เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  ตามรอยธรรม-พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  3 of 4  
 
  ตามรอยธรรม พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
  ๒๖. ทรงเป็นพี่เลี้ยงให้แก่สาวกชั่วระยะจำเป็น 59  
  ๒๗ ทรงฆ่าผู้ที่ไม่รับการฝึก 61  
  ๒๘. ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้น 64  
  ๒๙. ท่อนไม้ที่ลอยออกไปได้ถึงทะเล 68  
  ๓๐. กระดองของบรรพชิต 72  
  ๓๑. ผู้มีหลักเสาเขื่อน 75  
  ๓๒. วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากที่สุด ก่อนตรัสรู้ 79  
  ๓๓. วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากตลอดพรรษา และทรงสรรเสริญมาก 85  
  ๓๔. ผู้ไม่ประมาทในความตายแท้จริง 87  
  ๓๕. ทางรอดสำ หรับภิกษุไข้ 89  
  ๓๖. เมื่อ “เธอ” ไม่มี ! 91  
  ๓๗. ความดับทุกข์มี เพราะความดับแห่งนันทิ 92  
  ๓๘. อาการดับแห่งตัณหาในนามแห่งนันทิ 93  
 
 





ตามรอยธรรม หน้า 59


๒๖
ทรงเป็นพี่เลี้ยงให้แก่สาวก ชั่วระยะจำเป็น

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเด็กที่ยังอ่อน ยังได้แต่นอนหงาย เมื่อพี่เลี้ยงเผลอ ได้คว้าชิ้นไม้หรือกระเบื้องกลืนเข้าไป พี่เลี้ยงเห็นแล้ว ก็จะพยายามหาวิธี เอาออกโดยเร็ว.

เมื่อเอาออกไม่ได้โดยง่าย ก็ประคองศีรษะเด็กด้วยมือซ้าย งอนิ้วมือขวาล้วง ลงไปเกี่ยวขึ้นมา แม้จะถึงโลหิตออกก็ต้องทำ.

ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเหตุว่า แม้เด็กนั้นจะได้รับความเจ็บปวดก็จริง แต่พี่เลี้ยงที่หวังความ ปลอดภัยแก่เด็ก หวังจะช่วยเหลือเด็กมีความเอ็นดูเด็ก ก็ต้องทำเช่นนั้น เพราะความเอ็นดูนั้นเอง.

ครั้นเด็กเติบโตขึ้น มีความรู้เดียงสาพอควรแล้ว พี่เลี้ยงก็ปล่อยมือ ไม่จ้ำจี้จ้ำไช ในเด็กนั้นเกินไป ด้วยคิดว่าบัดนี้ เด็กคุ้มครองตัวเองได้แล้ว ไม่อาจจะไร้เดียงสา อีกแล้ว ดังนี้ ข้อนี้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็เช่นกัน ตราบใดที่ภิกษุยังมิได้ทำกิจในกุศลธรรมทั้งหลาย อันตนจะต้องทำด้วย ศรัทธา ด้วยหิริ ด้วยโอตตัปปะด้วยวิริยะ และด้วยปัญญา ตราบนั้นเรายังจะต้องตามคุ้มครองภิกษุนั้น.

แต่เมื่อใดภิกษุนั้นได้ทำกิจในกุศลธรรมทั้งหลาย อันตนจะต้องทำด้วยศรัทธา ด้วยหิริ ด้วยโอตตัปปะ ด้วยวิริยะ ด้วยปัญญา สำเร็จแล้วเราก็หมดห่วง ในภิกษุ นั้น ด้วยคิดว่าบัดนี้ ภิกษุนี้คุ้มครองตนเอง ได้แล้ว ไม่อาจจะประพฤติหละหลวม อีกต่อไปแล้ว ดังนี้.


ตามรอยธรรม หน้า 61


๒๗
ทรงฆ่าผู้ที่ไม่รับการฝึก

นี่แน่ เกสิ ! ท่านเป็นคนเชี่ยวชาญการฝึกม้ามีชื่อดัง เราอยากทราบว่า ท่านฝึกม้าของท่านอย่างไรกัน ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ย่อมฝึกม้า ชนิดที่พอฝึกได้ ด้วยวิธีละมุนละไมบ้าง ด้วยวิธีรุนแรง บ้าง ด้วยวิธีทั้งละมุนละไม และรุนแรงรวมกันบ้าง (แล้วแต่ว่าม้านั้นเป็นม้าที่มีนิสัยเช่นไร)”.

