื่อหน่าย ความคลาย กำหนัด ความดับ และความไม่ยึดมั่น จึงได้นามว่า“สัมมาสัมพุทธะ”.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้ภิกษุผู้ปัญญาวิมุตติ ก็หลุดพ้นแล้วจากรูป เพราะความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ และ ความไม่ยึดมั่น จึงได้นามว่า “ปัญญาวิมุตติ”.

(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ได้ตรัสไว้มีข้อความแสดงหลักเกณฑ์อย่างเดียวกัน กับในกรณีแห่งรูปที่กล่าวแล้ว).

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากรูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ด้วยกัน ทั้งสองพวกแล้ว อะไรเป็นความผิดแผกแตกต่างกัน อะไรเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน อะไรเป็นเครื่องกระทำให้แตกต่าง กัน ระหว่างตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับ ภิกษุ ผู้ปัญญาวิมุตติ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะได้ ทำมรรคที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ได้ทำมรรค ที่ยังไม่มี ใครรู้ ให้มีคน ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าว ให้เป็นมรรคที่กล่าว กันแล้ว  ตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค)เป็น มัคควิทู (รู้แจ้งมรรค)เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค)

ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้ เป็น มัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค) เป็นผู้ตามมา ในภายหลัง.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกันเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้ แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตติ.

ตามรอยธรรมหน้า 32

๑๔
ไม่ได้ทรงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อให้เขานับถือ

ภิกษุทั้งหลาย ! พรหมจรรย์นี้เราประพฤติ มิใช่เพื่อหลอกลวงคนให้นับถือ มิใช่เพื่อเรียกคน มาเป็นบริวาร มิใช่เพื่ออานิสงส์เป็นลาภสักการะ และเสียงสรรเสริญมิใช่เพื่อ อานิสงส์ จะได้เป็นเจ้าลัทธิ หรือเพื่อค้าน ลัทธิอื่นใดให้ล้มลงไป และมิใช่เพื่อให้มหาชนเข้าใจว่า เราได้เป็นผู้วิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ ก็หามิได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ที่แท้ พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติเพื่อสำรวม เพื่อละ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิทซึ่งทุกข์ แล.

ตามรอยธรรมหน้า 33


๑๕
ทรงสอนเฉพาะแต่เรื่องทุกข์ กับความดับสนิทของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! ทั้งที่เรามีถ้อยคำอย่างนี้ มีการกล่าวอย่างนี้ สมณะ และ พราหมณ์บางพวก ยังกล่าวตู่เรา ด้วยคำเท็จเปล่าๆ ปลี้ๆ ไม่มีจริงให้เป็นจริง ว่า“พระสมณโคดม เป็นคนจูงคน ให้เดินผิดทาง ไปสู่ความ ฉิบหาย ย่อมบัญญัติ ลัทธิความสูญเปล่า ความวินาศความไม่มี ของสัตว์ คน ตัวตน เราเขา ขึ้นสั่งสอน” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมณะและพราหมณ์บางพวกเหล่านั้น กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ เปล่าๆ ปลี้ๆ ไม่มีจริงให้เป็น จริงโดยประการที่เราไม่ได้กล่าว หรือจะกล่าวอย่างนั้น ก็หามิได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลก่อนก็ตาม ในกาลบัดนี้ก็ตาม เราบัญญัติสอน แต่เรื่อง ความทุกข์ และความดับสนิทไม่มีเหลือของความทุกข์ เท่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในการกล่าวแต่เรื่องความทุกข์ และความดับสนิทไม่มีเหลือ ของความ ทุกข์เช่นนี้ แม้จะมี ใครมาด่าว่า ถากถาง กระทบกระเทียบ เสียดสี ตถาคตก็ไม่มีความ ขุ่นแค้น โกรธเคือง เดือดร้อนใจ เพราะ เหตุนั้นแต่ประการใด

ภิกษุทั้งหลาย ! ในเรื่องเดียวกันนั้นเอง แม้จะมีใครมาสักการะ เคารพ สรรเสริญ บูชา ตถาคตก็ไม่มีความ รู้สึกเพลิดเพลิน ชื่นชม หรือเคลิ้มใจไปตาม.

ถ้ามีใครมาสักการะ เคารพ สรรเสริญ บูชาตถาคตย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ก่อนหน้านี้เรามี ความรู้สึกตัว ทั่วถึงอย่างไร บัดนี้เราก็ต้องทำความรู้สึกตัวทั่วถึง อย่างนั้น ดังนี้.