เกสิ ! ถ้าม้าของท่านไม่รับการฝึก ทั้งด้วยวิธีละมุนละไมทั้งด้วยวิธีที่รุนแรง และทั้งด้วยวิธีที่ละมุนละไม และรุนแรงรวมกันเล่า ท่านทำอย่างไรกับม้านั้น ?“

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ย่อมฆ่าม้านั้น เสียเพื่อมิให้เสียชื่อเสียง แก่สกุลแห่งอาจารย์ของ ข้าพระองค์ พระเจ้าข้า ! ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเล่า ย่อมเป็นสารถี ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งไปกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงฝึกบุรุษที่ควรฝึกด้วยวิธีอย่างไรพระเจ้าข้า ?”.

เกสิ ! เราย่อมฝึกบุรุษที่ควรฝึกด้วยวิธีละมุนละไมบ้างด้วยวิธีรุนแรงบ้าง ด้วยวิธี ทั้งละมุนละไม และ รุนแรงรวมกันบ้าง เหมือนกัน.

เกสิ ! ในสามวิธีนั้นวิธีฝึกที่ละมุนละไมคือเราพร่ำสอนเขาว่า
กายสุจริต - เป็นอย่างนี้ๆ ผลของกายสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ
วจีสุจริต- เป็นอย่างนี้ๆ ผลของวจีสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ
มโนสุจริต- เป็นอย่างนี้ๆ ผลของมโนสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ
เทวดาเป็นอย่างนี้ๆ  มนุษย์เป็นอย่างนี้ๆ ดังนี้.

วิธีฝึกที่รุนแรงคือเราพร่ำบอกเขาว่า กายทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ ผลของกายทุจริต เป็นอย่างนี้ๆ วจีทุจริต เป็นอย่างนี้ๆ ผลของวจีทุจริตเป็นอย่างนี้ๆมโนทุจริตเป็น อย่างนี้ๆผลของมโนทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ นรกเป็นอย่างนี้ๆ กำเนิดเดรัจฉาน เป็นอย่างนี้ๆ เปรตวิสัยเป็นอย่างนี้ๆ.

วิธีฝึกทั้งละมุนละไมและรุนแรงรวมกันนั้น
คือเราพร่ำบอกพร่ำสอนเขาว่า
กายสุจริต-ผลของกายสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ
กายทุจริต-ผลของกายทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ

วจีสุจริต-ผลของวจีสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ
วจีทุจริต-ผลของวจีทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ

มโนสุจริต-ผลของมโนสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ
มโนทุจริต-ผลของมโนทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ

เทวดาเป็นอย่างนี้ๆ
มนุษย์เป็นอย่างนี้ๆ
นรกเป็นอย่างนี้ๆ
กำเนิดเดรัจฉานเป็นอย่างนี้ๆ
เปรตวิสัยเป็นอย่างนี้ๆ

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ถ้าบุรุษที่ควรฝึกนั้นไม่รับการฝึกทั้งด้วยวิธีละมุนละไม ทั้งด้วยวิธีที่รุนแรง และทั้งด้วยวิธีที่ละมุนละไม และรุนแรงรวมกันเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงทำอย่างไร ?”.

เกสิ ! ถ้าบุรุษที่ควรฝึก ไม่ยอมรับการฝึกด้วยวิธีทั้งสามแล้ว เราก็ฆ่าเขาเสีย.

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ปาณาติบาต ย่อมไม่สมควรแก่พระผู้มีพระภาคมิใช่ หรือ? แล้วพระผู้มี พระภาค ก็ยังตรัสว่า เกสิ ! เราก็ฆ่าเขาเสีย ?”.

เกสิเอย ! ปาณาติบาตย่อมไม่สมควรแก่เราจริงแต่ว่าเมื่อบุรุษที่ควรฝึก ไม่ยอมรับ การฝึกด้วยวิธีทั้งสาม แล้วตถาคตก็ไม่ถือว่าคนคนนั้น เป็นคนที่ควรว่ากล่าว สั่งสอนอีกต่อไป  ถึงแม้เพื่อนผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ร่วมกันซึ่งเป็นผู้รู้ ก็จะไม่ถือว่าคนคนนั้น เป็นคนที่ควรว่ากล่าวสั่งสอนอีกต่อไปด้วย.

เกสิ ! นี่แหละ คือวิธีฆ่าอย่างดีในวินัยของพระอริยเจ้า ได้แก่การที่ตถาคต และเพื่อนผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ร่วมกัน พากันถือว่า บุรุษนี้เป็นผู้ที่ไม่ควร ว่ากล่าวสั่งสอนอีกต่อไป ดังนี้.

ตามรอยธรรม หน้า 65


๒๘
ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้น

“ก็สาวกของพระโคดมผู้เจริญ เมื่อพระโคดมได้กล่าวสอนพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ ทุกๆ องค์ได้บรรลุนิพพาน อันเป็นผลสำเร็จถึงที่สุดอย่างยิ่ง หรือว่าบางองค์ไม่ได้บรรลุ ?” พราหมณ์คณกโมคคัลลานะ ทูลถาม.

พราหมณ์ ! สาวกของเรา แม้เรากล่าวสอน พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ น้อยพวกที่ได้บรรลุนิพพาน อันเป็นผลสำเร็จถึงที่สุดอย่างยิ่ง บางพวกไม่ได้บรรลุ.

“พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรเล่าเป็นเหตุ อะไรเล่าเป็นปัจจัยที่พระนิพพาน ก็ยังตั้งอยู่ หนทางเป็นที่ยัง สัตว์ให้ถึงนิพพาน ก็ยังตั้งอยู่  พระโคดมผู้ชักชวน (เพื่อการดำเนินไป) ก็ยังตั้งอยู่ทำไมน้อยพวกที่ บรรลุ และบางพวกไม่บรรลุ ?”.

พราหมณ์ ! เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านจงตอบตามควร  ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในหนทางไปสู่ เมืองราชคฤห์ มิใช่หรือ  มีบุรุษผู้จะไปเมืองราชคฤห์ เข้ามาหาและกล่าวกับท่านว่า “ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงบอกทางไปเมืองราชคฤห์ แก่ข้าพเจ้าเถิด”.

ท่านก็จะกล่าวกะบุรุษนั้นว่า“มาซิท่าน  ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ไปได้ครู่หนึ่งจักพบบ้านชื่อโน้น แล้วจักเห็นนิคมชื่อโน้น จักเห็นสวนและป่าอันน่ารื่นรมย์จักเห็นภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณี อันน่ารื่นรมย์ของเมืองราชคฤห์” ดังนี้.

บุรุษนั้น อันท่านพร่ำบอก พร่ำชี้ให้อย่างนี้ ก็ยังถือเอาทางผิด กลับหลังตรงข้ามไป ส่วนบุรุษ อีกคนหนึ่ง (อันท่านพร่ำบอกพร่ำชี้อย่างเดียวกัน) ไปถึงเมืองราชคฤห์ได้โดยสวัสดี.

พราหมณ์ ! อะไรเล่าเป็นเหตุ อะไรเล่าเป็นปัจจัยที่เมืองราชคฤห์ ก็ยังตั้งอยู่ หนทางสำหรับไปเมือง ราชคฤห์ ก็ยังตั้งอยู่ ท่านผู้ชี้บอก ก็ยังตั้งอยู่ แต่ทำไมบุรุษผู้หนึ่งกลับหลังไปผิดทาง  ส่วนบุรุษผู้หนึ่ง ไปถึงเมืองราชคฤห์โดยสวัสดี ? “พระโคดมผู้เจริญ ! ในเรื่องนี้ข้าพเจ้าจักทำอย่างไรได้เล่า เพราะ ข้าพเจ้าเป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้น”.

พราหมณ์ ! ฉันใดก็ฉันนั้นที่พระนิพพาน ก็ยังตั้งอยู่ทางเป็นเครื่องถึงพระนิพพาน ก็ยังตั้งอยู่เราผู้ ชักชวน ก็ยังตั้งอยู่แต่สาวกของเรา แม้เรากล่าวสอน พร่ำสอนอยู่อย่างนี้น้อยพวกได้บรรลุนิพพาน อันเป็นผลสำเร็จถึงที่สุดอย่างยิ่งบางพวกไม่ได้บรรลุ.