ตามรอยธรรม หน้า 35


๑๖
คำของพระองค์ ตรงเป็นอันเดียวกันหมด

ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนกระทั่งถึง ราตรี ที่ตถาคต ปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุตลอดเวลาระหว่างนั้น ตถาคตได้ กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดย ประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! (อนึ่ง) ตถาคตกล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด กล่าวอย่างนั้น.

ตามรอยธรรม หน้า 36

๑๗
หลักที่ทรงใช้ในการตรัส
(๖ อย่าง)

ราชกุมาร !
(๑) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น.

(๒) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น.

(๓) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ อันประกอบด้วยประโยชน์ แต่ไม่เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อมเลือกให้เหมาะกาลเพื่อกล่าววาจานั้น.

(๔) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่เป็นที่รักที่พึงใจ ของผู้อื่น ตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น.

 (๕) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แม้เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น.

(๖) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้อันประกอบด้วยประโยชน์ และเป็นที่รักที่พึงใจ ของผู้อื่น ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้จักกาละที่เหมาะสม เพื่อกล่าววาจานั้น.

ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า ? ราชกุมาร ! เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย.

ตามรอยธรรม หน้า 39

๑๘
สิ่งที่ตรัสรู้แต่ไม่ทรงนำมาสอน มีมากกว่าที่ทรงนำมาสอนมากนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำใบไม้สีสปา ที่ร่วงอยู่ตามพื้นดินขึ้นมาหน่อยหนึ่ง แล้วตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายเข้าใจว่าอย่างไร ใบไม้สีสปาที่เรากำขึ้นหน่อยหนึ่งนี้มาก หรือว่า ใบไม้ สีสปา ที่ยังอยู่บนต้นเหล่านั้นมีมาก ?

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ใบไม้ที่พระผู้มีพระภาคทรงกำขึ้นหน่อยหนึ่งนั้นเป็นของน้อย ส่วนใบไม้ที่ยังอยู่บน ต้นสีสปาเหล่านั้นย่อมมีมาก”.

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น ธรรมะส่วนที่เรารู้ยิ่งด้วยปัญญาอันยิ่ง แล้วไม่กล่าวสอนนั้น มีมากกว่าส่วน ที่นำมาสอน.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุไรเล่า เราจึงไม่กล่าวสอนธรรมะส่วนนั้นๆ ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุว่า ธรรมะส่วนนั้นๆ
ไม่ประกอบอยู่ด้วยประโยชน์
ไม่เป็นเงื่อนต้นแห่งพรหมจรรย์
ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย
ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด
ไม่เป็นไปเพื่อความดับ
ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ
ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
ไม่เป็นเพื่อความรู้พร้อม
ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวสอน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมะอะไรเล่า เป็นธรรมะที่เรากล่าวสอน ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมะที่เรากล่าวสอนคือข้อที่ว่า
ความทุกข์เป็นอย่างนี้ๆ
เหตุเป็นที่เกิดของความทุกข์เป็นอย่างนี้ๆ
ความดับสนิทของความทุกข์เป็นอย่างนี้ๆ
ข้อปฏิบัติเพื่อถึงความดับสนิทของความทุกข์เป็นอย่างนี้ๆ .
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุไรเล่า ธรรมะส่วนนี้เราจึงนำมากล่าวสอน ?

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะว่าธรรมะส่วนนี้ ประกอบอยู่ด้วยประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่าย เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด เป็นไปเพื่อความดับ เป็นไปเพื่อความ สงบ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่งเป็นไปเพื่อความรู้พร้อม เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้นแล เราจึงนำมากล่าวสอน.

ตามรอยธรรม หน้า 41


๑๙
ถ้ามัวรอให้รู้เรื่องที่ไม่จำเป็นเสียก่อนก็ตายเปล่า

มาลุงก๎ยบุตร ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง ถูกลูกศรอันกำซาบด้วยยาพิษอย่างแรงกล้า มิตร อำมาตย์ ญาติ สายโลหิต จัดการเรียกแพทย์ผ่าตัดผู้ชำนาญ.

บุรุษอย่างนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ถ้าเรายังไม่รู้จักตัวบุรุษผู้ยิงเรา ว่าเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ เวสส์ ศูทร ชื่อไร โคตรไหน ฯลฯธนูที่ใช้ยิงนั้นเป็นชนิดหน้าไม้หรือเกาทัณฑ์ ฯลฯ เสียก่อนแล้ว เรายังไม่ต้องการจะถอน ลูกศรอยู่เพียงนั้น.