พราหมณ์ ! ในเรื่องนี้เราจักทำอย่างไรได้เล่า เพราะเราเป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้น.

ตามรอยธรรม หน้า 68


๒๙
ท่อนไม้ที่ลอยออกไปได้ถึงทะเล

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอได้เห็นท่อนไม้ใหญ่นั้นซึ่งลอยมาโดยกระแสแม่น้ำคงคา หรือไม่ ?“ ได้เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !” ภิกษุทั้งหลายกราบทูล.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าท่อนไม้นั้น จะไม่เข้าไปติดเสียที่ฝั่งในหรือฝั่งนอก ไม่จมเสียในท่ามกลางน้ำ ไม่ขึ้น ไปติดแห้งอยู่บนบก  ไม่ถูกมนุษย์จับไว้  ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้ ไม่เน่าเสียเอง ในภายในไซร้ท่อนไม้เช่นที่กล่าวนี้ จักลอยไหลพุ่งไปสู่ทะเล เพราะเหตุว่า ลำแม่น้ำคงคา โน้มน้อม ลุ่มลาด เอียงเท ไปสู่ทะเล.ข้อนี้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้พวกเธอทั้งหลายก็ฉันนั้น  ถ้าพวกเธอไม่เข้าไปติดเสียที่ฝั่งใน ไม่เข้าไปติดเสียที่ ฝั่งนอกไม่จมเสียในท่ามกลาง ไม่ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก ไม่ถูกมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้ไม่เน่าเสียเองในภายในไซร้ พวกเธอก็จะเลื่อนไหลไปสู่นิพพาน เพราะเหตุว่า สัมมาทิฏฐิ มีธรรมดาที่โน้มน้อมลุ่มลาด เอียงเท ไปสู่นิพพาน.

ครั้นสิ้นกระแสพระดำรัสแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
อะไรเล่าเป็นฝั่งในหรือฝั่งนอก ?
อะไรชื่อว่าจมในท่ามกลาง ?
อะไรชื่อว่าขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก ?
อะไรชื่อว่าถูกมนุษย์จับไว้ ?
อะไรชื่อว่าถูกอมนุษย์จับไว้ ?
อะไรชื่อว่าถูกเกลียวน้ำวนวนไว้ ?
อะไรชื่อว่าเน่าเสียเองในภายใน ?”

ภิกษุทั้งหลาย !
คำว่า “ฝั่งใน” เป็นชื่อของ อายตนะภายใน ๖.
คำว่า “ฝั่งนอก” เป็นชื่อของ อายตนะภายนอก ๖.
คำว่า “จมเสียในท่ามกลาง” เป็นชื่อของ นันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยความเพลิน).
คำว่า “ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก” เป็นชื่อของ อัส๎มิมานะ(ความสำคัญว่า เรามี เราเป็น).

คำว่า “ถูกมนุษย์จับไว้” ได้แก่ ภิกษุในกรณีนี้เป็นผู้ระคนด้วยพวกคฤหัสถ์ เพลิดเพลินด้วยกัน โศกเศร้าด้วยกัน มีสุข เมื่อคฤหัสถ์เหล่านั้นมีสุข เป็นทุกข์ เมื่อคฤหัสถ์เหล่านั้นเป็นทุกข์ ประกอบการ งานในกิจการที่บังเกิดขึ้นแก่คฤหัสถ์เหล่านั้นด้วยตน ภิกษุนี้ เราเรียกว่าผู้ถูกมนุษย์จับไว้.

คำว่า “ถูกอมนุษย์จับไว้” ได้แก่ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ ประพฤติพรหมจรรย์ โดยตั้งความปรารถนา เทพนิกายชั้นใดชั้นหนึ่ง ว่า “ด้วยศีลนี้ หรือด้วยวัตรนี้หรือว่าด้วยตบะนี้ เราจักได้เป็นเทวดาผู้มีศักดา ใหญ่ หรือเป็นเทวดาผู้มีศักดาน้อย อย่างใดอย่างหนึ่ง” ดังนี้ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้ถูกอมนุษย์จับไว้.

คำว่า “ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้” เป็นชื่อของ กามคุณ ๕.

“ภิกษุเป็นผู้เน่าเสียเองในภายใน” คืออย่างไรเล่า ?
คือภิกษุบางรูปในกรณีนี้ เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทรามไม่สะอาด มีความประพฤติชนิดที่ตนเอง นึกแล้ว ก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คนประพฤติพรหมจรรย์ ก็ปฏิญญาว่าเป็นคนประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าในเปียกแฉะ มีสัญชาติหมักหมม เหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย.

ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้เน่าเสียเองในภายใน แล.

ตามรอยธรรม หน้า 72


๓๐
กระดองของบรรพชิต

ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องเคยมีมาก่อน เต่าตัวหนึ่งเที่ยวหากินตามริมลำธารในตอนเย็น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง ก็เที่ยวหากินตามริมลำธารในตอนเย็นเช่นเดียวกัน เต่าตัวนั้นได้เห็นสุนัขจิ้งจอกซึ่งเที่ยวหากิน (เดินเข้ามา)แต่ไกล  ครั้นแล้วจึงหดอวัยวะทั้งหลาย มีศีรษะเป็นที่ห้าเข้าในกระดองของตนเสีย เป็นผู้ขวนขวายน้อยนิ่งอยู่.

แม้สุนัขจิ้งจอกก็ได้เห็นเต่า ตัวที่เที่ยวหากินนั้นแต่ไกลเหมือนกัน ครั้นแล้วจึงเดินตรงเข้าไปที่เต่า คอยช่องอยู่ว่า“ เมื่อไรหนอ เต่าจักโผล่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งออก ในบรรดาอวัยวะทั้งหลาย มีศีรษะเป็นที่ห้า แล้วจักกัดอวัยวะส่วนนั้น คร่าเอาออกมากินเสีย” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตลอดเวลาที่เต่าไม่โผล่อวัยวะออกมา สุนัขจิ้งจอกก็ไม่ได้โอกาส ต้องหลีกไปเอง ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น  มารผู้ใจบาปก็คอยช่องต่อพวกเธอทั้งหลาย ติดต่อไม่ขาดระยะอยู่ เหมือนกันว่า “ถ้าอย่างไร เราคงได้ช่อง ไม่ทางตา ก็ทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลาย อยู่เถิด ได้เห็นรูปด้วยตา ได้ฟังเสียงด้วยหู ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ได้สัมผัสโผฏฐัพพะ ด้วยกาย หรือได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว จงอย่าได้ถือเอาโดยลักษณะที่เป็นการรวบถือทั้งหมด อย่าได้ถือเอาโดยลักษณะที่เป็นการแยกถือเป็นส่วนๆ เลย สิ่งที่เป็นอกุศลธรรมอันเป็นบาปคือ อภิชฌาและโทมนัส จะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะการไม่สำรวม อินทรีย์ใดเป็นเหตุ พวกเธอทั้งหลายจงปฏิบัติเพื่อการปิดกั้นอินทรีย์นั้นไว้ พวกเธอทั้งหลายจงรักษา และ ถึงความสำรวมตา หูจมูก ลิ้น กาย ใจ เถิด.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลใด พวกเธอทั้งหลาย จักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่  ในการนั้น มารผู้ใจบาป จักไม่ได้ช่องแม้จากพวกเธอทั้งหลาย และจักต้องหลีกไปเอง  เหมือนสุนัขจิ้งจอก ไม่ได้ช่องจากเต่าก็หลีกไปเอง ฉะนั้น.

“เต่าหดอวัยวะไว้ในกระดอง ฉันใด ภิกษุพึงตั้งมโนวิตก (ความตริตรึกทางใจ) ไว้ในกระดอง (กล่าวคือ อารมณ์แห่งการภาวนา) ฉันนั้น.

เป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิไม่อิงอาศัยได้ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่กล่าวร้ายต่อใครทั้งหมดเป็นผู้ดับสนิทแล้ว” ดังนี้ แล.

ตามรอยธรรม หน้า 75


๓๑
ผู้มีหลักเสาเขื่อน

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้มีสังวรนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เมื่อเห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้นสัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้ ธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็ไม่สยบอยู่ในอารมณ์ที่น่ารัก ไม่เคียดแค้นในอารมณ์อันไม่น่ารักเป็นผู้ตั้งไว้ซึ่ง กายคตาสติ มีจิตหาประมาณไม่ได้ ย่อมรู้ตามที่เป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับแห่ง บาปอกุศลที่เกิดแล้วแก่เขานั้นโดยสิ้นเชิง.