มาลุงก๎ยบุตร ! เขาไม่อาจรู้ข้อความที่เขาอยากรู้นั้นได้เลยต้องตายเป็นแท้ !

อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลผู้นั้นกล่าวว่า เราจักยังไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ในสำนัก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จนกว่าพระองค์จักแก้ปัญหาทิฏฐิสิบประการแก่เราเสียก่อน และตถาคตก็ไม่ พยากรณ์ปัญหานั้นแก่เขา เขาก็ตายเปล่า โดยแท้.

มาลุงก๎ยบุตร ! ท่านจงรู้ซึ่งสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ไว้โดยความ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์  รู้ซึ่งสิ่งที่เราพยากรณ์ ไว้โดยความเป็นสิ่งที่เราพยากรณ์.

อะไรเล่าที่เราไม่พยากรณ์ ?
คือความเห็นสิบประการว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยงโลกมีที่สิ้นสุด โลกไม่มีที่ สิ้นสุด ฯลฯ (เป็นต้น)
เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์.

มาลุงก๎ยบุตร ! อะไรเล่าที่เราพยากรณ์ ?
คือสัจจะว่า “นี้เป็นทุกข์  นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็น ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้ 
นี้เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์.

เหตุใดเราจึงพยากรณ์เล่า ?
เพราะสิ่งๆ นี้ ย่อมประกอบอยู่ด้วยประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ เป็นไปพร้อมเพื่อ ความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน.

ตามรอยธรรม หน้า 43

๒๐
คำสอนที่ทรงสั่งสอนบ่อยมาก

“พระโคดมผู้เจริญ ! ทรงนำสาวกทั้งหลายไปอย่างไร ? อนึ่ง อนุสาสนี ของพระโคดมผู้เจริญ ย่อมเป็นไปใน สาวกทั้งหลายส่วนมาก มีส่วนแห่งการ จำแนกอย่างไร ? ”

อัคคิเวสสนะ ! เราย่อมนำสาวกทั้งหลายไปอย่างนี้ อนึ่ง อนุสาสนีของเรา ย่อมเป็นไปใน สาวกทั้งหลาย ส่วนมากมีส่วนแห่งการจำแนกอย่างนี้ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ! รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง

ภิกษุทั้งหลาย ! รูปไม่ใช่ตัวตน เวทนาไม่ใช่ตัวตน สัญญาไม่ใช่ตัวตน สังขารไม่ใช่ตัวตน วิญญาณไม่ใช่ตัวตน สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน” ดังนี้

อัคคิเวสสนะ ! เราย่อมนำสาวกทั้งหลายไปอย่างนี้ อนึ่ง อนุสาสนีของเรา ย่อมเป็นไปใน สาวกทั้งหลาย ส่วนมากมีส่วนแห่งการจำแนกอย่างนี้  ดังนี้.

ตามรอยธรรม หน้า 45


๒๑
ลำดับการหลุดพ้น เมื่อเห็นไตรลักษณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง  สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) เธอทั้งหลายพึงเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญา โดยชอบ ตรงตามที่เป็นจริง อย่างนี้ ด้วยประการดังนี้.
(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับ ในกรณีแห่งรูป ทุกประการ).

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบ
ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ปุพพันตานุทิฏฐิ 1 ทั้งหลาย ย่อมไม่มี
เมื่อ ปุพพันตานุทิฏฐิ ไม่มี อปรันตานุทิฏฐิ 2 ทั้งหลาย ย่อมไม่มี

1 ความเห็นที่ปรารภขันธ์ในเบื้องต้น หรือความเห็นที่เป็นไปในส่วนของอดีต
2 ความเห็นที่ปรารภขันธ์ในเบื้องปลาย หรือความเห็นที่เป็นไปในส่วนของอนาคตเมื่ออปรันตานุทิฏฐิไม่มี ความยึดมั่น ลูบคลำอย่างแรงกล้าย่อมไม่มี

เมื่อความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าไม่มี  จิตย่อมจางคลายกำหนัดในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีความ ยึดมั่น ถือมั่น.

เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่ จิตจึงยินดีร่าเริงด้วยดี เพราะเป็นจิตที่ยินดี ร่าเริงด้วยดี จิตจึงไม่หวาดสะดุ้งเมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อมปรินิพพาน เฉพาะตน นั่นเทียว.

เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

ตามรอยธรรม หน้า 47


๒๒
ผู้ไม่เข้าไปหา ย่อมหลุดพ้น

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น ผู้ไม่เข้าไปหา เป็นผู้หลุดพ้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณซึ่งเข้าถือเอารูปตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้  
เป็นวิญญาณที่มีรูป เป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย
มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณซึ่งเข้าถือเอาเวทนาตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีเวทนา เป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณซึ่งเข้าถือเอาสัญญาตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสัญญา เป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณซึ่งเข้าถือเอาสังขารตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสังขาร เป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร” ดังนี้นั้น นี่ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าราคะ ในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว เพราะละราคะได้ อารมณ์สำหรับ วิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น เพราะตั้งมั่น ก็ยินดีในตนเอง เพราะยินดีในตนเองก็ไม่ หวั่นไหว เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน.

ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะ ต้องทำเพื่อ ความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก”ดังนี้.

ตามรอยธรรม หน้า 51

๒๓
มนุษย์เป็นอันมาก ได้ยึดถือเอาที่พึ่งผิดๆ


มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถูกความกลัวคุกคามเอาแล้ว ย่อมถือเอาภูเขาบ้าง ป่าไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง สวนศักดิ์สิทธิ์บ้าง รุกขเจดีย์บ้าง ว่าเป็นที่พึ่งของตนๆ นั่นไม่ใช่ที่พึ่ง อันทำความเกษมให้ได้เลย นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด  ผู้ใดถือเอาสิ่งนั้นๆ เป็นที่พึ่งแล้วย่อม ไม่หลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้.

ส่วนผู้ใดที่ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งแล้ว เห็นอริยสัจทั้งสี่ด้วยปัญญา อันถูกต้องคือเห็นทุกข์  เห็นเหตุเป็นเครื่องให้เกิดขึ้นของทุกข์ เห็นความก้าวล่วงเสียได้ซึ่งทุกข์  และเห็นมรรคประกอบด้วย องค์แปดอันประเสริฐ ซึ่งเป็นเครื่องให้ถึงความเข้าไปสงบรำงับแห่งทุกข์ นั่นแหละคือที่พึ่งอันเกษม  นั่นคือที่พึ่งอันสูงสุด ผู้ใดถือเอาที่พึ่งนั้นแล้วย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวง ได้แท้.

ตามรอยธรรม หน้า 32


๒๔
จงเจริญสมาธิ จักรู้อริยสัจตามเป็นจริง

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง.

รู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งอะไรเล่า ? รู้ได้ตามเป็นจริง ซึ่งความจริงอันประเสริฐว่า“
นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์  นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า
“นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดของทุกข์ นี้ เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ เป็นทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้เถิด.

ตามรอยธรรม หน้า 53


๒๕
ทรงมีหลักเกณฑ์การฝึกตามลำดับ
(อย่างย่อ)

พราหมณ์ ! ในธรรมวินัยนี้ เราสามารถบัญญัติกฎเกณฑ์แห่งการศึกษาตามลำดับ การกระทำตามลำดับ และการปฏิบัติตามลำดับได้เหมือนกัน.

พราหมณ์ ! เปรียบเหมือนผู้ชำนาญการฝึกม้า ได้ม้าชนิดที่อาจฝึกได้มาแล้ว ในขั้นแรก ย่อมฝึกให้รู้จัก การรับสวมบังเหียนก่อน แล้วจึงค่อยฝึกอย่างอื่นๆ ให้ยิ่งขึ้นไปฉันใด

พราหมณ์เอย ! ตถาคตครั้นได้บุรุษที่พอฝึกได้มาแล้ว ในขั้นแรกย่อมแนะนำอย่างนี้ ก่อนว่า“มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยดีในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาท และโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยแม้ในโทษ ที่เล็กน้อย จงสมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เถิด” ดังนี้.

พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้มีศีล (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า“

มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย  ได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว จักไม่ถือเอา โดยนิมิต (คือรวบถือทั้งหมด ว่างามหรือไม่งามแล้วแต่กรณี) จักไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ (คือแยกถือเอาแต่ บางส่วน ว่าส่วนใดงามหรือไม่งามแล้วแต่กรณี) บาปอกุศล กล่าวคือ อภิชฌาและโทมนัสมัก ไหลไป ตามอารมณ์ เพราะการไม่สำรวมจักขุนทรีย์ใดเป็นเหตุ เราจักสำรวมอินทรีย์นั้นไว้ เป็นผู้รักษาสำรวม จักขุนทรีย์” ดังนี้.