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีที่เที่ยวหากินต่างกัน มาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง คือ เขาจับงูมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง จับจระเข้ จับนก  จับสุนัขบ้าน จับสุนัขจิ้งจอกและจับลิง มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่งๆ ครั้นแล้วนำไปผูกไว้กับเสา เขื่อน หรือเสาหลักอีกต่อหนึ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น มีที่อาศัยและที่เที่ยวต่างกันก็ยื้อแย่งฉุดดึงกัน เพื่อจะไปสู่ที่อาศัยและที่เที่ยวของตนๆ งูจะเข้าจอมปลวก จระเข้จะลงน้ำ นกจะบินขึ้นไปในอากาศ สุนัขจะเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า และลิงก็จะไปป่า.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลใดแล ความเป็นไปภายในของสัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น มีแต่ความเมื่อยล้าแล้ว ในกาลนั้น มันทั้งหลายก็จะพึงเข้าไปยืนเจ่า นั่งเจ่านอนเจ่า อยู่ข้างเสาเขื่อนหรือเสาหลักนั้นเอง. ข้อนี้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุรูปใด ได้อบรมกระทำให้มากในกายคตาสติแล้ว

ตา ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ
รูปที่ไม่น่าพอใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

หู ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง
เสียง ที่ไม่น่าฟัง ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

จมูก
ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม
กลิ่นที่ไม่น่าสูดดม ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

ลิ้น
ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่น่าชอบใจ
รสที่ไม่น่าชอบใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

กาย ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่น่ายั่วยวนใจ
สัมผัสที่ไม่น่ายั่วยวนใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
และใจ ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์ที่น่าถูกใจ ธรรมารมณ์ที่ไม่น่าถูกใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้มีสังวร เป็นอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! คำว่า “เสาเขื่อนหรือเสาหลัก” นี้
เป็นคำเรียกแทนชื่อแห่ง “กายคตาสติ”

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ว่า “กายคตาสติ ของเรา ทั้งหลายจักเป็นสิ่งที่เราอบรมกระทำให้มาก กระทำให้เป็นยานเครื่องนำไป กระทำให้เป็นของที่อาศัย ได้ เพียรตั้งไว้เนืองๆ เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ เพียรปรารภสม่ำเสมอด้วยดี” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้ แล.

ตามรอยธรรม หน้า 79


๓๒
วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากที่สุด ก่อนตรัสรู้

ภิกษุทั้งหลาย ! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ด้วยอำนาจแห่งการเจริญ ทำให้มากซึ่งสมาธิใด สมาธินั้นภิกษุย่อมจะได้โดยไม่หนักใจ ได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบากเลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกายหรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้น ไม่ได้ด้วยอำนาจแห่งการเจริญ ทำให้มากซึ่งสมาธิไหนกันเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้น ไม่ได้ด้วยอำนาจแห่งการเจริญ ทำให้มากซึ่ง อานาปานสติสมาธิ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อบุคคลเจริญ ทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ อยู่อย่างไรเล่า ความหวั่นไหว โยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือ เรือนว่างก็ตาม แล้วนั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า ภิกษุนั้นมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก.

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้ทำกาย สังขารให้รำงับ หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปีติ หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งสุข หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตต สังขารให้รำงับ หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งจิต หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อย อยู่หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้ เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า” ว่า “เราเป็น ผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า” ว่า “เรา เป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้ เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อบุคคลเจริญ ทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิอยู่อย่างนี้แล ความหวั่นไหวโยก โคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้. .....ฯลฯ.....

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้เราเองก็เหมือนกันในกาลก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมคือ อานาปานสติสมาธิ นี้เป็นส่วนมาก.เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ เป็นส่วนมาก กายก็ไม่ลำบาก ตาก็ไม่ลำบากและจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่มีอุปาทาน.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่ากายของเราก็อย่าลำบาก ตาของเราก็อย่าลำบาก และจิตของเราก็จงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่มีอุปาทานเถิดดังนี้แล้ว  ภิกษุนั้นจงทำในใจ ซึ่งอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี.

ตามรอยธรรม หน้า 85


๓๓
วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากตลอดพรรษา และทรงสรรเสริญมาก

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าพวกปริพพาชกเดียรถีย์อื่นจะพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า “ท่านผู้มีอายุ ! พระสมณโคดมทรงอยู่จำพรรษาส่วนมาก ด้วยวิหารธรรมไหนเล่า ?” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้วพึงตอบแก่พวกปริพพาชกเดียรถีย์อื่น เหล่านั้น อย่างนี้ว่า“ท่านผู้มีอายุ ! พระผู้มีพระภาคทรงอยู่จำพรรษาส่วนมากด้วยวิหารธรรม คือ อานาปานสติ สมาธิ แล” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้
เรานั้นเป็นผู้มีสติ หายใจเข้า
เรานั้นเป็นผู้มีสติ หายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า “เราหายใจเข้ายาว”
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า “เราหายใจออกยาว” .....

(แต่นี้ไปทรงแสดง อานาปานสติสมาธิไปจนจบ ดังมีใจความปรากฏใน “วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากที่สุด ก่อนตรัสรู้” หน้าที่ ๗๙).

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใครจะกล่าววิหารธรรมใดโดยชอบ ว่าเป็นอริยวิหารก็ดี พรหมวิหารก็ดี ตถาคตวิหาร ก็ดีเขาพึงกล่าวโดยชอบ ซึ่งอานาปานสติสมาธินั้น ว่าเป็นอริยวิหาร พรหมวิหาร ตถาคตวิหาร.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลายเหล่าใด ยังเป็นเสขะมีวัตถุประสงค์แห่งใจ อันยังไม่บรรลุแล้ว ปรารถนา อยู่ซึ่งโยคักเขมธรรม อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอยู่ อานาปานสติ-สมาธิ อันภิกษุเหล่านั้น เจริญทำให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนภิกษุทั้งหลายเหล่าใด เป็นอรหันต์ขีณาสพ มีพรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว มีกิจควร ทำอันกระทำแล้ว มีภาระหนักอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันตามบรรลุแล้ว มีสัญโญชน์ในภพ อันสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ด้วยปัญญาโดยชอบ อานาปานสติสมาธิอันภิกษุเหล่านั้น เจริญทำให้มากแล้ว ก็ยังเป็นไปเพื่อการอยู่เป็นสุขในปัจจุบันด้วย เพื่อสติสัมปชัญญะด้วย.

ตามรอยธรรม หน้า 87


๓๔
ผู้ไม่ประมาทในความตายแท้จริง

ภิกษุทั้งหลาย ! มรณสติ (การระลึกถึงความตาย) อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่หยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นที่สุด. พวกเธอเจริญมรณสติอยู่บ้างหรือ ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลตอบ และพระผู้มีพระภาคได้ตรัสต่อไปว่า ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่เจริญมรณสติอย่างนี้ว่า “โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงวันหนึ่ง คืนหนึ่ง...ดังนี้ก็ดี เราอาจมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วเวลากลางวัน... ดังนี้ก็ดี เราอาจมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วขณะที่ฉันบิณฑบาตเสร็จมื้อหนึ่ง... ดังนี้ก็ดี เราอาจมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วขณะที่ฉันอาหารเสร็จเพียง ๔-๕ คำ เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด การปฏิบัติตามคำสั่งสอนควรทำให้มากแล้วหนอ” ดังนี้ก็ดีภิกษุเหล่านี้ เราเรียกว่า ยังเป็นผู้ประมาทอยู่ยังเจริญมรณสติเพื่อความสิ้นอาสวะช้าไป.

ภิกษุทั้งหลาย ! ฝ่ายภิกษุพวกที่เจริญมรณสติอย่างนี้ว่า “โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วขณะ ที่ฉันอาหารเสร็จเพียงคำเดียว” ดังนี้ก็ดี ว่า โอหนอ เราอาจมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วขณะที่หายใจ เข้า แล้วหายใจออกหรือชั่วขณะหายใจออกแล้วหายใจเข้า.

เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด การปฏิบัติตามคำสอนควรทำให้มากแล้วหนอ” ดังนี้ก็ดีภิกษุเหล่านี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว เป็นผู้เจริญมรณสติเพื่อความสิ้นอาสวะ อย่างแท้จริง.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ว่า “เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่ประมาทเป็นอยู่ จักเจริญมรณสติ เพื่อความสิ้นอาสวะอย่างแท้จริง” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.