(ในกรณี โสตินทรีย์คือหู ฆานินทรีย์คือจมูก ชิวหินทรีย์คือลิ้นกายินทรีย์คือกาย และ มนินทรีย์ คือใจ ก็มีข้อความนัยเดียวกัน).

พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้สำรวมอินทรีย์(เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อม แนะนำให้ยิ่งขึ้นไป อีกว่า“

มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอยู่เสมอ จงพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉัน ไม่ฉันเพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อประดับตกแต่ง  แต่ฉันเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิต เป็นไปเพื่อป้องกันความ ลำบากเพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ โดยคิดว่า เราจักกำจัดเวทนาเก่า (คือหิว) เสีย แล้วไม่ทำเวทนาใหม่ (คืออิ่มจนอึดอัด) ให้เกิดขึ้น ความที่อายุดำเนินไปได้ ความไม่มีโทษเพราะอาหาร และความอยู่ผาสุก สำราญ จักมีแก่เรา” ดังนี้.

พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ (เช่นที่กล่าวนั้น)ดีแล้ว ตถาคต ย่อมแนะนำ ให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า“

มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงประกอบความเพียรในธรรมเป็นเครื่องตื่น (ไม่หลับ ไม่ง่วง ไม่มึนชา).
จงชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากอาวรณิยธรรมทั้งหลาย ด้วยการเดินการนั่ง ตลอดวันยันค่ำ ไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรี.

ครั้นยามกลางแห่งราตรี สำเร็จการนอนอย่างราชสีห์(คือตะแคงขวา เท้าเหลื่อมเท้า) มีสติสัมปชัญญะ ในการลุกขึ้น.

ครั้นถึงยามท้ายแห่งราตรี ลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้หมดจดจาก อาวรณิยธรรม ด้วยการเดิน การนั่ง อีกต่อไป” ดังนี้.

พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้ประกอบความเพียรในธรรมเป็นเครื่องตื่น (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้วตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า

มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ รู้ตัวรอบคอบในการก้าวไป ข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง การแลดู การเหลียวดู  การคู้การเหยียด การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร การฉัน การดื่มการเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การไป การหยุด การนั่ง การนอน การหลับ การตื่น การพูดการนิ่ง” ดังนี้.

พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อม แนะนำให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า

“มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าละเมาะ โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง). ในกาลเป็นปัจฉาภัตต์ กลับจาก บิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า

ละ อภิชฌา ในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา คอยชำระจิตจากอภิชฌาละ พยาบาท มีจิต ปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณา มีจิตหวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย คอยชำระจิตจาก พยาบาท

ละ ถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีสติสัมปชัญญะ คอยชำระ จิตจากถีนมิทธะ

ละ อุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ภายในคอยชำระจิต จากอุทธัจจกุกกุจจะ

ละ วิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า‘ นี่อะไร นี่อย่างไร’ ในกุศลธรรม ทั้งหลาย (เพราะความสงสัย)คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉา” ดังนี้.

ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ห้าประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต ทำปัญญาให้ถอยจาก กำลังเหล่านี้ จึงบรรลุฌานที่หนึ่ง มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุฌานที่สอง เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็นที่เกิดสมาธิแห่งใจ ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่

 เพราะความจางหายไปแห่งปีติ ย่อมอยู่อุเบกขามีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่าผู้ ได้ฌานนี้ “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ มีการอยู่เป็นสุข” แล้วแลอยูู่

และเพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึงได้บรรลุ ฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่มีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะ อุเบกขาแล้วแลอยู่.

พราหมณ์เอย ! ภิกษุเหล่าใดที่ยังเป็นเสขะ (คือยังต้องทำต่อไป)ยังไม่บรรลุอรหัตตผล ยังปรารถนา นิพพาน อันเป็นที่เกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งไปกว่าอยู่ คำสอนที่กล่าวมา นี้แหละ เป็นคำสอนสำหรับ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น.

ส่วนภิกษุเหล่าใด เป็นอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลง ลงได้แล้ว มีประโยชน์ตนอันบรรลุถึงแล้ว มีสัญโญชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ  ธรรมทั้งหลาย (ในคำสอน) เหล่านี้ เป็นไปเพื่อความอยู่ เป็นสุขในปัจจุบันและเพื่อสติสัมปชัญญะ แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ด้วย.