ตามรอยธรรม หน้า 89


๓๕
ทางรอดสำ􀄁หรับภิกษุไข้

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไข้ผู้มีกำลังน้อยรูปใด ไม่ละจากธรรม ๕ อย่าง  เธอพึงหวังผลอันนี้ได้ คือเธอจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่ ต่อกาลไม่นานเลย.

ธรรม ๕ อย่างอะไรบ้างเล่า ? ๕ อย่างคือ
(๑) เป็นผู้พิจารณา เห็นความไม่งามในกายอยู่เป็นประจำ
(๒) เป็นผู้ที่มีการกำหนดหมาย ความเป็นปฏิกูลในอาหารอยู่เป็นประจำ
(๓) เป็นผู้ที่มีการกำหนดหมาย ความไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวงอยู่เป็นประจำ
(๔) เป็นผู้ที่มีการกำหนดหมาย ความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่เป็นประจำ
(๕) มีสติอันตนเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในกาย แล้วเห็นการเกิดดับ ในภายใน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไข้ผู้มีกำลังน้อยรูปใด ไม่ละจากธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ เธอพึงหวังผลอันนี้ได้ คือเธอจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่ ต่อกาลไม่นานเลย.


ตามรอยธรรม หน้า 91


๓๖
เมื่อ “เธอ” ไม่มี !

พาหิยะ !
เมื่อใดเธอเห็นรูปแล้ว สักว่าเห็น
ได้ฟังเสียงแล้ว ก็สักว่าฟัง
ได้ดมกลิ่นแล้ว ก็สักว่าดม
ได้ลิ้มรสแล้ว ก็สักว่าลิ้ม
ได้สัมผัสทางผิวกายแล้ว ก็สักว่าสัมผัส
ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ ก็สักว่าได้รู้แจ้งแล้ว
เมื่อนั้น “เธอ” จักไม่มี.

เมื่อใด “เธอ” ไม่มี
เมื่อนั้นเธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้
ไม่ปรากฏในโลกอื่น
ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง
นั่นแหละคือ ที่สุดแห่งทุกข์.

ตามรอยธรรมหน้า 92

๓๗
ความดับทุกข์มี เพราะความดับแห่งนันทิ

ปุณณะ ! รูปที่เห็นด้วยตาก็ดี  เสียงที่ฟังด้วยหูก็ดีกลิ่นที่ดมด้วยจมูกก็ดี  รสที่ลิ้มด้วยลิ้นก็ดี  โผฏฐัพพะที่สัมผัสด้วยกายก็ดี  ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจก็ดี อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ย้อมใจ มีอยู่ ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลินไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมก ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น. เมื่อภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกซึ่งอารมณ์ มีรูปเป็นต้นนั้นอยู่ นันทิ (ความเพลิน) ย่อมดับไป.

ปุณณะ ! เรากล่าวว่า “ความดับไม่มีเหลือของทุกข์มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของความเพลิน” ดังนี้แล.

ตามรอยธรรม หน้า 93

๓๘
อาการดับแห่งตัณหาในนามแห่งนันทิ

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมไม่กำหนัดยินดีในรูป อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่ง ความรักย่อมไม่ขัดเคืองในรูป อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง  เป็นผู้อยู่ด้วยสติเป็นไป ในกาย อันตนเข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตหาประมาณมิได้ด้วย ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นธรรมที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลทั้งหลายด้วย.

ภิกษุนั้นเป็นผู้ละเสียได้แล้ว ซึ่งความยินดีและความยินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาใดๆ อันเป็นสุข ก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตามไม่เป็นทุกข์ไม่เป็นสุขก็ตาม ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ในเวทนานั้นๆ.

เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญไม่เมาหมกอยู่ในเวทนานั้นๆ นันทิ (ความเพลิน) ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดับไป.

เพราะความดับแห่งนันทิของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาติ ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

(ในกรณีแห่งการได้ยินเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องสัมผัสทางผิวหนัง ด้วยผิวกาย และรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน).

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอจงทรงธรรมะนี้ไว้ ในฐานะที่เป็นธรรมที่ทำความหลุดพ้น เพราะความสิ้นไปแห่ง ตัณหา ซึ่งเรากล่าวไว้โดยสังเขป.